นิทรรศการของหน่วยงาน > กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
Ministry of Digital Economy and Society
เลือกหน่วยงานสังกัดภายใต้กระทรวง

บทบาท/ภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยา

 

       ภารกิจหรือโครงการของหน่วยงานที่สำคัญในปัจจุบัน ภารกิจของหน่วยงานที่ผ่านมา หรือกำลังจะดำเนินการในอนาคต รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์สามารถแสดงให้เห็นถึงบทบาท ภารกิจที่สอดคล้องกับหัวข้อ “ข้าราชการโปร่งใส ใส่ใจเทคโนโลยี สืบสานความดี ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน” 

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมอุตุนิยมวิทยา

 

1. โครงการจ้างเหมาบำรุงรักษาเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหว

วัตถุประสงค์ของโครงการ :

เพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาการบินและแผ่นดินไหวให้พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรายงานผลทางด้านอุตุนิยมวิทยาการบินและแผ่นดินไหวให้ทันต่อเหตุการณ์ 

การดำเนินการ :

1. จ้างเหมาบำรุงรักษาเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาการบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงบำรุงรักษาระบบบูรณาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. จ้างเหมาบำรุงรักษาระบบประมวลผลหลักสมรรถนะสูง ณ ส่วนกลาง และสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวหลักแบบหลุมเจาะ (Borehole)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

1. ประชาชนผู้รับบริการข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหวได้รับข้อมูลการเตือนภัยได้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ลดความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน

2. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหวมีสภาพใช้งานพร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง เพื่อการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

 

2. โครงการจัดหาระบบสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

วัตถุประสงค์ของโครงการ :

1. เพื่อปรับปรุงระบบสื่อสารข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา

2. เพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคในภาพรวมด้านการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน

3. เพื่อเป็นผู้นำด้านอุตุนิยมวิทยาการบินในภูมิภาคอาเซียน

การดำเนินการ :

ปรับปรุงระบบบูรณาการสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยาตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

เป็นผู้นำด้านอุตุนิยมวิทยาการบินหรือศูนย์กลางการเดินอากาศในภูมิภาคอาเซียนและนำมาซึ่งความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน

 

3. โครงการสร้างหอเรดาร์ และติดตั้งเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ

วัตถุประสงค์ของโครงการ :

1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจติดตามการเกิดพายุและกลุ่มฝน  การคาดหมายการเคลื่อนที่ และความรุนแรงของกลุ่มฝน

2. เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันความเสียหาย อันตรายต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และทันเวลา เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

การดำเนินการ :

1. ติดตั้งเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ แบบ C Band ชนิด Dual Polarization พร้อมอุปกรณ์เชื่อมโยงและหอเรดาร์ที่สถานีอุตุนิยมวิทยากระบี่ จ.กระบี่

2. ปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศให้มีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศเดิมที่ชำรุดขัดข้อง เนื่องจากใช้งานมานาน ที่สถานีอุตุนิยมวิทยาท่าวังผา จ.น่าน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

1. สามารถใช้ตรวจวัดการเกิดกลุ่มฝน การเกิดพายุ การเคลื่อนตัว ความรุนแรง และทิศทางการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝน ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วสามารถนำไปรายงานสภาวะอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. สามารถนำไปใช้ประกอบการเตือนภัยในสภาวะอากาศร้ายได้อย่างรวดเร็ว และทันเวลา

3. ประชาชนในพื้นที่เห็นความสำคัญและตระหนักรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะสามารถใช้ข้อมูลในพื้นที่เฝ้าระวังภัยธรรมขาติได้ทันท่วงที

 

บทบาท/ภารกิจของกรมอุตุนิยมวิทยา

 

       ภารกิจหรือโครงการของหน่วยงานที่สำคัญในปัจจุบัน ภารกิจของหน่วยงานที่ผ่านมา หรือกำลังจะดำเนินการในอนาคต รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์สามารถแสดงให้เห็นถึงบทบาท ภารกิจที่สอดคล้องกับหัวข้อ “ข้าราชการโปร่งใส ใส่ใจเทคโนโลยี สืบสานความดี ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน” 

