บทบาท/ภารกิจของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้ธุรกิจอุตสาหกรรมมีศักยภาพในการแข่งขัน พัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นที่ยอมรับของสากล โดยเน้นด้านเทคโนโลยีการผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย การอนุรักษ์พลังงาน วัตถุอันตราย และสารเคมี เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและพันธกรณีตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
สัมมนา “ระบบพัฒนาแพลตฟอร์มสู่ดิจิทัลกลาง ระยะที่ 3” รองรับการให้บริการ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดสัมมนาโครงการระบบพัฒนาแพลตฟอร์มสู่ดิจิทัลกลาง ระยะที่ 3 (DIW Digital Transformation Phase 3) เพื่อให้การบริการของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับรูปแบบของข้อมูลเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ และแสดงผลส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานแบบ real time โดยให้ได้มีความรู้ความเข้าใจในการเข้าใช้งานระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรม (i-Industry) กฎหมายเกี่ยวกับระบบทำความเย็นที่มีแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นในโรงงานและกฎหมายเกี่ยวกับการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (บฉ.5) เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิด “ระบบขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบทำความเย็นที่มีแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น” และ “ระบบการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (บฉ.5)” ให้เจ้าหน้าที่โรงงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าใช้งานผ่านระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางได้
บทบาท/ภารกิจของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม โดยการส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อผลักดันให้ธุรกิจอุตสาหกรรมมีศักยภาพในการแข่งขัน พัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นที่ยอมรับของสากล โดยเน้นด้านเทคโนโลยีการผลิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย การอนุรักษ์พลังงาน วัตถุอันตราย และสารเคมี เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและพันธกรณีตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
สัมมนา “ระบบพัฒนาแพลตฟอร์มสู่ดิจิทัลกลาง ระยะที่ 3” รองรับการให้บริการ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดสัมมนาโครงการระบบพัฒนาแพลตฟอร์มสู่ดิจิทัลกลาง ระยะที่ 3 (DIW Digital Transformation Phase 3) เพื่อให้การบริการของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปรับรูปแบบของข้อมูลเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ และแสดงผลส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานแบบ real time โดยให้ได้มีความรู้ความเข้าใจในการเข้าใช้งานระบบทะเบียนลูกค้ากระทรวงอุตสาหกรรม (i-Industry) กฎหมายเกี่ยวกับระบบทำความเย็นที่มีแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นในโรงงานและกฎหมายเกี่ยวกับการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (บฉ.5) เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิด “ระบบขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมระบบทำความเย็นที่มีแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น” และ “ระบบการแจ้งมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตราย ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบ (บฉ.5)” ให้เจ้าหน้าที่โรงงานที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าใช้งานผ่านระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางได้
บทบาท/ภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
1. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น หรือ Up Skill - Re Skill ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป คือ ให้ทักษะใหม่ เพิ่มความรู้ ความสามารถให้กับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป ผ่านการยกระดับทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็น (Reskill) สร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ไทย สอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล พัฒนาทักษะกำลังคนให้มีองค์ความรู้ ผ่านนโยบาย “One Family One Soft Power (OFOS)” ใน 14 สาขา ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรสาขาแฟชั่นให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 2,000 คน ใน 4 สาขา ได้แก่ 1) เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย (Apparel) 2) อัญมณีและเครื่องประดับ (Jewelry) 3) หัตถอุตสาหกรรม (Craft) และ 4) ผลิตภัณฑ์ความงาม (Beauty) 17 หลักสูตร โดยวิทยากรมืออาชีพ และจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ จำนวน 10 หลักสูตร บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเชื่อมโยงกับระบบ OFOS คาดว่าเกิดการจ้างงาน/สร้างรายได้/สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 200 ล้านบาท
2. โครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นไทย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นไทย (Local Chef Restaurant) ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งส่งเสริม พัฒนา และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ (Reskill) โดยเฉพาะการสร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ไทย ซึ่งสอดรับกับกลไก OFOS (One Family One Soft power) ) หรือ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ตามแนวนโยบายเรือธงสำคัญในการเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล มุ่งเน้นการสร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ชุมชนผ่านวัฒนธรรมอาหารถิ่น จำนวน 42 เมนู เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งมีการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เติบโตและเข้มแข็ง โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Local Wisdom) เพื่อยกระดับด้านมาตรฐานอาหารไทยให้เป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย จำนวน 540 ร้าน /2,160 คน ภายใน 4 ปี
3. การยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ 5.0 อย่างยั่งยืน
นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เน้นการปฏิรูปทั้งระบบของภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งปรับปรุงการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรมให้สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนเพื่อให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ซึ่งหากอุตสาหกรรมไทยเข้มแข็งก็จะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นในระยะยาว “กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ให้เติมเต็มห่วงโซ่อุตสาหกรรมในปัจจุบันและมีระบบการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืนเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้ประเทศไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
ช่องทางการติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม :
TikTok | https://www.tiktok.com/@dipromindustry |
YouTube | https://www.youtube.com/dipromstation |
บทบาท/ภารกิจของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาอุตสาหกรรม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการประกอบการที่เป็นเลิศและมีความยั่งยืนสู่สากล
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
1. โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมแฟชั่น หรือ Up Skill - Re Skill ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป คือ ให้ทักษะใหม่ เพิ่มความรู้ ความสามารถให้กับผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไป ผ่านการยกระดับทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็น (Reskill) สร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ไทย สอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล พัฒนาทักษะกำลังคนให้มีองค์ความรู้ ผ่านนโยบาย “One Family One Soft Power (OFOS)” ใน 14 สาขา ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรสาขาแฟชั่นให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็น มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 2,000 คน ใน 4 สาขา ได้แก่ 1) เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย (Apparel) 2) อัญมณีและเครื่องประดับ (Jewelry) 3) หัตถอุตสาหกรรม (Craft) และ 4) ผลิตภัณฑ์ความงาม (Beauty) 17 หลักสูตร โดยวิทยากรมืออาชีพ และจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์ จำนวน 10 หลักสูตร บนแพลตฟอร์มออนไลน์ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเชื่อมโยงกับระบบ OFOS คาดว่าเกิดการจ้างงาน/สร้างรายได้/สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 200 ล้านบาท
2. โครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นไทย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นไทย (Local Chef Restaurant) ตามนโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ ที่นี่มีแต่ให้” ผ่านกลยุทธ์ 4 ให้ 1 ปฏิรูป ที่มุ่งส่งเสริม พัฒนา และยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการ เพื่อยกระดับทักษะเดิม (Upskill) และสร้างทักษะใหม่ (Reskill) โดยเฉพาะการสร้างทักษะอาชีพในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือซอฟต์พาวเวอร์ไทย ซึ่งสอดรับกับกลไก OFOS (One Family One Soft power) ) หรือ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ตามแนวนโยบายเรือธงสำคัญในการเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล มุ่งเน้นการสร้างอาชีพและกระจายรายได้สู่ชุมชนผ่านวัฒนธรรมอาหารถิ่น จำนวน 42 เมนู เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งมีการพัฒนาบุคลากรและพัฒนาขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เติบโตและเข้มแข็ง โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน (Local Wisdom) เพื่อยกระดับด้านมาตรฐานอาหารไทยให้เป็นศูนย์กลางอาหารระดับโลก (Global Food Hub) ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่นอาหารไทย จำนวน 540 ร้าน /2,160 คน ภายใน 4 ปี
3. การยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่ 5.0 อย่างยั่งยืน
นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เน้นการปฏิรูปทั้งระบบของภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ รวมทั้งปรับปรุงการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรมให้สอดรับต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนเพื่อให้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ซึ่งหากอุตสาหกรรมไทยเข้มแข็งก็จะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นในระยะยาว “กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจยุคใหม่ให้เติมเต็มห่วงโซ่อุตสาหกรรมในปัจจุบันและมีระบบการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความยั่งยืนเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้มีความเข้มแข็งเพื่อให้ประเทศไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน”
ช่องทางการติดต่อสื่อสารเพิ่มเติม :
TikTok | https://www.tiktok.com/@dipromindustry |
YouTube | https://www.youtube.com/dipromstation |
บทบาท/ภารกิจของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
การจัดหาและบริหารจัดการวัตถุดิบ โดยการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โลหกรรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ ให้มีการใช้ประโยชน์แร่และโลหะอย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
โครงการ “เหมืองแร่ปลอดภัย ห่วงใยประชาชน ปี 8”
