บทบาท/ภารกิจของกรมธนารักษ์
วิสัยทัศน์
“บริหารทรัพย์สินของแผ่นดิน เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน”
พันธกิจ
1) บริหารจัดการที่ราชพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2) ประเมินราคาทรัพย์สินตามหลักการสากล เพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืน ทางเศรษฐกิจและสังคม
3) ผลิตและบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ให้สอดคล้องกับความต้องการ ในระบบเศรษฐกิจ
4) จัดแสดง เผยแพร่ อนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพย์สินมีค่าของรัฐตามหลักวิชาการ เพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
ภารกิจ
1) ปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้ใช้ จัดประโยชน์ จัดทำนิติกรรม และดำเนินการ ในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ
2) จัดทำ นำออกใช้ และรับคืนเหรียญกษาปณ์ และดำเนินการเกี่ยวกับเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และงานรับจ้างทำของ
3) รับ - จ่าย ควบคุมเงินคงคลังให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
4) ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
5) จัดแสดง เผยแพร่ และอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามระเบียบกรมธนารักษ์
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมธนารักษ์
โครงการการให้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ Web Application : TRD Smart Pay
ปัจจุบันการให้บริการผ่าน Web application : TRD SMART PAY มีดังนี้
1. ใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์
2. การชำระเงินผ่าน TRD Smart Pay
3. การให้บริการผู้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
4. การยื่นคำร้องผ่านทาง Web application : TRD Smart Pay ประกอบด้วย
4.1 คำขอเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล
4.2 คำขอต่ออายุสัญญาเช่า
4.2.1 คำขอต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุ
4.2.2 คำขอต่ออายุสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุ
4.3 การขอหนังสือรับรองการเป็นผู้เช่า
4.4 คำขอหนังสือรับรองนำสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อนำไปผูกพันเงินกู้
5. ระบบแจ้งเตือน (Notification) ใน application : TRD Smart Pay
6. การบริการข้อมูลของผู้เช่าเกี่ยวกับการเช่าที่ราชพัสดุ
ช่องทางการติดต่อสอบถาม : https://www.treasury.go.th/th/contact-us/
บทบาท/ภารกิจของกรมธนารักษ์
วิสัยทัศน์
“บริหารทรัพย์สินของแผ่นดิน เพื่อการพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน”
พันธกิจ
1) บริหารจัดการที่ราชพัสดุอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
2) ประเมินราคาทรัพย์สินตามหลักการสากล เพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืน ทางเศรษฐกิจและสังคม
3) ผลิตและบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ให้สอดคล้องกับความต้องการ ในระบบเศรษฐกิจ
4) จัดแสดง เผยแพร่ อนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพย์สินมีค่าของรัฐตามหลักวิชาการ เพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรม
ภารกิจ
1) ปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ให้ใช้ จัดประโยชน์ จัดทำนิติกรรม และดำเนินการ ในเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับที่ราชพัสดุตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ
2) จัดทำ นำออกใช้ และรับคืนเหรียญกษาปณ์ และดำเนินการเกี่ยวกับเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา และงานรับจ้างทำของ
3) รับ - จ่าย ควบคุมเงินคงคลังให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
4) ดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินตามกฎหมายว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
5) จัดแสดง เผยแพร่ และอนุรักษ์ทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ให้เป็นไปตามระเบียบกรมธนารักษ์
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมธนารักษ์
โครงการการให้บริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ Web Application : TRD Smart Pay
ปัจจุบันการให้บริการผ่าน Web application : TRD SMART PAY มีดังนี้
1. ใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์
2. การชำระเงินผ่าน TRD Smart Pay
3. การให้บริการผู้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
4. การยื่นคำร้องผ่านทาง Web application : TRD Smart Pay ประกอบด้วย
4.1 คำขอเปลี่ยนชื่อ - นามสกุล
4.2 คำขอต่ออายุสัญญาเช่า
4.2.1 คำขอต่ออายุสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุ
4.2.2 คำขอต่ออายุสัญญาเช่าอาคารราชพัสดุ
4.3 การขอหนังสือรับรองการเป็นผู้เช่า
4.4 คำขอหนังสือรับรองนำสิทธิการเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อนำไปผูกพันเงินกู้
5. ระบบแจ้งเตือน (Notification) ใน application : TRD Smart Pay
6. การบริการข้อมูลของผู้เช่าเกี่ยวกับการเช่าที่ราชพัสดุ
ช่องทางการติดต่อสอบถาม : https://www.treasury.go.th/th/contact-us/
บทบาท/ภารกิจของกรมศุลกากร
วิสัยทัศน์
"องค์กรศุลกากรชั้นนำ ที่มุ่งส่งเสริมความยั่งยืนของเศรษฐกิจและความปลอดภัยของสังคม ด้วยนวัตกรรมและบริการที่เป็นเลิศ"
พันธกิจ
1) อำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
2) ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยมาตรการทางศุลกากรและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ
3) เพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องสังคมให้ปลอดภัยด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร
4) จัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์
1) พัฒนากระบวนงานทางศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและระบบโลจิสติกส์
2) พัฒนามาตรการทางศุลกากรและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเชื่อมโยงการค้าโลก
3) พัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากรให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกัน
4) เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดเก็บภาษีอากรโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
5) พัฒนาสมรรถนะบุคลากร นวัตกรรม และการบริหารจัดการองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมศุลกากร
1. โครงการสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์”
โครงการสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์” เป็นการต่อยอดแนวทางองค์กรศุลกากรคุณธรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกระบวนการของบันทึกการทำความดีช่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรมองค์กรคุณธรรมและทำให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตื่นตัวกับการทำดีอยู่เสมอจนยึดเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการยกย่องการทำความดีของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับชาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถเข้าใช้งานระบบสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์” เพื่อบันทึกการทำความดีได้ผ่านระบบ Intranet ของกรมศุลกากร ทั้งนี้ โครงการฯ ดังกล่าว กรมศุลกากรได้มีการดำเนินการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2564
การบันทึกความดีในระบบสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์” เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถบันทึกความดีได้ด้วยตนเอง บันทึกความดีโดยเพื่อนร่วมงาน และบันทึกความดีโดยผู้บังคับบัญชาซึ่งสามารถบันทึกความดีได้ทุกประเภทเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำความดีของผู้บันทึกความดีต่อไป โดยความดีที่จะได้รับค่าคะแนนความดี และจะได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในการทำความดีนั้น ต้องเป็นการทำความดีที่ส่งผลดีอย่างมีคุณค่าทั้งต่อผู้อื่น และต่อส่วนรวม และจะต้องเป็นความดีที่เป็น ที่ยอมรับทั้งด้านจิตใจและการกระทำ การบันทึกความดีที่จะได้รับค่าคะแนนความดีนั้น จะแบ่งเป็นการทำความดีทั่วไป (ได้รับ 1 คะแนน) และการทำความดีเพื่อส่วนรวม (ได้รับ 2 คะแนน) โดยความดีทั่วไป หมายถึง การทำความดีต่อผู้อื่นโดยไม่เลือกปฏิบัติ และความดีเพื่อส่วนรวม หมายถึง การทำความดีต่อองค์กร ชุมชน สังคม ฯลฯ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านศาสนา ด้านสาธารณสุข ด้านมูลนิธิ ด้านการศึกษา และด้านอื่นๆ
ผลการดำเนินของโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้เข้าร่วมบันทึกความดีในระบบสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์” จำนวน 460 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในกรมศุลกากร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีผู้เข้าร่วมบันทึกความดี จำนวน 207 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.3 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในกรมศุลกากร และปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผู้เข้าร่วมบันทึกความดี จำนวน 80 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.26 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในกรมศุลกากร ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 กรมศุลกากรได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ (ประธานกรรมการ) เป็นผู้ลงนามและเป็นผู้มอบใบประกาศเกียรติคุณ โดยได้มีการมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่เจ้าหน้าที่ที่บันทึกความดีสูงสุด 10 อันดับแรก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 และวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ตามลำดับ และได้ดำเนินการประกาศรายชื่อผู้บันทึกความดีสูงสุด 10 อันดับแรกผ่านระบบ Intranet และ Internet ของกรมศุลกากร เพื่อเป็นเกียรติและขวัญกำลังใจกับบุคคลดังกล่าว
2. โครงการ National Single Window (NSW)
สถานะการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล National Single Window (NSW) ในประเทศและระหว่างประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2567
1. คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลได้ออกประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่องแพลตฟอร์มกลางของการบริการภาครัฐสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน (ฉบับที่ 2) โดยได้กำหนดให้ระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window หรือ NSW) เป็นแพลตฟอร์มกลางของงานบริการภาครัฐสำหรับภาคธุรกิจและประชาชนตามอำนาจในพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 7 (3) และ (9) โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. สถานะการพัฒนาธุรกรรมการให้บริการการนำเข้า การส่งออก ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW โดยมีกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก และโลจิสติกส์ สำหรับประกอบการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า - ส่งออก (ราย Shipment) จำนวน 470 กระบวนงาน ซึ่งพัฒนาธุรกรรมเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จำนวน 469 กระบวนงาน คิดเป็นร้อยละ 99.79 และต้องพัฒนาให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม 1 กระบวนงาน คิดเป็นร้อยละ 0.21
3. การพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ Single Submission บนระบบ NSW ได้เปิดให้บริการการขอรับใบอนุญาต/ใบรับรองในรูปแบบ Single Submission แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 เป็นต้นมา โดยปัจจุบันรองรับการขอรับใบอนุญาต/ใบรับรองสินค้าพืชเกษตรที่มีการควบคุมร่วมกันระหว่างกรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ จำนวน 425 พิกัดรายการสินค้าซึ่งผู้นำเข้าสามารถยื่นและส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียวเพื่อรับใบอนุญาต/ใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ สำหรับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติมีแผนเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2568 กรมการค้าต่างประเทศมีแผนเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2568 กรมศุลกากรได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่ควบคุมสินค้าตามพิกัดรายการสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาต/ใบรับรองประกอบการนำเข้า-ส่งออกจำนวน 23 หน่วยงาน และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน) ในฐานะองค์กรผู้ให้บริการระบบ NSW เพื่อเตรียมการและวางแผนการพัฒนาระบบ NSW ให้สามารถให้บริการยื่นคำขอเพื่อขอรับใบอนุญาต/ใบรับรอง ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ได้ในรูปแบบ Single Submission ให้ครอบคลุมครบทุกสินค้า โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2568
4. มีการเชื่อมโยงข้อมูล ASEAN Customs Declaration Document (ACDD) แล้วจำนวน 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ยกเว้น สปป.ลาว) โดยมีสถิติการรับ-ส่งข้อมูลฯ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2567 จำนวน 2,671,580 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
5. มีการเชื่อมโยงข้อมูลใบรับรองสุขอนามัยพืช (e-Phyto Certificate) แล้วจำนวน 3 ประเทศสมาชิกอาเซียน (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย) โดยมีสถิติการรับ-ส่งข้อมูลฯ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2567 จำนวน 22,424 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
6. การเชื่อมโยงข้อมูล e-Phyto Certificate ผ่าน IPPC Hub กับประเทศภาคี ประเทศไทย (กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมศุลกากร) สามารถทดสอบส่งข้อมูล e-Phyto Certificate ผ่าน IPPC Hub ให้ประเทศภาคีทั้ง 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ฟิจิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และโมร็อกโก ได้สำเร็จ ส่วนขารับข้อมูล e-Phyto Certificate จากต่างประเทศ สามารถทดสอบเป็นผลสำเร็จแล้วจำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ โมร็อกโก ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ โดยปัจจุบัน ไทยและเกาหลีใต้สามารถเชื่อมโยงข้อมูล e-Phyto Certificate อย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เกาหลีใต้ขอให้มีการออกฟอร์มกระดาษในรูปแบบคู่ขนานอีก 6 เดือน ซึ่งประเทศไทย โดยกรมวิชาการเกษตร ยังอยู่ระหว่างปรับปรุง พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2507 เพื่อให้รองรับการใช้ e-Phyto Certificate 100% โดยมีสถิติการรับส่งข้อมูล e-Phyto Certificate ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2567 จำนวน 3,407 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
7. การเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-CO) ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยไทยและญี่ปุ่นจะเริ่มนำร่องเชื่อมโยงข้อมูลฯ ขาส่งข้อมูล e-CO JTEPA ไปญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 และจะเชื่อมโยงข้อมูล e-CO อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป ในส่วนขารับ e-CO JTEPA จากญี่ปุ่นจะสามารถเริ่มทดสอบเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานออกฟอร์มญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยจะเริ่มการนำร่องฯ ในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2568 และเริ่มใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในเดือนกันยายน 2568 เป็นต้นไป
8. การเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน ได้มีการประชุมหารือร่วมกันสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน Single Window ไทย-จีน ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนดเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และรูปแบบระบบสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่าน Single Window รวมถึงการดำเนินการกรอบความตกลงฯระหว่างกันซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้จีนพิจารณาข้อเสนอเอกสารที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ และจัดลำดับความสำคัญเพื่อใช้ในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อสรุปร่วมกันที่จะเชื่อมโยงข้อมูล e-Phyto Certificate เป็นเอกสารแรก ในส่วนของไทย คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในร่างกรอบความตกลงฯฉบับปรับปรุง รวมถึงการมอบอำนาจให้อธิบดีกรมศุลกากรลงนามในกรอบความตกลงฯ แล้ว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 โดยคาดว่าไทยและจีนจะลงนามกรอบความตกลงฯ ร่วมกันภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
9. การพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ (Cross-border Paperless Trade) NSW Operator ได้หารือกับบริษัท InterCommerce ในฐานะสมาชิก Pan Asian E-Commerce Alliance (PAA) ประเทศฟิลิปปินส์เกี่ยวกับแนวทางการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto Certificate) ระหว่างผู้ประกอบการไทยและฟิลิปปินส์ โดยพัฒนาระบบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2567
10. การพัฒนาระบบให้บริการใบสั่งปล่อยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-D/O) NSW Operator และผู้ร่วมพัฒนา (กิจการร่วมค้า พีเอ็มที – เบนเนซิส) ได้จัดการประชุมนำเสนอระบบงาน และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการออกแบบกระบวนงานของระบบ และโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลรวมถึงได้ทดสอบการใช้งานของระบบเรียบร้อยแล้วโดย NSW Operator ได้พัฒนาระบบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2567
11. กบช. ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับ Diamond โล่เกียรติยศสำหรับผลงานหัวข้อการเชื่อมโยง e-Phyto Certificate ระหว่างประเทศ ประเภทหน่วยงานระดับกอง หรือส่วนราชการที่เทียบเท่ากอง สาขาผลงานนวัตกรรมกระบวนการทำงานใหม่ในพิธีมอบรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567
บทบาท/ภารกิจของกรมศุลกากร
วิสัยทัศน์
"องค์กรศุลกากรชั้นนำ ที่มุ่งส่งเสริมความยั่งยืนของเศรษฐกิจและความปลอดภัยของสังคม ด้วยนวัตกรรมและบริการที่เป็นเลิศ"
พันธกิจ
1) อำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศ
2) ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยมาตรการทางศุลกากรและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ
3) เพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องสังคมให้ปลอดภัยด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร
4) จัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์
1) พัฒนากระบวนงานทางศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและระบบโลจิสติกส์
2) พัฒนามาตรการทางศุลกากรและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเชื่อมโยงการค้าโลก
3) พัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากรให้มีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกัน
4) เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดเก็บภาษีอากรโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
5) พัฒนาสมรรถนะบุคลากร นวัตกรรม และการบริหารจัดการองค์กรสู่ยุคดิจิทัล
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมศุลกากร
1. โครงการสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์”
โครงการสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์” เป็นการต่อยอดแนวทางองค์กรศุลกากรคุณธรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกระบวนการของบันทึกการทำความดีช่วยในการขับเคลื่อนกิจกรรมองค์กรคุณธรรมและทำให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตื่นตัวกับการทำดีอยู่เสมอจนยึดเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการยกย่องการทำความดีของผู้ใต้บังคับบัญชาโดยผู้บังคับชาของหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถเข้าใช้งานระบบสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์” เพื่อบันทึกการทำความดีได้ผ่านระบบ Intranet ของกรมศุลกากร ทั้งนี้ โครงการฯ ดังกล่าว กรมศุลกากรได้มีการดำเนินการมาแล้วตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2564
การบันทึกความดีในระบบสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์” เจ้าหน้าที่ศุลกากรสามารถบันทึกความดีได้ด้วยตนเอง บันทึกความดีโดยเพื่อนร่วมงาน และบันทึกความดีโดยผู้บังคับบัญชาซึ่งสามารถบันทึกความดีได้ทุกประเภทเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการทำความดีของผู้บันทึกความดีต่อไป โดยความดีที่จะได้รับค่าคะแนนความดี และจะได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติในการทำความดีนั้น ต้องเป็นการทำความดีที่ส่งผลดีอย่างมีคุณค่าทั้งต่อผู้อื่น และต่อส่วนรวม และจะต้องเป็นความดีที่เป็น ที่ยอมรับทั้งด้านจิตใจและการกระทำ การบันทึกความดีที่จะได้รับค่าคะแนนความดีนั้น จะแบ่งเป็นการทำความดีทั่วไป (ได้รับ 1 คะแนน) และการทำความดีเพื่อส่วนรวม (ได้รับ 2 คะแนน) โดยความดีทั่วไป หมายถึง การทำความดีต่อผู้อื่นโดยไม่เลือกปฏิบัติ และความดีเพื่อส่วนรวม หมายถึง การทำความดีต่อองค์กร ชุมชน สังคม ฯลฯ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านศาสนา ด้านสาธารณสุข ด้านมูลนิธิ ด้านการศึกษา และด้านอื่นๆ
ผลการดำเนินของโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้เข้าร่วมบันทึกความดีในระบบสมุดบันทึก “ความดีมีแชร์” จำนวน 460 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในกรมศุลกากร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีผู้เข้าร่วมบันทึกความดี จำนวน 207 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.3 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในกรมศุลกากร และปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีผู้เข้าร่วมบันทึกความดี จำนวน 80 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.26 ของจำนวนบุคลากรทั้งหมดในกรมศุลกากร ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 กรมศุลกากรได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ (ประธานกรรมการ) เป็นผู้ลงนามและเป็นผู้มอบใบประกาศเกียรติคุณ โดยได้มีการมอบใบประกาศเกียรติคุณให้แก่เจ้าหน้าที่ที่บันทึกความดีสูงสุด 10 อันดับแรก เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2566 และวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ตามลำดับ และได้ดำเนินการประกาศรายชื่อผู้บันทึกความดีสูงสุด 10 อันดับแรกผ่านระบบ Intranet และ Internet ของกรมศุลกากร เพื่อเป็นเกียรติและขวัญกำลังใจกับบุคคลดังกล่าว
2. โครงการ National Single Window (NSW)
สถานะการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล National Single Window (NSW) ในประเทศและระหว่างประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2567
1. คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลได้ออกประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเรื่องแพลตฟอร์มกลางของการบริการภาครัฐสำหรับภาคธุรกิจและประชาชน (ฉบับที่ 2) โดยได้กำหนดให้ระบบกลางการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window หรือ NSW) เป็นแพลตฟอร์มกลางของงานบริการภาครัฐสำหรับภาคธุรกิจและประชาชนตามอำนาจในพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 7 (3) และ (9) โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. สถานะการพัฒนาธุรกรรมการให้บริการการนำเข้า การส่งออก ให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW โดยมีกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า-ส่งออก และโลจิสติกส์ สำหรับประกอบการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า - ส่งออก (ราย Shipment) จำนวน 470 กระบวนงาน ซึ่งพัฒนาธุรกรรมเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์แล้ว จำนวน 469 กระบวนงาน คิดเป็นร้อยละ 99.79 และต้องพัฒนาให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่ม 1 กระบวนงาน คิดเป็นร้อยละ 0.21
3. การพัฒนาการให้บริการในรูปแบบ Single Submission บนระบบ NSW ได้เปิดให้บริการการขอรับใบอนุญาต/ใบรับรองในรูปแบบ Single Submission แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2567 เป็นต้นมา โดยปัจจุบันรองรับการขอรับใบอนุญาต/ใบรับรองสินค้าพืชเกษตรที่มีการควบคุมร่วมกันระหว่างกรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ จำนวน 425 พิกัดรายการสินค้าซึ่งผู้นำเข้าสามารถยื่นและส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียวเพื่อรับใบอนุญาต/ใบรับรองจากกรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมปศุสัตว์ สำหรับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติมีแผนเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2568 กรมการค้าต่างประเทศมีแผนเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2568 กรมศุลกากรได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่ควบคุมสินค้าตามพิกัดรายการสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาต/ใบรับรองประกอบการนำเข้า-ส่งออกจำนวน 23 หน่วยงาน และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จํากัด (มหาชน) ในฐานะองค์กรผู้ให้บริการระบบ NSW เพื่อเตรียมการและวางแผนการพัฒนาระบบ NSW ให้สามารถให้บริการยื่นคำขอเพื่อขอรับใบอนุญาต/ใบรับรอง ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ได้ในรูปแบบ Single Submission ให้ครอบคลุมครบทุกสินค้า โดยมีเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2568
4. มีการเชื่อมโยงข้อมูล ASEAN Customs Declaration Document (ACDD) แล้วจำนวน 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ยกเว้น สปป.ลาว) โดยมีสถิติการรับ-ส่งข้อมูลฯ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2567 จำนวน 2,671,580 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
5. มีการเชื่อมโยงข้อมูลใบรับรองสุขอนามัยพืช (e-Phyto Certificate) แล้วจำนวน 3 ประเทศสมาชิกอาเซียน (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย) โดยมีสถิติการรับ-ส่งข้อมูลฯ ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2567 จำนวน 22,424 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
6. การเชื่อมโยงข้อมูล e-Phyto Certificate ผ่าน IPPC Hub กับประเทศภาคี ประเทศไทย (กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมศุลกากร) สามารถทดสอบส่งข้อมูล e-Phyto Certificate ผ่าน IPPC Hub ให้ประเทศภาคีทั้ง 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ฟิจิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และโมร็อกโก ได้สำเร็จ ส่วนขารับข้อมูล e-Phyto Certificate จากต่างประเทศ สามารถทดสอบเป็นผลสำเร็จแล้วจำนวน 4 ประเทศ ได้แก่ โมร็อกโก ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ โดยปัจจุบัน ไทยและเกาหลีใต้สามารถเชื่อมโยงข้อมูล e-Phyto Certificate อย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ทั้งนี้เกาหลีใต้ขอให้มีการออกฟอร์มกระดาษในรูปแบบคู่ขนานอีก 6 เดือน ซึ่งประเทศไทย โดยกรมวิชาการเกษตร ยังอยู่ระหว่างปรับปรุง พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2507 เพื่อให้รองรับการใช้ e-Phyto Certificate 100% โดยมีสถิติการรับส่งข้อมูล e-Phyto Certificate ระหว่างวันที่ 19 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2567 จำนวน 3,407 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
7. การเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-CO) ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยไทยและญี่ปุ่นจะเริ่มนำร่องเชื่อมโยงข้อมูลฯ ขาส่งข้อมูล e-CO JTEPA ไปญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 และจะเชื่อมโยงข้อมูล e-CO อย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป ในส่วนขารับ e-CO JTEPA จากญี่ปุ่นจะสามารถเริ่มทดสอบเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานออกฟอร์มญี่ปุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยจะเริ่มการนำร่องฯ ในเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2568 และเริ่มใช้งานอย่างเต็มรูปแบบในเดือนกันยายน 2568 เป็นต้นไป
8. การเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน ได้มีการประชุมหารือร่วมกันสำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน Single Window ไทย-จีน ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนดเอกสารอิเล็กทรอนิกส์และรูปแบบระบบสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่าน Single Window รวมถึงการดำเนินการกรอบความตกลงฯระหว่างกันซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้จีนพิจารณาข้อเสนอเอกสารที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างสองประเทศ และจัดลำดับความสำคัญเพื่อใช้ในการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีข้อสรุปร่วมกันที่จะเชื่อมโยงข้อมูล e-Phyto Certificate เป็นเอกสารแรก ในส่วนของไทย คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในร่างกรอบความตกลงฯฉบับปรับปรุง รวมถึงการมอบอำนาจให้อธิบดีกรมศุลกากรลงนามในกรอบความตกลงฯ แล้ว เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 โดยคาดว่าไทยและจีนจะลงนามกรอบความตกลงฯ ร่วมกันภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
9. การพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศ (Cross-border Paperless Trade) NSW Operator ได้หารือกับบริษัท InterCommerce ในฐานะสมาชิก Pan Asian E-Commerce Alliance (PAA) ประเทศฟิลิปปินส์เกี่ยวกับแนวทางการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto Certificate) ระหว่างผู้ประกอบการไทยและฟิลิปปินส์ โดยพัฒนาระบบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2567
10. การพัฒนาระบบให้บริการใบสั่งปล่อยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (e-D/O) NSW Operator และผู้ร่วมพัฒนา (กิจการร่วมค้า พีเอ็มที – เบนเนซิส) ได้จัดการประชุมนำเสนอระบบงาน และรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการออกแบบกระบวนงานของระบบ และโครงสร้างข้อมูลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลรวมถึงได้ทดสอบการใช้งานของระบบเรียบร้อยแล้วโดย NSW Operator ได้พัฒนาระบบเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2567
11. กบช. ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับ Diamond โล่เกียรติยศสำหรับผลงานหัวข้อการเชื่อมโยง e-Phyto Certificate ระหว่างประเทศ ประเภทหน่วยงานระดับกอง หรือส่วนราชการที่เทียบเท่ากอง สาขาผลงานนวัตกรรมกระบวนการทำงานใหม่ในพิธีมอบรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567
บทบาท/ภารกิจของกรมสรรพสามิต
กรมสรรพสามิต เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังมีภารกิจในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพื่อเป็นรายได้ให้แก่ภาครัฐจากสินค้าและบริการที่มีเหตุผลความจําเป็นเฉพาะอย่าง รวมถึงดําเนินการตรวจสอบ ป้องกัน และปราบปรามการกระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตเพื่อให้การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้ให้มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
1. ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยสุรา กฎหมายว่าด้วยยาสูบ กฎหมายว่าด้วยไพ่ กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา กฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับภาษีที่กรมจัดเก็บ
2. ตรวจสอบ ป้องกัน และปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีที่กรมจัดเก็บ
3. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมต่อกระทรวง
4. ดําเนินการเกี่ยวกับการประสานแผนงาน การกํากับเร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ หน่วยงานในสังกัด และงานสารสนเทศของกรม
5. บริหารกิจการขององค์การสุราและโรงงานไพ่
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสรรพสามิต
โครงการขับเคลื่อนกรมสรรพสามิตคุณธรรม
เป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต SMART : Accountability ซึ่งกรมสรรพสามิตมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไปสู่กรมสรรพสามิตคุณธรรมโดยตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างและพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนดีและเก่งมีคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้นกรมสรรพสามิตได้มีหนังสือที่ กค 0618/ว 320 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ขอให้สำนัก/ภาค/กอง/กลุ่ม/ศูนย์/เลขานุการกรม และสรรพสามิตพื้นที่ทุกพื้นที่ดำเนินการโครงการขับเคลื่อนกรมสรรพสามิตคุณธรรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการขับเคลื่อนกรมสรรพสามิตคุณธรรมผ่านระบบขับเคลื่อนกรมสรรพสามิตคุณธรรมโดยกำหนดให้มีการหาสาเหตุและวิธีแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ต้องการปรับเปลี่ยนของตนเองโดยให้รายงานกิจกรรมส่งเสริมความดีเพื่อส่งเสริมคุณธรรมทุกสิ้นเดือน นอกจากนี้ยังมีการประเมิน 360 องศาและการนิเทศองค์กรคุณธรรม ในส่วนสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาระบบเพื่อรับรองกรณีขยายพื้นที่สาขาทั้งหมดทั่วประเทศ

ช่องทางการติดต่อสื่อสาร :
ส่งหนังสือราชการ/หนังสือทั่วไป | saraban@excise.go.th |
ร้องเรียนร้องทุกข์/สอบถามข้อมูล/ข้อเสนอแนะต่าง ๆ | excise_hotline@excise.go.th |
ติดต่อประสานงานอื่น ๆ | contact@excise.go.th |
บทบาท/ภารกิจของกรมสรรพสามิต
กรมสรรพสามิต เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังมีภารกิจในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตเพื่อเป็นรายได้ให้แก่ภาครัฐจากสินค้าและบริการที่มีเหตุผลความจําเป็นเฉพาะอย่าง รวมถึงดําเนินการตรวจสอบ ป้องกัน และปราบปรามการกระทําผิดกฎหมายสรรพสามิตเพื่อให้การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงการคลังกําหนดไว้ให้มีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
1. ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยสุรา กฎหมายว่าด้วยยาสูบ กฎหมายว่าด้วยไพ่ กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสรรพสามิต กฎหมายว่าด้วยการจัดสรรเงินภาษีสุรา กฎหมายว่าด้วยการกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับภาษีที่กรมจัดเก็บ
2. ตรวจสอบ ป้องกัน และปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษีที่กรมจัดเก็บ
3. เสนอแนะนโยบายการจัดเก็บภาษีที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมต่อกระทรวง
4. ดําเนินการเกี่ยวกับการประสานแผนงาน การกํากับเร่งรัด ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของ หน่วยงานในสังกัด และงานสารสนเทศของกรม
5. บริหารกิจการขององค์การสุราและโรงงานไพ่
6. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่กระทรวง หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสรรพสามิต
โครงการขับเคลื่อนกรมสรรพสามิตคุณธรรม
