นิทรรศการของหน่วยงาน > สำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักนายกรัฐมนตรี
Office of the Prime Minister
เลือกหน่วยงานสังกัดภายใต้กระทรวง

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

 

       สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบาย จัดทำแผนแม่บท กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศและขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจัดทำผังน้ำ บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำ แผนงาน โครงการ งบประมาณ ประสานความร่วมมือด้านต่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและติดตามประเมินผลการบริหารทรัพยากรน้ำ

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

 

1. ด้านการบริหารจัดการน้ำ

       สทนช. กำหนด 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีแล้ว โดย สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุกลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ทั้งในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนพร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนและปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ช่วยป้องกันปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย ลดผลกระทบต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด และเมื่อสิ้นสุดฤดู ได้มีการถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อนำปัญหา อุปสรรค และข้อคิดเห็นไปประกอบการจัดทำมาตรการที่มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดย สทนช. จะบูรณาการกับหน่วยงานด้านน้ำ นำเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เข้ามาช่วยยกระดับความแม่นยำการคาดการณ์และพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมนำผังน้ำที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 5 ลุ่มน้ำ และอยู่ระหว่างรอประกาศฯ อีก 7 ลุ่มน้ำ มาใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำ ทั้งนี้ สทนช. จะเร่งรัดดำเนินการให้ครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ภายในปี 2568

2. ด้านการขับเคลื่อนแผนแม่บท

       ปี 2567 สทนช. ขับเคลื่อนให้เกิดแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 – 2580) โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศในระยะ 20 ปี และมีการขับเคลื่อนสู่ระดับพื้นที่ โดยใช้กระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) เป็นเครื่องมือในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ ทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ทั้งนี้ ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ SEA ในการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำระดับลุ่มน้ำให้แก่คณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อให้การจัดทำแผนแม่บทฯ ระดับลุ่มน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. ด้านต่างประเทศ

       สทนช. สร้างความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในภูมิภาคเอเชียผ่านสภาน้ำแห่งเอเชีย (AWC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านน้ำระดับภูมิภาคเอเชีย เครือข่ายของสภาน้ำโลก (WWC) รวมถึงขับเคลื่อนงานสำคัญในฐานะประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) นอกจากนี้ ยังได้ขับเคลื่อนงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับต่าง ๆ อาทิ การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กับสถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำและพลังงานน้ำแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน การลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และนายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ร่วมเป็นสักขีพยาน การจัดงานวันน้ำโลกประจำปี 2567 สอดรับนโยบายขององค์การสหประชาชาติ “น้ำเพื่อสันติภาพ” พร้อมเปิดฉายวิดีทัศน์การแถลงสารจากนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศนโยบายและเจตนารมณ์ในการสร้างสันติภาพด้านน้ำให้เกิดขึ้นในแผ่นดินไทยและขยายผลสู่ประชาคมโลก เป็นต้น

 

รายการรู้อยู่กับน้ำ ตอน 3 น้ำกับเมืองเพชร

รายการรู้อยู่กับน้ำ ตอนผู้ช่วยพระเอก


รายการรู้อยู่กับน้ำ ตอนThai Water Plan

ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ตั้งรับฤดูฝน 68

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

 

       สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะนโยบาย จัดทำแผนแม่บท กำหนดมาตรการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำของประเทศและขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจัดทำผังน้ำ บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำ แผนงาน โครงการ งบประมาณ ประสานความร่วมมือด้านต่างประเทศเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและติดตามประเมินผลการบริหารทรัพยากรน้ำ

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)

 

1. ด้านการบริหารจัดการน้ำ

       สทนช. กำหนด 9 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/2567 และ 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2567 ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีแล้ว โดย สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุกลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ทั้งในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนพร้อมขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรการอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนและปรับแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ช่วยป้องกันปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย ลดผลกระทบต่อประชาชนให้ได้มากที่สุด และเมื่อสิ้นสุดฤดู ได้มีการถอดบทเรียนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อนำปัญหา อุปสรรค และข้อคิดเห็นไปประกอบการจัดทำมาตรการที่มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น โดย สทนช. จะบูรณาการกับหน่วยงานด้านน้ำ นำเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เข้ามาช่วยยกระดับความแม่นยำการคาดการณ์และพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน พร้อมนำผังน้ำที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 5 ลุ่มน้ำ และอยู่ระหว่างรอประกาศฯ อีก 7 ลุ่มน้ำ มาใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำ ทั้งนี้ สทนช. จะเร่งรัดดำเนินการให้ครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ภายในปี 2568

2. ด้านการขับเคลื่อนแผนแม่บท

       ปี 2567 สทนช. ขับเคลื่อนให้เกิดแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 – 2580) โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศในระยะ 20 ปี และมีการขับเคลื่อนสู่ระดับพื้นที่ โดยใช้กระบวนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) เป็นเครื่องมือในการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ ทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 แล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ทั้งนี้ ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้ SEA ในการวางแผนด้านทรัพยากรน้ำระดับลุ่มน้ำให้แก่คณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อให้การจัดทำแผนแม่บทฯ ระดับลุ่มน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. ด้านต่างประเทศ

       สทนช. สร้างความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำในภูมิภาคเอเชียผ่านสภาน้ำแห่งเอเชีย (AWC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านน้ำระดับภูมิภาคเอเชีย เครือข่ายของสภาน้ำโลก (WWC) รวมถึงขับเคลื่อนงานสำคัญในฐานะประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) นอกจากนี้ ยังได้ขับเคลื่อนงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในระดับต่าง ๆ อาทิ การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กับสถาบันวิจัยทรัพยากรน้ำและพลังงานน้ำแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน การลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย และนายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว ร่วมเป็นสักขีพยาน การจัดงานวันน้ำโลกประจำปี 2567 สอดรับนโยบายขององค์การสหประชาชาติ “น้ำเพื่อสันติภาพ” พร้อมเปิดฉายวิดีทัศน์การแถลงสารจากนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศนโยบายและเจตนารมณ์ในการสร้างสันติภาพด้านน้ำให้เกิดขึ้นในแผ่นดินไทยและขยายผลสู่ประชาคมโลก เป็นต้น

 

รายการรู้อยู่กับน้ำ ตอน 3 น้ำกับเมืองเพชร

รายการรู้อยู่กับน้ำ ตอนผู้ช่วยพระเอก


รายการรู้อยู่กับน้ำ ตอนThai Water Plan

ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง ตั้งรับฤดูฝน 68

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
อาคารจุฑามาศ เลขที่ 89/168-170 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์: 0-2554-1800
โทรสาร: 0-2521-9140

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

 

       ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2564 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ มีภารกิจในการเสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการ  และแนวทางการ กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของรัฐ รวมทั้งการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

1. รับผิดชอบในการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
2. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
3. เสนอให้มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
4. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้ที่ดินของประเทศให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ กฎ ระเบียบ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
5. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการหรือแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม
6. พิจารณาข้อร้องเรียนและปัญหาเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน และดำเนินการตรวจสอบ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7. เสนอให้มีการตรา แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดินรวมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน
8. เสนอให้มีการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ และมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
9. ติดตาม ประสานงาน สนับสนุน หรือเร่งรัดการดำเนินงานของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
10. เชื่อมต่อระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
11. เสนอรายงานผลการดำเนินงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่และอํานาจของสํานักงานหรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

 

1. การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map)
       การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) เพื่อแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกัน เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีกฎหมายที่ดินของรัฐหลายฉบับใช้มาตรส่วนที่แตกต่างกันซึ่งหากรวบรวมข้อมูลที่ดินรัฐจะมีเนื้อที่มากกว่า 542.35 ล้านไร่ ทั้งที่ประเทศไทยมีเนื้อที่เพียง 320.7 ไร่ เท่านั้น (ข้อมูลมีมากกว่าเนื้อที่จริง)

วัตถุประสงค์ : 

1. เพื่อให้ประเทศไทยมีแนวเขตที่ดินของรัฐที่ถูกต้อง ทันสมัย และไม่ทับซ้อน อยู่บนพื้นฐานแผนที่ มาตราส่วน 1 : 4000
2. เพื่อให้ทุกส่วนราชการใช้ยึดถือในแนวทางเดียวกัน ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐ - รัฐ และ รัฐ - เอกชน
3. ลดการใช้งบประมาณซ้ำซ้อน

หลักการ :

“หนึ่งพื้นที่ หนึ่งหน่วยงานรับผิดชอบ (One Land, One Law)” โดยมีหลักเกณฑ์การดำเนินงาน ดังนี้

1) ยึดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายก่อนหรือหลัง กรณีกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากัน

2) เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) จำนวน 13 ข้อ ซึ่งคณะรัฐมนตรีรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558

3) การแก้ไขปัญหา เป็นไปตามแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน จากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565

2. การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน

       คือ การค้นหาความจริงหรือการทำความจริงให้ปรากฏ ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกัน หรือใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ เพื่อทำข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติว่าระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ ฝ่ายใดครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนกัน และควรมีสิทธิดีกว่า โดยการพิสูจน์สิทธิในที่ดินจะมีขั้นตอน และวิธีการเป็นไปตามมาตรการของ คทช. เรื่อง การพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ และเรื่องขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ

หลักการพื้นฐานที่สำคัญ : 
       ความเป็นธรรม อาจกล่าวได้ว่า การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน เป็นการจัดการความขัดแย้งรูปแบบหนึ่งหรือการคืนความเป็นธรรมกับประชาชน เนื่องจากถูกทางราชการประกาศที่ดินของรัฐทับที่ดินทำกิน การพิสูจน์สิทธิในที่ดินจึงเป็นการให้ความเป็นธรรมกับประชาชนในเชิงแก้ไข โดยอาศัยหลักกฎหมาย นโยบาย และวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กัน ซึ่งกำหนดให้มีการพิจารณาพยานหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เช่น พยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ เป็นต้น และบางกรณีได้กำหนดให้มีการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ มาใช้ประกอบพิจารณาด้วยความเป็นกลาง กรณีของการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐของคณะอนุกรรมการพิสูจน์ในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) จำเป็นจะต้องพิจารณาอยู่บนพื้นฐานความเป็นกลางไม่มีส่วนได้เสีย อยู่บนพื้นฐานระหว่างการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของเอกชน นอกจากนี้ยังต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้คู่กรณีสามารถรับรู้ข้อมูลนำเสนอพยานหลักฐานใด ๆ หรือโต้แย้งสิทธิในกระบวนการสอบสวน หรือการรวบรวมข้อมูลได้ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด

3. การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
       การแก้ไขปัญหาสิทธิทำกินและความขัดแย้งในที่ดินระหว่างรัฐกับประชาชน เป็นการนำนโยบายจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในรูปแบบ คทช. มาใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ เป็นการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวม โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์แต่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เป็นกลุ่มหรือชุมชนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คทช. กำหนดในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม ประกอบด้วย 3 กระบวน งานหลัก ได้แก่

1. กระบวนงานจัดหาที่ดิน เป็นกระบวนงานที่ดำเนินการสำรวจตรวจสอบและจัดทำข้อมูลที่ดินที่ดำเนินการ โดยหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ และมีกรมป่าไม้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน

2. กระบวนงานจัดที่ดิน เป็นกระบวนงานที่ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์กระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนจัดทำข้อมูลบัญชีและจัดผู้ยากไร้ลงในพื้นที่เป้าหมาย และมีกรมที่ดินเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน

3. กระบวนงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด เป็นกระบวนงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สร้างรายได้ในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม และมีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน

       การดำเนินงานทั้ง 3 กระบวนงาน ซึ่งตามแนวทางปฏิบัติของขั้นตอนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จะมีการส่งต่อข้อมูลของกระบวนงานจัดหาที่ดินนำเข้าสู่กระบวนงานจัดที่ดิน และกระบวนงานจัดที่ดินนำเข้าสู่กระบวนงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด โดยมีการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานอยู่ที่หน่วยงานส่วนกลาง และมีหน่วยงานงานระดับพื้นที่เป็นผู้สนับสนุนในการจัดทำข้อมูลในเชิงพื้นที่ของแต่ละจังหวัด ในรูปแบบคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด ที่ทำหน้าที่หลักในระดับพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานรวมถึงการเป็นเจ้าภาพหลักในการทำงานบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานในจังหวัดและประชาชนทำให้การดำเนินงานของ คทช. ขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จ เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดอย่างยั่งยืน

 

ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ บริเวณนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ผลการดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน บ้านเหนือ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

 

       ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2564 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ มีภารกิจในการเสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการ  และแนวทางการ กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของรัฐ รวมทั้งการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

1. รับผิดชอบในการดําเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
2. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
3. เสนอให้มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
4. ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้ที่ดินของประเทศให้เป็นไปตามนโยบาย และแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ กฎ ระเบียบ และมาตรการที่เกี่ยวข้อง
5. เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการหรือแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม
6. พิจารณาข้อร้องเรียนและปัญหาเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน และดำเนินการตรวจสอบ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
7. เสนอให้มีการตรา แก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดินรวมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกัน
8. เสนอให้มีการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ และมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
9. ติดตาม ประสานงาน สนับสนุน หรือเร่งรัดการดำเนินงานของคณะกรรมการตามกฎหมายอื่นหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
10. เชื่อมต่อระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
11. เสนอรายงานผลการดำเนินงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
12. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นหน้าที่และอํานาจของสํานักงานหรือตามที่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ

 

1. การปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map)
       การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) เพื่อแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐที่ทับซ้อนกัน เนื่องจากแต่ละหน่วยงานมีกฎหมายที่ดินของรัฐหลายฉบับใช้มาตรส่วนที่แตกต่างกันซึ่งหากรวบรวมข้อมูลที่ดินรัฐจะมีเนื้อที่มากกว่า 542.35 ล้านไร่ ทั้งที่ประเทศไทยมีเนื้อที่เพียง 320.7 ไร่ เท่านั้น (ข้อมูลมีมากกว่าเนื้อที่จริง)

วัตถุประสงค์ : 

1. เพื่อให้ประเทศไทยมีแนวเขตที่ดินของรัฐที่ถูกต้อง ทันสมัย และไม่ทับซ้อน อยู่บนพื้นฐานแผนที่ มาตราส่วน 1 : 4000
2. เพื่อให้ทุกส่วนราชการใช้ยึดถือในแนวทางเดียวกัน ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐ - รัฐ และ รัฐ - เอกชน
3. ลดการใช้งบประมาณซ้ำซ้อน

หลักการ :

“หนึ่งพื้นที่ หนึ่งหน่วยงานรับผิดชอบ (One Land, One Law)” โดยมีหลักเกณฑ์การดำเนินงาน ดังนี้

1) ยึดลำดับศักดิ์ของกฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายก่อนหรือหลัง กรณีกฎหมายที่มีศักดิ์เท่ากัน

2) เป็นไปตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) จำนวน 13 ข้อ ซึ่งคณะรัฐมนตรีรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558

3) การแก้ไขปัญหา เป็นไปตามแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชน จากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565

2. การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน

       คือ การค้นหาความจริงหรือการทำความจริงให้ปรากฏ ในกรณีที่เกิดข้อโต้แย้ง หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลรักษา คุ้มครองป้องกัน หรือใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ เพื่อทำข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติว่าระหว่างประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ ฝ่ายใดครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนกัน และควรมีสิทธิดีกว่า โดยการพิสูจน์สิทธิในที่ดินจะมีขั้นตอน และวิธีการเป็นไปตามมาตรการของ คทช. เรื่อง การพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ และเรื่องขั้นตอนและวิธีการดำเนินการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ

หลักการพื้นฐานที่สำคัญ : 
       ความเป็นธรรม อาจกล่าวได้ว่า การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน เป็นการจัดการความขัดแย้งรูปแบบหนึ่งหรือการคืนความเป็นธรรมกับประชาชน เนื่องจากถูกทางราชการประกาศที่ดินของรัฐทับที่ดินทำกิน การพิสูจน์สิทธิในที่ดินจึงเป็นการให้ความเป็นธรรมกับประชาชนในเชิงแก้ไข โดยอาศัยหลักกฎหมาย นโยบาย และวิทยาศาสตร์มาใช้ควบคู่กัน ซึ่งกำหนดให้มีการพิจารณาพยานหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย เช่น พยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ เป็นต้น และบางกรณีได้กำหนดให้มีการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ มาใช้ประกอบพิจารณาด้วยความเป็นกลาง กรณีของการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐของคณะอนุกรรมการพิสูจน์ในที่ดินของรัฐจังหวัด (คพร.จังหวัด) จำเป็นจะต้องพิจารณาอยู่บนพื้นฐานความเป็นกลางไม่มีส่วนได้เสีย อยู่บนพื้นฐานระหว่างการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะกับประโยชน์ของเอกชน นอกจากนี้ยังต้องยึดหลักการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้คู่กรณีสามารถรับรู้ข้อมูลนำเสนอพยานหลักฐานใด ๆ หรือโต้แย้งสิทธิในกระบวนการสอบสวน หรือการรวบรวมข้อมูลได้ตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด

3. การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน
       การแก้ไขปัญหาสิทธิทำกินและความขัดแย้งในที่ดินระหว่างรัฐกับประชาชน เป็นการนำนโยบายจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในรูปแบบ คทช. มาใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ เป็นการจัดที่ดินในลักษณะแปลงรวม โดยไม่ให้กรรมสิทธิ์แต่อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์เป็นกลุ่มหรือชุมชนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คทช. กำหนดในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม ประกอบด้วย 3 กระบวน งานหลัก ได้แก่

1. กระบวนงานจัดหาที่ดิน เป็นกระบวนงานที่ดำเนินการสำรวจตรวจสอบและจัดทำข้อมูลที่ดินที่ดำเนินการ โดยหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ และมีกรมป่าไม้เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน

2. กระบวนงานจัดที่ดิน เป็นกระบวนงานที่ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์กระบวนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนจัดทำข้อมูลบัญชีและจัดผู้ยากไร้ลงในพื้นที่เป้าหมาย และมีกรมที่ดินเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน

3. กระบวนงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด เป็นกระบวนงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สร้างรายได้ในรูปแบบสหกรณ์หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสม และมีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงาน

       การดำเนินงานทั้ง 3 กระบวนงาน ซึ่งตามแนวทางปฏิบัติของขั้นตอนการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน จะมีการส่งต่อข้อมูลของกระบวนงานจัดหาที่ดินนำเข้าสู่กระบวนงานจัดที่ดิน และกระบวนงานจัดที่ดินนำเข้าสู่กระบวนงานส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการตลาด โดยมีการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานอยู่ที่หน่วยงานส่วนกลาง และมีหน่วยงานงานระดับพื้นที่เป็นผู้สนับสนุนในการจัดทำข้อมูลในเชิงพื้นที่ของแต่ละจังหวัด ในรูปแบบคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด ที่ทำหน้าที่หลักในระดับพื้นที่ที่รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานรวมถึงการเป็นเจ้าภาพหลักในการทำงานบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานในจังหวัดและประชาชนทำให้การดำเนินงานของ คทช. ขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จ เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดอย่างยั่งยืน

 

ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ บริเวณนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

ผลการดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน บ้านเหนือ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
อาคารอารีย์ ฮิลส์ ชั้น 19-20 เลขที่ 428 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์: 0-2265-5400

บทบาท/ภารกิจของกรมประชาสัมพันธ์

 

ภารกิจ

       เป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เพื่อให้การดําเนินงานประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีระบบ โดยการเสนอแนะนโยบายด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาลและส่วนราชการต่าง ๆ และดําเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้ข้อมูลข่าวสารของรัฐในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย

 

อํานาจหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ สํารวจ และตรวจสอบประชามติเพื่อเสนอแนะนโยบายและจัดทําแผนการประชาสัมพันธ์ของรัฐรวมทั้งติดตามประเมินผลและรายงานการประชาสัมพันธ์ของรัฐ
  2. ส่งเสริมและเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม ศีลธรรมและค่านิยมที่ดี
  3. ดําเนินการประชาสัมพันธ์นโยบายและการดําเนินงานของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี ความมั่นคงของประเทศและเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ และความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ
  4. ให้คําปรึกษาและประสานการจัดทําแผนประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสนับสนุนและให้การช่วยเหลือทางวิชาการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน
  5. ผลิต เผยแพร่ ให้บริการเอกสาร และสื่อโสตทัศนศึกษา รวมทั้งจัดทําข้อมูลสารสนเทศ และประสานความร่วมมือด้านประชาสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสื่อมวลชน
  6. ดําเนินงานสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
  7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 

 วิสัยทัศน์

"กรมประชาสัมพันธ์เป็นองค์การที่ได้รับความเชื่อถือด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ”

 

 พันธกิจหรือภารกิจหลักของ กปส. มีดังนี้ 

  1. มีบทบาทนำในการกำหนดประเด็นความคิดสำคัญในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
  2. ประชาสัมพันธ์นโยบายภาครัฐสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศ และสะท้อนความคิดเห็นจากประชาชนสู่รัฐ อีกทั้งสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นความคิดสำคัญอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนบริหารจัดการสื่อ เครื่อข่าย และอุปกรณ์ทั้งปวงที่จำเป็นในการปฏิบัติภารกิจนี้
  3. เป็นองค์การหลักในการบริหารจัดการข้อมูลและข่าวสารทั้งปวง ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชาติและพัฒนาสังคมได้
  4. เป็นที่ปรึกษาหลักทางด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน 

 

 ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. พัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ให้สามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีเอกภาพ
  2. พัฒนาการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารสนับสนุนเพื่อการพัฒนาของภาครัฐ ภาคเอกชน และการดำเนินงานของภาครัฐเพื่อความสุขของประชาชน            และภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
  3. พัฒนาบทบาทการให้บริการด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
  4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์การให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)

 

 ค่านิยมหลักขององค์กร

  1. ทำงานอย่างมืออาชีพ (Professional)
  2. มีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีม และบูรณาการ (Creativity Team work Integration)
  3. เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
  4. มีคุณธรรม จริยธรรม (Ethic)
  5. จิตสำนึกในการให้บริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน (Service mind)

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมประชาสัมพันธ์

 

บรรยากาศประชาชน กราบสักการะพระเขี้ยวแก้ว และร่วมกิจกรรมสวดเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ประชาชนสามารถเข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ได้

🗓️ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568

🕖 เวลา 07.00 - 20.00 น.