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมอุตุนิยมวิทยา

 

1. โครงการจ้างเหมาบำรุงรักษาเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหว

วัตถุประสงค์ของโครงการ :

เพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาการบินและแผ่นดินไหวให้พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการรายงานผลทางด้านอุตุนิยมวิทยาการบินและแผ่นดินไหวให้ทันต่อเหตุการณ์ 

การดำเนินการ :

1. จ้างเหมาบำรุงรักษาเครื่องมืออุตุนิยมวิทยาการบินที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รวมถึงบำรุงรักษาระบบบูรณาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. จ้างเหมาบำรุงรักษาระบบประมวลผลหลักสมรรถนะสูง ณ ส่วนกลาง และสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวหลักแบบหลุมเจาะ (Borehole)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

1. ประชาชนผู้รับบริการข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหวได้รับข้อมูลการเตือนภัยได้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ลดความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน

2. เครื่องมืออุตุนิยมวิทยาและแผ่นดินไหวมีสภาพใช้งานพร้อมให้บริการ 24 ชั่วโมง เพื่อการใช้งานอย่างต่อเนื่อง

 

2. โครงการจัดหาระบบสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยาการบิน

วัตถุประสงค์ของโครงการ :

1. เพื่อปรับปรุงระบบสื่อสารข้อมูลสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา

2. เพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคในภาพรวมด้านการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน

3. เพื่อเป็นผู้นำด้านอุตุนิยมวิทยาการบินในภูมิภาคอาเซียน

การดำเนินการ :

ปรับปรุงระบบบูรณาการสารสนเทศด้านอุตุนิยมวิทยาตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

เป็นผู้นำด้านอุตุนิยมวิทยาการบินหรือศูนย์กลางการเดินอากาศในภูมิภาคอาเซียนและนำมาซึ่งความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน

 

3. โครงการสร้างหอเรดาร์ และติดตั้งเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ

วัตถุประสงค์ของโครงการ :

1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจติดตามการเกิดพายุและกลุ่มฝน  การคาดหมายการเคลื่อนที่ และความรุนแรงของกลุ่มฝน

2. เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันความเสียหาย อันตรายต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และทันเวลา เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

การดำเนินการ :

1. ติดตั้งเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศ แบบ C Band ชนิด Dual Polarization พร้อมอุปกรณ์เชื่อมโยงและหอเรดาร์ที่สถานีอุตุนิยมวิทยากระบี่ จ.กระบี่

2. ปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศให้มีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุงซ่อมแซมเครื่องเรดาร์ตรวจอากาศเดิมที่ชำรุดขัดข้อง เนื่องจากใช้งานมานาน ที่สถานีอุตุนิยมวิทยาท่าวังผา จ.น่าน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ :

1. สามารถใช้ตรวจวัดการเกิดกลุ่มฝน การเกิดพายุ การเคลื่อนตัว ความรุนแรง และทิศทางการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝน ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วสามารถนำไปรายงานสภาวะอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. สามารถนำไปใช้ประกอบการเตือนภัยในสภาวะอากาศร้ายได้อย่างรวดเร็ว และทันเวลา

3. ประชาชนในพื้นที่เห็นความสำคัญและตระหนักรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะสามารถใช้ข้อมูลในพื้นที่เฝ้าระวังภัยธรรมขาติได้ทันท่วงที

 

กรมอุตุนิยมวิทยา
4353 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์: 0-2399-4012-4, 0-2399-4566, 0-2399-4568-74, 0-2399-4578, 0-2399-4580, 0-2398-0225-8
โทรสาร: 0-2383-9049, 0-2398-0229, 0-2361-3180
อีเมล: saraban@tmd.mail.go.th

