นิทรรศการของหน่วยงาน > กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม
Ministry of Culture

บทบาท/ภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรม

 

1. เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ สืบสานศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ดีงามของสังคมไทย

2. ส่งเสริมเศรษฐกิจวัฒนธรรม เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ

3. พัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศและส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลก

4. สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จิตสำนึกค่านิยมเชิงบวก และคุณลักษณะของคนไทยที่พร้อมปรับตัวสู่อนาคต

5. ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์ และการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

6. บริหารจัดการงานศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงวัฒนธรรม

 

1. การเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ

       รัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย สถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากสาธารณรัฐอินเดียมาประดิษฐานชั่วคราว ณ ประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รวมถึงส่งเสริมศรัทธาในพระพุทธศาสนา และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พิธีการดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 18 มีนาคม 2567 โดยเริ่มจากการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 และประดิษฐานชั่วคราว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ก่อนจะมีขบวนอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวงในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รับความสนใจจากประชาชนกว่า 2,500 คนเข้าร่วมริ้วขบวน จากนั้นเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 2 ล้านคน หลังจากนั้นมีการอัญเชิญไปประดิษฐานยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ (5 - 8 มีนาคม) วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี (9 - 13 มีนาคม) และวัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ (14 - 18 มีนาคม) โดยมีผู้เข้าสักการะรวมทั้งสิ้น 4,127,590 คน ซึ่งเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ถึงร้อยละ 106.38 สะท้อนถึงพลังแห่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

       ขณะเดียวกันกระทรวงวัฒนธรรมได้รับมอบหมายให้ดำเนินภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยให้ข้าราชการ บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ และประชาชนที่มีสิทธิตามหลักเกณฑ์ของสำนักพระราชวังได้รับเกียรติยศสมพระเกียรติ พิธีดังกล่าวได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นมา โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานเพื่อบริหารงานด้านนี้ รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้สามารถปฏิบัติงานตามโบราณราชประเพณีได้อย่างถูกต้อง ภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานครอบคลุมการประสานขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เพลิงพระราชทาน ดินฝังศพพระราชทาน และเครื่องเกียรติยศประกอบศพ โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับจังหวัดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่วประเทศ ในปีงบประมาณ 2567 กองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานได้ปฏิบัติงานตามหมายรับสั่งไปแล้ว จำนวน 12,412 หมายรับสั่ง พร้อมการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จำนวน 731 คนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังได้รับผลการประเมินความพึงพอใจจากประชาชนในระดับร้อยละ 100 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการให้บริการด้วยความโปร่งใสและสมพระเกียรติทั้งสองภารกิจนี้เป็นตัวอย่างของการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีไทย ตลอดจนเสริมสร้างความศรัทธาในพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังเป็นไปตามกรอบแนวคิดของการจัดงานที่มุ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอย่างมีคุณธรรม โปร่งใส และนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน เป็นตัวอย่างของการทำงานภาครัฐที่สะท้อนถึงหลักการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งข้าราชการทุกระดับสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง

  
 
2. การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม
 
กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการที่โดดเด่นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน โดยเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม ผ่าน 3 โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรม “เที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน” หรือ “Night at the Museum” โดยกรมศิลปากร ที่จัดขึ้น ในปี พ.ศ. 2567 โดยมีการจัดงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2567 เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 20.00 น. ภายในงานมีกิจกรรมหลากหลาย เช่น ตลาดพิพิธภัณฑ์ (Museum Market) ที่จำหน่ายงานอาร์ตทอย กาชาปอง งานคราฟต์ และสื่อสร้างสรรค์จากโบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวตราประทับที่ระลึกสำหรับอาคารต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ จำนวน 14 ดวง ซึ่งเปิดให้สะสมตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม เป็นต้นไปนอกจากที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครแล้ว ยังมีการจัดงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ระหว่างวันที่ 27-29 ธันวาคม 2567 โดยเปิดให้เข้าชมความงดงามของเรือพระราชพิธีตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 20.30 น. พร้อมกิจกรรมพิเศษ เช่น การนำชมรอบพิเศษ และการแสดงเห่เรือและพายเรือพระราชพิธีประดับแสงไฟ กิจกรรมเหล่านี้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมไทยในบรรยากาศยามค่ำคืน