📌 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

🪷 มีการจัดเตรียมดอกไม้ โปสการ์ด และน้ำดื่มไว้บริการ

🦽 มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกตอบข้อซักถามและมีบริการรถวีลแชร์ให้กับผู้สูงอายุและคนพิการ รวมถึงร่มสีเหลืองในการป้องกันแดด

* แต่งกายสุภาพ งดเสื้อสายเดี่ยว เกาะอก เสื้อบาง กางเกงยีนส์ขาด กางเกงขาสั้น เข้ากราบสักการะ

บทบาท/ภารกิจของกรมประชาสัมพันธ์

 

ภารกิจ

       เป็นศูนย์กลางการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ เพื่อให้การดําเนินงานประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีระบบ โดยการเสนอแนะนโยบายด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาลและส่วนราชการต่าง ๆ และดําเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถใช้ข้อมูลข่าวสารของรัฐในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเกิดภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย

 

อํานาจหน้าที่

  1. ศึกษา วิเคราะห์ สํารวจ และตรวจสอบประชามติเพื่อเสนอแนะนโยบายและจัดทําแผนการประชาสัมพันธ์ของรัฐรวมทั้งติดตามประเมินผลและรายงานการประชาสัมพันธ์ของรัฐ
  2. ส่งเสริมและเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม ศีลธรรมและค่านิยมที่ดี
  3. ดําเนินการประชาสัมพันธ์นโยบายและการดําเนินงานของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดี ความมั่นคงของประเทศและเพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ และความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ
  4. ให้คําปรึกษาและประสานการจัดทําแผนประชาสัมพันธ์ ตลอดจนสนับสนุนและให้การช่วยเหลือทางวิชาการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์แก่หน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชน
  5. ผลิต เผยแพร่ ให้บริการเอกสาร และสื่อโสตทัศนศึกษา รวมทั้งจัดทําข้อมูลสารสนเทศ และประสานความร่วมมือด้านประชาสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และสื่อมวลชน
  6. ดําเนินงานสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย
  7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่นายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

 

 วิสัยทัศน์

"กรมประชาสัมพันธ์เป็นองค์การที่ได้รับความเชื่อถือด้านข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ”

 

 พันธกิจหรือภารกิจหลักของ กปส. มีดังนี้ 

  1. มีบทบาทนำในการกำหนดประเด็นความคิดสำคัญในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน
  2. ประชาสัมพันธ์นโยบายภาครัฐสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศ และสะท้อนความคิดเห็นจากประชาชนสู่รัฐ อีกทั้งสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นความคิดสำคัญอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนบริหารจัดการสื่อ เครื่อข่าย และอุปกรณ์ทั้งปวงที่จำเป็นในการปฏิบัติภารกิจนี้
  3. เป็นองค์การหลักในการบริหารจัดการข้อมูลและข่าวสารทั้งปวง ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชาติและพัฒนาสังคมได้
  4. เป็นที่ปรึกษาหลักทางด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน 

 

 ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. พัฒนานโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ให้สามารถนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีเอกภาพ
  2. พัฒนาการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารสนับสนุนเพื่อการพัฒนาของภาครัฐ ภาคเอกชน และการดำเนินงานของภาครัฐเพื่อความสุขของประชาชน    และภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ
  3. พัฒนาบทบาทการให้บริการด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนให้มีคุณภาพตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
  4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์การให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA)

 

 ค่านิยมหลักขององค์กร

  1. ทำงานอย่างมืออาชีพ (Professional)
  2. มีความคิดสร้างสรรค์ ทำงานเป็นทีม และบูรณาการ (Creativity Team work Integration)
  3. เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
  4. มีคุณธรรม จริยธรรม (Ethic)
  5. จิตสำนึกในการให้บริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน (Service mind)

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมประชาสัมพันธ์

 

บรรยากาศประชาชน กราบสักการะพระเขี้ยวแก้ว และร่วมกิจกรรมสวดเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา ประชาชนสามารถเข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ได้

🗓️ ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568

🕖 เวลา 07.00 - 20.00 น.

📌 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร

🪷 มีการจัดเตรียมดอกไม้ โปสการ์ด และน้ำดื่มไว้บริการ

🦽 มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกตอบข้อซักถามและมีบริการรถวีลแชร์ให้กับผู้สูงอายุและคนพิการ รวมถึงร่มสีเหลืองในการป้องกันแดด

* แต่งกายสุภาพ งดเสื้อสายเดี่ยว เกาะอก เสื้อบาง กางเกงยีนส์ขาด กางเกงขาสั้น เข้ากราบสักการะ

กรมประชาสัมพันธ์
เลขที่ 9 ซอยพระราม 6 ซอย 30 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
อีเมล: saraban@prd.go.th

บทบาท/ภารกิจของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

 

เป็นหน่วยข่าวกรองสมัยใหม่ เพื่อความมั่นคงของชาติ และประชาชน

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

 

1. E-Book ภัยคุกคามในอนาคต 10 ปี ข้างหน้า

สามารถเข้าชมได้ที่ : https://heyzine.com/flip-book/9f8f757c09.html

 

2. E-Book โครงสร้างขั้นอำนาจโลกในอนาคต 20 ปี

สามารถเข้าชมได้ที่ : https://heyzine.com/flip-book/a1111fdb09.html

 

3. ข้อมูลข่าวสารและรายงานสถานการณ์รอบโลก

สามารถเข้าชมรูปแบบ Online ได้ที่ : https://intsharing.co/

 

บทบาท/ภารกิจของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

 

เป็นหน่วยข่าวกรองสมัยใหม่ เพื่อความมั่นคงของชาติ และประชาชน

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

 

1. E-Book ภัยคุกคามในอนาคต 10 ปี ข้างหน้า

สามารถเข้าชมได้ที่ : https://heyzine.com/flip-book/9f8f757c09.html

 

2. E-Book โครงสร้างขั้นอำนาจโลกในอนาคต 20 ปี

สามารถเข้าชมได้ที่ : https://heyzine.com/flip-book/a1111fdb09.html

 

3. ข้อมูลข่าวสารและรายงานสถานการณ์รอบโลก

สามารถเข้าชมรูปแบบ Online ได้ที่ : https://intsharing.co/

 

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
321 ถนนราชดำเนินนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กทม. 10300
โทรศัพท์: 02-298-7180-3 ต่อ 6000

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

       “Better Regulation for Better life” หรือพัฒนากฎหมายที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วางเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่ตอบสนองบทบาทภารกิจของสำนักงานฯ ทั้งในด้านการตรวจพิจารณาและจัดทำร่างกฎหมาย การพิจารณาเสนอความเห็นให้มีการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย การประสานงานด้านนิติบัญญัติแก้ไขข้อขัดข้องในการเสนอกฎหมายและการช่วยเหลืองานด้านกฎหมายในชั้นรัฐสภา การจัดทำคำแปลกฎหมาย การวิจัย และพัฒนากฎหมาย การพัฒนาหลักกฎหมายปกครอง การทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลางผ่านเว็บไซต์สำนักงานฯ และระบบกลางทางกฎหมาย และการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ซึ่งล้วนเป็นภารกิจหลักที่ต้องตอบสนองทุกภาคส่วน เพื่อให้มีกฎหมายที่ดีมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สอดคล้องกับบริบทของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างความเป็นธรรม ส่งเสริมการพัฒนาประเทศ และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

1. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต เพื่อการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส

       โครงการฝึกอบรม ฯ มีการบรรยายและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนและนักกฎหมายกฤษฎีกาเกี่ยวกับหลักการและวิธีการของการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต การนำหลักการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

       โครงการดังกล่าวมีการบรรยายและแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการของการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต ตลอดจนสามารถนำหลักการและวิธีการของการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริตไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยมี พันเอกหญิง ดร.ธมนพัชร์ สิมากร นายทหารปฏิบัติการ ประจำสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก และคณะ เป็นวิทยากร ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ ทั้งจากสายสนับสนุนและนักกฎหมายกฤษฎีกา จัดขึ้นโดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

2. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเสริมสร้างบทบาทการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

       โครงการสัมมนาฯ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการด้านยุทธศาสตร์และแผนงานของสำนักงานฯ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน สร้างความรับรู้และเข้าใจในความเชื่อมโยงของตัวชี้วัดและแผนงานต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการ แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เจ้าหน้าที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดกระบวนการหรือขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และมีการส่งเสริมด้านนวัตกรรม

       โครงการสัมมนาฯ จัดขึ้นโดย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เมื่อวันที่ 4 - 5 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารระดับกลางและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

3. โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับชำนาญการขึ้นไป รุ่นที่ 36 และโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับปฏิบัติการ รุ่นที่ 26

       โครงการฝึกอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะของนักกฎหมายภาครัฐให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับตำแหน่งที่รับผิดชอบ สามารถแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน มีจรรยาบรรณ จริยธรรม และทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน      มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนากฎหมายให้ดีขึ้น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน (Better Regulation for Better Life) มีความรู้พื้นฐานในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และมีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน เพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับผู้มีความรู้ในศาสตร์และศิลป์แขนงอื่นที่แตกต่างได้อย่างเข้าใจ (Collaboration) ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย นักกฎหมายภาครัฐซึ่งดำรงตำแหน่งนิติกรในส่วนราชการ และนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งนิติกรในหน่วยงานอื่นของรัฐ

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

       “Better Regulation for Better life” หรือพัฒนากฎหมายที่ดี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้วางเป้าหมายในการปฏิบัติงานที่ตอบสนองบทบาทภารกิจของสำนักงานฯ ทั้งในด้านการตรวจพิจารณาและจัดทำร่างกฎหมาย การพิจารณาเสนอความเห็นให้มีการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกกฎหมาย การให้ความเห็นทางกฎหมาย การประสานงานด้านนิติบัญญัติแก้ไขข้อขัดข้องในการเสนอกฎหมายและการช่วยเหลืองานด้านกฎหมายในชั้นรัฐสภา การจัดทำคำแปลกฎหมาย การวิจัย และพัฒนากฎหมาย การพัฒนาหลักกฎหมายปกครอง การทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลางผ่านเว็บไซต์สำนักงานฯ และระบบกลางทางกฎหมาย และการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐ ซึ่งล้วนเป็นภารกิจหลักที่ต้องตอบสนองทุกภาคส่วน เพื่อให้มีกฎหมายที่ดีมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา สอดคล้องกับบริบทของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สร้างความเป็นธรรม ส่งเสริมการพัฒนาประเทศ และเกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชน

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

1. โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต เพื่อการปฏิบัติงานอย่างโปร่งใส

       โครงการฝึกอบรม ฯ มีการบรรยายและให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสายสนับสนุนและนักกฎหมายกฤษฎีกาเกี่ยวกับหลักการและวิธีการของการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต การนำหลักการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

       โครงการดังกล่าวมีการบรรยายและแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักการและวิธีการของการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริต ตลอดจนสามารถนำหลักการและวิธีการของการบริหารจัดการความเสี่ยงการทุจริตไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยมี พันเอกหญิง ดร.ธมนพัชร์ สิมากร นายทหารปฏิบัติการ ประจำสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก และคณะ เป็นวิทยากร ผู้เข้าร่วมโครงการประกอบด้วย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานฯ ทั้งจากสายสนับสนุนและนักกฎหมายกฤษฎีกา จัดขึ้นโดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ในวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ณ ห้องประชุมปรีดี พนมยงค์ ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

2. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเสริมสร้างบทบาทการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

       โครงการสัมมนาฯ จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการด้านยุทธศาสตร์และแผนงานของสำนักงานฯ เพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน สร้างความรับรู้และเข้าใจในความเชื่อมโยงของตัวชี้วัดและแผนงานต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนการปฏิบัติราชการ แผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติราชการ การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) เจ้าหน้าที่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดกระบวนการหรือขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และมีการส่งเสริมด้านนวัตกรรม

       โครงการสัมมนาฯ จัดขึ้นโดย กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร เมื่อวันที่ 4 - 5 พฤศจิกายน 2567 ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้บริหารระดับกลางและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

3. โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับชำนาญการขึ้นไป รุ่นที่ 36 และโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนานักกฎหมายภาครัฐระดับปฏิบัติการ รุ่นที่ 26

       โครงการฝึกอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะของนักกฎหมายภาครัฐให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับตำแหน่งที่รับผิดชอบ สามารถแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน มีจรรยาบรรณ จริยธรรม และทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงาน      มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนากฎหมายให้ดีขึ้น เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน (Better Regulation for Better Life) มีความรู้พื้นฐานในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และมีทัศนคติที่ดีในการปฏิบัติงาน เพิ่มพูนความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับผู้มีความรู้ในศาสตร์และศิลป์แขนงอื่นที่แตกต่างได้อย่างเข้าใจ (Collaboration) ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ ประกอบด้วย นักกฎหมายภาครัฐซึ่งดำรงตำแหน่งนิติกรในส่วนราชการ และนายทหารเหล่าพระธรรมนูญ รวมทั้งผู้ดำรงตำแหน่งนิติกรในหน่วยงานอื่นของรัฐ

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เลขที่ 1 ถนนพระอาทิตย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์: 0 2222 0206 - 9
โทรสาร: 0 2226 6201
อีเมล: saraban@ocs.go.th

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

 

อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ. เป็นไปตามมาตรา 13 ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังนี้

  1. เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และ ก.พ.ค. และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย
  2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
  3. พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
  4. ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน
  6. เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
  7. จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
  8. ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
  9. ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา 8 (8)
  10. ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนตามข้อบังคับหรือระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา 8 (9)
  11. ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
  12. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน
  13. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี
  14. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

 

1. พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ e-Learning เพื่อส่งเสริมการศึกษาหาความรู้และเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง สำหรับข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป อาทิ การใช้โปรแกรมดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการกำหนดตำแหน่งและประเมินค่างาน การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการ การบริหารผลการปฏิบัติราชการ ค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูล โดยในปี 2567 มีสมาชิกทั้งสิ้น 489,501 คน และมีสมาชิกที่สมัครใช้งานเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 59,532 คน


สามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://learningportal.ocsc.go.th/learningportal

 

2. ประกาศใช้ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2565 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สามารถนำไปใช้ได้ในวงกว้าง โดยมีการทดสอบเพื่อจำกัดและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนนำไปปรับใช้จริงในระบบราชการ เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล
  2. เพื่อปรับปรุงเครื่องมือหรือกระบวนการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  3. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้แก่ส่วนราชการ โดยเหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการ
  4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐประเภทอื่น หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง (กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2565  https://www.ocsc.go.th/?post_type=laws&p=98379 ) (ประกาศ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำข้อเสนอเพื่อพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ พ.ศ. 2567 https://www.ocsc.go.th/?post_type=laws&p=100495 )

 

3. จัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566 – 2570 โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบแนวทางดังกล่าวตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ทั้งนี้สำนักงาน ก.พ. ได้แจ้งแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566 – 2570 พร้อมคู่มือการดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาองค์กรเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาของบุคลากร ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013/ว 12 ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 (แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566 – 2570 https://www.ocsc.go.th/?post_type=laws&p=83025 )

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

 

อำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ก.พ. การดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ. เป็นไปตามมาตรา 13 ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ดังนี้

  1. เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.พ. และ ก.พ.ค. และดำเนินการตามที่ ก.พ. หรือ ก.พ.ค. มอบหมาย
  2. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่กระทรวง กรม เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
  3. พัฒนา ส่งเสริม วิเคราะห์ วิจัยเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
  4. ติดตามและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับแผนกำลังคนของข้าราชการพลเรือน
  6. เป็นศูนย์กลางข้อมูลทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
  7. จัดทำยุทธศาสตร์ ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน
  8. ส่งเสริม ประสานงาน เผยแพร่ ให้คำปรึกษาแนะนำ และดำเนินการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการและการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสำหรับทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
  9. ดำเนินการเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลตามนโยบายและระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา 8 (8)
  10. ดำเนินการเกี่ยวกับการดูแลบุคลากรภาครัฐและนักเรียนทุนตามข้อบังคับหรือระเบียบของ ก.พ. ตามมาตรา 8 (9)
  11. ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
  12. ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาทะเบียนประวัติและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน
  13. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในราชการพลเรือนเสนอต่อ ก.พ. และคณะรัฐมนตรี
  14. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือ ก.พ. มอบหมาย

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

 

1. พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ e-Learning เพื่อส่งเสริมการศึกษาหาความรู้และเพิ่มศักยภาพให้กับตนเอง สำหรับข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ และประชาชนทั่วไป อาทิ การใช้โปรแกรมดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลการกำหนดตำแหน่งและประเมินค่างาน การสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการ การบริหารผลการปฏิบัติราชการ ค่าตอบแทน สวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูล โดยในปี 2567 มีสมาชิกทั้งสิ้น 489,501 คน และมีสมาชิกที่สมัครใช้งานเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 59,532 คน


สามารถเข้าชมเว็บไซต์ได้ที่ : https://learningportal.ocsc.go.th/learningportal

 

2. ประกาศใช้ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2565 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 และให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สามารถนำไปใช้ได้ในวงกว้าง โดยมีการทดสอบเพื่อจำกัดและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนนำไปปรับใช้จริงในระบบราชการ เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล
  2. เพื่อปรับปรุงเครื่องมือหรือกระบวนการปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  3. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้แก่ส่วนราชการ โดยเหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการ
  4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐประเภทอื่น หรือเอกชนที่เกี่ยวข้อง (กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2565  https://www.ocsc.go.th/?post_type=laws&p=98379 ) (ประกาศ ก.พ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำข้อเสนอเพื่อพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการ พ.ศ. 2567 https://www.ocsc.go.th/?post_type=laws&p=100495 )

 

3. จัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566 – 2570 โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบแนวทางดังกล่าวตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ทั้งนี้สำนักงาน ก.พ. ได้แจ้งแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566 – 2570 พร้อมคู่มือการดำเนินการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาองค์กรเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาของบุคลากร ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1013/ว 12 ลงวันที่ 22 เมษายน 2567 (แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566 – 2570 https://www.ocsc.go.th/?post_type=laws&p=83025 )

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) 47/111 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมืองฯ จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์: 0-2547-1000
โทรสาร: 0-2547-1108
อีเมล: saraban@ocsc.go.th

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

 

       สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจหลักในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ในเรื่องสินค้าและบริการ ได้แก่ ด้านโฆษณา ด้านสัญญา ด้านฉลาก ด้านความปลอดภัย ด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง และในกรณีที่ไม่มีหน่วยงานใดดูแลเรื่องการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

 

วิสัยทัศน์

"ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเป็นธรรม และยั่งยืน"

 

ค่านิยม

"โปร่งใส ทันสมัย ใส่ใจผู้บริโภค" 

 

พันธกิจ

  1. พัฒนากฎหมาย มาตรการ ตลอดจนระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
  2. พัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อป้องกัน ควบคุม/กำกับดูแลสินค้าและบริการให้มีความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พัฒนานวัตกรรมและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
  4. เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความตระหนักรู้และสามารถปกป้องสิทธิของตนได้
  5. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ส่งเสริมความร่วมมือทุกภาคส่วนให้มีการบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคในทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

 

1. การบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการ ในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567

      ข้อมูลสรุป สืบเนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีการจับจ่ายซื้อสินค้าทางช่องทางออนไลน์โดยเรียกเก็บเงินปลายทางมากขึ้น เพราะสะดวกสบายแค่มีเพียงโทรศัพท์เครื่องเดียวก็สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ ทำให้เกิดช่องว่างให้กับผู้ประกอบธุรกิจบางรายหลอกลวงผู้บริโภค เช่น ส่งสินค้าไม่ตรงปก ไม่ได้รับสินค้า สินค้าที่ได้รับมีความชำรุดบกพร่อง ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าแต่มีสินค้าไปส่งแล้วเรียกเก็บเงิน สินค้าสูญหาย และไม่สามารถติดต่อผู้ขายได้ ในกรณีผู้บริโภคเลือกชำระเงินปลายทางเมื่อผู้บริโภคได้ชำระเงินให้กับผู้ให้บริการขนส่งสินค้าแล้ว เกิดปัญหาต้องการที่จะขอเงินคืน ปรากฏว่าผู้ให้บริการขนส่งสินค้าได้นำเงินไปจ่ายให้กับผู้ขายสินค้าแล้ว และผู้บริโภคไม่สามารถติดต่อไปยังผู้ขายสินค้าได้ทำให้ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาใด ๆ ซึ่ง สคบ.ได้รับเรื่องร้องทุกข์ในกรณีเช่นนี้มาอย่างต่อเนื่องจึงได้หามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลโดยออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาผู้ขายสินค้าที่ไม่สุจริต หลอกลวงผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมและเกิดความเสียหายจากการสั่งซื้อสินค้าและรับบริการขนส่งจากผู้ประกอบธุรกิจ ดังนั้น สคบ.ได้ออกประกาศฯฉบับนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าและใช้บริการขนส่งสินค้ารวมทั้งผู้บริโภคจะได้รับการชดเชยเยียวยาความเสียหายด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม

       ประกาศดังกล่าวครอบคลุมทั้งปัญหากรณีการเก็บเงินปลายทางที่มาจากการซื้อสินค้า ผ่านทางช่องทางออนไลน์ และการเก็บเงินปลายทางกรณีอื่น ๆ ได้แก่ สั่งซื้อสินค้าแล้วได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าแต่มีสินค้าไปส่งแล้วเรียกเก็บเงินปลายทาง และสั่งซื้อสินค้าแล้วสินค้าที่ได้รับมีความชำรุดบกพร่อง โดยการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าจะต้องมีการจัดทำหลักฐานการรับเงินและส่งมอบให้แก่ผู้บริโภคทันทีที่ได้รับชำระค่าบริการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. กำหนดให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ส่งสินค้า อย่างน้อยให้ระบุ ชื่อและนามสกุลของบุคคลธรรมดา หรือชื่อนิติบุคคล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล
  2. กำหนดให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ อย่างน้อยให้ระบุ ชื่อและนามสกุลของบุคคลธรรมดา หรือชื่อนิติบุคคล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล
  3. กำหนดให้ระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการส่งสินค้า ได้แก่ หมายเลขติดตามพัสดุข้อมูลพนักงานผู้นำส่งสินค้าและผู้รับเงินโดยเรียกเก็บปลายทางจากผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้รับสินค้า เช่น ชื่อและนามสกุล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลของ   ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้รับสินค้า เช่น ชื่อและนามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลของพัสดุ โดยระบุรายละเอียดของสินค้าที่แสดงให้ทราบว่าเป็นสินค้าอะไร จำนวนเงินที่เรียกเก็บปลายทาง วัน เดือน ปี ที่ส่งมอบสินค้า
  4. กำหนดให้ผู้บริโภคสามารถเปิดดูสินค้าก่อนชำระเงินได้ หากตรวจแล้วพบว่ามีปัญหาสั่งซื้อสินค้าแล้วได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าแต่มีสินค้าไปส่งแล้วเรียกเก็บเงินปลายทาง และสินค้าที่ได้รับมีความชำรุดบกพร่อง ผู้บริโภคสามารถปฏิเสธการชำระเงินและไม่รับสินค้าได้
  5. กำหนดให้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าถือเงินค่าสินค้าเป็นระยะเวลา 5 วัน นับแต่วันที่ผู้บริโภค รับสินค้าก่อนที่จะส่งเงินให้กับผู้ขายสินค้า หากผู้บริโภคแจ้งเหตุที่ขอคืนสินค้าและขอเงินคืนภายใน 5 วัน ว่าผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ตนไม่ได้สั่งซื้อ หรือได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือสินค้าที่ตนสั่งซื้อมีความชำรุดบกพร่อง และหากผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบว่ามีเหตุตรงตามที่ผู้บริโภคแจ้งมา ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้บริโภค
  6. ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจระบุข้อความที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจและผู้ส่งสินค้า ข้อความที่กำหนดว่าห้ามไม่ให้ผู้บริโภคเปลี่ยนหรือคืนสินค้าไม่ว่ากรณีใด ๆ และข้อความจะไม่คืนเงินที่ผู้บริโภคได้ชำระมาแล้วไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

      โดยเมื่อวันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พลตำรวจตรี วิทยา ศรีประเสริฐภาพผู้บังคับการปราบปรามการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้ประกอบการให้บริการขนส่งและแพลตฟอร์มออนไลน์ รวม 7 แห่ง ร่วมแถลงข่าวมาตรการส่งดี (Dee – Delivery) การให้บริการขนส่งสินค้า โดยเรียกเก็บเงินปลายทาง (COD) ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567 ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ


2. การแถลงข่าวผลการตรวจสอบทองของร้านทองของ บริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด (ร้านทองแม่ตั๊ก)

      ข้อมูลสรุป วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2567 นายเลิศศักดิ์ รักธรรม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนประเด็น ผลการตรวจสอบทองของร้านทองของ บริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด ที่ สคบ. ส่งให้ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตรวจสอบ พบว่ามีการจัดทำฉลากไม่ถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่องให้ทองคำรูปพรรณเป็นสินค้าควบคุมฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544) ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ สคบ. ได้ส่งมอบตัวอย่างสินค้า ทองรูปพรรณ เพื่อตรวจวิเคราะห์ให้กับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ตรวจสอบสินค้าโดยวิธีนำไปพัฒนาเทคนิค (x- Ray) และหลอมละลาย (Fire assay) ซึ่งผลการตรวจสอบต้องนำไปประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นๆ เช่น การเสนอขาย

      โดยเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเก็บตัวอย่างของกลางจากร้านทองบริษัทเคทูเอ็น โกลด์ จำกัด ทั้งหมด 6 ตัวอย่าง เพื่อนำไปทดสอบ 2 วิธีการ วิธีแรกคือ การเอกซเรย์ และวิธีที่สองคือการเผาและหลอม สรุปได้ว่าตัวอย่างทองที่เก็บมาทั้งหมด เป็นทองแท้ที่มีเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ ผลตรวจสอบทั้งหมด 6 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

1. ทองรูปพรรณประเภทสร้อยคอ (ห่วงใหญ่) น้ำหนัก 1.89 กรัม จำนวน 2 ตัวอย่าง ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 97.55 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลการหลอมอยู่ที่ 92.78 เปอร์เซ็นต์

2. ทองรูปพรรณประเภทสร้อยคอ (ห่วงเล็ก) น้ำหนัก 1.9 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 96.00 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจากการหลอมอยู่ที่ 94.44 เปอร์เซ็นต์

3. ทองรูปพรรณ ประเภทกำไรข้อมือ (ปี่เซียะ) จำนวน 8 ตัว น้ำหนัก 4.96 กรัม ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจากการหลอมอยู่ที่ 99.97 เปอร์เซ็นต์

4. ทองรูปพรรณประเภทกำไรข้อมือ (ตราไข่) น้ำหนัก 0.77 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจากการหลอมอยู่ที่ 99.97 เปอร์เซ็นต์

5. ทองรูปพรรณประเภทลูกปัด จำนวน 8 เม็ด น้ำหนัก 1.19 กรัมจำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 71.15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจากการหลอมอยู่ที่ 61.45 เปอร์เซ็นต์

6. ทองรูปพรรณประเภทจี้ (ปี่เซียะ) น้ำหนัก 11.13 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจาก การหลอมอยู่ที่ 99.95 เปอร์เซ็นต์

      ในเบื้องต้นมีความผิดกรณีฉลากไม่ตรงปก มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ต้องตรวจสอบว่าขอทำธุรกิจตลาดแบบตรงที่ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน รวมถึงการขายทางออนไลน์ และประเด็นการไลฟ์สดขายสินค้าใช้ถ้อยคำ โฆษณาเกินจริงหรือไม่ นอกจากนี้ สคบ. จะรวบรวมรายชื่อผู้เสียหายส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาว่าจะรับผิดชอบผู้เสียหายและเยียวยาอย่างไร ถึงผู้เสียหายนำทองไปคืนก็ยังดำเนินคดีได้ เนื่องจากความผิดอาญา และแพ่งต่างกัน ระหว่างนี้ตำรวจ ปคบ.จะบูรณาการร่วม กับเจ้าหน้าที่ ปปง.ตรวจสอบว่าซื้อทองมาจากที่ไหน

อ้างอิงจาก : INN News และ ไทยรัฐทีวี

 

3. กรณีมีผู้ร้องเรียน บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ขอให้ตรวจสอบลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด

       ข้อมูลสรุป ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ กรณีมีผู้ร้องเรียน บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ขอให้ตรวจสอบลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ซึ่งผู้ร้องได้เข้าร่วมประกอบธุรกิจโดยการชักชวนให้สมัครเป็นตัวแทนของบริษัทฯ เพื่อซื้อสินค้าไปจำหน่ายต่อ แต่ภายหลังผู้ร้องไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายจากการเข้าร่วมเป็นตัวแทนจำหน่าย จึงประสงค์ขอคืนสินค้าและขอเงินคืน สคบ. ขอชี้แจง ข้อเท็จจริง ในประเด็นดังกล่าวต่อสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

  1. บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ได้รับการจดทะเบียนให้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2562 เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร ผ่าน www.theicon.co.th ต่อมาตามข้อเท็จจริงที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามที่ได้รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง หากตรวจสอบแล้วพบว่าลักษณะการประกอบธุรกิจมีพฤติกรรมตามที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ จริง สคบ.จะรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดนำเสนอเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะนายทะเบียน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
  1. ปัจจุบัน สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 24 เรื่อง ตรวจสอบแล้วพบว่า ประเด็นแห่งการร้องเรียนเป็นกรณีที่ผู้ร้องเรียนได้สมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายซื้อสินค้าจากบริษัทฯ เพื่อนำไปขายต่อโดยมีความคาดหวังว่าจะได้รับผลกำไรจากส่วนต่างของราคาสินค้า ซึ่งจากข้อเท็จจริงที่มีการร้องเรียนมิได้เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิอันเนื่องมาจากการใช้สินค้าหรือบริการแต่อย่างใด จึงไม่เข้าข่ายเป็นผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 แต่ทั้งนี้ สคบ. ได้ดำเนินการประสานไปยังบริษัทฯ เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยให้บริษัทฯ ดำเนินการพิจารณารับคืนสินค้าและคืนเงินแก่ผู้ร้อง ซึ่งมีผู้ร้องบางส่วนมีการเจรจาตกลงกันได้ จึงแจ้งยุติเรื่องร้องเรียน
  1. กรณีที่ สคบ. พิจารณามอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด บริษัทฯ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณประเภทหน่วยงาน องค์กรที่ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในปี 2564 แต่เป็นช่วงสถานการณ์โควิดทำให้ไม่ได้มีการจัดกิจกรรมการมอบโล่ฯ ได้ ซึ่งบริษัทฯ ได้มารับโล่ฯ ในการจัดกิจกรรมมอบโล่ฯ ปี 2565 ในกรณีดังกล่าวหากตรวจสอบแล้วพบว่า บริษัทฯ มีการนำโล่ประกาศเกียรติคุณไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการมอบโล่ฯ สคบ. จะพิจารณาเรียกคืนโล่ประกาศเกียรติคุณดังกล่าวต่อไป และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงของ บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 บริษัทฯ ได้ยื่นคำขอแก้ไขช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์เป็น www.theicongroup.co.th แต่ภายหลังจากที่ได้รับการจดทะเบียนให้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ว่าเว็บไซต์ www.theicongroup.co.th เมื่อเข้าไปดูสินค้าแล้วเลือกรายการสินค้าลงตะกร้าและทำการชำระเงินตามขั้นตอนปรากฏว่าไม่สามารถชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าได้โดยเว็บไซต์ดังกล่าวขึ้นข้อความว่า “Something is not right ! กรุณาเข้าเว็บไซต์ของตัวแทนเพื่อทำการสั่งซื้อสินค้า” อีกทั้งยังมีข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนผู้เสียหายให้ถ้อยคำว่า “ผู้บริโภคไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทฯ ได้โดยตรง จะสั่งซื้อสินค้าได้ต่อเมื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านลิงก์ของตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น” ประกอบกับมีผู้เสียหายให้การว่าหากสามารถชักชวนให้ร่วมลงทุนเป็นตัวแทนจำหน่ายในตำแหน่งดีลเลอร์เป็นเงินลงทุนจำนวน 250,000 บาท ผู้ชักชวนจะได้รับค่าตอบแทนจากผู้สมัครรายใหม่เป็นเงิน 10,000 - 15,000 บาท ต่อ 1 ดีลเลอร์ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวของบริษัทฯ รวมทั้งวิธีการในการดำเนินธุรกิจมีลักษณะที่ไม่ได้มุ่งเน้นในการขายสินค้าให้กับผู้บริโภค แต่กลับมุ่งเน้นให้สมาชิกรายเก่าหาสมาชิกรายใหม่เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน ซึ่งรายได้หลักเกิดจากการที่มีผู้สมัครรายใหม่ในตำแหน่งดีลเลอร์ต่อ ๆ กันไป ซึ่งรูปแบบการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ มีลักษณะเป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในธุรกิจตลาดแบบตรงโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 มาตรา 5 มาตรา 44 และมาตรา 53 วรรคสอง (3) (5) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จึงมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ :

1) ร้องเรียนด้วยตนเอง (Walk-in) : ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ผู้บริโภค ชั้น 1 อาคารรัฐศาสนภักดี (อาคารบี) ทิศใต้ ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

2) ผ่านระบบออนไลน์ : https://complaint.ocpb.go.th/

3) ช่องทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect : https://ocpbconnect.ocpb.go.th/

4) ขอคำปรึกษาได้ที่ สายด่วน 1166 หรือ Line : @ocpbconnect

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

 

       สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจหลักในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ในเรื่องสินค้าและบริการ ได้แก่ ด้านโฆษณา ด้านสัญญา ด้านฉลาก ด้านความปลอดภัย ด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง และในกรณีที่ไม่มีหน่วยงานใดดูแลเรื่องการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค

 

วิสัยทัศน์

"ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความเป็นธรรม และยั่งยืน"

 

ค่านิยม

"โปร่งใส ทันสมัย ใส่ใจผู้บริโภค" 

 

พันธกิจ

  1. พัฒนากฎหมาย มาตรการ ตลอดจนระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
  2. พัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อป้องกัน ควบคุม/กำกับดูแลสินค้าและบริการให้มีความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. พัฒนานวัตกรรมและเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
  4. เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อสร้างความตระหนักรู้และสามารถปกป้องสิทธิของตนได้
  5. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ส่งเสริมความร่วมมือทุกภาคส่วนให้มีการบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคในทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

 

1. การบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการ ในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567

      ข้อมูลสรุป สืบเนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคมีการจับจ่ายซื้อสินค้าทางช่องทางออนไลน์โดยเรียกเก็บเงินปลายทางมากขึ้น เพราะสะดวกสบายแค่มีเพียงโทรศัพท์เครื่องเดียวก็สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ ทำให้เกิดช่องว่างให้กับผู้ประกอบธุรกิจบางรายหลอกลวงผู้บริโภค เช่น ส่งสินค้าไม่ตรงปก ไม่ได้รับสินค้า สินค้าที่ได้รับมีความชำรุดบกพร่อง ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าแต่มีสินค้าไปส่งแล้วเรียกเก็บเงิน สินค้าสูญหาย และไม่สามารถติดต่อผู้ขายได้ ในกรณีผู้บริโภคเลือกชำระเงินปลายทางเมื่อผู้บริโภคได้ชำระเงินให้กับผู้ให้บริการขนส่งสินค้าแล้ว เกิดปัญหาต้องการที่จะขอเงินคืน ปรากฏว่าผู้ให้บริการขนส่งสินค้าได้นำเงินไปจ่ายให้กับผู้ขายสินค้าแล้ว และผู้บริโภคไม่สามารถติดต่อไปยังผู้ขายสินค้าได้ทำให้ไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาใด ๆ ซึ่ง สคบ.ได้รับเรื่องร้องทุกข์ในกรณีเช่นนี้มาอย่างต่อเนื่องจึงได้หามาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลโดยออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญาเรื่องให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาผู้ขายสินค้าที่ไม่สุจริต หลอกลวงผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมและเกิดความเสียหายจากการสั่งซื้อสินค้าและรับบริการขนส่งจากผู้ประกอบธุรกิจ ดังนั้น สคบ.ได้ออกประกาศฯฉบับนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและเป็นการปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าและใช้บริการขนส่งสินค้ารวมทั้งผู้บริโภคจะได้รับการชดเชยเยียวยาความเสียหายด้วยความรวดเร็วและเป็นธรรม

       ประกาศดังกล่าวครอบคลุมทั้งปัญหากรณีการเก็บเงินปลายทางที่มาจากการซื้อสินค้า ผ่านทางช่องทางออนไลน์ และการเก็บเงินปลายทางกรณีอื่น ๆ ได้แก่ สั่งซื้อสินค้าแล้วได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าแต่มีสินค้าไปส่งแล้วเรียกเก็บเงินปลายทาง และสั่งซื้อสินค้าแล้วสินค้าที่ได้รับมีความชำรุดบกพร่อง โดยการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการขนส่งสินค้าจะต้องมีการจัดทำหลักฐานการรับเงินและส่งมอบให้แก่ผู้บริโภคทันทีที่ได้รับชำระค่าบริการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. กำหนดให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ส่งสินค้า อย่างน้อยให้ระบุ ชื่อและนามสกุลของบุคคลธรรมดา หรือชื่อนิติบุคคล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล
  2. กำหนดให้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจ อย่างน้อยให้ระบุ ชื่อและนามสกุลของบุคคลธรรมดา หรือชื่อนิติบุคคล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล
  3. กำหนดให้ระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการส่งสินค้า ได้แก่ หมายเลขติดตามพัสดุข้อมูลพนักงานผู้นำส่งสินค้าและผู้รับเงินโดยเรียกเก็บปลายทางจากผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้รับสินค้า เช่น ชื่อและนามสกุล หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลของ   ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้รับสินค้า เช่น ชื่อและนามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลของพัสดุ โดยระบุรายละเอียดของสินค้าที่แสดงให้ทราบว่าเป็นสินค้าอะไร จำนวนเงินที่เรียกเก็บปลายทาง วัน เดือน ปี ที่ส่งมอบสินค้า
  4. กำหนดให้ผู้บริโภคสามารถเปิดดูสินค้าก่อนชำระเงินได้ หากตรวจแล้วพบว่ามีปัญหาสั่งซื้อสินค้าแล้วได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ ไม่ได้สั่งซื้อสินค้าแต่มีสินค้าไปส่งแล้วเรียกเก็บเงินปลายทาง และสินค้าที่ได้รับมีความชำรุดบกพร่อง ผู้บริโภคสามารถปฏิเสธการชำระเงินและไม่รับสินค้าได้
  5. กำหนดให้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าถือเงินค่าสินค้าเป็นระยะเวลา 5 วัน นับแต่วันที่ผู้บริโภค รับสินค้าก่อนที่จะส่งเงินให้กับผู้ขายสินค้า หากผู้บริโภคแจ้งเหตุที่ขอคืนสินค้าและขอเงินคืนภายใน 5 วัน ว่าผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ตนไม่ได้สั่งซื้อ หรือได้รับสินค้าไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ หรือสินค้าที่ตนสั่งซื้อมีความชำรุดบกพร่อง และหากผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบว่ามีเหตุตรงตามที่ผู้บริโภคแจ้งมา ผู้ประกอบธุรกิจต้องคืนเงินให้กับผู้บริโภคภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้บริโภค
  6. ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจระบุข้อความที่เป็นการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจและผู้ส่งสินค้า ข้อความที่กำหนดว่าห้ามไม่ให้ผู้บริโภคเปลี่ยนหรือคืนสินค้าไม่ว่ากรณีใด ๆ และข้อความจะไม่คืนเงินที่ผู้บริโภคได้ชำระมาแล้วไม่ว่ากรณีใด ๆ ซึ่งเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค

      โดยเมื่อวันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พลตำรวจตรี วิทยา ศรีประเสริฐภาพผู้บังคับการปราบปรามการกระทำ ความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และผู้ประกอบการให้บริการขนส่งและแพลตฟอร์มออนไลน์ รวม 7 แห่ง ร่วมแถลงข่าวมาตรการส่งดี (Dee – Delivery) การให้บริการขนส่งสินค้า โดยเรียกเก็บเงินปลายทาง (COD) ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าโดยเรียกเก็บเงินปลายทางเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน พ.ศ. 2567 ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ


2. การแถลงข่าวผลการตรวจสอบทองของร้านทองของ บริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด (ร้านทองแม่ตั๊ก)

      ข้อมูลสรุป วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2567 นายเลิศศักดิ์ รักธรรม ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนประเด็น ผลการตรวจสอบทองของร้านทองของ บริษัท เคทูเอ็น โกลด์ จำกัด ที่ สคบ. ส่งให้ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ตรวจสอบ พบว่ามีการจัดทำฉลากไม่ถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่องให้ทองคำรูปพรรณเป็นสินค้าควบคุมฉลาก ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2544) ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ สคบ. ได้ส่งมอบตัวอย่างสินค้า ทองรูปพรรณ เพื่อตรวจวิเคราะห์ให้กับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ตรวจสอบสินค้าโดยวิธีนำไปพัฒนาเทคนิค (x- Ray) และหลอมละลาย (Fire assay) ซึ่งผลการตรวจสอบต้องนำไปประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นๆ เช่น การเสนอขาย

      โดยเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเก็บตัวอย่างของกลางจากร้านทองบริษัทเคทูเอ็น โกลด์ จำกัด ทั้งหมด 6 ตัวอย่าง เพื่อนำไปทดสอบ 2 วิธีการ วิธีแรกคือ การเอกซเรย์ และวิธีที่สองคือการเผาและหลอม สรุปได้ว่าตัวอย่างทองที่เก็บมาทั้งหมด เป็นทองแท้ที่มีเปอร์เซ็นต์สูงถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ ผลตรวจสอบทั้งหมด 6 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

1. ทองรูปพรรณประเภทสร้อยคอ (ห่วงใหญ่) น้ำหนัก 1.89 กรัม จำนวน 2 ตัวอย่าง ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 97.55 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลการหลอมอยู่ที่ 92.78 เปอร์เซ็นต์

2. ทองรูปพรรณประเภทสร้อยคอ (ห่วงเล็ก) น้ำหนัก 1.9 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 96.00 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจากการหลอมอยู่ที่ 94.44 เปอร์เซ็นต์

3. ทองรูปพรรณ ประเภทกำไรข้อมือ (ปี่เซียะ) จำนวน 8 ตัว น้ำหนัก 4.96 กรัม ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจากการหลอมอยู่ที่ 99.97 เปอร์เซ็นต์

4. ทองรูปพรรณประเภทกำไรข้อมือ (ตราไข่) น้ำหนัก 0.77 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจากการหลอมอยู่ที่ 99.97 เปอร์เซ็นต์

