นิทรรศการของหน่วยงาน > กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Ministry of Agriculture and Cooperatives

บทบาท/ภารกิจของกรมชลประทาน

 

วิสัยทัศน์

"กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580"

 

พันธกิจ

1) พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เกิดความสมดุล

2) บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม

3) ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำตามภารกิจอย่างเหมาะสม

4) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำ

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมชลประทาน

 

1. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรจริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน และวินัย สำหรับผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าฝ่าย รุ่นที่ 1 - 2

 

หลักการและเหตุผล

       แผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยยะสำคัญ (Big.Rock) เพื่อให้การปฏิรูปประเทศมีผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มุ่งเน้นพัฒนาระบบราชการไทยให้ “โปร่งใส ไร้ผลประโยชน์” โดยการสร้างจิตสำนึก ทัศนคติ และค่านิยมในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2565 และประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ปลูกฝังวิธีคิดการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม และกำหนดให้หน่วยงานดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานรับทราบสถานะและปัญหาการดำเนินงานในแต่ละปีงบประมาณ.แล้วนำไปจัดทำแนวทางการพัฒนาองค์กรให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงาน อันเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมสอดคล้องตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมที่กำหนด และเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริตให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนได้

 

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

  1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม และการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม มีจิตพอเพียงในการต่อต้านทุจริต
  2. มีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ของหน่วยงานภาครัฐ และนโยบาย No Gift Poliy จากการปฏิบัติหน้าที่
  3. มีความรู้เกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม มีความรู้เกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และมีความเข้าใจในแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) รวมทั้งการรับของขวัญ ของกำนัล จากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Poliy) สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

เป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งระดับหัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย ในทุกสายงานสังกัดกรมชลประทาน

 

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวม 100 คน

 

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 15 - 17 มกราคม 2568 (จัดเสร็จสิ้นแล้ว)

รุ่นที่ 2 ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2568

 

2. IoT เกษตรดิจิทัล เพิ่มพูนน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต

       Internet of Things: IoTเกิดเป็นเทคโนโลยีเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำให้สามารถเชื่อมโยงรับส่งข้อมูล สั่งการเพื่อควบคุมอุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เรียกว่าอุปกรณ์ "คุย" กันเองโดยไม่ต้องผ่านมนุษย์ ซึ่งการเชื่อมโยงนั้นสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ มีระบบคลาวด์ที่จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลผ่านออนไลน์ที่เราสามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา

       หลักการทำงานของ IoT เกษตรดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยี RFID Sensors (Radio Frequency Identification sensors) มาเชื่อมต่ออุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุมหลักได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ โดยผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลของแปลงนาย้อนหลังได้ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก จากอุปกรณ์ Smart device ต่าง ๆ ทั้ง Smart phone, Tablet, Notebook ซึ่งการเชื่อมต่อนั้นสามารถเก็บและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบไว้บน Cloud ซึ่งจะจัดการประมวลผลข้อมูลผ่านออนไลน์ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการและสั่งการให้อุปกรณ์ทำงานได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยเกษตรกรที่ทำนาระบบเปียกสลับแห้งให้ควบคุมดูแลแปลงนาง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สำนักวิจัยและพัฒนากรมชลประทานจึงนำหลักการทำนาเปียกสลับแห้งที่มีอยู่เดิมซึ่งใช้การสังเกตระดับน้ำผ่านทางท่อน้ำที่ฝังลงไปในที่นาด้วยสายตามาพัฒนาโดยการเสริมอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเซนเซอร์วัดระดับน้ำซึ่งได้มาจากการแปลงค่าความตันของน้ำในระดับความสูงจากผิวดินที่แตกต่างกันให้เป็นการคำนวณระดับน้ำโดยอัตโนมัติและเพิ่มอุปกรณ์ระบบสื่อสารที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อส่งข้อมูลระดับน้ำ ณ ปัจจุบันไปยังกลุ่มผู้ใช้ให้สามารถควบคุมและสั่งการได้ทันทีและให้มีการจัดเก็บข้อมูลระดับน้ำในแต่ละช่วงเวลาไปยัง Cloud โดยข้อมูลที่จัดเก็บสามารถนำมาคำนวณหาการใช้น้ำเพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


