กระทรวงมหาดไทย
Ministry of Interior

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย

                กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจสำคัญในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง พัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎรความมั่นคงภายใน และกิจการสาธารณภัยและพัฒนาเมือง โดยขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการตามนโยบายของรัฐบาล (Agenda) งานตามภารกิจ (Function) และงานในระดับพื้นที่ (Area) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนบนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยดำเนินการขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย ลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (Statement of Commitment to Sustainable Thailand by the Governors of the Provinces of Thailand) ด้วยแนวคิดและเจตจำนง “๗๖ จังหวัด ๗๖ คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน เพื่อคนไทยกว่า ๖๙ ล้านคน ร่วมกับสหประชาชาติ” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในมิติต่าง ๆ ของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ผ่านกลไกการดำเนินงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน ครอบคลุมเชื่อมโยงในทุกระดับทั่วประเทศ ตั้งแต่ระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันขับเคลื่อนงานตามแนวทาง Change for Good สร้างสรรค์สิ่งที่ดีแก่สังคมและประเทศชาติ มุ่งมั่นบำบัดทุกข์บำรุงสุข แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยยึดมั่นในหลักคุณธรรมและความโปร่งใส ปราศจากการทุจริต เพื่อนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลอย่างยั่งยืน ซึ่งดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ๔ ด้าน ได้แก่
               ๑. ด้านการเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน ธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ เตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทุกรูปแบบ และสร้างความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
                    ๑.๑ โครงการจิตอาสาพระราชทาน สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมจิตอาสา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยมีประชาชนลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ จำนวนทั้งสิ้น ๖,๙๗๗,๕๗๗ คน และได้จัดกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาศาสนสถาน การพัฒนาสถานที่สวนสาธารณะ การสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกต้นไม้ กิจกรรมสาธารณสุข วิทยากรจิตอาสา และกิจกรรมอื่น ๆ (ช่วยเหลือผู้ยากไร้)

                    ๑.๒ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยกลไกพื้นที่ผ่านศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่บทบาท “ป้องกัน ปราบปราม บำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม และสื่อสารสังคม” โดยมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนผ่านกลไกของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ตลอดจนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่“สังคมไทย ปลอดภัยจากยาเสพติด”

                    ๑.๓ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ขับเคลื่อนแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในบทบาทของฝ่ายปกครอง โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินคดี ด้านการคุ้มครอง และด้านการป้องกัน ได้แก่ (๑) ด้านการดำเนินคดี ชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครองลงพื้นที่สืบสวนหาข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดคดีค้ามนุษย์ทั่วประเทศในเชิงรุก (๒) ด้านการคุ้มครอง ดำเนินการเข้าช่วยเหลือผู้เสียหายหรือผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ ดำเนินการคัดแยกผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ และส่งตัวผู้เสียหายไปยังสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หรือสถานคุ้มครองเอกชน เพื่อให้บริการและคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ และ (๓) ด้านการป้องกัน จัดฝึกอบรมบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการสืบสวน จับกุม ให้มีความเข้าใจข้อกฎหมายและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงตรวจตราสถานบริการและสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายสถานบริการ เพื่อป้องกันมิให้สถานบริการดำเนินกิจการเข้าข่ายการค้ามนุษย์

                    ๑.๔ การบริหารจัดการสาธารณภัย จัดทำแผนเผชิญเหตุ และเตรียมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้มีความพร้อมปฏิบัติงานตามแผนเผชิญเหตุตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตลอดจนวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ เพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุของแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมตลอดจนจัดการฝึกอบรมเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน เครือข่าย และอาสาสมัครด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมีการจัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัย เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน โดยมีช่องทางที่ประชาชนผู้ประสบสาธารณภัยสามารถแจ้งเหตุ หรือขอรับความช่วยเหลือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ หรือสายด่วนสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ ๑๗๘๔ Line Official Account “ปภ. รับแจ้งเหตุ 1784” แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

                    ๑.๕ การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนและศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนในระดับต่าง ๆ ในการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ซึ่งมีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น เสริมสร้างความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ได้แก่โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และสื่อรูปแบบอื่น เช่น จุลสารลด - หยุด - ภัยตลอดทั้งปี และสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน

                    ๑.๖ การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM๒.๕ ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยใช้กลไกกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และกรุงเทพมหานคร จัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์เพื่อติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์และทบทวน และจัดทำแผนเผชิญเหตุ รวมทั้ง เน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องจักรกลสาธารณภัยที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM๒.๕ ซึ่งมีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การจัดทำแผนเผชิญเหตุ/แผนตอบโต้สถานการณ์ จัดทำประกาศจังหวัด กำหนดเขตควบคุมการเผา/ห้ามเผา จัดตั้งชุดปฏิบัติการดับไฟป่า ลาดตระเวนดับไฟป่าในพื้นที่ จับกุมผู้กระทำผิดจากการลักลอบเผา จัดทำแนวกันไฟลดปริมาณเชื้อเพลิง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมสร้างความตระหนักให้ประชาชนลดการเผาในที่โล่ง ฯลฯ