5. ทองรูปพรรณประเภทลูกปัด จำนวน 8 เม็ด น้ำหนัก 1.19 กรัมจำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 71.15 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจากการหลอมอยู่ที่ 61.45 เปอร์เซ็นต์

6. ทองรูปพรรณประเภทจี้ (ปี่เซียะ) น้ำหนัก 11.13 กรัม จำนวน 1 ตัวอย่าง ผลจากการเอกซเรย์ได้ผลอยู่ที่ 99.99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผลจาก การหลอมอยู่ที่ 99.95 เปอร์เซ็นต์

      ในเบื้องต้นมีความผิดกรณีฉลากไม่ตรงปก มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ต้องตรวจสอบว่าขอทำธุรกิจตลาดแบบตรงที่ต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน รวมถึงการขายทางออนไลน์ และประเด็นการไลฟ์สดขายสินค้าใช้ถ้อยคำ โฆษณาเกินจริงหรือไม่ นอกจากนี้ สคบ. จะรวบรวมรายชื่อผู้เสียหายส่งให้ผู้ประกอบธุรกิจพิจารณาว่าจะรับผิดชอบผู้เสียหายและเยียวยาอย่างไร ถึงผู้เสียหายนำทองไปคืนก็ยังดำเนินคดีได้ เนื่องจากความผิดอาญา และแพ่งต่างกัน ระหว่างนี้ตำรวจ ปคบ.จะบูรณาการร่วม กับเจ้าหน้าที่ ปปง.ตรวจสอบว่าซื้อทองมาจากที่ไหน

อ้างอิงจาก : INN News และ ไทยรัฐทีวี

 

3. กรณีมีผู้ร้องเรียน บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ขอให้ตรวจสอบลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด

       ข้อมูลสรุป ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่าง ๆ กรณีมีผู้ร้องเรียน บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ขอให้ตรวจสอบลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ซึ่งผู้ร้องได้เข้าร่วมประกอบธุรกิจโดยการชักชวนให้สมัครเป็นตัวแทนของบริษัทฯ เพื่อซื้อสินค้าไปจำหน่ายต่อ แต่ภายหลังผู้ร้องไม่สามารถจำหน่ายสินค้าได้ ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายจากการเข้าร่วมเป็นตัวแทนจำหน่าย จึงประสงค์ขอคืนสินค้าและขอเงินคืน สคบ. ขอชี้แจง ข้อเท็จจริง ในประเด็นดังกล่าวต่อสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้

  1. บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ได้รับการจดทะเบียนให้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2562 เพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทอาหาร ผ่าน www.theicon.co.th ต่อมาตามข้อเท็จจริงที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามที่ได้รับจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง หากตรวจสอบแล้วพบว่าลักษณะการประกอบธุรกิจมีพฤติกรรมตามที่มีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ จริง สคบ.จะรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมดนำเสนอเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะนายทะเบียน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
  1. ปัจจุบัน สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวน 24 เรื่อง ตรวจสอบแล้วพบว่า ประเด็นแห่งการร้องเรียนเป็นกรณีที่ผู้ร้องเรียนได้สมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายซื้อสินค้าจากบริษัทฯ เพื่อนำไปขายต่อโดยมีความคาดหวังว่าจะได้รับผลกำไรจากส่วนต่างของราคาสินค้า ซึ่งจากข้อเท็จจริงที่มีการร้องเรียนมิได้เกิดจากการถูกละเมิดสิทธิอันเนื่องมาจากการใช้สินค้าหรือบริการแต่อย่างใด จึงไม่เข้าข่ายเป็นผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 แต่ทั้งนี้ สคบ. ได้ดำเนินการประสานไปยังบริษัทฯ เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยให้บริษัทฯ ดำเนินการพิจารณารับคืนสินค้าและคืนเงินแก่ผู้ร้อง ซึ่งมีผู้ร้องบางส่วนมีการเจรจาตกลงกันได้ จึงแจ้งยุติเรื่องร้องเรียน
  1. กรณีที่ สคบ. พิจารณามอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด บริษัทฯ ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณประเภทหน่วยงาน องค์กรที่ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในปี 2564 แต่เป็นช่วงสถานการณ์โควิดทำให้ไม่ได้มีการจัดกิจกรรมการมอบโล่ฯ ได้ ซึ่งบริษัทฯ ได้มารับโล่ฯ ในการจัดกิจกรรมมอบโล่ฯ ปี 2565 ในกรณีดังกล่าวหากตรวจสอบแล้วพบว่า บริษัทฯ มีการนำโล่ประกาศเกียรติคุณไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของการมอบโล่ฯ สคบ. จะพิจารณาเรียกคืนโล่ประกาศเกียรติคุณดังกล่าวต่อไป และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงของ บริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 บริษัทฯ ได้ยื่นคำขอแก้ไขช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านเว็บไซต์เป็น www.theicongroup.co.th แต่ภายหลังจากที่ได้รับการจดทะเบียนให้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ว่าเว็บไซต์ www.theicongroup.co.th เมื่อเข้าไปดูสินค้าแล้วเลือกรายการสินค้าลงตะกร้าและทำการชำระเงินตามขั้นตอนปรากฏว่าไม่สามารถชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าได้โดยเว็บไซต์ดังกล่าวขึ้นข้อความว่า “Something is not right ! กรุณาเข้าเว็บไซต์ของตัวแทนเพื่อทำการสั่งซื้อสินค้า” อีกทั้งยังมีข้อเท็จจริงที่ได้จากการสอบสวนผู้เสียหายให้ถ้อยคำว่า “ผู้บริโภคไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทฯ ได้โดยตรง จะสั่งซื้อสินค้าได้ต่อเมื่อสั่งซื้อสินค้าผ่านลิงก์ของตัวแทนจำหน่ายเท่านั้น” ประกอบกับมีผู้เสียหายให้การว่าหากสามารถชักชวนให้ร่วมลงทุนเป็นตัวแทนจำหน่ายในตำแหน่งดีลเลอร์เป็นเงินลงทุนจำนวน 250,000 บาท ผู้ชักชวนจะได้รับค่าตอบแทนจากผู้สมัครรายใหม่เป็นเงิน 10,000 - 15,000 บาท ต่อ 1 ดีลเลอร์ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวของบริษัทฯ รวมทั้งวิธีการในการดำเนินธุรกิจมีลักษณะที่ไม่ได้มุ่งเน้นในการขายสินค้าให้กับผู้บริโภค แต่กลับมุ่งเน้นให้สมาชิกรายเก่าหาสมาชิกรายใหม่เพื่อให้ได้รับผลตอบแทน ซึ่งรายได้หลักเกิดจากการที่มีผู้สมัครรายใหม่ในตำแหน่งดีลเลอร์ต่อ ๆ กันไป ซึ่งรูปแบบการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ มีลักษณะเป็นการชักชวนให้บุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายในธุรกิจตลาดแบบตรงโดยตกลงว่าจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว ซึ่งคำนวณจากจำนวนผู้เข้าร่วมเครือข่ายที่เพิ่มขึ้น อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 มาตรา 5 มาตรา 44 และมาตรา 53 วรรคสอง (3) (5) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 จึงมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2568 

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ :

1) ร้องเรียนด้วยตนเอง (Walk-in) : ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ผู้บริโภค ชั้น 1 อาคารรัฐศาสนภักดี (อาคารบี) ทิศใต้ ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

2) ผ่านระบบออนไลน์ : https://complaint.ocpb.go.th/

3) ช่องทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect : https://ocpbconnect.ocpb.go.th/

4) ขอคำปรึกษาได้ที่ สายด่วน 1166 หรือ Line : @ocpbconnect

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์: สายด่วน 1166

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

      

       สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลง หรือ บีโอไอ เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ ส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ

 

วิสัยทัศน์

ส่งเสริมการลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่

 

เป้าหมายหลัก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดเป้าหมายหลักที่ต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้บรรลุผล 3 ประการ ประกอบด้วย

1) Innovative: เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์

2) Competitive: เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตัวได้เร็ว และสร้างการเติบโตสูง

3) Inclusive: เป็นเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งการสร้าง โอกาส และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ มุ่งยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มุ่งยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคใน 5 ด้านสำคัญที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ได้แก่ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมด้าน BCG (Bio-Circular-Green Industries Hub) ศูนย์กลางเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Tech Hub) ซึ่งจะครอบคลุมหลายสาขา เช่น รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และดิจิทัล ศูนย์รวมบุคลากรทักษะสูงจากทั่วโลก (Talent Hub) ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และธุรกิจระหว่างประเทศ (Logistics & International Business Hub) และศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Soft Power and Creative Hub)

 

แผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในปี 2568

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในปี 2568 เพื่อเร่งเปลี่ยนผ่านประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นฐานผลิตของอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก และพร้อมรับกระแสการโยกย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยมีแผนดำเนินงาน 5 ด้านสำคัญ ดังนี้

1) เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมุ่งดึงดูดการลงทุนใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย อุตสาหกรรม BCG, ยานยนต์ไฟฟ้า (xEV), เซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง, ดิจิทัล และกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยการบูรณาการผ่านคณะกรรมการระดับชาติ ทั้งบอร์ดอีวี บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ และคณะกรรมการสิทธิประโยชน์ด้านซอฟต์พาวเวอร์ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดการลงทุน และเตรียมขยายสำนักงานบีโอไอเพิ่มอีก 2 แห่งที่นครเฉิงตู ประเทศจีน และสิงคโปร์

2) ยกระดับผู้ประกอบการไทย และสนับสนุนการเชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลก โดยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs และสร้างโอกาสในการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการสนับสนุนการใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศ และการจัดกิจกรรมการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม

3) พัฒนาบุคลากรทักษะสูง โดยบีโอไอทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และภาคเอกชน เพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะด้าน Semiconductor, PCB, ดิจิทัล และ AI ทั้งการจัดทำ Roadmap ที่ชัดเจนและการกำหนดมาตรการสนับสนุน นอกจากนี้ จะดึงดูดบุคลากรทักษะสูงจากต่างประเทศ ผ่านมาตรการ LTR Visa และ Smart Visa รวมทั้งการขยายการให้บริการของศูนย์ One Stop Service ด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน

4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศการลงทุน โดยส่งเสริมการลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านกายภาพและดิจิทัลที่สำคัญเพื่อรองรับการลงทุน พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาและเตรียมพื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการลงทุน และพัฒนาเครื่องมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเก็บภาษีส่วนเพิ่ม (Global Minimum Tax) ร่วมกับกระทรวงการคลัง

5) การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและอุตสาหกรรมยั่งยืน ด้วยการเดินหน้าสนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การรีไซเคิล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อการลดการใช้พลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ บีโอไอจะทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในการออกแบบกลไกการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งกลไก Utility Green Tariff (UGT) และการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct PPA)

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

 

โครงการที่ 1 :

       ระหว่างวันที่ 18 - 24 มกราคม 2568 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการบีโอไอ ได้เข้าร่วมคณะ "ทีมประเทศไทย" นำโดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะผู้แทนระดับสูงจากไทย ซึ่งประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจสำคัญ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าผู้แทนการค้าไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยการเดินทางครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และคณะได้เข้าร่วมและจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงชักจูงการลงทุนจากบริษัทชั้นนำ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยในสายตาผู้นำระดับสูงของภาครัฐและเอกชนจากทั่วโลก โดยมีกิจกรรมหลัก ดังนี้

      การเดินทางครั้งนี้ คณะได้พบหารือกับผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น DP World, Nestlé, Bayer, Coca-Cola, AstraZeneca, Salesforce, Google, AWS และ Pepsi เพื่อผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุน ตอกย้ำบทบาทของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค นอกจากนี้ คณะได้เข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและกลุ่ม EFTA (TH-EFTA FTA) ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญในการเปิดประตูสู่การค้าและการลงทุนในระดับโลก

       ในวันที่ 22 มกราคม นายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Thailand’s Country Reception เพื่อโปรโมตประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการลงทุนระดับโลก พร้อมนำเสนอความเป็นไทยผ่านวัฒนธรรมและอาหารไทยแก่ผู้นำระดับโลก นอกจากนี้คณะผู้แทนไทยยังได้เข้าร่วมการประชุมสำคัญ Country Strategy Dialogue ซึ่งนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการบีโอไอได้นำเสนอกลยุทธ์ของประเทศไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เน้นการพัฒนาสีเขียว การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และความยั่งยืนเพื่อดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศ การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มุ่งสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และนำประเทศไทยเข้าสู่เรดาร์ของผู้นำและนักลงทุนระดับโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

โครงการที่ 2 :

       นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการบีโอไอ เข้าร่วมการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี-ไทย (Saudi-Thai Coordination Council : STCC) ครั้งที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการด้านการลงทุน ภายใต้ STCC โดยมีนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฟัรฮาน อาล ซะอูด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เป็นประธานร่วมในการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี-ไทย ซึ่งเป็นกลไกประสานงานและขับเคลื่อนความสัมพันธ์ทวิภาคีตามแผนการขับเคลื่อนและส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบียให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

       ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการกระชับความร่วมมือในสาขาที่มีศักยภาพระหว่างกัน สำหรับด้านการลงทุน ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศแห่งโอกาสสำหรับภาคเอกชนไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในสาขาเกษตร อาหารและฮาลาล ยานยนต์ สุขภาพและการแพทย์ ธุรกิจการก่อสร้าง พลังงานทดแทน ธุรกิจบริการ และธุรกิจด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของไทย ณ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568

โครงการที่ 3 :

       ปี 2024 เป็นอีกหนึ่งปีที่ บีโอไอ ยืนยันบทบาทการเป็นหน่วยงานให้การส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย ด้วย 9 ตัวเลขไฮไลต์ที่สะท้อนศักยภาพและความสำเร็จ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตการลงทุนระดับโลก

1) 1.13 ล้านล้านบาท : สถิติมูลค่าการลงทุนที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ปี 2024 บีโอไอทำสถิติใหม่ ด้วยมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงถึง 1.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนความมั่นใจที่นักลงทุนทั่วโลกมีต่อไทยในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

2) 3,137 โครงการ : ยอดอนุมัติที่มากที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งบีโอไอ จำนวนโครงการสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบีโอไอ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เห็นว่าไทยพร้อมในทุกด้าน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานสะอาด และสิทธิประโยชน์ที่สนับสนุนการเติบโต

3) สิงคโปร์ครองแชมป์ : นักลงทุนด้วยเม็ดเงินลงทุนสูงสุด สิงคโปร์ ยังคงเป็นประเทศที่มีการลงทุนในไทยสูงสุดด้วยมูลค่า 357,540 ล้านบาท ตามมาด้วย จีน (174,638 ล้านบาท) และฮ่องกง (82,266 ล้านบาท) โดยการลงทุนจากสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นโครงการของบริษัทแม่จากจีนและสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าไทยเป็นพื้นที่ไร้ความขัดแย้ง (Conflict-free Zone)

4) Data Center มาแรง เงินลงทุนทะลุ 241,000 ล้านบาท ในมือผู้เล่นระดับโลก ปี 2024 เป็นปีทองของธุรกิจ Data Center และ Cloud Service ด้วยการลงทุนจากยักษ์ใหญ่ เช่น Google, AWS, Alibaba Cloud และ Huawei และอีกหลายบริษัทชั้นนำเลือกไทยเป็นฐานลงทุน สะท้อนความสำคัญของธุรกิจดิจิทัลในเศรษฐกิจยุคใหม่ และศักยภาพไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอนาคต

5) 5 อุตสาหกรรมเด่นแห่งอนาคต : ดิจิทัลครองอันดับ 1

  1. ดิจิทัล (243,308 ล้านบาท) : ธุรกิจ Data Center และการพัฒนาซอฟต์แวร์
  2. อิเล็กทรอนิกส์ (231,710 ล้านบาท) : การผลิต PCB และเซมิคอนดักเตอร์
  3. ยานยนต์ (102,366 ล้านบาท) : การผลิต EV และชิ้นส่วนยานยนต์
  4. เกษตรและอาหาร (87,646 ล้านบาท) : การแปรรูปอาหาร
  5. ปิโตรเคมี (49,061 ล้านบาท) : การผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษ

6) ปรับเกมเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและพลังงานสะอาด การขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือขยะ มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 114,484 ล้านบาท เป็นมูลค่าการลงทุนที่สูงและมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ แสดงถึงความพร้อมของไทยที่จะรองรับความต้องการด้านพลังงานสะอาดในอนาคต นอกจากนี้ การลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม Smart & Sustainable Industry ยังเติบโตกว่า 30 % เม็ดเงินลงทุน 35,560 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นพลังงานสะอาด ระบบอัตโนมัติ และการลดต้นทุนด้านพลังงาน

7) ภาคตะวันออกขึ้นแท่นโซนสุดฮอต เงินลงทุน 573,066 ล้านบาท ในพื้นที่ศักยภาพสูง พื้นที่ภาคตะวันออกยังคงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดึงดูดนักลงทุนมากที่สุด (573,066 ล้านบาท) ตามด้วย ภาคกลาง (392,267 ล้านบาท) และภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (71,591 ล้านบาท) พร้อมการกระจายโอกาสสู่ภูมิภาคอื่น

8) 2.1 แสนตำแหน่ง - 2.6 ล้านล้านบาท : ตัวเลขที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การลงทุนในปีนี้ไม่ได้แค่สร้างงานกว่า 2.1 แสนตำแหน่ง แต่ยังใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท และสร้างรายได้จากการส่งออกสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท สะท้อนถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนและยั่งยืนต่อเศรษฐกิจไทย

9) 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ : ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยใน 3 ปีข้างหน้า บีโอไอกำหนดยุทธศาสตร์ 5 ปี (2566-2570) โดยเน้น 5 อุตสาหกรรมสำคัญ

  • อุตสาหกรรมชีวภาพและเศรษฐกิจสีเขียว: เกษตร อาหาร การแพทย์ และพลังงานสะอาด
  • ยานยนต์ไฟฟ้า : ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน
  • อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง : เซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอัจฉริยะ
  • ดิจิทัลและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ : เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัล
  • ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ : ศูนย์กลางธุรกิจและบริการระดับภูมิภาค

 

เพราะทุกธุรกิจ เติบโตได้ และทุกการลงทุนจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย คุณกำลังมองหาโอกาสที่ “ใช่” อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่…คุณจะปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านไปหรือเลือกสิ่งใหม่ให้ธุรกิจของคุณ

? สามารถรับชมคลิป แล้วค้นพบว่าทำไม บีโอไอ ถึงเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ได้ที่ : 

https://www.facebook.com/100064702208328/videos/1866436014126548/?__so__=permalink

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

      

       สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลง หรือ บีโอไอ เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการ ส่งเสริมการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ

 

วิสัยทัศน์

ส่งเสริมการลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่

 

เป้าหมายหลัก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดเป้าหมายหลักที่ต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้บรรลุผล 3 ประการ ประกอบด้วย

1) Innovative: เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์

2) Competitive: เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตัวได้เร็ว และสร้างการเติบโตสูง

3) Inclusive: เป็นเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งการสร้าง โอกาส และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ มุ่งยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มุ่งยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาคใน 5 ด้านสำคัญที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง ได้แก่ ศูนย์กลางอุตสาหกรรมด้าน BCG (Bio-Circular-Green Industries Hub) ศูนย์กลางเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Tech Hub) ซึ่งจะครอบคลุมหลายสาขา เช่น รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และดิจิทัล ศูนย์รวมบุคลากรทักษะสูงจากทั่วโลก (Talent Hub) ศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และธุรกิจระหว่างประเทศ (Logistics & International Business Hub) และศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Soft Power and Creative Hub)

 

แผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในปี 2568

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนในปี 2568 เพื่อเร่งเปลี่ยนผ่านประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นฐานผลิตของอุตสาหกรรมชั้นนำระดับโลก และพร้อมรับกระแสการโยกย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้น โดยมีแผนดำเนินงาน 5 ด้านสำคัญ ดังนี้

1) เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยมุ่งดึงดูดการลงทุนใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย อุตสาหกรรม BCG, ยานยนต์ไฟฟ้า (xEV), เซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง, ดิจิทัล และกิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยการบูรณาการผ่านคณะกรรมการระดับชาติ ทั้งบอร์ดอีวี บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ และคณะกรรมการสิทธิประโยชน์ด้านซอฟต์พาวเวอร์ รวมถึงการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดการลงทุน และเตรียมขยายสำนักงานบีโอไอเพิ่มอีก 2 แห่งที่นครเฉิงตู ประเทศจีน และสิงคโปร์

2) ยกระดับผู้ประกอบการไทย และสนับสนุนการเชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับโลก โดยจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs และสร้างโอกาสในการเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการสนับสนุนการใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศ และการจัดกิจกรรมการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม

3) พัฒนาบุคลากรทักษะสูง โดยบีโอไอทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และภาคเอกชน เพื่อเตรียมพร้อมบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะด้าน Semiconductor, PCB, ดิจิทัล และ AI ทั้งการจัดทำ Roadmap ที่ชัดเจนและการกำหนดมาตรการสนับสนุน นอกจากนี้ จะดึงดูดบุคลากรทักษะสูงจากต่างประเทศ ผ่านมาตรการ LTR Visa และ Smart Visa รวมทั้งการขยายการให้บริการของศูนย์ One Stop Service ด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน

4) ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศการลงทุน โดยส่งเสริมการลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านกายภาพและดิจิทัลที่สำคัญเพื่อรองรับการลงทุน พร้อมร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาและเตรียมพื้นที่รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการลงทุน และพัฒนาเครื่องมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเก็บภาษีส่วนเพิ่ม (Global Minimum Tax) ร่วมกับกระทรวงการคลัง

5) การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและอุตสาหกรรมยั่งยืน ด้วยการเดินหน้าสนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การรีไซเคิล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงส่งเสริมการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อการลดการใช้พลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ บีโอไอจะทำงานร่วมกับกระทรวงพลังงานและสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในการออกแบบกลไกการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งกลไก Utility Green Tariff (UGT) และการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct PPA)

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

 

โครงการที่ 1 :

       ระหว่างวันที่ 18 - 24 มกราคม 2568 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการบีโอไอ ได้เข้าร่วมคณะ "ทีมประเทศไทย" นำโดย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะผู้แทนระดับสูงจากไทย ซึ่งประกอบด้วยรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจสำคัญ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าผู้แทนการค้าไทย เพื่อเข้าร่วมการประชุม World Economic Forum (WEF) ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยการเดินทางครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และคณะได้เข้าร่วมและจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย รวมถึงชักจูงการลงทุนจากบริษัทชั้นนำ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยในสายตาผู้นำระดับสูงของภาครัฐและเอกชนจากทั่วโลก โดยมีกิจกรรมหลัก ดังนี้

      การเดินทางครั้งนี้ คณะได้พบหารือกับผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น DP World, Nestlé, Bayer, Coca-Cola, AstraZeneca, Salesforce, Google, AWS และ Pepsi เพื่อผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุน ตอกย้ำบทบาทของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค นอกจากนี้ คณะได้เข้าร่วมพิธีลงนามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยและกลุ่ม EFTA (TH-EFTA FTA) ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าสำคัญในการเปิดประตูสู่การค้าและการลงทุนในระดับโลก

       ในวันที่ 22 มกราคม นายกรัฐมนตรีได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน Thailand’s Country Reception เพื่อโปรโมตประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางการลงทุนระดับโลก พร้อมนำเสนอความเป็นไทยผ่านวัฒนธรรมและอาหารไทยแก่ผู้นำระดับโลก นอกจากนี้คณะผู้แทนไทยยังได้เข้าร่วมการประชุมสำคัญ Country Strategy Dialogue ซึ่งนายกรัฐมนตรีและเลขาธิการบีโอไอได้นำเสนอกลยุทธ์ของประเทศไทยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เน้นการพัฒนาสีเขียว การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และความยั่งยืนเพื่อดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศ การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มุ่งสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทย และนำประเทศไทยเข้าสู่เรดาร์ของผู้นำและนักลงทุนระดับโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการลงทุนให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

โครงการที่ 2 :

       นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการบีโอไอ เข้าร่วมการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี-ไทย (Saudi-Thai Coordination Council : STCC) ครั้งที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมการด้านการลงทุน ภายใต้ STCC โดยมีนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฟัรฮาน อาล ซะอูด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เป็นประธานร่วมในการประชุมสภาความร่วมมือซาอุดี-ไทย ซึ่งเป็นกลไกประสานงานและขับเคลื่อนความสัมพันธ์ทวิภาคีตามแผนการขับเคลื่อนและส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยและซาอุดีอาระเบียให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

       ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายยืนยันถึงความมุ่งมั่นในการกระชับความร่วมมือในสาขาที่มีศักยภาพระหว่างกัน สำหรับด้านการลงทุน ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศแห่งโอกาสสำหรับภาคเอกชนไทยอย่างมาก โดยเฉพาะในสาขาเกษตร อาหารและฮาลาล ยานยนต์ สุขภาพและการแพทย์ ธุรกิจการก่อสร้าง พลังงานทดแทน ธุรกิจบริการ และธุรกิจด้านการท่องเที่ยว รวมถึงการเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญของไทย ณ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568

โครงการที่ 3 :

       ปี 2024 เป็นอีกหนึ่งปีที่ บีโอไอ ยืนยันบทบาทการเป็นหน่วยงานให้การส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย ด้วย 9 ตัวเลขไฮไลต์ที่สะท้อนศักยภาพและความสำเร็จ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคตการลงทุนระดับโลก

1) 1.13 ล้านล้านบาท : สถิติมูลค่าการลงทุนที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ปี 2024 บีโอไอทำสถิติใหม่ ด้วยมูลค่าขอรับส่งเสริมการลงทุนสูงถึง 1.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปีก่อน สะท้อนความมั่นใจที่นักลงทุนทั่วโลกมีต่อไทยในฐานะศูนย์กลางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค

2) 3,137 โครงการ : ยอดอนุมัติที่มากที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งบีโอไอ จำนวนโครงการสูงสุดตั้งแต่ก่อตั้งบีโอไอ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เห็นว่าไทยพร้อมในทุกด้าน ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานสะอาด และสิทธิประโยชน์ที่สนับสนุนการเติบโต

3) สิงคโปร์ครองแชมป์ : นักลงทุนด้วยเม็ดเงินลงทุนสูงสุด สิงคโปร์ ยังคงเป็นประเทศที่มีการลงทุนในไทยสูงสุดด้วยมูลค่า 357,540 ล้านบาท ตามมาด้วย จีน (174,638 ล้านบาท) และฮ่องกง (82,266 ล้านบาท) โดยการลงทุนจากสิงคโปร์ส่วนใหญ่เป็นโครงการของบริษัทแม่จากจีนและสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าไทยเป็นพื้นที่ไร้ความขัดแย้ง (Conflict-free Zone)

4) Data Center มาแรง เงินลงทุนทะลุ 241,000 ล้านบาท ในมือผู้เล่นระดับโลก ปี 2024 เป็นปีทองของธุรกิจ Data Center และ Cloud Service ด้วยการลงทุนจากยักษ์ใหญ่ เช่น Google, AWS, Alibaba Cloud และ Huawei และอีกหลายบริษัทชั้นนำเลือกไทยเป็นฐานลงทุน สะท้อนความสำคัญของธุรกิจดิจิทัลในเศรษฐกิจยุคใหม่ และศักยภาพไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอนาคต

5) 5 อุตสาหกรรมเด่นแห่งอนาคต : ดิจิทัลครองอันดับ 1

  1. ดิจิทัล (243,308 ล้านบาท) : ธุรกิจ Data Center และการพัฒนาซอฟต์แวร์
  2. อิเล็กทรอนิกส์ (231,710 ล้านบาท) : การผลิต PCB และเซมิคอนดักเตอร์
  3. ยานยนต์ (102,366 ล้านบาท) : การผลิต EV และชิ้นส่วนยานยนต์
  4. เกษตรและอาหาร (87,646 ล้านบาท) : การแปรรูปอาหาร
  5. ปิโตรเคมี (49,061 ล้านบาท) : การผลิตเคมีภัณฑ์และพลาสติกชนิดพิเศษ

6) ปรับเกมเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและพลังงานสะอาด การขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือขยะ มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 114,484 ล้านบาท เป็นมูลค่าการลงทุนที่สูงและมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ แสดงถึงความพร้อมของไทยที่จะรองรับความต้องการด้านพลังงานสะอาดในอนาคต นอกจากนี้ การลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรม Smart & Sustainable Industry ยังเติบโตกว่า 30 % เม็ดเงินลงทุน 35,560 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นพลังงานสะอาด ระบบอัตโนมัติ และการลดต้นทุนด้านพลังงาน

7) ภาคตะวันออกขึ้นแท่นโซนสุดฮอต เงินลงทุน 573,066 ล้านบาท ในพื้นที่ศักยภาพสูง พื้นที่ภาคตะวันออกยังคงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดึงดูดนักลงทุนมากที่สุด (573,066 ล้านบาท) ตามด้วย ภาคกลาง (392,267 ล้านบาท) และภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (71,591 ล้านบาท) พร้อมการกระจายโอกาสสู่ภูมิภาคอื่น

8) 2.1 แสนตำแหน่ง - 2.6 ล้านล้านบาท : ตัวเลขที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย การลงทุนในปีนี้ไม่ได้แค่สร้างงานกว่า 2.1 แสนตำแหน่ง แต่ยังใช้วัตถุดิบในประเทศมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท และสร้างรายได้จากการส่งออกสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท สะท้อนถึงผลลัพธ์ที่ชัดเจนและยั่งยืนต่อเศรษฐกิจไทย

9) 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ : ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยใน 3 ปีข้างหน้า บีโอไอกำหนดยุทธศาสตร์ 5 ปี (2566-2570) โดยเน้น 5 อุตสาหกรรมสำคัญ

  • อุตสาหกรรมชีวภาพและเศรษฐกิจสีเขียว: เกษตร อาหาร การแพทย์ และพลังงานสะอาด
  • ยานยนต์ไฟฟ้า : ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน
  • อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง : เซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอัจฉริยะ
  • ดิจิทัลและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ : เทคโนโลยีและแพลตฟอร์มดิจิทัล
  • ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ : ศูนย์กลางธุรกิจและบริการระดับภูมิภาค

 

เพราะทุกธุรกิจ เติบโตได้ และทุกการลงทุนจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย คุณกำลังมองหาโอกาสที่ “ใช่” อยู่หรือเปล่า ถ้าใช่…คุณจะปล่อยให้โอกาสนี้ผ่านไปหรือเลือกสิ่งใหม่ให้ธุรกิจของคุณ

? สามารถรับชมคลิป แล้วค้นพบว่าทำไม บีโอไอ ถึงเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดับธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ได้ที่ : 

https://www.facebook.com/100064702208328/videos/1866436014126548/?__so__=permalink

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
555 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์: 02-553-8111
อีเมล: สอบถามข้อมูล : head@boi.go.th / สารบรรณกลาง (สำหรับรับ-ส่งหนังสือจากหน่วยงานภายนอก) : saraban@boi.go.th

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

       พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดกลไกการทำงานออกเป็น 2 ส่วนคือ (1) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก จัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงการเสนอแนะ ให้คำปรึกษา และให้ความเห็นเกี่ยวกับการแผนงานโครงการพัฒนาและการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ตลอดจนพิจารณาข้อเสนองบประมาณประจำปีของรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (2) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และติดตามภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการการพัฒนาประเทศ เสนอคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือสภาพิจารณา จัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติ จัดทำฐานข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม บัญชีประชาชาติของประเทศ รายงานภาวะเศรษฐกิจและสังคมเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ จัดทำกรอบการลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมและข้อเสนองบประมาณประจำปีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงพิจารณาแผนงานโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

1. การประชุมประจำปี 2567 เรื่อง “พลิกความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ สร้างโอกาสประเทศไทย”

       เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 สศช. ได้จัดประชุมประจำปี 2567 เรื่อง “พลิกความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ สร้างโอกาสประเทศไทย (Geopolitical Uncertainty: Navigating the Future)” ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อให้คนไทยตระหนัก และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวนรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากภูมิรัฐศาสตร์โลกและสามารถเล็งเห็นทางเลือก แนวทางในการเตรียมพร้อมรับมือหรือบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบด้านต่าง ๆ รวมถึงสามารถเห็นโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนั้น และนำมาสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปได้อย่างทันท่วงทีในการประชุมดังกล่าว นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ได้นำเสนอในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์โลก : นัยต่อประเทศไทย” หลังจากนั้นเป็นช่วงการเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อ “การบริหารจัดการเพื่อรับมือผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์โลก” ซึ่งเป็นการนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับผลจากความผันผวนจากภูมิรัฐศาสตร์ในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทยและแนวทางการรับมือกับผลที่จะเกิดขึ้นนั้นรวมถึงแนวทางพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของประเทศเพื่อการนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

2. การเปิดตัวกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย

       เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 รัฐบาลไทยได้จัดกิจกรรมการเปิดตัวกระบวนการหารือเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ตลอดจนเอกอัครราชทูตจากประเทศสมาชิก OECD เข้าร่วม ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายมาริษ เสงียมพงษ์) ได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ OECD ที่มีความใกล้ชิดอย่างยาวนาน พร้อมแสดงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมือ ตลอดจนสนับสนุนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในขณะที่ เลขาธิการ OECD ได้กล่าวชื่นชมความมุ่งมั่นของไทยและเน้นย้ำประโยชน์ของกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกที่จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศรายได้สูงและมีความเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวหน้าได้ โดยในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกฯนั้น ไทยจะได้รับประโยชน์จากการทำงานร่วมกับคณะกรรมการ OECD ผ่านการจัดทำข้อตกลงเบื้องต้นและการประเมินทางเทคนิคเชิงลึกที่จะมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และมาตรฐานที่ดีในรูปแบบข้อแนะนำแนวปฏิบัติ กฎหมาย และแนวนโยบายจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาเพื่อปฏิรูปประเทศให้ทัดเทียมสากล

3. การศึกษาแนวทางการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมรองรับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของโลก

       เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 นางภาวิณา อัศวมณีกุล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน รักษาราชการแทนรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "SOUND CLIMATE INVESTMENT FOR SUSTAINABLE TRANSPORT INFRASTRUCTURE TOWARDS THAILAND’S NDC GOALS" ณ โรงแรมรอยัลปรินซ์เซส หลานหลวง

       การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Sustainable Infrastructure Program in Asia (SIPA) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ OECD โดยเป็นการเริ่มต้นงานศึกษาแนวทางการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สามารถรองรับกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของโลกได้ ซึ่ง สศช. และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะหน่วยงานผู้ประสานงานหลักฝ่ายไทย ได้ร่วมกับ UNDP ประเทศไทย และคณะผู้ทำการศึกษาฯ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทางหลวง กรมเจ้าท่า และการท่าเรือแห่งประเทศไทยร่วมดำเนินการ ทั้งนี้คาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จและเผยแพร่ภายในปี 2568

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

       พระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ได้กำหนดกลไกการทำงานออกเป็น 2 ส่วนคือ (1) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ในการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก จัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมถึงการเสนอแนะ ให้คำปรึกษา และให้ความเห็นเกี่ยวกับการแผนงานโครงการพัฒนาและการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ตลอดจนพิจารณาข้อเสนองบประมาณประจำปีของรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (2) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และติดตามภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการการพัฒนาประเทศ เสนอคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือสภาพิจารณา จัดทำร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ชาติ จัดทำฐานข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม บัญชีประชาชาติของประเทศ รายงานภาวะเศรษฐกิจและสังคมเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ จัดทำกรอบการลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมและข้อเสนองบประมาณประจำปีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ รวมถึงพิจารณาแผนงานโครงการพัฒนาของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

1. การประชุมประจำปี 2567 เรื่อง “พลิกความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ สร้างโอกาสประเทศไทย”

       เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 สศช. ได้จัดประชุมประจำปี 2567 เรื่อง “พลิกความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ สร้างโอกาสประเทศไทย (Geopolitical Uncertainty: Navigating the Future)” ณ ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ เพื่อให้คนไทยตระหนัก และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวนรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากภูมิรัฐศาสตร์โลกและสามารถเล็งเห็นทางเลือก แนวทางในการเตรียมพร้อมรับมือหรือบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบด้านต่าง ๆ รวมถึงสามารถเห็นโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงนั้น และนำมาสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปได้อย่างทันท่วงทีในการประชุมดังกล่าว นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. ได้นำเสนอในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์โลก : นัยต่อประเทศไทย” หลังจากนั้นเป็นช่วงการเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิในหัวข้อ “การบริหารจัดการเพื่อรับมือผลจากการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์โลก” ซึ่งเป็นการนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับผลจากความผันผวนจากภูมิรัฐศาสตร์ในมิติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทยและแนวทางการรับมือกับผลที่จะเกิดขึ้นนั้นรวมถึงแนวทางพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของประเทศเพื่อการนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

2. การเปิดตัวกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย

       เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 รัฐบาลไทยได้จัดกิจกรรมการเปิดตัวกระบวนการหารือเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ ตลอดจนเอกอัครราชทูตจากประเทศสมาชิก OECD เข้าร่วม ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายมาริษ เสงียมพงษ์) ได้เน้นย้ำถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ OECD ที่มีความใกล้ชิดอย่างยาวนาน พร้อมแสดงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมือ ตลอดจนสนับสนุนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในขณะที่ เลขาธิการ OECD ได้กล่าวชื่นชมความมุ่งมั่นของไทยและเน้นย้ำประโยชน์ของกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกที่จะช่วยให้ไทยบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศรายได้สูงและมีความเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวหน้าได้ โดยในกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกฯนั้น ไทยจะได้รับประโยชน์จากการทำงานร่วมกับคณะกรรมการ OECD ผ่านการจัดทำข้อตกลงเบื้องต้นและการประเมินทางเทคนิคเชิงลึกที่จะมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และมาตรฐานที่ดีในรูปแบบข้อแนะนำแนวปฏิบัติ กฎหมาย และแนวนโยบายจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาเพื่อปฏิรูปประเทศให้ทัดเทียมสากล

3. การศึกษาแนวทางการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมรองรับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของโลก

       เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 นางภาวิณา อัศวมณีกุล ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน รักษาราชการแทนรองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "SOUND CLIMATE INVESTMENT FOR SUSTAINABLE TRANSPORT INFRASTRUCTURE TOWARDS THAILAND’S NDC GOALS" ณ โรงแรมรอยัลปรินซ์เซส หลานหลวง

       การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Sustainable Infrastructure Program in Asia (SIPA) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับ OECD โดยเป็นการเริ่มต้นงานศึกษาแนวทางการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สามารถรองรับกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศของโลกได้ ซึ่ง สศช. และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในฐานะหน่วยงานผู้ประสานงานหลักฝ่ายไทย ได้ร่วมกับ UNDP ประเทศไทย และคณะผู้ทำการศึกษาฯ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมทางหลวง กรมเจ้าท่า และการท่าเรือแห่งประเทศไทยร่วมดำเนินการ ทั้งนี้คาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จและเผยแพร่ภายในปี 2568

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
962 ถนนกรุงเกษม แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. 10100

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร)

 

1. การส่งเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ประกอบด้วย 

1.1 การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) 

ที่มา : ทิศทางการพัฒนาระบบราชการไทยในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) มุ่งสู่การเป็นภาครัฐที่ล้ำหน้า (Digital & Innovative Government) และภาครัฐที่เปิดกว้าง (Open Government) มีความทันสมัย น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบ (Model) ระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิด และการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem)เพื่อขับเคลื่อนการเป็นภาครัฐที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมการดำเนินการกับภาครัฐและได้นำรูปแบบดังกล่าวไปทดลองใช้แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและมีความท้าทาย โดยมีขนาด ขอบเขต และความรุนแรงของปัญหาที่ลำพังภาครัฐฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2566 - 2567 ได้ขยายผลการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ โดยคัดเลือกพื้นที่ทดลองปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) รวม 2 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และได้นำผลการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอที่ได้จากพื้นที่ทดลองปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 ได้เห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่

 

ผลการดำเนินการ (เน้นประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ) :

1) การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5  ปี 2567 จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายจตุพร บรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อตรวจเยี่ยม มอบนโยบาย ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ และผ่านระบบออนไลน์ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตภาคเหนือ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม สามารถสรุปได้ดังนี้ ได้มีข้อสั่งการให้จังหวัดเร่งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับพื้นที่เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ และดำเนินมาตรการเพื่อลดฝุ่นควัน  PM 2.5 ทั้งระบบให้เกิดผลเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติการด้วยความ “แม่นยำ รวดเร็ว ทันท่วงที มีประสิทธิภาพ” เนื่องจากในปี 2567 คาดว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้สถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในการประชุมดังกล่าวนายธนศักดิ์ มังกโรทัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รายงานผล การเสริมสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐพร้อมรายงานการลดปริมาณฝุ่นละอองของหน่วยงานภาครัฐผ่านตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) จำนวน 29 หน่วยงาน 17 จังหวัด 24 ตัวชี้วัด รวมทั้งติดตามการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM 2.5  ในปี 2567 ของหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ 

2) การจัดทำต้นแบบแพลตฟอร์มกลางในการเปิดเผยและเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่สำคัญในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ปฏิบัติงานนวัตกรรม (Government Innovation Lab) จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งปัจจุบัน ITSC ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการทำระบบฐานข้อมูลสำหรับกว่า 30 ขั้นตอน เพื่อตรวจสอบการอนุมัติ อนุญาต มีการทำข้อมูลเชิงพื้นที่ของอำเภอแม่แจ่ม ระหว่างคณะทำงานอำเภอแม่แจ่ม (ตามคำสั่งคณะทำงานลุ่มน้ำ) ร่วมกับ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และเชิญนายรังสรรค์ ขอผล ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินป่าไม้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) เข้าร่วม เพื่อส่งข้อมูลจากพื้นที่สู่สถาบัน Big Data ที่เป็นฐานข้อมูลระดับประเทศ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้ามาช่วย รวมทั้งมีการสำรวจพื้นที่ เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อทำการเกษตรของชาวบ้าน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเป็นเจ้าภาพในการสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งนี้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีการนำแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบให้แก่จังหวัดเชียงใหม่นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

3) การจับคู่ (Matching) ความต้องการของชุมชนกับภาคเอกชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 โดยทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ภาลมหายใจเชียงใหม่ จะช่วยค้นหาความต้องการของชุมชน เพื่อจับคู่กับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ต่อไป โดยการจับคู่ภารกิจหรือพื้นที่ของภาครัฐกับภาคเอกชน เช่น  การปลูกป่า การรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตร การพัฒนาและดูแลระบบเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  กับภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (จำกัด) เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATT) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (โอ้กะจู๋) ทั้งนี้ จากการประชุมผู้แทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้นำเสนอตัวอย่างการจับคู่ภาคเอกชน – ชุมชน ในการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่ทางสถาบันฯ ได้ดำเนินการผ่านโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่มะลอ บ้านแม่วาก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินการสำรวจความต้องการของชุมชนว่าต้องการพัฒนา หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนในด้านใด และนำมาจับคู่ (Matching) กับภาคเอกชนที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่สามารถช่วยส่งเสริมและพัฒนา รวมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้สามารถพัฒนา และแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้

