กระทรวงพาณิชย์
Ministry of Commerce

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์

       กระทรวงพาณิชย์มีภารกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อรองรับบริบท
ทางการค้ายุคใหม่ โดยให้ความสำคัญเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เร่งรัดการส่งออกให้ขยายตัวนำรายได้ให้ประเทศ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ด้วยระบบดิจิทัลเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว 
       - การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก
       ๑. โครงการธงฟ้าพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อสร้างกลไกช่วยเหลือค่าครองชีพผู้บริโภค และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ร้านค้า/ผู้ประกอบการชุมชนที่นำสินค้ามาวางจำหน่าย รวมทั้งเป็นช่องทาง ระบายสินค้าเกษตร โดยรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า ๑๔๔,๘๒๑ ร้าน มีการใช้จ่ายเงินผ่าน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านเครื่องรับชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture : EDC) และแอพพลิเคชั่น รวม ๒๙๖,๕๗๘ ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

       ๒. เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส กระตุ้นให้มีการจับจ่ายใช้สอยให้เกิดในชุมชน โดยพัฒนาตลาดต้องชมที่มีเอกลักษณ์พาณิชย์ และช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ๒๕๑ แห่ง ใน ๗๔ จังหวัด และยกระดับการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน โดยส่งเสริมหมู่บ้านทำมาค้าขาย ๔๒ แห่งใน ๓๓ จังหวัด สามารถสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นรวม ๙๒๑ ล้านบาท 
       นอกจากนี้ ได้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ ในภูมิภาค รวมทั้งจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า “Lanna Expo 2023” จ.เชียงใหม่ งาน “Local to Global สินค้าดี สินค้าเด่น สินค้าชุมชน” จ.พระนครศรีอยุธยา งาน“มหกรรมผ้าทออีสานสู่สากล : THAILAND ESAN FABRIC EXPO 2023” จ.ขอนแก่น งาน“มหกรรมสินค้าภาคตะวันออกอัตลักษณ์โดดเด่นสู่สากล” จ.ระยอง งาน“มหกรรมซีฟู้ดภาคใต้ ๒๐๒๓” จ.สุราษฎร์ธานี ฯลฯ รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดสินค้า BCG และเจรจาธุรกิจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า ๑,๘๕๐ ล้านบาท

       ๓. ส่งเสริมสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียน GI ไทย จำนวน ๒๐๐ สินค้า สร้างมูลค่ารวมกว่า 58,000 ล้านบาท อาทิ ปลาทูแม่กลอง (จ.สมุทรสงคราม) ไข่ครอบสงขลา (จ.สงขลา) กล้วยหอมทองพบพระ (จ.ตาก) จำปีหนองแขม (กรุงเทพฯ) ทุเรียนทองผาภูมิ (จ.กาญจนบุรี) นอกจากนี้ ร่วมกับมิชลิน (The Michelin Guide Thailand) นำวัตถุดิบ GI มารังสรรค์เป็นเมนู Fine Dining เผยแพร่คุณภาพสินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมทั้งผลักดันแหล่งผลิตสินค้า GI ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