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดกิจกรรมโครงการ “เหมืองแร่ปลอดภัย ห่วงใยประชาชน ปี 8” ณ อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลบ้านแปะ ของกลุ่มผู้ประกอบการเหมืองแร่ดอยไก่เขี่ย ตําบลบ้านแปะ อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 5 ราย เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลตำบลบ้านแปะ โดยมีประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 1,000 คน สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วยการตรวจสุขภาพโดยคณะเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอ การตรวจคัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจค่าไขมัน ค่าน้ำตาลในเลือด เอ็กซเรย์ปอด และให้คําปรึกษาด้านสุขภาพ พร้อมเข้าเยี่ยมสถานประกอบการเหมืองแร่ ทั้งหมด 4 ราย ได้แก่ บริษัท เชียงใหม่ ที ดี จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่ ไท้เซียง, บริษัท เอ็มแพค ไมนิ่ง จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด เขตศิลา
บทบาท/ภารกิจของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
การจัดหาและบริหารจัดการวัตถุดิบ โดยการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โลหกรรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ ให้มีการใช้ประโยชน์แร่และโลหะอย่างมีประสิทธิภาพ และรองรับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยอย่างยั่งยืน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
โครงการ “เหมืองแร่ปลอดภัย ห่วงใยประชาชน ปี 8”
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดกิจกรรมโครงการ “เหมืองแร่ปลอดภัย ห่วงใยประชาชน ปี 8” ณ อาคารอเนกประสงค์เทศบาลตำบลบ้านแปะ ของกลุ่มผู้ประกอบการเหมืองแร่ดอยไก่เขี่ย ตําบลบ้านแปะ อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 5 ราย เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ สำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เขต 3 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ และเทศบาลตำบลบ้านแปะ โดยมีประชาชนเข้าร่วมงานประมาณ 1,000 คน สำหรับกิจกรรมในวันนี้ ประกอบด้วยการตรวจสุขภาพโดยคณะเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอ การตรวจคัดกรอง ตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจค่าไขมัน ค่าน้ำตาลในเลือด เอ็กซเรย์ปอด และให้คําปรึกษาด้านสุขภาพ พร้อมเข้าเยี่ยมสถานประกอบการเหมืองแร่ ทั้งหมด 4 ราย ได้แก่ บริษัท เชียงใหม่ ที ดี จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่ ไท้เซียง, บริษัท เอ็มแพค ไมนิ่ง จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด เขตศิลา
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
การกำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมชีวภาพให้เติบโตอย่างยั่งยืนมีเสถียรภาพ รวมทั้งสร้างความเป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายและผู้บริโภค
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
1. โครงการการเฝ้าระวังและป้อมปรามการลักลอบเผาอ้อย เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับ (Drone)
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของโรงงานน้ำตาลให้มีการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนและการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยผลักดันการใช้เทคโนโลยีในไร่อ้อยทดแทนปัญหาขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวอ้อยสดเพื่อสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดรับการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคการเกษตร การเฝ้าระวังและป้อมปรามการลักลอบเผาอ้อย เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับ (Drone) โดยคัดเลือก 10 โรงงาน ที่ผ่านเกณฑ์มาทำข้อตกลงร่วมกัน นำร่องในพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 100,000 ไร่ และคาดว่าการใช้เทคโนโลยีด้านระบบอากาศยานไร้คนขับ ร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการติดตามอ้อยในแปลง จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องสามารถใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ป้องปรามการลักลอบเผาอ้อย และสามารถขยายผลไปสู่การส่งเสริมรณรงค์ให้เกิดการผลิตอ้อยที่มีคุณภาพและตัดอ้อยสดเข้าสู่โรงงาน ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อยกระดับผลผลิตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่
2. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายร่วมกับสถาบันพลาสติก ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดการวิจัยผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมและทิศทางการขยายตัวของมูลค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของความต้องการตลาดโลก (Key drivers) และปรับเปลี่ยนพลาสติกแบบดั้งเดิมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมสู่การปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่ตอบสนองต่อผู้บริโภคในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต่อยอดงานวิจัยพลาสติกชีวภาพสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีผู้ประกอบการพลาสติก แบบดั้งเดิมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมสีเขียวทั่วไปที่ตอบสนองต่อผู้บริโภคในการใช้ วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพื่อเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ ชีวภาพต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ จำนวน 5 สถานประกอบการและมีการกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ภายในประเทศและ เสริมสร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภคในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. การส่งเสริมและพัฒนาเครื่องผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) จากใบและยอดอ้อย
