กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในรอบปี ๒๕๖๖
       กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดตั้งขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ของการเป็น “กระทรวงแห่งปัญญา โอกาสอนาคต”โดยมีหัวใจสำคัญคือการผลิตกำลังคนและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศผ่านการหลอมรวมและบูรณาการสรรพกำลังทุกมิติของหน่วยงานในสังกัดทั้งหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูงเพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อมปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก
       โดยในปี๒๕๖๖มีผลงานโดดเด่นที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้ซึ่งสอดคล้องกับการเป็น “ข้าราชการยุคใหม่พัฒนาประเทศไทยใส่ใจประชาชน”ทั้งด้านการอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้
ด้านการอุดมศึกษา
สมัคร TCAS๖๗ ฟรี ๑๐ คณะรอบ “แอดมิชชัน” เปิดโอกาสนักเรียนไทยสู่รั้วอุดมศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 
       กระทรวง อว. ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยการ
ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครองและนักเรียนในการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยผ่านระบบการรับสมัครสอบกลาง ประจำปี ๒๕๖๗ หรือ “TCAS ๖๗” ในรอบแอดมิชชันซึ่งเป็นรอบที่มีนักเรียนจำนวนมากที่สุดกว่า ๑๒๕,๐๐๐ คนต่อปีเข้ามาสมัครโดยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถสมัครเลือกคณะ ๑-๑๐อันดับได้ฟรีเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระได้สูงสุดคนละ ๙๐๐ บาท ถือเป็นหนึ่งในความพยายามระยะสั้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงการศึกษาขณะที่รัฐบาลกำลังพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอย่างแข็งแรงซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับเยาวชนไทยได้มีทางเลือกทางการศึกษาในระหว่างที่กำลังจะเปลี่ยนชีวิตจากนักเรียนมัธยมสู่นักศึกษามหาวิทยาลัย
ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ เก็บออมทุกหลักสูตร ปลดล็อกการเรียนรู้ตลอดชีวิต
       มิติใหม่ของการศึกษา กระทรวง อว. ได้จัดตั้งระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System:NCBS)หรือธนาคารหน่วยกิตเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัยให้ผู้เรียนซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาสามารถนำผลการเรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้จากวิชาและหลักสูตรต่างๆหรือนำประสบการณ์ทำงานมาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติแล้วสามารถนำขอรับปริญญาบัตรจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยหรือเพื่อเป็นรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้สะสมของผู้เรียนโดยกระทรวงอว.ได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและภาคส่วนอื่นๆในการผลิตหลักสูตรและสามารถสะสมไว้ในคลังหน่วยกิต โดยดำเนินการนำร่องกับ ๔ มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งคาดว่าภายใน ๑-๒ ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนอีกประมาณ ๑๔๐ แห่ง จะเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าระบบทุกวิชา ทั้งนี้ ได้จัดทำประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ ในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตผ่านคลังหน่วยกิตที่มาจาหลักสูตรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง และจากการเทียบโอนประสบการณ์ ปลดล็อกการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยในปี ๒๕๖๖ มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง ๙ แห่งเข้าร่วมจัดทำคลังหน่วยกิตแห่งชาติแล้ว
แผนที่ทักษะ (Skill Mapping) - ทรานสคริปต์โชว์ผลทักษะ (Skill Transcript) พัฒนานักศึกษาไทยให้มีทักษะตรงความต้องการของผู้ใช้อย่างครบวงจร
