กระทรวงแรงงาน
Ministry of Labour

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงแรงงาน

 

เพิ่มและพัฒนาทักษะ เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานไทย
       . การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
       ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ คณะกรรมการค่าจ้างมีมติเห็นชอบอัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือ ๕๔ สาขา ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

       ๒. พัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานให้มีผลิตภาพ แรงงานสูงรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน สมัยใหม่
       (๑) การพัฒนาทักษะฝีมือ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นแรงงานคุณภาพ ให้แก่แรงงานทุกกลุ่ม ทั้งแรงงานในระบบและแรงงานอิสระ ให้สามารถประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัว หลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย การฝึกเตรียมเข้าทำงาน ฝึกยกระดับฝีมือ และฝึกเสริมทักษะอาชีพ โดยมีหน่วยฝึกอยู่ทั่วประเทศทั้ง ๗๖ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ติดต่อสอบถามได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ หรือสมัครฝึกอบรมผ่านออนไลน์ โดยดูรายละเอียดหลักสูตรต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th เมนู สมัครฝึกอบรม

       (๒) การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นการวัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติ ในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ ปัจจุบันมีการจัดทำมาตรฐาน ฝีมือแรงงานแห่งชาติทั้งหมด ๒๗๕ สาขา อาทิ ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน และการพาณิชขนาดเล็ก ช่างเชื่อม นอกจากนี้ ยังได้นำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ไปกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแล้วทั้งสิ้น ๑๒๙ สาขา 

       (๓) การรับรองความรู้ความสามารถ คือ การรับรองให้บุคคลประกอบอาชีพในสาขา ที่กฎหมายกำหนด 
       (๔) การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นการส่งเสริมและจูงใจสถานประกอบกิจการและนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป ให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยในรอบปี โดยสามารถฝึกอบรมเอง หรือส่งไปรับการฝึกอบรมอื่นๆได้ ช่วยให้นายจ้างสามารถลดต้นทุน และทำให้ลูกจ้างมีทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น อีกทั้งสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยมีระบบ PRB e-Service ให้บริการเกี่ยวกับ การยื่นคำขอ การยื่นเอกสาร หลักฐานต่างๆ เพื่อรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่าย ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทร ๐๒ – ๒๔๖ -๑๙๓๗

ส่งเสริมการมีงานทำ มุ่งเน้นคนไทยมีงานทำทุกพื้นที่
       ๑. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงานระดับพื้นที่ 
กระทรวงแรงงานได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงานระดับพื้นที่ โดยจ้างบัณฑิตแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงานในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ และ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) และจ้างอาสาสมัครแรงงานทั่วประเทศ จำนวน ๗,๒๕๕ คน และกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓๔๗ คน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับบริการด้านแรงงาน จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน 
       ผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีประชาชนได้รับบริการด้านแรงงาน ผ่านอาสาสมัครแรงงาน และบัณฑิตแรงงาน ด้านงานจัดหางาน งานฝึกอาชีพ/พัฒนาทักษะ งานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคม สิทธิประโยชน์แรงงานไทยในต่างประเทศ จำนวน ๓๙๙,๕๐๒ คน