       - เร่งรัดการส่งออกให้ขยายตัว
         ๑. ผลักดันอาหารไทยและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีศักยภาพสู่ตลาดโลก ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น
           (๑) ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ งาน THAIFEX - Anuga Asia 2023 ณ เมืองทองธานี  งาน Sial ณ ประเทศฝรั่งเศส งาน GULFOOD ฯลฯ มีผู้ประกอบการเข้าร่วม ๒,๔๒๐ ราย สามารถสร้างมูลค่าการค้ารวม กว่า ๑๔๗,๗๙๐ ล้านบาท
           (๒) ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของร้านอาหาร หรือผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่มีคุณภาพ ผ่านสื่อออนไลน์ รวมทั้งให้ทูตพาณิชย์ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าไทย ในต่างประเทศ
         ๒. ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ อาทิ  
           (๑) กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาทิ งาน AAPEX  สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ตกแต่ง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา งาน MEDICA สินค้าเครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ณ ประเทศเยอรมนี งาน AUTOMECHANIKA DUBAI สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่ง ณ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฯลฯ เกิดมูลค่าการค้ากว่า ๖,๗๔๕ ล้านบาท 
           (๒) กลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ จัดงานแสดงสินค้า STYLE Bangkok งาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ผู้ประกอบการเข้าร่วม เกิดมูลค่าการค้ารวม ๕,๑๘๓ ล้านบาท 
           (๓) กลุ่มสินค้า BCG และสินค้าสำหรับยุค Next Normal นำผู้ประกอบการเข้าร่วม นิทรรศการ Future Food ภายในงาน Thaifex-Anuga Asia 2023 Thai Food Pop up Store 2023 Isan BCG Expo เป็นต้น เกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า ๑๙๓ ล้านบาท ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมไปขยายตลาดต่างประเทศ ทั้งสิ้น ๒,๖๐๗ ราย เกิดมูลค่าการสั่งซื้อรวมกว่า ๑๖,๔๖๐ ล้านบาท  
         ๓. ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก ทั้งแบบตลาดดั้งเดิมและตลาดออนไลน์ อาทิ จัดงานแสดงสินค้าไทย “Top Thai Brands” ณ ประเทศจีน บังกลาเทศ อินเดีย เวียดนาม จัดงานแสดงสินค้า “Thailand Week” ณ ประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เข้าร่วมงานแสดงสินค้า CAEXPO ณ ประเทศจีน รวมทั้งนำคณะผู้แทนการค้าไทยเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ อาทิ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย มัลดีฟส์ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และหารือ แนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน มีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมไปขยายตลาด ทั้งสิ้น ๖,๙๑๕ ราย เกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า ๑๐,๗๗๐ ล้านบาท

       - พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนเป็นรูปแบบดิจิทัล 
         ๑.บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางออนไลน์ (DBD e-Service) แบบเรียลไทม์ ไม่เว้นวันหยุดราชการ “ขอปุ๊บได้ปั๊บ” เน้นความคล่องตัว ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ สามารถนำไฟล์หนังสือรับรองฯ ไปใช้งานได้ทันที และไม่ต้องเดินทางมาติดต่อหน่วยงานราชการให้เสียเวลา ทำให้ภาคธุรกิจนำไปใช้ทำธุรกรรมได้ทันสถานการณ์

 

         ๒. บริการคลังข้อมูลนิติบุคคล (DBD Data Warehouse+) เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลนิติบุคคล ประเภทธุรกิจ และข้อมูลธุรกิจต่างๆ เพื่อตรวจสอบความมีตัวตน สถานะปัจจุบันของนิติบุคคล งบการเงิน รวมทั้งใช้ในการวางแผนและวิเคราะห์แนวโน้มทางธุรกิจ  
         ๓. ระบบบริการการออกหนังสือสำคัญการส่งออกนำเข้าสินค้า ภายใต้การปรับลดขั้นตอนการส่งออกสินค้ายุทธศาสตร์ข้าว (DFT SMART- I) โดยเชื่อมโยงข้อมูลเลขทะเบียนผู้นำเข้าฯ/ใบอนุญาตฯ/หนังสือรับรองฯ กับใบขนสินค้าของกรมศุลกากร ผ่านระบบ National Single Window (NSW) และเชื่อมโยงข้อมูลส่วนบุคคลของกรมการปกครอง ทำให้สามารถ ให้บริการแก่ผู้ประกอบการแบบไร้เอกสาร (Paperless)
         ๔. ระบบบริการจดทะเบียนทางทรัพย์สินทางปัญญา (Smart DIP) ลดระยะเวลาดำเนินการ อาทิ  
           - จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Fast Track จากเดิม ๑๒ เดือน เหลือ ๔ เดือน  
           - ต่ออายุเครื่องหมายการค้า จากเดิม ๖๐ วัน เหลือ ๓๐ นาที  
           - จดสิทธิบัตรเร่งด่วน จากเดิม ๕๕ เดือน เหลือ ๑๒ เดือน 
           - ออกหนังสือสำคัญ e-Certificate สิทธิบัตร จากเดิม ๖๐ วัน เหลือ ๗ วัน
         ๕. ระบบสินค้าเกษตรออนไลน์ MOC Agrimart โดยบริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับซื้อ – ขายสินค้าเกษตรออนไลน์  ในรูปแบบ B2C และ B2B เปิดให้ประชาชน สามารถซื้อสินค้ากับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรได้โดยตรง ผ่านทางเว็บไซต์ www.mocagrimart.com และ Mobile Application “MOC Agri Mart”

 

         ๖. แอปพลิเคชัน DITP ONE โดยรวมงานบริการด้านการค้าระหว่างประเทศ ๑๓ บริการ ไว้ที่เดียว อาทิ การสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมระบบแจ้งเตือน การขอรับรางวัลและตราสัญลักษณ์ การค้นหาสถิติการค้า เกาะติดแนวโน้มสินค้าและเทรนด์ตลาดโลกจากทูตพาณิชย์ รวมทั้งสามารถแชทสนทนา ขอรับคำปรึกษาตลอด ๒๔ ชั่วโมงด้วย chatbot เพียงพิมพ์ทักไปหา “น้องใส่ใจ คู่หูผู้ส่งออก”
         ๗. ระบบสารสนเทศเศรษฐกิจการค้า (Trade Intelligence System) โดยเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าเชิงลึก บนเว็บไซต์ คิดค้า.com ประกอบด้วย ข้อมูลด้านสินค้าเกษตร (Agriculture Dashboard) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจระดับจังหวัด (Province Policy Dashboard) ข้อมูลด้านการค้าระหว่างประเทศ (Global Demand Dashboard) และข้อมูลด้านธุรกิจบริการ (Services Dashboard) 
         ๘. ระบบจองคิวออนไลน์ของศูนย์บริการประชาชนของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ให้บริการ ด้านการจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อประชาชนเข้าถึงการบริการได้โดยง่าย ลดระยะเวลารอรับบริการ และลดความแออัดในการให้บริการประชาชน ผ่านทางเว็บไซต์ https://moconline.moc.go.th/qonline/index.php

 

         ๙. ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงพาณิชย์ บริการให้คำปรึกษาแนะนำและรับเรื่องเรียน แจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการค้าการพาณิชย์ มาตรการ กฎ ระเบียบ การจดทะเบียนธุรกิจ และงานบริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางของศูนย์ ฯ ประกอบด้วย ๑) ติดต่อด้วยตนเอง ณ ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงพาณิชย์ ๒) โทรศัพท์ สายด่วน ๑๒๐๓ หรือ ๐ ๒๕๐๗ ๗๐๐๐ และ ๐ ๒๕๐๗ ๘๐๐๐ ๓) เว็บไซต์ https://www.moc.go.th ผ่าน Chat Online/Chat Bot และ ๔) E-mail: webmaster@moc.go.th

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ

เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ www.moc.go.th
ระบบจองคิวสำนักงานพาณิชย์จังหวัด https://moconline.moc.go.th/qonline/index.php 
ระบบบริหารกิจกรรมกระทรวงพาณิชย์ (MOC Event) https://event.moc.go.th/th
ระบบข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศ https://tradereport.moc.go.th/
ระบบข้อมูลเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ (Policy Dashboard) www.คิดค้า.com
ข้อมูลอินโฟกราฟฟิกด้านเศรษฐกิจการค้า https://tpso.go.th/infographic
การจัดทำและเผยแพร่ดัชนีเศรษฐกิจการค้า https://tpso.go.th/summary-trade-economy-th


ติดตามผลงานที่ของหน่วยงานได้ที่

บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางออนไลน์ (DBD e-Service) https://youtu.be/iN30Zs1-Rco
การจัดทำและเผยแพร่ดัชนีเศรษฐกิจการค้า https://tpso.go.th/index-video
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=NrO0jHNitsw
โครงการสร้างความเข้าใจ FTA เพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับเกษตรกร” https://www.youtube.com/channel/UCXywQwHEadmpuNjW-jfNbmQ


ช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ สามารถติดตามได้ที่

       ๑. แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าชุมชน https://www.lazada.co.th/dbdonline
       ๒. แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าชุมชน https://www.lazada.co.th/dbdmegasale/
       ๓. ระบบสินค้าเกษตรออนไลน์ MOC Agrimart https://www.mocagrimart.com 
       ๔. แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ https://www.thaitrade.com/home

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์

       กระทรวงพาณิชย์มีภารกิจในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อรองรับบริบท
ทางการค้ายุคใหม่ โดยให้ความสำคัญเศรษฐกิจฐานรากซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เร่งรัดการส่งออกให้ขยายตัวนำรายได้ให้ประเทศ ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ด้วยระบบดิจิทัลเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว 
       - การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานราก
       ๑. โครงการธงฟ้าพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อสร้างกลไกช่วยเหลือค่าครองชีพผู้บริโภค และเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ร้านค้า/ผู้ประกอบการชุมชนที่นำสินค้ามาวางจำหน่าย รวมทั้งเป็นช่องทาง ระบายสินค้าเกษตร โดยรับสมัครร้านค้าเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า ๑๔๔,๘๒๑ ร้าน มีการใช้จ่ายเงินผ่าน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านเครื่องรับชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Capture : EDC) และแอพพลิเคชั่น รวม ๒๙๖,๕๗๘ ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ

       ๒. เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส กระตุ้นให้มีการจับจ่ายใช้สอยให้เกิดในชุมชน โดยพัฒนาตลาดต้องชมที่มีเอกลักษณ์พาณิชย์ และช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ๒๕๑ แห่ง ใน ๗๔ จังหวัด และยกระดับการประกอบธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน โดยส่งเสริมหมู่บ้านทำมาค้าขาย ๔๒ แห่งใน ๓๓ จังหวัด สามารถสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นรวม ๙๒๑ ล้านบาท 
       นอกจากนี้ ได้พัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายแก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการ ในภูมิภาค รวมทั้งจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้า “Lanna Expo 2023” จ.เชียงใหม่ งาน “Local to Global สินค้าดี สินค้าเด่น สินค้าชุมชน” จ.พระนครศรีอยุธยา งาน“มหกรรมผ้าทออีสานสู่สากล : THAILAND ESAN FABRIC EXPO 2023” จ.ขอนแก่น งาน“มหกรรมสินค้าภาคตะวันออกอัตลักษณ์โดดเด่นสู่สากล” จ.ระยอง งาน“มหกรรมซีฟู้ดภาคใต้ ๒๐๒๓” จ.สุราษฎร์ธานี ฯลฯ รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมตลาดสินค้า BCG และเจรจาธุรกิจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า ๑,๘๕๐ ล้านบาท

       ๓. ส่งเสริมสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ด้วยการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ปัจจุบันมีการขึ้นทะเบียน GI ไทย จำนวน ๒๐๐ สินค้า สร้างมูลค่ารวมกว่า 58,000 ล้านบาท อาทิ ปลาทูแม่กลอง (จ.สมุทรสงคราม) ไข่ครอบสงขลา (จ.สงขลา) กล้วยหอมทองพบพระ (จ.ตาก) จำปีหนองแขม (กรุงเทพฯ) ทุเรียนทองผาภูมิ (จ.กาญจนบุรี) นอกจากนี้ ร่วมกับมิชลิน (The Michelin Guide Thailand) นำวัตถุดิบ GI มารังสรรค์เป็นเมนู Fine Dining เผยแพร่คุณภาพสินค้าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมทั้งผลักดันแหล่งผลิตสินค้า GI ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

       - เร่งรัดการส่งออกให้ขยายตัว
         ๑. ผลักดันอาหารไทยและผลิตภัณฑ์อาหารที่มีศักยภาพสู่ตลาดโลก ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น
   (๑) ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ งาน THAIFEX - Anuga Asia 2023 ณ เมืองทองธานี  งาน Sial ณ ประเทศฝรั่งเศส งาน GULFOOD ฯลฯ มีผู้ประกอบการเข้าร่วม ๒,๔๒๐ ราย สามารถสร้างมูลค่าการค้ารวม กว่า ๑๔๗,๗๙๐ ล้านบาท
   (๒) ประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์ Thai SELECT ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของร้านอาหาร หรือผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่มีคุณภาพ ผ่านสื่อออนไลน์ รวมทั้งให้ทูตพาณิชย์ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์สินค้าไทย ในต่างประเทศ
         ๒. ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ อาทิ  
   (๑) กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานแสดงสินค้า อาทิ งาน AAPEX  สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ตกแต่ง ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา งาน MEDICA สินค้าเครื่องมือแพทย์ และผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ณ ประเทศเยอรมนี งาน AUTOMECHANIKA DUBAI สินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์ตกแต่ง ณ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฯลฯ เกิดมูลค่าการค้ากว่า ๖,๗๔๕ ล้านบาท 
   (๒) กลุ่มสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ จัดงานแสดงสินค้า STYLE Bangkok งาน Bangkok Gems and Jewelry Fair ผู้ประกอบการเข้าร่วม เกิดมูลค่าการค้ารวม ๕,๑๘๓ ล้านบาท 
   (๓) กลุ่มสินค้า BCG และสินค้าสำหรับยุค Next Normal นำผู้ประกอบการเข้าร่วม นิทรรศการ Future Food ภายในงาน Thaifex-Anuga Asia 2023 Thai Food Pop up Store 2023 Isan BCG Expo เป็นต้น เกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า ๑๙๓ ล้านบาท ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมไปขยายตลาดต่างประเทศ ทั้งสิ้น ๒,๖๐๗ ราย เกิดมูลค่าการสั่งซื้อรวมกว่า ๑๖,๔๖๐ ล้านบาท  
         ๓. ส่งเสริมการขยายตลาดเชิงรุก ทั้งแบบตลาดดั้งเดิมและตลาดออนไลน์ อาทิ จัดงานแสดงสินค้าไทย “Top Thai Brands” ณ ประเทศจีน บังกลาเทศ อินเดีย เวียดนาม จัดงานแสดงสินค้า “Thailand Week” ณ ประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เข้าร่วมงานแสดงสินค้า CAEXPO ณ ประเทศจีน รวมทั้งนำคณะผู้แทนการค้าไทยเดินทางเยือนประเทศต่าง ๆ อาทิ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย มัลดีฟส์ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และหารือ แนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน มีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมไปขยายตลาด ทั้งสิ้น ๖,๙๑๕ ราย เกิดมูลค่าการค้ารวมกว่า ๑๐,๗๗๐ ล้านบาท

       - พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนเป็นรูปแบบดิจิทัล 
         ๑.บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางออนไลน์ (DBD e-Service) แบบเรียลไทม์ ไม่เว้นวันหยุดราชการ “ขอปุ๊บได้ปั๊บ” เน้นความคล่องตัว ข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน ตรวจสอบได้ สามารถนำไฟล์หนังสือรับรองฯ ไปใช้งานได้ทันที และไม่ต้องเดินทางมาติดต่อหน่วยงานราชการให้เสียเวลา ทำให้ภาคธุรกิจนำไปใช้ทำธุรกรรมได้ทันสถานการณ์

 

         ๒. บริการคลังข้อมูลนิติบุคคล (DBD Data Warehouse+) เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลนิติบุคคล ประเภทธุรกิจ และข้อมูลธุรกิจต่างๆ เพื่อตรวจสอบความมีตัวตน สถานะปัจจุบันของนิติบุคคล งบการเงิน รวมทั้งใช้ในการวางแผนและวิเคราะห์แนวโน้มทางธุรกิจ  
         ๓. ระบบบริการการออกหนังสือสำคัญการส่งออกนำเข้าสินค้า ภายใต้การปรับลดขั้นตอนการส่งออกสินค้ายุทธศาสตร์ข้าว (DFT SMART- I) โดยเชื่อมโยงข้อมูลเลขทะเบียนผู้นำเข้าฯ/ใบอนุญาตฯ/หนังสือรับรองฯ กับใบขนสินค้าของกรมศุลกากร ผ่านระบบ National Single Window (NSW) และเชื่อมโยงข้อมูลส่วนบุคคลของกรมการปกครอง ทำให้สามารถ ให้บริการแก่ผู้ประกอบการแบบไร้เอกสาร (Paperless)
         ๔. ระบบบริการจดทะเบียนทางทรัพย์สินทางปัญญา (Smart DIP) ลดระยะเวลาดำเนินการ อาทิ  
   - จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Fast Track จากเดิม ๑๒ เดือน เหลือ ๔ เดือน  
   - ต่ออายุเครื่องหมายการค้า จากเดิม ๖๐ วัน เหลือ ๓๐ นาที  
   - จดสิทธิบัตรเร่งด่วน จากเดิม ๕๕ เดือน เหลือ ๑๒ เดือน 
   - ออกหนังสือสำคัญ e-Certificate สิทธิบัตร จากเดิม ๖๐ วัน เหลือ ๗ วัน
         ๕. ระบบสินค้าเกษตรออนไลน์ MOC Agrimart โดยบริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับซื้อ – ขายสินค้าเกษตรออนไลน์  ในรูปแบบ B2C และ B2B เปิดให้ประชาชน สามารถซื้อสินค้ากับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรได้โดยตรง ผ่านทางเว็บไซต์ www.mocagrimart.com และ Mobile Application “MOC Agri Mart”

 