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เล็งเห็นว่าการที่จะบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร แผนแม่บทย่อยเกษตรชีวภาพ เป้าหมายสินค้าเกษตรชีวภาพมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยส่งเสริมให้มีการนำวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมและพลังงานที่เกี่ยวเนื่องจึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในการส่งเสริมและพัฒนาเครื่องผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) จากใบและยอดอ้อย ประกอบด้วยเครื่องสับหยาบ เครื่องสับละเอียด เครื่องลดความชื้น และเครื่องอัดเม็ดขึ้นรูป เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีการนำใบและยอดมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า หากใบและยอดอ้อยมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเกษตรกรชาวไร่อ้อยก็จะไม่มีการเผาอ้อยซึ่งไม่มีการเผาอ้อยก็จะลดฝุ่น PM 2.5 ได้ในที่สุดสิ่งแวดล้อมของประเทศดีขึ้น ความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะลดลงตามไปด้วย
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
การกำหนดนโยบาย กำกับ ดูแล ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่องและอุตสาหกรรมชีวภาพให้เติบโตอย่างยั่งยืนมีเสถียรภาพ รวมทั้งสร้างความเป็นธรรมและรักษาผลประโยชน์ในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายและผู้บริโภค
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
1. โครงการการเฝ้าระวังและป้อมปรามการลักลอบเผาอ้อย เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับ (Drone)
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของโรงงานน้ำตาลให้มีการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนและการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยผลักดันการใช้เทคโนโลยีในไร่อ้อยทดแทนปัญหาขาดแคลนแรงงานเก็บเกี่ยวอ้อยสดเพื่อสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดรับการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในภาคการเกษตร การเฝ้าระวังและป้อมปรามการลักลอบเผาอ้อย เพื่อลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับ (Drone) โดยคัดเลือก 10 โรงงาน ที่ผ่านเกณฑ์มาทำข้อตกลงร่วมกัน นำร่องในพื้นที่ปลูกอ้อยรวม 100,000 ไร่ และคาดว่าการใช้เทคโนโลยีด้านระบบอากาศยานไร้คนขับ ร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการติดตามอ้อยในแปลง จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องสามารถใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ป้องปรามการลักลอบเผาอ้อย และสามารถขยายผลไปสู่การส่งเสริมรณรงค์ให้เกิดการผลิตอ้อยที่มีคุณภาพและตัดอ้อยสดเข้าสู่โรงงาน ลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อยกระดับผลผลิตของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสู่อุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่
2. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายร่วมกับสถาบันพลาสติก ดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) สู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อต่อยอดการวิจัยผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมและทิศทางการขยายตัวของมูลค่าการตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของความต้องการตลาดโลก (Key drivers) และปรับเปลี่ยนพลาสติกแบบดั้งเดิมที่ทำลายสิ่งแวดล้อมสู่การปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมสีเขียวที่ตอบสนองต่อผู้บริโภคในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต่อยอดงานวิจัยพลาสติกชีวภาพสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีผู้ประกอบการพลาสติก แบบดั้งเดิมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมสีเขียวทั่วไปที่ตอบสนองต่อผู้บริโภคในการใช้ วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพื่อเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ ชีวภาพต้นแบบสู่เชิงพาณิชย์ จำนวน 5 สถานประกอบการและมีการกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ภายในประเทศและ เสริมสร้างการรับรู้แก่ผู้บริโภคในการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. การส่งเสริมและพัฒนาเครื่องผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) จากใบและยอดอ้อย
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เล็งเห็นว่าการที่จะบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการเกษตร แผนแม่บทย่อยเกษตรชีวภาพ เป้าหมายสินค้าเกษตรชีวภาพมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยส่งเสริมให้มีการนำวัตถุดิบเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมและพลังงานที่เกี่ยวเนื่องจึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในการส่งเสริมและพัฒนาเครื่องผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet) จากใบและยอดอ้อย ประกอบด้วยเครื่องสับหยาบ เครื่องสับละเอียด เครื่องลดความชื้น และเครื่องอัดเม็ดขึ้นรูป เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีการนำใบและยอดมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า หากใบและยอดอ้อยมีมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเกษตรกรชาวไร่อ้อยก็จะไม่มีการเผาอ้อยซึ่งไม่มีการเผาอ้อยก็จะลดฝุ่น PM 2.5 ได้ในที่สุดสิ่งแวดล้อมของประเทศดีขึ้น ความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็จะลดลงตามไปด้วย
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
พัฒนายุทธศาสตร์ และแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนการปฏิบัติงาน จัดสรรทรัพยากร และบริหารราชการทั่วไปของกระทรวง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
1. อุตสาหกรรมวิถีใหม่หัวใจชุมชน
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การสร้างความสำเร็จอย่างสมดุลใน 4 มิติ ด้านความสามารถในการแข่งขัน การได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม การตอบโจทย์กติกาสากลด้านสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างความตระหนัก เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจและการตลาด ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมวิถีใหม่หัวใจชุมชน: Empowering SMEs to New Industry Model” เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การร่วมมือกับภาคีเครือข่าย สร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน การดำเนินโครงการสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการในการยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งผลให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกโดยมอบโล่รางวัล และการแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ดีเด่น และพัฒนาสถานประกอบการดีเด่น
2. โครงการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (One Province One Agro-Industrial Community : OPOAI-C)
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริม SMEs ของรัฐบาล ผ่านโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (One Province One Agro-Industrial Community: OPOAI-C) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มเกษตรกร โดยครอบคลุมการพัฒนาในด้าน การผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้กับกลุ่มเกษตรกรขยายช่องทางตลาดสู่ธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (Modern Trade) โดยมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2,434 ราย พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 229 ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุม 76 จังหวัด ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.90 และคาดว่าจะมียอดขายจะเพิ่มขึ้น 44.37 ล้านบาท ทั้งนี้ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความมือในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันและสร้างโอกาสทางการตลาด ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มโอกาสของสินค้าจากผู้ประกอบการ SMEs ในการเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
3. การดำเนินการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ
การดำเนินการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐซึ่งตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี โดยตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ พ.ศ. 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงขึ้น และเพื่อสนับสนุนและดำเนินงานอื่น ๆ ที่เป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้ประกอบการตามที่คณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นสมควร โดยกองทุนเป็นแหล่งเงินทุนในการลดอุปสรรคและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนรวมถึงสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการสินเชื่อ ลดโลกร้อน โครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ และโครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจ
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
พัฒนายุทธศาสตร์ และแปลงนโยบายของกระทรวงเป็นแผนการปฏิบัติงาน จัดสรรทรัพยากร และบริหารราชการทั่วไปของกระทรวง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
1. อุตสาหกรรมวิถีใหม่หัวใจชุมชน
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการส่งเสริมและพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ การสร้างความสำเร็จอย่างสมดุลใน 4 มิติ ด้านความสามารถในการแข่งขัน การได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม การตอบโจทย์กติกาสากลด้านสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างความตระหนัก เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจและการตลาด ภายใต้แนวคิด “อุตสาหกรรมวิถีใหม่หัวใจชุมชน: Empowering SMEs to New Industry Model” เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ การร่วมมือกับภาคีเครือข่าย สร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน การดำเนินโครงการสอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการในการยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งผลให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกโดยมอบโล่รางวัล และการแสดงผลงานผลิตภัณฑ์ดีเด่น และพัฒนาสถานประกอบการดีเด่น
2. โครงการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (One Province One Agro-Industrial Community : OPOAI-C)
สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นการสร้างงาน สร้างอาชีพ กระจายรายได้ และเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริม SMEs ของรัฐบาล ผ่านโครงการแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน (One Province One Agro-Industrial Community: OPOAI-C) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มเกษตรกร โดยครอบคลุมการพัฒนาในด้าน การผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ให้กับกลุ่มเกษตรกรขยายช่องทางตลาดสู่ธุรกิจการค้าสมัยใหม่ (Modern Trade) โดยมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2,434 ราย พัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ จำนวน 229 ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุม 76 จังหวัด ส่งผลให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.90 และคาดว่าจะมียอดขายจะเพิ่มขึ้น 44.37 ล้านบาท ทั้งนี้ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความมือในการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันและสร้างโอกาสทางการตลาด ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม และบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อเพิ่มโอกาสของสินค้าจากผู้ประกอบการ SMEs ในการเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
3. การดำเนินการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ
การดำเนินการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐซึ่งตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี โดยตามข้อบังคับคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ พ.ศ. 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพ เพื่อสนับสนุนการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงขึ้น และเพื่อสนับสนุนและดำเนินงานอื่น ๆ ที่เป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผู้ประกอบการตามที่คณะกรรมการบริหารพิจารณาเห็นสมควร โดยกองทุนเป็นแหล่งเงินทุนในการลดอุปสรรคและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนรวมถึงสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลให้มีศักยภาพและขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถต่อยอดพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ในช่วงที่ผ่านมาได้ดำเนินการโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการสินเชื่อ ลดโลกร้อน โครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ และโครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจ
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การดำเนินงานด้านการมาตรฐานของประเทศ โดยกำหนด ตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับรอง และมาตรฐานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ควบคุม ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่ยอมรับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก พิทักษ์สิ่งแวดล้อม และคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรม มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยตรวจสอบและรับรองให้เป็นไปตามกฎหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
1. การพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตและการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มีภารกิจหลักในการอำนวยความสะดวกและการให้บริการผู้ประกอบการเพื่อขอรับใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้า และผลิตสินค้าภายในประเทศ รวมทั้งเป็นผู้กำกับดูแลและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและเป็นธรรม สมอ. ได้มีการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตและการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อช่วยให้ สมอ. สามารถนำข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน มาใช้การปรับกลยุทธ์ขององค์กร ปรับแนวทางการทำงาน และวางแผนการทำงานในอนาคตให้รองรับการการพัฒนาของอุตสาหกรรมของประเทศ
2. การพิจารณาออกใบอนุญาต มอก. ในยุค Industry 4.0
การออกใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นภารกิจหลักของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ด้านการตรวจสอบและรับรอง เน้นความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต ซึ่งกระบวนการเดิมพบปัญหาหลายประการ เช่น เอกสารประกอบการยื่นมีจำนวนมาก เกิดความยุ่งยากและทำให้การพิจารณาออกใบอนุญาตเกิดความล่าช้าในการดำเนินการ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการเสียเวลา ค่าใช้จ่าย และโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีผู้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นจำนวนมาก สมอ. ได้พัฒนาระบบ e-License เพื่อลดระยะเวลาการดำเนินการ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนากระบวนการออกใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในขณะที่มีพนักงานเจ้าหน้าที่เท่าเดิม โดยจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าระยะเวลาในการดำเนินการออกใบอนุญาตลดลง และจำนวนใบอนุญาตที่ออกให้เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพของระบบที่ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล การดำเนินงานที่รวดเร็วขึ้น ลดต้นทุน และโปร่งใส จะช่วยให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ง่ายต่อการเริ่มต้นธุรกิจ (Ease of Doing Business) และช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การพัฒนาระบบพิจารณาขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในข่ายควบคุมแบบออนไลน์
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ใช้ระบบกลไกการให้บริการผ่านระบบออนไลน์ แบบ One Stop Service ในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์มาตรฐานบังคับของ สมอ. จำนวน 144 ผลิตภัณฑ์ และจะเพิ่มขึ้นอีก 58 ผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2568 เป็นจำนวนทั้งหมด 202 ผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาขอบข่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการยื่นคำขอซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ขอให้พิจารณาต้องขออนุญาตก่อนการทำหรือนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรหรือไม่และสามารถนำผลการพิจารณาขอบข่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไปประกอบยื่นขอตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์จะนำเข้าผ่านระบบ NSW ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เว็บไซต์หน่วยงาน :
Tiktok | |
Youtube |
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การดำเนินงานด้านการมาตรฐานของประเทศ โดยกำหนด ตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับรอง และมาตรฐานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ควบคุม ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่ยอมรับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก พิทักษ์สิ่งแวดล้อม และคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรม มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยตรวจสอบและรับรองให้เป็นไปตามกฎหมาย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
1. การพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตและการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
มีภารกิจหลักในการอำนวยความสะดวกและการให้บริการผู้ประกอบการเพื่อขอรับใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้า และผลิตสินค้าภายในประเทศ รวมทั้งเป็นผู้กำกับดูแลและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและเป็นธรรม สมอ. ได้มีการพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตและการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อช่วยให้ สมอ. สามารถนำข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน มาใช้การปรับกลยุทธ์ขององค์กร ปรับแนวทางการทำงาน และวางแผนการทำงานในอนาคตให้รองรับการการพัฒนาของอุตสาหกรรมของประเทศ
2. การพิจารณาออกใบอนุญาต มอก. ในยุค Industry 4.0
การออกใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นภารกิจหลักของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ด้านการตรวจสอบและรับรอง เน้นความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต ซึ่งกระบวนการเดิมพบปัญหาหลายประการ เช่น เอกสารประกอบการยื่นมีจำนวนมาก เกิดความยุ่งยากและทำให้การพิจารณาออกใบอนุญาตเกิดความล่าช้าในการดำเนินการ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการเสียเวลา ค่าใช้จ่าย และโอกาสทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีผู้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นจำนวนมาก สมอ. ได้พัฒนาระบบ e-License เพื่อลดระยะเวลาการดำเนินการ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนากระบวนการออกใบอนุญาตมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในขณะที่มีพนักงานเจ้าหน้าที่เท่าเดิม โดยจากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าระยะเวลาในการดำเนินการออกใบอนุญาตลดลง และจำนวนใบอนุญาตที่ออกให้เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงประสิทธิภาพของระบบที่ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล การดำเนินงานที่รวดเร็วขึ้น ลดต้นทุน และโปร่งใส จะช่วยให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ง่ายต่อการเริ่มต้นธุรกิจ (Ease of Doing Business) และช่วยผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การพัฒนาระบบพิจารณาขอบข่ายผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในข่ายควบคุมแบบออนไลน์
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ใช้ระบบกลไกการให้บริการผ่านระบบออนไลน์ แบบ One Stop Service ในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์มาตรฐานบังคับของ สมอ. จำนวน 144 ผลิตภัณฑ์ และจะเพิ่มขึ้นอีก 58 ผลิตภัณฑ์ ภายในปี 2568 เป็นจำนวนทั้งหมด 202 ผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิจารณาขอบข่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการยื่นคำขอซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ขอให้พิจารณาต้องขออนุญาตก่อนการทำหรือนำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรหรือไม่และสามารถนำผลการพิจารณาขอบข่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไปประกอบยื่นขอตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์จะนำเข้าผ่านระบบ NSW ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
เว็บไซต์หน่วยงาน :
Tiktok | |
Youtube |
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การเสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์ มาตรการด้านการพัฒนาของประเทศในระดับมหภาค พื้นที่เฉพาะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและอุตสาหกรรมรายสาขา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต การผลักดันแผนและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติตลอดจนการติดตามและประเมินผล รวมทั้งพัฒนาระบบรองรับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ การเตือนภัยด้านอุตสาหกรรมและการวิเคราะห์สถานการณ์อุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อเป็นองค์กรชี้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งสัญญาณเตือนภัยทางอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
1. การเจรจาความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo Pacific Economic Framework : IPEF) เพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วย ความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน
- ส่งเสริมการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง คาดการณ์ได้ โดยเฉพาะในสาขาและสินค้าสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจในภูมิภาค
- เสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และครอบคลุม
- คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework : IPEF) ด้านห่วงโซ่อุปทาน
2. การดำเนินโครงการการพัฒนาความร่วมมือด้านดิจิทัล และเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ระหว่างประเทศในสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระดับอนุภูมิภาค และประเทศหุ้นส่วน เพื่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0
บทบาท/ภารกิจของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
การเสนอแนะนโยบายยุทธศาสตร์ มาตรการด้านการพัฒนาของประเทศในระดับมหภาค พื้นที่เฉพาะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและอุตสาหกรรมรายสาขา โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต การผลักดันแผนและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติตลอดจนการติดตามและประเมินผล รวมทั้งพัฒนาระบบรองรับชุดข้อมูลขนาดใหญ่ การเตือนภัยด้านอุตสาหกรรมและการวิเคราะห์สถานการณ์อุตสาหกรรมในอนาคต เพื่อเป็นองค์กรชี้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ส่งสัญญาณเตือนภัยทางอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
1. การเจรจาความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo Pacific Economic Framework : IPEF) เพื่อความเจริญรุ่งเรืองว่าด้วย ความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน
- ส่งเสริมการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง คาดการณ์ได้ โดยเฉพาะในสาขาและสินค้าสำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจในภูมิภาค
- เสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และครอบคลุม
- คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework : IPEF) ด้านห่วงโซ่อุปทาน
2. การดำเนินโครงการการพัฒนาความร่วมมือด้านดิจิทัล และเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่ ระหว่างประเทศในสาขาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป เพื่อเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตระดับอนุภูมิภาค และประเทศหุ้นส่วน เพื่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรม 4.0