       ๒. การขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ
       ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินโครงการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อการจ้างแรงงานไทยในต่างประเทศ และการรักษา รวมทั้งส่งเสริมตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยคณะผู้บริหารของกระทรวงแรงงานได้หารือกับนายจ้าง/สถานประกอบการ ในต่างประเทศเพื่อชักชวน ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ให้มีการจ้างแรงงานไทย การจัดกิจกรรมนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ศักยภาพและทักษะฝีมือแรงงาน ของไทย เป็นการรักษาและการขยายตลาดแรงงานในต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการรักษาตลาดแรงงาน เดิมที่มีสภาพการจ้างงานที่ดี ควบคู่กับการส่งเสริมการขยายตลาดแรงงานใหม่ในสาขาอาชีพ ที่แรงงานไทยมีความสามารถ โดยเพิ่มบทบาทภาครัฐในการดำเนินการขยายตลาดแรงงาน ในหลายภูมิภาคที่มีความต้องการแรงงานไทย
       ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างแรงงานไทยในต่างประเทศ นำมาซึ่งการ ลงนามในความตกลงด้านการจ้างแรงงานในสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น ดังนี้ 
       (๑) เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ มีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการจัดส่งแรงงาน ภาคเกษตรตามฤดูกาล (MOU) ระหว่าง กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กับ อำเภอจินอัน สาธารณรัฐเกาหลี โดยสาระสำคัญของการลงนาม MOU ทั้ง ๒ ฝ่าย จะร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการจัดส่ง - รับแรงงานไทย เพื่อไปทำงานภาคเกษตรตามฤดูกาล ณ อำเภอจินอัน จังหวัดซอลลาบุก สาธารณรัฐเกาหลี ให้เกิดประโยชน์ บนหลักการพื้นฐานของความไว้วางใจและความเท่าเทียม และกำหนดมาตรการคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าแรงงานตามฤดูกาลได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามความเหมาะสม สร้างการป้องกัน และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อต่อต้านการจัดส่ง – รับแรงงาน ตามฤดูกาลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการจ้างแรงงานตามฤดูกาล อย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งจัดหาแรงงาน ตามฤดูกาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ในอำเภอ จินอัน จังหวัดซอลลาบุก สาธารณรัฐเกาหลี
       (๒) กระทรวงแรงงาน และองค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น (Public Interest Foundation, International Manpower Development Organization, Japan : IM Japan หรือเรียกโดยย่อ ว่า IM ประเทศญี่ปุ่น) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ และองค์กร IM Japan ได้ลงนามข้อตกลงการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคไทย กับอีก ๔ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย เวียดนาม บังคลาเทศ และศรีลังกา ปัจจุบัน กรมการจัดหางาน สำนักงานแรงงานไทย ในประเทศญี่ปุ่น และองค์กร IM Japan อยู่ระหว่างพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยโครงการแรงงานทักษะเฉพาะ และกำหนดวันลงนามในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖

       . โครงการ Job Expo Thailand 2023 
       เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน สร้างโอกาสในการหางานให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
ทุกกลุ่มอายุ มุ่งเน้นให้ผู้สมัครงานและนายจ้างเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ด้วยระบบเทคโนโลยี สารสนเทศที่ทันสมัย ดำเนินการ ๔ จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น จำนวน ๑๔๘,๓๑๗ คน มีผู้สมัครงาน (ในประเทศและต่างประเทศ) จำนวน ๑๒๑,๓๗๓ คน ได้รับการบรรจุงาน จำนวน ๙๖,๒๓๓ คน แยกเป็นมีงานทำในประเทศ จำนวน ๘๐,๙๕๒ คน (ก่อให้เกิดรายได้ ๑๓,๖๕๕,๑๑๖,๘๖๐ บาท) และมีงานทำในต่างประเทศ จำนวน ๑๕,๒๘๑ คน (ก่อให้เกิดรายได้ ๑๘,๙๑๖.๓๐ ล้านบาท) ได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพ จำนวน ๓,๗๑๐ คน แสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน/OTOP/ธุรกิจฟู้ดทรัค แฟรนไชส์ ก่อให้เกิดรายได้ ๑,๔๔๒,๒๗๘ บาท
       ๔. โครงการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
       เป็นโครงการส่งเสริมการมีงานทำให้กับกลุ่มคนพิการ ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้ มีความภาคภูมิใจในตัวเอง อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยประชาสัมพันธ์ เชิญชวนนายจ้าง/สถานประกอบการที่เคยใช้สิทธิตามมาตรา ๓๔ ในการส่งเงินเข้ากองทุน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้เปลี่ยนมาให้สิทธิตามมาตรา ๓๕ ประเภทการจ้างเหมาช่วงงาน หรือจ้างเหมาบริการแทน มีคนพิการและผู้ดูแลคนพิการเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓,๗๘๓ คน นายจ้าง/สถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๔๐๔ แห่ง/๓,๗๘๓ คน และหน่วยงานบริการสาธารณะ รับคนพิการปฏิบัติงาน จำนวน ๒,๔๐๓ แห่ง/๓,๗๘๓ คน ก่อให้เกิดรายได้ ๔๕๒,๙๐๐,๗๖๐ บาท

       . การให้บริการจัดหางานต่างประเทศ
       ดำเนินการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยจัดส่งแรงงานไทย ไปทำงานต่างประเทศ จำนวน ๖๗,๐๙๖ คน มีรายได้ส่งกลับประเทศ ๒๔๓,๔๒๓ ล้านบาท ประเทศที่มีแรงงานไทย ให้ความสนใจเดินไปทำงาน ได้แก่ ไต้หวัน อิสราเอล ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สวีเดน มาเลเซีย สิงคโปร์ โปรตุเกส ลาว สหรัฐอเมริกา

คุ้มครองแรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในการทำงาน
       ๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. .... 
       กระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญในการสร้างหลักประกันทางอาชีพแก่แรงงานอิสระ ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยได้ยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. .... ภายใต้เจตนารมณ์เพื่อให้แรงงานอิสระสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม และการรวมกลุ่มหรือรวมตัวในการจัดตั้งองค์กร เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ให้เกิดความเป็นธรรมในการทำงาน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีความคืบหน้าที่ สำคัญ คือ อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบและวางแผนจัดทำ กฎหมายลำดับรองก่อนนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำส่ง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาในลำดับต่อไป 

       ๒. โครงการขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ไปสู่การปฏิบัติ
       กระทรวงแรงงานซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ของประเทศไทยได้จัดทำมาตรฐานการ ปฏิบัติงานการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่า อาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (Standard Operating Procedure : SOP) กำหนดให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นำไปบังคับใช้จนทำให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยดีขึ้นตามลำดับ โดยในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยอยู่ในลำดับ Tier ๒ watch list ปี ๒๕๖๕ อยู่ในอันดับ Tier ๒ และล่าสุดในปี ๒๕๖๖ อยู่ในระดับ Tier ๒
       ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดทำแผนบูรณาการ ป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารร่วมกับภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (Non-governmental organizations: NGO) ในพื้นที่ พร้อมจัดชุดตรวจบูรณาการในสถานประกอบกิจการ นายจ้างกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ตรวจตามการข่าว และตรวจจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ในจังหวัดร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และฝ่ายปกครองในพื้นที่ โดยหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานดำเนินการตรวจบูรณาการ สถานประกอบกิจการกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๕,๓๖๓ แห่ง แรงงานได้รับการคุ้มครองจากการเป็นผู้เสียหาย จากการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จำนวน ๑๕๕,๔๗๔ คน
       โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ พบว่า มีการใช้แบบ รบ.๑ ในการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในสถานประกอบกิจการ จำนวน ๑๕,๙๓๔ แห่ง มีลูกจ้างผ่านการคัดกรอง จำนวน ๖๑,๐๔๗ คน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สามารถนำกลไกการส่งต่อระดับชาติ NRM มาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยมีมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และพนักงานตรวจแรงงาน ที่เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถคัดกรองเบื้องต้นผู้ที่อาจเป็นผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน รวมถึงส่งต่อคดีได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิผล ประชาชนได้รับความคุ้มครองไม่ให้ตกเป็น ผู้ที่อาจจะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ

       . ๑๒ พฤศจิกายน วันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ประจำปี ๒๕๖๖
       ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ ที่กำหนดให้สถานประกอบกิจการต้องจัด ให้มี “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน” (จป.) ทำหน้าที่ ดูแลด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการ เพื่อลดการประสบอันตราย และโรคเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง ซึ่งหากนับตั้งแต่วันที่กฎหมายฉบับแรกของการมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นวันครบรอบ ๓๘ ปี ของการมี จป.

