กระทรวงยุติธรรม
Ministry of Justice

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงยุติธรรม

       กระทรวงยุติธรรม ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “อำนวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ในสังคม” เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมได้ใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนทิศทางการพัฒนาและให้บริการงานยุติธรรมเพื่อนำความยุติธรรมเข้าหาประชาชนอย่างทั่วถึง และถ้วนหน้าตามนโยบายของกระทรวงยุติธรรม ที่เน้นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล อาทิ การยกเลิก และปรับปรุงกฎหมายที่ไม่จำเป็น การแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สิน ของประชาชน การแก้ปัญหายาเสพติด เป็นต้น โดยดำเนินการภายใต้หลักนิติธรรมที่คำนึงถึงประชาชน เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทุกคน โดยเฉพาะประชาชนในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่างทางความคิด ศาสนาและอุดมการณ์ ให้สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยกระทรวงยุติธรรมมีผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่สำคัญ ดังนี้
       ๑) พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือที่ใช้ความรุนแรง  พ.ศ. ๒๕๖๕
       กระทรวงยุติธรรมได้ผลักดันพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕ เนื่องจากผู้กระทำความผิดอาญาบางประเภทที่เกี่ยวข้อง กับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เมื่อถูกจำคุกจนพ้นโทษและได้รับการปล่อยตัวสู่สังคมแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการติดตาม จากเจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจบ้าง แต่ไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายและไม่มีประสิทธิผล ในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ผู้กระทำความผิดเหล่านี้ ส่วนหนึ่งยังมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิด ในรูปแบบเดียวกันหรือรูปแบบใกล้เคียงกันซ้ำอีก สมควรมีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดมาตรการป้องกัน การกระทำความผิดซ้ำในความผิดดังกล่าว โดยการกำหนดให้มีมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด มาตรการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ และมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ เพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหาย จากการ กระทำความผิดที่อาจเกิดขึ้นอีก และเพื่อส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพ ของผู้ต้องคำสั่งดังกล่าวอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมได้ผลักดันพระราชบัญญัติ มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำฯ จนสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ และมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖

       ๒) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕
       กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: ICPPED) ทั้งนี้ การเข้าเป็นภาคีและลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติ ตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การสร้างหลักประกันให้เกิดสิทธิตามอนุสัญญาฯ เช่น การแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักการและสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ โดยที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ....” และเสนอเข้าสู่การพิจารณา ตามลำดับ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ และมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โดยพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ครอบคลุมฐานความผิดที่สำคัญ ๓ ฐาน ได้แก่ การกระทำทรมาน การกระทำการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทำให้บุคคลสูญหาย 

       ๓) การนำมาตรการการยึด/อายัดทรัพย์สินมาบังคับใช้ในการปราบปรามยาเสพติด 
       สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มุ่งเน้นการสกัดกั้นการลักลอบนำเข้า และส่งออกยาเสพติดจากแหล่งผลิตและส่งต่อประเทศที่สาม ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสืบสวนสอบสวน การปราบปรามเครือข่ายการค้ายาเสพติดในประเทศ และอาชญากรรมข้ามชาติ เน้นมาตรการริบทรัพย์สินคดี ยาเสพติดตามแนวทางที่กำหนดไว้ในประมวล กฎหมายยาเสพติดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการยึดอายัดทรัพย์สินเพื่อทำลายเครือข่าย การค้ายาเสพติดระดับรายสำคัญ พัฒนารูปแบบการยึดอายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด มีการสอบสวน สืบสวน ขยายผล ผู้ค้าเครือข่าย นำไปสู่การตรวจสอบยึดอายัดทรัพย์สิน เสริมสร้างแนวร่วม ในการตรวจหาทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติด และบูรณาการกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความร่วมมือปราบปรามยาเสพติดระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติของอาเซียน และความร่วมมือปราบปรามยาเสพติดระหว่างท่าเรือสากลของอาเซียน 

