ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม
“กระทรวงคมนาคม ข้าราชการวิถีใหม่ ใฝ่คุณธรรม บริการเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน”
กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทุกระบบ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และจราจรในภูมิภาค รวมทั้งดำเนินการโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและสามารถรองรับ การขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ โดยการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมือง ด้วยทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) มีเส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ๓ สาย ได้แก่ สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M๖) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M๘๑) และสายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว (M๘๒) และอยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มเติม ในสายทางอื่นๆ อาทิ สายวงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง และช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน (M๙) ส่วนต่อขยายยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) (M๕) ช่วงนครปฐม-ปากท่อ (M๘) ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M๗) และวงแหวนรอบ ๓ ด้านตะวันออก ทล.๓๐๕ ถึงทางพิเศษฉลองรัช เป็นต้น
ทั้งยัง ยังเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการเพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อการขนส่งชายแดน ได้แก่ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง สินค้าเชียงของ จ.เชียงราย และโครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชน รวมทั้งการพัฒนาโครงข่ายสะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างพรมแดนไทย-สปป.ลาว จำนวน ๒ โครงการ ได้แก่ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๕ (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) จ.บึงกาฬ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยกำหนดเปิดให้บริการปี ๒๕๖๗ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๖ (อุบลราชธานี-สาละวัน) ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาแหล่งเงินดำเนินการกับสปป.ลาว
ด้านการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบราง กระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง โดยมีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง ๘๔ กม. ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ส่งผลให้ประเทศไทยมีโครงข่ายทางคู่ เพิ่มขึ้น ๖๒๗ กม. คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๕๐ ของทางรถไฟทั่วประเทศ (๔,๐๔๔ กม.) นอกจากนี้ ได้เร่งรัดโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ ๑ อีก ๔ สายทาง ได้แก่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สายเหนือ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๖ รวมทั้งการเริ่มต้น งานก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ ระยะทาง ๖๗๗ กม. ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เปิดให้บริการปี ๒๕๖๙ และการผลักดันทางคู่ระยะที่ ๒ เข้าสู่การขออนุมัติโครงการโดยมีสายทางที่สำคัญ คือ ช่วงขอนแก่น-หนองคายที่จะช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยผ่านโครงข่ายการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างไทย-สปป.ลาว และจีน
เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ รถไฟ ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทางรวม ๔๗๓ กม. โดยดำเนินการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จในส่วนของสัญญาที่ ๒-๑ ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก และจะได้เร่งผลักดันในช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง ๓๕๕ กม. เพื่อให้เกิดโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทางน้ำ โดยการเปิดให้บริการเดินเรือ RoRo Ferry สําหรับขนส่งผู้โดยสาร รถยนต์ และรถบรรทุกสินค้า ได้ทดลองเปิดให้บริการเส้นทางสัตหีบ-เกาสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ และดำเนินโครงการก่อสร้างเสริมทรายหาดจอมเทียน (Beach Nourichment) ระยะที่ ๑ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ความยาวชายหาด ๓ กม. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นฟูสภาพชายหาด เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
ขับเคลื่อนต่อเนื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทางอากาศ เช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยดําเนินการแล้วเสร็จในช่วงปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ได้แก่ งานระบบสาธารณูปโภค (CC๓) งานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) และอยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารหอควบคุมการจราจรทางอากาศและอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ณ ศูนย์ควบคุมการบินเชียงใหม่ รวมทั้งการพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการต่อเติมความยาวทางวิ่ง ท่าอากาศยานแม่สอด โครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานขอนแก่น เป็นต้น
แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในเขตเมืองผ่านโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะโดยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง ๓๔.๕๐ กม. (ครอบคลุมส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี อีก ๓ กม.) และรถไฟฟ้า สายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว - สําโรง ระยะทาง ๓๐.๔๐ กม. ซึ่งงานก่อสร้างทั้งสองโครงการใกล้แล้วเสร็จ และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในปี ๒๕๖๖ และเร่งรัดโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีก ๒ สาย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง ๒๒.๕๐ กม. เปิดให้บริการ ๒๕๖๘ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง ๒๓.๖๐ กม. เปิดให้บริการ ๒๕๗๐ รวมทั้งการพัฒนาระบบเรือโดยสารสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ โดยผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสําหรับเรือโดยสารสาธารณะ ส่งเสริมการเชื่อมต่อล้อ-ราง-เรือ ตลอดจนการพัฒนา Smart Pier ในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีท่าเรือ ที่ดําเนินการแล้วเสร็จพร้อมใช้งาน จํานวน ๘ แห่ง โดยมีท่าเรือ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จล่าสุด คือท่าเรือราชินี และท่าเรือบางโพ เมื่อเดือน ธ.ค. ๒๕๖๕ และมีท่าเรือที่อยู่ระหว่างดําเนินการ จํานวน ๓ แห่ง ได้แก่ ท่าเรือท่าเตียน ท่าเรือพระราม ๗ และท่าเรือเกียกกาย คาดว่าจะเปิดใช้งานภายในปี ๒๕๖๖
