ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การดำเนินงานของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มุ่งเน้นการพัฒนางานด้านวิชาการให้ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เหมาะสมและให้เข้าถึงการรับบริการทางวิชาการให้มากขึ้น โดยจัดโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยที่เป็นประโยชน์ และอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยและภาษาไทยถิ่นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
๑. กิจกรรมการประกวดเล่าเรื่อง หัวข้อ "ท่องเที่ยวบ้านฉัน สร้างสรรค์ท้องถิ่น" ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน หรือภาคใต้ ภายใต้โครงการ “รู้ รัก ภาษาไทย”เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้และใช้ภาษาไทยและภาษาไทยถิ่นของตนอย่างภาคภูมิใจ ซึ่งจัดการประกวดฯ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนต่าง ๆ ในแต่ละภาค แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก กลุ่มที่ ๒ โรงเรียนที่อยู่ในภาคเหนือ กลุ่มที่ ๓ โรงเรียนที่อยู่ในภาคอีสาน และกลุ่มที่ ๔ โรงเรียนที่อยู่ในภาคใต้
๒. โครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ๔ ภูมิภาค เพื่อเป็นการต่อยอดของความรู้บุคลากรด้านการสอนประวัติศาสตร์ และเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยให้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ได้จัดทั้งหมด ๓ รุ่น มีการอภิปราย เรื่อง “สอนประวัติศาสตร์อย่างไรให้สนุก” การบรรยายและนำชม เรื่อง “ประวัติศาสตร์ไทยจากหลักฐานทางศิลปกรรม” การบรรยาย เรื่อง “หลักการพื้นฐานสำหรับงานอินโฟกราฟิก และหลักการออกแบบในการจัดทำสื่อการสอนวิชาประวัติศาสตร์” พร้อมฝึกปฏิบัติการการสกัดข้อมูลวิชาประวัติศาสตร์และการออกแบบร่างอินโฟกราฟิก การบรรยาย เรื่อง “เทคนิคการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทำสื่อการสอนให้น่าสนใจอย่างไร้ขีดจำกัด” การบรรยาย เรื่อง “การนำภาพจากคลังภาพออนไลน์มาปรับแก้ไขและการจัดองค์ประกอบภาพอินโฟกราฟิกในการทำสื่อการสอนได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม” และฝึกปฏิบัติการนำข้อมูลวิชาประวัติศาสตร์จัดทำอินโฟกราฟิกโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การ Export ไฟล์เพื่อเผยแพร่งานอินโฟกราฟิก และเสนอผลงาน
๓. การประกวดแข่งขันคัดลายมือสำหรับเยาวชน เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยสนใจและฝึกฝนการเขียนอักษรไทยที่สวยงาม และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้าใจในรูปแบบของอักษรไทยและสร้างทักษะในการเขียนอักษรไทยตามแบบแผนมากขึ้น รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเห็นคุณค่าและความสวยงามของภาษาไทยและร่วมกันสืบสานเอกลักษณ์ทางภาษาของชาติไทย โดยใช้แบบคัดลายมือ “รัตนโกสินทร์” เป็นแบบสำหรับการประกวดฯ
๔. การแข่งขันทักษะการใช้ภาษาไทยของเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๖ ทักษะการอ่านออกเสียง (ร้อยแก้วและกลอนสุภาพ) เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยสนใจและฝึกฝนการอ่านภาษาไทยที่ถูกต้อง และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนไทยรักการอ่าน โดยจัดการแข่งขันทักษะการอ่านออกเสียง (ร้อยแก้วและกลอนสุภาพ)
๕. กิจกรรมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยมีกิจกรรมในงานประกอบด้วย การเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ "ชีวิตชีวาภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน" การมอบรางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญให้แก่นักเรียนที่ชนะการประกวดและการแข่งขันกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและภาษาไทยถิ่น จากการประกวดพูดเล่าเรื่องด้วยภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น หัวข้อ "ท่องเที่ยวบ้านฉัน สร้างสรรค์ท้องถิ่น” การแข่งขันทักษะการใช้ภาษาไทยของเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๖ และการประกวดแข่งขันคัดลายมือสำหรับเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๖ โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล พร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษ
๖. การอบรมหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเพื่อนบ้าน (ภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจและภาษาเพื่อนบ้านได้เรียนรู้และเข้าใจการใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจและภาษาเพื่อนบ้านได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน โดยจัดการอภิปรายเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทับศัพท์ ทับศัพท์คืออะไร ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ทางด้านภาษาศาสตร์ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย การอภิปรายเรื่อง ตัวอย่างการใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย และคำถามที่พบบ่อย
