กระทรวงสาธารณสุข
Ministry of Public Health

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข

       ๑. ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในรอบปีที่ผ่านมา ภารกิจของหน่วยงานที่สำคัญในปัจจุบันภารกิจที่สอดคล้องกับหัวข้อม “ข้าราชการยุคใหม่ พัฒนาประเทศไทย ใส่ใจประชาชน”กระทรวงสาธารณสุขยกระดับบริการสาธารณสุขในพื้นที่ด้วยแนวคิด “หนึ่งจังหวัด หนึ่งโรงพยาบาล”
         ๑.๑ ยกระดับบริการสุขภาพในทุกพื้นที่
           - ส่งเสริมระบบบริการปฐมภูมิ ขยายทีมหมอครอบครัว ๓,๕๑๕ ทีม ครอบคลุมการดูแลประชาชนกว่า ๓๖ ล้านคน
           - ยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผ่านบริการ ๓๐ บาท รักษาทุกที่ มะเร็งรักษาทุกที่ ๑,๒๗๒,๓๕๔ ครั้ง ย้ายหน่วยบริการฟรี ไม่ต้องรอ ๑๕ วัน ฟอกไตฟรี ๙๐,๒๙๗ ครั้ง
         ๑.๒ พัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
           - ผลักดันสถานพยาบาลสู่การเป็น Smart Hospital
           - ประชาชนชาวไทยมี Digital ID เพื่อเข้าถึงระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ ๔,๖๘๘,๓๙๘ คน
           - ผลักดันการให้บริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกลมีโรงพยาบาลที่ติดตั้งระบบแล้ว ๖๗๐ แห่ง มีแผนจะติดตั้ง ๒๓๓ แห่ง
           - พัฒนาสถานบริการตามนโยบาย EMS ผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นพื้นฐาน ๘๔๒ แห่ง ขั้นสูง ๒๖ แห่ง
           - ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ๖๐๐ แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ ๗๐๕ แห่ง
         ๑.๓ เสริมสร้างสุขภาพคนไทยทุกกลุ่มวัย ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเข้มแข็ง
           - พัฒนา รพ.สต. รอบรู้ด้านสุขภาพ ๓,๒๗๓ แห่ง สร้างชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ ๒,๕๒๙ ชุมชน
           - ขยายบริการคลินิกผู้สูงอายุ ๘๓๘ แห่ง คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ๙ ด้าน ๗,๖๖๔,๘๔๒ คน
           - มอบสวัสดิการผู้สูงอายุ แว่นสายตา ๒๙๒,๔๖๓ ชิ้น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่/แผ่นรองซับ ๒๑,๑๕๗,๖๖๓ ชิ้น ฟันเทียม ๕๑,๕๔๕ คน รากฟันเทียม ๑,๓๘๔ คน
         ๑.๔ การนำสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
           - พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ๑๒๙ เส้นทาง
           - ออกใบอนุญาตสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ๑๒๔ แห่ง (Thai World Class Spa ๓๖ แห่ง/ Nuad Thai Premium ๘๘ แห่ง)
           - ยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการแข่งขัน โดยมีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการอนุญาต ๑,๑๔๑ รายการ
         ๑.๕ บริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
           - เปลี่ยนจากโรคระบาดใหม่ สู่ “โรคประจำถิ่น” 
           - WHO ยกให้เป็นชาติต้นแบบการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ
           - ได้รับความเชื่อมั่นให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่

         ๑.๖ ดูแลความก้าวหน้าของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
           - ให้ความสำคัญในการดูแลทุกวิชาชีพ ทั้งเรื่องค่าตอบแทน ความก้าวหน้า และสวัสดิการต่างๆ
           - ขยายระดับชำนาญการพิเศษของพยาบาลให้แก่พยาบาลวิชาชีพ ๑๐,๑๒๔ ตำแหน่ง
           - ปรับค่า OT ทุกวิชาชีพ ขึ้นร้อยละ ๘

         กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้นแบบองค์กรสร้างคุณค่าต่อสังคมและประเทศ สร้างสรรค์ผลงานราชการ จนมีผลสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 จำนวน 33 รางวัล
         ๑.๗ ดิจิทัลแพลตฟอร์มรายงานผลการตรวจทางพันธุกรรม “ผูกพันธุ์” กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ดิจิทัลแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” เป็นระบบที่ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงผลการตรวจทางพันธุกรรมได้ ไม่ว่าคุณจะเคยตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใดใด ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน “ผูกพันธุ์” เชื่อมโยงข้อมูลพันธุกรรมสู่การรักษาที่แม่นยำ ตรวจเพียงครั้งเดียว สามารถใช้ผลได้ตลอดชีวิต ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น คุณสามารถนำผลการตรวจทางพันธุกรรมไปแสดงให้แพทย์เพื่อใช้ในการประกอบการรักษาได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการแพ้ยารุนแรงของผู้ป่วย จึงสร้างระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ขึ้น เพื่อรายงานผลการตรวจพันธุกรรมของผู้ป่วย และประเมินโอกาสที่จะเกิดการแพ้ยารุนแรงของผู้ป่วย ว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงใด ซึ่งการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์จะทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถเลือกใช้ยาหรือปรับขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการแพ้ยา โดยผลการตรวจเภสัชพันธุศาสตร์เพียงครั้งเดียวจะสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งแพทย์ เภสัชกร และผู้ป่วยสามารถดูผลการตรวจพันธุกรรมของตนเองที่ตรวจจากห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ โดยในปี ๒๕๖๖ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เปิดให้บริการแก่ประชาชน ได้แก่ ผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ เพื่อป้องกันการแพ้ยารุนแรง ใน ๔ การทดสอบ คือ 
           ๑. การตรวจยีน HLA-B*๕๘:๐๑ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาลดกรดยูริค อัลโลพูรินอล (Allopurinol) หรือยารักษาโรคเกาต์ 
           ๒. การตรวจยีน HLA-B*๑๕:๐๒ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) 
           ๓. การตรวจยีน HLA-B*๕๗:๐๑ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี อะบาคาเวียร์ (Abacavir) 
           ๔. การตรวจยีนย่อยยา NAT๒ ในผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid)
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หวังว่า “ผูกพันธุ์” จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของทางการแพทย์ และช่วยให้แพทย์นำข้อมูล ไปใช้ในการวางแผนป้องกันและรักษาโรคอย่างเฉพาะเจาะจงและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยในปี ๒๕๖๗ จะขยายการใช้ระบบแพลตฟอร์มดิจิตอล “ผูกพันธุ์” เชื่อมข้อมูลระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ในการเข้าถึงผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ ไปยังโรงพยาบาลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://phukphan.dmsc.moph.go.th/

ติดตามผลงานที่สําคัญอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่
       ๑) QuickWin ๑๐๐ Day 

       ๒) ระบบบริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข

       ๓) ออกหน่วย รถ mobile คลายเครียด, ตรวจคัดกรองสุขภาพจิตผ่าน App MHCI ออกหน่วยตรวจสุขภาพจิตด้วย Biofeedback และออกหน่วยคัดกรอง ครม.
สามารถชมสินค้าออนไลน์ได้ที่
       e-shopping สถาบันโรคผิวหนัง https://lin.ee/xBzbIjt

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข

       ๑. ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในรอบปีที่ผ่านมา ภารกิจของหน่วยงานที่สำคัญในปัจจุบันภารกิจที่สอดคล้องกับหัวข้อม “ข้าราชการยุคใหม่ พัฒนาประเทศไทย ใส่ใจประชาชน”กระทรวงสาธารณสุขยกระดับบริการสาธารณสุขในพื้นที่ด้วยแนวคิด “หนึ่งจังหวัด หนึ่งโรงพยาบาล”
         ๑.๑ ยกระดับบริการสุขภาพในทุกพื้นที่
   - ส่งเสริมระบบบริการปฐมภูมิ ขยายทีมหมอครอบครัว ๓,๕๑๕ ทีม ครอบคลุมการดูแลประชาชนกว่า ๓๖ ล้านคน
   - ยกระดับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผ่านบริการ ๓๐ บาท รักษาทุกที่ มะเร็งรักษาทุกที่ ๑,๒๗๒,๓๕๔ ครั้ง ย้ายหน่วยบริการฟรี ไม่ต้องรอ ๑๕ วัน ฟอกไตฟรี ๙๐,๒๙๗ ครั้ง
         ๑.๒ พัฒนาเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
   - ผลักดันสถานพยาบาลสู่การเป็น Smart Hospital
   - ประชาชนชาวไทยมี Digital ID เพื่อเข้าถึงระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อ ๔,๖๘๘,๓๙๘ คน
   - ผลักดันการให้บริการผ่านระบบการแพทย์ทางไกลมีโรงพยาบาลที่ติดตั้งระบบแล้ว ๖๗๐ แห่ง มีแผนจะติดตั้ง ๒๓๓ แห่ง
   - พัฒนาสถานบริการตามนโยบาย EMS ผ่านเกณฑ์การประเมินขั้นพื้นฐาน ๘๔๒ แห่ง ขั้นสูง ๒๖ แห่ง
   - ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ๖๐๐ แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ ๗๐๕ แห่ง
         ๑.๓ เสริมสร้างสุขภาพคนไทยทุกกลุ่มวัย ยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเข้มแข็ง
   - พัฒนา รพ.สต. รอบรู้ด้านสุขภาพ ๓,๒๗๓ แห่ง สร้างชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ ๒,๕๒๙ ชุมชน
   - ขยายบริการคลินิกผู้สูงอายุ ๘๓๘ แห่ง คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ๙ ด้าน ๗,๖๖๔,๘๔๒ คน
   - มอบสวัสดิการผู้สูงอายุ แว่นสายตา ๒๙๒,๔๖๓ ชิ้น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่/แผ่นรองซับ ๒๑,๑๕๗,๖๖๓ ชิ้น ฟันเทียม ๕๑,๕๔๕ คน รากฟันเทียม ๑,๓๘๔ คน
         ๑.๔ การนำสุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
   - พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ๑๒๙ เส้นทาง
   - ออกใบอนุญาตสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ๑๒๔ แห่ง (Thai World Class Spa ๓๖ แห่ง/ Nuad Thai Premium ๘๘ แห่ง)
   - ยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการให้มีความสามารถในการแข่งขัน โดยมีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับการอนุญาต ๑,๑๔๑ รายการ
         ๑.๕ บริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
   - เปลี่ยนจากโรคระบาดใหม่ สู่ “โรคประจำถิ่น” 
   - WHO ยกให้เป็นชาติต้นแบบการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ
   - ได้รับความเชื่อมั่นให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานเลขาธิการศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่

