ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
วิสัยทัศน์“องค์กรขับเคลื่อนกิจกรรมพระพุทธศาสนาสู่ความมั่น สังคมดำรงศีลธรรมนำสันติสุขอย่างยั่งยืน”
สรุปผลการดำเนินงานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
๑. โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (หมู่บ้านรักษาศีล ๕)
วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความสงบ สันติสุขมีความสามัคคีโดยให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ เริ่มจากครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด อันจะนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ยั่งยืน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้จัดสรรเงินอุดหนุนวัดต้นแบบประจำจังหวัดรวม ๗๖ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อการขับเคลื่อนโครงการ ฯ และการตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานร่วมกับคณะสงฆ์ ทุกภาคส่วนในพื้นที่ ผลการดำเนินทำให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรม มีวิถีชีวิตแบบพอเพียง
๒. โครงการส่งเสริมสังคมสันติสุข อยู่เย็นเป็นสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่พระภิกษุ สามเณร พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิถีดำเนินชีวิต แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิดระหว่างเยาวชนและพุทธศาสนิกชนต่างพื้นที่ ต่างวัฒนธรรม เป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมไทยที่พึงประสงค์ และสนับสนุนกิจการพระพุทธศาสนาของชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีความมั่นคง ส่งเสริมสถาบันศาสนาให้เป็นกลไกในการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน กลุ่มเป้าหมายคือ พระภิกษุ สามเณรและประชาชนทั่วไป จาก ๕ จังหวัดชายแดนใต้ ศึกษาแลกเปลี่ยน ณ จังหวัดนครราชสีมา นับว่าเป็นการสร้างเครือข่าย ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นำสังคมสันติสุข
๓. โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม ๕ ส
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างวัด ชุมชน เครือข่ายในท้องถิ่น อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติและสถาบันพระพุทธศาสนา โดยมุ่งพัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถาน เป็นศูนย์การเรียนรู้และการพัฒนาจิตใจของประชาชน พัฒนาวัดโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการสิ่งแวดล้อม รักษามรดกวัฒนธรรมของวัดให้มีความเจริญรุ่งเรือง และช่วยให้วัดเป็นสถานที่พักแก่ผู้เข้ามาพึ่งพิง เสริมสร้างความสุข เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาประเทศที่มั่นคง ยั่งยืน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้อุดหนุนวัด จำนวน ๑๐๐ วัด งบประมาณ ๑,๕๒๘,๑๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนสองหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน) ผลการดำเนินงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมสนับสนุนวัด ในการบริหารจัดการให้วัดมีความเป็นสัปปายะ สะอาด ร่มรื่น ทำให้มีวัดต้นแบบประจำจังหวัด
๔. โครงการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เพื่อการบูรณปฏิสังขรณ์วัด และอุดหนุนสมทบการก่อสร้างปรับปรุงเตาเผาศพปลอดมลพิษ
วัตถุประสงค์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ที่มีสภาพชำรุด ทรุดโทรม เนื่องจากได้ก่อสร้างมานานให้มีสภาพเหมาะสม เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ รวมทั้งบูรณะวัดที่มีโบราณสถาน หรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์/ท้องถิ่น และบูรณะวัดในเขตชายแดนภาคใต้ให้มั่นคง เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ประชาชนในท้องถิ่น ให้รักและหวงแหนท้องถิ่น เป็นแนวทางสร้างความมั่นคงของชาติอีกทางหนึ่ง ได้อุดหนุน จำนวน ๗๓๔ วัด งบประมาณ ๕๐๗,๐๒๖,๐๐๐ บาท (ห้าร้อย เจ็ดล้านสองหมื่นหกพันบาทถ้วน) และอุดหนุนสมทบการก่อสร้างปรับปรุงเตาเผาศพปลอดมลพิษ จำนวน ๘๖ วัด งบประมาณ ๑๐๖,๐๗๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยหกล้านเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
๕. โครงการ : เงินอุดหนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำศาสนา
ด้วยการเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สืบเนื่องจาก องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีบันทึกช่วยจำว่าด้วยความร่วมมือกันด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครอง ปกปักรักษา และส่งเสริมกิจการของพระพุทธศาสนาระหว่าง สองประเทศ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ.๒๐๑๐) ณ นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ข้อกำหนดให้ทั้งสององค์กรดำเนินการศึกษาแลกเปลี่ยนและศึกษาดูงานระหว่างกันและกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและเมื่อวันที่วันที่ ๓ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นำคณะเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป้าหมายสำคัญ คือ การลงนามบันทึกช่วยจำว่าด้วยการร่วมมือ ด้านงานพระพุทธศาสนา ระหว่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ราชอาณาจักรไทย กับกรมการศาสนา ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือในการผลักดัน ส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนาให้มีความเข้มแข็งเจริญรุ่งเรือง โดย สปป.ลาว ได้จัดพิธีลงนามดังกล่าวเมื่อวันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖ ทั้งนี้มีเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรไทย ประจำ สปป.ลาว และคณะผู้บริหารกรมศาสนา สปป.ลาว ร่วมเป็นสักขีพยาน
๖. งานส่งเสริมการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม
ได้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้ง ๓ แผนก ดังนี้ การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา แผนกธรรม - บาลี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ และเป็นไปตามโบราณราชประเพณี โดยมีโครงการ การจัดการศึกษาแผนกธรรม - บาลี ที่สำคัญ คือ โครงการอุดหนุนสำนักเรียน สำนักศาสนศึษา แผนกธรรม - บาลี ดีเด่นนอกจากนี้ ได้ส่งเสริมการศึกษาธรรมศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชน ในสถานศึกษารวมถึงผู้ต้องขัง ในเรือนจำต่างๆ ในแต่ละปีมีผู้เข้าสอบธรรมศึกษาประมาณสองล้านคน นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการศึกษาแผนกสามัญศึกษา โดยได้จัดงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนประมาณพันล้านบาท เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระภิกษุสามเณรได้รับการศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในอัตราค่าใช้จ่ายรายหัวที่เสมอภาคและเท่าเทียมกับนักเรียนในสังกัดอื่นของรัฐ
๗. โครงการค่ายคุณธรรมและศูนย์การเรียนรู้ พระพุทธศาสนาในพุทธมณฑล
โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภายนอก ดำเนินโครงการค่ายคุณธรรมและศูนย์การเรียนรู้ พระพุทธศาสนาในพุทธมณฑล (หลักสูตร จำนวน ๓ วัน ๒ คืน ) กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน จำนวน ๓,๓๐๐ คน เป็นการเพิ่มวัคซีนด้านการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชน กระตุ้นให้เด็กและเยาวชน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีพัฒนาศักยภาพและพลังในเชิงสร้างสรรค์ ได้มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ตกเป็นเหยื่อหรือสร้างปัญหาให้กับสังคม
๘. การจัดการศาสนสมบัติกลาง
วัดร้างมีข้อมูลรวมทั้งสิ้น จำนวน ๕,๖๖๖วัด ๖,๑๔๗ แปลง เนื้อที่ ๔๖,๔๔๘ ไร่ ๓ งาน ๙๕.๗๔ ตารางวา ในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) มีวัดที่มอบอำนาจให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดประโยชน์แทน ๑๑๑ วัด ได้ดำเนินการบริหารจัดการสัญญาเช่าที่ดิน / อาคาร ศาสนสมบัติกลาง วัดร้าง และวัดมีพระสงฆ์ ในส่วนกลางรวม ๙,๐๘๖ สัญญา รวมทั้งติดตามการรายงานทางการเงินจากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด จัดทำตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามตัวชี้วัดที่ ๒ ความสำเร็จของการพัฒนาระบบการรายงานทางการเงินของวัด ผลปรากฎ ดังนี้
๑. ร้อยละของวัดที่มีข้อมูลรายงานบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป้าหมายวัดทั่วประเทศ จำนวน ๔๓,๒๒๒ วัด ผลการดำเนินการ วัด ส่งรายงานการเงิน จำนวน ๔๓,๐๙๕ วัด คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๗๑
๒. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัดมีเป้าหมายให้นำระบบบัญชีมาตรฐาน ไปใช้กับวัดนำร่อง ผลการดำเนินการ มีวัดนำร่องเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๖๕ วัด ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายมาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้ได้ถวายความรู้การจัดทำบัญชีวัด การจัดประโยชน์แด่พระสังฆาธิการ และได้ดำเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดประโยชน์ศาสนสมบัติในส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖” จำนวน ๑ รุ่น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดประโยชน์ทุกจังหวัด มีความรู้ ความเข้าใจข้อกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนดและวิธีการจัดประโยชน์ สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพระพุทธศาสนา
๙. งานด้านการปกครองคณะสงฆ์
ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงานการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้เจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับ มีศักยภาพในการบริหาร และจัดการงานคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญคือ การอบรมและจัดประชุมพระสังฆาธิการตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสขึ้นไป การจัดอบรมพระวินยาธิการ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจตราพระภิกษุ สามเณรที่มีอาจารไม่สมควร และการจัดอบรม พระอุปัชฌาย์เพื่อให้พระภิกษุที่เป็นพระอุปัชฌาย์ประธาน ในการบรรพชาอุปสมบท ได้สอดส่องดูสัทธิวิหาริกของทางคณะสงฆ์ต่อไป
ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๑. ให้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไปนี้ เป็นช่องทางสำหรับประชาชน (พระภิกษุ/ประชาชน/ผู้รับบริการอื่น) ยื่นคำขอหรือติดต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยวิธีดังนี้
(๑) ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลาง saraban@onab.go.th
(๒) ระบบการยื่นคำขอหนังสือนำวีซ่าออนไลน์ frb@onab.go.th
(๓) ระบบการยื่นเรื่องการขอใบประกาศนียบัตร/การขอแปลใบประกาศนียบัตรเป็นภาษาอังกฤษผ่านช่องทางออนไลน์
- แอปพลิเคชั่นไลน์ ID Line คือ @xhl1603u
- อีเมล pedu-@onab.go.th
๒. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอหรือติดต่อมาทางช่องทางตามข้อ ๑. ประสงค์จะสอบถามหรือขอรับคำยืนยันจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าได้รับคำขอหรือการติดต่อแล้ว ให้สอบถามในวันเวลาราชการได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการกรม ฝ่ายบริหารทั่วไป ๐๒-๔๔๑-๗๙๒๕ สอบถาม/รับคำยืนยัน
(๒) กองส่งเสริมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๐๒-๔๔๑-๗๙๙๗ สอบถาม/รับคำยืนยัน
(๓) กองพุทธศาสนศึกษา ๐๒-๔๔๑-๗๙๕๑ สอบถาม/รับคำยืนยัน
๓.ประชาชน(พระภิกษุ/ประชาชน/ผู้รับบริการอื่น) อาจใช้วิธีการบันทึกภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นหลักฐานเบื้องต้นว่าได้มีการยื่นคำขอหรือติดต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทางช่องทางตามข้อ ๑. แล้วก็ได้
ช่องทางสำหรับให้ประชาชนติดต่อสอบถาม
๑. เว็บไซต์ : www.onab.go.th
(๑) ข้อมูล Q & A สำหรับประชาชน https://www.onab.go.th/th/webboard/home/post/id/1
(๒) แจ้งเรื่องร้องเรียน/ แจ้งภัยทางพระพุทธศาสนา
- ยื่นเรื่องด้วยตนเอง ณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มรับเรื่องราวร้องทุกข์และประสานราชการ
- ไปรษณีย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ ถนนพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐
- หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๗๙๓๖
- E-mail : iconab@onab.go.th
- ยื่นออนไลน์ https://www.onab.go.th/th/eform/item/index/id/9
(๓) แจ้งเบาะแสการทุจริตเกี่ยวกับงบประมาณเงินอุดหนุน/เจ้าหน้าที่ทุจริตและประพฤติมิชอบ
- สามารถยื่นเรื่องด้วยตนเอง ณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลุ่มป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- ทางไปรษณีย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ ถนนพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐
- หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๗๙๒๐
- E-mail: atc@onab.go.th
- ยื่นออนไลน์ https://www.onab.go.th/th/eform/category/form/id/1/iid/3
๒. การรับเรื่องราวร้องทุกข์และแจ้งภัยทางพระพุทธศาสนาร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
วิสัยทัศน์“องค์กรขับเคลื่อนกิจกรรมพระพุทธศาสนาสู่ความมั่น สังคมดำรงศีลธรรมนำสันติสุขอย่างยั่งยืน”
สรุปผลการดำเนินงานสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
๑. โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (หมู่บ้านรักษาศีล ๕)
วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ของคนในชาติ ให้เกิดความสงบ สันติสุขมีความสามัคคีโดยให้พุทธศาสนิกชนได้น้อมนำหลักศีล ๕ ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ เริ่มจากครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด อันจะนำพาประเทศก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ยั่งยืน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้จัดสรรเงินอุดหนุนวัดต้นแบบประจำจังหวัดรวม ๗๖ จังหวัด และกรุงเทพมหานคร เพื่อการขับเคลื่อนโครงการ ฯ และการตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงานร่วมกับคณะสงฆ์ ทุกภาคส่วนในพื้นที่ ผลการดำเนินทำให้ประชาชนดำเนินชีวิตตามหลักคุณธรรม มีวิถีชีวิตแบบพอเพียง
๒. โครงการส่งเสริมสังคมสันติสุข อยู่เย็นเป็นสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่พระภิกษุ สามเณร พุทธศาสนิกชนในพื้นที่ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิถีดำเนินชีวิต แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิดระหว่างเยาวชนและพุทธศาสนิกชนต่างพื้นที่ ต่างวัฒนธรรม เป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมไทยที่พึงประสงค์ และสนับสนุนกิจการพระพุทธศาสนาของชาวพุทธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้มีความมั่นคง ส่งเสริมสถาบันศาสนาให้เป็นกลไกในการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน กลุ่มเป้าหมายคือ พระภิกษุ สามเณรและประชาชนทั่วไป จาก ๕ จังหวัดชายแดนใต้ ศึกษาแลกเปลี่ยน ณ จังหวัดนครราชสีมา นับว่าเป็นการสร้างเครือข่าย ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน นำสังคมสันติสุข
๓. โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ด้วยกิจกรรม ๕ ส
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกความร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างวัด ชุมชน เครือข่ายในท้องถิ่น อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติและสถาบันพระพุทธศาสนา โดยมุ่งพัฒนาวัดให้เป็นรมณียสถาน เป็นศูนย์การเรียนรู้และการพัฒนาจิตใจของประชาชน พัฒนาวัดโดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการสิ่งแวดล้อม รักษามรดกวัฒนธรรมของวัดให้มีความเจริญรุ่งเรือง และช่วยให้วัดเป็นสถานที่พักแก่ผู้เข้ามาพึ่งพิง เสริมสร้างความสุข เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาประเทศที่มั่นคง ยั่งยืน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้อุดหนุนวัด จำนวน ๑๐๐ วัด งบประมาณ ๑,๕๒๘,๑๐๐ บาท (หนึ่งล้านห้าแสนสองหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยบาทถ้วน) ผลการดำเนินงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมสนับสนุนวัด ในการบริหารจัดการให้วัดมีความเป็นสัปปายะ สะอาด ร่มรื่น ทำให้มีวัดต้นแบบประจำจังหวัด
๔. โครงการเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ เพื่อการบูรณปฏิสังขรณ์วัด และอุดหนุนสมทบการก่อสร้างปรับปรุงเตาเผาศพปลอดมลพิษ
วัตถุประสงค์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ที่มีสภาพชำรุด ทรุดโทรม เนื่องจากได้ก่อสร้างมานานให้มีสภาพเหมาะสม เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจ รวมทั้งบูรณะวัดที่มีโบราณสถาน หรือมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์/ท้องถิ่น และบูรณะวัดในเขตชายแดนภาคใต้ให้มั่นคง เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ประชาชนในท้องถิ่น ให้รักและหวงแหนท้องถิ่น เป็นแนวทางสร้างความมั่นคงของชาติอีกทางหนึ่ง ได้อุดหนุน จำนวน ๗๓๔ วัด งบประมาณ ๕๐๗,๐๒๖,๐๐๐ บาท (ห้าร้อย เจ็ดล้านสองหมื่นหกพันบาทถ้วน) และอุดหนุนสมทบการก่อสร้างปรับปรุงเตาเผาศพปลอดมลพิษ จำนวน ๘๖ วัด งบประมาณ ๑๐๖,๐๗๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยหกล้านเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
๕. โครงการ : เงินอุดหนุนการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้นำศาสนา
