สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
Anti-Money Laundering Office

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

       ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและ การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ ทั่วโลก รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลให้อาชญากรใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
       ในการก่ออาชญากรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
       ได้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ คือ “เป็นมืออาชีพด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างมีมาตรฐานและเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบการเงินไทยและประชาชน” โดยมีข้อมูลผลการปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมา และบทบาท ภารกิจที่สำคัญในปัจจุบัน 
ที่สอดคล้องกับหัวข้อ "ข้าราชการยุคใหม่ พัฒนาประเทศไทย ใส่ใจประชาชน" สรุปได้ ดังนี้ 
       ๑.  งานด้านการป้องกันการฟอกเงิน ประกอบด้วย
         ๑.๑ สำนักงาน ปปง. ได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสอย่างเป็นทางการ พร้อมกำหนดเลขหมายโทรศัพท์ ๔ ตัว เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการจดจำของประชาชน “สายด่วน ปปง. ๑๗๑๐” เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ เพื่อให้บริการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินและการก่อการร้าย โดยให้บริการในวันเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. และนอกจากนี้ยังมีช่องทางอื่น ๆ ในการแจ้งเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับผู้กระทำความผิด ซึ่งสถิติการรับเรื่องของ ศปก.ปปง. ยอดรวมสะสมตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ มีจำนวน ๑,๒๖๒ เรื่อง มูลค่าความเสียหาย จำนวน ๘๓๔,๑๘๗,๘๙๑.๖๙ บาท และการบรรเทาความเสียหาย จำนวน ๒๘,๖๕๒,๒๒๖.๔๔ บาท 
         ๑.๒  สำนักงาน ปปง. ได้ให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะหรือแนวนโยบายร่วมปฏิบัติหรือร่วมทำงานกับสำนักงาน ปปง. รวมถึงการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ สำนักงาน ปปง. ได้จัดโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ให้แก่ประชาชน จำนวน ๒๐ ครั้ง รวม ๒,๐๗๘ คน ในพื้นที่ ๑๔ จังหวัด เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงโดยประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รูปแบบการฟอกเงิน และแจ้งเตือนประชาชนให้ระวังภัยจากการหลอกลวง และร่วมเป็นเครือข่ายของสำนักงาน ปปง. ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ของตนเองเกี่ยวกับการหลอกลวงหรือการกระทำความผิดตามมูลฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมายฟอกเงิน

       ๒. งานด้านปราบปรามการฟอกเงิน 
       สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินผู้กระทำความผิด และคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย จำนวน ๔๕ เรื่อง มูลค่าทรัพย์สิน จำนวน ๘๒๓,๑๐๓,๗๒๕.๕๔ บาท

       ๓. งานด้านพัฒนาองค์กรและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร
       สำนักงาน ปปง. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ คุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน โดยได้ดำเนินการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะสูง รองรับการปฏิบัติงานตามภารกิจ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การฝึกอบรมพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ การสัมมนา เรื่อง พัฒนาเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น

       ๔. งานด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  
       สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริหารจัดการ บำรุงรักษาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัย  มั่นคงปลอดภัย สามารถบริการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ 
         ๔.๑ การพัฒนาระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงินและรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด ให้สามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงินและรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด (APS) ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันการเงินกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 
         ๔.๒ การพัฒนาระบบตรวจสอบสถานะการยื่นคำร้องคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (https://khumkrongsit.amlo.go.th) เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีข้อมูลในระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายมีข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และครบถ้วน ซึ่งจะทำให้ผู้เสียหายสามารถตรวจสอบสถานะการยื่นคำร้องผ่านระบบ ตลอดจนเพิ่มช่องทางรวมการประกาศคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายบนเว็บไซต์ สำนักงาน ปปง. เป็นต้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

       ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและ การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ ทั่วโลก รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน ส่งผลให้อาชญากรใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
       ในการก่ออาชญากรรม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ในฐานะหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
       ได้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ คือ “เป็นมืออาชีพด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างมีมาตรฐานและเท่าทันการเปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยของระบบการเงินไทยและประชาชน” โดยมีข้อมูลผลการปฏิบัติงานในรอบปีที่ผ่านมา และบทบาท ภารกิจที่สำคัญในปัจจุบัน 
ที่สอดคล้องกับหัวข้อ "ข้าราชการยุคใหม่ พัฒนาประเทศไทย ใส่ใจประชาชน" สรุปได้ ดังนี้ 
       ๑.  งานด้านการป้องกันการฟอกเงิน ประกอบด้วย
         ๑.๑ สำนักงาน ปปง. ได้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสอย่างเป็นทางการ พร้อมกำหนดเลขหมายโทรศัพท์ ๔ ตัว เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการจดจำของประชาชน “สายด่วน ปปง. ๑๗๑๐” เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖ เพื่อให้บริการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับการฟอกเงินและการก่อการร้าย โดยให้บริการในวันเวลาราชการ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. และนอกจากนี้ยังมีช่องทางอื่น ๆ ในการแจ้งเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ หรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับผู้กระทำความผิด ซึ่งสถิติการรับเรื่องของ ศปก.ปปง. ยอดรวมสะสมตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖ มีจำนวน ๑,๒๖๒ เรื่อง มูลค่าความเสียหาย จำนวน ๘๓๔,๑๘๗,๘๙๑.๖๙ บาท และการบรรเทาความเสียหาย จำนวน ๒๘,๖๕๒,๒๒๖.๔๔ บาท 
         ๑.๒  สำนักงาน ปปง. ได้ให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือกับภาคประชาชน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะหรือแนวนโยบายร่วมปฏิบัติหรือร่วมทำงานกับสำนักงาน ปปง. รวมถึงการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน ในการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ สำนักงาน ปปง. ได้จัดโครงการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ให้แก่ประชาชน จำนวน ๒๐ ครั้ง รวม ๒,๐๗๘ คน ในพื้นที่ ๑๔ จังหวัด เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงโดยประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ความเสี่ยงด้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง รูปแบบการฟอกเงิน และแจ้งเตือนประชาชนให้ระวังภัยจากการหลอกลวง และร่วมเป็นเครือข่ายของสำนักงาน ปปง. ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ของตนเองเกี่ยวกับการหลอกลวงหรือการกระทำความผิดตามมูลฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมายฟอกเงิน

       ๒. งานด้านปราบปรามการฟอกเงิน 
       สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน และรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับทรัพย์สินผู้กระทำความผิด และคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย จำนวน ๔๕ เรื่อง มูลค่าทรัพย์สิน จำนวน ๘๒๓,๑๐๓,๗๒๕.๕๔ บาท

       ๓. งานด้านพัฒนาองค์กรและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร
       สำนักงาน ปปง. ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะ คุณธรรมและจริยธรรมที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน โดยได้ดำเนินการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีขีดสมรรถนะสูง รองรับการปฏิบัติงานตามภารกิจ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การฝึกอบรมพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ การสัมมนา เรื่อง พัฒนาเจ้าหน้าที่สำนักงาน ปปง. สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เป็นต้น

       ๔. งานด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  
       สำนักงาน ปปง. ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริหารจัดการ บำรุงรักษาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัย  มั่นคงปลอดภัย สามารถบริการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ 
         ๔.๑ การพัฒนาระบบตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงินและรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด ให้สามารถตรวจสอบรายชื่อบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงด้านการฟอกเงินและรายชื่อบุคคลที่ถูกกำหนด (APS) ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สถาบันการเงินกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (สอท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 
         ๔.๒ การพัฒนาระบบตรวจสอบสถานะการยื่นคำร้องคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (https://khumkrongsit.amlo.go.th) เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และมีข้อมูลในระบบฐานข้อมูลการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายมีข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์ และครบถ้วน ซึ่งจะทำให้ผู้เสียหายสามารถตรวจสอบสถานะการยื่นคำร้องผ่านระบบ ตลอดจนเพิ่มช่องทางรวมการประกาศคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายบนเว็บไซต์ สำนักงาน ปปง. เป็นต้น

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
๔๒๒ ถ. พญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๒๑๙ ๓๖๐๐
โทรสาร: ๐ ๒๒๑๙ ๓๙๐๒
อีเมล: mail@amlo.go.th , saraban@amlo.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