กระทรวงมหาดไทย
Ministry of Interior

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย

               กระทรวงมหาดไทย มุ่งมั่นยกระดับการให้บริการประชาชนไปสู่บริการดิจิทัล โดยให้ความสำคัญ กับการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government e-Service) เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้ กับประชาชนในการติดต่อและขอรับบริการ ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากผู้ใช้สามารถรับบริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ แทนการเดินทางมาติดต่อที่หน่วยงานหรือสำนักงาน รวมถึงช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐต่าง ๆ โดยมีการขับเคลื่อนและวางแผนการดำเนินงาน ในประเด็นการพัฒนาระบบ และการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)  เช่น
               แอปพลิเคชัน “ThaID” หรือ “ไทยดี” ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้เอกสารราชการปลอม ใช้สำหรับยืนยันตัวตนในการให้บริการที่ได้รับอนุญาตแล้ว และยังสามารถใช้บริการร่วมกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ อาทิ งานทะเบียนออนไลน์ การยื่นภาษีออนไลน์ การยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมออนไลน์ การจองหมายเลขทะเบียนรถผ่านอินเทอร์เน็ต และสมุดสุขภาพ

               แอปพลิเคชัน “SmartLands” รวบรวมช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการ ของกรมที่ดินไว้ที่จุดเดียว (Department of Lands Portal : DOL Portal) โดยรวบรวมการให้บริการด้านที่ดิน ต่าง ๆ ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว เพื่อลดขั้นตอน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ให้กับประชาชน เช่น สารานุกรมที่ดิน การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจด้านที่ดินที่สำคัญและจำเป็นสำหรับประชาชน การจองคิวยื่นคำขอจดทะเบียนและรังวัดที่ดิน การตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการรังวัดทั่วประเทศ การค้นหารูปแปลงที่ดิน การค้นหาข้อมูลนิติบุคคลจัดสรรที่ดินอาคารชุด การตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน การค้นหาที่ตั้งสำนักงานที่ดิน การคำนวณภาษีอากร ขั้นตอนการทำธุรกรรม การร้องทุกข์ - ร้องเรียน ฯลฯ

               แอปพลิเคชัน “เรียกช่าง” รวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบการด้านช่างบนเว็บไซต์ https://webs-apps.dpt.go.th/riakchang/main.php เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการค้นหาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบการ ด้านช่างที่อยู่ในพื้นที่ได้ทุกแห่งทั่วประเทศ 

               การให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)ของการไฟฟ้าและการประปา ยกระดับคุณภาพบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยสามารถรับบริการต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน บนสมาร์ทโฟน ได้แก่ “MEA Smart Life” “PEA Smart Plus” “MWA onMobile” และ “PWA1662” รวมถึงบนเว็บไซต์ของหน่วยงานอีกช่องทางหนึ่ง

               ศูนย์ดำรงธรรม รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และให้บริการประชาชน
ในภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม ดังนี้
               ๑) ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยและศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดทุกจังหวัด รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร บริการเบ็ดเสร็จ บริการรับ - ส่งต่อ ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว มีผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๕ และสามารถแก้ไขจนได้ข้อยุติได้ทั้งหมดจำนวนทั้งสิ้น ๓,๗๘๙ เรื่อง และ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ จำนวนทั้งสิ้น ๗๘๒,๕๑๑ เรื่อง โดยดำเนินการจนได้ข้อยุติ จำนวน ๗๖๗,๓๖๗ (ร้อยละ ๙๘.๐๕) ประชาชนได้รับประโยชน์ จำนวน ๕,๒๗๙,๑๕๔ คน 
               ๒) ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ จำนวน ๘๗๘ แห่ง รับเรื่องปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชน ประกอบด้วย การขอความช่วยเหลือ ข้อร้องเรียน/ความเดือดร้อน ขัดแย้งทางสังคม ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด ปัญหาเรื่องที่ดิน และเรื่องอื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๒,๘๒๗ เรื่อง โดยดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่ยุติ จำนวน ๑๑,๙๑๔ เรื่อง (ร้อยละ ๙๒.๘๘) 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย

       กระทรวงมหาดไทย มุ่งมั่นยกระดับการให้บริการประชาชนไปสู่บริการดิจิทัล โดยให้ความสำคัญ กับการให้บริการภาครัฐผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government e-Service) เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางให้ กับประชาชนในการติดต่อและขอรับบริการ ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากผู้ใช้สามารถรับบริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ แทนการเดินทางมาติดต่อที่หน่วยงานหรือสำนักงาน รวมถึงช่วยลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐต่าง ๆ โดยมีการขับเคลื่อนและวางแผนการดำเนินงาน ในประเด็นการพัฒนาระบบ และการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)  เช่น
       แอปพลิเคชัน “ThaID” หรือ “ไทยดี” ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อลดความเสี่ยงในการใช้เอกสารราชการปลอม ใช้สำหรับยืนยันตัวตนในการให้บริการที่ได้รับอนุญาตแล้ว และยังสามารถใช้บริการร่วมกับหน่วยงานราชการต่าง ๆ อาทิ งานทะเบียนออนไลน์ การยื่นภาษีออนไลน์ การยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมออนไลน์ การจองหมายเลขทะเบียนรถผ่านอินเทอร์เน็ต และสมุดสุขภาพ

       แอปพลิเคชัน “SmartLands” รวบรวมช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและบริการ ของกรมที่ดินไว้ที่จุดเดียว (Department of Lands Portal : DOL Portal) โดยรวบรวมการให้บริการด้านที่ดิน ต่าง ๆ ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว เพื่อลดขั้นตอน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ให้กับประชาชน เช่น สารานุกรมที่ดิน การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจด้านที่ดินที่สำคัญและจำเป็นสำหรับประชาชน การจองคิวยื่นคำขอจดทะเบียนและรังวัดที่ดิน การตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการรังวัดทั่วประเทศ การค้นหารูปแปลงที่ดิน การค้นหาข้อมูลนิติบุคคลจัดสรรที่ดินอาคารชุด การตรวจสอบราคาประเมินที่ดิน การค้นหาที่ตั้งสำนักงานที่ดิน การคำนวณภาษีอากร ขั้นตอนการทำธุรกรรม การร้องทุกข์ - ร้องเรียน ฯลฯ

       แอปพลิเคชัน “เรียกช่าง” รวบรวมข้อมูลของผู้ประกอบการด้านช่างบนเว็บไซต์ https://webs-apps.dpt.go.th/riakchang/main.php เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการค้นหาได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบการ ด้านช่างที่อยู่ในพื้นที่ได้ทุกแห่งทั่วประเทศ 

       การให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service)ของการไฟฟ้าและการประปา ยกระดับคุณภาพบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยสามารถรับบริการต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน บนสมาร์ทโฟน ได้แก่ “MEA Smart Life” “PEA Smart Plus” “MWA onMobile” และ “PWA1662” รวมถึงบนเว็บไซต์ของหน่วยงานอีกช่องทางหนึ่ง

       ศูนย์ดำรงธรรม รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และให้บริการประชาชน
ในภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม ดังนี้
       ๑) ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยและศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดทุกจังหวัด รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร บริการเบ็ดเสร็จ บริการรับ - ส่งต่อ ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว มีผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๕ และสามารถแก้ไขจนได้ข้อยุติได้ทั้งหมดจำนวนทั้งสิ้น ๓,๗๘๙ เรื่อง และ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ จำนวนทั้งสิ้น ๗๘๒,๕๑๑ เรื่อง โดยดำเนินการจนได้ข้อยุติ จำนวน ๗๖๗,๓๖๗ (ร้อยละ ๙๘.๐๕) ประชาชนได้รับประโยชน์ จำนวน ๕,๒๗๙,๑๕๔ คน 
       ๒) ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ จำนวน ๘๗๘ แห่ง รับเรื่องปัญหาความเดือดร้อน ของประชาชน ประกอบด้วย การขอความช่วยเหลือ ข้อร้องเรียน/ความเดือดร้อน ขัดแย้งทางสังคม ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด ปัญหาเรื่องที่ดิน และเรื่องอื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑๒,๘๒๗ เรื่อง โดยดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่ยุติ จำนวน ๑๑,๙๑๔ เรื่อง (ร้อยละ ๙๒.๘๘) 

กระทรวงมหาดไทย
ถนนอัษฎางค์ กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๒๒๒ ๑๑๔๑ ถึง ๕๕
อีเมล: saraban@moi.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