๗. การอบรมหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจ (ภาษาญี่ปุ่น) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจและภาษาเพื่อนบ้านได้เรียนรู้และเข้าใจการใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจและภาษาเพื่อนบ้านได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน โดยจัดการอภิปรายเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทับศัพท์ ทับศัพท์คืออะไร ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ทางด้านภาษาศาสตร์ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น และการอภิปรายเรื่อง ตัวอย่างการใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น และคำถามที่พบบ่อย
๘. การเผยแพร่องค์ความรู้ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาผ่านสื่อมวลชนและสื่ออื่น สำนักงาน
ราชบัณฑิตยสภาได้จัดให้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ หลายช่องทาง ซึ่งนอกเหนือจากการรายการวิทยุ “รู้ รัก ภาษาไทย” ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ช่วงข่าวภาคเช้า ๗.๐๐-๗.๓๐ น. และข่าวภาคเที่ยง ๑๒.๐๐ น. ในทุกวันแล้ว สำนักงานราชบัณฑิตยสภายังได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการโดยนำข้อมูลผลงานวิชาการที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาผลิตขึ้น จัดทำอินโฟกราฟิกและคลิปสั้น เผยแพร่ให้ความรู้แก่สาธาณชนผ่านทางช่องทางออนไลน์ ทั้งในเว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา www.orst.go.th เพจเฟซบุ๊กสำนักงานราชบัณฑิตยสภา https://www.facebook.com/RatchabanditThai/about และ และเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพงานในการให้บริการงานวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ยังได้พัฒนาการให้บริการทางวิชาการผ่านแอปพลิเคชันของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา รวมถึงจัดทำข้อมูลศัพท์บัญญัติออนไลน์ อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย และฐานข้อมูลคำทับศัพท์ไว้ให้ค้นหาในเว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาด้วย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การดำเนินงานของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มุ่งเน้นการพัฒนางานด้านวิชาการให้ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนให้เหมาะสมและให้เข้าถึงการรับบริการทางวิชาการให้มากขึ้น โดยจัดโครงการและกิจกรรมที่สอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยที่เป็นประโยชน์ และอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยและภาษาไทยถิ่นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
๑. กิจกรรมการประกวดเล่าเรื่อง หัวข้อ "ท่องเที่ยวบ้านฉัน สร้างสรรค์ท้องถิ่น" ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ ภาคอีสาน หรือภาคใต้ ภายใต้โครงการ “รู้ รัก ภาษาไทย”เพื่อส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีความรู้และใช้ภาษาไทยและภาษาไทยถิ่นของตนอย่างภาคภูมิใจ ซึ่งจัดการประกวดฯ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนต่าง ๆ ในแต่ละภาค แบ่งเป็น ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ ๑ โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก กลุ่มที่ ๒ โรงเรียนที่อยู่ในภาคเหนือ กลุ่มที่ ๓ โรงเรียนที่อยู่ในภาคอีสาน และกลุ่มที่ ๔ โรงเรียนที่อยู่ในภาคใต้
๒. โครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย ๔ ภูมิภาค เพื่อเป็นการต่อยอดของความรู้บุคลากรด้านการสอนประวัติศาสตร์ และเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยให้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๖ ได้จัดทั้งหมด ๓ รุ่น มีการอภิปราย เรื่อง “สอนประวัติศาสตร์อย่างไรให้สนุก” การบรรยายและนำชม เรื่อง “ประวัติศาสตร์ไทยจากหลักฐานทางศิลปกรรม” การบรรยาย เรื่อง “หลักการพื้นฐานสำหรับงานอินโฟกราฟิก และหลักการออกแบบในการจัดทำสื่อการสอนวิชาประวัติศาสตร์” พร้อมฝึกปฏิบัติการการสกัดข้อมูลวิชาประวัติศาสตร์และการออกแบบร่างอินโฟกราฟิก การบรรยาย เรื่อง “เทคนิคการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการทำสื่อการสอนให้น่าสนใจอย่างไร้ขีดจำกัด” การบรรยาย เรื่อง “การนำภาพจากคลังภาพออนไลน์มาปรับแก้ไขและการจัดองค์ประกอบภาพอินโฟกราฟิกในการทำสื่อการสอนได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม” และฝึกปฏิบัติการนำข้อมูลวิชาประวัติศาสตร์จัดทำอินโฟกราฟิกโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การ Export ไฟล์เพื่อเผยแพร่งานอินโฟกราฟิก และเสนอผลงาน
๓. การประกวดแข่งขันคัดลายมือสำหรับเยาวชน เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยสนใจและฝึกฝนการเขียนอักษรไทยที่สวยงาม และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีความเข้าใจในรูปแบบของอักษรไทยและสร้างทักษะในการเขียนอักษรไทยตามแบบแผนมากขึ้น รวมถึงเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนเห็นคุณค่าและความสวยงามของภาษาไทยและร่วมกันสืบสานเอกลักษณ์ทางภาษาของชาติไทย โดยใช้แบบคัดลายมือ “รัตนโกสินทร์” เป็นแบบสำหรับการประกวดฯ
๔. การแข่งขันทักษะการใช้ภาษาไทยของเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๖ ทักษะการอ่านออกเสียง (ร้อยแก้วและกลอนสุภาพ) เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยสนใจและฝึกฝนการอ่านภาษาไทยที่ถูกต้อง และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนไทยรักการอ่าน โดยจัดการแข่งขันทักษะการอ่านออกเสียง (ร้อยแก้วและกลอนสุภาพ)
๕. กิจกรรมงานวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา โดยมีกิจกรรมในงานประกอบด้วย การเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ "ชีวิตชีวาภาษาไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน" การมอบรางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญให้แก่นักเรียนที่ชนะการประกวดและการแข่งขันกิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาไทยและภาษาไทยถิ่น จากการประกวดพูดเล่าเรื่องด้วยภาษาไทยมาตรฐานและภาษาไทยถิ่น หัวข้อ "ท่องเที่ยวบ้านฉัน สร้างสรรค์ท้องถิ่น” การแข่งขันทักษะการใช้ภาษาไทยของเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๖ และการประกวดแข่งขันคัดลายมือสำหรับเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๖ โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล พร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษ
๖. การอบรมหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเพื่อนบ้าน (ภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจและภาษาเพื่อนบ้านได้เรียนรู้และเข้าใจการใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจและภาษาเพื่อนบ้านได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน โดยจัดการอภิปรายเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทับศัพท์ ทับศัพท์คืออะไร ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ทางด้านภาษาศาสตร์ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย การอภิปรายเรื่อง ตัวอย่างการใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย และคำถามที่พบบ่อย
๗. การอบรมหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจ (ภาษาญี่ปุ่น) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจและภาษาเพื่อนบ้านได้เรียนรู้และเข้าใจการใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเศรษฐกิจและภาษาเพื่อนบ้านได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน โดยจัดการอภิปรายเรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทับศัพท์ ทับศัพท์คืออะไร ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ทางด้านภาษาศาสตร์ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น และการอภิปรายเรื่อง ตัวอย่างการใช้หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น และคำถามที่พบบ่อย
๘. การเผยแพร่องค์ความรู้ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาผ่านสื่อมวลชนและสื่ออื่น สำนักงาน
ราชบัณฑิตยสภาได้จัดให้มีการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ หลายช่องทาง ซึ่งนอกเหนือจากการรายการวิทยุ “รู้ รัก ภาษาไทย” ที่ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ช่วงข่าวภาคเช้า ๗.๐๐-๗.๓๐ น. และข่าวภาคเที่ยง ๑๒.๐๐ น. ในทุกวันแล้ว สำนักงานราชบัณฑิตยสภายังได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการโดยนำข้อมูลผลงานวิชาการที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาผลิตขึ้น จัดทำอินโฟกราฟิกและคลิปสั้น เผยแพร่ให้ความรู้แก่สาธาณชนผ่านทางช่องทางออนไลน์ ทั้งในเว็บไซต์สำนักงานราชบัณฑิตยสภา www.orst.go.th เพจเฟซบุ๊กสำนักงานราชบัณฑิตยสภา https://www.facebook.com/RatchabanditThai/about และ และเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพงานในการให้บริการงานวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ยังได้พัฒนาการให้บริการทางวิชาการผ่านแอปพลิเคชันของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา รวมถึงจัดทำข้อมูลศัพท์บัญญัติออนไลน์ อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย และฐานข้อมูลคำทับศัพท์ไว้ให้ค้นหาในเว็บไซต์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาด้วย