กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Ministry of Natural Resources and Environment

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มุ่งเน้นรักษาฐานทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับประชาชน โดยที่ผ่านมาภายใต้การกำกับดูแลของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น ๔ ด้าน ดังนี้
       ๑. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ 
         ๑.๑ การแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินของราษฎรตามโครงการจัดที่ดินทำกิน ให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) 
           - พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒.๘๖ ล้านไร่ จากเป้าหมาย ๑๒.๕ ล้านไร่ 
           - พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จัดทำเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ทั้งสิ้น ๒๒๔ ป่าอนุรักษ์ เนื้อที่ ๔.๒๗ ล้านไร่ 
           - พื้นที่ป่าชายเลน ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๖,๔๑๔ จากเป้าหมาย ๒๘,๔๘๘ ไร่ 
         ๑.๒ การแก้ไขปัญหาช้างป่าและสัตว์ป่า 
           - ประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากข้างป่าหรือกระทิง พ.ศ. ๒๕๖๖ 
           - ฟื้นฟูถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า อาทิ พื้นที่แหล่งอาหาร ๙,๐๐๐ ไร่ พัฒนาแหล่งน้ำโดยใช้ระบบสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ 
           - จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าและสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ ๒๑๔ เครือข่าย 
           - ควบคุมประชากรลิง (ทำหมัน) จำนวนกว่า ๑,๖๐๐ ตัว
         ๑.๓ การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 
           - ออกกฎกระทรวงการกำหนดเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้มาตรการ จำนวน ๙ ระบบหาด 
           - ทบทวนรายการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด และเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล (Environmental Checklist For Seawall and Revetment) และจัดทำคู่มือพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล 
         ๑.๔ การสำรวจธรณีวิทยาและถ้ำ ตรวจสอบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ และธรณีพิบัติภัย 
           - เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ได้รับการประกาศจากยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางธรณีวิทยา 
           - ค้นพบซากดึกดำบรรพ์อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก "อัลลิเกเตอร์ มูลเอนชิส" หรือ "อัลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล" ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา และซากดึกดำบรรพ์จระเข้แคระสายพันธุ์ใหม่ของโลก "วาราโนซูคัส สกลนครเอนซิส" ในพื้นที่ จ.สกลนคร 
           - ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดธรณีพิบัติภัย พร้อมทั้งสำรวจถ้ำและอุทยานธรณีในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 
           - การสำรวจธรณีวิทยาและถ้ำ ตรวจสอบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ และธรณีพิบัติภัย (แผ่นดินถล่มและหลุมยุบ) ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน น่าน ขอนแก่น เลย กระบี่ สตูล ชุมพร ตรัง พังงา เพชรบูรณ์ สระบุรี และกาญจนบุรี

