บทบาท/ภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2570 ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจ มีความสุขในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีคุณธรรมจริยธรรม ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีทักษะที่จำเป็น และปรับตัวสอดคล้องกับวิถีชีวิตโลกยุคใหม่
พันธกิจ
กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และการอาชีวศึกษา กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร เพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง ซึ่งในการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ตามกฎหมายและเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดพันธกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้
1. พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
2. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. ผลิต พัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพกำลังคนที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของประเทศ
4. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาด้านการศึกษา สังคม หรือสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
ค่านิยมร่วม
“เรียนดี มีความสุข”
ยุทธศาสตร์
1) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศ
2) การผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
4) การสร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
5) การจัดการศึกษาเพื่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจ ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถปรับตัวรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ได้คามสถานการณ์
ผู้เรียนและประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาทักษะสมรรถนะวิชาชีพ ตามความต้องการของตลาดแรงงานและสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีทักษะจำเป็นในโลกยุคใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาการศึกษา สังคม หรือสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ
ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีหลักประกันในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง เสมอภาคและเหมาะสม
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความตระหนักในการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ระบบบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ และทันสมัย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ
สกูปพิเศษ ศธ.360 องศา : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนงานวิจัย พัฒนานวัตกรรม สร้างระบบนิเวศการศึกษา พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคทัล
ภายใต้บริบทโลกที่ผันแปรอย่างรวดเร็วและมีความท้าทายเพิ่มขึ้น ทั้งในมิติของเทคโนโลยีและวิวัฒนาการของกระบวนการจัดการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของประเทศจึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมองในเรื่องดังกล่าว โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัย ในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบันและอนาคต โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
“สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษา ต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อให้เท่าทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างไรก็ตามในกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา นักวิจัยไม่สามารถอาศัยการคาดการณ์โดยปราศจากข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือ “นั่งเทียน” เขียนนวัตกรรมการศึกษาขึ้นมาได้ นวัตกรรมการศึกษาจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีรากฐานที่ดีจากกระบวนการวิจัยที่เป็นระบบและเข้มข้น รวมถึงดำเนินการบนพื้นฐานของข้อมูลสารสนเทศที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้ กระบวนการวิจัยจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อยกระดับกระบวนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ นักวิจัยในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมสามารถนำไปตอบสนองต่อปัญหาและยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล”
ซึ่งมุมมองดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางในการขับเคลื่อนระบบฐานข้อมูลวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ “OPS MOE Research” OPS ในการกำหนดเป้าประสงค์ (Objective) วัตถุประสงค์ (Purpose) และยุทธศาสตร์ (Strategy) ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ยึดตามนโยบายของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่อง “การพัฒนาคุณภาพการศึกษาบนฐานข้อมูลสารสนเทศ” ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและพลวัตการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิผล
โดยการกำหนดยุทธศาสตร์ดังกล่าว จำเป็นต้องพิจารณาถึงสถานการณ์และบริบทเชิงพื้นที่ รวมถึงระบบนิเวศการศึกษาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศแบบ Stand Alone ระบบนิเวศเฉพาะ หรือบริบททางการศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งบริบทเชิงพื้นที่เหล่านี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาของประเทศไทยในอนาคต ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดการศึกษาจึงมิใช่การคาดการณ์โดยปราศจากข้อมูลเชิงประจักษ์ หากแต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
M – Research (Main Research Focus) ให้ความสำคัญกับการวิจัยเชิงนโยบาย โดยมุ่งเน้นการนำผลการวิจัยมาใช้เป็นข้อมูลหลักในการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาการศึกษา ซึ่งในส่วนนี้สอดคล้องกับมุมมองของปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่กล่าวว่า “การพัฒนาผลงานวิจัย มิใช่เพียงแค่การคิดค้น หากแต่ต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากการจัดเก็บและวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อเป็นฐานในการตัดสินใจ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาการศึกษาในอนาคตทำให้การวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการศึกษา” ด้วยเหตุนี้การวิจัยจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญและสามารถนำมาใช้ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม
O – Research (Opportunities for research development) การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนางานตามภารกิจ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ความสำคัญต่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติของการพัฒนาการศึกษาตามภารกิจของหน่วยงานทั้งการพัฒนานโยบายการศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาการวัดและประเมินผล การส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
E – Research (Enhancing Research Capacity) การเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัย นอกจากการสนับสนุนด้านงบประมาณแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่า ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีแนวคิดว่า “ไม่ว่าจะทำงานใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องมีการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ และใช้กระบวนการวิจัยที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนการทำงาน” ซึ่งทำให้เห็นว่า ในกระบวนการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และการส่งเสริมให้นักวิจัยรุ่นเก่า มีความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ มีประสบการณ์และสามารถต่อยอดงานวิจัยได้นั้นถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้กับระบบวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาได้มีการพัฒนา OPS MOE Research ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้ลิงก์ opsresearch.moe.go.th อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลงานวิจัย ที่ดำเนินการโดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการอย่างมีระเบียบและเป็นระบบ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ข้อมูลและผลงานวิจัยได้ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกภาครัฐ ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและการตระหนักรู้ในผลกระทบและคุณค่าของงานวิจัยที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการมาจนกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ
งานวิจัยคือหัวใจสำคัญในการพลิกโฉมการศึกษาไทย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กำลังเดินหน้าวางระบบนิเวศการวิจัยที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในยุคทัลและเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยสำหรับการก้าวสู่โลกอนาคตอย่างยั่งยืน มาร่วมกันผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะให้ความร่วมมือและนำแนวทางนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงบริบทของแต่ละพื้นที่ มาเป็นกรอบในการสรรค์สร้างงานวิจัย และใช้ผลการวิจัยนั้นเป็นข้อมูลในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในอนาคต
สรุปผลงานกระทรวงศึกษาธิการ รอบ 1 ปี (กันยายน 2566 - ปัจจุบัน)
เว็บไซต์หน่วยงาน :
เว็บไซต์ กระทรวงศึกษาธิการ | |
เว็บไซต์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | |
ข่าว ศธ.360 องศา | |
Facebook กระทรวงศึกษาธิการ | |
Facebook ศธ.360 องศา | |
X กระทรวงศึกษาธิการ | |
X กศธ.360 องศา | |
YouTube ศธ.360 องศา |
บทบาท/ภารกิจของกระทรวงศึกษาธิการ
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2570 ผู้เรียนทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ สอดคล้องกับความถนัดและความสนใจ มีความสุขในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีคุณธรรมจริยธรรม ภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีทักษะที่จำเป็น และปรับตัวสอดคล้องกับวิถีชีวิตโลกยุคใหม่
พันธกิจ
กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และการอาชีวศึกษา กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา สนับสนุนทรัพยากร เพื่อการศึกษา ส่งเสริมและประสานงานการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และการกีฬา ทั้งนี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวง ซึ่งในการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ตามกฎหมายและเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดพันธกิจที่ต้องดำเนินการ ดังนี้
1. พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน
2. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. ผลิต พัฒนาและสร้างเสริมศักยภาพกำลังคนที่มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของประเทศ
4. ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนาด้านการศึกษา สังคม หรือสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
ค่านิยมร่วม
“เรียนดี มีความสุข”
ยุทธศาสตร์
1) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศ
2) การผลิตและพัฒนากำลังคน เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
3) การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
4) การสร้างโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
5) การจัดการศึกษาเพื่อการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล
เป้าประสงค์
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจ ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถปรับตัวรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ได้คามสถานการณ์
ผู้เรียนและประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการพัฒนาทักษะสมรรถนะวิชาชีพ ตามความต้องการของตลาดแรงงานและสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีทักษะจำเป็นในโลกยุคใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และได้รับการส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาการศึกษา สังคม หรือสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ
ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย มีหลักประกันในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึง เสมอภาคและเหมาะสม
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความตระหนักในการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ระบบบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ และทันสมัย
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ
สกูปพิเศษ ศธ.360 องศา : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ขับเคลื่อนงานวิจัย พัฒนานวัตกรรม สร้างระบบนิเวศการศึกษา พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคทัล
ภายใต้บริบทโลกที่ผันแปรอย่างรวดเร็วและมีความท้าทายเพิ่มขึ้น ทั้งในมิติของเทคโนโลยีและวิวัฒนาการของกระบวนการจัดการศึกษา การพัฒนาการศึกษาของประเทศจึงจำเป็นต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดรับกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ดร.สุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมองในเรื่องดังกล่าว โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการวิจัย ในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนในยุคปัจจุบันและอนาคต โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาการศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
“สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษา ต้องตระหนักถึงความจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อให้เท่าทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก อย่างไรก็ตามในกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา นักวิจัยไม่สามารถอาศัยการคาดการณ์โดยปราศจากข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือ “นั่งเทียน” เขียนนวัตกรรมการศึกษาขึ้นมาได้ นวัตกรรมการศึกษาจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีรากฐานที่ดีจากกระบวนการวิจัยที่เป็นระบบและเข้มข้น รวมถึงดำเนินการบนพื้นฐานของข้อมูลสารสนเทศที่แท้จริง ด้วยเหตุนี้ กระบวนการวิจัยจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อยกระดับกระบวนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ นักวิจัยในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจึงต้องดำเนินการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมสามารถนำไปตอบสนองต่อปัญหาและยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิผล”
ซึ่งมุมมองดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางในการขับเคลื่อนระบบฐานข้อมูลวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ “OPS MOE Research” OPS ในการกำหนดเป้าประสงค์ (Objective) วัตถุประสงค์ (Purpose) และยุทธศาสตร์ (Strategy) ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่าง ๆ นั้น สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ยึดตามนโยบายของพลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่อง “การพัฒนาคุณภาพการศึกษาบนฐานข้อมูลสารสนเทศ” ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและพลวัตการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิผล
โดยการกำหนดยุทธศาสตร์ดังกล่าว จำเป็นต้องพิจารณาถึงสถานการณ์และบริบทเชิงพื้นที่ รวมถึงระบบนิเวศการศึกษาที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศแบบ Stand Alone ระบบนิเวศเฉพาะ หรือบริบททางการศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งบริบทเชิงพื้นที่เหล่านี้ ถือเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับการวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาของประเทศไทยในอนาคต ดังนั้นจะเห็นว่าการจัดการศึกษาจึงมิใช่การคาดการณ์โดยปราศจากข้อมูลเชิงประจักษ์ หากแต่ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
M – Research (Main Research Focus) ให้ความสำคัญกับการวิจัยเชิงนโยบาย โดยมุ่งเน้นการนำผลการวิจัยมาใช้เป็นข้อมูลหลักในการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาการศึกษา ซึ่งในส่วนนี้สอดคล้องกับมุมมองของปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่กล่าวว่า “การพัฒนาผลงานวิจัย มิใช่เพียงแค่การคิดค้น หากแต่ต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากการจัดเก็บและวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อเป็นฐานในการตัดสินใจ ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนาการศึกษาในอนาคตทำให้การวิจัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการศึกษา” ด้วยเหตุนี้การวิจัยจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญและสามารถนำมาใช้ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม
O – Research (Opportunities for research development) การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนางานตามภารกิจ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษาให้ความสำคัญต่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาเพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายมิติของการพัฒนาการศึกษาตามภารกิจของหน่วยงานทั้งการพัฒนานโยบายการศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาการวัดและประเมินผล การส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา และยกระดับคุณภาพของผู้เรียน
E – Research (Enhancing Research Capacity) การเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัย นอกจากการสนับสนุนด้านงบประมาณแล้ว สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่า ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีแนวคิดว่า “ไม่ว่าจะทำงานใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องมีการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ และใช้กระบวนการวิจัยที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนการทำงาน” ซึ่งทำให้เห็นว่า ในกระบวนการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และการส่งเสริมให้นักวิจัยรุ่นเก่า มีความเป็นนักวิจัยมืออาชีพ มีประสบการณ์และสามารถต่อยอดงานวิจัยได้นั้นถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความยั่งยืนและเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานให้กับระบบวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ปัจจุบันสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาได้มีการพัฒนา OPS MOE Research ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวิจัยของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ภายใต้ลิงก์ opsresearch.moe.go.th อันจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลงานวิจัย ที่ดำเนินการโดยสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการอย่างมีระเบียบและเป็นระบบ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ข้อมูลและผลงานวิจัยได้ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งในและนอกภาครัฐ ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจและการตระหนักรู้ในผลกระทบและคุณค่าของงานวิจัยที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการมาจนกลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ
งานวิจัยคือหัวใจสำคัญในการพลิกโฉมการศึกษาไทย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กำลังเดินหน้าวางระบบนิเวศการวิจัยที่แข็งแกร่ง เพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในยุคทัลและเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยสำหรับการก้าวสู่โลกอนาคตอย่างยั่งยืน มาร่วมกันผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาต่อไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะให้ความร่วมมือและนำแนวทางนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงบริบทของแต่ละพื้นที่ มาเป็นกรอบในการสรรค์สร้างงานวิจัย และใช้ผลการวิจัยนั้นเป็นข้อมูลในการยกระดับคุณภาพการศึกษาในอนาคต
สรุปผลงานกระทรวงศึกษาธิการ รอบ 1 ปี (กันยายน 2566 - ปัจจุบัน)
เว็บไซต์หน่วยงาน :
เว็บไซต์ กระทรวงศึกษาธิการ | |
เว็บไซต์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | |
ข่าว ศธ.360 องศา | |
Facebook กระทรวงศึกษาธิการ | |
Facebook ศธ.360 องศา | |
X กระทรวงศึกษาธิการ | |
X กศธ.360 องศา | |
YouTube ศธ.360 องศา |