อุปกรณ์วัดระดับน้ำในนาข้าว Alternative Wet & Dry Water Measurement (AWD)

ระบบ loT ตรวจวัดน้ำในนาข้าวประกอบด้วยสถานีวัดอากาศ และสถานีตรวจวัดสภาพแวดล้อมในแปลงนาโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สามารถตรวจวัดค่าต่างๆ ดังนี้

  • วัดค่าระดับน้ำในแปลงนาปริมาณน้ำในดินเพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณและเวลาปล่อยน้ำ
  • วัดค่าความชื้นในดินอุณหภูมิดินเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวในแต่ละฤดูกาล
  • ตรวจจับสภาพอากาศได้แก่ปริมาณน้ำฝนอุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศความเข้มแสงอาทิตย์ความเร็วและทิศทางลมเพื่อใช้ควบคุมเฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืช

การทำงานของ Alternate Wet&Dry

เป็นระบบช่วยในการบริหารจัดการการปล่อยน้ำเข้าและออกจากแปลงนาข้าวอัตโนมัติ ใน 1 วันจะส่งจำนวน 4 ครั้งได้แก่ช่วงเวลา 08.00 น. 11.00 น. 14.00 น. และ 17.00 น. โดยเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ชลประทานสามารถได้รับข้อมูลผ่านทางไลน์แอปพลิเคชันที่แสดงค่าระดับน้ำและมีการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล Cloud เพื่อการวิเคราะห์การใช้น้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก

  • ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในแปลงนาโดยวัดระดับน้ำในแปลงนาความชื้นดินอุณหภูมิดินและสภาพอากาศ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ/ความขึ้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเข้มแสงอาทิตย์ ความเร็ว และทิศทางลมนอกจากนี้ยังช่วยประเมินสภาพอากาศได้
  • ระบบจะส่งข้อมูลตรวจวัดไปเก็บไว้ใน Server ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT พยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ มาทำระบบฐานข้อมูลในรูปแบบการใช้โปรแกรมพยากรณ์เพื่อคาดการณ์วันปลูกข้าวในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากภัยแล้งหรือน้ำท่วมโดยในข้อมูลรายแปลงจะปรากฏข้อมูลเชิงพื้นที่สภาพอากาศและแสดงการพยากรณ์วันปลูกข้าวที่เหมาะสมวิธีการปลูกข้าวในสภาพเปียกสลับแห้งเพื่อลดปริมาณก๊าซมีเทนร่วมกับการปรับใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมโดยเฉพาะการควบคุมระดับน้ำในนาข้าว

จุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ช่วยเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมในแปลงนา
  • ช่วยคำนวณการใช้น้ำของแปลงปลูกข้าวจากความสูงของระดับน้ำในแปลงนา
  • ช่วยคำนวณการปล่อยก๊าชมีเทนของแปลงปลูกข้าวจากการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา

กลุ่มเป้าหมาย

  • กลุ่มชาวนาที่เน้นการปลูกข้าวที่เน้นการลดคาร์บอนเครดิต
  • กลุ่มผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร

 

3. โครงการขยายผลเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตรขององค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม 2567

เป็นโครงการอบรมภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

- เกษตรกรสมาชิกองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน

- ปราชญ์ชาวบ้าน

- ผู้นำชุมชน

- ประชาชนทั่วไป

มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 โดยกรมชลประทานได้เล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มความรู้ในการทำการเกษตรแก่เกษตรกรสมาชิกองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทานและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ใช้น้ำจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอันเป็นแหล่งน้ำที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างขึ้น เพื่อนำไปขยายผลเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเกษตรตลอดจนมอบตัวอย่างปัจจัยการผลิตและนำความรู้จากกิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทานไปปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองสามารถต่อยอดขยายผลความรู้สู่ชุมชนซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมากยิ่งขึ้น

 

“ขอให้เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน นำความรู้และปัจจัยการผลิตที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ ไปปฏิบัติจริง ยังพื้นที่การเกษตรของแต่ละท่าน ให้เกิดการต่อยอด ขยายผล ปรากฏขึ้นจริง” นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน 7 พฤษภาคม 2567

 

จัดขึ้น ณ ศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4 แห่ง (ศร.)