         ๖. แอปพลิเคชัน DITP ONE โดยรวมงานบริการด้านการค้าระหว่างประเทศ ๑๓ บริการ ไว้ที่เดียว อาทิ การสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมระบบแจ้งเตือน การขอรับรางวัลและตราสัญลักษณ์ การค้นหาสถิติการค้า เกาะติดแนวโน้มสินค้าและเทรนด์ตลาดโลกจากทูตพาณิชย์ รวมทั้งสามารถแชทสนทนา ขอรับคำปรึกษาตลอด ๒๔ ชั่วโมงด้วย chatbot เพียงพิมพ์ทักไปหา “น้องใส่ใจ คู่หูผู้ส่งออก”
         ๗. ระบบสารสนเทศเศรษฐกิจการค้า (Trade Intelligence System) โดยเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าเชิงลึก บนเว็บไซต์ คิดค้า.com ประกอบด้วย ข้อมูลด้านสินค้าเกษตร (Agriculture Dashboard) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจระดับจังหวัด (Province Policy Dashboard) ข้อมูลด้านการค้าระหว่างประเทศ (Global Demand Dashboard) และข้อมูลด้านธุรกิจบริการ (Services Dashboard) 
         ๘. ระบบจองคิวออนไลน์ของศูนย์บริการประชาชนของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ให้บริการ ด้านการจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อประชาชนเข้าถึงการบริการได้โดยง่าย ลดระยะเวลารอรับบริการ และลดความแออัดในการให้บริการประชาชน ผ่านทางเว็บไซต์ https://moconline.moc.go.th/qonline/index.php

 

         ๙. ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงพาณิชย์ บริการให้คำปรึกษาแนะนำและรับเรื่องเรียน แจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายเกี่ยวกับการค้าการพาณิชย์ มาตรการ กฎ ระเบียบ การจดทะเบียนธุรกิจ และงานบริการต่าง ๆ ผ่านช่องทางของศูนย์ ฯ ประกอบด้วย ๑) ติดต่อด้วยตนเอง ณ ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงพาณิชย์ ๒) โทรศัพท์ สายด่วน ๑๒๐๓ หรือ ๐ ๒๕๐๗ ๗๐๐๐ และ ๐ ๒๕๐๗ ๘๐๐๐ ๓) เว็บไซต์ https://www.moc.go.th ผ่าน Chat Online/Chat Bot และ ๔) E-mail: webmaster@moc.go.th

ช่องทางการติดต่อขอรับบริการ

เว็บไซต์กระทรวงพาณิชย์ www.moc.go.th
ระบบจองคิวสำนักงานพาณิชย์จังหวัด https://moconline.moc.go.th/qonline/index.php 
ระบบบริหารกิจกรรมกระทรวงพาณิชย์ (MOC Event) https://event.moc.go.th/th
ระบบข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศ https://tradereport.moc.go.th/
ระบบข้อมูลเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ (Policy Dashboard) www.คิดค้า.com
ข้อมูลอินโฟกราฟฟิกด้านเศรษฐกิจการค้า https://tpso.go.th/infographic
การจัดทำและเผยแพร่ดัชนีเศรษฐกิจการค้า https://tpso.go.th/summary-trade-economy-th


ติดตามผลงานที่ของหน่วยงานได้ที่

บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางออนไลน์ (DBD e-Service) https://youtu.be/iN30Zs1-Rco
การจัดทำและเผยแพร่ดัชนีเศรษฐกิจการค้า https://tpso.go.th/index-video
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) https://www.youtube.com/watch?app=desktop&v=NrO0jHNitsw
โครงการสร้างความเข้าใจ FTA เพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับเกษตรกร” https://www.youtube.com/channel/UCXywQwHEadmpuNjW-jfNbmQ


ช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ สามารถติดตามได้ที่

       ๑. แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าชุมชน https://www.lazada.co.th/dbdonline
       ๒. แพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าชุมชน https://www.lazada.co.th/dbdmegasale/
       ๓. ระบบสินค้าเกษตรออนไลน์ MOC Agrimart https://www.mocagrimart.com 
       ๔. แพลตฟอร์มการตลาดออนไลน์ https://www.thaitrade.com/home

กระทรวงพาณิชย์
๕๖๓ ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์: ๑๒๐๓ หรือ ๐๒-๕๐๗-๗๐๐๐, ๐๒-๕๐๗-๘๐๐๐
โทรสาร: ๐๒-๕๔๗-๕๒๑๐
อีเมล: webmaster@moc.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