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

1. งานผลิตข้อมูลสถิติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำโครงการสำมะโน/สำรวจตัวอย่าง เป็นประจำทุกปีปีละประมาณ 20 โครงการ นอกจากนี้ยังได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายหลักของรัฐบาล เพื่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายของภาครัฐอีกปีละประมาณ 10 โครงการ พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ จัดทำดัชนี เครื่องชี้วัดข้อมูลแนวโน้ม และการคาดการณ์ภาวะด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม
 
2. งานให้บริการด้านสถิติ 
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้บริการข้อมูลสถิติแก่ผู้ใช้ข้อมูลในภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลสถิติที่สำนักงานสถิติแห่งชาติให้บริการนั้น ประกอบด้วย ข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลิตเองและข้อมูลสถิติที่รวบรวมมาจากหน่วยงานอื่น ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รวบรวมอยู่เป็นประจำ นับว่าสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางข้อมูลสถิติของประเทศ และสำนักงานสถิติจังหวัดเป็นศูนย์ข้อมูลของจังหวัด นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิชาการสถิติ แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และจัดให้มีการฝึกอบรมทั้งด้านวิชาการสถิติ และวิชาการประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวง กรม และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงานด้านสถิติที่ถูกต้องตามหลักวิชาให้แก่ผู้เข้าอบรม
 
3. งานบริหารจัดการระบบข้อมูลสถิติและสารสนเทศ
พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีหน้าที่จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ โดยมีเป้าหมายหลักให้ประเทศมีสถิติที่สำคัญ จำเป็นต่อการวางแผน และประเมินผลการพัฒนาประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้หน่วยสถิติภาครัฐ มีสมรรถนะในการจัดทำข้อมูลสถิติที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ร่วมกันของทุกภาคส่วน สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570) (อยู่ระหว่างกระบวนการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศใช้) โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการสร้างความสามารถทางสถิติของประเทศร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายการพัฒนาทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อให้สถิติทางการ (Official Statistics: OS) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เปรียบเสมือนสถิติเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของประเทศ โดยมีกลไกในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติที่สำคัญ คือ คณะกรรมการสถิติประเทศไทย ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กำกับ และติดตามการดำเนินงานด้านสถิติของประเทศ คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านสถิติและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานทางด้านวิชาการสถิติ นอกจากนี้ยังมีคณะอนุกรรมการสถิติ 3 คณะ (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ที่มีหน้าที่พิจารณารายการสถิติทางการ และจัดทำแผนกำหนดความรับผิดชอบสถิติในแต่ละด้าน และคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติ ที่มีหน้าที่จัดทำมาตรฐานสถิติที่สำคัญของประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติให้เป็นไปตามสากลรวมทั้งคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานที่มีหน้าที่พิจารณารายการสถิติทางการระดับพื้นที่และจัดทำแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

1. โครงการส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติและสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2567

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินโครงการส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติและสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2567 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือ

1.1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และสารสนเทศสถิติในรูปแบบที่ทันสมัย

ได้จัดทำ Animated Infographic Motion Graphic และ Interactive Website รวมทั้งสิ้นมากกว่า 30 เรื่อง เผยแพร่บนเว็บไชต์และสื่อสังคมออนไลน์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตาม Link การเผยแพร่

- Animated และ Motion Graphic : https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/motion_graphics

- Interactive Website : https://funstat.nso.go.th/

1.2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์

จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นการดำเนินการเชิงรุก เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลรู้จักสำนักงานสถิติแห่งชาติและเห็นถึงความสำคัญของการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์ ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

กิจกรรมการประชุมเสวนาวิชาการและนิทรรศการ การใช้ประโยชน์ข้อมูลสถิติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลสถิติ รู้จักแหล่งที่มาของข้อมูลสถิติ เข้าใจในข้อจำกัดของการใช้ข้อมูล อีกทั้งยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์ในมุมที่แตกต่างกัน จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “DATA is all around us: The New  Era of AI-Driven Society ขับเคลื่อนสังคมด้วยข้อมูลสถิติในยุคปัญญาประดิษฐ์” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 272 คน
การจัดกิจกรรมและแสดงบูธนิทรรศการส่งเสริมการนำสถิติไปใช้ประโยชน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ประชาชนรู้จักสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทราบถึงภารกิจ กระบวนการทำงานความจำเป็นในการเก็บข้อมูลสถิติ รู้จักแหล่งข้อมูลสถิติ รวมทั้งยังเป็นการสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลสถิติ ซึ่งในปี 2567 ได้มีการจัดกิจกรรมและการแสดงบูธนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการนำสถิติไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งสิ้นมากกว่า 15 ครั้ง
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์ ให้แก่ผู้ใช้ข้อมูลเฉพาะกลุ่ม (Workshop) ในรูปแบบออนไลน์โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน นักศึกษา บุคลากร ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ หัวข้อ "Data Visualization & Storytelling" หัวข้อ "Data for Journalism" หัวข้อ "Data for Digital Government" และหัวข้อ “Data for Management” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 249 คน 

 
 
2. โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “กิจกรรม A Good Digital Citizen ก้าวสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน”

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอ ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยการจัดนิทรรศการให้ความรู้และการเสวนา หัวข้อ “Digital-Driven Communities: ปลอดภัย มั่นใจ ยั่งยืน” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งละ ไม่น้อยกว่า 200 คน จำนวน 5 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 25 สิงหาคม 2567

ครั้งที่ 2 จังหวัดสงขลา วันที่ 28 สิงหาคม 2567

ครั้งที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 3 กันยายน 2567

ครั้งที่ 4 จังหวัดลำปาง วันที่ 25 กันยายน 2567

ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร วันที่ 9 ตุลาคม 2567

ในส่วนกิจกรรมการฝึกอบรมให้ความรู้กับประชาชนในระดับพื้นที่ ภายใต้แนวคิด “A Good Digital Citizen” เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2567 ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้และมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีการบริหารจัดการ กำกับตนเองได้ รู้เท่าทันและสามารถปกป้องตนเองจากภัยออนไลน์ รวมทั้งเคารพสิทธิตนเองและผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีประชาชนเข้าร่วมการอบรมทั่วประเทศ จำนวน 35,219 คน จาก 529 อำเภอ และส่วนหนึ่งเป็นอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) จำนวน 29,350 คน

 

3. กิจกรรมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต “คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต (Zero Tolerance)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

วันที่ 13 มกราคม 2568 สำนักงานสถิติแห่งชาติ นำโดย นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต “คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต (Zero Tolerance)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ลานอเนกประสงค์ (โซนผู้บริหาร) ชั้น 4 สำนักงานสถิติแห่งชาติ 

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

1. งานผลิตข้อมูลสถิติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดทำโครงการสำมะโน/สำรวจตัวอย่าง เป็นประจำทุกปีปีละประมาณ 20 โครงการ นอกจากนี้ยังได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายหลักของรัฐบาล เพื่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายของภาครัฐอีกปีละประมาณ 10 โครงการ พร้อมทั้งทำการวิเคราะห์ จัดทำดัชนี เครื่องชี้วัดข้อมูลแนวโน้ม และการคาดการณ์ภาวะด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม
 
2. งานให้บริการด้านสถิติ 
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้บริการข้อมูลสถิติแก่ผู้ใช้ข้อมูลในภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลสถิติที่สำนักงานสถิติแห่งชาติให้บริการนั้น ประกอบด้วย ข้อมูลที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลิตเองและข้อมูลสถิติที่รวบรวมมาจากหน่วยงานอื่น ซึ่งสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รวบรวมอยู่เป็นประจำ นับว่าสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางข้อมูลสถิติของประเทศ และสำนักงานสถิติจังหวัดเป็นศูนย์ข้อมูลของจังหวัด นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านวิชาการสถิติ แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน และจัดให้มีการฝึกอบรมทั้งด้านวิชาการสถิติ และวิชาการประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์แก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่ของกระทรวง กรม และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ในการทำงานด้านสถิติที่ถูกต้องตามหลักวิชาให้แก่ผู้เข้าอบรม
 