พัฒนาระบบ Feeder เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนและแผนพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินทาง โดยการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๕) เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดเส้นทางในการเดินทางทางน้ำจำนวน ๑๐ เส้นทาง ระยะทางรวม ๑๙๖.๖ กม. และการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) โดยกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง เชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) สถานีกลางบางซื่อ และแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ตามสถานีต่าง ๆ
พัฒนาถนนเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด โครงการทางพิเศษ สายพระราม ๓-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ด้านตะวันตก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี ๒๕๖๘
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางในการบริหารด้านคมนาคมที่ทันสมัยโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาเพื่อสร้างความสะดวก ปลอดภัยในการในเดินทาง โดยการพัฒนาระบบผ่านทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการขนส่งทางถนน (Innovation and Transport Technology Center) เพื่อใช้ในการตรวจสอบและควบคุมการใช้ความเร็วของรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก แบบเรียลไทม์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการ นำนวัตกรรมการเชื่อมต่อด้านข้อมูลมาใช้เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การผลักดันโครงการขนาดใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย และอันดามัน (Landbridge) ที่จะช่วยสร้างความสามารถการแข่งขันด้านการขนส่งทางน้ำ โดยใช้ความได้เปรียบด้านจุดที่ตั้งยุทธศาสตร์ (Strategic Location) ของประเทศไทย และการบูรณาการโครงข่ายทางหลวงและรถไฟทางคู่ (MR-Map) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น
ในอนาคตกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการผลักดันการทำงานเชิงรุก เพื่อให้โครงการและแผนงานเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมีแผนการลงทุนในโครงการสำคัญทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ในปี ๒๕๖๖ ภายใต้วงเงินลงทุนถึง ๓๐๖,๓๓๒ ล้านบาท ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดการจ้างงานและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศโดยรวม ทั้งนี้ ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล กฎหมาย ระเบียบ และหลักธรรมมาภิบาล โดยมุ่งมั่นที่จะให้ประชาชนสามารถใช้ระบบคมนาคมขนส่งได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล เพื่อสร้างสุขให้แก่ประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม
“กระทรวงคมนาคม ข้าราชการวิถีใหม่ ใฝ่คุณธรรม บริการเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน”
กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งพัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งทุกระบบ ทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง และจราจรในภูมิภาค รวมทั้งดำเนินการโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
เดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและสามารถรองรับ การขนส่งและการเดินทางต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ โดยการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างเมือง ด้วยทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) มีเส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ๓ สาย ได้แก่ สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M๖) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M๘๑) และสายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว (M๘๒) และอยู่ระหว่างดำเนินการเพิ่มเติม ในสายทางอื่นๆ อาทิ สายวงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง และช่วงบางบัวทอง-บางปะอิน (M๙) ส่วนต่อขยายยกระดับอุตราภิมุข (ดอนเมืองโทลเวย์) (M๕) ช่วงนครปฐม-ปากท่อ (M๘) ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (M๗) และวงแหวนรอบ ๓ ด้านตะวันออก ทล.๓๐๕ ถึงทางพิเศษฉลองรัช เป็นต้น
ทั้งยัง ยังเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการเพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อการขนส่งชายแดน ได้แก่ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง สินค้าเชียงของ จ.เชียงราย และโครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกเอกชน รวมทั้งการพัฒนาโครงข่ายสะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างพรมแดนไทย-สปป.ลาว จำนวน ๒ โครงการ ได้แก่ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๕ (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) จ.บึงกาฬ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง โดยกำหนดเปิดให้บริการปี ๒๕๖๗ และสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๖ (อุบลราชธานี-สาละวัน) ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาแหล่งเงินดำเนินการกับสปป.ลาว
ด้านการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบราง กระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าเร่งรัดโครงการรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง โดยมีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง ๘๔ กม. ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ส่งผลให้ประเทศไทยมีโครงข่ายทางคู่ เพิ่มขึ้น ๖๒๗ กม. คิดเป็นร้อยละ ๑๕.๕๐ ของทางรถไฟทั่วประเทศ (๔,๐๔๔ กม.) นอกจากนี้ ได้เร่งรัดโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ ๑ อีก ๔ สายทาง ได้แก่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สายเหนือ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน และช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๖ รวมทั้งการเริ่มต้น งานก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ ระยะทาง ๖๗๗ กม. ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เปิดให้บริการปี ๒๕๖๙ และการผลักดันทางคู่ระยะที่ ๒ เข้าสู่การขออนุมัติโครงการโดยมีสายทางที่สำคัญ คือ ช่วงขอนแก่น-หนองคายที่จะช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทยผ่านโครงข่ายการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างไทย-สปป.ลาว และจีน
เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ รถไฟ ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทางรวม ๔๗๓ กม. โดยดำเนินการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จในส่วนของสัญญาที่ ๒-๑ ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก และจะได้เร่งผลักดันในช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง ๓๕๕ กม. เพื่อให้เกิดโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทางน้ำ โดยการเปิดให้บริการเดินเรือ RoRo Ferry สําหรับขนส่งผู้โดยสาร รถยนต์ และรถบรรทุกสินค้า ได้ทดลองเปิดให้บริการเส้นทางสัตหีบ-เกาสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๖๕ และดำเนินโครงการก่อสร้างเสริมทรายหาดจอมเทียน (Beach Nourichment) ระยะที่ ๑ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ความยาวชายหาด ๓ กม. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นฟูสภาพชายหาด เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว
ขับเคลื่อนต่อเนื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทางอากาศ เช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยดําเนินการแล้วเสร็จในช่วงปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ได้แก่ งานระบบสาธารณูปโภค (CC๓) งานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) และอยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารหอควบคุมการจราจรทางอากาศและอาคารสำนักงานแห่งใหม่ ณ ศูนย์ควบคุมการบินเชียงใหม่ รวมทั้งการพัฒนาท่าอากาศยานภูมิภาคที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการต่อเติมความยาวทางวิ่ง ท่าอากาศยานแม่สอด โครงการก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ ท่าอากาศยานขอนแก่น เป็นต้น
แก้ไขปัญหาจราจรติดขัดในเขตเมืองผ่านโครงข่ายระบบขนส่งสาธารณะโดยการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง ๓๔.๕๐ กม. (ครอบคลุมส่วนต่อขยายช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี อีก ๓ กม.) และรถไฟฟ้า สายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว - สําโรง ระยะทาง ๓๐.๔๐ กม. ซึ่งงานก่อสร้างทั้งสองโครงการใกล้แล้วเสร็จ และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในปี ๒๕๖๖ และเร่งรัดโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีก ๒ สาย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง ๒๒.๕๐ กม. เปิดให้บริการ ๒๕๖๘ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง ๒๓.๖๐ กม. เปิดให้บริการ ๒๕๗๐ รวมทั้งการพัฒนาระบบเรือโดยสารสาธารณะในเขตกรุงเทพฯ โดยผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าสําหรับเรือโดยสารสาธารณะ ส่งเสริมการเชื่อมต่อล้อ-ราง-เรือ ตลอดจนการพัฒนา Smart Pier ในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีท่าเรือ ที่ดําเนินการแล้วเสร็จพร้อมใช้งาน จํานวน ๘ แห่ง โดยมีท่าเรือ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จล่าสุด คือท่าเรือราชินี และท่าเรือบางโพ เมื่อเดือน ธ.ค. ๒๕๖๕ และมีท่าเรือที่อยู่ระหว่างดําเนินการ จํานวน ๓ แห่ง ได้แก่ ท่าเรือท่าเตียน ท่าเรือพระราม ๗ และท่าเรือเกียกกาย คาดว่าจะเปิดใช้งานภายในปี ๒๕๖๖
พัฒนาระบบ Feeder เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนและแผนพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินทาง โดยการจัดทําแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาการเดินทางทางน้ำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๕) เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดเส้นทางในการเดินทางทางน้ำจำนวน ๑๐ เส้นทาง ระยะทางรวม ๑๙๖.๖ กม. และการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) โดยกำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง เชื่อมต่อกับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) สถานีกลางบางซื่อ และแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ตามสถานีต่าง ๆ
พัฒนาถนนเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัด โครงการทางพิเศษ สายพระราม ๓-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอก ด้านตะวันตก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี ๒๕๖๘
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมได้เดินหน้าเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางในการบริหารด้านคมนาคมที่ทันสมัยโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาพัฒนาเพื่อสร้างความสะดวก ปลอดภัยในการในเดินทาง โดยการพัฒนาระบบผ่านทางพิเศษแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการขนส่งทางถนน (Innovation and Transport Technology Center) เพื่อใช้ในการตรวจสอบและควบคุมการใช้ความเร็วของรถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก แบบเรียลไทม์ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นการ นำนวัตกรรมการเชื่อมต่อด้านข้อมูลมาใช้เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การผลักดันโครงการขนาดใหญ่ที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทย และอันดามัน (Landbridge) ที่จะช่วยสร้างความสามารถการแข่งขันด้านการขนส่งทางน้ำ โดยใช้ความได้เปรียบด้านจุดที่ตั้งยุทธศาสตร์ (Strategic Location) ของประเทศไทย และการบูรณาการโครงข่ายทางหลวงและรถไฟทางคู่ (MR-Map) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคกระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น
ในอนาคตกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการผลักดันการทำงานเชิงรุก เพื่อให้โครงการและแผนงานเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมีแผนการลงทุนในโครงการสำคัญทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ในปี ๒๕๖๖ ภายใต้วงเงินลงทุนถึง ๓๐๖,๓๓๒ ล้านบาท ซึ่งจะช่วยก่อให้เกิดการจ้างงานและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ประเทศโดยรวม ทั้งนี้ ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล กฎหมาย ระเบียบ และหลักธรรมมาภิบาล โดยมุ่งมั่นที่จะให้ประชาชนสามารถใช้ระบบคมนาคมขนส่งได้อย่างสะดวก ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล เพื่อสร้างสุขให้แก่ประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป