สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
Office of Public Sector Anti-Corruption Commission

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ


ภารกิจด้านขับเคลื่อนและกำกับการดำเนินงานนโยบายภาครัฐ

       - เสริมสร้างศักยภาพเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากนักลงทุนและชาวต่างชาติ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบรับเรื่องร้องเรียน ตลอดจนความโปร่งใส และความเป็นธรรมในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
       - วางระบบการบริหารความเสี่ยงการทุจริต ได้จัดทำคู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงการทุจริต เกณฑ์การประเมินเชิงคุณภาพ (มาตรการควบคุมความเสี่ยงการทุจริต Corruption Risk Assessment) โดยขับเคลื่อนดำเนินการอย่างเป็นระบบให้หน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนราชการ ระดับกรม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ จังหวัด และ กทม. รวมจำนวน ๔๐๔ หน่วยงาน ทำการประเมินและจัดส่งแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตของแต่ละหน่วยงานมายังสำนักงาน ป.ป.ท.  เป็นประจำทุกปี
       - ขับเคลื่อนการประเมินความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการสกัดกั้น ป้องกันการทุจริต ตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยมีแนวทางในการติดตามในการตรวจสอบและประเมินผลที่เป็นไปตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ 
       - ขับเคลื่อนและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของรัฐตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง และติดตามคดีสำคัญ จำนวน ๒๘ คดี และโครงการสำคัญ ๕ โครงการ โดยรับเรื่องร้องเรียน รวมทั้งสิ้น ๒,๐๕๖ เรื่อง ผ่านศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.)
       - จัดทำระบบการรับแจ้งข้อมูลการเข้ารับบริการภาครัฐจากประชาชนในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาของทางราชการเพื่อขับเคลื่อมาตรการความโปร่งใสและลดโอกาสการทุจริต
       - ขับเคลื่อน เร่งรัดการดำเนินการทางวินัย ปกครอง กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตทั้ง ๔๐ หน่วยงาน รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในสังกัด/กำกับ ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ผ่านระบบรับรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นรายเดือน โดยมีการรายงานผลการดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น ๓,๒๙๑ เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน ๑,๐๗๘ เรื่อง แล้วเสร็จ จำนวน ๒,๒๑๓ เรื่อง 
       - การยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption perceptions Index : CPI) โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ระยะ ๕ ปี และเร่งรัด ติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน
       - การขับเคลื่อนศูนย์ขับเคลื่อนการบริการภาครัฐสำหรับนักลงทุนและชาวต่างชาติ กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือถูกเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ภารกิจด้านป้องกันการทุจริต
       - ส่งเสริมธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และภาคเอกชน และนักลงทุนโดยการให้ความรู้ความเข้าใจผ่านหลักสูตรหลักสูตรบรรษัทภิบาลต่อต้านการทุจริตเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเอกชนและนักลงทุนในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และป้องกันการรับ – ให้สินบน
       - พัฒนายกระดับความเข้มแข็งให้ภาคประชาชนรวมตัวกันในการต่อต้านการทุจริต และส่งเสริมให้ภาคประชาชนเป็นกลไกเฝ้าระวังการทุจริต โดยพัฒนาและส่งเสริมสร้างพื้นที่สีขาวต้นแบบในการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังทุจริต และสนันสนุนการดำเนินงานต่อเนื่อง
       - ป้องกันการทุจริตเชิงรุกในหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ โดยการขับเคลื่อนผ่านศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ท. ในการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาการทุจริตก่อนเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งส่งเสริมและ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐแบบบูรณาการ ในการลงพื้นที่ตรวจติดตาม เฝ้าระวัง ยับยั้ง สกัดกั้นเหตุอันควรสงสัยว่าอาจจะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต หรือการดำเนินงานของหน่วยภาครัฐที่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หรือเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง หรือไม่คุ้มค่ากับงบประมาณหรือสูงเกินความเป็นจริง
       - ขับเคลื่อนการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตตามมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบมาตรา ๕๘/๒  มาตรา ๕๘/๓ แห่ง พ.ร.บ. มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้านการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาจิตสำนึกที่ดี ผ่านหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม

ภารกิจด้านปราบปรามการทุจริต

สถิติคดีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ รับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
(รวมเรื่องค้างเก่า)
ไต่สวนข้อเท็จจริง
(รวมเรื่องค้างเก่า)
ชี้มูลคดี
๖๐๕ ๒๙๕ ๘๒๑ ๑,๐๖๓

       - ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการคุ้มครองพยาน/ผู้แจ้งเบาะแสและระบบการข่าว
       - ใช้ระบบเทคโนโลยีช่วยในการบริหารจัดการคดี และเชื่อมโยงข้อมูลคดีทุจริตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
       - เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินคดีให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม 
       - บูรณาการทุกภาคส่วนในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อระงับ ยับยั้ง การทุจริตและความเสียหายในขณะเกิดการกระทำผิด  

