ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1. โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน (Calories Credit Challenge: CCC)
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่งและมีคุณภาพ มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา และมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งในประเด็นยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ มุ่งส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชน บุคคลกลุ่มพิเศษ ออกกําลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอเป็นวิถีชีวิต
ปัจจุบันกระแสความนิยมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพิ่มมากขึ้น และในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้ประชาชนมุ่งเน้นการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาส่วนบุคคลมากขึ้น กอปรกับในยุคปัจจุบันเป็นสังคมดิจิทัลที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรูปแบบใหม่มาประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมทางการกีฬา ประกอบกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2566 - 2570) มีตัวชี้วัดหลักสำคัญให้ประชาชนทุกภาคส่วนออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570 ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปนโยบายของรัฐบาลและเจตนารมณ์ของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 - 2570) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติ การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน (Calories Credit Challenge : CCC) ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญในการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาของประชาชน เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นลำดับ โดยมีจุดมุ่งหมายให้แพลตฟอร์ม CCC เป็นแพลตฟอร์มกลางที่เชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกําลังกายและการเล่นกีฬา เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางพฤติกรรมการออกกำลังกายของคนไทยทั้งประเทศ ประชาชนที่ออกกำลังกายผ่าน Application CCC จะได้รับ Credits เพื่อแลกรับของรางวัลและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่จะช่วยส่งเสริมการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของประชาชน โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ประชาชนทุกช่วงวัย มีความตื่นตัวในการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอเป็นวิถีชีวิต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคนไทยทั้งประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2570
ปัจจุบันแพลตฟอร์ม CCC มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่มีขีดความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของประชาชน และสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลของส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องสามารถสะสมคะแนนจากการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในรูปแบบการสะสมแคลลอรี่ จำนวนก้าว ระยะทาง และวิธีการอื่นๆ ในมาตรฐานการวัดและเก็บข้อมูลเดียวกัน และสามารถนำคะแนนที่สะสมมาแลกรับของรางวัลหรือสิ่งของสมนาคุณ หรือมาตรการทางภาษีของภาครัฐ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีความตระหนักในการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และนำข้อมูลมากำหนดนโยบายด้านการกีฬาและด้านส่งเสริมสุขภาพของประเทศ ซึ่งมีช่องทางการนำเข้าข้อมูลการออกกำลังกายรายบุคคล ได้แก่ Mobile Application, เชื่อมต่อ Smart Watch และการบันทึกการกรอกเอง เพื่อรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์ม CCC พร้อมทั้งสามารถประมวลผลข้อมูลในรูปแบบ Dash Board สถิติการออกกำลังกายและเล่นกีฬาจำแนกตามพื้นที่จังหวัด จำแนกตามกลุ่มวัย รูปแบบการออกกำลังกาย เป็นต้น โดยมีแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมต่อกับ CCC ได้แก่ Apple Health Garmin Connect Strava Coros Fitbit Suunto และ Google Fit แอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับ CCC ผ่าน ได้แก่ Strava Nike Run Club Samsung Health Wahoo Zwift Polar Flow Zepp Life และเชื่อมต่อนาฬิกา Smart Watch ได้แก่ Samsung Gear Amazfit Apple Watch Polar Suunto Garmin Coros Xiaomi และ Wahoo ประกอบกับสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ออกแบบ Application Calories Credit Challenge (CCC) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานที่ยังไม่มีระบบในการจัดเก็บข้อมูลสามารถนำ Application CCC นำไปใช้ในการสร้างกิจกรรมกีฬาในรูปแบบท้าทาย (Challenge) สามารถใช้เป็นช่องทางในการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงานก่อนจะรวบรวมข้อมูลเข้ามาในแพลตฟอร์ม (Calories Credit Challenge : CCC) เพื่อนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการให้ของรางวัลและสิทธิพิเศษในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขของหน่วยงานที่สามารถกำหนดได้เอง
เริ่มต้นการใช้งาน Application CCC เมื่อเดือน เมษายน 2564 ปัจจุบันมีผู้เข้าใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 549,209 คน แคลอรีสะสมทั้งหมด 3,236,722,563กิโลแคลอรี จากข้อมูลผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น จำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ช่วงอายุที่ใช้งานมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 26 – 40 ปี ร้อยละ 31.66 รองลงมาเป็นช่วงอายุ 15 – 25 ปี ร้อยละ 20.33% ช่วงอายุ 41 – 50 ปี ร้อยละ 20.03% ช่วงอายุ 51 – 60 ปี ร้อยละ 18.31% อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 6.30% และช่วงอายุ 5 – 14 ปี ร้อยละ 3.36% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2568)
ปัจจุบันแพลตฟอร์ม CCC เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มของภาคเอกชนได้จำนวนทั้งสิ้น 10 ราย และในปี 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ภายใต้แคมเปญทุกแคลมีคุณค่า ชวนคนไทยรวมทีมฟิต 20 กระทรวงและ 77 จังหวัดทั่วประเทศ และกิจกรรมการออกกำลังกายสะสมแคลอรีและเครดิต ภายใต้โครงการเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีเป้าหมายภาพรวมทุกกิจกรรมให้ประชาชนคนไทยเข้าถึงแพลตฟอร์ม CCC ไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน” และได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เป็นการบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาแก่บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยมีหน่วยงานภาครัฐ 23 หน่วยงาน มหาวิทยาลัย 8 แห่ง และภาคเอกชน 19 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 50 หน่วยงาน ที่เห็นความสำคัญ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชนอันจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดี คุณภาพชีวิตที่ดี บุคลากรที่เข้มแข็งมีความพร้อมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ รวมทั้งมีกิจกรรมการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวที่นำ CCC ไปบูรณาการในการจัดกิจกรรม เช่น เดิน วิ่งเพื่อสุขภาพ ของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการนำ CCC ไปเป็นเครื่องมือในการสร้าง Challenge เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ รวมแล้วกว่า 12,000 ชาเลนต์ เช่น กองทัพอากาศ กระทรวง 20 กระทรวง เทศบาลตำบล โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน มหาวิทยาลัย สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยฯ เป็นต้น
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีความพร้อมที่จะบูรณาการแพลตฟอร์มกับโครงการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนเพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย และส่งเสริมการเล่นกีฬาของประเทศ และการบูรณาการแลกแต้มโดยใช้ CCC Point หรือแต้มสะสมจากแคลอรีที่ออกกำลังกายได้ ในการแลกของรางวัลและสิทธิประโยชน์ของหน่วยงานที่ทำแคมเปญร่วมกันบนแพลตฟอร์ม CCC ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1. โครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน (Calories Credit Challenge: CCC)
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน โดยจะเห็นได้จากยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่งและมีคุณภาพ มีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา และมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งในประเด็นยุทธศาสตร์การเสริมสร้างศักยภาพการกีฬาในการสร้างคุณค่าทางสังคมและพัฒนาประเทศ มุ่งส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ประชาชน บุคคลกลุ่มพิเศษ ออกกําลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอเป็นวิถีชีวิต
ปัจจุบันกระแสความนิยมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพิ่มมากขึ้น และในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้ประชาชนมุ่งเน้นการออกกำลังกาย และเล่นกีฬาส่วนบุคคลมากขึ้น กอปรกับในยุคปัจจุบันเป็นสังคมดิจิทัลที่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรูปแบบใหม่มาประยุกต์ใช้กับนวัตกรรมทางการกีฬา ประกอบกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2566 - 2570) มีตัวชี้วัดหลักสำคัญให้ประชาชนทุกภาคส่วนออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570 ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปนโยบายของรัฐบาลและเจตนารมณ์ของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2566 - 2570) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติ การออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน (Calories Credit Challenge : CCC) ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญในการเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาของประชาชน เพื่อช่วยให้ประชาชนคนไทยมีสุขภาพดีและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นลำดับ โดยมีจุดมุ่งหมายให้แพลตฟอร์ม CCC เป็นแพลตฟอร์มกลางที่เชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกําลังกายและการเล่นกีฬา เพื่อเป็นฐานข้อมูลกลางพฤติกรรมการออกกำลังกายของคนไทยทั้งประเทศ ประชาชนที่ออกกำลังกายผ่าน Application CCC จะได้รับ Credits เพื่อแลกรับของรางวัลและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่จะช่วยส่งเสริมการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของประชาชน โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ประชาชนทุกช่วงวัย มีความตื่นตัวในการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอเป็นวิถีชีวิต ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของคนไทยทั้งประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2570
ปัจจุบันแพลตฟอร์ม CCC มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่มีขีดความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมทางกาย การออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของประชาชน และสามารถเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลของส่วนราชการ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องสามารถสะสมคะแนนจากการออกกำลังกายและเล่นกีฬาในรูปแบบการสะสมแคลลอรี่ จำนวนก้าว ระยะทาง และวิธีการอื่นๆ ในมาตรฐานการวัดและเก็บข้อมูลเดียวกัน และสามารถนำคะแนนที่สะสมมาแลกรับของรางวัลหรือสิ่งของสมนาคุณ หรือมาตรการทางภาษีของภาครัฐ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมีความตระหนักในการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และนำข้อมูลมากำหนดนโยบายด้านการกีฬาและด้านส่งเสริมสุขภาพของประเทศ ซึ่งมีช่องทางการนำเข้าข้อมูลการออกกำลังกายรายบุคคล ได้แก่ Mobile Application, เชื่อมต่อ Smart Watch และการบันทึกการกรอกเอง เพื่อรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบแพลตฟอร์ม CCC พร้อมทั้งสามารถประมวลผลข้อมูลในรูปแบบ Dash Board สถิติการออกกำลังกายและเล่นกีฬาจำแนกตามพื้นที่จังหวัด จำแนกตามกลุ่มวัย รูปแบบการออกกำลังกาย เป็นต้น โดยมีแอปพลิเคชันที่สามารถเชื่อมต่อกับ CCC ได้แก่ Apple Health Garmin Connect Strava Coros Fitbit Suunto และ Google Fit แอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อกับ CCC ผ่าน ได้แก่ Strava Nike Run Club Samsung Health Wahoo Zwift Polar Flow Zepp Life และเชื่อมต่อนาฬิกา Smart Watch ได้แก่ Samsung Gear Amazfit Apple Watch Polar Suunto Garmin Coros Xiaomi และ Wahoo ประกอบกับสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ออกแบบ Application Calories Credit Challenge (CCC) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานที่ยังไม่มีระบบในการจัดเก็บข้อมูลสามารถนำ Application CCC นำไปใช้ในการสร้างกิจกรรมกีฬาในรูปแบบท้าทาย (Challenge) สามารถใช้เป็นช่องทางในการจัดเก็บข้อมูลของแต่ละหน่วยงานก่อนจะรวบรวมข้อมูลเข้ามาในแพลตฟอร์ม (Calories Credit Challenge : CCC) เพื่อนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการให้ของรางวัลและสิทธิพิเศษในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขของหน่วยงานที่สามารถกำหนดได้เอง
เริ่มต้นการใช้งาน Application CCC เมื่อเดือน เมษายน 2564 ปัจจุบันมีผู้เข้าใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 549,209 คน แคลอรีสะสมทั้งหมด 3,236,722,563กิโลแคลอรี จากข้อมูลผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่น จำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ช่วงอายุที่ใช้งานมากที่สุด คือ ช่วงอายุ 26 – 40 ปี ร้อยละ 31.66 รองลงมาเป็นช่วงอายุ 15 – 25 ปี ร้อยละ 20.33% ช่วงอายุ 41 – 50 ปี ร้อยละ 20.03% ช่วงอายุ 51 – 60 ปี ร้อยละ 18.31% อายุมากกว่า 60 ปี ร้อยละ 6.30% และช่วงอายุ 5 – 14 ปี ร้อยละ 3.36% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2568)
ปัจจุบันแพลตฟอร์ม CCC เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มของภาคเอกชนได้จำนวนทั้งสิ้น 10 ราย และในปี 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้บุคลากรของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป ภายใต้แคมเปญทุกแคลมีคุณค่า ชวนคนไทยรวมทีมฟิต 20 กระทรวงและ 77 จังหวัดทั่วประเทศ และกิจกรรมการออกกำลังกายสะสมแคลอรีและเครดิต ภายใต้โครงการเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีเป้าหมายภาพรวมทุกกิจกรรมให้ประชาชนคนไทยเข้าถึงแพลตฟอร์ม CCC ไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน” และได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เป็นการบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนและส่งเสริมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาแก่บุคลากรภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยมีหน่วยงานภาครัฐ 23 หน่วยงาน มหาวิทยาลัย 8 แห่ง และภาคเอกชน 19 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 50 หน่วยงาน ที่เห็นความสำคัญ และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชนอันจะส่งผลต่อสุขภาพที่ดี คุณภาพชีวิตที่ดี บุคลากรที่เข้มแข็งมีความพร้อมในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ รวมทั้งมีกิจกรรมการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวที่นำ CCC ไปบูรณาการในการจัดกิจกรรม เช่น เดิน วิ่งเพื่อสุขภาพ ของหน่วยงานต่างๆ ตลอดจนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการนำ CCC ไปเป็นเครื่องมือในการสร้าง Challenge เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรในหน่วยงานออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ รวมแล้วกว่า 12,000 ชาเลนต์ เช่น กองทัพอากาศ กระทรวง 20 กระทรวง เทศบาลตำบล โรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียน มหาวิทยาลัย สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยฯ เป็นต้น
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีความพร้อมที่จะบูรณาการแพลตฟอร์มกับโครงการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน โดยรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนเพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายด้านส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย และส่งเสริมการเล่นกีฬาของประเทศ และการบูรณาการแลกแต้มโดยใช้ CCC Point หรือแต้มสะสมจากแคลอรีที่ออกกำลังกายได้ ในการแลกของรางวัลและสิทธิประโยชน์ของหน่วยงานที่ทำแคมเปญร่วมกันบนแพลตฟอร์ม CCC ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
บทบาท/ภารกิจของกรมพลศึกษา
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการพลศึกษาของชาติ วิสัยทัศน์ " คนไทยออกกำลังกาย เล่นกีฬา และนันทนาการเป็นวิถีชีวิตเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน " ตามค่านิยมกรมพลศึกษาที่ว่า " กรมพลศึกษา มอบความสุขให้มวลชน " โดยมุ่งขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นศักยภาพการกีฬา โดยประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรมกับทุกภาคส่วนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ มีเจ้าหน้าที่พลศึกษาประจำอำเภอและอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย (อสก.) ประจำหมู่บ้าน โดยปี 2567 ส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาสม่ำเสมอ 26.262 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 44.39 มีการดำเนินการพัฒนากีฬาทั้งกีฬาขั้นพื้นฐานและกีฬามวลชน การส่งเสริมนันทนาการ การพัฒนาบุคลากรการพลศึกษา เพื่อเสริมสร้างพลานามัยของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการดำเนินการโครงการสำคัญ ได้แก่
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมพลศึกษา
1. โครงการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมนันทนาการในเด็กและเยาวชน
มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักในคุณค่าของกิจกรรมนันทนาการ ได้แสดงออกซึ่งความสามารถด้านนันทนาการ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมนันทนาการตามความถนัดหรือความสนใจเฉพาะบุคคล และได้ใช้เวลาว่างเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ เพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม
โดยในปี 2567 มีการจัดกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ศูนย์นันทนาการ กรมพลศึกษา โดยเปิดให้บริการกิจกรรมนันทนาการ แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์นันทนาการ กรมพลศึกษา ประตู 14 สนามศุภชลาศัย วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 17.00 น. – 19.00 น. และจัดกิจกรรมร้อนนี้มีนันทนาการเพื่อลูกรักเป็นกิจกรรมในช่วงปิดภาคเรียนของเด็กและเยาวชน
กิจกรรมที่ 2 การประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี พ.ศ. 2567 ประเภทการประกวด “เดินแถวมาร์ชชิ่ง” ระหว่างวันที่ 13 – 14 มกราคม 2567 ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีวงโยธวาทิตเข้าร่วมการประกวดฯ จำนวน 12 วง มีนักดนตรี นักแสดง ผู้ฝึกสอน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 1,200 คน ผู้สนใจเข้าชม เชียร์ในสนามการประกวด 2,500 คน และผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ (เพจเฟซบุ๊ก/ TiKToK) จำนวน 1,309,521 คน/ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90.4 ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมจากการจัดงาน (GDP) 18.77 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนทั้งหมด 63.4 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 80 คน
กิจกรรมที่ 3 มหกรรมภูมิปัญญานันทนาการท้องถิ่นอีสาน การประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง ชิงถ้วยพระราชทานฯ กิจกรรมมหกรรมภูมิปัญญานันทนาการท้องถิ่นอีสาน การประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 3 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ระหว่างวันที่ 9 - 11 สิงหาคม 2567 ณ ขอนแก่นฮอลล์ ชั้น 5 จังหวัดขอนแก่น มีจำนวนนักดนตรี นักแสดง และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม จำนวน 1,400 คน มีผู้สนใจเข้าชม เชียร์ ในสนามการประกวด จำนวน 12,000 คน และมีผู้ชมผ่านสื่อออนไลน์ จำนวน 2,430,726 คน/ครั้ง
กิจกรรมที่ 4 การประกวดศิลปะการแสดงพื้นบ้านโนรา ชิงถ้วยพระราชทานฯ กรมพลศึกษา ร่วมกับ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการประกวดศิลปะการแสดงพื้นบ้านโนราชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2567 ณ หอประชุมเมืองเทศบาลนครนครศรีธรรมราช (ทุ่งท่าลาด) จังหวัดนครศรีธรรมราช แข่งขัน 2 ประเภท ประกอบด้วย รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี มีผู้ฝึกสอน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 150 คน มีผู้สนใจเข้าชม เชียร์ ในสนามการประกวด จำนวน 500 คน และผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 12,032 คน/ครั้ง (จากการถ่ายทอดสดผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 7,115 คน/ครั้ง, เพจเฟซบุ๊ก : สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา จำนวน 530 คน/ครั้ง และจากแพลตฟอร์ม TikTok ยอดการรับชม จำนวน 4,387 วิว) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 94.34 (จากผู้ชมการประกวดฯ คิดเป็นร้อยละ 92.8 ผู้ควบคุมคณะ คิดเป็นร้อยละ 90.22 และผู้เข้าร่วมการประกวดฯ คิดเป็นร้อยละ 100)
และในปี 2568 มีการดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี พ.ศ. 2568 ในระหว่างวันที่ 17-19 มกราคม 2568 โดยดำเนินการจัดประกวดวงโยธวาทิตประเภทเดินแถวมาร์ชชิ่ง ในวันที่ 17 มกราคม 2568 ณ สนามศุภชลาศัย และประเภทนั่งบรรเลง จำนวน 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ในวันที่ 18-19 มกราคม 2568 อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ภาพการประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทานฯ ปี 2568
ช่องทางการติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม :
Line OA ID : @871sanxr
บทบาท/ภารกิจของกรมพลศึกษา
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการพลศึกษาของชาติ วิสัยทัศน์ " คนไทยออกกำลังกาย เล่นกีฬา และนันทนาการเป็นวิถีชีวิตเพื่อสุขภาวะที่ยั่งยืน " ตามค่านิยมกรมพลศึกษาที่ว่า " กรมพลศึกษา มอบความสุขให้มวลชน " โดยมุ่งขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นศักยภาพการกีฬา โดยประสานความร่วมมือในการจัดกิจกรรมกับทุกภาคส่วนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ มีเจ้าหน้าที่พลศึกษาประจำอำเภอและอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย (อสก.) ประจำหมู่บ้าน โดยปี 2567 ส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาสม่ำเสมอ 26.262 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 44.39 มีการดำเนินการพัฒนากีฬาทั้งกีฬาขั้นพื้นฐานและกีฬามวลชน การส่งเสริมนันทนาการ การพัฒนาบุคลากรการพลศึกษา เพื่อเสริมสร้างพลานามัยของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการดำเนินการโครงการสำคัญ ได้แก่
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมพลศึกษา
1. โครงการส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมนันทนาการในเด็กและเยาวชน
มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักในคุณค่าของกิจกรรมนันทนาการ ได้แสดงออกซึ่งความสามารถด้านนันทนาการ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมนันทนาการตามความถนัดหรือความสนใจเฉพาะบุคคล และได้ใช้เวลาว่างเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ เพื่อการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม
โดยในปี 2567 มีการจัดกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 ศูนย์นันทนาการ กรมพลศึกษา โดยเปิดให้บริการกิจกรรมนันทนาการ แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ณ ศูนย์นันทนาการ กรมพลศึกษา ประตู 14 สนามศุภชลาศัย วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 17.00 น. – 19.00 น. และจัดกิจกรรมร้อนนี้มีนันทนาการเพื่อลูกรักเป็นกิจกรรมในช่วงปิดภาคเรียนของเด็กและเยาวชน
กิจกรรมที่ 2 การประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี พ.ศ. 2567 ประเภทการประกวด “เดินแถวมาร์ชชิ่ง” ระหว่างวันที่ 13 – 14 มกราคม 2567 ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีวงโยธวาทิตเข้าร่วมการประกวดฯ จำนวน 12 วง มีนักดนตรี นักแสดง ผู้ฝึกสอน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 1,200 คน ผู้สนใจเข้าชม เชียร์ในสนามการประกวด 2,500 คน และผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ (เพจเฟซบุ๊ก/ TiKToK) จำนวน 1,309,521 คน/ครั้ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 90.4 ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมจากการจัดงาน (GDP) 18.77 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนทั้งหมด 63.4 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 80 คน