ด้วยการเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สืบเนื่องจาก องค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีบันทึกช่วยจำว่าด้วยความร่วมมือกันด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครอง ปกปักรักษา และส่งเสริมกิจการของพระพุทธศาสนาระหว่าง สองประเทศ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ (ค.ศ.๒๐๑๐) ณ นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ข้อกำหนดให้ทั้งสององค์กรดำเนินการศึกษาแลกเปลี่ยนและศึกษาดูงานระหว่างกันและกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและเมื่อวันที่วันที่ ๓ – ๗ เมษายน ๒๕๖๖ นายอินทพร จั่นเอี่ยม รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นำคณะเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป้าหมายสำคัญ คือ การลงนามบันทึกช่วยจำว่าด้วยการร่วมมือ ด้านงานพระพุทธศาสนา ระหว่างสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ราชอาณาจักรไทย กับกรมการศาสนา ศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือในการผลักดัน ส่งเสริมงานด้านพระพุทธศาสนาให้มีความเข้มแข็งเจริญรุ่งเรือง โดย สปป.ลาว ได้จัดพิธีลงนามดังกล่าวเมื่อวันอังคารที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๖ ทั้งนี้มีเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรไทย ประจำ สปป.ลาว และคณะผู้บริหารกรมศาสนา สปป.ลาว ร่วมเป็นสักขีพยาน
๖. งานส่งเสริมการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม
ได้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้ง ๓ แผนก ดังนี้ การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา แผนกธรรม - บาลี ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ และเป็นไปตามโบราณราชประเพณี โดยมีโครงการ การจัดการศึกษาแผนกธรรม - บาลี ที่สำคัญ คือ โครงการอุดหนุนสำนักเรียน สำนักศาสนศึษา แผนกธรรม - บาลี ดีเด่นนอกจากนี้ ได้ส่งเสริมการศึกษาธรรมศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมให้กับเด็กและเยาวชน ในสถานศึกษารวมถึงผู้ต้องขัง ในเรือนจำต่างๆ ในแต่ละปีมีผู้เข้าสอบธรรมศึกษาประมาณสองล้านคน นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการศึกษาแผนกสามัญศึกษา โดยได้จัดงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนประมาณพันล้านบาท เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ พระภิกษุสามเณรได้รับการศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ในอัตราค่าใช้จ่ายรายหัวที่เสมอภาคและเท่าเทียมกับนักเรียนในสังกัดอื่นของรัฐ
๗. โครงการค่ายคุณธรรมและศูนย์การเรียนรู้ พระพุทธศาสนาในพุทธมณฑล
โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภายนอก ดำเนินโครงการค่ายคุณธรรมและศูนย์การเรียนรู้ พระพุทธศาสนาในพุทธมณฑล (หลักสูตร จำนวน ๓ วัน ๒ คืน ) กลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน จำนวน ๓,๓๐๐ คน เป็นการเพิ่มวัคซีนด้านการส่งเสริมคุณธรรม และจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชน กระตุ้นให้เด็กและเยาวชน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีพัฒนาศักยภาพและพลังในเชิงสร้างสรรค์ ได้มีภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ตกเป็นเหยื่อหรือสร้างปัญหาให้กับสังคม
๘. การจัดการศาสนสมบัติกลาง
วัดร้างมีข้อมูลรวมทั้งสิ้น จำนวน ๕,๖๖๖วัด ๖,๑๔๗ แปลง เนื้อที่ ๔๖,๔๔๘ ไร่ ๓ งาน ๙๕.๗๔ ตารางวา ในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) มีวัดที่มอบอำนาจให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดประโยชน์แทน ๑๑๑ วัด ได้ดำเนินการบริหารจัดการสัญญาเช่าที่ดิน / อาคาร ศาสนสมบัติกลาง วัดร้าง และวัดมีพระสงฆ์ ในส่วนกลางรวม ๙,๐๘๖ สัญญา รวมทั้งติดตามการรายงานทางการเงินจากสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด จัดทำตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามตัวชี้วัดที่ ๒ ความสำเร็จของการพัฒนาระบบการรายงานทางการเงินของวัด ผลปรากฎ ดังนี้
๑. ร้อยละของวัดที่มีข้อมูลรายงานบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป้าหมายวัดทั่วประเทศ จำนวน ๔๓,๒๒๒ วัด ผลการดำเนินการ วัด ส่งรายงานการเงิน จำนวน ๔๓,๐๙๕ วัด คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๗๑