  1. ศร.ห้วยฮ่องไคร้ เกษตรกร 209 คน
  2. ศร.ภูพาน เกษตรกร 473 คน
  3. ศร.ปากพนัง เกษตรกร 69 คน
  4. ศร.พิกุลทอง เกษตรกร 90 คน

 

กิจกรรมฐานเรียนรู้ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ฐานที่ 1 แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่+แปลงเทคโนโลยีการเกษตร

ฐานที่ 2 งานศึกษาและพัฒนาประมง

ฐานที่ 3 งานศึกษาและพัฒนาด้านข้าว

ฐานที่ 4 งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

ฐานที่ 5 กิจกรรมศึกษาและพัฒนาระบบเกษตรผสมผสาน

ฐานที่ 6 งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์

ฐานที่ 7 งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว

ฐานที่ 8 กิจกรรมเพาะเห็ด

ปัจจัยการผลิต ได้แก่ สัตว์เศรษฐกิจต่าง ๆ อาทิ ปลา เป็ด กบ กระต่าย

 

บทบาท/ภารกิจของกรมชลประทาน

 

วิสัยทัศน์

"กรมชลประทานเป็นองค์กรอัจฉริยะ ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ (Water Security) เพื่อเพิ่มคุณค่าการบริการ ภายในปี 2580"

 

พันธกิจ

1) พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามศักยภาพของลุ่มน้ำให้เกิดความสมดุล

2) บริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการให้เพียงพอ ทั่วถึง และเป็นธรรม

3) ดำเนินการป้องกันและบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำตามภารกิจอย่างเหมาะสม

4) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำ

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมชลประทาน

 

1. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรจริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน และวินัย สำหรับผู้บังคับบัญชาระดับหัวหน้าฝ่าย รุ่นที่ 1 - 2

 

หลักการและเหตุผล

       แผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยยะสำคัญ (Big.Rock) เพื่อให้การปฏิรูปประเทศมีผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม มุ่งเน้นพัฒนาระบบราชการไทยให้ “โปร่งใส ไร้ผลประโยชน์” โดยการสร้างจิตสำนึก ทัศนคติ และค่านิยมในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐให้เป็นไปตามมาตรฐานทางจริยธรรมตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2565 และประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ปลูกฝังวิธีคิดการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม และกำหนดให้หน่วยงานดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานรับทราบสถานะและปัญหาการดำเนินงานในแต่ละปีงบประมาณ.แล้วนำไปจัดทำแนวทางการพัฒนาองค์กรให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตประพฤติมิชอบในหน่วยงาน อันเป็นการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐมีพฤติกรรมสอดคล้องตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรมที่กำหนด และเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริตให้สามารถตอบสนองความต้องการและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนได้

 

วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม

  1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรม และการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม มีจิตพอเพียงในการต่อต้านทุจริต
  2. มีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ของหน่วยงานภาครัฐ และนโยบาย No Gift Poliy จากการปฏิบัติหน้าที่
  3. มีความรู้เกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม มีความรู้เกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และมีความเข้าใจในแนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) รวมทั้งการรับของขวัญ ของกำนัล จากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Poliy) สามารถนำความรู้ดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

 

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

เป็นข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งระดับหัวหน้างานหรือหัวหน้าฝ่าย ในทุกสายงานสังกัดกรมชลประทาน

 

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม

จำนวน 2 รุ่น รุ่นละ 50 คน รวม 100 คน

 

ระยะเวลาในการฝึกอบรม

รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 15 - 17 มกราคม 2568 (จัดเสร็จสิ้นแล้ว)

รุ่นที่ 2 ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2568

 