       กระทรวง อว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัย ในการทำ Skill Mapping หรือแผนที่ทักษะเพื่อระบุทักษะที่สำคัญในการทำงานในสาขาอาชีพสมัยใหม่ และเป็นไปตามความต้องการของประเทศ โดยการทำ Skill Mapping จะใช้ข้อมูลจากการสำรวจความต้องการทักษะของภาคธุรกิจและจากฐานข้อมูลการทำงานระดับโลก เพื่อทำการวิเคราะห์หาทักษะที่นักศึกษาควรมี โดยขณะนี้ ได้ประกาศทักษะที่พึงประสงค์ไปแล้ว ๕ สาขา ได้แก่ ๑.เกษตรสมัยใหม่ ๒.การตลาดดิจิทัล ๓.การท่องเที่ยวสมัยใหม่ ๔.ยานยนต์ไฟฟ้า และ ๕.นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่จะพัฒนากำลังคน สามารถนำไปปรับใช้ได้ นอกจากนี้ ยังริเริ่มทำ SkillTranscriptหรือใบรับรองผลการเรียนที่ระบุทักษะของนักศึกษาว่ามีทักษะที่สอดคล้องกับการทำงานในระดับใดบ้างเพื่อนักศึกษาและบัณฑิตสามารถนำไปใช้ในการทำงานหรือพัฒนาทักษะเพิ่มเติม ปัจจุบันได้มีการนำร่องแล้วในบางสาขา ใน ๖ มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยบูรพาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) 
กระทรวง อว. ผนึกกำลัง กองทัพบก พัฒนาทักษะกำลังพลของกองทัพผ่านระบบการเรียนรู้ออนไลน์ RTA Thai MOOC
       กระทรวง อว. เดินหน้าพัฒนาทักษะในหลักสูตรระยะสั้น หรือ Non Degree สำหรับนักศึกษาและประชาชน ควบคู่กับการจัดให้มีแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ ซึ่งสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ที่สำคัญ กระทรวง อว. ได้ร่วมมือกับกองทัพบก พัฒนาทักษะกำลังพลของกองทัพ จำนวนกว่า ๑๓๐,๐๐๐ นาย โดยให้นายทหารสัญญาบัตรและชั้นประทวน ต้องเข้าเรียนผ่านระบบการเรียนรู้ออนไลน์ RTA Thai MOOC ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ภายใต้กระทรวง อว. ที่มีรายวิชาให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเรียนได้กว่า ๗๐๐ รายวิชา และมีผู้เข้าเรียนกว่า ๑.๘ ล้านคนในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ยังมีการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาของกองทัพบกแล้วนำมาเผยแพร่ที่ Thai MOOC เพื่อให้กำลังพลและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้วิชาทางการทหารอีกด้วย

ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
ปฏิบัติการส่ง “ธีออส –๒ (THEOS-๒)” ดาวเทียมสำรวจโลกฝีมือคนไทยดวงแรก ขึ้นสู่วงโคจรอวกาศครั้งแรกในรอบ ๑๕ ปี
       ภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของกระทรวง อว. กับการนำส่งดาวเทียมธีออส –๒ ดาวเทียมสำรวจโลกสัญชาติไทยขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา เมืองกูรู รัฐเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ เพื่อให้ดาวเทียมดวงนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย โดยธีออส –๒ จะช่วยให้ทุกการวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นดาวเทียมสำรวจโลกที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจัดการภัยธรรมชาติ การบริหารจัดการน้ำ การจัดการเกษตร การจัดการเมือง และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน
ไทยโทคาแมค-๑ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” พลังงานสะอาดแห่งอนาคตฝีมือคนไทยเพื่อคนไทย

       อีกขั้นของความสำเร็จคนไทยกับการพัฒนาเครื่องไทยโทคาแมค-๑ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” ของกระทรวง อว. ที่พัฒนาร่วมกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (ASIPP) พลังงานสะอาดแห่งอนาคตฝีมือคนไทยเพื่อคนไทย ที่มีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถสร้างดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ได้ โดยได้ทดลองเดินเครื่องไทยโทคาแมค-๑ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ จึงนับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ โดยกรมสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาทรงเสด็จเปิดอาคารปฏิบัติการเครื่องโทคาแมคและทรงกดปุ่มปล่อยพลาสมาจากเครื่องโทคาแมคครั้งแรกในประเทศไทยและในอาเซียน เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้ กระทรวง อว. ตั้งเป้าหมายภายใน ๑๐ ปี จะมีการออกแบบและสร้างเครื่องโทคาแมคเครื่องใหม่ขึ้นมาเอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีฟิวชันและกำลังคนระดับสูงด้านเทคโนโลยีฟิวชันของอาเซียน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ มี ๖ ช่องทาง ดังนี้
       ๑. โทรศัพท์ Call Center ๑๓๑๓
       ๒. ช่องแชทเฟซบุ๊ก อว. และช่องแชท ๑๓๑๓ สายด่วน อว.