2. กิจกรรม “การคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” กระทรวงวัฒนธรรมขับเคลื่อนการดำเนินงาน Soft Power ด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาลผลักดันการขับเคลื่อน “เศรษฐกิจวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ด้วยการนำมิติทางวัฒนธรรมอัตลักษณ์ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ มาสืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทยให้เป็นกุญแจสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติอย่างแท้จริง โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ซึ่งได้คัดเลือกชุมชนต้นแบบระดับจังหวัดที่มีศักยภาพ ความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ ปีละ 10 ชุมชน พร้อมยกย่องเชิดชูเกียรติ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยนับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” เป็นต้นมา สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนมากกว่า 1,200 ล้านบาท ปัจจุบันมีสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” 40 ชุมชน

3. งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ (Thailand Biennale) กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้ดำเนินการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ หรือ Thailand Biennale ในทุก ๆ 2 ปี ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ได้ดำเนินการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ มาแล้วจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ (1) เมื่อปี พ.ศ. 2561 ณ จังหวัดกระบี่ (2) เมื่อปี พ.ศ. 2564 ณ จังหวัดนครราชสีมา และ (3) เมื่อปี พ.ศ. 2566 ภายใต้ชื่องาน “การจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023” ณ จังหวัดเชียงราย ภายใต้แนวคิด “The Open World หรือเปิดโลก” ซึ่งมีกำหนดจัดงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 รวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 5 เดือน โดยมีการแบ่งการจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยใน 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) นิทรรศการหลัก (Main Exhibition) โดยเป็นการแสดงผลงานศิลปะการจัดวางเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) จำนวน 17 จุด คลอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเชียงแสน โดยผลงานศิลปะที่จัดแสดงนั้นเกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของศิลปินจำนวน 60 คน จาก 21 ประเทศ (2) นิทรรศการกลุ่มหรือศาลาการแสดง (Pavilion) ของศิลปิน พิพิธภัณฑ์ และองค์กรต่าง ๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 13 แห่ง และ (3) กิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้นในช่วงงาน (Collateral Events) ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนเมษายน 2567 จำนวนทั้งสิ้น 137 ครั้ง จากการดำเนินงานข้างต้น ส่งผลให้เกิดความสำเร็จทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นอย่างยิ่ง โดยตลอดการจัดงานมีผู้เข้าร่วมงานและกิจกรรมคู่ขนาน จำนวนทั้งสิ้น 2.82 ล้านคน เกิดรายได้จากภาคการท่องเที่ยวภายในจังหวัดเชียงราย จำนวน 24,433.65 ล้านบาท และสามารถสร้างการรับรู้และการเข้าถึงผู้ชมผ่านสื่อโซเชียลมีเดียผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวนมากกว่า 22 ล้านครั้ง พร้อมนี้ การจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ณ จังหวัดเชียงราย กระตุ้นการเพิ่มมูลค่างานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณค่า มูลค่าและคุณภาพสู่สังคม รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิลปินในการพัฒนาและค้นหาตัวตนสู่ความเป็นเลิศด้านศิลปะ พัฒนาสู่ความก้าวหน้าในสายอาชีพ เกิดการเผยแพร่แลกเปลี่ยน พัฒนาเครือข่ายศิลปินและองค์กรศิลปะในระดับนานาชาติ ควบคู่กับการสร้างรายได้จากต้นทุนทรัพยากรทางวัฒนธรรม และเพิ่มรายได้ด้านการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบของมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก สำหรับการจัด “งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ พ.ศ. 2568 Thailand Biennale 2025” มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2568 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2569 ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้แนวคิด “นิรันดร์กัลป์” ซึ่งเป็นการนำศิลปะหลากหลายสาขามาเป็นเครื่องมือนำเสนอแนวคิดการสำรวจความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ต่อยอดภูเก็ตให้เป็นเมืองศิลปะแห่งการสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

3. การเสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก

กระทรวงวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากลโดยดำเนินการเสนอการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ รวมถึงผลักดันการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของวัฒนธรรมและผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ผลักดันให้แหล่งโบราณคดีและอุทยานประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก จำนวน 5 แหล่ง ดังนี้

  • เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2534
  • อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2534
  • แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2535
  • เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2566
  • อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2567

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยกับยูเนสโก เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมให้คงอยู่ต่อไป โดยปัจจุบันประเทศไทยมีรายการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 6 รายการ ดังนี้