๒. ระดับความสำเร็จของการพัฒนาระบบบัญชีมาตรฐานสำหรับวัดมีเป้าหมายให้นำระบบบัญชีมาตรฐาน ไปใช้กับวัดนำร่อง ผลการดำเนินการ มีวัดนำร่องเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๖๕ วัด ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายมาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้ได้ถวายความรู้การจัดทำบัญชีวัด การจัดประโยชน์แด่พระสังฆาธิการ และได้ดำเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดประโยชน์ศาสนสมบัติในส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖” จำนวน ๑ รุ่น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดประโยชน์ทุกจังหวัด มีความรู้ ความเข้าใจข้อกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนดและวิธีการจัดประโยชน์ สามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อพระพุทธศาสนา
๙. งานด้านการปกครองคณะสงฆ์
ได้ส่งเสริมและสนับสนุนงานการปกครองคณะสงฆ์ เพื่อให้เจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับ มีศักยภาพในการบริหาร และจัดการงานคณะสงฆ์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ได้ดำเนินโครงการที่สำคัญคือ การอบรมและจัดประชุมพระสังฆาธิการตั้งแต่ระดับเจ้าอาวาสขึ้นไป การจัดอบรมพระวินยาธิการ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจตราพระภิกษุ สามเณรที่มีอาจารไม่สมควร และการจัดอบรม พระอุปัชฌาย์เพื่อให้พระภิกษุที่เป็นพระอุปัชฌาย์ประธาน ในการบรรพชาอุปสมบท ได้สอดส่องดูสัทธิวิหาริกของทางคณะสงฆ์ต่อไป
ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๑. ให้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไปนี้ เป็นช่องทางสำหรับประชาชน (พระภิกษุ/ประชาชน/ผู้รับบริการอื่น) ยื่นคำขอหรือติดต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยวิธีดังนี้
(๑) ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลาง saraban@onab.go.th
(๒) ระบบการยื่นคำขอหนังสือนำวีซ่าออนไลน์ frb@onab.go.th
(๓) ระบบการยื่นเรื่องการขอใบประกาศนียบัตร/การขอแปลใบประกาศนียบัตรเป็นภาษาอังกฤษผ่านช่องทางออนไลน์
- แอปพลิเคชั่นไลน์ ID Line คือ @xhl1603u
- อีเมล pedu-@onab.go.th
๒. ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอหรือติดต่อมาทางช่องทางตามข้อ ๑. ประสงค์จะสอบถามหรือขอรับคำยืนยันจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ว่าได้รับคำขอหรือการติดต่อแล้ว ให้สอบถามในวันเวลาราชการได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ ดังต่อไปนี้
(๑) สำนักงานเลขานุการกรม ฝ่ายบริหารทั่วไป ๐๒-๔๔๑-๗๙๒๕ สอบถาม/รับคำยืนยัน
(๒) กองส่งเสริมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ๐๒-๔๔๑-๗๙๙๗ สอบถาม/รับคำยืนยัน
(๓) กองพุทธศาสนศึกษา ๐๒-๔๔๑-๗๙๕๑ สอบถาม/รับคำยืนยัน
๓.ประชาชน(พระภิกษุ/ประชาชน/ผู้รับบริการอื่น) อาจใช้วิธีการบันทึกภาพจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นหลักฐานเบื้องต้นว่าได้มีการยื่นคำขอหรือติดต่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ทางช่องทางตามข้อ ๑. แล้วก็ได้
ช่องทางสำหรับให้ประชาชนติดต่อสอบถาม
๑. เว็บไซต์ : www.onab.go.th
(๑) ข้อมูล Q & A สำหรับประชาชน https://www.onab.go.th/th/webboard/home/post/id/1
(๒) แจ้งเรื่องร้องเรียน/ แจ้งภัยทางพระพุทธศาสนา
- ยื่นเรื่องด้วยตนเอง ณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานเลขานุการกรม กลุ่มรับเรื่องราวร้องทุกข์และประสานราชการ
- ไปรษณีย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ ถนนพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐
- หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๗๙๓๖
- E-mail : iconab@onab.go.th
- ยื่นออนไลน์ https://www.onab.go.th/th/eform/item/index/id/9
(๓) แจ้งเบาะแสการทุจริตเกี่ยวกับงบประมาณเงินอุดหนุน/เจ้าหน้าที่ทุจริตและประพฤติมิชอบ
- สามารถยื่นเรื่องด้วยตนเอง ณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กลุ่มป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- ทางไปรษณีย์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อาคารหลวงพ่อวัดปากน้ำ ถนนพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ๗๓๑๗๐
- หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๔๔๑-๗๙๒๐
- E-mail: atc@onab.go.th
- ยื่นออนไลน์ https://www.onab.go.th/th/eform/category/form/id/1/iid/3
๒. การรับเรื่องราวร้องทุกข์และแจ้งภัยทางพระพุทธศาสนาร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)
โทรศัพท์: ๐๒-๔๔๑-๗๙๙๙