               ๒. ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เสริมสร้างความสุขของชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและชุมชน เกิดการบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการที่เข้มแข็ง พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มั่นคง และแก้ไขปัญหาและข้อพิพาทเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
                    ๒.๑ การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนในทุกมิติของประชาชนในทุกพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนและบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมถึงจัดตั้งทีมปฏิบัติการฯ และทีมพี่เลี้ยง ลงพื้นที่เพื่อติดตาม ดูแลครัวเรือนเป้าหมายอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ และกำลังใจแก่ครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อมุ่งหวังให้ครัวเรือนเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น โดยนำข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า TPMAP และ Thai QM เป็นฐานข้อมูลในการขับเคลื่อน มีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นครัวเรือนยากจนที่ได้รับความช่วยเหลือในระบบ TPMAP แล้ว จำนวน ๖๕๓,๕๒๔ ครัวเรือน (๑,๐๒๘,๑๑๒ คน) และมีครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือในระบบ Thai QM แล้ว จำนวน ๒,๕๕๑,๔๗๔ ครัวเรือน

                    ๒.๒ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล” น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็นฐานรากของการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฝึกอบรมเพิ่มทักษะการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล และพัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน ฯลฯ

                    ๒.๓ โครงการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ส่งเสริมให้ประชาชนมีองค์ความรู้ พึ่งตนเองได้ สามารถต่อยอดไปสู่การมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงสร้างสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดีในชุมชน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริฯ ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการปลูกผักสวนครัว สร้างแรงจูงใจให้เกิดกระแสในการปลูกผัก อาทิ ปลูกผักร่วมกันในที่สาธารณประโยชน์ ปลูกผักสวนครัวจากศาสนสถานสู่ชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบ ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร คัดแยกขยะ ทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ รณรงค์สร้างคลังอาหารชุมชนโดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ แลกเปลี่ยนผลผลิตและแบ่งปันทั้งภายในและภายนอกชุมชน

                    ๒.๔ โครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน  จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการทรงงานและการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปขยายผลสร้างทีมตำบล ทีมหมู่บ้านให้ครบทั่วทั้งพื้นที่ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อจะได้ร่วมกันมุ่งมั่นทำหน้าที่พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนเพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชน ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคีด้วยการบูรณาการความร่วมมือ ๗ ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน ครอบคลุมทั้งส่วนท้องถิ่น ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ นำไปสู่การขับเคลื่อนและสร้างกลไกการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ส่งผลต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนค่านิยมให้เสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เอื้อเฟื้อแบ่งปันผู้อื่น และเป็นพลังสำคัญในการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำ และการบริหารจัดการของชุมชนท้องถิ่น

                    ๒.๕  โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ต่อยอดแนวพระดำริด้วยการขับเคลื่อนสู่หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ซึ่งจะคัดเลือก ๑ หมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมาย ในทุกตำบล มาพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความยั่งยืนในทุกมิติ บนพื้นฐานไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงด้านจิตใจด้วย คาดว่าจะช่วยทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน เคารพกันและกัน เป็นสังคมที่อบอุ่นมีความสุข มีรอยยิ้ม มีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

                    ๒.๖ โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ พัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่งเสริมให้ชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างสรรค์นวัตกรรมแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด ส่งเสริมช่องทางการตลาดแก่ผู้ผลิต เพิ่มช่องทางจำหน่าย เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP Premium สู่สากล รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางการจำหน่าย เปิดช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการตอบโจทย์การสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก และแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้านนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับการลงทะเบียน จำนวน ๙๗,๓๙๒ กลุ่ม/ราย มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการลงทะเบียน ๒๑๙,๔๗๖ ผลิตภัณฑ์ จำแนกเป็นประเภทอาหาร จำนวน ๘๔,๓๒๔ ผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่ม จำนวน ๑๑,๔๖๗ ผลิตภัณฑ์ ผ้า เครื่องแต่งกาย จำนวน ๔๒,๐๘๔ ผลิตภัณฑ์ ของใช้ ของตกแต่ง ที่ระลึก จำนวน ๕๓,๓๕๘ ผลิตภัณฑ์ และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน ๒๘,๒๔๓ ผลิตภัณฑ์

                    ๒.๗ ผ้าไทยใส่ให้สนุก เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้า และจัดกิจกรรมการแต่งกายชุดผ้าไทย “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสร้างการรับรู้ให้สาธารณชนเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้ สืบสาน รักษา และต่อยอดมรดกภูมิปัญญางานผ้าไทยให้คงไว้คู่แผ่นดินไทยสืบไป โดยมียอดจำหน่ายสินค้า รวมทั้งสิ้น ๙๕๕,๒๔๔,๔๕๘ บาท และมีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ๑๒,๖๖๕ กลุ่ม (๑๑๐,๐๔๑ คน)

                    ๒.๘ สนับสนุนคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล” จัดที่ดินทำกินให้ประชาชนผู้ยากไร้เข้าทำประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐประเภทต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ในที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่ราชพัสดุ และพื้นที่ป่าสงวนไว้เพื่อกิจการนิคมสร้างตนเอง โดยในปี ๒๕๖๕ จัดที่ดินทำกินให้ประชาชน จำนวน ๗,๗๔๖ ราย รวม ๑๐,๒๔๑ แปลง คิดเป็นเนื้อที่ ๕๘,๓๗๕ ไร่ ส่งผลให้ประชาชนผู้ยากไร้สามารถอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินได้อย่างถูกกฎหมาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาและข้อพิพาทเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐ

               ๓. การพัฒนาภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ให้เติบโตอย่างสมดุล พัฒนาภูมิภาค เมือง ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และบูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนาอย่างมีมาตรฐานเป็นระบบและสอดคล้องกับผังเมือง มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
                    ๓.๑ การพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ” ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.๒๕๖๑– ๒๕๘๐) โดยดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับผังเมือง เพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยดำเนินโครงการ อาทิ โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ และโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ

                    ๓.๒ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดวางระบบการเก็บขน รวบรวมที่สามารถรองรับการคัดแยกขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” โดยเน้นการจัดการครบวงจรทั้ง ๓ ระยะ คือ (๑) ระยะต้นทาง การลดและคัดแยกขยะ โดยนำหลัก ๓ R: Reduce Reuse และ Recycle มาปรับใช้ (๒) ระยะกลางทาง การจัดการขยะกลางทาง ดำเนินการเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีรถเก็บขนขยะที่เพียงพอในการบริการแก่ประชาชน และ (๓) ระยะปลายทาง การกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ โดยการลดจำนวนบ่อขยะลง และใช้เทคโนโลยีในการกำจัดขยะทดแทน และสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาดำเนินการโรงกำจัดขยะระบบปิดหรือกำจัดขยะแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิง RDF หรือผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อลดภาระงบประมาณในการลงทุนของภาครัฐ

                    ๓.๓ โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน ส่งเสริมและสนับสนุนการคัดแยกขยะครัวเรือน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาขยะที่ต้นทาง โดยเฉพาะขยะเปียกหรือขยะเศษอาหาร โดยใช้วัสดุเหลือใช้มาทำถังขยะเปียก อาจจะเป็นถังสีเก่า ถังน้ำเก่า หรือถังอื่นใด ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว และนำมาฝังดินในบริเวณบ้าน โดยทิ้งเศษอาหารประจำวันลงในถังดังกล่าวผ่านการย่อยสลายกลายเป็นสารปรับปรุงดิน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกต้นไม้ อีกทั้งยังสามารถลดก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนเครดิต โดยในปัจจุบันมีการดำเนินกระบวนรับรอง และซื้อขายคาร์บอนเครดิต นำร่องใน ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดลำพูน จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดเลย

                    ๓.๔ การจัดระเบียบสายสื่อสารและสายสาธารณูปโภค ดำเนินการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน พื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง ระยะทางสะสม ๕๕.๗ กิโลเมตร สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ก่อสร้างระบบจำหน่ายใต้ดิน และปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ใน ๔ เมืองใหญ่ ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครนครราชสีมา เมืองพัทยา และเทศบาลนครหาดใหญ่ ทำให้คุณภาพระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ลดปัญหาไฟฟ้าตก/ไฟฟ้าดับ รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ

                    ๓.๕ การพัฒนาระบบประปา ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปา และวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพระบบท่อจ่ายน้ำ ปรับปรุงเส้นท่อเพื่อลดอัตราน้ำสูญเสียที่มีสาเหตุมาจากท่อจ่ายน้ำเก่าชำรุด หรือเสื่อมสภาพการใช้งาน ทำให้ลดปัญหาข้อร้องเรียนจากการหยุดจ่ายน้ำ ลดการแตกรั่วของท่อประปาในพื้นที่ เพิ่มปริมาณน้ำจำหน่ายให้เพียงพอ และแก้ปัญหาน้ำไหลอ่อน ส่งผลให้ประชาชนได้รับโอกาสเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคและได้รับบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีน้ำประปาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลสำหรับอุปโภคบริโภค

                    ๓.๖ การจัดการน้ำเสีย บริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อบำบัดน้ำเสียให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำทิ้งก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ และนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในกิจกรรมที่เหมาะสมกับคุณภาพน้ำ เช่น เกษตรกรรม การล้างพื้นและถนนสาธารณะ เป็นต้น รวมถึงจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านการจัดการน้ำเสียชุมชน การติดตั้งและใช้งานถังดักไขมันให้กับประชาชนและกลุ่มบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น ปลอดภัยจากมลพิษทางน้ำ และสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพ

                    ๓.๗ การสนับสนุนนโยบายของรัฐในการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยติดตั้งหัวชาร์จ MEA EV จำนวน ๑๐๗ หัวชาร์จ และขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสามารถใช้งานได้บนแอปพลิเคชัน MEA EV Application และติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว หรือ Quick Charge บนเส้นทางหลักและเส้นทางรองภายในสถานีบริการน้ำมันบางจาก และพื้นที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน ๙๐ สถานี พร้อมทั้งขยายการให้บริการ PEA VOLTA Platform ให้ผู้ประกอบการสามารถให้บริการอัดประจุไฟฟ้าที่เครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการลงทุนได้ ซึ่งสามารถใช้งานได้บนแอปพลิเคชัน PEA VOLTA