  • โขน ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2561
  • นวดไทย ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2562
  • โนรา ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2564
  • ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2566
  • ต้มยำกุ้ง ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2567
  • เคบายา ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2567

การขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

กระทรวงวัฒนธรรมผลักดันให้เมืองสำคัญของไทยได้รับการประกาศให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งเป็นเครือข่ายเมืองที่มีความโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับการรับรอง จำนวน 7 เมือง ดังนี้

  • ภูเก็ต (เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2558
  • เชียงใหม่ (เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2560
  • สุโขทัย (เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2562
  • กรุงเทพมหานคร (เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2562
  • เพชรบุรี (เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2564
  • เชียงราย (เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2566
  • สุพรรณบุรี (เมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี) ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2566

กระทรวงวัฒนธรรมยังคงเดินหน้าผลักดันการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยในระดับนานาชาติเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักพร้อมทั้งส่งเสริมให้วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ รวมถึงการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ฯ ไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่สากล แต่ยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยในหลายมิติ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก พร้อมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การท่องเที่ยว และการพัฒนาเมืองอย่างสมดุลและยั่งยืน

บทบาท/ภารกิจของกระทรวงวัฒนธรรม

 

1. เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ สืบสานศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่ดีงามของสังคมไทย

2. ส่งเสริมเศรษฐกิจวัฒนธรรม เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ

3. พัฒนาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศและส่งเสริมบทบาททางวัฒนธรรมของไทยในเวทีโลก

4. สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จิตสำนึกค่านิยมเชิงบวก และคุณลักษณะของคนไทยที่พร้อมปรับตัวสู่อนาคต

5. ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์ และการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม

6. บริหารจัดการงานศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงวัฒนธรรม

 

1. การเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ

       รัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย สถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะจากสาธารณรัฐอินเดียมาประดิษฐานชั่วคราว ณ ประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รวมถึงส่งเสริมศรัทธาในพระพุทธศาสนา และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พิธีการดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 กุมภาพันธ์ - 18 มีนาคม 2567 โดยเริ่มจากการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 และประดิษฐานชั่วคราว ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ก่อนจะมีขบวนอัญเชิญอย่างยิ่งใหญ่ไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวงในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รับความสนใจจากประชาชนกว่า 2,500 คนเข้าร่วมริ้วขบวน จากนั้นเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม 2567 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 2 ล้านคน หลังจากนั้นมีการอัญเชิญไปประดิษฐานยังภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ (5 - 8 มีนาคม) วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี (9 - 13 มีนาคม) และวัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ (14 - 18 มีนาคม) โดยมีผู้เข้าสักการะรวมทั้งสิ้น 4,127,590 คน ซึ่งเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ถึงร้อยละ 106.38 สะท้อนถึงพลังแห่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

       ขณะเดียวกันกระทรวงวัฒนธรรมได้รับมอบหมายให้ดำเนินภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยให้ข้าราชการ บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ และประชาชนที่มีสิทธิตามหลักเกณฑ์ของสำนักพระราชวังได้รับเกียรติยศสมพระเกียรติ พิธีดังกล่าวได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นมา โดยกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติงานพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานเพื่อบริหารงานด้านนี้ รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้สามารถปฏิบัติงานตามโบราณราชประเพณีได้อย่างถูกต้อง ภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานครอบคลุมการประสานขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เพลิงพระราชทาน ดินฝังศพพระราชทาน และเครื่องเกียรติยศประกอบศพ โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในระดับจังหวัดเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่วประเทศ ในปีงบประมาณ 2567 กองพิธีการศพที่ได้รับพระราชทานได้ปฏิบัติงานตามหมายรับสั่งไปแล้ว จำนวน 12,412 หมายรับสั่ง พร้อมการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่จำนวน 731 คนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังได้รับผลการประเมินความพึงพอใจจากประชาชนในระดับร้อยละ 100 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการให้บริการด้วยความโปร่งใสและสมพระเกียรติทั้งสองภารกิจนี้เป็นตัวอย่างของการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ รักษาและส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีไทย ตลอดจนเสริมสร้างความศรัทธาในพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังเป็นไปตามกรอบแนวคิดของการจัดงานที่มุ่งเน้นการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการอย่างมีคุณธรรม โปร่งใส และนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการดำเนินงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและภารกิจพิธีการศพที่ได้รับพระราชทาน เป็นตัวอย่างของการทำงานภาครัฐที่สะท้อนถึงหลักการ “สืบสาน รักษา และต่อยอด” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งข้าราชการทุกระดับสามารถนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง

  
 
2. การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม
 
กระทรวงวัฒนธรรม มีโครงการที่โดดเด่นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชน โดยเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้วยมิติทางวัฒนธรรม ผ่าน 3 โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. กิจกรรม “เที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน” หรือ “Night at the Museum” โดยกรมศิลปากร ที่จัดขึ้น ในปี พ.ศ. 2567 โดยมีการจัดงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ระหว่างวันที่ 20-22 ธันวาคม 2567 เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 20.00 น. ภายในงานมีกิจกรรมหลากหลาย เช่น ตลาดพิพิธภัณฑ์ (Museum Market) ที่จำหน่ายงานอาร์ตทอย กาชาปอง งานคราฟต์ และสื่อสร้างสรรค์จากโบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑ์ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวตราประทับที่ระลึกสำหรับอาคารต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ จำนวน 14 ดวง ซึ่งเปิดให้สะสมตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม เป็นต้นไปนอกจากที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครแล้ว ยังมีการจัดงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ระหว่างวันที่ 27-29 ธันวาคม 2567 โดยเปิดให้เข้าชมความงดงามของเรือพระราชพิธีตั้งแต่เวลา 09.00 น. ถึง 20.30 น. พร้อมกิจกรรมพิเศษ เช่น การนำชมรอบพิเศษ และการแสดงเห่เรือและพายเรือพระราชพิธีประดับแสงไฟ กิจกรรมเหล่านี้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ประวัติศาสตร์ และสถาปัตยกรรมไทยในบรรยากาศยามค่ำคืน

2. กิจกรรม “การคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” กระทรวงวัฒนธรรมขับเคลื่อนการดำเนินงาน Soft Power ด้านการท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาลผลักดันการขับเคลื่อน “เศรษฐกิจวัฒนธรรม เพื่อการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน” โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ด้วยการนำมิติทางวัฒนธรรมอัตลักษณ์ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ มาสืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมวัฒนธรรมไทยให้เป็นกุญแจสําคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติอย่างแท้จริง โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ในชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดำเนินโครงการคัดเลือก 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ซึ่งได้คัดเลือกชุมชนต้นแบบระดับจังหวัดที่มีศักยภาพ ความพร้อมด้านการท่องเที่ยวในทุกมิติ ปีละ 10 ชุมชน พร้อมยกย่องเชิดชูเกียรติ และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง โดยนับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” เป็นต้นมา สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนมากกว่า 1,200 ล้านบาท ปัจจุบันมีสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” 40 ชุมชน

3. งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ (Thailand Biennale) กระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้ดำเนินการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ หรือ Thailand Biennale ในทุก ๆ 2 ปี ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561 ได้ดำเนินการจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ มาแล้วจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ (1) เมื่อปี พ.ศ. 2561 ณ จังหวัดกระบี่ (2) เมื่อปี พ.ศ. 2564 ณ จังหวัดนครราชสีมา และ (3) เมื่อปี พ.ศ. 2566 ภายใต้ชื่องาน “การจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023” ณ จังหวัดเชียงราย ภายใต้แนวคิด “The Open World หรือเปิดโลก” ซึ่งมีกำหนดจัดงานดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 รวมระยะเวลาทั้งสิ้นกว่า 5 เดือน โดยมีการแบ่งการจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยใน 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) นิทรรศการหลัก (Main Exhibition) โดยเป็นการแสดงผลงานศิลปะการจัดวางเฉพาะพื้นที่ (Site Specific Installation) จำนวน 17 จุด คลอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองเชียงรายและอำเภอเชียงแสน โดยผลงานศิลปะที่จัดแสดงนั้นเกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของศิลปินจำนวน 60 คน จาก 21 ประเทศ (2) นิทรรศการกลุ่มหรือศาลาการแสดง (Pavilion) ของศิลปิน พิพิธภัณฑ์ และองค์กรต่าง ๆ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 13 แห่ง และ (3) กิจกรรมพิเศษที่จัดขึ้นในช่วงงาน (Collateral Events) ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนเมษายน 2567 จำนวนทั้งสิ้น 137 ครั้ง จากการดำเนินงานข้างต้น ส่งผลให้เกิดความสำเร็จทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเป็นอย่างยิ่ง โดยตลอดการจัดงานมีผู้เข้าร่วมงานและกิจกรรมคู่ขนาน จำนวนทั้งสิ้น 2.82 ล้านคน เกิดรายได้จากภาคการท่องเที่ยวภายในจังหวัดเชียงราย จำนวน 24,433.65 ล้านบาท และสามารถสร้างการรับรู้และการเข้าถึงผู้ชมผ่านสื่อโซเชียลมีเดียผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จำนวนมากกว่า 22 ล้านครั้ง พร้อมนี้ การจัดมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Chiang Rai 2023 ณ จังหวัดเชียงราย กระตุ้นการเพิ่มมูลค่างานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีคุณค่า มูลค่าและคุณภาพสู่สังคม รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้กับศิลปินในการพัฒนาและค้นหาตัวตนสู่ความเป็นเลิศด้านศิลปะ พัฒนาสู่ความก้าวหน้าในสายอาชีพ เกิดการเผยแพร่แลกเปลี่ยน พัฒนาเครือข่ายศิลปินและองค์กรศิลปะในระดับนานาชาติ ควบคู่กับการสร้างรายได้จากต้นทุนทรัพยากรทางวัฒนธรรม และเพิ่มรายได้ด้านการท่องเที่ยวด้านศิลปวัฒนธรรมผ่านการจัดกิจกรรมในรูปแบบของมหกรรมศิลปะนานาชาติระดับโลก สำหรับการจัด “งานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ พ.ศ. 2568 Thailand Biennale 2025” มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2568 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2569 ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้แนวคิด “นิรันดร์กัลป์” ซึ่งเป็นการนำศิลปะหลากหลายสาขามาเป็นเครื่องมือนำเสนอแนวคิดการสำรวจความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ต่อยอดภูเก็ตให้เป็นเมืองศิลปะแห่งการสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

3. การเสริมสร้างภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก

กระทรวงวัฒนธรรมมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากลโดยดำเนินการเสนอการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ รวมถึงผลักดันการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของวัฒนธรรมและผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ผลักดันให้แหล่งโบราณคดีและอุทยานประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก จำนวน 5 แหล่ง ดังนี้

  • เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2534
  • อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2534
  • แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2535
  • เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2566
  • อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2567

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยกับยูเนสโก เพื่อเป็นการอนุรักษ์และส่งเสริมให้คงอยู่ต่อไป โดยปัจจุบันประเทศไทยมีรายการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 6 รายการ ดังนี้

  • โขน ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2561
  • นวดไทย ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2562
  • โนรา ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2564
  • ประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทย ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2566
  • ต้มยำกุ้ง ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2567
  • เคบายา ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2567

การขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO)

กระทรวงวัฒนธรรมผลักดันให้เมืองสำคัญของไทยได้รับการประกาศให้เป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งเป็นเครือข่ายเมืองที่มีความโดดเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับการรับรอง จำนวน 7 เมือง ดังนี้

  • ภูเก็ต (เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2558
  • เชียงใหม่ (เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2560
  • สุโขทัย (เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2562
  • กรุงเทพมหานคร (เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2562
  • เพชรบุรี (เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหาร) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2564
  • เชียงราย (เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ) ขึ้นทะเบียนปี พ.ศ. 2566
  • สุพรรณบุรี (เมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี) ขึ้นทะเบียน พ.ศ. 2566

กระทรวงวัฒนธรรมยังคงเดินหน้าผลักดันการขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมของไทยในระดับนานาชาติเพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักพร้อมทั้งส่งเสริมให้วัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ รวมถึงการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ฯ ไม่เพียงแต่ช่วยอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยสู่สากล แต่ยังสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทยในหลายมิติ ทำให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในเวทีโลก พร้อมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การท่องเที่ยว และการพัฒนาเมืองอย่างสมดุลและยั่งยืน

กระทรวงวัฒนธรรม
เลขที่ 10 ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
โทรศัพท์: 02-2093592-95 / สายด่วนวัฒนธรรม 1765
โทรสาร: 02-2093591
อีเมล: saraban@m-culture.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ
Background Desktop Background Mobile