กิจกรรมที่ 3 มหกรรมภูมิปัญญานันทนาการท้องถิ่นอีสาน การประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง ชิงถ้วยพระราชทานฯ กิจกรรมมหกรรมภูมิปัญญานันทนาการท้องถิ่นอีสาน การประกวดดนตรีพื้นบ้านวงโปงลาง ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 3 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ระหว่างวันที่ 9 - 11 สิงหาคม 2567 ณ ขอนแก่นฮอลล์ ชั้น 5 จังหวัดขอนแก่น มีจำนวนนักดนตรี นักแสดง และผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วม จำนวน 1,400 คน มีผู้สนใจเข้าชม เชียร์ ในสนามการประกวด จำนวน 12,000 คน และมีผู้ชมผ่านสื่อออนไลน์ จำนวน 2,430,726 คน/ครั้ง
กิจกรรมที่ 4 การประกวดศิลปะการแสดงพื้นบ้านโนรา ชิงถ้วยพระราชทานฯ กรมพลศึกษา ร่วมกับ จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดการประกวดศิลปะการแสดงพื้นบ้านโนราชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีประจำปี พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2567 ณ หอประชุมเมืองเทศบาลนครนครศรีธรรมราช (ทุ่งท่าลาด) จังหวัดนครศรีธรรมราช แข่งขัน 2 ประเภท ประกอบด้วย รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี มีผู้ฝึกสอน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 150 คน มีผู้สนใจเข้าชม เชียร์ ในสนามการประกวด จำนวน 500 คน และผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ สื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 12,032 คน/ครั้ง (จากการถ่ายทอดสดผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จำนวน 7,115 คน/ครั้ง, เพจเฟซบุ๊ก : สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา จำนวน 530 คน/ครั้ง และจากแพลตฟอร์ม TikTok ยอดการรับชม จำนวน 4,387 วิว) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจ ร้อยละ 94.34 (จากผู้ชมการประกวดฯ คิดเป็นร้อยละ 92.8 ผู้ควบคุมคณะ คิดเป็นร้อยละ 90.22 และผู้เข้าร่วมการประกวดฯ คิดเป็นร้อยละ 100)
และในปี 2568 มีการดำเนินการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี พ.ศ. 2568 ในระหว่างวันที่ 17-19 มกราคม 2568 โดยดำเนินการจัดประกวดวงโยธวาทิตประเภทเดินแถวมาร์ชชิ่ง ในวันที่ 17 มกราคม 2568 ณ สนามศุภชลาศัย และประเภทนั่งบรรเลง จำนวน 2 รุ่นอายุ ได้แก่ รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี และรุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี ในวันที่ 18-19 มกราคม 2568 อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ภาพการประกวดวงโยธวาทิตชิงถ้วยพระราชทานฯ ปี 2568
ช่องทางการติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม :
Line OA ID : @871sanxr
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมการท่องเที่ยว
ข้อมูลผลงานของกรมการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับหัวข้อ “ข้าราชการโปร่งใสใส่ใจเทคโนโลยี สืบสานความดี ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน”
1. ผลงานที่สำคัญของกรมการท่องเที่ยว
1.1 การเปิดใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล Thailand Smart Tour (TST) ผลักดันใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยจัดการนำเที่ยว
สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ยุทธศาสตร์ ที่ 2 : พัฒนาปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูง (Quality Tourism)
หัวข้อย่อย ที่ 2 : ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศ (Data and Data Infrastructure)
รายละเอียด/ลักษณะการดำเนินงาน
วันที่ 15 สิงหาคม 2567 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดตัวแพลตฟอร์มดิจิทัล Thailand Smart Tour (TST) เพื่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีในทุกย่างก้าว โดยผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการนำเที่ยว สำหรับบริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล Thailand Smart Tour (TST) ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่กรมการท่องเที่ยวพัฒนาขึ้นมา ช่วยยกระดับการจัดการนำเที่ยวและการประสานระหว่างบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ ให้มีความรวดเร็ว สะดวก สบาย ประหยัด ทันสมัย และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้ง แพลตฟอร์มดิจิทัลดังกล่าวยังตอบสนองเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วย ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในการคุ้มครองการประกอบธุรกิจของบริษัทนำเที่ยว และคุ้มครองการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ คือ บริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลนี้ได้ และยังมีประโยชน์ในการช่วยกันบริษัททัวร์เถื่อนและมัคคุเทศก์เถื่อนให้ออกไปจากระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศซึ่งนักท่องเที่ยวนอกจากได้รับความคุ้มครองจากการเดินทางท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตแล้วยังเชื่อมโยงไปถึงความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวตลอดทั้งโปรแกรมทัวร์อีกด้วย
การใช้งานแพลตฟอร์ม Thailand Smart Tour (TST) มีหลายฟังก์ชั่น ประกอบด้วยส่วนสำหรับบริษัททัวร์จะเป็นรูปแบบ Web Application โดยให้เข้าไปที่ Google พิมพ์ค้นหา URL : https://ThailandSmartTour.go.th เพื่อลงทะเบียนและใช้งาน โดยบริษัททัวร์สามารถกรอกข้อมูลรายละเอียดรายการนำเที่ยวที่กำหนดได้ด้วยตนเอง และจัดทำใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order Online) เพื่อส่งให้กับมัคคุเทศก์ที่จะรับงานนำเที่ยว และสำหรับมัคคุเทศก์จะต้องดาวน์โหลด Application ชื่อ “Thailand Smart Tour” ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ใช้ได้ทั้งผู้ที่ใช้โทรศัพท์ Smart Phone ในระบบ IOS และ Android โดยการใช้งานใน Application มัคคุเทศก์จะเห็นข้อมูลใบสั่งงานมัคคุเทศก์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Job Order Online) และสามารถตรวจสอบพร้อมกดรับงานได้ทันทีที่บริษัททัวร์ดำเนินการออกใบสั่งงานมัคคุเทศก์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และส่งงานให้ นอกจากนี้ มัคคุเทศก์จะสามารถตรวจสอบสถิติ และประวัติข้อมูลการทำงานย้อนหลังของตนเองได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์อีกหลายประการ เช่น ตลาดกลาง ในการจับคู่งาน หรือ Job Matching ระหว่างบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ที่จะมารับงานนำเที่ยว เป็นต้น
การเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม TST เป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ที่กรมการท่องเที่ยวนำมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และขอเชิญชวนบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ทุกท่าน ลงทะเบียนและเข้าใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าว เริ่มส่งงาน - รับงาน และเรียนรู้การทำงานให้เกิดความคุ้นเคย คุ้นชินกับการใช้งานระบบ Digital ให้มีความคล่อง เตรียมพร้อมรองรับการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ โดยบริษัททัวร์ต้องเลิกใช้วิธีการออกใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) แบบกระดาษโดยสิ้นเชิง ต้องจัดทำใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) ผ่านแพลตฟอร์ม Thailand Smart Tour (TST) นี้ และมัคคุเทศก์จะใช้แสดงให้กับเจ้าหน้าที่หากถูกตรวจสอบผ่าน Application TST เท่านั้น ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กรมการท่องเที่ยว โทร. 0 2141 3287 หรือ www.dot.go.th
ผลลัพธ์การดำเนินงาน
งานเปิดใช้ระบบ Thailand Smart Tour วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. กองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ได้ดำเนินการจัดงานเปิดใช้ระบบ Thailand Smart Tour (TST) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์การใช้งานระบบและแนะนำวิธีการใช้งานระบบให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ IDEAL8 Studio เขตสายไหม กรุงเทพฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting) และ Facebook Live กรมการท่องเที่ยว
ระบบ Thailand Smart Tour ( TST) เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่กรมการท่องเที่ยวได้นำนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เข้ามาช่วยยกระดับการดำเนินงานตามกฎหมายของธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ตอบสนองเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในการคุ้มครองการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและคุ้มครองการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใช้งานระบบนี้ได้ เกิดการป้องกันธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เถื่อนออกจากระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งทำให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น การทำงานของระบบ Thailand Smart Tour ( TST) ธุรกิจนำเที่ยวจะจัดทำใบสั่งงานมัคคุเทศก์ในรูปแบบอิเล็กทรอกนิกส์ (Job Order Online) ให้กับมัคคุเทศก์ผ่านระบบ โดยมัคคุเทศก์สามารถรับใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) ได้ทันที เมื่อแพลตฟอร์ม Thailand Smart Tour (TST) ถูกบังคับใช้ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการ แล้วจะส่งผลให้ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องจัดทำใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมการท่องเที่ยวทุกครั้งก่อนการนำเที่ยว และมัคคุเทศก์จะต้องแสดงใบสั่งงานมัคคุเทศก์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Job Order Online)ต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อมีการตรวจสอบผ่านระบบ Thailand Smart Tour (TST) เท่านั้น
1.2 การส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวลดคาร์บอน (Low carbon Tourism)
สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ยุทธศาสตร์ ที่ 3 : ยกระดับประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว (Tourism Experience)
หัวข้อย่อย ที่ 2 : ส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวศักยภาพสูงที่หลากหลายและสร้างสรรค์ของไทย (High - Potential and Creative Tourism)
รายละเอียด/ลักษณะการดำเนินงาน
1) จัดทำแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism)
2) จัดอบรมส่งเสริมและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวลดคาร์บอน ให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ ออนไลน์ และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวลดคาร์บอน ให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เป้าหมาย
3) จัดทำต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism)
4) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ จำนวน 11 เส้นทาง
ผลลัพธ์การดำเนินงาน
เส้นทางท่องเที่ยวลดคาร์บอนต้นแบบ จำนวน 11 เส้นทาง ประกอบด้วย
เส้นทางที่ 1 จังหวัดขอนแก่น-จังหวัดชัยภูมิ
เส้นทางที่ 2 จังหวัดอุดรธานี-จังหวัดหนองคาย
เส้นทางที่ 3 จังหวัดเลย-จังหวัดเพชรบูรณ์
เส้นทางที่ 4 จังหวัดอุทัยธานี-จังหวัดนครสวรรค์
เส้นทางที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่-จังหวัดลำปาง
เส้นทางที่ 6 จังหวัดเชียงราย-จังหวัดพะเยา
เส้นทางที่ 7 จังหวัดกระบี่-จังหวัดสุราษฏร์ธานี
เส้นทางที่ 8 จังหวัดพังงา-จังหวัดภูเก็ต
เส้นทางที่ 9 จังหวัดจันทบุรี-จังหวัดตราด
เส้นทางที่ 10 จังหวัดกาญจนบุรี-จังหวัดราชบุรี
เส้นทางที่ 11 จังหวัดสมุทรสาคร-จังหวัดสมุทรสงคราม
เพื่อให้การท่องเที่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างกัน นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการรวมถึงชุมชน ที่จะต้องคำนึงการรักษาสิ่งแวดล้อม หันมาใส่ใจในการท่องเที่ยวลดคาร์บอน เกิดการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบและเกิดความยั่งยืน
1.3 ระบบ DOT Academy พัฒนาและยกระดับศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ยุทธศาสตร์ ที่ 2 : พัฒนาปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูง (Quality Tourism)
หัวข้อย่อย ที่ 4 : พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน (Thai - Class Potential)
รายละเอียด/ลักษณะการดำเนินงาน