       ๓. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ mcs@mhesi.go.th
       ๔. จดหมาย
       ๕. ติดต่อโดยตรง walk in
       ๖. เว็บไซต์ อว. (บริการออนไลน์)
       https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfSN0fFMFaTafRK0GmnRY8roD-ERy993Q7WXp1FdjV38QwF-Q/viewform

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในรอบปี ๒๕๖๖
       กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดตั้งขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์ของการเป็น “กระทรวงแห่งปัญญา โอกาสอนาคต”โดยมีหัวใจสำคัญคือการผลิตกำลังคนและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศผ่านการหลอมรวมและบูรณาการสรรพกำลังทุกมิติของหน่วยงานในสังกัดทั้งหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและสถาบันอุดมศึกษาเพื่อให้คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูงเพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อมปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก
       โดยในปี๒๕๖๖มีผลงานโดดเด่นที่เป็นรูปธรรมและจับต้องได้ซึ่งสอดคล้องกับการเป็น “ข้าราชการยุคใหม่พัฒนาประเทศไทยใส่ใจประชาชน”ทั้งด้านการอุดมศึกษาและด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้
ด้านการอุดมศึกษา
สมัคร TCAS๖๗ ฟรี ๑๐ คณะรอบ “แอดมิชชัน” เปิดโอกาสนักเรียนไทยสู่รั้วอุดมศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 
       กระทรวง อว. ลดความเหลื่อมล้ำและกระจายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยการ
ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครองและนักเรียนในการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยผ่านระบบการรับสมัครสอบกลาง ประจำปี ๒๕๖๗ หรือ “TCAS ๖๗” ในรอบแอดมิชชันซึ่งเป็นรอบที่มีนักเรียนจำนวนมากที่สุดกว่า ๑๒๕,๐๐๐ คนต่อปีเข้ามาสมัครโดยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถสมัครเลือกคณะ ๑-๑๐อันดับได้ฟรีเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระได้สูงสุดคนละ ๙๐๐ บาท ถือเป็นหนึ่งในความพยายามระยะสั้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงการศึกษาขณะที่รัฐบาลกำลังพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอย่างแข็งแรงซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับเยาวชนไทยได้มีทางเลือกทางการศึกษาในระหว่างที่กำลังจะเปลี่ยนชีวิตจากนักเรียนมัธยมสู่นักศึกษามหาวิทยาลัย
ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ เก็บออมทุกหลักสูตร ปลดล็อกการเรียนรู้ตลอดชีวิต
       มิติใหม่ของการศึกษา กระทรวง อว. ได้จัดตั้งระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank System:NCBS)หรือธนาคารหน่วยกิตเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัยให้ผู้เรียนซึ่งไม่จำเป็นต้องมีสถานภาพเป็นนักศึกษาสามารถนำผลการเรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้จากวิชาและหลักสูตรต่างๆหรือนำประสบการณ์ทำงานมาเทียบโอนและสะสมหน่วยกิตไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติแล้วสามารถนำขอรับปริญญาบัตรจากสถาบันอุดมศึกษาของไทยหรือเพื่อเป็นรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้สะสมของผู้เรียนโดยกระทรวงอว.ได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาและภาคส่วนอื่นๆในการผลิตหลักสูตรและสามารถสะสมไว้ในคลังหน่วยกิต โดยดำเนินการนำร่องกับ ๔ มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งคาดว่าภายใน ๑-๒ ปีข้างหน้า มหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนอีกประมาณ ๑๔๐ แห่ง จะเข้าสู่ระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าระบบทุกวิชา ทั้งนี้ ได้จัดทำประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการดำเนินงานคลังหน่วยกิตในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๕ ในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตผ่านคลังหน่วยกิตที่มาจาหลักสูตรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย หน่วยฝึกอบรมที่ได้รับการรับรอง และจากการเทียบโอนประสบการณ์ ปลดล็อกการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยในปี ๒๕๖๖ มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง ๙ แห่งเข้าร่วมจัดทำคลังหน่วยกิตแห่งชาติแล้ว
แผนที่ทักษะ (Skill Mapping) - ทรานสคริปต์โชว์ผลทักษะ (Skill Transcript) พัฒนานักศึกษาไทยให้มีทักษะตรงความต้องการของผู้ใช้อย่างครบวงจร