4) การส่งเสริมองค์ความรู้และนวัตกรรมให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่องมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ครั้งที่ 1 (Thailand National PM 2.5 Forum) ภายใต้หัวข้อหลัก “อากาศสะอาด : ความรับผิดชอบร่วมของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม” ระหว่างวันที่ 3 - 4 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) และมูลนิธิเพื่อลมหายใจเชียงใหม่ จัดการประชุมดังกล่าว โดยมีนางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ได้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อเรื่อง “การบริหารจัดการอากาศสะอาดอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน”  

5) การจัดการไฟไร่หมุนเวียนบ้านแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ได้การลงพื้นที่เพื่อติดตามและศึกษาดูงานเรื่องการจัดการไฟไร่หมุนเวียน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 ณ บ้านแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไร่หมุนเวียนในรูปแบบของชาวปกาเกอะญอเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกเพียง 1 ปี แล้วจึงปล่อยให้ดินและป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่วไปใช้ระยะเวลา 7 ปีขึ้นไป ต่อการฟื้นตัวของป่าในรูปแบบไร่หมุนเวียนและการปรับตัวของชาวปกาเกอะญอกับสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันทำให้ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการทำไร่หมุนเวียนที่ผูกโยงกับระบบนิเวศและวัฒนธรรม เช่น การจัดทำแนวกันไฟรอบไร่หมุนเวียน การปรับทิศทางการเผาไร่หมุนเวียน การปรับเวลาเผา(จากช่วงเที่ยงเป็นช่วงเย็น) การต้องแจ้งหน่วยงานถึงแผนการเผาไร่ของชุมชน โดยดำเนินการจองเผาผ่านระบบ FireD อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันระบบ FireD ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบพยากรณ์อากาศและตรวจสอบคุณภาพอากาศ เช่น วันที่ฝนตกหรืออากาศปิดจึงทำให้การเผาไม่สอดคล้องกับสภาพอากาศที่แท้จริง เช่น จองวันเผาในวันที่ฝนตก ทำให้ไม่สามารถเผาได้จริงตามแผนที่วางไว้ เป็นต้น 

6) การติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เพื่อแก้ไขและพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่แจ่มอย่างครบวงจรและยั่งยืน และคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (นายทศพล เผื่อนอุดม) เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ โดยมี ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) อนุกรรมการฯ (นางสาวธีรดา ศุภะพงษ์ รศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ และนายสุนิตย์ เชรษฐา) ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (นายธนศักดิ์ มังกโรทัย) เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. เข้าร่วมประชุม ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ 2 พื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ พบว่าในปี พ.ศ. 2566 สถิติจุดความร้อน (Hotspots) และพื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีจำนวน 199 จุด และมีพื้นที่เผาไหม้ 10,365.12 ไร่ (เพิ่มมากขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ที่มีจุดความร้อน 5 จุด พื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก 824.72 ไร่) ซึ่งการขับเคลื่อนของคณะทำงานในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ปุย ได้มีการจัดทำแผนป้องกันไฟป่า แนวกันไฟ และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในระดับพื้นที่ ซึ่งมีการดำเนินการไปจนถึงระดับตำบลและหมู่บ้านโดยประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และหน่วยงานภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยมีการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการป้องกันไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยการปรับเปลี่ยนการปลูกจากพืชเชิงเดี่ยวเป็นพืชวนเกษตร (การปลูกไม้ป่า ไม้อนุรักษ์ ไม้ท้องถิ่น พืชมูลค่าสูง และไม้ยั่งยืนผสมผสานกัน) เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบตลาดและสินค้าใหม่ที่ต้องปรับเปลี่ยน เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหา PM 2.5 และตอบโจทย์ของ EU ด้วย ทั้งนี้ พบว่า เครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 2) การแก้ไขเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรจากป่า 3)การจัดทำแผนการพัฒนาของพื้นที่อย่างยั่งยืนโดยบูรณาการและเชื่อมโยงแผนของกระทรวง กรม จังหวัด ท้องถิ่น ลงไปจนถึงการพัฒนาแผนรายแปลง รายชุมชน 4) การบูรณาการงบประมาณระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 5) การปลดล็อกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค 6) การนำองค์ความรู้ และงานวิจัยมาใช้ 7) การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ เช่น FireD ดาวเทียม โดรน 8) การจัดทำตัวชี้วัดที่สะท้อนผลลัพธ์ที่ต้องการ 

7) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนม้ง ดอยสุเทพ - ปุย 12 หมู่บ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ลงพื้นที่ร่วมจัดงาน “เวทีเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง ดอยสุเทพ - ปุย 12 หมู่บ้าน พร้อม Kick off ทำแนวกันไฟ และร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การสนับสนุนการทำงานเครือข่ายภาคประชาชน และภาคี ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน PM 2.5” ณ ลานกิจกรรมหอเฝ้าระวังไฟ บ้านบวกจั่น อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคประชาชนและชุมชน ให้เข้ามามีบทบาทในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเเละเชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ เกิดการประสานการทำงาน ลดช่องว่างระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน เกิดความเข้าใจในเป้าหมายการทำงานร่วมกันโดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม เจ้าหน้าที่ในสังกัดจังหวัดเชียงใหม่ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำเครือข่ายม้ง 12 หมู่บ้าน เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาชาติพันธุ์ม้ง เชียงใหม่ เขียว สวย หอม องค์พัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม สื่อมวลชนและสื่อท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน ทั้งนี้เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มคนไทยชาติพันธุ์ จากม้ง 12 หมู่บ้าน ไปสู่เครือข่ายม้ง 14 จังหวัดภาคเหนือ และจะดำเนินการขยายเครือข่ายไปยังกลุ่มเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการทำงาน และเข้าร่วมเป็นแกนนำในเวทีระดับประเทศ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ และการสื่อสารสร้างความเข้าใจของเครือข่ายกลุ่มคนไทยชาติพันธุ์ เป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งชุมชนพิเศษ เพื่อให้มีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตภูมิปัญญาเชิงพื้นที่ และขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ส่งเสริมอัตลักษณ์วิถีชาวม้ง โดยการสร้างวิสาหกิจชุมชนเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนจากการอนุรักษ์ทำให้เกิดคำว่า “ป่าอยู่ได้ ชุมชนอยู่ได้” ซึ่งจะส่งผลทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย และพื้นที่โดยรอบจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่บูรณาการความร่วมมือ ในการเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน และเป็นพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน ดอยสุเทพ – ปุย และพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้ เครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง 12 หมู่บ้านในพื้นที่ดอยสุเทพ – ปุย เป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวังไฟป่าและดับไฟป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้อย่างเท่าทันต่อเหตุการณ์ และได้มีการขยายการทำงานไปสู่ชุมชนม้งต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นแกนนำสำคัญในการรวมกลุ่มเครือข่ายม้ง 14 จังหวัดภาคเหนือ และการยกระดับการทำงาน สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิสาหกิจชุมชน การขยายเครือข่ายกลุ่มเยาวชนและสร้างผู้นำรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อม

8) การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจับคู่ (Matching) ระหว่างภาครัฐ - ภาคเอกชน – ชุมชน ในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ผ่านนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม โดยสำนักงาน ก.พ.ร ได้ดำเนินการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงและจุดความร้อน (Hotspot) สูง โดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และภาคเอกชน ดำเนินการ“รวมพลังรัฐ – เอกชน - ชุมชน แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5” ตัวอย่างการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของภาคเอกชน ภายใต้มาตรการ BOI ในปีที่ผ่านมา เช่น

1) บริษัท คูโบต้า สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ลดปัญหา PM 2.5 ทำการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn

2) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการจัดการในพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 10 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 8,200 ไร่ โดยดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ การสนับสนุนชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดับไฟป่า อุปกรณ์จัดการกับเศษวัสดุซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นองค์ประกอบของการลุกไหม้ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องสับย่อยกิ่งไม้ เครื่องผสมปุ๋ยหมัก เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เป็นต้น

3) บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด สนับสนุนการจัดการในพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 30 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 97,200 ไร่ โดยการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ การสนับสนุนชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดับไฟป่า อุปกรณ์จัดการกับเศษวัสดุซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นองค์ประกอบของการลุกไหม้ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องเป่าลมสะพายหลัง เครื่องสับย่อยกิ่งไม้ เครื่องผสมปุ๋ยหมัก เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เป็นต้น

 

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ : 

- การลดความขัดแย้งในพื้นที่ เกิดการบูรณาการการทำงานข้ามหน่วยงาน และข้ามพื้นที่นำไปสู่การปลดล็อกประเด็นปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดที่สำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
- คุณภาพอากาศและสุขภาพของประชาชนดีขึ้น เนื่องจากจุดความร้อนลดลง 34% พื้นที่เผาไหม้ลดลง 47% ค่า PM 2.5 เฉลี่ยรายวันลดลง 24% และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ลดลง 74% (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2567) 
- การเกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา เช่น ภาคเอกชนสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการปรับเปลี่ยนอาชีพและแนวทางการผลิต ทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และเกิดแรงจูงใจให้แก่ชุมชนในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ และเฝ้าระวังดูแลรักษาป่าไม้ไม่ให้เกิดไฟไหม้ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้ ภาคประชาชนเข้ามาเป็นเครือข่ายและอาสาสมัครในการดับไฟ ภาคสื่อมวลชน สื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ภาควิชาการ สนับสนุนข้อมูลวิจัย และนำผลงานและนวัตกรรมไปใช้แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 พร้อมจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย
- ข้อเสนอการปลดล็อกประเด็นปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดที่สำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่

การดำเนินการระยะต่อไป : การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจับคู่ (Matching) ระหว่างภาครัฐ - ภาคเอกชน – ชุมชน ในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ผ่านนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงและจุดความร้อน (Hotspot) สูง โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประสาน ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมทั้งจัดงาน “รวมพลังรัฐ – เอกชน - ชุมชน แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5” ภายในเดือนมีนาคม 2568 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

 

1.2 การส่งเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย  “การขับเคลื่อน : สระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ”

ที่มา : จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ทำให้ประเทศไทยตั้งเป้าเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในทุกภาคส่วน (Sector) 30 - 40% ภายในปี 2030 พร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2065 การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้จังหวัดสระบุรีมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ติดอันดับต้นของประเทศ หรือประมาณ 23 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) จังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ทดลองนำร่องเพื่อพัฒนาและยกระดับให้จังหวัดสระบุรีเป็น “ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ (Saraburi Low Carbon City)” แห่งแรก โดยมีการบูรณาการจากหลายภาคส่วนผ่าน 6 แนวทางสำคัญ ได้แก่ 

1) การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition) โดยการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Roof) และทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) ส่งเสริมและทดลองใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดกับผู้ซื้อที่มีความต้องการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดปริมาณคาร์บอนในการประกอบธุรกิจ 
2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว และผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (IPPU: Industrial Processes and Product Use) ผู้ผลิตปูนซีเมนต์จะเปลี่ยนการผลิตเป็นแบบคาร์บอนต่ำ (Hydraulic Cement) ตั้งแต่ปี 2567 กำหนดให้ทุกงานก่อสร้างใช้ปูนคาร์บอนต่ำ และลงทุนในเทคโนโลยีดักจับกักเก็บคาร์บอน
3) การจัดการของเสีย โดยปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะชุมชน จัดตั้งศูนย์จัดเก็บและรับซื้อวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากชุมชนเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนถ่านหินในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตไฟฟ้า การผลิตปูนซิเมนต์ การสร้างมาตรการจูงใจทางด้านการเงินและภาษี สำหรับเกษตรกรไร้การเผาที่แปรรูปของเสียจากการเกษตรเป็นพลังงานทดแทน 
4) การทำเกษตรคาร์บอนต่ำ โดยส่งเสริมการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 30 เทียบกับวิธีการเพาะปลูกข้าวตามปกติ 
5) การเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยส่งเสริมการบริหารจัดการป่าชุมชน 38 แห่งทั่วจังหวัด และฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในจังหวัดสระบุรี โดยสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนและประชาสังคมที่เข้าร่วมได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และขยายผลไปสู่การทำคาร์บอนเครดิตจากภาคป่าไม้ 
6) การบูรณาการความรับผิดชอบและการกำกับดูแล โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการแบบ Area-based สามารถพิจารณาข้อราชการระหว่างกระทรวงภายในเขตจังหวัด รวมทั้งการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน และภาคประชาสังคมได้อย่างคล่องตัว

ผลการดำเนินการ (เน้นประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ) : สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมขับเคลื่อนสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยนำโมเดล OG & MP หรือที่เรียกว่า โมเดลการเสริมสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation) มาประยุกต์ใช้ และมีผลการดำเนินการ ดังนี้

1) การศึกษาข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี สำนักงาน ก.พ.ร. เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox) และคณะทำงานด้านวิชาการ โดยได้มีการประชุมคณะทำงานด้านวิชาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (จำกัด) เพื่อหารือและศึกษาข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี ปีฐาน พ.ศ 2562 ซึ่งผลการศึกษาขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ดังกล่าว นำมาสู่การตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ : 
- การลดมลพิษทางอากาศและสุขภาพที่ดีขึ้น ผ่านการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษในอากาศ ส่งผลให้สุขภาพของประชาชนดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจและโรคเรื้อรังอื่น ๆ
- การพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืน เกิดการกำหนดแนวทางในการพัฒนาจังหวัดสระบุรีสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งช่วยให้จังหวัดกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด ส่งเสริมอาชีพเกี่ยวกับพลังงานทดแทน หรือการเกษตรที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ

2) การปลดล็อกปัญหาอุปสรรคด้านกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เช่น การแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 เพื่อสนับสนุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดตั้งศูนย์ One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกในการอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แก่ผู้ประกอบการโดยการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อเร่งรัดกระบวนการขอใบอนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้การอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) แก่ผู้ประกอบการ (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี)

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
- การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและลดต้นทุนพลังงาน ประชาชนสามารถเข้าถึงพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ได้สะดวกขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาว และช่วยให้ประเทศลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล
- การลดความยุ่งยากในการดำเนินธุรกิจ การจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ช่วยลดขั้นตอนในการขออนุญาตผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้กระบวนการรวดเร็วและโปร่งใสขึ้น ลดเวลาจากการติดต่อหลายหน่วยงานเหลือเพียงจุดเดียว

3) การเปิดพื้นที่ให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาป่าชุมชนสระบุรี เพื่อการสร้างสังคมที่ยั่งยืน สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับมูลนิธิ Konrad Adenauer Stiftung จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจังหวัดสระบุรี จัดกิจกรรมพลเมืองเคลื่อนรัฐ OpenGov for Citizen ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “Forests for the Future – ป่าชุมชนสระบุรี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็น 1 ใน 6 แนวทางการขับเคลื่อนสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ (Saraburi Low Carbon City) ผ่านกลไกความร่วมมือของเครือข่ายป่าชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
- แผนพัฒนาระยะ 5 ปี ของ 11 ป่าชุมชน และเตรียมขยายผล 38 ป่าชุมชนทั่วจังหวัดสระบุรี เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ควบคุมดูแล และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 
- ฐานข้อมูลสำคัญของป่าชุมชนสระบุรี ในรูปแบบแค็ตตาล็อก (Catalog) รวบรวมจุดเด่น และความต้องการในเรื่องต่าง ๆ เพื่อรองรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนอย่างตรงจุด
- โครงการจับคู่ภาคเอกชน – ป่าชุมชน (Matching) เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด จัดทำโครงการอาสาป่าชุมชนสู้ไฟป่าด้วยการจัดอบรม และมอบอุปกรณ์ดับไฟป่าให้กับ 4 กลุ่มป่า 
- แพลตฟอร์มจับคู่ (Matching) สนับสนุนป่าชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและองค์กรที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนป่าชุมชน ผ่านการแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางออนไลน์ (https://forestmatch.my.canva.site/)
- กิจกรรมสำคัญเพื่อขับเคลื่อนป่าชุมชนในระยะต่อไป ประกอบด้วย 1) กิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ เช่น การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ป่าชุมชน การดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการเงิน และ 2) กิจกรรมเฉพาะตามบริบทของพื้นที่ป่า เช่น การจัดการท่องเที่ยว การปลูกป่าเพื่อเก็บคาร์บอน การจัดทำแนวกันไฟ การสร้างแหล่งน้ำให้สัตว์ป่า

การดำเนินการระยะต่อไป : ขยายผลการจับคู่ (Matching) ระหว่างภาคเอกชนและป่าชุมชน ไปยังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงและจุดความร้อน (Hotspot) สูง โดยใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นกลไกสร้างแรงจูงใจและแนวทางดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน อีกทั้งการขยายผลข้างต้น ยังเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 

 

2. การเชื่อมโยงฐานข้อมูลภาครัฐในการให้บริการประชาชน (การติดต่อราชการโดยไม่ต้องยื่นเอกสารนิติบุคคล)

ที่มา : สืบเนื่องจากการประชุมร่วมระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. นำโดยเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ) และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นำโดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม) พร้อมด้วยผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ได้มีการหารือร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการให้บริการประชาชน โดยบูรณาการการทำงานระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและหน่วยงานต่าง ๆ ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อเป็นการลดภาระการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจให้กับส่วนราชการและหน่วยงานอื่นในการขออนุมัติอนุญาตและการไม่เรียกรับสำเนาเอกสารของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจากผู้ประกอบการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการและลดระยะเวลาการติดต่อราชการให้กับประชาชน

ผลการดำเนินการ (เน้นประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ) : สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยขับเคลื่อนการเชื่อมโยงข้อมูลนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐเพื่อยกเลิกการเรียกรับเอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคลในการพิจารณาอนุญาตใน 3 รายการ คือ หนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยได้ดำเนินการแล้วใน 22 หน่วยงาน ได้แก่ 

- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม 
- กรมสรรพสามิต 
- ธนาคารแห่งประเทศไทย A
- กรมที่ดิน 
- กรมธนารักษ์ 
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 
- กรมบัญชีกลาง 
- กรมศุลกากร 
- กรมสรรพากร
- กรมทรัพย์สินทางปัญญา 
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 
- กรมทางหลวงชนบท 
- กรมการท่องเที่ยว 
- กรมท่าอากาศยาน 
- สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) 
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 
- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 
- สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจาก 22 หน่วยงานรัฐ ที่ร่วมขับเคลื่อนการยกเลิกใช้เอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคลใน 514 กระบวนงาน ซึ่งมีการรับบริการกว่า 9.2 ล้านธุรกรรม ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวม ได้กว่า 7,100 ล้านบาทต่อปี 

การดำเนินการระยะต่อไป : สำนักงาน ก.พ.ร. และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีแผนการดำเนินการต่อไป ดังนี้

1) ขยายผลในกลุ่มหน่วยงานที่ต้องมีการทบทวนกระบวนงานและแก้ปัญหาทางเทคนิคเพิ่มเติมเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าจะสามารถยกเลิกการเรียกรับเอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคลได้ภายในเดือนธันวาคม 2568 จำนวน 25 หน่วยงาน

2) กลุ่มที่อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่เคยใช้งานระบบหรือมีการมอบอำนาจภารกิจไปยังท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าจะสามารถยกเลิกการเรียกรับเอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคลได้ภายในเดือนธันวาคม 2569 จำนวน 27 หน่วยงาน

3) กลุ่มที่ยังไม่เคยมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทำการเชิญชวนเข้าร่วมการเชื่อมโยงข้อมูลฯ ต่อไป

 

 

Link ข่าวประชาสัมพันธ์ : เปิดรายชื่อ 22 หน่วยงานรัฐ "ไม่เซ็น ไม่เรียกเอกสาร" ประหยัดต้นทุน https://www.pptvhd36.com/wealth/trick-trend/238701

 

3. นวัตกรรมศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) ซอฟต์พาวเวอร์นำร่องการขออนุมัติ อนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ที่มา : การพัฒนานวัตกรรมศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จซอฟต์พาวเวอร์ (One Stop Service: OSS) สำหรับการขออนุมัติอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้กิจกรรมห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการปรับปรุงการให้บริการภาครัฐให้มีความสะดวก รวดเร็ว และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ

       สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ริเริ่มห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยมุ่งเน้นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมภาครัฐที่สามารถตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมถึงการทดลองแนวทางใหม่ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือการต่อยอดและขยายผลนวัตกรรมต้นแบบที่มีศักยภาพไปสู่การใช้งานจริง การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวใช้แนวคิดกระบวนการคิด เชิงออกแบบ (Design Thinking) และอาศัยเครื่องมือหรือกลไกนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อทดสอบ ปรับปรุง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานภาครัฐให้มีความพร้อมสำหรับการนำไปใช้ในระดับปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้กิจกรรมนี้ยังมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐให้เป็นนวัตกรภาครัฐที่สามารถออกแบบและพัฒนานวัตกรรมด้านการให้บริการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบราชการ ลดอุปสรรคในการให้บริการ และเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการของภาครัฐ

       ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จซอฟต์พาวเวอร์ (OSS Soft Power) สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการให้บริการของภาครัฐ เพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ โดยแนวคิดการพัฒนา OSS Soft Power ได้รับการผลักดันจากมติคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ที่เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ โดยให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ศึกษาแนวทางการพัฒนา OSS Soft Power ในสาขาภาพยนตร์ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบระบบและกระบวนการดำเนินงาน

     สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานวัตกรรม OSS Soft Power สาขาภาพยนตร์ เพื่อแก้ไขปัญหากระบวนการอนุมัติ อนุญาตที่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศที่ต้องการถ่ายทำในประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวเกิดจากกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องติดต่อหน่วยงานหลายแห่งแยกกัน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและเพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการ และเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม นวัตกรรม OSS Soft Power จึงถูกนำไปทดลองเป็นโครงการนำร่องในกรุงเทพมหานครโดยปรับปรุงกระบวนการอนุมัติอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้มีความสะดวกและเป็นระบบมากขึ้นผ่านการบูรณาการบริการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ในจุดเดียว 

ผลการดำเนินการ (เน้นประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ) : จากปัญหาความยุ่งยากของกระบวนการอนุมัติอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ต้องติดต่อหลายหน่วยงานแยกกันส่งผลให้เกิดความล่าช้าและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นการพัฒนาแนวทางแก้ไขจึงมุ่งเน้นไปที่การลดขั้นตอนและปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้แนวคิด OSS Soft Power ซึ่งถูกนำไปสู่การปฏิบัติผ่านการยกระดับศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Filmmaking Coordinator Center: BFMCC) ที่มีอยู่เดิมให้สามารถรองรับการให้บริการแบบครบวงจรการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการของ BFMCC ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่

1) การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขออนุญาตได้สะดวกขึ้น
2) การรวมศูนย์กระบวนการอนุมัติ อนุญาตจาก 9 หน่วยงาน ให้อยู่ภายในจุดเดียวเพื่อลดความซับซ้อนในการดำเนินงาน ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมธนารักษ์ กรมศิลปากร กองบัญชาการตำรวจนครบาล การเคหะแห่งชาติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีบทบาทในการกำกับดูแลพื้นที่และอำนวยความสะดวกด้านการใช้พื้นที่สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ 
3) การปรับปรุงระบบให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดระยะเวลาการดำเนินการ และช่วยให้การให้บริการของภาครัฐมีความคล่องตัวมากขึ้น สำหรับกรอบระยะเวลาในการอนุญาต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.พิจารณา 1 หน่วยงาน ไม่เกิน 7 วันทำการ ประเภทที่ 2.พิจารณามากกว่า 1 หน่วยงาน ไม่เกิน 14 วันทำการ และ 3.พิจารณาตามระเบียบพิเศษ ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยผู้ขออนุญาตสามารถติดตามสถานะการขออนุญาตผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ Line Official เว็บไซต์ และ E-mail

       เดิมที BFMCC ทำหน้าที่เป็นจุดประสานงานหลักสำหรับการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ แต่เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการที่ครอบคลุมและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการได้ดียิ่งขึ้น กรุงเทพมหานครจึงได้ยกระดับ BFMCC ให้เป็นระบบ Hybrid ที่สามารถให้บริการได้ทั้งแบบ Onsite ณ ศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่อาคารทำการส่วนการท่องเที่ยว (ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว) ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และ Online โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อ "Public Space" ผ่านเว็บไซต์ https://publicspace.bangkok.go.th/ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขออนุญาตใช้งานพื้นที่สาธารณะได้สะดวกยิ่งขึ้นในจุดเดียวเพื่อความสะดวกต่อทั้งผู้ขออนุญาตและหน่วยงานเจ้าของพื้นที่แพลตฟอร์มออนไลน์ Public Space ไม่ได้จำกัดเฉพาะการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตของบริการให้ครอบคลุมกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงการใช้พื้นที่สาธารณะภายในเมืองได้ง่ายขึ้น โดยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 กรุงเทพมหานครได้เปิดตัวแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งให้บริการหลัก 4 ประเภท ได้แก่

1. การขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร – ลดความยุ่งยากในการขออนุญาต และทำให้กระบวนการอนุมัติ อนุญาตมีความรวดเร็วขึ้น สามารถจองผ่านแพลตฟอร์ม มีพื้นที่สาธารณะกว่า 98 พื้นที่ จาก 66 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานภาคีเครือข่าย
2. การร่วมเป็นศิลปินเปิดหมวกในพื้นที่สาธารณะ – สร้างโอกาสให้ศิลปินอิสระสามารถแสดงและหารายได้จากพื้นที่สาธารณะอย่างถูกต้อง จำนวน 16 พื้นที่ ทั้งพื้นที่ของกรุงเทพฯ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย
3. การแสดงดนตรีในสวน – เปิดสวนสาธารณะ จำนวน 12 สวน เพื่อจัดแสดงดนตรีในสวน สนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์และกระตุ้นบรรยากาศเมืองให้มีชีวิตชีวา

4. การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ – เพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถใช้พื้นที่สาธารณะ ในช่วงแรกเปิดพื้นที่นำร่องสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย BACC ศูนย์นันทนาการ ศูนย์กีฬา ห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์เด็ก

       การเปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ Public Space ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิด OSS Soft Power สู่การปฏิบัติจริง โดยช่วยให้การอนุมัติ อนุญาตด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่สาธารณะมีความสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใสยิ่งขึ้น ลดภาระของภาครัฐ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นช่วยให้กระบวนการทำงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มความคล่องตัวให้กับผู้ประกอบการและประชาชนที่ต้องการใช้พื้นที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมให้กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่เอื้อต่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างแท้จริง 

การดำเนินการระยะต่อไป : จากการพัฒนาต้นแบบ OSS Soft Power ในกรุงเทพมหานคร ที่ช่วยให้กระบวนการอนุมัติ อนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์มีความเป็นระบบมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการภาครัฐ ความสำเร็จนี้นำไปสู่การขยายผลสู่เมืองพัทยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และมีความพร้อมในการพัฒนาให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ (City of Film) ตามมาตรฐานเครือข่ายองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNESCO) ภายในปี 2570 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลในการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ

       การขยายผล OSS Soft Power ไปยังเมืองพัทยาจะดำเนินการภายใต้ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ ปีงบประมาณ 2568 โดยมีกำหนดดำเนินงานระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2568 เป้าหมาย คือ การยกระดับระบบอนุมัติ อนุญาตด้านภาพยนตร์ให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ลดอุปสรรคที่เคยเป็นข้อจำกัดของผู้ผลิตภาพยนตร์ และทำให้พัทยากลายเป็นเมืองที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์

       แนวทางการพัฒนา OSS Soft Power ในพัทยาจะช่วยให้เมืองสามารถขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์  ด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้อย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนากลไกการดำเนินงานและปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อผู้ประกอบการและรองรับการถ่ายทำภาพยนตร์ เมื่อระบบอนุมัติ อนุญาตมีความสะดวกและเป็นมาตรฐานมากขึ้น เมืองพัทยาจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ ช่วยดึงดูดการลงทุนจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจในพื้นที่โดยตรง ทั้งในด้านการจ้างงาน การกระจายรายได้สู่ชุมชน และการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การขยายผล OSS Soft Power ไปยังเมืองพัทยา จึงไม่ใช่เพียงการพัฒนาระบบอนุมัติ อนุญาตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการสนับสนุนให้พัทยาสามารถก้าวสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกด้วย

กรุงเทพมหานคร  สำนักงาน ก.พ.ร.  และหน่วยงานภาคีเครือข่าย 9 แห่ง ในวันเปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ Public Space เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร)

 

1. การส่งเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย ประกอบด้วย 

1.1 การป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) 

ที่มา : ทิศทางการพัฒนาระบบราชการไทยในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) มุ่งสู่การเป็นภาครัฐที่ล้ำหน้า (Digital & Innovative Government) และภาครัฐที่เปิดกว้าง (Open Government) มีความทันสมัย น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบราชการโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบ (Model) ระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิด และการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem)เพื่อขับเคลื่อนการเป็นภาครัฐที่เปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมการดำเนินการกับภาครัฐและได้นำรูปแบบดังกล่าวไปทดลองใช้แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดลำปาง เนื่องจากเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและมีความท้าทาย โดยมีขนาด ขอบเขต และความรุนแรงของปัญหาที่ลำพังภาครัฐฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ ซึ่งในช่วงปี พ.ศ. 2566 - 2567 ได้ขยายผลการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ไปยังจังหวัดเชียงใหม่ โดยคัดเลือกพื้นที่ทดลองปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) รวม 2 พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และได้นำผลการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอที่ได้จากพื้นที่ทดลองปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 ได้เห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่

 

ผลการดำเนินการ (เน้นประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ) :

1) การเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5  ปี 2567 จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายจตุพร บรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อตรวจเยี่ยม มอบนโยบาย ติดตามการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ และผ่านระบบออนไลน์ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด ในเขตภาคเหนือ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม สามารถสรุปได้ดังนี้ ได้มีข้อสั่งการให้จังหวัดเร่งจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับพื้นที่เพื่อดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ และดำเนินมาตรการเพื่อลดฝุ่นควัน  PM 2.5 ทั้งระบบให้เกิดผลเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติการด้วยความ “แม่นยำ รวดเร็ว ทันท่วงที มีประสิทธิภาพ” เนื่องจากในปี 2567 คาดว่าปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้สถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง มีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งในการประชุมดังกล่าวนายธนศักดิ์ มังกโรทัย ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รายงานผล การเสริมสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐพร้อมรายงานการลดปริมาณฝุ่นละอองของหน่วยงานภาครัฐผ่านตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) จำนวน 29 หน่วยงาน 17 จังหวัด 24 ตัวชี้วัด รวมทั้งติดตามการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM 2.5  ในปี 2567 ของหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ 

2) การจัดทำต้นแบบแพลตฟอร์มกลางในการเปิดเผยและเชื่อมโยงฐานข้อมูลที่สำคัญในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่ปฏิบัติงานนวัตกรรม (Government Innovation Lab) จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งปัจจุบัน ITSC ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการทำระบบฐานข้อมูลสำหรับกว่า 30 ขั้นตอน เพื่อตรวจสอบการอนุมัติ อนุญาต มีการทำข้อมูลเชิงพื้นที่ของอำเภอแม่แจ่ม ระหว่างคณะทำงานอำเภอแม่แจ่ม (ตามคำสั่งคณะทำงานลุ่มน้ำ) ร่วมกับ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) และเชิญนายรังสรรค์ ขอผล ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ดินป่าไม้ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) เข้าร่วม เพื่อส่งข้อมูลจากพื้นที่สู่สถาบัน Big Data ที่เป็นฐานข้อมูลระดับประเทศ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้ามาช่วย รวมทั้งมีการสำรวจพื้นที่ เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อทำการเกษตรของชาวบ้าน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาเป็นเจ้าภาพในการสำรวจพื้นที่ร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งนี้สำนักงาน ก.พ.ร. ได้มีการนำแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบให้แก่จังหวัดเชียงใหม่นำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 จังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

3) การจับคู่ (Matching) ความต้องการของชุมชนกับภาคเอกชนที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 โดยทางสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ภาลมหายใจเชียงใหม่ จะช่วยค้นหาความต้องการของชุมชน เพื่อจับคู่กับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ต่อไป โดยการจับคู่ภารกิจหรือพื้นที่ของภาครัฐกับภาคเอกชน เช่น  การปลูกป่า การรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตร การพัฒนาและดูแลระบบเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา PM 2.5 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  กับภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เช่น บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (จำกัด) เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATT) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเชียงใหม่ บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (โอ้กะจู๋) ทั้งนี้ จากการประชุมผู้แทนจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) ได้นำเสนอตัวอย่างการจับคู่ภาคเอกชน – ชุมชน ในการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่ทางสถาบันฯ ได้ดำเนินการผ่านโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงแม่มะลอ บ้านแม่วาก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดยดำเนินการสำรวจความต้องการของชุมชนว่าต้องการพัฒนา หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนในด้านใด และนำมาจับคู่ (Matching) กับภาคเอกชนที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ที่สามารถช่วยส่งเสริมและพัฒนา รวมทั้งสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ หรือปัจจัยต่าง ๆ ที่จะทำให้สามารถพัฒนา และแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นพิษ PM 2.5 ได้

4) การส่งเสริมองค์ความรู้และนวัตกรรมให้แก่ภาคส่วนต่าง ๆ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่องมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ครั้งที่ 1 (Thailand National PM 2.5 Forum) ภายใต้หัวข้อหลัก “อากาศสะอาด : ความรับผิดชอบร่วมของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม” ระหว่างวันที่ 3 - 4 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ (ศวอ.) และมูลนิธิเพื่อลมหายใจเชียงใหม่ จัดการประชุมดังกล่าว โดยมีนางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ได้เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อเรื่อง “การบริหารจัดการอากาศสะอาดอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน”  

5) การจัดการไฟไร่หมุนเวียนบ้านแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ได้การลงพื้นที่เพื่อติดตามและศึกษาดูงานเรื่องการจัดการไฟไร่หมุนเวียน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2566 ณ บ้านแม่ลานคำ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไร่หมุนเวียนในรูปแบบของชาวปกาเกอะญอเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกเพียง 1 ปี แล้วจึงปล่อยให้ดินและป่าฟื้นตัวตามธรรมชาติ ซึ่งโดยทั่วไปใช้ระยะเวลา 7 ปีขึ้นไป ต่อการฟื้นตัวของป่าในรูปแบบไร่หมุนเวียนและการปรับตัวของชาวปกาเกอะญอกับสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันทำให้ต้องปรับเปลี่ยนวิถีการทำไร่หมุนเวียนที่ผูกโยงกับระบบนิเวศและวัฒนธรรม เช่น การจัดทำแนวกันไฟรอบไร่หมุนเวียน การปรับทิศทางการเผาไร่หมุนเวียน การปรับเวลาเผา(จากช่วงเที่ยงเป็นช่วงเย็น) การต้องแจ้งหน่วยงานถึงแผนการเผาไร่ของชุมชน โดยดำเนินการจองเผาผ่านระบบ FireD อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันระบบ FireD ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบพยากรณ์อากาศและตรวจสอบคุณภาพอากาศ เช่น วันที่ฝนตกหรืออากาศปิดจึงทำให้การเผาไม่สอดคล้องกับสภาพอากาศที่แท้จริง เช่น จองวันเผาในวันที่ฝนตก ทำให้ไม่สามารถเผาได้จริงตามแผนที่วางไว้ เป็นต้น 

6) การติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า เพื่อแก้ไขและพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่แจ่มอย่างครบวงจรและยั่งยืน และคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ (นายทศพล เผื่อนอุดม) เป็นประธานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ โดยมี ประธาน อ.ก.พ.ร. เกี่ยวกับการส่งเสริมบริหารภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วม (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) อนุกรรมการฯ (นางสาวธีรดา ศุภะพงษ์ รศ.ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ และนายสุนิตย์ เชรษฐา) ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบบริหารงานส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น (นายธนศักดิ์ มังกโรทัย) เจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. เข้าร่วมประชุม ณ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของคณะทำงานฯ 2 พื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ พบว่าในปี พ.ศ. 2566 สถิติจุดความร้อน (Hotspots) และพื้นที่เผาไหม้ (Burn Scar) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีจำนวน 199 จุด และมีพื้นที่เผาไหม้ 10,365.12 ไร่ (เพิ่มมากขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ที่มีจุดความร้อน 5 จุด พื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก 824.72 ไร่) ซึ่งการขับเคลื่อนของคณะทำงานในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม และอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ ปุย ได้มีการจัดทำแผนป้องกันไฟป่า แนวกันไฟ และการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในระดับพื้นที่ ซึ่งมีการดำเนินการไปจนถึงระดับตำบลและหมู่บ้านโดยประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และหน่วยงานภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยมีการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์ สนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการป้องกันไฟ น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ และการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยการปรับเปลี่ยนการปลูกจากพืชเชิงเดี่ยวเป็นพืชวนเกษตร (การปลูกไม้ป่า ไม้อนุรักษ์ ไม้ท้องถิ่น พืชมูลค่าสูง และไม้ยั่งยืนผสมผสานกัน) เพื่อปกป้อง ฟื้นฟู และสร้างรายได้ให้กับชุมชน ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบตลาดและสินค้าใหม่ที่ต้องปรับเปลี่ยน เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหา PM 2.5 และตอบโจทย์ของ EU ด้วย ทั้งนี้ พบว่า เครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 1) การจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 2) การแก้ไขเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรจากป่า 3)การจัดทำแผนการพัฒนาของพื้นที่อย่างยั่งยืนโดยบูรณาการและเชื่อมโยงแผนของกระทรวง กรม จังหวัด ท้องถิ่น ลงไปจนถึงการพัฒนาแผนรายแปลง รายชุมชน 4) การบูรณาการงบประมาณระหว่างภาครัฐ เอกชน ประชาชน เพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 5) การปลดล็อกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค 6) การนำองค์ความรู้ และงานวิจัยมาใช้ 7) การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ เช่น FireD ดาวเทียม โดรน 8) การจัดทำตัวชี้วัดที่สะท้อนผลลัพธ์ที่ต้องการ 

7) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนม้ง ดอยสุเทพ - ปุย 12 หมู่บ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ลงพื้นที่ร่วมจัดงาน “เวทีเครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง ดอยสุเทพ - ปุย 12 หมู่บ้าน พร้อม Kick off ทำแนวกันไฟ และร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ “การสนับสนุนการทำงานเครือข่ายภาคประชาชน และภาคี ในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นควัน PM 2.5” ณ ลานกิจกรรมหอเฝ้าระวังไฟ บ้านบวกจั่น อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือกับภาคประชาชนและชุมชน ให้เข้ามามีบทบาทในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเเละเชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ เกิดการประสานการทำงาน ลดช่องว่างระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน เกิดความเข้าใจในเป้าหมายการทำงานร่วมกันโดยมีหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สภาลมหายใจจังหวัดเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม เจ้าหน้าที่ในสังกัดจังหวัดเชียงใหม่ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ผู้นำเครือข่ายม้ง 12 หมู่บ้าน เครือข่ายเยาวชนนักศึกษาชาติพันธุ์ม้ง เชียงใหม่ เขียว สวย หอม องค์พัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม สื่อมวลชนและสื่อท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ และผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน ทั้งนี้เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มคนไทยชาติพันธุ์ จากม้ง 12 หมู่บ้าน ไปสู่เครือข่ายม้ง 14 จังหวัดภาคเหนือ และจะดำเนินการขยายเครือข่ายไปยังกลุ่มเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการทำงาน และเข้าร่วมเป็นแกนนำในเวทีระดับประเทศ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ และการสื่อสารสร้างความเข้าใจของเครือข่ายกลุ่มคนไทยชาติพันธุ์ เป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดตั้งชุมชนพิเศษ เพื่อให้มีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อมที่มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตภูมิปัญญาเชิงพื้นที่ และขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ส่งเสริมอัตลักษณ์วิถีชาวม้ง โดยการสร้างวิสาหกิจชุมชนเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนจากการอนุรักษ์ทำให้เกิดคำว่า “ป่าอยู่ได้ ชุมชนอยู่ได้” ซึ่งจะส่งผลทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย และพื้นที่โดยรอบจังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่บูรณาการความร่วมมือ ในการเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน และเป็นพื้นที่ต้นแบบในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเฝ้าระวังไฟป่า ลดหมอกควัน ดอยสุเทพ – ปุย และพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้ เครือข่ายสิ่งแวดล้อมม้ง 12 หมู่บ้านในพื้นที่ดอยสุเทพ – ปุย เป็นกลไกสำคัญในการเฝ้าระวังไฟป่าและดับไฟป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้อย่างเท่าทันต่อเหตุการณ์ และได้มีการขยายการทำงานไปสู่ชุมชนม้งต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ อีกทั้งเป็นแกนนำสำคัญในการรวมกลุ่มเครือข่ายม้ง 14 จังหวัดภาคเหนือ และการยกระดับการทำงาน สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วิสาหกิจชุมชน การขยายเครือข่ายกลุ่มเยาวชนและสร้างผู้นำรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อม

8) การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจับคู่ (Matching) ระหว่างภาครัฐ - ภาคเอกชน – ชุมชน ในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ผ่านนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม โดยสำนักงาน ก.พ.ร ได้ดำเนินการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงและจุดความร้อน (Hotspot) สูง โดยประสานความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และภาคเอกชน ดำเนินการ“รวมพลังรัฐ – เอกชน - ชุมชน แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5” ตัวอย่างการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของภาคเอกชน ภายใต้มาตรการ BOI ในปีที่ผ่านมา เช่น

1) บริษัท คูโบต้า สนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและสังคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ลดปัญหา PM 2.5 ทำการเกษตรปลอดการเผา Zero Burn

2) บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สนับสนุนการจัดการในพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 10 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 8,200 ไร่ โดยดำเนินการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ การสนับสนุนชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดับไฟป่า อุปกรณ์จัดการกับเศษวัสดุซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นองค์ประกอบของการลุกไหม้ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องสับย่อยกิ่งไม้ เครื่องผสมปุ๋ยหมัก เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เป็นต้น

3) บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด สนับสนุนการจัดการในพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 30 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่กว่า 97,200 ไร่ โดยการก่อสร้างฝายชะลอน้ำ การสนับสนุนชุดเครื่องมือและอุปกรณ์ ที่ใช้ในการดับไฟป่า อุปกรณ์จัดการกับเศษวัสดุซึ่งอาจเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นองค์ประกอบของการลุกไหม้ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องเป่าลมสะพายหลัง เครื่องสับย่อยกิ่งไม้ เครื่องผสมปุ๋ยหมัก เครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เป็นต้น

 

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ : 

- การลดความขัดแย้งในพื้นที่ เกิดการบูรณาการการทำงานข้ามหน่วยงาน และข้ามพื้นที่นำไปสู่การปลดล็อกประเด็นปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดที่สำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
- คุณภาพอากาศและสุขภาพของประชาชนดีขึ้น เนื่องจากจุดความร้อนลดลง 34% พื้นที่เผาไหม้ลดลง 47% ค่า PM 2.5 เฉลี่ยรายวันลดลง 24% และผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ลดลง 74% (ข้อมูล ณ สิงหาคม 2567) 
- การเกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหา เช่น ภาคเอกชนสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการปรับเปลี่ยนอาชีพและแนวทางการผลิต ทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และเกิดแรงจูงใจให้แก่ชุมชนในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ และเฝ้าระวังดูแลรักษาป่าไม้ไม่ให้เกิดไฟไหม้ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้ ภาคประชาชนเข้ามาเป็นเครือข่ายและอาสาสมัครในการดับไฟ ภาคสื่อมวลชน สื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ ภาควิชาการ สนับสนุนข้อมูลวิจัย และนำผลงานและนวัตกรรมไปใช้แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 พร้อมจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับภาคีเครือข่าย
- ข้อเสนอการปลดล็อกประเด็นปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดที่สำคัญในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เห็นชอบข้อเสนอการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในภาคเกษตรกรรมและภาคป่าไม้ ในพื้นที่ปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ จังหวัดเชียงใหม่