               ๔. การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กร ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาและยกระดับการให้บริการเพื่อมุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล ขับเคลื่อนและวางแผนการดำเนินงานในประเด็นการพัฒนาระบบ และการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) เพื่อยกระดับการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนสำหรับการใช้บริการในส่วนของกระทรวงมหาดไทย เช่น
                    ๔.๑ ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (ThaiD) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนได้ ๒ วิธี คือ การลงทะเบียนโดยเจ้าหน้าที่ และการลงทะเบียนด้วยตนเองผ่านระบบเปรียบเทียบภาพใบหน้า (FVS) พร้อมกับพัฒนาแอปพลิเคชัน ThaiD บนสมาร์ทโฟนทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ซึ่งประชาชนสามารถขอรับบริการงานทะเบียน ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ สำหรับในระยะแรกมีงานทะเบียนราษฎรที่ให้บริการด้วยระบบดิจิทัล ได้แก่ การแจ้งย้ายที่อยู่ การมอบอำนาจหรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน และการขอคัดหรือคัดและรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยง ThaiD กับระบบการให้บริการแบบออนไลน์ ของหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประชาชนได้อีกด้วย

                    ๔.๒  “Application : เรียกช่าง” อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการค้นหาข้อมูลของผู้ประกอบการด้านช่าง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบการด้านช่างที่อยู่ในพื้นที่ได้ทุกแห่งทั่วประเทศ 

                    ๔.๓ แพลตฟอร์ม “Click ชุมชน” เป็นแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

                    ๔.๔ Application “SmartLands” รวบรวมช่องทางการเข้าถึงข้อมูล การให้บริการด้านที่ดินต่าง ๆ ของกรมที่ดิน (Department of Lands Portal : DOL Portal) ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว เช่น สารานุกรมที่ดิน การนัดจดทะเบียนล่วงหน้า การตรวจสอบราคาประเมินที่ดินประจำปีของกรมธนารักษ์ การค้นหาที่ตั้งสำนักงานที่ดิน การคำน

                    ๔.๕ บริการจดทะเบียนที่ดินต่างสำนักงานแบบออนไลน์ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถจองคิวผ่านแอปพลิเคชั่น “e-QLands” เพื่อจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแบบออนไลน์ต่างสำนักงานได้ทุกพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร ณ สำนักงานที่ดินของกรุงเทพมหานครทั้ง ๑๗ แห่ง โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ และมีเป้าหมายจะขยายบริการจดทะเบียนที่ดินออนไลน์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจะขยายบริการไปยังจังหวัดนำร่องในปี ๒๕๖๖ ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย เชียงใหม่ และสงขลา และในปี ๒๕๖๗ ได้แก่ ขอนแก่น ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เพชรบุรี และสิงห์บุรี ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวก ลดการเดินทาง และลดค่าใช้จ่ายของประชาชน

                    ๔.๖ การพัฒนาการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลของการไฟฟ้าและการประปา พัฒนาช่องทางการให้บริการในรูปแบบดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพบริการ โดยประชาชนสามารถรับบริการต่าง ๆ ผ่าน Application บนสมาร์ทโฟน ได้แก่ “MEA Smart Life” “PEA Smart Plus” “MWA onMobile” และ “PWA1662”

             

                    ๔.๗ ศูนย์ดำรงธรรม รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และให้บริการประชาชนในภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม ดังนี้
                           ๑) ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยและศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดทุกจังหวัด รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร บริการเบ็ดเสร็จ บริการรับ - ส่งต่อ ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๓๖,๐๒๘ เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่ยุติ จำนวน ๓๓,๕๖๕ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๑๖ สร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการ ร้อยละ ๙๔.๒๗
                          ๒) ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ จำนวน ๘๗๘ แห่ง รับเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ประกอบด้วย การขอความช่วยเหลือ ข้อร้องเรียน/ความเดือดร้อน ขัดแย้งทางสังคม ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด ปัญหาเรื่องที่ดิน และเรื่องอื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑๓,๘๖๘ เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่ยุติ จำนวน ๑๒,๘๑๑ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๓๘

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทย

        กระทรวงมหาดไทย มีภารกิจสำคัญในการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง พัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎรความมั่นคงภายใน และกิจการสาธารณภัยและพัฒนาเมือง โดยขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการตามนโยบายของรัฐบาล (Agenda) งานตามภารกิจ (Function) และงานในระดับพื้นที่ (Area) อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี ชุมชนเข้มแข็ง เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืนบนฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยดำเนินการขับเคลื่อนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งกระทรวงมหาดไทยร่วมกับสหประชาชาติประจำประเทศไทย ลงนามประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด (Statement of Commitment to Sustainable Thailand by the Governors of the Provinces of Thailand) ด้วยแนวคิดและเจตจำนง “๗๖ จังหวัด ๗๖ คำมั่นสัญญา เพื่อการพัฒนา เพื่อความเท่าเทียม เพื่อความยั่งยืน เพื่อคนไทยกว่า ๖๙ ล้านคน ร่วมกับสหประชาชาติ” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในมิติต่าง ๆ ของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ ผ่านกลไกการดำเนินงานร่วมกันในลักษณะเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน ครอบคลุมเชื่อมโยงในทุกระดับทั่วประเทศ ตั้งแต่ระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกันขับเคลื่อนงานตามแนวทาง Change for Good สร้างสรรค์สิ่งที่ดีแก่สังคมและประเทศชาติ มุ่งมั่นบำบัดทุกข์บำรุงสุข แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยยึดมั่นในหลักคุณธรรมและความโปร่งใส ปราศจากการทุจริต เพื่อนำพาประเทศไปสู่ความก้าวหน้าตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลอย่างยั่งยืน ซึ่งดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ ๔ ด้าน ได้แก่
       ๑. ด้านการเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน ธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ เตรียมความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทุกรูปแบบ และสร้างความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
            ๑.๑ โครงการจิตอาสาพระราชทาน สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมจิตอาสา เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรและสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยมีประชาชนลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ จำนวนทั้งสิ้น ๖,๙๗๗,๕๗๗ คน และได้จัดกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การพัฒนาแหล่งน้ำ การพัฒนาศาสนสถาน การพัฒนาสถานที่สวนสาธารณะ การสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกต้นไม้ กิจกรรมสาธารณสุข วิทยากรจิตอาสา และกิจกรรมอื่น ๆ (ช่วยเหลือผู้ยากไร้)