พัฒนาระบบ DOT Academy ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร
ผลลัพธ์การดำเนินงาน
1) ดำเนินการพัฒนาระบบ DOT Academy จำนวน 1 ระบบ
2) จัดอบรมให้กับผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ ในวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ อาคารสยามสเคป กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมรวมทั้งสิ้น 35 คน แบ่งเป็นผู้ดูแลระบบ จำนวน 10 คน และผู้ใช้ระบบ จำนวน 25 คน
ช่องทางสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย :
เว็บไซต์กรมการท่องเที่ยว | |
https://www.instagram.com/deptourism/?igsh=MjYzeTRkaWM2bWFp# |
|
X | |
Youtube | |
TikTok | |
อีเมล | webmaster@tourism.go.th |
ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ :
License Check ตรวจสอบใบอนุญาตก่อนเลือกซื้อทัวร์ | |
ระบบใบสั่งงานมัคคุเทศก์ออนไลน์ Thailand Smart Tour | |
คลังความรู้กองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ | |
การจัดการทดสอบความรู้ความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (e-Exam For Tourist Guide New Entry) | |
การจัดอบรมเพื่อรองรับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (e-Learning For Tourist Guide License Renewal) |
|
ระบบ DOT Academy พัฒนาและยกระดับศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว | |
ช่องทางยื่นเรื่องร้องเรียน |
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมการท่องเที่ยว
ข้อมูลผลงานของกรมการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับหัวข้อ “ข้าราชการโปร่งใสใส่ใจเทคโนโลยี สืบสานความดี ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน”
1. ผลงานที่สำคัญของกรมการท่องเที่ยว
1.1 การเปิดใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล Thailand Smart Tour (TST) ผลักดันใช้เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยจัดการนำเที่ยว
สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ยุทธศาสตร์ ที่ 2 : พัฒนาปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูง (Quality Tourism)
หัวข้อย่อย ที่ 2 : ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและข้อมูลสารสนเทศ (Data and Data Infrastructure)
รายละเอียด/ลักษณะการดำเนินงาน
วันที่ 15 สิงหาคม 2567 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดตัวแพลตฟอร์มดิจิทัล Thailand Smart Tour (TST) เพื่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีในทุกย่างก้าว โดยผลักดันให้มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการนำเที่ยว สำหรับบริษัทนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล Thailand Smart Tour (TST) ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่กรมการท่องเที่ยวพัฒนาขึ้นมา ช่วยยกระดับการจัดการนำเที่ยวและการประสานระหว่างบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ ให้มีความรวดเร็ว สะดวก สบาย ประหยัด ทันสมัย และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง อีกทั้ง แพลตฟอร์มดิจิทัลดังกล่าวยังตอบสนองเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วย ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในการคุ้มครองการประกอบธุรกิจของบริษัทนำเที่ยว และคุ้มครองการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ คือ บริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลนี้ได้ และยังมีประโยชน์ในการช่วยกันบริษัททัวร์เถื่อนและมัคคุเทศก์เถื่อนให้ออกไปจากระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศซึ่งนักท่องเที่ยวนอกจากได้รับความคุ้มครองจากการเดินทางท่องเที่ยวผ่านบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตแล้วยังเชื่อมโยงไปถึงความปลอดภัยในการเดินทางท่องเที่ยวตลอดทั้งโปรแกรมทัวร์อีกด้วย
การใช้งานแพลตฟอร์ม Thailand Smart Tour (TST) มีหลายฟังก์ชั่น ประกอบด้วยส่วนสำหรับบริษัททัวร์จะเป็นรูปแบบ Web Application โดยให้เข้าไปที่ Google พิมพ์ค้นหา URL : https://ThailandSmartTour.go.th เพื่อลงทะเบียนและใช้งาน โดยบริษัททัวร์สามารถกรอกข้อมูลรายละเอียดรายการนำเที่ยวที่กำหนดได้ด้วยตนเอง และจัดทำใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order Online) เพื่อส่งให้กับมัคคุเทศก์ที่จะรับงานนำเที่ยว และสำหรับมัคคุเทศก์จะต้องดาวน์โหลด Application ชื่อ “Thailand Smart Tour” ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ใช้ได้ทั้งผู้ที่ใช้โทรศัพท์ Smart Phone ในระบบ IOS และ Android โดยการใช้งานใน Application มัคคุเทศก์จะเห็นข้อมูลใบสั่งงานมัคคุเทศก์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Job Order Online) และสามารถตรวจสอบพร้อมกดรับงานได้ทันทีที่บริษัททัวร์ดำเนินการออกใบสั่งงานมัคคุเทศก์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และส่งงานให้ นอกจากนี้ มัคคุเทศก์จะสามารถตรวจสอบสถิติ และประวัติข้อมูลการทำงานย้อนหลังของตนเองได้อีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์อีกหลายประการ เช่น ตลาดกลาง ในการจับคู่งาน หรือ Job Matching ระหว่างบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ที่จะมารับงานนำเที่ยว เป็นต้น
การเปิดใช้งานแพลตฟอร์ม TST เป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ที่กรมการท่องเที่ยวนำมาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ และขอเชิญชวนบริษัททัวร์และมัคคุเทศก์ทุกท่าน ลงทะเบียนและเข้าใช้งานแพลตฟอร์มดังกล่าว เริ่มส่งงาน - รับงาน และเรียนรู้การทำงานให้เกิดความคุ้นเคย คุ้นชินกับการใช้งานระบบ Digital ให้มีความคล่อง เตรียมพร้อมรองรับการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ โดยบริษัททัวร์ต้องเลิกใช้วิธีการออกใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) แบบกระดาษโดยสิ้นเชิง ต้องจัดทำใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) ผ่านแพลตฟอร์ม Thailand Smart Tour (TST) นี้ และมัคคุเทศก์จะใช้แสดงให้กับเจ้าหน้าที่หากถูกตรวจสอบผ่าน Application TST เท่านั้น ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กรมการท่องเที่ยว โทร. 0 2141 3287 หรือ www.dot.go.th
ผลลัพธ์การดำเนินงาน
งานเปิดใช้ระบบ Thailand Smart Tour วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. กองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ได้ดำเนินการจัดงานเปิดใช้ระบบ Thailand Smart Tour (TST) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์การใช้งานระบบและแนะนำวิธีการใช้งานระบบให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ IDEAL8 Studio เขตสายไหม กรุงเทพฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting) และ Facebook Live กรมการท่องเที่ยว
ระบบ Thailand Smart Tour ( TST) เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่กรมการท่องเที่ยวได้นำนวัตกรรมทางเทคโนโลยี เข้ามาช่วยยกระดับการดำเนินงานตามกฎหมายของธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ตอบสนองเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ในการคุ้มครองการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและคุ้มครองการประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ที่มีใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าใช้งานระบบนี้ได้ เกิดการป้องกันธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เถื่อนออกจากระบบอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งทำให้การปฏิบัติงานมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น การทำงานของระบบ Thailand Smart Tour ( TST) ธุรกิจนำเที่ยวจะจัดทำใบสั่งงานมัคคุเทศก์ในรูปแบบอิเล็กทรอกนิกส์ (Job Order Online) ให้กับมัคคุเทศก์ผ่านระบบ โดยมัคคุเทศก์สามารถรับใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) ได้ทันที เมื่อแพลตฟอร์ม Thailand Smart Tour (TST) ถูกบังคับใช้ตามกฎหมายอย่างเป็นทางการ แล้วจะส่งผลให้ธุรกิจนำเที่ยวจะต้องจัดทำใบสั่งงานมัคคุเทศก์ (Job Order) ผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมการท่องเที่ยวทุกครั้งก่อนการนำเที่ยว และมัคคุเทศก์จะต้องแสดงใบสั่งงานมัคคุเทศก์ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Job Order Online)ต่อเจ้าหน้าที่ เมื่อมีการตรวจสอบผ่านระบบ Thailand Smart Tour (TST) เท่านั้น
1.2 การส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวลดคาร์บอน (Low carbon Tourism)
สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ยุทธศาสตร์ ที่ 3 : ยกระดับประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยว (Tourism Experience)
หัวข้อย่อย ที่ 2 : ส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวศักยภาพสูงที่หลากหลายและสร้างสรรค์ของไทย (High - Potential and Creative Tourism)
รายละเอียด/ลักษณะการดำเนินงาน
1) จัดทำแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism)
2) จัดอบรมส่งเสริมและพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวลดคาร์บอน ให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ ออนไลน์ และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวลดคาร์บอน ให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เป้าหมาย
3) จัดทำต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism)
4) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ จำนวน 11 เส้นทาง
ผลลัพธ์การดำเนินงาน
เส้นทางท่องเที่ยวลดคาร์บอนต้นแบบ จำนวน 11 เส้นทาง ประกอบด้วย
เส้นทางที่ 1 จังหวัดขอนแก่น-จังหวัดชัยภูมิ
เส้นทางที่ 2 จังหวัดอุดรธานี-จังหวัดหนองคาย
เส้นทางที่ 3 จังหวัดเลย-จังหวัดเพชรบูรณ์
เส้นทางที่ 4 จังหวัดอุทัยธานี-จังหวัดนครสวรรค์
เส้นทางที่ 5 จังหวัดเชียงใหม่-จังหวัดลำปาง
เส้นทางที่ 6 จังหวัดเชียงราย-จังหวัดพะเยา
เส้นทางที่ 7 จังหวัดกระบี่-จังหวัดสุราษฏร์ธานี
เส้นทางที่ 8 จังหวัดพังงา-จังหวัดภูเก็ต
เส้นทางที่ 9 จังหวัดจันทบุรี-จังหวัดตราด
เส้นทางที่ 10 จังหวัดกาญจนบุรี-จังหวัดราชบุรี
เส้นทางที่ 11 จังหวัดสมุทรสาคร-จังหวัดสมุทรสงคราม
เพื่อให้การท่องเที่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างกัน นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการรวมถึงชุมชน ที่จะต้องคำนึงการรักษาสิ่งแวดล้อม หันมาใส่ใจในการท่องเที่ยวลดคาร์บอน เกิดการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบและเกิดความยั่งยืน
1.3 ระบบ DOT Academy พัฒนาและยกระดับศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
สอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570)
ยุทธศาสตร์ ที่ 2 : พัฒนาปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพสูง (Quality Tourism)
หัวข้อย่อย ที่ 4 : พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขัน (Thai - Class Potential)
รายละเอียด/ลักษณะการดำเนินงาน
พัฒนาระบบ DOT Academy ซึ่งเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ที่มีองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร
ผลลัพธ์การดำเนินงาน
1) ดำเนินการพัฒนาระบบ DOT Academy จำนวน 1 ระบบ
2) จัดอบรมให้กับผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ ในวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ อาคารสยามสเคป กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมรวมทั้งสิ้น 35 คน แบ่งเป็นผู้ดูแลระบบ จำนวน 10 คน และผู้ใช้ระบบ จำนวน 25 คน
ช่องทางสื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดีย :
เว็บไซต์กรมการท่องเที่ยว | |
https://www.instagram.com/deptourism/?igsh=MjYzeTRkaWM2bWFp# |
|
X | |
Youtube | |
TikTok | |
อีเมล | webmaster@tourism.go.th |
ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ :
License Check ตรวจสอบใบอนุญาตก่อนเลือกซื้อทัวร์ | |
ระบบใบสั่งงานมัคคุเทศก์ออนไลน์ Thailand Smart Tour | |
คลังความรู้กองทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ | |
การจัดการทดสอบความรู้ความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (e-Exam For Tourist Guide New Entry) | |
การจัดอบรมเพื่อรองรับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (e-Learning For Tourist Guide License Renewal) |
|
ระบบ DOT Academy พัฒนาและยกระดับศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว | |
ช่องทางยื่นเรื่องร้องเรียน |