       ๔) การช่วยเหลือประชาชนและการให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
       ๔.๑ กระทรวงยุติธรรมมีแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนเชิงรุก เพื่อให้เข้าถึงความช่วยเหลือ ด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องร้องขอ โดยมอบหมายให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือในระดับพื้นที่ โดยเมื่อเกิดเหตุอาชญากรรมหรือมีผู้ได้รับความไม่เป็นธรรมในพื้นที่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด จะมอบหมายเจ้าหน้าที่ประสานให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงสิทธิกระบวนการยุติธรรม ให้คำปรึกษากฎหมาย การเยียวยาด้านจิตใจ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง
       ๔.๒ การให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดโดยประสานการบริหาร ราชการและปฏิบัติงานที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกระทรวงยุติธรรมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในระดับภูมิภาคหรือระดับพื้นที่จังหวัด ส่งผลให้ประชาชนได้รับการอำนวย ความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้สะดวก รวดเร็ว และครอบคลุมทุกจังหวัด
       ๔.๓ การช่วยเหลือประชาชนด้านกองทุนยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับการอำนวยความยุติธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม สะดวก และรวดเร็ว ตามวัตถุประสงค์ ของกองทุนยุติธรรม 
       ๔.๔ การช่วยเหลือประชาชนตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย แก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ มุ่งช่วยเหลือทางการเงิน แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอาชญากรรมหรือความบกพร่อง ของกระบวนการยุติธรรม ประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ได้รับการช่วยเหลือครอบคลุม ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ภายใต้การกระจายอำนาจให้คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา

       ๕) การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
       โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์เป็นกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบพัฒนาพฤตินิสัย โดยกระทรวงยุติธรรมจะร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ ผู้พ้นโทษหรือผู้ถูกคุมความประพฤติที่อยู่ระหว่างพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ โดยเตรียมจัดหางานและส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับผู้กระทำผิด เพื่อลดปัญหาสังคม และลดการกระทำผิดซ้ำ การศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบอัตรา การกระทำผิดซ้ำของผู้พ้นโทษ ที่ผ่านโครงการ “สร้างงาน สร้างอาชีพ ฝึกทักษะการทำงานในภาคอุตสาหกรรม” และกรณีผู้พ้นโทษที่ปล่อยตัวปกติ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์และผลดีที่เกิดขึ้นกับสังคม ผู้พ้นโทษ การบริหารจัดการเรือนจำ และงบประมาณ พบว่า ผู้พ้นโทษที่ผ่านโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ ฝึกทักษะการทำงานในภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการกระทำผิดซ้ำต่ำกว่าผู้พ้นโทษที่ปล่อยตัวปกติ

       ๖) การส่งเสริมเรือนจำท่องเที่ยวเชิงเกษตรและบริการ
       กรมราชทัณฑ์ส่งเสริมและสนับสนุนให้เรือนจำ/ทัณฑสถานดำเนินการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเรือนจำท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความรู้ผู้ต้องขังในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม การท่องเที่ยวและการเกษตร เพื่อส่งเสริมและให้โอกาสผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะและสามารถต่อยอด เป็นอาชีพหลังพ้นโทษได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีการเปิดเรือนจำท่องเที่ยว จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ (๑) เรือนจำชั่วคราวทุ่งพลงใต้ สังกัดเรือนจำจังหวัดจันทบุรี (๒) เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง สังกัดเรือนจำกลางเชียงราย (๓) เรือนจำชั่วคราวหนองเรียง สังกัดเรือนจำอำเภอสวรรคโลก (๔) ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก และ (๕) ทัณฑสถานบ้านนาวง จังหวัดพัทลุง ทั้งนี้ ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจำท่องเที่ยว รวมจำนวน ๑๙ แห่ง 

ติดตามผลงานที่สำคัญของหน่วยงาน เพิ่มเติมได้ที่
       https://www.moj.go.th/news/336
ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ
       ระบบให้บริการประชาชนในการยื่นคำขอรับความช่วยเหลือของกระทรวงยุติธรรม: https://shorturl.moj.go.th/5z8hm

E – Commerce การจำหน่ายสินค้าออนไลน์
       ผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์งานฝีมือจากผู้ต้องขัง ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Wansook - วันสุข” 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงยุติธรรม

       กระทรวงยุติธรรม ได้กำหนดวิสัยทัศน์ “อำนวยความยุติธรรม ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ในสังคม” เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมได้ใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนการปฏิบัติงาน ตลอดจนทิศทางการพัฒนาและให้บริการงานยุติธรรมเพื่อนำความยุติธรรมเข้าหาประชาชนอย่างทั่วถึง และถ้วนหน้าตามนโยบายของกระทรวงยุติธรรม ที่เน้นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล อาทิ การยกเลิก และปรับปรุงกฎหมายที่ไม่จำเป็น การแก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สิน ของประชาชน การแก้ปัญหายาเสพติด เป็นต้น โดยดำเนินการภายใต้หลักนิติธรรมที่คำนึงถึงประชาชน เป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทุกคน โดยเฉพาะประชาชนในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่างทางความคิด ศาสนาและอุดมการณ์ ให้สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยกระทรวงยุติธรรมมีผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและนโยบายผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่สำคัญ ดังนี้
       ๑) พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือที่ใช้ความรุนแรง  พ.ศ. ๒๕๖๕
       กระทรวงยุติธรรมได้ผลักดันพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕ เนื่องจากผู้กระทำความผิดอาญาบางประเภทที่เกี่ยวข้อง กับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง เมื่อถูกจำคุกจนพ้นโทษและได้รับการปล่อยตัวสู่สังคมแล้ว ถึงแม้ว่าจะมีการติดตาม จากเจ้าพนักงาน ฝ่ายปกครอง หรือตำรวจบ้าง แต่ไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายและไม่มีประสิทธิผล ในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ ผู้กระทำความผิดเหล่านี้ ส่วนหนึ่งยังมีแนวโน้มที่จะกระทำความผิด ในรูปแบบเดียวกันหรือรูปแบบใกล้เคียงกันซ้ำอีก สมควรมีกฎหมายเฉพาะที่กำหนดมาตรการป้องกัน การกระทำความผิดซ้ำในความผิดดังกล่าว โดยการกำหนดให้มีมาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด มาตรการเฝ้าระวังภายหลังพ้นโทษ และมาตรการคุมขังภายหลังพ้นโทษ เพื่อป้องกันสังคมและผู้เสียหาย จากการ กระทำความผิดที่อาจเกิดขึ้นอีก และเพื่อส่งเสริมการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพ ของผู้ต้องคำสั่งดังกล่าวอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมได้ผลักดันพระราชบัญญัติ มาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำฯ จนสามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ และมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖

       ๒) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕
       กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment: CAT) และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance: ICPPED) ทั้งนี้ การเข้าเป็นภาคีและลงนามในอนุสัญญาดังกล่าว ส่งผลให้ประเทศไทยจะต้องปฏิบัติ ตามพันธกรณีที่กำหนดไว้ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ การสร้างหลักประกันให้เกิดสิทธิตามอนุสัญญาฯ เช่น การแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับหลักการและสาระสำคัญของอนุสัญญาฯ โดยที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนจัดทำ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ....” และเสนอเข้าสู่การพิจารณา ตามลำดับ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ และมีผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โดยพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ครอบคลุมฐานความผิดที่สำคัญ ๓ ฐาน ได้แก่ การกระทำทรมาน การกระทำการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และการกระทำให้บุคคลสูญหาย 

       ๓) การนำมาตรการการยึด/อายัดทรัพย์สินมาบังคับใช้ในการปราบปรามยาเสพติด 
       สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด มุ่งเน้นการสกัดกั้นการลักลอบนำเข้า และส่งออกยาเสพติดจากแหล่งผลิตและส่งต่อประเทศที่สาม ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสืบสวนสอบสวน การปราบปรามเครือข่ายการค้ายาเสพติดในประเทศ และอาชญากรรมข้ามชาติ เน้นมาตรการริบทรัพย์สินคดี ยาเสพติดตามแนวทางที่กำหนดไว้ในประมวล กฎหมายยาเสพติดและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นการยึดอายัดทรัพย์สินเพื่อทำลายเครือข่าย การค้ายาเสพติดระดับรายสำคัญ พัฒนารูปแบบการยึดอายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด มีการสอบสวน สืบสวน ขยายผล ผู้ค้าเครือข่าย นำไปสู่การตรวจสอบยึดอายัดทรัพย์สิน เสริมสร้างแนวร่วม ในการตรวจหาทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับคดียาเสพติด และบูรณาการกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความร่วมมือปราบปรามยาเสพติดระหว่างท่าอากาศยานนานาชาติของอาเซียน และความร่วมมือปราบปรามยาเสพติดระหว่างท่าเรือสากลของอาเซียน 