            ๑.๒ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยกลไกพื้นที่ผ่านศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่บทบาท “ป้องกัน ปราบปราม บำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม และสื่อสารสังคม” โดยมุ่งเน้นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชนผ่านกลไกของคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ตลอดจนการบูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่“สังคมไทย ปลอดภัยจากยาเสพติด”

            ๑.๓ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ขับเคลื่อนแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในบทบาทของฝ่ายปกครอง โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินคดี ด้านการคุ้มครอง และด้านการป้องกัน ได้แก่ (๑) ด้านการดำเนินคดี ชุดปฏิบัติการพิเศษกรมการปกครองลงพื้นที่สืบสวนหาข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำความผิดคดีค้ามนุษย์ทั่วประเทศในเชิงรุก (๒) ด้านการคุ้มครอง ดำเนินการเข้าช่วยเหลือผู้เสียหายหรือผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ ดำเนินการคัดแยกผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ และส่งตัวผู้เสียหายไปยังสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หรือสถานคุ้มครองเอกชน เพื่อให้บริการและคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากคดีค้ามนุษย์ และ (๓) ด้านการป้องกัน จัดฝึกอบรมบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการสืบสวน จับกุม ให้มีความเข้าใจข้อกฎหมายและสามารถบังคับใช้กฎหมายได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงตรวจตราสถานบริการและสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายสถานบริการ เพื่อป้องกันมิให้สถานบริการดำเนินกิจการเข้าข่ายการค้ามนุษย์

            ๑.๔ การบริหารจัดการสาธารณภัย จัดทำแผนเผชิญเหตุ และเตรียมกำลังคน วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้มีความพร้อมปฏิบัติงานตามแผนเผชิญเหตุตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตลอดจนวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ในพื้นที่ เพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุของแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมตลอดจนจัดการฝึกอบรมเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน เครือข่าย และอาสาสมัครด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมีการจัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัย เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน โดยมีช่องทางที่ประชาชนผู้ประสบสาธารณภัยสามารถแจ้งเหตุ หรือขอรับความช่วยเหลือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอ หรือสายด่วนสาธารณภัย หมายเลขโทรศัพท์ ๑๗๘๔ Line Official Account “ปภ. รับแจ้งเหตุ 1784” แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

            ๑.๕ การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน โดยใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนและศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนในระดับต่าง ๆ ในการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วน ซึ่งมีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น เสริมสร้างความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ ได้แก่โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ และสื่อรูปแบบอื่น เช่น จุลสารลด - หยุด - ภัยตลอดทั้งปี และสร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน

            ๑.๖ การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM๒.๕ ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยใช้กลไกกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และกรุงเทพมหานคร จัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์เพื่อติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์และทบทวน และจัดทำแผนเผชิญเหตุ รวมทั้ง เน้นย้ำการป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) พร้อมสนับสนุนอุปกรณ์และเครื่องจักรกลสาธารณภัยที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM๒.๕ ซึ่งมีการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การจัดทำแผนเผชิญเหตุ/แผนตอบโต้สถานการณ์ จัดทำประกาศจังหวัด กำหนดเขตควบคุมการเผา/ห้ามเผา จัดตั้งชุดปฏิบัติการดับไฟป่า ลาดตระเวนดับไฟป่าในพื้นที่ จับกุมผู้กระทำผิดจากการลักลอบเผา จัดทำแนวกันไฟลดปริมาณเชื้อเพลิง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมสร้างความตระหนักให้ประชาชนลดการเผาในที่โล่ง ฯลฯ

       ๒. ด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม สร้างความเข้มแข็งของชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เสริมสร้างความสุขของชุมชน และพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและชุมชน เกิดการบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการที่เข้มแข็ง พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้มั่นคง และแก้ไขปัญหาและข้อพิพาทเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
            ๒.๑ การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับพื้นที่ ซึ่งเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเดือดร้อนในทุกมิติของประชาชนในทุกพื้นที่ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนและบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมถึงจัดตั้งทีมปฏิบัติการฯ และทีมพี่เลี้ยง ลงพื้นที่เพื่อติดตาม ดูแลครัวเรือนเป้าหมายอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ และกำลังใจแก่ครัวเรือนเป้าหมาย เพื่อมุ่งหวังให้ครัวเรือนเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น โดยนำข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า TPMAP และ Thai QM เป็นฐานข้อมูลในการขับเคลื่อน มีกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นครัวเรือนยากจนที่ได้รับความช่วยเหลือในระบบ TPMAP แล้ว จำนวน ๖๕๓,๕๒๔ ครัวเรือน (๑,๐๒๘,๑๑๒ คน) และมีครัวเรือนที่ได้รับความช่วยเหลือในระบบ Thai QM แล้ว จำนวน ๒,๕๕๑,๔๗๔ ครัวเรือน

