กระทรวงคมนาคม
Ministry of Transport

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม

       กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชน สามารถเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งพัฒนา ให้เกิดการเชื่อมโยง โครงข่ายคมนาคมขนส่งทุกระบบ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถเสริมสร้าง ศักยภาพของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และจราจรในภูมิภาค รวมทั้งดำเนินการ โครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
       เร่งรัดขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถนน โดยได้ผลักดันการก่อสร้าง ถนนทางหลวงและสะพาน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพโครงข่ายการเดินทางให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ โดยโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการแล้ว เช่น ขยาย ๔ ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข ๒๐๕ สาย อ.เทพสถิต - อ.บำเหน็จณรงค์ตอน บ.ช่องสำราญ - บ.คำปิง จ.ชัยภูมิ ระยะทาง ๒๒.๗ กิโลเมตร เพื่อศักยภาพการคมนาคมขนส่งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยาย ๔ ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ สาย อ.ร้องกวาง - น่าน  ตอน บ.ห้วยแก๊ต - บ.ห้วยน้ำอุ่น ระยะทาง ๑๖.๑๕ กิโลเมตร เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคเหนือ รวมทั้งขยายทางหลวงสาย ต.มาบตาพุด อ.นิคมพัฒนา รวมทางลอดจุดตัดทางหลวงหมายเลข ๓๑๙๑ กับทางหลวงหมายเลข ๓๓๗๕ (เดิม) (แยกนิคมพัฒนา) จ.ระยอง ระยะทาง ๑๓.๖ กิโลเมตร เพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง การขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ รองรับการสนับสนุนการพัฒนาโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น
       ด้านการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบราง กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้า เพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในเขตเมือง ซึ่งมีโครงการรถไฟฟ้าที่เปิด ให้บริการแล้ว ดังนี้ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ระยะทาง ๓๐.๔๐ กิโลเมตร (เปิดให้บริการ ๓ กรกฏาคม ๒๕๖๖) ทำให้ปัจจุบัน มีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการรวมทั้งสิ้น ๑๒ สายทาง คิดเป็นระยะทาง ๒๔๑ กิโลเมตร นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในการเดินทาง ซึ่งได้กำหนด มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด ๒๐ บาท ตลอดสาย โดยนำร่องในรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 
       เร่งรัดขับเคลื่อนการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ โดยได้พัฒนาระบบขนส่งทางน้ำในเขตเมือง การพัฒนาให้ท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) มีความสะดวก ปลอดภัย สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งรูปแบบอื่น รองรับการใช้ระบบตั๋วร่วม มีการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้บริการ มีระบบการควบคุมช่องทางขึ้น – ลงท่าเรือ มีระบบการควบคุมจำนวนผู้โดยสารลงเรือ ทำให้ปัจจุบัน ที่ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับการพัฒนาเป็น Smart Pier แล้ว รวม ๑๐ ท่าเรือ (จากทั้งหมด ๒๙ ท่าเรือ) เช่น ท่าเรือราชีนี ท่าเรือบางโพ ท่าเรือท่าเตียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาท่าเรือขนส่งสินค้าหลักของประเทศ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ ๓ ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้เป็น ๑๘ ล้านตู้/ปี อันจะส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบัง สามารถก้าวขึ้นเป็นท่าเรือระดับโลก (World-Class Port) ได้ต่อไป
       เร่งรัดขับเคลื่อนการพัฒนาการขนส่งทางอากาศ โดยได้ดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบิน รวมทั้งได้มีการนำเทคโนโลยี มาใช้ในการบริหารจัดการ ยกตัวอย่างโครงการที่สำคัญ เช่น เปิดให้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ ๑ (SAT-๑)  ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอาคารดังกล่าว จะช่วยสนับสนุนศักยภาพของอาคารผู้โดยสาร หลักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในการรองรับ ผู้โดยสารจากเดิม ๔๕ ล้านคน ต่อปี เป็น ๖๐ ล้านต่อปี นอกจากนี้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการให้บริการ เช่น การจัดการกับกระเป๋าสัมภาระ Check-in โดยติดตั้งระบบ Individual Carrier System (ICS)  ซึ่งเป็นระบบขนส่งสัมภาระความเร็วสูงเชื่อมต่อ ระหว่างอาคารผู้โดยสารหลัก (MTB) กับอาคาร SAT-๑ ซึ่งสามารถติดตามกระเป๋าสัมภาระที่มีความแม่นยำสูง ลดปัญหากระเป๋าสัมภาระ เสียหายในขั้นตอนการลำเลียงขึ้นอากาศยาน 
ในอนาคตกระทรวงคมนาคมได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ รองรับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ และลดต้นทุนโลจิสติกส์ด้านการขนส่ง ที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยภายหลังสถานการณ์โควิด - ๑๙ คลี่คลาย รวมทั้งมุ่งเน้นที่พัฒนาด้านการเดินทาง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถใช้บริการระบบขนส่งได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล โดยได้มีนโยบาย แผนงาน โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคู่ขนานกัน ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ดังนี้
       ทางถนน ได้เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก ให้ครอบคลุมเพียงพอ รองรับการเดินทาง และการขนส่งสินค้า ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และทางพิเศษที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - นครราชสีมา ระยะทาง ๑๙๖ กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อ ระหว่างกรุงเทพมหานคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพ ไปนครราชสีมา เหลือเพียง ๑.๕ ชั่วโมง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ระยะทาง ๙๖ กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางไปภาคตะวันตกของประเทศไทย สามารถลดระยะเวลาการเดินทาง จากกรุงเทพไปกาญจนบุรี เหลือเพียง ๑ ชั่วโมง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่จะขับเคลื่อนในอนาคต เช่น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง M๙ วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน - บางบัวทอง เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (M๙) ด้านทิศตะวันตก เพื่อบรรเทาปัญหาจราจร บนวงแหวนรอบนอกในปัจจุบัน ระยะทางรวม ๓๖.๐ กิโลเมตร 
       ทางราง กระทรวงคมนาคมได้มุ่งมั่นที่จะพลิกโฉมการขนส่งระบบรางของไทย ให้เป็นแกนหลักของการเดินทาง และการขนส่งเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถส่วนตัวมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น ด้วยการเร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยกระดับรถไฟไทยให้เป็นทางคู่ทั่วประเทศ และพัฒนารถไฟความเร็วสูง ยกตัวอย่างโครงการที่สำคัญเช่น ดำเนินการก่อสร้างสายสีชมพู   ช่วงแคราย - มีนบุรี (๓๔.๕๐ กิโลเมตร) สีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี (๓ กิโลเมตร) สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี (๒๒.๕๐ กิโลเมตร) และสายสีม่วง เตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (๒๓ กิโลเมตร) โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางสู่ภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของโครงการ เป็นต้น
       ทางน้ำ กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะ ท่าเรือขนส่งสินค้าหลักของประเทศ มาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ ท่าเรือปิ่นเกล้า ท่าเรือพระราม ๕ และท่าเรือปากเกร็ด เร่งพัฒนาท่าเทียบเรือ ทั้งท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ และท่าเรือน้ำลึก เช่น การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ ๓ เพื่อเพิ่มการขนส่งตู้สินค้าจาก ๑๑.๑๐ ล้าน ที.อี.ยู.ต่อปี เป็น ๑๘.๑๐ ล้าน ที.อี.ยู.ต่อปี โดยอยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานทางทะเล (งานส่วนที่ ๑) และอยู่ระหว่างขั้นตอนการประกวดราคา งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค สำหรับการสรรหาให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ ได้มีการลงนามในสัญญาแล้วเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (ท่าเทียบเรือ F๑ และ  F๒)
       ทางอากาศ กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานหลัก และท่าอากาศยานในภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่าง ดำเนินการก่อสร้าง อาทิ การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ ๒ และทางวิ่งเส้นที่ ๓ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (เพื่อเพิ่มขีดความสามารถจากเดิมรองรับ ๖๘ เที่ยวบินต่อชั่วโมงเป็น ๙๔ เที่ยวบินต่อชั่วโมง) งานก่อสร้างเสริมความแข็งแรงทางวิ่ง ก่อสร้างทางขับขนาน พร้อมระบบไฟฟ้า สนามบิน ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี รองรับการขึ้นลงของอากาศยานได้จากเดิม ๙ ลำ เป็น ๑๘ ลำ ต่อชั่วโมง เป็นต้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม

       กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชน สามารถเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งพัฒนา ให้เกิดการเชื่อมโยง โครงข่ายคมนาคมขนส่งทุกระบบ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถเสริมสร้าง ศักยภาพของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และจราจรในภูมิภาค รวมทั้งดำเนินการ โครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
       เร่งรัดขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานถนน โดยได้ผลักดันการก่อสร้าง ถนนทางหลวงและสะพาน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพโครงข่ายการเดินทางให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ โดยโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการแล้ว เช่น ขยาย ๔ ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข ๒๐๕ สาย อ.เทพสถิต - อ.บำเหน็จณรงค์ตอน บ.ช่องสำราญ - บ.คำปิง จ.ชัยภูมิ ระยะทาง ๒๒.๗ กิโลเมตร เพื่อศักยภาพการคมนาคมขนส่งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และขยาย ๔ ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข ๑๐๑ สาย อ.ร้องกวาง - น่าน  ตอน บ.ห้วยแก๊ต - บ.ห้วยน้ำอุ่น ระยะทาง ๑๖.๑๕ กิโลเมตร เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวในภาคเหนือ รวมทั้งขยายทางหลวงสาย ต.มาบตาพุด อ.นิคมพัฒนา รวมทางลอดจุดตัดทางหลวงหมายเลข ๓๑๙๑ กับทางหลวงหมายเลข ๓๓๗๕ (เดิม) (แยกนิคมพัฒนา) จ.ระยอง ระยะทาง ๑๓.๖ กิโลเมตร เพิ่มประสิทธิภาพการเดินทาง การขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ รองรับการสนับสนุนการพัฒนาโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นต้น
       ด้านการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบราง กระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้า เพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในเขตเมือง ซึ่งมีโครงการรถไฟฟ้าที่เปิด ให้บริการแล้ว ดังนี้ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ระยะทาง ๓๐.๔๐ กิโลเมตร (เปิดให้บริการ ๓ กรกฏาคม ๒๕๖๖) ทำให้ปัจจุบัน มีรถไฟฟ้าเปิดให้บริการรวมทั้งสิ้น ๑๒ สายทาง คิดเป็นระยะทาง ๒๔๑ กิโลเมตร นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในการเดินทาง ซึ่งได้กำหนด มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด ๒๐ บาท ตลอดสาย โดยนำร่องในรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 
       เร่งรัดขับเคลื่อนการพัฒนาการขนส่งทางน้ำ โดยได้พัฒนาระบบขนส่งทางน้ำในเขตเมือง การพัฒนาให้ท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) มีความสะดวก ปลอดภัย สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งรูปแบบอื่น รองรับการใช้ระบบตั๋วร่วม มีการให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้บริการ มีระบบการควบคุมช่องทางขึ้น – ลงท่าเรือ มีระบบการควบคุมจำนวนผู้โดยสารลงเรือ ทำให้ปัจจุบัน ที่ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ได้รับการพัฒนาเป็น Smart Pier แล้ว รวม ๑๐ ท่าเรือ (จากทั้งหมด ๒๙ ท่าเรือ) เช่น ท่าเรือราชีนี ท่าเรือบางโพ ท่าเรือท่าเตียน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังได้มีการพัฒนาท่าเรือขนส่งสินค้าหลักของประเทศ คือ ท่าเรือแหลมฉบัง ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ ๓ ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าได้เป็น ๑๘ ล้านตู้/ปี อันจะส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบัง สามารถก้าวขึ้นเป็นท่าเรือระดับโลก (World-Class Port) ได้ต่อไป
       เร่งรัดขับเคลื่อนการพัฒนาการขนส่งทางอากาศ โดยได้ดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการรองรับผู้โดยสารและเที่ยวบิน รวมทั้งได้มีการนำเทคโนโลยี มาใช้ในการบริหารจัดการ ยกตัวอย่างโครงการที่สำคัญ เช่น เปิดให้บริการอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ ๑ (SAT-๑)  ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอาคารดังกล่าว จะช่วยสนับสนุนศักยภาพของอาคารผู้โดยสาร หลักให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในการรองรับ ผู้โดยสารจากเดิม ๔๕ ล้านคน ต่อปี เป็น ๖๐ ล้านต่อปี นอกจากนี้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการให้บริการ เช่น การจัดการกับกระเป๋าสัมภาระ Check-in โดยติดตั้งระบบ Individual Carrier System (ICS)  ซึ่งเป็นระบบขนส่งสัมภาระความเร็วสูงเชื่อมต่อ ระหว่างอาคารผู้โดยสารหลัก (MTB) กับอาคาร SAT-๑ ซึ่งสามารถติดตามกระเป๋าสัมภาระที่มีความแม่นยำสูง ลดปัญหากระเป๋าสัมภาระ เสียหายในขั้นตอนการลำเลียงขึ้นอากาศยาน 