       ๔. กิจกรรมส่งเสริมสวัสดิการแรงงานพันธุ์ดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โครงการสถานประกอบกิจการ และรัฐวิสาหกิจต้นแบบแรงงานพันธุ์ดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และคณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการดีเด่น 
       กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ดำเนินโครงการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นแนวทางด้วยการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ได้แก่ ที่ดินหรือพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณสถานประกอบกิจการ และการใช้เวลาว่างหลังเลิกงานหรือในวันหยุดของลูกจ้างให้เกิดประโยชน์  ทำการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ทำการเกษตร พืชผลที่ได้ส่วนหนึ่งลูกจ้างนำมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน แล้วนำกลับไปบริโภคในครัวเรือน และอีกส่วนหนึ่งลูกจ้างนำไปจำหน่าย อันเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายอีกทั้งเพิ่มรายได้ในครัวเรือนของลูกจ้าง ซึ่งในปี ๒๕๖๖มีสถานประกอบการได้รับการส่งเสริม จำนวน ๓๐๐ แห่ง สถานประกอบกิจการต้นแบบ แรงงานพันธุ์ดี จำนวน ๒๗ แห่ง และคณะกรรมการในสถานประกอบกิจการดีเด่น จำนวน ๑๔ แห่ง รวมจำนวน ๔๑ แห่ง เป็นเครือข่ายแรงงานพันธ์ดีฯ มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ผู้เข้าร่วมงานจำนวน ๒๐๐ คน

       . โครงการออกหน่วยเคลื่อนที่บริการเบ็ดเสร็จ Service Delivery Unit
       ออกหน่วยเคลื่อนที่บริการเบ็ดเสร็จ Service Delivery Unit  เพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่แรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระ และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากจุดให้บริการที่ไม่สะดวก เข้ามารับบริการ ณ สำนักงาน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการ ณ สำนักงาน หรือผ่านช่องทางบริการอื่นๆ โดยขอเข้ารับบริการ ขอคำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ประกันสังคม

       . SSO 515 : ๕ โรค ๑๕ วัน
       เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ภายใต้โครงการ SSO 515 : ๕ โรค ๑๕ วัน โดยดำเนินการผ่าตัดหรือการทำหัตถการใน ๕ โรค ได้แก่ ๑) โรคหัวใจและหลอดเลือด ๒) โรคหลอดเลือดสมอง ๓) นิ่วในไตและถุงน้ำดี ๔) มะเร็งเต้านม และ ๕) ก้อนเนื้อที่มดลูกและหรือรังไข่ ให้ผู้ประกันตนเข้าถึงการรักษาพยาบาลภายใน ๑๕ วันทันทีหลังแพทย์วินิจฉัย ซึ่งได้จัดทำบันทึก ข้อตกลงการให้บริการทางการแพทย์กับสถานพยาบาล จำนวน ๗๖ แห่ง 

ติดตามผลงานที่สำคัญของหน่วยงาน เพิ่มเติมได้ที่
https://www.doe.go.th/prd/main/video/param/site/1/cat/24/sub/0/pull/module/view/video-list

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ

เว็บไซต์กรมการจัดหางาน https://www.doe.go.th/prd/main/index?page=home
เว็บไซต์ไทยมีงานทำ https://xn--72c5abh2bf8icw0m9d.doe.go.th/
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว https://www.doe.go.th/alien
https://www.facebook.com/aliensdoe
กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน https://www.facebook.com/DoeCepd
https://www.doe.go.th/ipd
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ https://www.doe.go.th/overseas
https://www.facebook.com/profile.php?id=61550932562495&mibextid=uzlsIk 
https://toea.doe.go.th

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงแรงงาน

 

เพิ่มและพัฒนาทักษะ เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานไทย
       . การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
       ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ คณะกรรมการค่าจ้างมีมติเห็นชอบอัตราค่าจ้าง ตามมาตรฐานฝีมือ ๕๔ สาขา ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

       ๒. พัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานให้มีผลิตภาพ แรงงานสูงรองรับความต้องการของตลาดแรงงาน สมัยใหม่
       (๑) การพัฒนาทักษะฝีมือ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพสู่การเป็นแรงงานคุณภาพ ให้แก่แรงงานทุกกลุ่ม ทั้งแรงงานในระบบและแรงงานอิสระ ให้สามารถประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงตนเอง และครอบครัว หลักสูตรการฝึกอบรม ประกอบด้วย การฝึกเตรียมเข้าทำงาน ฝึกยกระดับฝีมือ และฝึกเสริมทักษะอาชีพ โดยมีหน่วยฝึกอยู่ทั่วประเทศทั้ง ๗๖ จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ติดต่อสอบถามได้ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วประเทศ หรือสมัครฝึกอบรมผ่านออนไลน์ โดยดูรายละเอียดหลักสูตรต่าง ๆ ได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th เมนู สมัครฝึกอบรม

       (๒) การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นการวัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถ และทัศนคติ ในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ ปัจจุบันมีการจัดทำมาตรฐาน ฝีมือแรงงานแห่งชาติทั้งหมด ๒๗๕ สาขา อาทิ ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างเครื่องปรับอากาศภายในบ้าน และการพาณิชขนาดเล็ก ช่างเชื่อม นอกจากนี้ ยังได้นำมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ไปกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแล้วทั้งสิ้น ๑๒๙ สาขา 

       (๓) การรับรองความรู้ความสามารถ คือ การรับรองให้บุคคลประกอบอาชีพในสาขา ที่กฎหมายกำหนด 
       (๔) การส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๕ เป็นการส่งเสริมและจูงใจสถานประกอบกิจการและนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐๐ คนขึ้นไป ให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนลูกจ้างเฉลี่ยในรอบปี โดยสามารถฝึกอบรมเอง หรือส่งไปรับการฝึกอบรมอื่นๆได้ ช่วยให้นายจ้างสามารถลดต้นทุน และทำให้ลูกจ้างมีทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น อีกทั้งสามารถลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยมีระบบ PRB e-Service ให้บริการเกี่ยวกับ การยื่นคำขอ การยื่นเอกสาร หลักฐานต่างๆ เพื่อรับรองหลักสูตรและค่าใช้จ่าย ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ กองส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน โทร ๐๒ – ๒๔๖ -๑๙๓๗

ส่งเสริมการมีงานทำ มุ่งเน้นคนไทยมีงานทำทุกพื้นที่
       ๑. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงานระดับพื้นที่ 
กระทรวงแรงงานได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงานระดับพื้นที่ โดยจ้างบัณฑิตแรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงานในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ และ ๔ อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) และจ้างอาสาสมัครแรงงานทั่วประเทศ จำนวน ๗,๒๕๕ คน และกรุงเทพมหานคร จำนวน ๓๔๗ คน เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับบริการด้านแรงงาน จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน 
       ผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีประชาชนได้รับบริการด้านแรงงาน ผ่านอาสาสมัครแรงงาน และบัณฑิตแรงงาน ด้านงานจัดหางาน งานฝึกอาชีพ/พัฒนาทักษะ งานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สิทธิประโยชน์ด้านประกันสังคม สิทธิประโยชน์แรงงานไทยในต่างประเทศ จำนวน ๓๙๙,๕๐๒ คน

       ๒. การขยายตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ
       ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กระทรวงแรงงานได้ดำเนินโครงการขยายตลาดเชิงรุก เพื่อการจ้างแรงงานไทยในต่างประเทศ และการรักษา รวมทั้งส่งเสริมตลาดแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยคณะผู้บริหารของกระทรวงแรงงานได้หารือกับนายจ้าง/สถานประกอบการ ในต่างประเทศเพื่อชักชวน ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ให้มีการจ้างแรงงานไทย การจัดกิจกรรมนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ศักยภาพและทักษะฝีมือแรงงาน ของไทย เป็นการรักษาและการขยายตลาดแรงงานในต่างประเทศ ให้ความสำคัญกับการรักษาตลาดแรงงาน เดิมที่มีสภาพการจ้างงานที่ดี ควบคู่กับการส่งเสริมการขยายตลาดแรงงานใหม่ในสาขาอาชีพ ที่แรงงานไทยมีความสามารถ โดยเพิ่มบทบาทภาครัฐในการดำเนินการขยายตลาดแรงงาน ในหลายภูมิภาคที่มีความต้องการแรงงานไทย
       ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินการขยายตลาดเชิงรุกเพื่อการจ้างแรงงานไทยในต่างประเทศ นำมาซึ่งการ ลงนามในความตกลงด้านการจ้างแรงงานในสาธารณรัฐเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น ดังนี้ 
       (๑) เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ มีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการจัดส่งแรงงาน ภาคเกษตรตามฤดูกาล (MOU) ระหว่าง กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กับ อำเภอจินอัน สาธารณรัฐเกาหลี โดยสาระสำคัญของการลงนาม MOU ทั้ง ๒ ฝ่าย จะร่วมกันขับเคลื่อนกระบวนการจัดส่ง - รับแรงงานไทย เพื่อไปทำงานภาคเกษตรตามฤดูกาล ณ อำเภอจินอัน จังหวัดซอลลาบุก สาธารณรัฐเกาหลี ให้เกิดประโยชน์ บนหลักการพื้นฐานของความไว้วางใจและความเท่าเทียม และกำหนดมาตรการคุ้มครองแรงงานที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าแรงงานตามฤดูกาลได้รับสิทธิและผลประโยชน์ตามความเหมาะสม สร้างการป้องกัน และดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อต่อต้านการจัดส่ง – รับแรงงาน ตามฤดูกาลโดยมิชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการจ้างแรงงานตามฤดูกาล อย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งจัดหาแรงงาน ตามฤดูกาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ในอำเภอ จินอัน จังหวัดซอลลาบุก สาธารณรัฐเกาหลี
       (๒) กระทรวงแรงงาน และองค์กรพัฒนาแรงงานระดับนานาชาติ ประเทศญี่ปุ่น (Public Interest Foundation, International Manpower Development Organization, Japan : IM Japan หรือเรียกโดยย่อ ว่า IM ประเทศญี่ปุ่น) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคไทย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๑ และองค์กร IM Japan ได้ลงนามข้อตกลงการรับผู้ฝึกปฏิบัติงานด้านเทคนิคไทย กับอีก ๔ ประเทศ คือ อินโดนีเซีย เวียดนาม บังคลาเทศ และศรีลังกา ปัจจุบัน กรมการจัดหางาน สำนักงานแรงงานไทย ในประเทศญี่ปุ่น และองค์กร IM Japan อยู่ระหว่างพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยโครงการแรงงานทักษะเฉพาะ และกำหนดวันลงนามในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๖

       . โครงการ Job Expo Thailand 2023 
       เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน สร้างโอกาสในการหางานให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
ทุกกลุ่มอายุ มุ่งเน้นให้ผู้สมัครงานและนายจ้างเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ด้วยระบบเทคโนโลยี สารสนเทศที่ทันสมัย ดำเนินการ ๔ จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดภูเก็ต โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น จำนวน ๑๔๘,๓๑๗ คน มีผู้สมัครงาน (ในประเทศและต่างประเทศ) จำนวน ๑๒๑,๓๗๓ คน ได้รับการบรรจุงาน จำนวน ๙๖,๒๓๓ คน แยกเป็นมีงานทำในประเทศ จำนวน ๘๐,๙๕๒ คน (ก่อให้เกิดรายได้ ๑๓,๖๕๕,๑๑๖,๘๖๐ บาท) และมีงานทำในต่างประเทศ จำนวน ๑๕,๒๘๑ คน (ก่อให้เกิดรายได้ ๑๘,๙๑๖.๓๐ ล้านบาท) ได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพ จำนวน ๓,๗๑๐ คน แสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน/OTOP/ธุรกิจฟู้ดทรัค แฟรนไชส์ ก่อให้เกิดรายได้ ๑,๔๔๒,๒๗๘ บาท
       ๔. โครงการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
       เป็นโครงการส่งเสริมการมีงานทำให้กับกลุ่มคนพิการ ให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเอง และครอบครัวได้ มีความภาคภูมิใจในตัวเอง อยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยประชาสัมพันธ์ เชิญชวนนายจ้าง/สถานประกอบการที่เคยใช้สิทธิตามมาตรา ๓๔ ในการส่งเงินเข้ากองทุน ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้เปลี่ยนมาให้สิทธิตามมาตรา ๓๕ ประเภทการจ้างเหมาช่วงงาน หรือจ้างเหมาบริการแทน มีคนพิการและผู้ดูแลคนพิการเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๓,๗๘๓ คน นายจ้าง/สถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๔๐๔ แห่ง/๓,๗๘๓ คน และหน่วยงานบริการสาธารณะ รับคนพิการปฏิบัติงาน จำนวน ๒,๔๐๓ แห่ง/๓,๗๘๓ คน ก่อให้เกิดรายได้ ๔๕๒,๙๐๐,๗๖๐ บาท

       . การให้บริการจัดหางานต่างประเทศ
       ดำเนินการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยจัดส่งแรงงานไทย ไปทำงานต่างประเทศ จำนวน ๖๗,๐๙๖ คน มีรายได้ส่งกลับประเทศ ๒๔๓,๔๒๓ ล้านบาท ประเทศที่มีแรงงานไทย ให้ความสนใจเดินไปทำงาน ได้แก่ ไต้หวัน อิสราเอล ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สวีเดน มาเลเซีย สิงคโปร์ โปรตุเกส ลาว สหรัฐอเมริกา

คุ้มครองแรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยในการทำงาน
       ๑. ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. .... 
       กระทรวงแรงงาน ให้ความสำคัญในการสร้างหลักประกันทางอาชีพแก่แรงงานอิสระ ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยได้ยกร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานอิสระ พ.ศ. .... ภายใต้เจตนารมณ์เพื่อให้แรงงานอิสระสามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานหรือการประกอบอาชีพ ความปลอดภัยในการทำงาน หลักประกันทางสังคม และการรวมกลุ่มหรือรวมตัวในการจัดตั้งองค์กร เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ให้เกิดความเป็นธรรมในการทำงาน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีความคืบหน้าที่ สำคัญ คือ อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบและวางแผนจัดทำ กฎหมายลำดับรองก่อนนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานพิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำส่ง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาในลำดับต่อไป 

       ๒. โครงการขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ไปสู่การปฏิบัติ
       กระทรวงแรงงานซึ่งเป็นเจ้าภาพหลักด้านการป้องกันการค้ามนุษย์ของประเทศไทยได้จัดทำมาตรฐานการ ปฏิบัติงานการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่า อาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (Standard Operating Procedure : SOP) กำหนดให้หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นำไปบังคับใช้จนทำให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ของประเทศไทยดีขึ้นตามลำดับ โดยในปี ๒๕๖๔ ประเทศไทยอยู่ในลำดับ Tier ๒ watch list ปี ๒๕๖๕ อยู่ในอันดับ Tier ๒ และล่าสุดในปี ๒๕๖๖ อยู่ในระดับ Tier ๒
       ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดทำแผนบูรณาการ ป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารร่วมกับภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม (Non-governmental organizations: NGO) ในพื้นที่ พร้อมจัดชุดตรวจบูรณาการในสถานประกอบกิจการ นายจ้างกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ตรวจตามการข่าว และตรวจจับกุมแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายและการค้ามนุษย์ในจังหวัดร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคง และฝ่ายปกครองในพื้นที่ โดยหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานดำเนินการตรวจบูรณาการ สถานประกอบกิจการกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๕,๓๖๓ แห่ง แรงงานได้รับการคุ้มครองจากการเป็นผู้เสียหาย จากการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จำนวน ๑๕๕,๔๗๔ คน
       โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ พบว่า มีการใช้แบบ รบ.๑ ในการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อแสวงหาข้อบ่งชี้สำหรับบุคคลที่มีเหตุอันควรสงสัยได้ว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการแสวงหาประโยชน์ ด้านแรงงาน แรงงานบังคับ หรือการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ในสถานประกอบกิจการ จำนวน ๑๕,๙๓๔ แห่ง มีลูกจ้างผ่านการคัดกรอง จำนวน ๖๑,๐๔๗ คน ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สามารถนำกลไกการส่งต่อระดับชาติ NRM มาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยมีมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และพนักงานตรวจแรงงาน ที่เป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถคัดกรองเบื้องต้นผู้ที่อาจเป็นผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน รวมถึงส่งต่อคดีได้อย่างเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิผล ประชาชนได้รับความคุ้มครองไม่ให้ตกเป็น ผู้ที่อาจจะเข้าข่ายการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ

       . ๑๒ พฤศจิกายน วันเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ประจำปี ๒๕๖๖
       ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ ที่กำหนดให้สถานประกอบกิจการต้องจัด ให้มี “เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน” (จป.) ทำหน้าที่ ดูแลด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการ เพื่อลดการประสบอันตราย และโรคเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง ซึ่งหากนับตั้งแต่วันที่กฎหมายฉบับแรกของการมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นวันครบรอบ ๓๘ ปี ของการมี จป.

       ๔. กิจกรรมส่งเสริมสวัสดิการแรงงานพันธุ์ดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โครงการสถานประกอบกิจการ และรัฐวิสาหกิจต้นแบบแรงงานพันธุ์ดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง และคณะกรรมการสวัสดิการ ในสถานประกอบกิจการดีเด่น 
       กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ดำเนินโครงการแรงงานพันธุ์ดี ตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นแนวทางด้วยการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ได้แก่ ที่ดินหรือพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณสถานประกอบกิจการ และการใช้เวลาว่างหลังเลิกงานหรือในวันหยุดของลูกจ้างให้เกิดประโยชน์  ทำการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ทำการเกษตร พืชผลที่ได้ส่วนหนึ่งลูกจ้างนำมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน แล้วนำกลับไปบริโภคในครัวเรือน และอีกส่วนหนึ่งลูกจ้างนำไปจำหน่าย อันเป็นการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายอีกทั้งเพิ่มรายได้ในครัวเรือนของลูกจ้าง ซึ่งในปี ๒๕๖๖มีสถานประกอบการได้รับการส่งเสริม จำนวน ๓๐๐ แห่ง สถานประกอบกิจการต้นแบบ แรงงานพันธุ์ดี จำนวน ๒๗ แห่ง และคณะกรรมการในสถานประกอบกิจการดีเด่น จำนวน ๑๔ แห่ง รวมจำนวน ๔๑ แห่ง เป็นเครือข่ายแรงงานพันธ์ดีฯ มีศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน ผู้เข้าร่วมงานจำนวน ๒๐๐ คน

       . โครงการออกหน่วยเคลื่อนที่บริการเบ็ดเสร็จ Service Delivery Unit
       ออกหน่วยเคลื่อนที่บริการเบ็ดเสร็จ Service Delivery Unit  เพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่แรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระ และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่ที่ห่างไกลจากจุดให้บริการที่ไม่สะดวก เข้ามารับบริการ ณ สำนักงาน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการ ณ สำนักงาน หรือผ่านช่องทางบริการอื่นๆ โดยขอเข้ารับบริการ ขอคำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ประกันสังคม

       . SSO 515 : ๕ โรค ๑๕ วัน
       เพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ภายใต้โครงการ SSO 515 : ๕ โรค ๑๕ วัน โดยดำเนินการผ่าตัดหรือการทำหัตถการใน ๕ โรค ได้แก่ ๑) โรคหัวใจและหลอดเลือด ๒) โรคหลอดเลือดสมอง ๓) นิ่วในไตและถุงน้ำดี ๔) มะเร็งเต้านม และ ๕) ก้อนเนื้อที่มดลูกและหรือรังไข่ ให้ผู้ประกันตนเข้าถึงการรักษาพยาบาลภายใน ๑๕ วันทันทีหลังแพทย์วินิจฉัย ซึ่งได้จัดทำบันทึก ข้อตกลงการให้บริการทางการแพทย์กับสถานพยาบาล จำนวน ๗๖ แห่ง 

ติดตามผลงานที่สำคัญของหน่วยงาน เพิ่มเติมได้ที่
https://www.doe.go.th/prd/main/video/param/site/1/cat/24/sub/0/pull/module/view/video-list

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ

เว็บไซต์กรมการจัดหางาน https://www.doe.go.th/prd/main/index?page=home
เว็บไซต์ไทยมีงานทำ https://xn--72c5abh2bf8icw0m9d.doe.go.th/
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว https://www.doe.go.th/alien
https://www.facebook.com/aliensdoe
กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน https://www.facebook.com/DoeCepd
https://www.doe.go.th/ipd
กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ https://www.doe.go.th/overseas
https://www.facebook.com/profile.php?id=61550932562495&mibextid=uzlsIk 
https://toea.doe.go.th

 

กระทรวงแรงงาน
กรมการจัดหางาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๒๔๗ ๙๔๒๓ , ๐ ๒๒๔๘ ๔๗๔๓ , สายด่วน ๑๕๐๖ กด ๒ และ ๑๖๔๙ ศูนย์มิตรไมตรี
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