            ๒.๒ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา โมเดล” น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็นฐานรากของการพัฒนา และฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฝึกอบรมเพิ่มทักษะการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) ระดับตำบล และพัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน ฯลฯ

            ๒.๓ โครงการน้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สู่แผนปฏิบัติการ ๙๐ วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร” ส่งเสริมให้ประชาชนมีองค์ความรู้ พึ่งตนเองได้ สามารถต่อยอดไปสู่การมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงสร้างสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดีในชุมชน โดยน้อมนำแนวพระราชดำริฯ ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ผ่านการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการปลูกผักสวนครัว สร้างแรงจูงใจให้เกิดกระแสในการปลูกผัก อาทิ ปลูกผักร่วมกันในที่สาธารณประโยชน์ ปลูกผักสวนครัวจากศาสนสถานสู่ชุมชน ส่งเสริมการเรียนรู้จากพื้นที่ต้นแบบ ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร คัดแยกขยะ ทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน ทำปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ รณรงค์สร้างคลังอาหารชุมชนโดยใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ แลกเปลี่ยนผลผลิตและแบ่งปันทั้งภายในและภายนอกชุมชน

            ๒.๔ โครงการอำเภอ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน  จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการทรงงานและการพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปขยายผลสร้างทีมตำบล ทีมหมู่บ้านให้ครบทั่วทั้งพื้นที่ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อจะได้ร่วมกันมุ่งมั่นทำหน้าที่พัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนเพื่อ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ให้แก่ประชาชน ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคีด้วยการบูรณาการความร่วมมือ ๗ ภาคีเครือข่าย ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคศาสนา ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และภาคสื่อมวลชน ครอบคลุมทั้งส่วนท้องถิ่น ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ นำไปสู่การขับเคลื่อนและสร้างกลไกการทำงานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา กิจกรรมสาธารณประโยชน์ที่ส่งผลต่อการสร้างสังคมที่เข้มแข็ง ปรับเปลี่ยนค่านิยมให้เสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ เอื้อเฟื้อแบ่งปันผู้อื่น และเป็นพลังสำคัญในการจัดการปัญหาความเหลื่อมล้ำ และการบริหารจัดการของชุมชนท้องถิ่น

            ๒.๕  โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ต่อยอดแนวพระดำริด้วยการขับเคลื่อนสู่หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ซึ่งจะคัดเลือก ๑ หมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมาย ในทุกตำบล มาพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต สร้างความยั่งยืนในทุกมิติ บนพื้นฐานไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงด้านจิตใจด้วย คาดว่าจะช่วยทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีในชุมชน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน เคารพกันและกัน เป็นสังคมที่อบอุ่นมีความสุข มีรอยยิ้ม มีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

            ๒.๖ โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)” ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ พัฒนายกระดับคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ OTOP ให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่งเสริมให้ชุมชนใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างสรรค์นวัตกรรมแสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาด ส่งเสริมช่องทางการตลาดแก่ผู้ผลิต เพิ่มช่องทางจำหน่าย เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประชาชน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP Premium สู่สากล รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางการจำหน่าย เปิดช่องทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นการตอบโจทย์การสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก และแก้ปัญหาความยากจนของชาวบ้านนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับการลงทะเบียน จำนวน ๙๗,๓๙๒ กลุ่ม/ราย มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการลงทะเบียน ๒๑๙,๔๗๖ ผลิตภัณฑ์ จำแนกเป็นประเภทอาหาร จำนวน ๘๔,๓๒๔ ผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่ม จำนวน ๑๑,๔๖๗ ผลิตภัณฑ์ ผ้า เครื่องแต่งกาย จำนวน ๔๒,๐๘๔ ผลิตภัณฑ์ ของใช้ ของตกแต่ง ที่ระลึก จำนวน ๕๓,๓๕๘ ผลิตภัณฑ์ และสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร จำนวน ๒๘,๒๔๓ ผลิตภัณฑ์

            ๒.๗ ผ้าไทยใส่ให้สนุก เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ช่องทางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้า และจัดกิจกรรมการแต่งกายชุดผ้าไทย “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เพื่อสร้างการรับรู้ให้สาธารณชนเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย ทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษาเรียนรู้ สืบสาน รักษา และต่อยอดมรดกภูมิปัญญางานผ้าไทยให้คงไว้คู่แผ่นดินไทยสืบไป โดยมียอดจำหน่ายสินค้า รวมทั้งสิ้น ๙๕๕,๒๔๔,๔๕๘ บาท และมีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ๑๒,๖๖๕ กลุ่ม (๑๑๐,๐๔๑ คน)

            ๒.๘ สนับสนุนคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด) ในการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล” จัดที่ดินทำกินให้ประชาชนผู้ยากไร้เข้าทำประโยชน์และอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐประเภทต่าง ๆ ได้แก่ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่ป่าชายเลน พื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดิน พื้นที่ในที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่ราชพัสดุ และพื้นที่ป่าสงวนไว้เพื่อกิจการนิคมสร้างตนเอง โดยในปี ๒๕๖๕ จัดที่ดินทำกินให้ประชาชน จำนวน ๗,๗๔๖ ราย รวม ๑๐,๒๔๑ แปลง คิดเป็นเนื้อที่ ๕๘,๓๗๕ ไร่ ส่งผลให้ประชาชนผู้ยากไร้สามารถอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินได้อย่างถูกกฎหมาย และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาและข้อพิพาทเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดินของรัฐ

       ๓. การพัฒนาภูมิภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ให้เติบโตอย่างสมดุล พัฒนาภูมิภาค เมือง ให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน และบูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โครงสร้างพื้นฐานได้รับการพัฒนาอย่างมีมาตรฐานเป็นระบบและสอดคล้องกับผังเมือง มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนมีความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
            ๓.๑ การพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ” ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.๒๕๖๑– ๒๕๘๐) โดยดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับผังเมือง เพื่อรองรับการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีโอกาสในการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น โดยดำเนินโครงการ อาทิ โครงการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน โครงการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ โครงการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำภายในประเทศ และโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งเพื่อป้องกันการสูญเสียดินแดนของประเทศ

            ๓.๒ การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดวางระบบการเก็บขน รวบรวมที่สามารถรองรับการคัดแยกขยะมูลฝอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” โดยเน้นการจัดการครบวงจรทั้ง ๓ ระยะ คือ (๑) ระยะต้นทาง การลดและคัดแยกขยะ โดยนำหลัก ๓ R: Reduce Reuse และ Recycle มาปรับใช้ (๒) ระยะกลางทาง การจัดการขยะกลางทาง ดำเนินการเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีรถเก็บขนขยะที่เพียงพอในการบริการแก่ประชาชน และ (๓) ระยะปลายทาง การกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพ โดยการลดจำนวนบ่อขยะลง และใช้เทคโนโลยีในการกำจัดขยะทดแทน และสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาดำเนินการโรงกำจัดขยะระบบปิดหรือกำจัดขยะแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิง RDF หรือผลิตพลังงานไฟฟ้า เพื่อลดภาระงบประมาณในการลงทุนของภาครัฐ

            ๓.๓ โครงการถังขยะเปียกลดโลกร้อน ส่งเสริมและสนับสนุนการคัดแยกขยะครัวเรือน มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาขยะที่ต้นทาง โดยเฉพาะขยะเปียกหรือขยะเศษอาหาร โดยใช้วัสดุเหลือใช้มาทำถังขยะเปียก อาจจะเป็นถังสีเก่า ถังน้ำเก่า หรือถังอื่นใด ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว และนำมาฝังดินในบริเวณบ้าน โดยทิ้งเศษอาหารประจำวันลงในถังดังกล่าวผ่านการย่อยสลายกลายเป็นสารปรับปรุงดิน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปลูกต้นไม้ อีกทั้งยังสามารถลดก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนเครดิต โดยในปัจจุบันมีการดำเนินกระบวนรับรอง และซื้อขายคาร์บอนเครดิต นำร่องใน ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดลำพูน จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดเลย

            ๓.๔ การจัดระเบียบสายสื่อสารและสายสาธารณูปโภค ดำเนินการเปลี่ยนสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน พื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้านครหลวง ระยะทางสะสม ๕๕.๗ กิโลเมตร สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า ก่อสร้างระบบจำหน่ายใต้ดิน และปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ใน ๔ เมืองใหญ่ ได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครนครราชสีมา เมืองพัทยา และเทศบาลนครหาดใหญ่ ทำให้คุณภาพระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ลดปัญหาไฟฟ้าตก/ไฟฟ้าดับ รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ

            ๓.๕ การพัฒนาระบบประปา ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปา และวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพระบบท่อจ่ายน้ำ ปรับปรุงเส้นท่อเพื่อลดอัตราน้ำสูญเสียที่มีสาเหตุมาจากท่อจ่ายน้ำเก่าชำรุด หรือเสื่อมสภาพการใช้งาน ทำให้ลดปัญหาข้อร้องเรียนจากการหยุดจ่ายน้ำ ลดการแตกรั่วของท่อประปาในพื้นที่ เพิ่มปริมาณน้ำจำหน่ายให้เพียงพอ และแก้ปัญหาน้ำไหลอ่อน ส่งผลให้ประชาชนได้รับโอกาสเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคและได้รับบริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีน้ำประปาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลสำหรับอุปโภคบริโภค

            ๓.๖ การจัดการน้ำเสีย บริหารจัดการระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อบำบัดน้ำเสียให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำทิ้งก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ และนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในกิจกรรมที่เหมาะสมกับคุณภาพน้ำ เช่น เกษตรกรรม การล้างพื้นและถนนสาธารณะ เป็นต้น รวมถึงจัดการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้ด้านการจัดการน้ำเสียชุมชน การติดตั้งและใช้งานถังดักไขมันให้กับประชาชนและกลุ่มบุคคลทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้น ปลอดภัยจากมลพิษทางน้ำ และสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพ

            ๓.๗ การสนับสนุนนโยบายของรัฐในการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบไฟฟ้าและสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยติดตั้งหัวชาร์จ MEA EV จำนวน ๑๐๗ หัวชาร์จ และขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่สาธารณะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสามารถใช้งานได้บนแอปพลิเคชัน MEA EV Application และติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว หรือ Quick Charge บนเส้นทางหลักและเส้นทางรองภายในสถานีบริการน้ำมันบางจาก และพื้นที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน ๙๐ สถานี พร้อมทั้งขยายการให้บริการ PEA VOLTA Platform ให้ผู้ประกอบการสามารถให้บริการอัดประจุไฟฟ้าที่เครื่องอัดประจุไฟฟ้าที่ผู้ประกอบการลงทุนได้ ซึ่งสามารถใช้งานได้บนแอปพลิเคชัน PEA VOLTA

       ๔. การพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กร ส่งผลให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม และสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาและยกระดับการให้บริการเพื่อมุ่งสู่รัฐบาลดิจิทัล ขับเคลื่อนและวางแผนการดำเนินงานในประเด็นการพัฒนาระบบ และการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) เพื่อยกระดับการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนสำหรับการใช้บริการในส่วนของกระทรวงมหาดไทย เช่น
            ๔.๑ ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (ThaiD) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยผู้ใช้งานสามารถลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนได้ ๒ วิธี คือ การลงทะเบียนโดยเจ้าหน้าที่ และการลงทะเบียนด้วยตนเองผ่านระบบเปรียบเทียบภาพใบหน้า (FVS) พร้อมกับพัฒนาแอปพลิเคชัน ThaiD บนสมาร์ทโฟนทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ซึ่งประชาชนสามารถขอรับบริการงานทะเบียน ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ สำหรับในระยะแรกมีงานทะเบียนราษฎรที่ให้บริการด้วยระบบดิจิทัล ได้แก่ การแจ้งย้ายที่อยู่ การมอบอำนาจหรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน และการขอคัดหรือคัดและรับรองรายการทะเบียนราษฎร์ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยง ThaiD กับระบบการให้บริการแบบออนไลน์ ของหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลของประชาชนได้อีกด้วย

            ๔.๒  “Application : เรียกช่าง” อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการค้นหาข้อมูลของผู้ประกอบการด้านช่าง ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอน ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบการด้านช่างที่อยู่ในพื้นที่ได้ทุกแห่งทั่วประเทศ 

            ๔.๓ แพลตฟอร์ม “Click ชุมชน” เป็นแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลการพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชนที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็วและใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

            ๔.๔ Application “SmartLands” รวบรวมช่องทางการเข้าถึงข้อมูล การให้บริการด้านที่ดินต่าง ๆ ของกรมที่ดิน (Department of Lands Portal : DOL Portal) ไว้ในแอปพลิเคชันเดียว เช่น สารานุกรมที่ดิน การนัดจดทะเบียนล่วงหน้า การตรวจสอบราคาประเมินที่ดินประจำปีของกรมธนารักษ์ การค้นหาที่ตั้งสำนักงานที่ดิน การคำน

            ๔.๕ บริการจดทะเบียนที่ดินต่างสำนักงานแบบออนไลน์ อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถจองคิวผ่านแอปพลิเคชั่น “e-QLands” เพื่อจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแบบออนไลน์ต่างสำนักงานได้ทุกพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร ณ สำนักงานที่ดินของกรุงเทพมหานครทั้ง ๑๗ แห่ง โดยไม่ต้องเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ และมีเป้าหมายจะขยายบริการจดทะเบียนที่ดินออนไลน์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยจะขยายบริการไปยังจังหวัดนำร่องในปี ๒๕๖๖ ได้แก่ อุบลราชธานี หนองคาย เชียงใหม่ และสงขลา และในปี ๒๕๖๗ ได้แก่ ขอนแก่น ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ เพชรบุรี และสิงห์บุรี ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวก ลดการเดินทาง และลดค่าใช้จ่ายของประชาชน

            ๔.๖ การพัฒนาการให้บริการในรูปแบบดิจิทัลของการไฟฟ้าและการประปา พัฒนาช่องทางการให้บริการในรูปแบบดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพบริการ โดยประชาชนสามารถรับบริการต่าง ๆ ผ่าน Application บนสมาร์ทโฟน ได้แก่ “MEA Smart Life” “PEA Smart Plus” “MWA onMobile” และ “PWA1662”

     

            ๔.๗ ศูนย์ดำรงธรรม รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ แก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และให้บริการประชาชนในภารกิจของศูนย์ดำรงธรรม ดังนี้
           ๑) ศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทยและศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดทุกจังหวัด รับเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ ให้บริการข้อมูลข่าวสาร บริการเบ็ดเสร็จ บริการรับ - ส่งต่อ ให้คำปรึกษา และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า โดยหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๓๖,๐๒๘ เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่ยุติ จำนวน ๓๓,๕๖๕ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๑๖ สร้างความพึงพอใจให้แก่ประชาชนที่ใช้บริการ ร้อยละ ๙๔.๒๗
          ๒) ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ จำนวน ๘๗๘ แห่ง รับเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ประกอบด้วย การขอความช่วยเหลือ ข้อร้องเรียน/ความเดือดร้อน ขัดแย้งทางสังคม ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด ปัญหาเรื่องที่ดิน และเรื่องอื่น ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๑๓,๘๖๘ เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จเป็นที่ยุติ จำนวน ๑๒,๘๑๑ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๓๘

กระทรวงมหาดไทย
ถนนอัษฎางค์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์: ๐๒ ๒๒๑ ๐๘๒๓
อีเมล: saraban@moi.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