       ๔) การช่วยเหลือประชาชนและการให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
       ๔.๑ กระทรวงยุติธรรมมีแนวทางการให้ความช่วยเหลือประชาชนเชิงรุก เพื่อให้เข้าถึงความช่วยเหลือ ด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องร้องขอ โดยมอบหมายให้สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการ ให้ความช่วยเหลือในระดับพื้นที่ โดยเมื่อเกิดเหตุอาชญากรรมหรือมีผู้ได้รับความไม่เป็นธรรมในพื้นที่ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด จะมอบหมายเจ้าหน้าที่ประสานให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงสิทธิกระบวนการยุติธรรม ให้คำปรึกษากฎหมาย การเยียวยาด้านจิตใจ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง
       ๔.๒ การให้บริการประชาชนของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดโดยประสานการบริหาร ราชการและปฏิบัติงานที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของกระทรวงยุติธรรมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในระดับภูมิภาคหรือระดับพื้นที่จังหวัด ส่งผลให้ประชาชนได้รับการอำนวย ความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้สะดวก รวดเร็ว และครอบคลุมทุกจังหวัด
       ๔.๓ การช่วยเหลือประชาชนด้านกองทุนยุติธรรม เพื่อให้ประชาชนได้รับการอำนวยความยุติธรรมและ ลดความเหลื่อมล้ำให้สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม สะดวก และรวดเร็ว ตามวัตถุประสงค์ ของกองทุนยุติธรรม 
       ๔.๔ การช่วยเหลือประชาชนตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย แก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ มุ่งช่วยเหลือทางการเงิน แก่ประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอาชญากรรมหรือความบกพร่อง ของกระบวนการยุติธรรม ประชาชนที่ตกเป็นผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ได้รับการช่วยเหลือครอบคลุม ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ภายใต้การกระจายอำนาจให้คณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา

       ๕) การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
       โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์เป็นกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบพัฒนาพฤตินิสัย โดยกระทรวงยุติธรรมจะร่วมมือกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ ผู้พ้นโทษหรือผู้ถูกคุมความประพฤติที่อยู่ระหว่างพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษให้มีความพร้อมในการประกอบอาชีพ โดยเตรียมจัดหางานและส่งเสริมการประกอบอาชีพให้กับผู้กระทำผิด เพื่อลดปัญหาสังคม และลดการกระทำผิดซ้ำ การศึกษาแนวทางการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบอัตรา การกระทำผิดซ้ำของผู้พ้นโทษ ที่ผ่านโครงการ “สร้างงาน สร้างอาชีพ ฝึกทักษะการทำงานในภาคอุตสาหกรรม” และกรณีผู้พ้นโทษที่ปล่อยตัวปกติ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์และผลดีที่เกิดขึ้นกับสังคม ผู้พ้นโทษ การบริหารจัดการเรือนจำ และงบประมาณ พบว่า ผู้พ้นโทษที่ผ่านโครงการสร้างงาน สร้างอาชีพ ฝึกทักษะการทำงานในภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการกระทำผิดซ้ำต่ำกว่าผู้พ้นโทษที่ปล่อยตัวปกติ

       ๖) การส่งเสริมเรือนจำท่องเที่ยวเชิงเกษตรและบริการ
       กรมราชทัณฑ์ส่งเสริมและสนับสนุนให้เรือนจำ/ทัณฑสถานดำเนินการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นเรือนจำท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความรู้ผู้ต้องขังในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม การท่องเที่ยวและการเกษตร เพื่อส่งเสริมและให้โอกาสผู้ต้องขังได้ฝึกทักษะและสามารถต่อยอด เป็นอาชีพหลังพ้นโทษได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีการเปิดเรือนจำท่องเที่ยว จำนวน ๕ แห่ง ได้แก่ (๑) เรือนจำชั่วคราวทุ่งพลงใต้ สังกัดเรือนจำจังหวัดจันทบุรี (๒) เรือนจำชั่วคราวดอยฮาง สังกัดเรือนจำกลางเชียงราย (๓) เรือนจำชั่วคราวหนองเรียง สังกัดเรือนจำอำเภอสวรรคโลก (๔) ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก และ (๕) ทัณฑสถานบ้านนาวง จังหวัดพัทลุง ทั้งนี้ ปัจจุบัน กรมราชทัณฑ์ มีเรือนจำท่องเที่ยว รวมจำนวน ๑๙ แห่ง 

ติดตามผลงานที่สำคัญของหน่วยงาน เพิ่มเติมได้ที่
       https://www.moj.go.th/news/336
ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ
       ระบบให้บริการประชาชนในการยื่นคำขอรับความช่วยเหลือของกระทรวงยุติธรรม: https://shorturl.moj.go.th/5z8hm

E – Commerce การจำหน่ายสินค้าออนไลน์
       ผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์งานฝีมือจากผู้ต้องขัง ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Wansook - วันสุข” 

กระทรวงยุติธรรม
เลขที่ ๔๐๔ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๑๔๑ ๕๑๐๐ กด ๑
อีเมล: complainingcenter@moj.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