       กระทรวง อว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัย ในการทำ Skill Mapping หรือแผนที่ทักษะเพื่อระบุทักษะที่สำคัญในการทำงานในสาขาอาชีพสมัยใหม่ และเป็นไปตามความต้องการของประเทศ โดยการทำ Skill Mapping จะใช้ข้อมูลจากการสำรวจความต้องการทักษะของภาคธุรกิจและจากฐานข้อมูลการทำงานระดับโลก เพื่อทำการวิเคราะห์หาทักษะที่นักศึกษาควรมี โดยขณะนี้ ได้ประกาศทักษะที่พึงประสงค์ไปแล้ว ๕ สาขา ได้แก่ ๑.เกษตรสมัยใหม่ ๒.การตลาดดิจิทัล ๓.การท่องเที่ยวสมัยใหม่ ๔.ยานยนต์ไฟฟ้า และ ๕.นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษา หรือหน่วยงานที่จะพัฒนากำลังคน สามารถนำไปปรับใช้ได้ นอกจากนี้ ยังริเริ่มทำ SkillTranscriptหรือใบรับรองผลการเรียนที่ระบุทักษะของนักศึกษาว่ามีทักษะที่สอดคล้องกับการทำงานในระดับใดบ้างเพื่อนักศึกษาและบัณฑิตสามารถนำไปใช้ในการทำงานหรือพัฒนาทักษะเพิ่มเติม ปัจจุบันได้มีการนำร่องแล้วในบางสาขา ใน ๖ มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยบูรพาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) 
กระทรวง อว. ผนึกกำลัง กองทัพบก พัฒนาทักษะกำลังพลของกองทัพผ่านระบบการเรียนรู้ออนไลน์ RTA Thai MOOC
       กระทรวง อว. เดินหน้าพัฒนาทักษะในหลักสูตรระยะสั้น หรือ Non Degree สำหรับนักศึกษาและประชาชน ควบคู่กับการจัดให้มีแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์ ซึ่งสามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ที่สำคัญ กระทรวง อว. ได้ร่วมมือกับกองทัพบก พัฒนาทักษะกำลังพลของกองทัพ จำนวนกว่า ๑๓๐,๐๐๐ นาย โดยให้นายทหารสัญญาบัตรและชั้นประทวน ต้องเข้าเรียนผ่านระบบการเรียนรู้ออนไลน์ RTA Thai MOOC ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย ภายใต้กระทรวง อว. ที่มีรายวิชาให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าเรียนได้กว่า ๗๐๐ รายวิชา และมีผู้เข้าเรียนกว่า ๑.๘ ล้านคนในปัจจุบัน ขณะเดียวกัน ยังมีการพัฒนาหลักสูตรรายวิชาของกองทัพบกแล้วนำมาเผยแพร่ที่ Thai MOOC เพื่อให้กำลังพลและประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้วิชาทางการทหารอีกด้วย

ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
ปฏิบัติการส่ง “ธีออส –๒ (THEOS-๒)” ดาวเทียมสำรวจโลกฝีมือคนไทยดวงแรก ขึ้นสู่วงโคจรอวกาศครั้งแรกในรอบ ๑๕ ปี
       ภารกิจที่ยิ่งใหญ่ของกระทรวง อว. กับการนำส่งดาวเทียมธีออส –๒ ดาวเทียมสำรวจโลกสัญชาติไทยขึ้นสู่วงโคจร เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ ท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา เมืองกูรู รัฐเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ เพื่อให้ดาวเทียมดวงนี้ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย โดยธีออส –๒ จะช่วยให้ทุกการวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นดาวเทียมสำรวจโลกที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจัดการภัยธรรมชาติ การบริหารจัดการน้ำ การจัดการเกษตร การจัดการเมือง และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชน
ไทยโทคาแมค-๑ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” พลังงานสะอาดแห่งอนาคตฝีมือคนไทยเพื่อคนไทย

       อีกขั้นของความสำเร็จคนไทยกับการพัฒนาเครื่องไทยโทคาแมค-๑ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” ของกระทรวง อว. ที่พัฒนาร่วมกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (ASIPP) พลังงานสะอาดแห่งอนาคตฝีมือคนไทยเพื่อคนไทย ที่มีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่สามารถสร้างดวงอาทิตย์ประดิษฐ์ได้ โดยได้ทดลองเดินเครื่องไทยโทคาแมค-๑ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๖ จึงนับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญ โดยกรมสมเด็จพระกนิษฐาธิราช กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาทรงเสด็จเปิดอาคารปฏิบัติการเครื่องโทคาแมคและทรงกดปุ่มปล่อยพลาสมาจากเครื่องโทคาแมคครั้งแรกในประเทศไทยและในอาเซียน เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้ กระทรวง อว. ตั้งเป้าหมายภายใน ๑๐ ปี จะมีการออกแบบและสร้างเครื่องโทคาแมคเครื่องใหม่ขึ้นมาเอง รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีฟิวชันและกำลังคนระดับสูงด้านเทคโนโลยีฟิวชันของอาเซียน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปสู่ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ มี ๖ ช่องทาง ดังนี้
       ๑. โทรศัพท์ Call Center ๑๓๑๓
       ๒. ช่องแชทเฟซบุ๊ก อว. และช่องแชท ๑๓๑๓ สายด่วน อว.
       ๓. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ mcs@mhesi.go.th
       ๔. จดหมาย
       ๕. ติดต่อโดยตรง walk in
       ๖. เว็บไซต์ อว. (บริการออนไลน์)
       https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfSN0fFMFaTafRK0GmnRY8roD-ERy993Q7WXp1FdjV38QwF-Q/viewform

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
ถนนโยธี (อาคารพระจอมเกล้า) เลขที่ ๗๕/๔๗ ถนนพระรามที่ ๖ แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: ๑๓๑๓
อีเมล: saraban@mhesi.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