เป็นโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกรมสรรพสามิต SMART : Accountability ซึ่งกรมสรรพสามิตมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไปสู่กรมสรรพสามิตคุณธรรมโดยตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างและพัฒนาบุคลากรให้เป็นคนดีและเก่งมีคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้นกรมสรรพสามิตได้มีหนังสือที่ กค 0618/ว 320 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 ขอให้สำนัก/ภาค/กอง/กลุ่ม/ศูนย์/เลขานุการกรม และสรรพสามิตพื้นที่ทุกพื้นที่ดำเนินการโครงการขับเคลื่อนกรมสรรพสามิตคุณธรรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการขับเคลื่อนกรมสรรพสามิตคุณธรรมผ่านระบบขับเคลื่อนกรมสรรพสามิตคุณธรรมโดยกำหนดให้มีการหาสาเหตุและวิธีแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ต้องการปรับเปลี่ยนของตนเองโดยให้รายงานกิจกรรมส่งเสริมความดีเพื่อส่งเสริมคุณธรรมทุกสิ้นเดือน นอกจากนี้ยังมีการประเมิน 360 องศาและการนิเทศองค์กรคุณธรรม ในส่วนสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาขณะนี้อยู่ระหว่างพัฒนาระบบเพื่อรับรองกรณีขยายพื้นที่สาขาทั้งหมดทั่วประเทศ

ช่องทางการติดต่อสื่อสาร :
ส่งหนังสือราชการ/หนังสือทั่วไป | saraban@excise.go.th |
ร้องเรียนร้องทุกข์/สอบถามข้อมูล/ข้อเสนอแนะต่าง ๆ | excise_hotline@excise.go.th |
ติดต่อประสานงานอื่น ๆ | contact@excise.go.th |
บทบาท/ภารกิจของกรมสรรพากร
กรมสรรพากรมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี การเสนอแนะ และการใช้นโยบายทางภาษีอากรเพื่อให้ได้ภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเป็นกลไกในการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและเกิดความสมัครใจในการเสียภาษีโดยกรมสรรพากรได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในทุกกระบวนงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นกรมสรรพากรดิจิทัล และพัฒนานวัตกรรมบริการทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง (Taxpayer Centric) เช่น ระบบ D-MyTax (Digital MyTax) : รวมบริการทางภาษี (One Portal) ระบบการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (VRT) ระบบงานภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างง่ายสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (VAT for Electronic Service : VES) บริการยื่นรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country by Country Report : CbCR) การรายงานข้อมูลบัญชีทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทั่วไป (Common Reporting Standard: CRS) ระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp Duty) ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice & e-Receipt) น้องอารี Chatbot เป็นต้น โดยมีการพัฒนานวัตกรรมและปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการด้านธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) เพื่อสร้างมาตรฐานและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีเพื่อให้ข้อมูลของกรมสรรพากรมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มีความมั่นคงปลอดภัย สามารถรักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลและบูรณาการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของกรมสรรพากร เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสรรพากร
ระบบ D-MyTax (Digital MyTax) : รวมบริการทางภาษี (One Portal)
ที่มา : กรมสรรพากรมีนโยบายการดำเนินงานภายใต้แนวคิดการยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง (Taxpayer Centric) นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและการให้บริการผู้เสียภาษีให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transformation) โดยขับเคลื่อนกรมสรรพากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “oneRD” คือ ONE TEAM และ ONE SEAMLESS TAX ECOSYSTEM “ทำภาษีให้เป็นเรื่องง่าย ให้บริการแบบไร้รอยต่อ” มีเป้าหมาย คือ ระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และครอบคลุมทั่วถึงทุกคน ด้วยกลยุทธ์มุ่งจัดเก็บภาษีที่ทั่วถึง เป็นธรรม ด้วยมาตรฐานระหว่างประเทศ และเพื่อลดช่องว่างทางภาษีให้เหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ (Zero Tax Gap) ภายใต้เป้าหมาย one RD จึงกำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ให้ผู้เสียภาษีรับบริการที่เกี่ยวกับภาษีได้จบในระบบเดียว (One Portal)
Pain Point ของผู้เสียภาษี
1) มีการเข้าใช้ระบบงานและการยืนยันตัวตนในแต่ละระบบงานที่หลากหลาย
2) มีการให้บริการด้านภาษี มีหลากหลายรูปแบบตามประสบการณ์การใช้งาน (UX/UI) ของผู้เสียภาษี
3) ต้องนำส่งเอกสารหลักฐานให้กรมสรรพากร เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการและขอคืนภาษี
Pain Point ของกรมสรรพากร
1) ระบบงานที่ให้บริการของกรมสรรพากร ที่ให้บริการผู้เสียภาษีแต่ละประเภท มีการเข้าใช้ (Login) พิสูจน์และยืนยันตัวตนที่แตกต่างกัน
2) เจ้าหน้าที่ต้องพัฒนาระบบการให้บริการ และออกแบบระบบงานที่แตกต่างกัน เพื่อให้บริการผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
3) เจ้าหน้าที่จะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลแบบแสดงรายการ ข้อมูลการคืนภาษี ข้อมูลการบริจาค และข้อมูลทางภาษีจากทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
ระบบ D-MyTax (Digital MyTax) : รวมบริการทางภาษี (One Portal) เป็นระบบงานที่พัฒนาขึ้นเพื่อยกระดับการบริการ โดยรวมบริการด้านภาษีจบได้ในระบบเดียว ที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี ทั้งบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นิติบุคคล และนิติบุคคลจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยบูรณาการบริการระบบงาน เน้นการได้รับประสบการณ์ที่ดีของผู้เสียภาษีตามหลักการออกแบบระบบด้วย UX/UI ผ่านการยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียวด้วยระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ทำให้สามารถเข้าถึงบริการภาษีได้ง่าย สะดวก ปลอดภัยและตรงใจผู้เสียภาษี โดยมีระบบที่เปิดให้บริการสำหรับบุคคลธรรมดา ได้แก่ ระบบ My Tax Account ระบบการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมสรรพากรกับหน่วยงานภาครัฐ ระบบแจ้งเบาะแสหลีกเลี่ยงภาษี ระบบนัดหมาย (E-Appointment) เพื่อให้คำปรึกษาประเด็นภาษีระหว่างประเทศ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวและระบบคำขอให้จัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีหรือผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียนและระบบที่เปิดให้บริการสำหรับนิติบุคคล ได้แก่ ระบบการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมสรรพากรกับหน่วยงานภาครัฐ ระบบแจ้งเบาะแสหลีกเลี่ยงภาษี ระบบนัดหมาย (E-Appointment) เพื่อให้คำปรึกษาประเด็นภาษีระหว่างประเทศ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ระบบคำขอให้จัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีหรือผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน และระบบขออนุมัติเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) รวมทั้งให้บริการข่าวสารประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับตามประเภทผู้เสียภาษีโดยมีเป้าหมาย เพื่อ
- อำนวยความสะดวกการใช้ระบบบริการในรูปแบบ One Portal โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการเข้าใช้บริการทางภาษีได้ง่ายด้วยการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนเพียงครั้งเดียว
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เสียภาษี ด้วยระบบการยืนยันตัวตนที่มีความปลอดภัยสูงในการเข้าถึงระบบงานด้วย Digital ID ได้แก่ แอปพลิเคชัน ThaID แอปพลิเคชันเป๋าตัง และแอปพลิเคชันธนาคาร (NDID)
- ให้บริการทางภาษีที่ตรงตามประเภทผู้เสียภาษี สำหรับผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการยื่นภาษีของปีภาษีก่อนหน้า ข้อมูลการยื่นสำหรับปีภาษีปัจจุบันที่มีข้อมูลรายได้ เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อ หรือเช่าซื้ออาคารที่อยู่อาศัย เงินบริจาค (e-Donation) เป็นต้น
- ให้บริการตรวจสอบข้อมูล ยื่นแบบออนไลน์ และติดตามสถานะการขอคืนภาษีได้ด้วยบริการแบบไร้รอยต่อ ผู้เสียภาษีสามารถตรวจสอบข้อมูล ข้อมูลรายได้ ข้อมูลค่าลดหย่อน และยื่นแบบโดยใช้ข้อมูล(Prefilled) บนระบบยื่นแบบออนไลน์ (e-Filing) รวมทั้งติดตามสถานะการยื่นแบบและขอคืนภาษีได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ประชาชนหรือผู้เสียภาษีได้รับประโยชน์ ดังนี้
1) เข้าใช้บริการทางภาษีได้ง่าย ด้วยการยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียว สามารถเข้าใช้ได้ทุกบริการตามประเภทผู้เสียภาษี และสร้างประสบการณ์การใช้งาน (UX/UI) ที่ดีแก่ผู้เสียภาษี
2) ได้รับความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลรายได้และค่าลดหย่อนทางภาษีก่อนการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ที่กรมสรรพากรได้รับจากข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมบัญชีกลาง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ บริษัทประกัน เป็นต้น
3) ลดความผิดพลาดในการกรอกแบบและการคำนวณภาษี โดยจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ
4) ได้รับบริการที่ตรงใจ ตอบสนองความต้องการของผู้เสียภาษี และได้รับเงินคืนภาษีรวดเร็วยิ่งขึ้น
5) สร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถเข้าใช้ให้บริการได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ และการให้บริการประชาชนออนไลน์ (Online Service) :
1) ช่องทางการเข้าใช้บริการ : เข้าสู่บริการผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th เลือกระบบ D-Mytax (Digital MyTax)
2) การให้บริการ : https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/authen/ONE
บทบาท/ภารกิจของกรมสรรพากร
กรมสรรพากรมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี การเสนอแนะ และการใช้นโยบายทางภาษีอากรเพื่อให้ได้ภาษีตามเป้าหมายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเป็นกลไกในการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและเกิดความสมัครใจในการเสียภาษีโดยกรมสรรพากรได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในทุกกระบวนงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นกรมสรรพากรดิจิทัล และพัฒนานวัตกรรมบริการทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง (Taxpayer Centric) เช่น ระบบ D-MyTax (Digital MyTax) : รวมบริการทางภาษี (One Portal) ระบบการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ระบบคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว (VRT) ระบบงานภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างง่ายสำหรับการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (VAT for Electronic Service : VES) บริการยื่นรายงานข้อมูลรายประเทศ (Country by Country Report : CbCR) การรายงานข้อมูลบัญชีทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทั่วไป (Common Reporting Standard: CRS) ระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Stamp Duty) ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice & e-Receipt) น้องอารี Chatbot เป็นต้น โดยมีการพัฒนานวัตกรรมและปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการด้านธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) เพื่อสร้างมาตรฐานและแนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลที่ดีเพื่อให้ข้อมูลของกรมสรรพากรมีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน มีความมั่นคงปลอดภัย สามารถรักษาความเป็นส่วนบุคคล และสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลและบูรณาการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของกรมสรรพากร เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสรรพากร
ระบบ D-MyTax (Digital MyTax) : รวมบริการทางภาษี (One Portal)
ที่มา : กรมสรรพากรมีนโยบายการดำเนินงานภายใต้แนวคิดการยึดผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง (Taxpayer Centric) นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและการให้บริการผู้เสียภาษีให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transformation) โดยขับเคลื่อนกรมสรรพากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย “oneRD” คือ ONE TEAM และ ONE SEAMLESS TAX ECOSYSTEM “ทำภาษีให้เป็นเรื่องง่าย ให้บริการแบบไร้รอยต่อ” มีเป้าหมาย คือ ระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และครอบคลุมทั่วถึงทุกคน ด้วยกลยุทธ์มุ่งจัดเก็บภาษีที่ทั่วถึง เป็นธรรม ด้วยมาตรฐานระหว่างประเทศ และเพื่อลดช่องว่างทางภาษีให้เหลือน้อยที่สุดจนเป็นศูนย์ (Zero Tax Gap) ภายใต้เป้าหมาย one RD จึงกำหนดเป้าหมายผลลัพธ์ให้ผู้เสียภาษีรับบริการที่เกี่ยวกับภาษีได้จบในระบบเดียว (One Portal)
Pain Point ของผู้เสียภาษี
1) มีการเข้าใช้ระบบงานและการยืนยันตัวตนในแต่ละระบบงานที่หลากหลาย
2) มีการให้บริการด้านภาษี มีหลากหลายรูปแบบตามประสบการณ์การใช้งาน (UX/UI) ของผู้เสียภาษี
3) ต้องนำส่งเอกสารหลักฐานให้กรมสรรพากร เพื่อประกอบการยื่นแบบแสดงรายการและขอคืนภาษี
Pain Point ของกรมสรรพากร
1) ระบบงานที่ให้บริการของกรมสรรพากร ที่ให้บริการผู้เสียภาษีแต่ละประเภท มีการเข้าใช้ (Login) พิสูจน์และยืนยันตัวตนที่แตกต่างกัน
2) เจ้าหน้าที่ต้องพัฒนาระบบการให้บริการ และออกแบบระบบงานที่แตกต่างกัน เพื่อให้บริการผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
3) เจ้าหน้าที่จะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลแบบแสดงรายการ ข้อมูลการคืนภาษี ข้อมูลการบริจาค และข้อมูลทางภาษีจากทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
ระบบ D-MyTax (Digital MyTax) : รวมบริการทางภาษี (One Portal) เป็นระบบงานที่พัฒนาขึ้นเพื่อยกระดับการบริการ โดยรวมบริการด้านภาษีจบได้ในระบบเดียว ที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษี ทั้งบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นิติบุคคล และนิติบุคคลจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยบูรณาการบริการระบบงาน เน้นการได้รับประสบการณ์ที่ดีของผู้เสียภาษีตามหลักการออกแบบระบบด้วย UX/UI ผ่านการยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียวด้วยระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) ทำให้สามารถเข้าถึงบริการภาษีได้ง่าย สะดวก ปลอดภัยและตรงใจผู้เสียภาษี โดยมีระบบที่เปิดให้บริการสำหรับบุคคลธรรมดา ได้แก่ ระบบ My Tax Account ระบบการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมสรรพากรกับหน่วยงานภาครัฐ ระบบแจ้งเบาะแสหลีกเลี่ยงภาษี ระบบนัดหมาย (E-Appointment) เพื่อให้คำปรึกษาประเด็นภาษีระหว่างประเทศ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวและระบบคำขอให้จัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีหรือผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียนและระบบที่เปิดให้บริการสำหรับนิติบุคคล ได้แก่ ระบบการยื่นแบบและชำระภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ระบบเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมสรรพากรกับหน่วยงานภาครัฐ ระบบแจ้งเบาะแสหลีกเลี่ยงภาษี ระบบนัดหมาย (E-Appointment) เพื่อให้คำปรึกษาประเด็นภาษีระหว่างประเทศ ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ระบบคำขอให้จัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีหรือผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน และระบบขออนุมัติเป็นศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) รวมทั้งให้บริการข่าวสารประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับตามประเภทผู้เสียภาษีโดยมีเป้าหมาย เพื่อ
- อำนวยความสะดวกการใช้ระบบบริการในรูปแบบ One Portal โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการเข้าใช้บริการทางภาษีได้ง่ายด้วยการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนเพียงครั้งเดียว
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เสียภาษี ด้วยระบบการยืนยันตัวตนที่มีความปลอดภัยสูงในการเข้าถึงระบบงานด้วย Digital ID ได้แก่ แอปพลิเคชัน ThaID แอปพลิเคชันเป๋าตัง และแอปพลิเคชันธนาคาร (NDID)
- ให้บริการทางภาษีที่ตรงตามประเภทผู้เสียภาษี สำหรับผู้เสียภาษีบุคคลธรรมดา และบุคคลธรรมดาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการยื่นภาษีของปีภาษีก่อนหน้า ข้อมูลการยื่นสำหรับปีภาษีปัจจุบันที่มีข้อมูลรายได้ เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อ หรือเช่าซื้ออาคารที่อยู่อาศัย เงินบริจาค (e-Donation) เป็นต้น
- ให้บริการตรวจสอบข้อมูล ยื่นแบบออนไลน์ และติดตามสถานะการขอคืนภาษีได้ด้วยบริการแบบไร้รอยต่อ ผู้เสียภาษีสามารถตรวจสอบข้อมูล ข้อมูลรายได้ ข้อมูลค่าลดหย่อน และยื่นแบบโดยใช้ข้อมูล(Prefilled) บนระบบยื่นแบบออนไลน์ (e-Filing) รวมทั้งติดตามสถานะการยื่นแบบและขอคืนภาษีได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ประชาชนหรือผู้เสียภาษีได้รับประโยชน์ ดังนี้
1) เข้าใช้บริการทางภาษีได้ง่าย ด้วยการยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียว สามารถเข้าใช้ได้ทุกบริการตามประเภทผู้เสียภาษี และสร้างประสบการณ์การใช้งาน (UX/UI) ที่ดีแก่ผู้เสียภาษี
2) ได้รับความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลรายได้และค่าลดหย่อนทางภาษีก่อนการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90/91) ที่กรมสรรพากรได้รับจากข้อมูลจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กรมบัญชีกลาง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ บริษัทประกัน เป็นต้น
3) ลดความผิดพลาดในการกรอกแบบและการคำนวณภาษี โดยจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 90/91 ผ่านอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ
4) ได้รับบริการที่ตรงใจ ตอบสนองความต้องการของผู้เสียภาษี และได้รับเงินคืนภาษีรวดเร็วยิ่งขึ้น
5) สร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูล และสามารถเข้าใช้ให้บริการได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ และการให้บริการประชาชนออนไลน์ (Online Service) :
1) ช่องทางการเข้าใช้บริการ : เข้าสู่บริการผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th เลือกระบบ D-Mytax (Digital MyTax)
2) การให้บริการ : https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/authen/ONE
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2557 ให้สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจมีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐโดยการเสนอแนะนโยบายและมาตรการการกํากับดูแลการประเมินผลและการพัฒนารัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพย์สินของรัฐ โดยให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) เสนอแนะนโยบาย แผน กฎหมาย ระเบียบ และมาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ
2) กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล และพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน กฎหมาย และมาตรการเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
3) ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการของการบริหารและพัฒนาองค์กรแก่รัฐวิสาหกิจ
4) ดำเนินการบริหารหลักทรัพย์ของรัฐในรัฐวิสาหกิจและกิจการที่รัฐถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
5) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
การดำเนินการข้อตกลงคุณธรรมในโครงการร่วมลงทุนที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

ช่องทางการติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม :
Facebook page | สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง |
sepo.mof | |
X | @sepo_mof |
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
อำนาจหน้าที่ตามกฎกระทรวงกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2557 ให้สํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจมีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐโดยการเสนอแนะนโยบายและมาตรการการกํากับดูแลการประเมินผลและการพัฒนารัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพย์สินของรัฐ โดยให้มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) เสนอแนะนโยบาย แผน กฎหมาย ระเบียบ และมาตรการที่เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ
2) กำกับ ดูแล ติดตาม ประเมินผล และพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน กฎหมาย และมาตรการเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจ
3) ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการของการบริหารและพัฒนาองค์กรแก่รัฐวิสาหกิจ
4) ดำเนินการบริหารหลักทรัพย์ของรัฐในรัฐวิสาหกิจและกิจการที่รัฐถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
5) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
การดำเนินการข้อตกลงคุณธรรมในโครงการร่วมลงทุนที่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562

ช่องทางการติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม :
Facebook page | สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง |
sepo.mof | |
X | @sepo_mof |
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ โดยการวางแผนกำกับและดำเนินการก่อหนี้ ค้ำประกัน และปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรวมทั้งการติดตามและประเมินผลเพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างความยั่งยืนทางการคลังและการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) เสนอแนะนโยบายและหลักเกณฑ์ รวมทั้งการจัดทำแผนเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ
2) กำกับและดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหนี้ที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังให้กู้ต่อหรือค้ำประกัน รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ผูกพันกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องตลอดจนติดตามและประเมินผล
3) จัดทำงบชำระหนี้ของรัฐบาล รวมทั้งการบริหารและดำเนินการชำระหนี้
4) ประสานการทำความตกลงในระดับนโยบาย รวมทั้งการจัดทำแผนความช่วยเหลือ ทางการเงินและวิชาการกับแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
5) ติดตามภาวะตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งเทคนิคในการบริหารหนี้สาธารณะและการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
6) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
7) ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศ รวมทั้งจัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านหนี้สาธารณะ ระบบการบริหารความเสี่ยง และระบบเตือนภัยเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ
8) พิจารณาความเหมาะสมของการระดมเงินสำหรับโครงการลงทุนของภาครัฐ
9) พัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาให้เป็นศูนย์ในระดับภูมิภาค และส่งเสริมกิจการที่ปรึกษาไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ
10) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฐานะการเงินการคลังของประเทศ ภาวะการค้าการลงทุน การเมืองในประเทศและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจโลก
11) ปฏิบัติหน้าที่งานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
12) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
พันธบัตรออมทรัพย์บนวอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง)
สบน.ได้ระดมทุนผ่านการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งการออมที่มีคุณภาพส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการออมและสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียม (Financial Inclusion) โดยปัจจุบันได้พัฒนาให้เป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสารเพื่อลดความยุ่งยากในการเก็บรักษา เพิ่มความปลอดภัยในการลงทุน มีการกำหนดวงเงินลงทุนขั้นต่ำที่ไม่สูงมากและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์จะอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคารทั่วไปซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายหลัก ประกอบด้วย 2 ช่องทาง ได้แก่ วอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตังและช่องทางต่างๆ ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายซึ่งรวมถึงแอปพลิเคชันของแต่ละธนาคารตัวแทนจำหน่ายด้วย นอกจากนี้สบน.ได้ปรับปรุงการจัดสรรพันธบัตรให้กระจายถึงผู้ซื้อรายย่อยอย่างทั่วถึงโดยวิธีการจัดสรรแบบ Small Lot First ซึ่งผู้ที่จองซื้อด้วยจำนวนน้อยกว่าจะได้รับการจัดสรรก่อน ทั้งนี้ในอนาคต สบน.จะได้พัฒนาพันธบัตรออมทรัพย์ให้มีความหลากหลายและทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนในยุคดิจิทัล
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ โดยการวางแผนกำกับและดำเนินการก่อหนี้ ค้ำประกัน และปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาลหน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรวมทั้งการติดตามและประเมินผลเพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างความยั่งยืนทางการคลังและการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1) เสนอแนะนโยบายและหลักเกณฑ์ รวมทั้งการจัดทำแผนเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ
2) กำกับและดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นหนี้ที่หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังให้กู้ต่อหรือค้ำประกัน รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติตามสัญญาที่ได้ผูกพันกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องตลอดจนติดตามและประเมินผล
3) จัดทำงบชำระหนี้ของรัฐบาล รวมทั้งการบริหารและดำเนินการชำระหนี้
4) ประสานการทำความตกลงในระดับนโยบาย รวมทั้งการจัดทำแผนความช่วยเหลือ ทางการเงินและวิชาการกับแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ
5) ติดตามภาวะตลาดเงินและตลาดทุน รวมทั้งเทคนิคในการบริหารหนี้สาธารณะและการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ
6) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
7) ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศ รวมทั้งจัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านหนี้สาธารณะ ระบบการบริหารความเสี่ยง และระบบเตือนภัยเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ
8) พิจารณาความเหมาะสมของการระดมเงินสำหรับโครงการลงทุนของภาครัฐ
9) พัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาให้เป็นศูนย์ในระดับภูมิภาค และส่งเสริมกิจการที่ปรึกษาไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ
10) ติดตามและประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฐานะการเงินการคลังของประเทศ ภาวะการค้าการลงทุน การเมืองในประเทศและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจโลก
11) ปฏิบัติหน้าที่งานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
12) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานหรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
พันธบัตรออมทรัพย์บนวอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง)
สบน.ได้ระดมทุนผ่านการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลังมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งการออมที่มีคุณภาพส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการออมและสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียม (Financial Inclusion) โดยปัจจุบันได้พัฒนาให้เป็นพันธบัตรแบบไร้ใบตราสารเพื่อลดความยุ่งยากในการเก็บรักษา เพิ่มความปลอดภัยในการลงทุน มีการกำหนดวงเงินลงทุนขั้นต่ำที่ไม่สูงมากและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรออมทรัพย์จะอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคารทั่วไปซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายหลัก ประกอบด้วย 2 ช่องทาง ได้แก่ วอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชันเป๋าตังและช่องทางต่างๆ ของธนาคารตัวแทนจำหน่ายซึ่งรวมถึงแอปพลิเคชันของแต่ละธนาคารตัวแทนจำหน่ายด้วย นอกจากนี้สบน.ได้ปรับปรุงการจัดสรรพันธบัตรให้กระจายถึงผู้ซื้อรายย่อยอย่างทั่วถึงโดยวิธีการจัดสรรแบบ Small Lot First ซึ่งผู้ที่จองซื้อด้วยจำนวนน้อยกว่าจะได้รับการจัดสรรก่อน ทั้งนี้ในอนาคต สบน.จะได้พัฒนาพันธบัตรออมทรัพย์ให้มีความหลากหลายและทันสมัยมากยิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนในยุคดิจิทัล
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวง
1. กำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง
2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานของกระทรวง รวมทั้งการแปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาบุคลากรของกระทรวง รวมถึงการกำหนดนโยบายและวางแผนเพื่อบริหารและพัฒนาบุคลากรของกระทรวง
4. ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
6. เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการคลังแก่สาธารณชนเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
7. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของกระทรวง ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายและแผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของข้อมูลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
8. บูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามทุจริตและการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในกระทรวง
เว็บไซต์หน่วยงานเพิ่มเติม :
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวง
1. กำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวง
2. พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารงานของกระทรวง รวมทั้งการแปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการ
3. ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาบุคลากรของกระทรวง รวมถึงการกำหนดนโยบายและวางแผนเพื่อบริหารและพัฒนาบุคลากรของกระทรวง
4. ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ของส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
6. เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศด้านการคลังแก่สาธารณชนเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
7. เป็นศูนย์ข้อมูลสารสนเทศของกระทรวง ตลอดจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับนโยบายและแผนการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งการใช้ประโยชน์ของข้อมูลของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
8. บูรณาการและขับเคลื่อนแผนการป้องกันและปราบปรามทุจริตและการส่งเสริมคุ้มครองจริยธรรมในกระทรวง
เว็บไซต์หน่วยงานเพิ่มเติม :
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
สศค. มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะและการจัดทำนโยบายและมาตรการด้านการคลัง ระบบการเงิน รวมทั้งเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาระบบบริหารที่มีมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ติดตาม กำกับ ประเมิน และรายงานผลการดำเนินนโยบายหรือมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง ตลอดจนการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและการยอมรับในนโยบายและผลงานให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน และหน่วยงานทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยสนับสนุนเงิน 10,000 บาทต่อคน ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนและช่องทางรับเงินที่กำหนดแก่กลุ่มเป้าหมายรวม 14.55 ล้านคน (ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 12.40 ล้านคน และคนพิการ 2.15 ล้านคน) ซึ่งกระทรวงการคลังได้จ่ายเงินแก่กลุ่มเป้าหมายตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน ถึง 19 ธันวาคม 2567 สำเร็จ 14.45 ล้านคน สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 144,501.68 ล้านบาท และจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ได้รับสิทธิจำนวนตัวอย่าง 31,500 คน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีการใช้จ่าย 3 อันดับแรก ได้แก่ ซื้ออาหาร/เครื่องดื่ม ซื้อของใช้ในครัวเรือน และชำระค่าสาธารณูปโภค ส่วนสถานที่ใช้จ่าย 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้านค้าในชุมชน หาบเร่แผงลอย และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการในการบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่จำเป็น ยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มการบริโภคที่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ในช่วงปลายปี 2567
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
สศค. มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะและการจัดทำนโยบายและมาตรการด้านการคลัง ระบบการเงิน รวมทั้งเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาระบบบริหารที่มีมาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ติดตาม กำกับ ประเมิน และรายงานผลการดำเนินนโยบายหรือมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลัง ตลอดจนการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและการยอมรับในนโยบายและผลงานให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ประชาชน และหน่วยงานทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยสนับสนุนเงิน 10,000 บาทต่อคน ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนและช่องทางรับเงินที่กำหนดแก่กลุ่มเป้าหมายรวม 14.55 ล้านคน (ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 12.40 ล้านคน และคนพิการ 2.15 ล้านคน) ซึ่งกระทรวงการคลังได้จ่ายเงินแก่กลุ่มเป้าหมายตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน ถึง 19 ธันวาคม 2567 สำเร็จ 14.45 ล้านคน สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 144,501.68 ล้านบาท และจากผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ได้รับสิทธิจำนวนตัวอย่าง 31,500 คน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่ามีการใช้จ่าย 3 อันดับแรก ได้แก่ ซื้ออาหาร/เครื่องดื่ม ซื้อของใช้ในครัวเรือน และชำระค่าสาธารณูปโภค ส่วนสถานที่ใช้จ่าย 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้านค้าในชุมชน หาบเร่แผงลอย และร้านสะดวกซื้อ ซึ่งสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการในการบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่จำเป็น ยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มการบริโภคที่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ในช่วงปลายปี 2567
บทบาท/ภารกิจของกรมบัญชีกลาง
กรมบัญชีกลางมีภารกิจเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินและหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปโดยถูกต้อง มีวินัย คุ้มค่า โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยการวางกรอบหลักเกณฑ์กลางให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ การให้บริการคำแนะนำปรึกษาด้านการเงิน การคลัง การบัญชี การตรวจสอบภายใน การบริหารเงินนอกงบประมาณ และการพัสดุภาครัฐ การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารเงินคงคลังให้มีใช้จ่ายอย่างเพียงพอ และการเสนอข้อมูลในเชิงนโยบายการคลังแก่ฝ่ายบริหาร โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางการคลัง รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการคลังภาครัฐ การกำกับดูแลนโยบาย และมาตรฐานค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากรภาครัฐ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมบัญชีกลาง
1. การจัดสัมมนา โครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567
- หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต โดยมาตรา 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต หรือ “คณะกรรมการ ค.ป.ท.” อาจกำหนดให้มีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมสร้างความโปร่งใส่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ โดยมีหลักการดำเนินงานสำคัญ คือ การจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง และให้มีผู้สังเกตการณ์ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นเข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ ทั้งนี้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามหลักการดังกล่าวถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560 (ประกาศ IP) นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (โครงการ IP) รวมจำนวนทั้งสิ้น 162 โครงการ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโครงการ IP ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน จำนวน 118 โครงการ และโครงการ IP สิ้นสุดการดำเนินงาน จำนวน 44 โครงการ โดยมีผู้สังเกตการณ์ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในโครงการ IP ต่าง ๆ จำนวน 190 ราย (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567) ทั้งนี้ นอกจากผู้สังเกตการณ์จะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการ IP แล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงประกาศ IP และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมากรมบัญชีกลางได้มีการทบทวนและปรับแก้ไขแนวทางและวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐอยู่เสมอ ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการ IP ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและทราบถึงแนวทางและวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้การจัดทำข้อตกลงคุณธรรมบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามหลักการที่กฎหมายกำหนดไว้
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินโครงการ IP เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม กรมบัญชีกลางในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ค.ป.ท. และศูนย์ประสานงานข้อตกลงคุณธรรมจึงได้กำหนดจัดสัมมนาโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ” หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) สำหรับภาคประชาสังคม” และหลักสูตร “ระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมทุกฝ่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้กรมบัญชีกลางนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ IP ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป
- วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้สังเกตการณ์และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท มอบหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
2.2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามประกาศ IP และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดเพิ่มเติม
2.3 เพื่อให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปฏิบัติงาน ผ่านระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System)
- ขอบเขตการเรียนรู้
3.1 การดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
3.2 การดำเนินการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามประกาศ IP และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดเพิ่มเติม
3.3 การปฏิบัติงานผ่านระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) สำหรับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ
- กลุ่มเป้าหมาย
เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมาย
- ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- สถานที่ดำเนินการ
สถานที่ของส่วนราชการและเอกชน
- วิธีการ/รูปแบบการฝึกอบรม
โดยวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีตามความเหมาะสมในการเรียนรู้ อาทิ บรรยาย อภิปราย เสวนาถ่ายทอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และฝึกปฏิบัติในห้องเรียน (On Site)
- วิทยากร
วิทยากรภาครัฐและภาคเอกชน
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบรายจ่ายอื่น รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
- ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
10.1 ผู้เข้ารับการอบรมให้ความสำคัญต่อการฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าว โดยมีระยะเวลาเข้ารับการอบรมเฉลี่ยในภาพรวม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาอบรมตลอดหลักสูตร
10.2 ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- การประเมินผลโครงการ
ประเมินผลการบริหารหลักสูตร ณ สิ้นสุดการฝึกอบรม
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12.1 เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมาย มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานโครงการ IP ได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
12.2 เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานผ่านระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองความร่วมมือและโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
รายละเอียดของเนื้อหาวิชา
การจัดสัมมนาโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567
หลักสูตร การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ
กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่มีที่ตั้งของหน่วยงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- วิชา การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
1.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทราบถึงแนวทางการดำเนินงานของภาครัฐ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
1.2 ขอบเขตรายวิชา
แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
1.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
1.4 วิทยากร กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
1.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 3 ชั่วโมง
- วิชา แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
2.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (โครงการ IP) ตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรมการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ประกาศ IP) ตลอดจนแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดเพิ่มเติม
2.2 ขอบเขตรายวิชา แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ IP ตามประกาศ IP และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
2.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
2.4 วิทยากร กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
2.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 3 ชั่วโมง
รายละเอียดของเนื้อหาวิชา
การจัดสัมมนาโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567
หลักสูตร การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) สำหรับภาคประชาสังคม
กลุ่มที่ 2 ผู้สังเกตการณ์และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมาย
- วิชา แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
1.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานในโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (โครงการ IP) ตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรมการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ประกาศ IP) ตลอดจนแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดเพิ่มเติม
1.2 ขอบเขตรายวิชา
แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ IP ตามประกาศ IP และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
1.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
1.4 วิทยากร กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
1.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 1.5 ชั่วโมง
- วิชา การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
2.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง
2.2 ขอบเขตรายวิชา
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง
2.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
2.4 วิทยากร กองการพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
2.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 4.5 ชั่วโมง
- วิชา กรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐที่น่าสนใจ
3.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3.2 ขอบเขตรายวิชา
กรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ อาทิ ข้อร้องเรียน อุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
3.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
3.4 วิทยากร กองการพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
3.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 6 ชั่วโมง
รายละเอียดของเนื้อหาวิชา
การจัดสัมมนาโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567
หลักสูตร ระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System)
กลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานในโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
- วิชา การใช้งานระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System)
1.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานผ่านระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
1.2 ขอบเขตรายวิชา
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) ได้แก่
- ภาพรวมระบบ
- ระบบเปิดเผยข้อมูล
- ระบบการแจ้งโครงการ
- ระบบการลงทะเบียน
- ระบบการนัดหมาย
- ระบบการจัดทำรายงานการสังเกตการณ์ (Notification Report : NR)
- ระบบการจัดทำรายงานประจำเดือน
- ระบบการจัดทำรายงานประจำปี
- ระบบการแจ้งยกเลิกโครงการ
- ระบบการแจ้งสิ้นสุดโครงการ
1.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและฝึกปฏิบัติ
1.4 วิทยากร กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง และภาคเอกชน
1.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 6 ชั่วโมง
บทบาท/ภารกิจของกรมบัญชีกลาง
กรมบัญชีกลางมีภารกิจเกี่ยวกับการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินและหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปโดยถูกต้อง มีวินัย คุ้มค่า โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยการวางกรอบหลักเกณฑ์กลางให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ การให้บริการคำแนะนำปรึกษาด้านการเงิน การคลัง การบัญชี การตรวจสอบภายใน การบริหารเงินนอกงบประมาณ และการพัสดุภาครัฐ การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารเงินคงคลังให้มีใช้จ่ายอย่างเพียงพอ และการเสนอข้อมูลในเชิงนโยบายการคลังแก่ฝ่ายบริหาร โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางการคลัง รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินผลการคลังภาครัฐ การกำกับดูแลนโยบาย และมาตรฐานค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากรภาครัฐ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมบัญชีกลาง
1. การจัดสัมมนา โครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567
- หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้บัญญัติหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต โดยมาตรา 17 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต หรือ “คณะกรรมการ ค.ป.ท.” อาจกำหนดให้มีการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ตามโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมสร้างความโปร่งใส่ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ โดยมีหลักการดำเนินงานสำคัญ คือ การจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอ โดยทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง และให้มีผู้สังเกตการณ์ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นเข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอนสิ้นสุดโครงการ ทั้งนี้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามหลักการดังกล่าวถือปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560 (ประกาศ IP) นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน มีโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (โครงการ IP) รวมจำนวนทั้งสิ้น 162 โครงการ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นโครงการ IP ที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน จำนวน 118 โครงการ และโครงการ IP สิ้นสุดการดำเนินงาน จำนวน 44 โครงการ โดยมีผู้สังเกตการณ์ที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในโครงการ IP ต่าง ๆ จำนวน 190 ราย (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2567) ทั้งนี้ นอกจากผู้สังเกตการณ์จะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการ IP แล้ว ยังต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงประกาศ IP และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมากรมบัญชีกลางได้มีการทบทวนและปรับแก้ไขแนวทางและวิธีปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐอยู่เสมอ ตลอดจนการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการ IP ทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและทราบถึงแนวทางและวิธีปฏิบัติในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้การจัดทำข้อตกลงคุณธรรมบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามหลักการที่กฎหมายกำหนดไว้
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินโครงการ IP เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม กรมบัญชีกลางในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ค.ป.ท. และศูนย์ประสานงานข้อตกลงคุณธรรมจึงได้กำหนดจัดสัมมนาโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567 ประกอบด้วย 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ” หลักสูตร “การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) สำหรับภาคประชาสังคม” และหลักสูตร “ระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมทุกฝ่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อให้กรมบัญชีกลางนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ IP ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป
- วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้ผู้สังเกตการณ์และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท มอบหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
2.2 เพื่อให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามประกาศ IP และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดเพิ่มเติม
2.3 เพื่อให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปฏิบัติงาน ผ่านระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System)
- ขอบเขตการเรียนรู้
3.1 การดำเนินงานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
3.2 การดำเนินการจัดทำข้อตกลงคุณธรรมตามประกาศ IP และแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดเพิ่มเติม
3.3 การปฏิบัติงานผ่านระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) สำหรับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ
- กลุ่มเป้าหมาย
เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมาย
- ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- สถานที่ดำเนินการ
สถานที่ของส่วนราชการและเอกชน
- วิธีการ/รูปแบบการฝึกอบรม
โดยวิธีการหนึ่งหรือหลายวิธีตามความเหมาะสมในการเรียนรู้ อาทิ บรรยาย อภิปราย เสวนาถ่ายทอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และฝึกปฏิบัติในห้องเรียน (On Site)
- วิทยากร
วิทยากรภาครัฐและภาคเอกชน
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
เบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบรายจ่ายอื่น รายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
- ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
10.1 ผู้เข้ารับการอบรมให้ความสำคัญต่อการฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าว โดยมีระยะเวลาเข้ารับการอบรมเฉลี่ยในภาพรวม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาอบรมตลอดหลักสูตร
10.2 ผู้เข้ารับการอบรมได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- การประเมินผลโครงการ
ประเมินผลการบริหารหลักสูตร ณ สิ้นสุดการฝึกอบรม
- ผลที่คาดว่าจะได้รับ
12.1 เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมาย มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานโครงการ IP ได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับหลักการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
12.2 เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมีความรู้ความเข้าใจ และทักษะการปฏิบัติงานผ่านระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- ผู้รับผิดชอบโครงการ
กองความร่วมมือและโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
รายละเอียดของเนื้อหาวิชา
การจัดสัมมนาโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567
หลักสูตร การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ
กลุ่มที่ 1 เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่มีที่ตั้งของหน่วยงานอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- วิชา การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
1.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทราบถึงแนวทางการดำเนินงานของภาครัฐ
เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
1.2 ขอบเขตรายวิชา
แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
1.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
1.4 วิทยากร กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
1.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 3 ชั่วโมง
- วิชา แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
2.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (โครงการ IP) ตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรมการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ประกาศ IP) ตลอดจนแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดเพิ่มเติม
2.2 ขอบเขตรายวิชา แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ IP ตามประกาศ IP และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
2.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
2.4 วิทยากร กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
2.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 3 ชั่วโมง
รายละเอียดของเนื้อหาวิชา
การจัดสัมมนาโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567
หลักสูตร การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) สำหรับภาคประชาสังคม
กลุ่มที่ 2 ผู้สังเกตการณ์และผู้แทนองค์กรที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. มอบหมาย
- วิชา แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)
1.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานในโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (โครงการ IP) ตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรมการคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 (ประกาศ IP) ตลอดจนแนวปฏิบัติที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดเพิ่มเติม
1.2 ขอบเขตรายวิชา
แนวทางและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ IP ตามประกาศ IP และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
1.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
1.4 วิทยากร กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
1.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 1.5 ชั่วโมง
- วิชา การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
2.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง
2.2 ขอบเขตรายวิชา
พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และกฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง
2.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
2.4 วิทยากร กองการพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
2.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 4.5 ชั่วโมง
- วิชา กรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐที่น่าสนใจ
3.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3.2 ขอบเขตรายวิชา
กรณีศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ อาทิ ข้อร้องเรียน อุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
3.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและซักถาม
3.4 วิทยากร กองการพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
3.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 6 ชั่วโมง
รายละเอียดของเนื้อหาวิชา
การจัดสัมมนาโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ประจำปี พ.ศ. 2567
หลักสูตร ระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System)
กลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานในโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
- วิชา การใช้งานระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System)
1.1 วัตถุประสงค์รายวิชา
เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถดำเนินงานผ่านระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
1.2 ขอบเขตรายวิชา
วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบบริหารจัดการโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact Management System) ได้แก่
- ภาพรวมระบบ
- ระบบเปิดเผยข้อมูล
- ระบบการแจ้งโครงการ
- ระบบการลงทะเบียน
- ระบบการนัดหมาย
- ระบบการจัดทำรายงานการสังเกตการณ์ (Notification Report : NR)
- ระบบการจัดทำรายงานประจำเดือน
- ระบบการจัดทำรายงานประจำปี
- ระบบการแจ้งยกเลิกโครงการ
- ระบบการแจ้งสิ้นสุดโครงการ
1.3 รูปแบบ/วิธีการ บรรยายและฝึกปฏิบัติ
1.4 วิทยากร กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง และภาคเอกชน
1.5 ระยะเวลาดำเนินการ จำนวน 6 ชั่วโมง