       ๒. ด้านสิ่งแวดล้อม 
         ๒.๑ การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หมอกควันข้ามแดน และหมอกควันและไฟป่า 
           -  ปรับปรุงค่ามาตรฐานใหม่ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน (PM๒.๕) ตามค่าเฉลี่ย ๒๔ ชั่วโมง เป็นไม่เกิน ๓๗.๕ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) จากเดิมต้องไม่เกิน ๕๐ มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยในเวลา ๑ ปี เป็นไม่เกิน ๑๕ มคก./ลบ.ม. จากเดิมต้องไม่เกิน ๒๕ มคก./ลบ.ม. 
           - กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM๒.๕ ปี ๒๕๖๗ พื้นที่เป้าหมายหลัก ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ มุ่งเป้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตรที่ไฟไหม้ซ้ำซาก
           - ตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควันและฝุ่นละออง เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ตลอดจนยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งการเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่โล่ง พื้นที่การเกษตร รวมถึงหมอกควันข้ามแดนและประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านแก้ปัญหาหมอกควันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน 
           - พิจารณาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ตั้งเป้าหมายลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมลงร้อยละ ๕๐ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ครอบคลุมพื้นที่ ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ และพื้นที่อื่น ๆ ให้ลดลงร้อยละ ๑๐ 
           - ผลักดันให้เกิดการบังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ตามมาตรฐานยูโร ๕ สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก รถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ และรถเบนซินขนาดใหญ่ และการบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเทียบเท่ามาตรฐานยูโร C โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ 
           - ขับเคลื่อนภารกิจงานควบคุมไฟป่าที่ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการอุดหนุนงบประมาณให้แก่ อปท. และชี้แจงให้ประชาชนงดเผาในพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติ
        ๒.๒ การบริหารจัดการขยะมูลฝอย คุณภาพน้ำ สารเคมี และของเสียอันตราย 
           - ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การขับเคลื่อนการจัดการขยะอาหารเพื่อรองรับเป้าหมาย ด้านการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย 
           - อยู่ระหว่างการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพน้ำ จำนวน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งเฉพาะประเภทอุตสาหกรรม (อาหารจากแป้ง) (๒) มาตรฐานควบคุม การระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อยและบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (๓) มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน และ (๔) มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร 
           - สนับสนุนจังหวัดและ อปท. ในการจัดเก็บและรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนส่งไปกำจัด และส่งเสริมการแยกทิ้งโดยเพิ่มจุด Drop off ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณของเสีย อันตรายจากชุมชน ที่เก็บรวบรวมได้ จำนวน ๕,๑๒๐ กิโลกรัม

       ๓. ด้านทรัพยากรน้ำ 
         ๓.๑ การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง/อุทกภัย 
           - จัดตั้งศูนย์อำนวยการติดตามและแก้ไขปัญหาภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม (ส่วนหน้า) โดยกรมทรัพยากรน้ำ ศูนย์ปฏิบัติการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลและศูนย์อำนวยการและประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและศูนย์บรรเทาภัยแล้ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
           - แจกจ่ายน้ำสะอาดและน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชน ในสถานการณ์ภัยแล้ง รวม๓๓๖,๖๙๙ ลิตร และสูบน้ำปริมาณ ๙.๒๔๔๘ ล้านลูกบาศก์เมตร 
           - เตรียมความพร้อมมาตรการเชิงรุกเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ๓๖.๓๗ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ให้ครัวเรือนได้รับประโยชน์กว่า ๗๓,๓๘๘ ครัวเรือน 

       ๔. ด้านการบริหารจัดการ 
         ๔.๑ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง 
           - ดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ในอุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน ครอบคลุมการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการ ความพร้อมของ สิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย 
           - ติดตั้งทุ่นแพลอยน้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน จำนวน ๘ จุด และติดตั้งทุ่นผูกเรือเพื่อการอนุรักษ์ปะการังในพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล จำนวน ๒๐๐ จุด
         ๔.๒ การพัฒนากฎหมายของกระทรวง   
           - (ร่าง) พระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... อยู่ในขั้นตอน การตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ในหมวดการควบคุมผลกระทบ ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 
           - (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... อยู่ระหว่างการหารื อกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯ 
           - (ร่าง) พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... โดยคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการและรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญ ของกฎหมายลำดับรอง เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน๒๕๖๖ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมการกฤษฎีกา   
การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงานที่สำคัญของหน่วยงาน
       - ภารกิจ ทส

       - รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM๒.๕ ประจำวัน

       - เปิดมาตราการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน ปี ๒๕๖๗

       - พิธีลงนาม MOU การขับเคลื่อนการจัดการขยะอาหาร เพื่อรองรับเป้าหมายด้านการลดก๊าซเรือนกระจก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มุ่งเน้นรักษาฐานทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับประชาชน โดยที่ผ่านมาภายใต้การกำกับดูแลของ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น ๔ ด้าน ดังนี้
       ๑. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ 
         ๑.๑ การแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยและทำกินของราษฎรตามโครงการจัดที่ดินทำกิน ให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) 
   - พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ดำเนินการแล้วเสร็จ ๒.๘๖ ล้านไร่ จากเป้าหมาย ๑๒.๕ ล้านไร่ 
   - พื้นที่ป่าอนุรักษ์ จัดทำเขตบริหารเพื่อการอนุรักษ์ทั้งสิ้น ๒๒๔ ป่าอนุรักษ์ เนื้อที่ ๔.๒๗ ล้านไร่ 
   - พื้นที่ป่าชายเลน ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๖,๔๑๔ จากเป้าหมาย ๒๘,๔๘๘ ไร่ 
         ๑.๒ การแก้ไขปัญหาช้างป่าและสัตว์ป่า 
   - ประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากข้างป่าหรือกระทิง พ.ศ. ๒๕๖๖ 
   - ฟื้นฟูถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า อาทิ พื้นที่แหล่งอาหาร ๙,๐๐๐ ไร่ พัฒนาแหล่งน้ำโดยใช้ระบบสูบน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ 
   - จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังช้างป่าและสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ ๒๑๔ เครือข่าย 
   - ควบคุมประชากรลิง (ทำหมัน) จำนวนกว่า ๑,๖๐๐ ตัว
         ๑.๓ การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 
   - ออกกฎกระทรวงการกำหนดเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยกำหนดเขตพื้นที่ที่จะใช้มาตรการ จำนวน ๙ ระบบหาด 
   - ทบทวนรายการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด และเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล (Environmental Checklist For Seawall and Revetment) และจัดทำคู่มือพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล 
         ๑.๔ การสำรวจธรณีวิทยาและถ้ำ ตรวจสอบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ และธรณีพิบัติภัย 
   - เมืองโบราณศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ ได้รับการประกาศจากยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ และอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางธรณีวิทยา 
   - ค้นพบซากดึกดำบรรพ์อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ของโลก "อัลลิเกเตอร์ มูลเอนชิส" หรือ "อัลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล" ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา และซากดึกดำบรรพ์จระเข้แคระสายพันธุ์ใหม่ของโลก "วาราโนซูคัส สกลนครเอนซิส" ในพื้นที่ จ.สกลนคร 
   - ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดธรณีพิบัติภัย พร้อมทั้งสำรวจถ้ำและอุทยานธรณีในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 
   - การสำรวจธรณีวิทยาและถ้ำ ตรวจสอบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ และธรณีพิบัติภัย (แผ่นดินถล่มและหลุมยุบ) ในพื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน น่าน ขอนแก่น เลย กระบี่ สตูล ชุมพร ตรัง พังงา เพชรบูรณ์ สระบุรี และกาญจนบุรี

       ๒. ด้านสิ่งแวดล้อม 
         ๒.๑ การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หมอกควันข้ามแดน และหมอกควันและไฟป่า 
   -  ปรับปรุงค่ามาตรฐานใหม่ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน (PM๒.๕) ตามค่าเฉลี่ย ๒๔ ชั่วโมง เป็นไม่เกิน ๓๗.๕ ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) จากเดิมต้องไม่เกิน ๕๐ มคก./ลบ.ม. และค่าเฉลี่ยในเวลา ๑ ปี เป็นไม่เกิน ๑๕ มคก./ลบ.ม. จากเดิมต้องไม่เกิน ๒๕ มคก./ลบ.ม. 
   - กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM๒.๕ ปี ๒๕๖๗ พื้นที่เป้าหมายหลัก ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ มุ่งเป้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ และพื้นที่เกษตรที่ไฟไหม้ซ้ำซาก
   - ตั้งคณะกรรมการแห่งชาติด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง หมอกควันและฝุ่นละออง เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและระดับพื้นที่ ตลอดจนยกระดับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทั้งการเผาในพื้นที่ป่า พื้นที่โล่ง พื้นที่การเกษตร รวมถึงหมอกควันข้ามแดนและประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านแก้ปัญหาหมอกควันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน 
   - พิจารณาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ตั้งเป้าหมายลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมลงร้อยละ ๕๐ เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ครอบคลุมพื้นที่ ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ และพื้นที่อื่น ๆ ให้ลดลงร้อยละ ๑๐ 
   - ผลักดันให้เกิดการบังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ตามมาตรฐานยูโร ๕ สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก รถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ และรถเบนซินขนาดใหญ่ และการบังคับใช้มาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเทียบเท่ามาตรฐานยูโร C โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ 
   - ขับเคลื่อนภารกิจงานควบคุมไฟป่าที่ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท. เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการอุดหนุนงบประมาณให้แก่ อปท. และชี้แจงให้ประชาชนงดเผาในพื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติ
        ๒.๒ การบริหารจัดการขยะมูลฝอย คุณภาพน้ำ สารเคมี และของเสียอันตราย 
   - ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) การขับเคลื่อนการจัดการขยะอาหารเพื่อรองรับเป้าหมาย ด้านการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย 
   - อยู่ระหว่างการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพน้ำ จำนวน ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งเฉพาะประเภทอุตสาหกรรม (อาหารจากแป้ง) (๒) มาตรฐานควบคุม การระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกร่อยและบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (๓) มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน และ (๔) มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคาร 
   - สนับสนุนจังหวัดและ อปท. ในการจัดเก็บและรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนส่งไปกำจัด และส่งเสริมการแยกทิ้งโดยเพิ่มจุด Drop off ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณของเสีย อันตรายจากชุมชน ที่เก็บรวบรวมได้ จำนวน ๕,๑๒๐ กิโลกรัม

       ๓. ด้านทรัพยากรน้ำ 
         ๓.๑ การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง/อุทกภัย 
   - จัดตั้งศูนย์อำนวยการติดตามและแก้ไขปัญหาภาวะน้ำแล้งและภาวะน้ำท่วม (ส่วนหน้า) โดยกรมทรัพยากรน้ำ ศูนย์ปฏิบัติการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาลและศูนย์อำนวยการและประสานงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและศูนย์บรรเทาภัยแล้ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
   - แจกจ่ายน้ำสะอาดและน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคให้กับประชาชน ในสถานการณ์ภัยแล้ง รวม๓๓๖,๖๙๙ ลิตร และสูบน้ำปริมาณ ๙.๒๔๔๘ ล้านลูกบาศก์เมตร 
   - เตรียมความพร้อมมาตรการเชิงรุกเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ๓๖.๓๗ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ให้ครัวเรือนได้รับประโยชน์กว่า ๗๓,๓๘๘ ครัวเรือน 

       ๔. ด้านการบริหารจัดการ 
         ๔.๑ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวง 
   - ดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ในอุทยานแห่งชาติและวนอุทยาน ครอบคลุมการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการ ความพร้อมของ สิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัย 
   - ติดตั้งทุ่นแพลอยน้ำ เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล ฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน จำนวน ๘ จุด และติดตั้งทุ่นผูกเรือเพื่อการอนุรักษ์ปะการังในพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล จำนวน ๒๐๐ จุด
         ๔.๒ การพัฒนากฎหมายของกระทรวง   
   - (ร่าง) พระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... อยู่ในขั้นตอน การตรวจพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ในหมวดการควบคุมผลกระทบ ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 
   - (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. .... อยู่ระหว่างการหารื อกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯ 
   - (ร่าง) พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... โดยคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการและรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญ ของกฎหมายลำดับรอง เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน๒๕๖๖ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ของคณะกรรมการกฤษฎีกา   
การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลงานที่สำคัญของหน่วยงาน
       - ภารกิจ ทส

       - รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM๒.๕ ประจำวัน

       - เปิดมาตราการป้องกันไฟป่าและหมอกควัน ปี ๒๕๖๗

       - พิธีลงนาม MOU การขับเคลื่อนการจัดการขยะอาหาร เพื่อรองรับเป้าหมายด้านการลดก๊าซเรือนกระจก

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๙๒ ซอยพหลโยธิน ๗ ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๒๗๘ ๘๕๐๐
โทรสาร: ๐ ๒๒๗๘ ๘๕๘๖
อีเมล: mnre0200@saraban.mail.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