3. งานบริหารจัดการระบบข้อมูลสถิติและสารสนเทศ
พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 กำหนดให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีหน้าที่จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ โดยมีเป้าหมายหลักให้ประเทศมีสถิติที่สำคัญ จำเป็นต่อการวางแผน และประเมินผลการพัฒนาประเทศ รวมทั้งสนับสนุนให้หน่วยสถิติภาครัฐ มีสมรรถนะในการจัดทำข้อมูลสถิติที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ร่วมกันของทุกภาคส่วน สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2570) (อยู่ระหว่างกระบวนการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาประกาศใช้) โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการสร้างความสามารถทางสถิติของประเทศร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายการพัฒนาทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อให้สถิติทางการ (Official Statistics: OS) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เปรียบเสมือนสถิติเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของประเทศ โดยมีกลไกในการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติที่สำคัญ คือ คณะกรรมการสถิติประเทศไทย ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กำกับ และติดตามการดำเนินงานด้านสถิติของประเทศ คณะกรรมการที่ปรึกษาวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านสถิติและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะการดำเนินงานทางด้านวิชาการสถิติ นอกจากนี้ยังมีคณะอนุกรรมการสถิติ 3 คณะ (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ที่มีหน้าที่พิจารณารายการสถิติทางการ และจัดทำแผนกำหนดความรับผิดชอบสถิติในแต่ละด้าน และคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติ ที่มีหน้าที่จัดทำมาตรฐานสถิติที่สำคัญของประเทศ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสถิติให้เป็นไปตามสากลรวมทั้งคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานที่มีหน้าที่พิจารณารายการสถิติทางการระดับพื้นที่และจัดทำแผนพัฒนาสถิติระดับจังหวัด

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานสถิติแห่งชาติ

 

1. โครงการส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติและสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2567

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ดำเนินโครงการส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติและสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. 2567 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่สี่ โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือ

1.1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และสารสนเทศสถิติในรูปแบบที่ทันสมัย

ได้จัดทำ Animated Infographic Motion Graphic และ Interactive Website รวมทั้งสิ้นมากกว่า 30 เรื่อง เผยแพร่บนเว็บไชต์และสื่อสังคมออนไลน์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ตาม Link การเผยแพร่

- Animated และ Motion Graphic : https://www.nso.go.th/nsoweb/nso/motion_graphics

- Interactive Website : https://funstat.nso.go.th/

1.2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์

จัดกิจกรรมส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นการดำเนินการเชิงรุก เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ทำให้ผู้ใช้ข้อมูลรู้จักสำนักงานสถิติแห่งชาติและเห็นถึงความสำคัญของการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์ ผ่านกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

กิจกรรมการประชุมเสวนาวิชาการและนิทรรศการ การใช้ประโยชน์ข้อมูลสถิติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลสถิติ รู้จักแหล่งที่มาของข้อมูลสถิติ เข้าใจในข้อจำกัดของการใช้ข้อมูล อีกทั้งยังเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์ในมุมที่แตกต่างกัน จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “DATA is all around us: The New  Era of AI-Driven Society ขับเคลื่อนสังคมด้วยข้อมูลสถิติในยุคปัญญาประดิษฐ์” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 272 คน
การจัดกิจกรรมและแสดงบูธนิทรรศการส่งเสริมการนำสถิติไปใช้ประโยชน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ประชาชนรู้จักสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทราบถึงภารกิจ กระบวนการทำงานความจำเป็นในการเก็บข้อมูลสถิติ รู้จักแหล่งข้อมูลสถิติ รวมทั้งยังเป็นการสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลสถิติ ซึ่งในปี 2567 ได้มีการจัดกิจกรรมและการแสดงบูธนิทรรศการเพื่อส่งเสริมการนำสถิติไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งสิ้นมากกว่า 15 ครั้ง
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ส่งเสริมการนำข้อมูลสถิติไปใช้ประโยชน์ ให้แก่ผู้ใช้ข้อมูลเฉพาะกลุ่ม (Workshop) ในรูปแบบออนไลน์โดยกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียน นักศึกษา บุคลากร ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ หัวข้อ "Data Visualization & Storytelling" หัวข้อ "Data for Journalism" หัวข้อ "Data for Digital Government" และหัวข้อ “Data for Management” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 249 คน 

 
 
2. โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 “กิจกรรม A Good Digital Citizen ก้าวสู่ความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพไปด้วยกัน”

สำนักงานสถิติแห่งชาติ จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้การขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลในระดับจังหวัดและอำเภอ ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์โครงการฯ โดยการจัดนิทรรศการให้ความรู้และการเสวนา หัวข้อ “Digital-Driven Communities: ปลอดภัย มั่นใจ ยั่งยืน” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งละ ไม่น้อยกว่า 200 คน จำนวน 5 ครั้ง ได้แก่

ครั้งที่ 1 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 25 สิงหาคม 2567

ครั้งที่ 2 จังหวัดสงขลา วันที่ 28 สิงหาคม 2567

ครั้งที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา วันที่ 3 กันยายน 2567

ครั้งที่ 4 จังหวัดลำปาง วันที่ 25 กันยายน 2567

ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร วันที่ 9 ตุลาคม 2567

ในส่วนกิจกรรมการฝึกอบรมให้ความรู้กับประชาชนในระดับพื้นที่ ภายใต้แนวคิด “A Good Digital Citizen” เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2567 ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้และมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีการบริหารจัดการ กำกับตนเองได้ รู้เท่าทันและสามารถปกป้องตนเองจากภัยออนไลน์ รวมทั้งเคารพสิทธิตนเองและผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีประชาชนเข้าร่วมการอบรมทั่วประเทศ จำนวน 35,219 คน จาก 529 อำเภอ และส่วนหนึ่งเป็นอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) จำนวน 29,350 คน

 

3. กิจกรรมประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต “คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต (Zero Tolerance)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

วันที่ 13 มกราคม 2568 สำนักงานสถิติแห่งชาติ นำโดย นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต “คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต (Zero Tolerance)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ ลานอเนกประสงค์ (โซนผู้บริหาร) ชั้น 4 สำนักงานสถิติแห่งชาติ 

สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 2 ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม. 10210
โทรศัพท์: 0 2141 7500 - 7503
อีเมล: services@nso.go.th

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

1. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti - Fake News Center Thailand : AFNC Thailand) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีเครือข่ายผู้ประสานงานกว่า 400 หน่วยงาน และจัดกิจกรรมอบรมเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก เยาวชน ผู้นำชุมชน และผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันข่าวปลอมและไม่ตื่นตระหนก โดยส่งเสริมให้ใช้สติก่อนแชร์ข้อมูล

2. โครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนด้านคดีและภัยออนไลน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

กิจกรรมที่สำคัญของโครงการ

- บริการให้คำปรึกษาประชาชนด้านข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

- เผยแพร่องค์ความรู้ด้านกฎหมาย ข้อระเบียบ แนวทางและทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ

- เผยแพร่องค์ความรู้แนวทางการป้องกันระวังคดีภัยออนไลน์สำหรับประชาชน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภาครัฐ และเอกชน ผ่านกิจกรรมอบรมสัมมนาสร้างการตระหนักรู้ ทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

3. ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) ศูนย์ AOC ให้บริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ในเชิงรุก ยับยั้งบัญชีม้าและระงับธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย บรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนขยายวงกว้าง รวมถึงพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายสอดรับกับรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

1. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti - Fake News Center Thailand : AFNC Thailand) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีเครือข่ายผู้ประสานงานกว่า 400 หน่วยงาน และจัดกิจกรรมอบรมเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก เยาวชน ผู้นำชุมชน และผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันข่าวปลอมและไม่ตื่นตระหนก โดยส่งเสริมให้ใช้สติก่อนแชร์ข้อมูล

 
 
 
2. โครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนด้านคดีและภัยออนไลน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

กิจกรรมที่สำคัญของโครงการ

- บริการให้คำปรึกษาประชาชนด้านข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

- เผยแพร่องค์ความรู้ด้านกฎหมาย ข้อระเบียบ แนวทางและทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ

- เผยแพร่องค์ความรู้แนวทางการป้องกันระวังคดีภัยออนไลน์สำหรับประชาชน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภาครัฐ และเอกชน ผ่านกิจกรรมอบรมสัมมนาสร้างการตระหนักรู้ ทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

 

 

3. ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) ศูนย์ AOC ให้บริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ในเชิงรุก ยับยั้งบัญชีม้าและระงับธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย บรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนขยายวงกว้าง รวมถึงพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายสอดรับกับรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 
 
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร : https://www.mdes.go.th/contact

บทบาท/ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

1. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti - Fake News Center Thailand : AFNC Thailand) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีเครือข่ายผู้ประสานงานกว่า 400 หน่วยงาน และจัดกิจกรรมอบรมเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก เยาวชน ผู้นำชุมชน และผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันข่าวปลอมและไม่ตื่นตระหนก โดยส่งเสริมให้ใช้สติก่อนแชร์ข้อมูล

2. โครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนด้านคดีและภัยออนไลน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

กิจกรรมที่สำคัญของโครงการ

- บริการให้คำปรึกษาประชาชนด้านข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

- เผยแพร่องค์ความรู้ด้านกฎหมาย ข้อระเบียบ แนวทางและทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ

- เผยแพร่องค์ความรู้แนวทางการป้องกันระวังคดีภัยออนไลน์สำหรับประชาชน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภาครัฐ และเอกชน ผ่านกิจกรรมอบรมสัมมนาสร้างการตระหนักรู้ ทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

3. ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) ศูนย์ AOC ให้บริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ในเชิงรุก ยับยั้งบัญชีม้าและระงับธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย บรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนขยายวงกว้าง รวมถึงพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายสอดรับกับรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

 

1. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti - Fake News Center Thailand : AFNC Thailand) ทำหน้าที่เฝ้าระวังและตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีเครือข่ายผู้ประสานงานกว่า 400 หน่วยงาน และจัดกิจกรรมอบรมเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก เยาวชน ผู้นำชุมชน และผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มความสามารถในการรู้เท่าทันข่าวปลอมและไม่ตื่นตระหนก โดยส่งเสริมให้ใช้สติก่อนแชร์ข้อมูล

 
 
 
2. โครงการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนด้านคดีและภัยออนไลน์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 

กิจกรรมที่สำคัญของโครงการ

- บริการให้คำปรึกษาประชาชนด้านข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

- เผยแพร่องค์ความรู้ด้านกฎหมาย ข้อระเบียบ แนวทางและทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ

- เผยแพร่องค์ความรู้แนวทางการป้องกันระวังคดีภัยออนไลน์สำหรับประชาชน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเครือข่ายเฝ้าระวังภัยออนไลน์ภาครัฐ และเอกชน ผ่านกิจกรรมอบรมสัมมนาสร้างการตระหนักรู้ ทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

 

 

3. ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ (Anti Online Scam Operation Center : AOC) ศูนย์ AOC ให้บริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับมือและปราบปรามปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ในเชิงรุก ยับยั้งบัญชีม้าและระงับธุรกรรมที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย บรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นก่อนขยายวงกว้าง รวมถึงพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายสอดรับกับรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 
 
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร : https://www.mdes.go.th/contact
สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ
Background Desktop Background Mobile