2. IoT เกษตรดิจิทัล เพิ่มพูนน้ำหล่อเลี้ยงชีวิต

       Internet of Things: IoTเกิดเป็นเทคโนโลยีเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำให้สามารถเชื่อมโยงรับส่งข้อมูล สั่งการเพื่อควบคุมอุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เรียกว่าอุปกรณ์ "คุย" กันเองโดยไม่ต้องผ่านมนุษย์ ซึ่งการเชื่อมโยงนั้นสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ มีระบบคลาวด์ที่จัดเก็บและประมวลผลข้อมูลผ่านออนไลน์ที่เราสามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา

       หลักการทำงานของ IoT เกษตรดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยี RFID Sensors (Radio Frequency Identification sensors) มาเชื่อมต่ออุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุมหลักได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ โดยผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลของแปลงนาย้อนหลังได้ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก จากอุปกรณ์ Smart device ต่าง ๆ ทั้ง Smart phone, Tablet, Notebook ซึ่งการเชื่อมต่อนั้นสามารถเก็บและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบไว้บน Cloud ซึ่งจะจัดการประมวลผลข้อมูลผ่านออนไลน์ช่วยให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการและสั่งการให้อุปกรณ์ทำงานได้ตลอดเวลา เพื่อช่วยเกษตรกรที่ทำนาระบบเปียกสลับแห้งให้ควบคุมดูแลแปลงนาง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สำนักวิจัยและพัฒนากรมชลประทานจึงนำหลักการทำนาเปียกสลับแห้งที่มีอยู่เดิมซึ่งใช้การสังเกตระดับน้ำผ่านทางท่อน้ำที่ฝังลงไปในที่นาด้วยสายตามาพัฒนาโดยการเสริมอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเซนเซอร์วัดระดับน้ำซึ่งได้มาจากการแปลงค่าความตันของน้ำในระดับความสูงจากผิวดินที่แตกต่างกันให้เป็นการคำนวณระดับน้ำโดยอัตโนมัติและเพิ่มอุปกรณ์ระบบสื่อสารที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อส่งข้อมูลระดับน้ำ ณ ปัจจุบันไปยังกลุ่มผู้ใช้ให้สามารถควบคุมและสั่งการได้ทันทีและให้มีการจัดเก็บข้อมูลระดับน้ำในแต่ละช่วงเวลาไปยัง Cloud โดยข้อมูลที่จัดเก็บสามารถนำมาคำนวณหาการใช้น้ำเพื่อวางแผนการบริหารจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


อุปกรณ์วัดระดับน้ำในนาข้าว Alternative Wet & Dry Water Measurement (AWD)

ระบบ loT ตรวจวัดน้ำในนาข้าวประกอบด้วยสถานีวัดอากาศ และสถานีตรวจวัดสภาพแวดล้อมในแปลงนาโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ สามารถตรวจวัดค่าต่างๆ ดังนี้

  • วัดค่าระดับน้ำในแปลงนาปริมาณน้ำในดินเพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณและเวลาปล่อยน้ำ
  • วัดค่าความชื้นในดินอุณหภูมิดินเพื่อปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสมกับการปลูกข้าวในแต่ละฤดูกาล
  • ตรวจจับสภาพอากาศได้แก่ปริมาณน้ำฝนอุณหภูมิ/ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศความเข้มแสงอาทิตย์ความเร็วและทิศทางลมเพื่อใช้ควบคุมเฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืช

การทำงานของ Alternate Wet&Dry

เป็นระบบช่วยในการบริหารจัดการการปล่อยน้ำเข้าและออกจากแปลงนาข้าวอัตโนมัติ ใน 1 วันจะส่งจำนวน 4 ครั้งได้แก่ช่วงเวลา 08.00 น. 11.00 น. 14.00 น. และ 17.00 น. โดยเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ชลประทานสามารถได้รับข้อมูลผ่านทางไลน์แอปพลิเคชันที่แสดงค่าระดับน้ำและมีการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล Cloud เพื่อการวิเคราะห์การใช้น้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก

  • ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในแปลงนาโดยวัดระดับน้ำในแปลงนาความชื้นดินอุณหภูมิดินและสภาพอากาศ ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ/ความขึ้นสัมพัทธ์ในอากาศ ความเข้มแสงอาทิตย์ ความเร็ว และทิศทางลมนอกจากนี้ยังช่วยประเมินสภาพอากาศได้
  • ระบบจะส่งข้อมูลตรวจวัดไปเก็บไว้ใน Server ฐานข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผู้ใช้งานสามารถใช้ข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT พยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ มาทำระบบฐานข้อมูลในรูปแบบการใช้โปรแกรมพยากรณ์เพื่อคาดการณ์วันปลูกข้าวในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากภัยแล้งหรือน้ำท่วมโดยในข้อมูลรายแปลงจะปรากฏข้อมูลเชิงพื้นที่สภาพอากาศและแสดงการพยากรณ์วันปลูกข้าวที่เหมาะสมวิธีการปลูกข้าวในสภาพเปียกสลับแห้งเพื่อลดปริมาณก๊าซมีเทนร่วมกับการปรับใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสมโดยเฉพาะการควบคุมระดับน้ำในนาข้าว

จุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ช่วยเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมในแปลงนา
  • ช่วยคำนวณการใช้น้ำของแปลงปลูกข้าวจากความสูงของระดับน้ำในแปลงนา
  • ช่วยคำนวณการปล่อยก๊าชมีเทนของแปลงปลูกข้าวจากการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา

กลุ่มเป้าหมาย

  • กลุ่มชาวนาที่เน้นการปลูกข้าวที่เน้นการลดคาร์บอนเครดิต
  • กลุ่มผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร

 

3. โครงการขยายผลเพิ่มประสิทธิภาพการเกษตรขององค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม 2567

เป็นโครงการอบรมภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

- เกษตรกรสมาชิกองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทาน

- ปราชญ์ชาวบ้าน

- ผู้นำชุมชน

- ประชาชนทั่วไป

มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 โดยกรมชลประทานได้เล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มความรู้ในการทำการเกษตรแก่เกษตรกรสมาชิกองค์กรผู้ใช้น้ำชลประทานและประชาชนทั่วไปในพื้นที่ใช้น้ำจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอันเป็นแหล่งน้ำที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างขึ้น เพื่อนำไปขยายผลเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเกษตรตลอดจนมอบตัวอย่างปัจจัยการผลิตและนำความรู้จากกิจกรรมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทานไปปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเองสามารถต่อยอดขยายผลความรู้สู่ชุมชนซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรมากยิ่งขึ้น

 

“ขอให้เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมทุกท่าน นำความรู้และปัจจัยการผลิตที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ ไปปฏิบัติจริง ยังพื้นที่การเกษตรของแต่ละท่าน ให้เกิดการต่อยอด ขยายผล ปรากฏขึ้นจริง” นายชูชาติ รักจิตร อธิบดีกรมชลประทาน 7 พฤษภาคม 2567

 

จัดขึ้น ณ ศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 4 แห่ง (ศร.)

  1. ศร.ห้วยฮ่องไคร้ เกษตรกร 209 คน
  2. ศร.ภูพาน เกษตรกร 473 คน
  3. ศร.ปากพนัง เกษตรกร 69 คน
  4. ศร.พิกุลทอง เกษตรกร 90 คน

 

กิจกรรมฐานเรียนรู้ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ฐานที่ 1 แปลงเกษตรทฤษฎีใหม่+แปลงเทคโนโลยีการเกษตร

ฐานที่ 2 งานศึกษาและพัฒนาประมง

ฐานที่ 3 งานศึกษาและพัฒนาด้านข้าว

ฐานที่ 4 งานศึกษาและพัฒนาปรับปรุงบำรุงดิน

ฐานที่ 5 กิจกรรมศึกษาและพัฒนาระบบเกษตรผสมผสาน

ฐานที่ 6 งานศึกษาและพัฒนาปศุสัตว์

ฐานที่ 7 งานส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัว

ฐานที่ 8 กิจกรรมเพาะเห็ด

ปัจจัยการผลิต ได้แก่ สัตว์เศรษฐกิจต่าง ๆ อาทิ ปลา เป็ด กบ กระต่าย

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมชลประทาน เลขที่ 811 ถ.สามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์: 1460 สายด่วนชลประทาน, 02-241-0020 ถึง 29
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ
Background Desktop Background Mobile