         ๑.๖ ดูแลความก้าวหน้าของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
   - ให้ความสำคัญในการดูแลทุกวิชาชีพ ทั้งเรื่องค่าตอบแทน ความก้าวหน้า และสวัสดิการต่างๆ
   - ขยายระดับชำนาญการพิเศษของพยาบาลให้แก่พยาบาลวิชาชีพ ๑๐,๑๒๔ ตำแหน่ง
   - ปรับค่า OT ทุกวิชาชีพ ขึ้นร้อยละ ๘

         กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้นแบบองค์กรสร้างคุณค่าต่อสังคมและประเทศ สร้างสรรค์ผลงานราชการ จนมีผลสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2566 จำนวน 33 รางวัล
         ๑.๗ ดิจิทัลแพลตฟอร์มรายงานผลการตรวจทางพันธุกรรม “ผูกพันธุ์” กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ดิจิทัลแพลตฟอร์ม “ผูกพันธุ์” เป็นระบบที่ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงผลการตรวจทางพันธุกรรมได้ ไม่ว่าคุณจะเคยตรวจที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใดใด ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน “ผูกพันธุ์” เชื่อมโยงข้อมูลพันธุกรรมสู่การรักษาที่แม่นยำ ตรวจเพียงครั้งเดียว สามารถใช้ผลได้ตลอดชีวิต ไม่จำเป็นต้องตรวจซ้ำ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น คุณสามารถนำผลการตรวจทางพันธุกรรมไปแสดงให้แพทย์เพื่อใช้ในการประกอบการรักษาได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เห็นความสำคัญเกี่ยวกับการแพ้ยารุนแรงของผู้ป่วย จึงสร้างระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล “ผูกพันธุ์” ขึ้น เพื่อรายงานผลการตรวจพันธุกรรมของผู้ป่วย และประเมินโอกาสที่จะเกิดการแพ้ยารุนแรงของผู้ป่วย ว่ามีโอกาสมากน้อยเพียงใด ซึ่งการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์จะทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถเลือกใช้ยาหรือปรับขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากการแพ้ยา โดยผลการตรวจเภสัชพันธุศาสตร์เพียงครั้งเดียวจะสามารถใช้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งแพทย์ เภสัชกร และผู้ป่วยสามารถดูผลการตรวจพันธุกรรมของตนเองที่ตรวจจากห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ โดยในปี ๒๕๖๖ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เปิดให้บริการแก่ประชาชน ได้แก่ ผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ เพื่อป้องกันการแพ้ยารุนแรง ใน ๔ การทดสอบ คือ 
   ๑. การตรวจยีน HLA-B*๕๘:๐๑ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาลดกรดยูริค อัลโลพูรินอล (Allopurinol) หรือยารักษาโรคเกาต์ 
   ๒. การตรวจยีน HLA-B*๑๕:๐๒ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) 
   ๓. การตรวจยีน HLA-B*๕๗:๐๑ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี อะบาคาเวียร์ (Abacavir) 
   ๔. การตรวจยีนย่อยยา NAT๒ ในผู้ป่วยวัณโรคที่ได้รับยาไอโซไนอาซิด (Isoniazid)
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หวังว่า “ผูกพันธุ์” จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของทางการแพทย์ และช่วยให้แพทย์นำข้อมูล ไปใช้ในการวางแผนป้องกันและรักษาโรคอย่างเฉพาะเจาะจงและแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยในปี ๒๕๖๗ จะขยายการใช้ระบบแพลตฟอร์มดิจิตอล “ผูกพันธุ์” เชื่อมข้อมูลระบบสารสนเทศของโรงพยาบาล ในการเข้าถึงผลการตรวจทางเภสัชพันธุศาสตร์ ไปยังโรงพยาบาลต่างๆ เพิ่มมากขึ้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://phukphan.dmsc.moph.go.th/

ติดตามผลงานที่สําคัญอื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่
       ๑) QuickWin ๑๐๐ Day 

       ๒) ระบบบริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ กระทรวงสาธารณสุข

       ๓) ออกหน่วย รถ mobile คลายเครียด, ตรวจคัดกรองสุขภาพจิตผ่าน App MHCI ออกหน่วยตรวจสุขภาพจิตด้วย Biofeedback และออกหน่วยคัดกรอง ครม.
สามารถชมสินค้าออนไลน์ได้ที่
       e-shopping สถาบันโรคผิวหนัง https://lin.ee/xBzbIjt

กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์: ๐-๒๕๙๐-๑๐๐๐
โทรสาร: ๐-๒๕๙๐-๑๑๗๔
อีเมล: saraban@moph.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