การติดต่อขอรับบริการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ


ภารกิจด้านขับเคลื่อนและกำกับการดำเนินงานนโยบายภาครัฐ

       - เสริมสร้างศักยภาพเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนจากนักลงทุนและชาวต่างชาติ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบรับเรื่องร้องเรียน ตลอดจนความโปร่งใส และความเป็นธรรมในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
       - วางระบบการบริหารความเสี่ยงการทุจริต ได้จัดทำคู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงการทุจริต เกณฑ์การประเมินเชิงคุณภาพ (มาตรการควบคุมความเสี่ยงการทุจริต Corruption Risk Assessment) โดยขับเคลื่อนดำเนินการอย่างเป็นระบบให้หน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนราชการ ระดับกรม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ จังหวัด และ กทม. รวมจำนวน ๔๐๔ หน่วยงาน ทำการประเมินและจัดส่งแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตของแต่ละหน่วยงานมายังสำนักงาน ป.ป.ท.  เป็นประจำทุกปี
       - ขับเคลื่อนการประเมินความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ เพื่อเป็นการสกัดกั้น ป้องกันการทุจริต ตั้งแต่เริ่มโครงการ โดยมีแนวทางในการติดตามในการตรวจสอบและประเมินผลที่เป็นไปตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ 
       - ขับเคลื่อนและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของรัฐตรวจสอบการดำเนินงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และมติ ครม. ที่เกี่ยวข้อง และติดตามคดีสำคัญ จำนวน ๒๘ คดี และโครงการสำคัญ ๕ โครงการ โดยรับเรื่องร้องเรียน รวมทั้งสิ้น ๒,๐๕๖ เรื่อง ผ่านศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.)
       - จัดทำระบบการรับแจ้งข้อมูลการเข้ารับบริการภาครัฐจากประชาชนในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาของทางราชการเพื่อขับเคลื่อมาตรการความโปร่งใสและลดโอกาสการทุจริต
       - ขับเคลื่อน เร่งรัดการดำเนินการทางวินัย ปกครอง กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวข้องกับกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตทั้ง ๔๐ หน่วยงาน รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในสังกัด/กำกับ ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ผ่านระบบรับรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นรายเดือน โดยมีการรายงานผลการดำเนินงาน จำนวนทั้งสิ้น ๓,๒๙๑ เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน ๑,๐๗๘ เรื่อง แล้วเสร็จ จำนวน ๒,๒๑๓ เรื่อง 
       - การยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption perceptions Index : CPI) โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ระยะ ๕ ปี และเร่งรัด ติดตามการดำเนินการให้เป็นไปตามแผน
       - การขับเคลื่อนศูนย์ขับเคลื่อนการบริการภาครัฐสำหรับนักลงทุนและชาวต่างชาติ กรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือถูกเรียกรับผลประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ภารกิจด้านป้องกันการทุจริต
       - ส่งเสริมธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ และภาคเอกชน และนักลงทุนโดยการให้ความรู้ความเข้าใจผ่านหลักสูตรหลักสูตรบรรษัทภิบาลต่อต้านการทุจริตเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจเอกชนและนักลงทุนในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และป้องกันการรับ – ให้สินบน
       - พัฒนายกระดับความเข้มแข็งให้ภาคประชาชนรวมตัวกันในการต่อต้านการทุจริต และส่งเสริมให้ภาคประชาชนเป็นกลไกเฝ้าระวังการทุจริต โดยพัฒนาและส่งเสริมสร้างพื้นที่สีขาวต้นแบบในการมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันและเฝ้าระวังทุจริต และสนันสนุนการดำเนินงานต่อเนื่อง
       - ป้องกันการทุจริตเชิงรุกในหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ โดยการขับเคลื่อนผ่านศูนย์ปฏิบัติการส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต สำนักงาน ป.ป.ท. ในการให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาการทุจริตก่อนเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล รวมทั้งส่งเสริมและ สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐแบบบูรณาการ ในการลงพื้นที่ตรวจติดตาม เฝ้าระวัง ยับยั้ง สกัดกั้นเหตุอันควรสงสัยว่าอาจจะมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริต หรือการดำเนินงานของหน่วยภาครัฐที่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน หรือเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการอย่างร้ายแรง หรือไม่คุ้มค่ากับงบประมาณหรือสูงเกินความเป็นจริง
       - ขับเคลื่อนการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตตามมาตรา ๖๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกอบมาตรา ๕๘/๒  มาตรา ๕๘/๓ แห่ง พ.ร.บ. มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้านการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาจิตสำนึกที่ดี ผ่านหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม

ภารกิจด้านปราบปรามการทุจริต

สถิติคดีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ รับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น
(รวมเรื่องค้างเก่า)
ไต่สวนข้อเท็จจริง
(รวมเรื่องค้างเก่า)
ชี้มูลคดี
๖๐๕ ๒๙๕ ๘๒๑ ๑,๐๖๓

       - ส่งเสริมและพัฒนาประสิทธิภาพการคุ้มครองพยาน/ผู้แจ้งเบาะแสและระบบการข่าว
       - ใช้ระบบเทคโนโลยีช่วยในการบริหารจัดการคดี และเชื่อมโยงข้อมูลคดีทุจริตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
       - เสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินคดีให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม 
       - บูรณาการทุกภาคส่วนในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อระงับ ยับยั้ง การทุจริตและความเสียหายในขณะเกิดการกระทำผิด  

การติดต่อขอรับบริการ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
๙๙ หมู่ ๔ อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลคลองเกลือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ๑๑๑๒๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๕๐๒ ๖๖๗๐ ต่อ ๑๑๒๐ หรือ ๑๑๒๒
โทรสาร: ๐ ๒๕๐๒ ๖๘๗๕ สายด่วน : ๑๒๐๖
อีเมล: saraban@pacc.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