ในอนาคตกระทรวงคมนาคมได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ รองรับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ และลดต้นทุนโลจิสติกส์ด้านการขนส่ง ที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยภายหลังสถานการณ์โควิด - ๑๙ คลี่คลาย รวมทั้งมุ่งเน้นที่พัฒนาด้านการเดินทาง และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สามารถใช้บริการระบบขนส่งได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล โดยได้มีนโยบาย แผนงาน โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคู่ขนานกัน ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ดังนี้
       ทางถนน ได้เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลัก ให้ครอบคลุมเพียงพอ รองรับการเดินทาง และการขนส่งสินค้า ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และทางพิเศษที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน - นครราชสีมา ระยะทาง ๑๙๖ กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อ ระหว่างกรุงเทพมหานคร สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพ ไปนครราชสีมา เหลือเพียง ๑.๕ ชั่วโมง ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ระยะทาง ๙๖ กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางไปภาคตะวันตกของประเทศไทย สามารถลดระยะเวลาการเดินทาง จากกรุงเทพไปกาญจนบุรี เหลือเพียง ๑ ชั่วโมง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่จะขับเคลื่อนในอนาคต เช่น ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง M๙ วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน - บางบัวทอง เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (M๙) ด้านทิศตะวันตก เพื่อบรรเทาปัญหาจราจร บนวงแหวนรอบนอกในปัจจุบัน ระยะทางรวม ๓๖.๐ กิโลเมตร 
       ทางราง กระทรวงคมนาคมได้มุ่งมั่นที่จะพลิกโฉมการขนส่งระบบรางของไทย ให้เป็นแกนหลักของการเดินทาง และการขนส่งเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถส่วนตัวมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้น ด้วยการเร่งรัดพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยกระดับรถไฟไทยให้เป็นทางคู่ทั่วประเทศ และพัฒนารถไฟความเร็วสูง ยกตัวอย่างโครงการที่สำคัญเช่น ดำเนินการก่อสร้างสายสีชมพู   ช่วงแคราย - มีนบุรี (๓๔.๕๐ กิโลเมตร) สีชมพู ส่วนต่อขยาย ช่วงศรีรัช - เมืองทองธานี (๓ กิโลเมตร) สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรม - มีนบุรี (๒๒.๕๐ กิโลเมตร) และสายสีม่วง เตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (๒๓ กิโลเมตร) โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางสู่ภาคเหนือและภาคใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของโครงการ เป็นต้น
       ทางน้ำ กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาท่าเรือโดยสารสาธารณะ ท่าเรือขนส่งสินค้าหลักของประเทศ มาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ ท่าเรือโดยสารแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Pier) โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ ท่าเรือปิ่นเกล้า ท่าเรือพระราม ๕ และท่าเรือปากเกร็ด เร่งพัฒนาท่าเทียบเรือ ทั้งท่าเทียบเรือขนาดใหญ่ และท่าเรือน้ำลึก เช่น การพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ ๓ เพื่อเพิ่มการขนส่งตู้สินค้าจาก ๑๑.๑๐ ล้าน ที.อี.ยู.ต่อปี เป็น ๑๘.๑๐ ล้าน ที.อี.ยู.ต่อปี โดยอยู่ระหว่างดำเนินงานก่อสร้างงานทางทะเล (งานส่วนที่ ๑) และอยู่ระหว่างขั้นตอนการประกวดราคา งานก่อสร้างอาคาร ท่าเทียบเรือ ระบบถนน และระบบสาธารณูปโภค สำหรับการสรรหาให้เอกชนร่วมลงทุน ในกิจการของรัฐ ได้มีการลงนามในสัญญาแล้วเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (ท่าเทียบเรือ F๑ และ  F๒)
       ทางอากาศ กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาท่าอากาศยานหลัก และท่าอากาศยานในภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการ โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่าง ดำเนินการก่อสร้าง อาทิ การพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ ๒ และทางวิ่งเส้นที่ ๓ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (เพื่อเพิ่มขีดความสามารถจากเดิมรองรับ ๖๘ เที่ยวบินต่อชั่วโมงเป็น ๙๔ เที่ยวบินต่อชั่วโมง) งานก่อสร้างเสริมความแข็งแรงทางวิ่ง ก่อสร้างทางขับขนาน พร้อมระบบไฟฟ้า สนามบิน ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี รองรับการขึ้นลงของอากาศยานได้จากเดิม ๙ ลำ เป็น ๑๘ ลำ ต่อชั่วโมง เป็นต้น

กระทรวงคมนาคม
๓๘ ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ ๑๐๑๐๐
โทรศัพท์: (+๖๖) ๐ ๒๒๘๓ ๓๐๐๐
โทรสาร: (+๖๖) ๐ ๒๒๘๑ ๓๙๕๙
อีเมล: mot0200@mot.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