การดำเนินการระยะต่อไป : การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการจับคู่ (Matching) ระหว่างภาครัฐ - ภาคเอกชน – ชุมชน ในการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ผ่านนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงและจุดความร้อน (Hotspot) สูง โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประสาน ความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช รวมทั้งจัดงาน “รวมพลังรัฐ – เอกชน - ชุมชน แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5” ภายในเดือนมีนาคม 2568 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

 

1.2 การส่งเสริมภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย  “การขับเคลื่อน : สระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ”

ที่มา : จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ทำให้ประเทศไทยตั้งเป้าเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในทุกภาคส่วน (Sector) 30 - 40% ภายในปี 2030 พร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2065 การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ทำให้จังหวัดสระบุรีมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ติดอันดับต้นของประเทศ หรือประมาณ 23 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) จังหวัดสระบุรี พร้อมด้วยหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้ทดลองนำร่องเพื่อพัฒนาและยกระดับให้จังหวัดสระบุรีเป็น “ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ (Saraburi Low Carbon City)” แห่งแรก โดยมีการบูรณาการจากหลายภาคส่วนผ่าน 6 แนวทางสำคัญ ได้แก่ 

1) การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด (Energy Transition) โดยการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าโดยพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Roof) และทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) ส่งเสริมและทดลองใช้ระบบการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดกับผู้ซื้อที่มีความต้องการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดปริมาณคาร์บอนในการประกอบธุรกิจ 
2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว และผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (IPPU: Industrial Processes and Product Use) ผู้ผลิตปูนซีเมนต์จะเปลี่ยนการผลิตเป็นแบบคาร์บอนต่ำ (Hydraulic Cement) ตั้งแต่ปี 2567 กำหนดให้ทุกงานก่อสร้างใช้ปูนคาร์บอนต่ำ และลงทุนในเทคโนโลยีดักจับกักเก็บคาร์บอน
3) การจัดการของเสีย โดยปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการบริหารจัดการขยะชุมชน จัดตั้งศูนย์จัดเก็บและรับซื้อวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากชุมชนเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานทดแทนถ่านหินในอุตสาหกรรม เช่น การผลิตไฟฟ้า การผลิตปูนซิเมนต์ การสร้างมาตรการจูงใจทางด้านการเงินและภาษี สำหรับเกษตรกรไร้การเผาที่แปรรูปของเสียจากการเกษตรเป็นพลังงานทดแทน 
4) การทำเกษตรคาร์บอนต่ำ โดยส่งเสริมการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ร้อยละ 30 เทียบกับวิธีการเพาะปลูกข้าวตามปกติ 
5) การเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยส่งเสริมการบริหารจัดการป่าชุมชน 38 แห่งทั่วจังหวัด และฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในจังหวัดสระบุรี โดยสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนและประชาสังคมที่เข้าร่วมได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และขยายผลไปสู่การทำคาร์บอนเครดิตจากภาคป่าไม้ 
6) การบูรณาการความรับผิดชอบและการกำกับดูแล โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการแบบ Area-based สามารถพิจารณาข้อราชการระหว่างกระทรวงภายในเขตจังหวัด รวมทั้งการดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน และภาคประชาสังคมได้อย่างคล่องตัว

ผลการดำเนินการ (เน้นประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ) : สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมขับเคลื่อนสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ ด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยนำโมเดล OG & MP หรือที่เรียกว่า โมเดลการเสริมสร้างระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation) มาประยุกต์ใช้ และมีผลการดำเนินการ ดังนี้

1) การศึกษาข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี สำนักงาน ก.พ.ร. เข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการอำนวยการและคณะทำงานขับเคลื่อนเมืองสระบุรีคาร์บอนต่ำ (Saraburi Sandbox) และคณะทำงานด้านวิชาการ โดยได้มีการประชุมคณะทำงานด้านวิชาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) หน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (จำกัด) เพื่อหารือและศึกษาข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี ปีฐาน พ.ศ 2562 ซึ่งผลการศึกษาขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ดังกล่าว นำมาสู่การตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดสระบุรี

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ : 
- การลดมลพิษทางอากาศและสุขภาพที่ดีขึ้น ผ่านการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษในอากาศ ส่งผลให้สุขภาพของประชาชนดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจและโรคเรื้อรังอื่น ๆ
- การพัฒนาเมืองสู่ความยั่งยืน เกิดการกำหนดแนวทางในการพัฒนาจังหวัดสระบุรีสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำ ซึ่งช่วยให้จังหวัดกลายเป็นต้นแบบของการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งเพิ่มโอกาสในการพัฒนาอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด ส่งเสริมอาชีพเกี่ยวกับพลังงานทดแทน หรือการเกษตรที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ

2) การปลดล็อกปัญหาอุปสรรคด้านกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน เช่น การแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดประเภท ชนิด และขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563 เพื่อสนับสนุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดตั้งศูนย์ One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวกในการอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แก่ผู้ประกอบการโดยการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) เพื่อเร่งรัดกระบวนการขอใบอนุญาต ณ จุดเดียว เพื่อให้การอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) แก่ผู้ประกอบการ (ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี)

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
- การส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและลดต้นทุนพลังงาน ประชาชนสามารถเข้าถึงพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ได้สะดวกขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในระยะยาว และช่วยให้ประเทศลดการพึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล
- การลดความยุ่งยากในการดำเนินธุรกิจ การจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ช่วยลดขั้นตอนในการขออนุญาตผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ทำให้กระบวนการรวดเร็วและโปร่งใสขึ้น ลดเวลาจากการติดต่อหลายหน่วยงานเหลือเพียงจุดเดียว

3) การเปิดพื้นที่ให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาป่าชุมชนสระบุรี เพื่อการสร้างสังคมที่ยั่งยืน สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับมูลนิธิ Konrad Adenauer Stiftung จากสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และจังหวัดสระบุรี จัดกิจกรรมพลเมืองเคลื่อนรัฐ OpenGov for Citizen ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “Forests for the Future – ป่าชุมชนสระบุรี เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็น 1 ใน 6 แนวทางการขับเคลื่อนสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ (Saraburi Low Carbon City) ผ่านกลไกความร่วมมือของเครือข่ายป่าชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
- แผนพัฒนาระยะ 5 ปี ของ 11 ป่าชุมชน และเตรียมขยายผล 38 ป่าชุมชนทั่วจังหวัดสระบุรี เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ควบคุมดูแล และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน 
- ฐานข้อมูลสำคัญของป่าชุมชนสระบุรี ในรูปแบบแค็ตตาล็อก (Catalog) รวบรวมจุดเด่น และความต้องการในเรื่องต่าง ๆ เพื่อรองรับการสนับสนุนจากภาคเอกชนอย่างตรงจุด
- โครงการจับคู่ภาคเอกชน – ป่าชุมชน (Matching) เช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด จัดทำโครงการอาสาป่าชุมชนสู้ไฟป่าด้วยการจัดอบรม และมอบอุปกรณ์ดับไฟป่าให้กับ 4 กลุ่มป่า 
- แพลตฟอร์มจับคู่ (Matching) สนับสนุนป่าชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนและองค์กรที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนป่าชุมชน ผ่านการแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทางออนไลน์ (https://forestmatch.my.canva.site/)
- กิจกรรมสำคัญเพื่อขับเคลื่อนป่าชุมชนในระยะต่อไป ประกอบด้วย 1) กิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ เช่น การสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ป่าชุมชน การดำเนินการตามระเบียบที่เกี่ยวข้องการบริหารจัดการเงิน และ 2) กิจกรรมเฉพาะตามบริบทของพื้นที่ป่า เช่น การจัดการท่องเที่ยว การปลูกป่าเพื่อเก็บคาร์บอน การจัดทำแนวกันไฟ การสร้างแหล่งน้ำให้สัตว์ป่า

การดำเนินการระยะต่อไป : ขยายผลการจับคู่ (Matching) ระหว่างภาคเอกชนและป่าชุมชน ไปยังพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และพื้นที่เกษตรที่มีความเสี่ยงและจุดความร้อน (Hotspot) สูง โดยใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นกลไกสร้างแรงจูงใจและแนวทางดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน อีกทั้งการขยายผลข้างต้น ยังเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อนมติคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประสานความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) โดยใช้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 

 

2. การเชื่อมโยงฐานข้อมูลภาครัฐในการให้บริการประชาชน (การติดต่อราชการโดยไม่ต้องยื่นเอกสารนิติบุคคล)

ที่มา : สืบเนื่องจากการประชุมร่วมระหว่างสำนักงาน ก.พ.ร. นำโดยเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ) และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า นำโดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม) พร้อมด้วยผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ได้มีการหารือร่วมกันในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับการให้บริการประชาชน โดยบูรณาการการทำงานระหว่างกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและหน่วยงานต่าง ๆ ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลนิติบุคคลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเพื่อเป็นการลดภาระการยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งธุรกิจให้กับส่วนราชการและหน่วยงานอื่นในการขออนุมัติอนุญาตและการไม่เรียกรับสำเนาเอกสารของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจากผู้ประกอบการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการและลดระยะเวลาการติดต่อราชการให้กับประชาชน

ผลการดำเนินการ (เน้นประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ) : สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยขับเคลื่อนการเชื่อมโยงข้อมูลนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์กับหน่วยงานของรัฐเพื่อยกเลิกการเรียกรับเอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคลในการพิจารณาอนุญาตใน 3 รายการ คือ หนังสือรับรองนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยได้ดำเนินการแล้วใน 22 หน่วยงาน ได้แก่ 

- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม 
- กรมสรรพสามิต 
- ธนาคารแห่งประเทศไทย A
- กรมที่ดิน 
- กรมธนารักษ์ 
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 
- กรมบัญชีกลาง 
- กรมศุลกากร 
- กรมสรรพากร
- กรมทรัพย์สินทางปัญญา 
- กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 
- กรมทางหลวงชนบท 
- กรมการท่องเที่ยว 
- กรมท่าอากาศยาน 
- สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) 
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 
- สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 
- สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) 
- สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจาก 22 หน่วยงานรัฐ ที่ร่วมขับเคลื่อนการยกเลิกใช้เอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคลใน 514 กระบวนงาน ซึ่งมีการรับบริการกว่า 9.2 ล้านธุรกรรม ทำให้ประชาชนและผู้ประกอบการประหยัดค่าใช้จ่ายในภาพรวม ได้กว่า 7,100 ล้านบาทต่อปี 

การดำเนินการระยะต่อไป : สำนักงาน ก.พ.ร. และกรมพัฒนาธุรกิจการค้า มีแผนการดำเนินการต่อไป ดังนี้

1) ขยายผลในกลุ่มหน่วยงานที่ต้องมีการทบทวนกระบวนงานและแก้ปัญหาทางเทคนิคเพิ่มเติมเล็กน้อย ซึ่งคาดว่าจะสามารถยกเลิกการเรียกรับเอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคลได้ภายในเดือนธันวาคม 2568 จำนวน 25 หน่วยงาน

2) กลุ่มที่อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังไม่เคยใช้งานระบบหรือมีการมอบอำนาจภารกิจไปยังท้องถิ่น ซึ่งคาดว่าจะสามารถยกเลิกการเรียกรับเอกสารเกี่ยวกับนิติบุคคลได้ภายในเดือนธันวาคม 2569 จำนวน 27 หน่วยงาน

3) กลุ่มที่ยังไม่เคยมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทำการเชิญชวนเข้าร่วมการเชื่อมโยงข้อมูลฯ ต่อไป

 

 

Link ข่าวประชาสัมพันธ์ : เปิดรายชื่อ 22 หน่วยงานรัฐ "ไม่เซ็น ไม่เรียกเอกสาร" ประหยัดต้นทุน https://www.pptvhd36.com/wealth/trick-trend/238701

 

3. นวัตกรรมศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) ซอฟต์พาวเวอร์นำร่องการขออนุมัติ อนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ที่มา : การพัฒนานวัตกรรมศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จซอฟต์พาวเวอร์ (One Stop Service: OSS) สำหรับการขออนุมัติอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้กิจกรรมห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการปรับปรุงการให้บริการภาครัฐให้มีความสะดวก รวดเร็ว และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ

       สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ริเริ่มห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 โดยมุ่งเน้นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมภาครัฐที่สามารถตอบโจทย์ประชาชนได้อย่างแท้จริง รวมถึงการทดลองแนวทางใหม่ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือการต่อยอดและขยายผลนวัตกรรมต้นแบบที่มีศักยภาพไปสู่การใช้งานจริง การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวใช้แนวคิดกระบวนการคิด เชิงออกแบบ (Design Thinking) และอาศัยเครื่องมือหรือกลไกนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อทดสอบ ปรับปรุง และพัฒนาแนวทางการดำเนินงานภาครัฐให้มีความพร้อมสำหรับการนำไปใช้ในระดับปฏิบัติได้จริง นอกจากนี้กิจกรรมนี้ยังมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐให้เป็นนวัตกรภาครัฐที่สามารถออกแบบและพัฒนานวัตกรรมด้านการให้บริการเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบราชการ ลดอุปสรรคในการให้บริการ และเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการของภาครัฐ

       ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จซอฟต์พาวเวอร์ (OSS Soft Power) สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการให้บริการของภาครัฐ เพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีนานาชาติ โดยแนวคิดการพัฒนา OSS Soft Power ได้รับการผลักดันจากมติคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ที่เห็นชอบให้มีการจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service: OSS) เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ โดยให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ศึกษาแนวทางการพัฒนา OSS Soft Power ในสาขาภาพยนตร์ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบระบบและกระบวนการดำเนินงาน

     สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนานวัตกรรม OSS Soft Power สาขาภาพยนตร์ เพื่อแก้ไขปัญหากระบวนการอนุมัติ อนุญาตที่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศที่ต้องการถ่ายทำในประเทศไทย ปัญหาดังกล่าวเกิดจากกระบวนการที่ซับซ้อนและต้องติดต่อหน่วยงานหลายแห่งแยกกัน ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและเพิ่มต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการ และเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม นวัตกรรม OSS Soft Power จึงถูกนำไปทดลองเป็นโครงการนำร่องในกรุงเทพมหานครโดยปรับปรุงกระบวนการอนุมัติอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้มีความสะดวกและเป็นระบบมากขึ้นผ่านการบูรณาการบริการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ในจุดเดียว 

ผลการดำเนินการ (เน้นประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ) : จากปัญหาความยุ่งยากของกระบวนการอนุมัติอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ต้องติดต่อหลายหน่วยงานแยกกันส่งผลให้เกิดความล่าช้าและต้นทุนที่เพิ่มขึ้นการพัฒนาแนวทางแก้ไขจึงมุ่งเน้นไปที่การลดขั้นตอนและปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้แนวคิด OSS Soft Power ซึ่งถูกนำไปสู่การปฏิบัติผ่านการยกระดับศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร (Bangkok Filmmaking Coordinator Center: BFMCC) ที่มีอยู่เดิมให้สามารถรองรับการให้บริการแบบครบวงจรการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการของ BFMCC ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่

1) การพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขออนุญาตได้สะดวกขึ้น
2) การรวมศูนย์กระบวนการอนุมัติ อนุญาตจาก 9 หน่วยงาน ให้อยู่ภายในจุดเดียวเพื่อลดความซับซ้อนในการดำเนินงาน ได้แก่ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมธนารักษ์ กรมศิลปากร กองบัญชาการตำรวจนครบาล การเคหะแห่งชาติ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTS) ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีบทบาทในการกำกับดูแลพื้นที่และอำนวยความสะดวกด้านการใช้พื้นที่สำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์ 
3) การปรับปรุงระบบให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดระยะเวลาการดำเนินการ และช่วยให้การให้บริการของภาครัฐมีความคล่องตัวมากขึ้น สำหรับกรอบระยะเวลาในการอนุญาต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.พิจารณา 1 หน่วยงาน ไม่เกิน 7 วันทำการ ประเภทที่ 2.พิจารณามากกว่า 1 หน่วยงาน ไม่เกิน 14 วันทำการ และ 3.พิจารณาตามระเบียบพิเศษ ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยผู้ขออนุญาตสามารถติดตามสถานะการขออนุญาตผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ Line Official เว็บไซต์ และ E-mail

       เดิมที BFMCC ทำหน้าที่เป็นจุดประสานงานหลักสำหรับการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ แต่เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการที่ครอบคลุมและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการได้ดียิ่งขึ้น กรุงเทพมหานครจึงได้ยกระดับ BFMCC ให้เป็นระบบ Hybrid ที่สามารถให้บริการได้ทั้งแบบ Onsite ณ ศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่อาคารทำการส่วนการท่องเที่ยว (ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว) ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และ Online โดยการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อ "Public Space" ผ่านเว็บไซต์ https://publicspace.bangkok.go.th/ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นขออนุญาตใช้งานพื้นที่สาธารณะได้สะดวกยิ่งขึ้นในจุดเดียวเพื่อความสะดวกต่อทั้งผู้ขออนุญาตและหน่วยงานเจ้าของพื้นที่แพลตฟอร์มออนไลน์ Public Space ไม่ได้จำกัดเฉพาะการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตของบริการให้ครอบคลุมกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงการใช้พื้นที่สาธารณะภายในเมืองได้ง่ายขึ้น โดยเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 กรุงเทพมหานครได้เปิดตัวแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งให้บริการหลัก 4 ประเภท ได้แก่

1. การขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร – ลดความยุ่งยากในการขออนุญาต และทำให้กระบวนการอนุมัติ อนุญาตมีความรวดเร็วขึ้น สามารถจองผ่านแพลตฟอร์ม มีพื้นที่สาธารณะกว่า 98 พื้นที่ จาก 66 หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานภาคีเครือข่าย
2. การร่วมเป็นศิลปินเปิดหมวกในพื้นที่สาธารณะ – สร้างโอกาสให้ศิลปินอิสระสามารถแสดงและหารายได้จากพื้นที่สาธารณะอย่างถูกต้อง จำนวน 16 พื้นที่ ทั้งพื้นที่ของกรุงเทพฯ และหน่วยงานภาคีเครือข่าย
3. การแสดงดนตรีในสวน – เปิดสวนสาธารณะ จำนวน 12 สวน เพื่อจัดแสดงดนตรีในสวน สนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์และกระตุ้นบรรยากาศเมืองให้มีชีวิตชีวา

4. การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์อื่น ๆ – เพิ่มโอกาสให้ประชาชนสามารถใช้พื้นที่สาธารณะ ในช่วงแรกเปิดพื้นที่นำร่องสำหรับจัดกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 16 แห่ง ประกอบด้วย BACC ศูนย์นันทนาการ ศูนย์กีฬา ห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์เด็ก

       การเปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ Public Space ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิด OSS Soft Power สู่การปฏิบัติจริง โดยช่วยให้การอนุมัติ อนุญาตด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่สาธารณะมีความสะดวก รวดเร็ว และโปร่งใสยิ่งขึ้น ลดภาระของภาครัฐ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นช่วยให้กระบวนการทำงานของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเพิ่มความคล่องตัวให้กับผู้ประกอบการและประชาชนที่ต้องการใช้พื้นที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมให้กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่เอื้อต่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างแท้จริง 

การดำเนินการระยะต่อไป : จากการพัฒนาต้นแบบ OSS Soft Power ในกรุงเทพมหานคร ที่ช่วยให้กระบวนการอนุมัติ อนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์มีความเป็นระบบมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการภาครัฐ ความสำเร็จนี้นำไปสู่การขยายผลสู่เมืองพัทยา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และมีความพร้อมในการพัฒนาให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ (City of Film) ตามมาตรฐานเครือข่ายองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ( UNESCO) ภายในปี 2570 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับการขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลในการใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ

       การขยายผล OSS Soft Power ไปยังเมืองพัทยาจะดำเนินการภายใต้ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ ปีงบประมาณ 2568 โดยมีกำหนดดำเนินงานระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2568 เป้าหมาย คือ การยกระดับระบบอนุมัติ อนุญาตด้านภาพยนตร์ให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ลดอุปสรรคที่เคยเป็นข้อจำกัดของผู้ผลิตภาพยนตร์ และทำให้พัทยากลายเป็นเมืองที่เอื้อต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์

       แนวทางการพัฒนา OSS Soft Power ในพัทยาจะช่วยให้เมืองสามารถขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์  ด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้อย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนากลไกการดำเนินงานและปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อผู้ประกอบการและรองรับการถ่ายทำภาพยนตร์ เมื่อระบบอนุมัติ อนุญาตมีความสะดวกและเป็นมาตรฐานมากขึ้น เมืองพัทยาจะมีขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ ช่วยดึงดูดการลงทุนจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากต่างประเทศได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจในพื้นที่โดยตรง ทั้งในด้านการจ้างงาน การกระจายรายได้สู่ชุมชน และการเติบโตของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การขยายผล OSS Soft Power ไปยังเมืองพัทยา จึงไม่ใช่เพียงการพัฒนาระบบอนุมัติ อนุญาตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการสนับสนุนให้พัทยาสามารถก้าวสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกด้วย

กรุงเทพมหานคร  สำนักงาน ก.พ.ร.  และหน่วยงานภาคีเครือข่าย 9 แห่ง ในวันเปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ Public Space เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร)
59/1 ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
โทรศัพท์: 02-3569999
อีเมล: saraban@opdc.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ
Background Desktop Background Mobile