ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม ได้กําหนดวิสัยทัศน์ของกระทรวงยุติธรรมที่ว่า “สร้างสังคมแห่งความเป็นธรรมบนรากฐานของความเท่าเทียม” (Promoting a fair society based on equality) เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมได้ใช้ในการกําหนดนโยบายและแผน ตลอดจนทิศทางการพัฒนาและให้บริการงานยุติธรรมส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม เสมอภาค ภายใต้ค่านิยมร่วม “สุจริตจิตบริการ สานงานยุติธรรม” และกระทรวงยุติธรรมได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการให้มีความคล่องตัว ก้าวทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน โดยได้ปรับแนวคิดและวิธีการทํางานใหม่ เน้นการเปิดกว้างและเชื่อมโยงระหว่างกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และสร้างสมรรถนะบุคลากรในสังกัดกระทรวงยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยให้“คุณธรรมนําการพัฒนา” ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมทางศาสนา และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามมาเป็นหลักในการยึดถือและปฏิบัติตนเพื่อให้การส่งมอบงานบริการของกระทรวงยุติธรรมสู่ประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และลดความเหลื่อมลํําในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน โดยกระทรวงยุติธรรมมีงานบริการเชิงรุกเพื่อสร้างสุขให้ประชาชนที่สําคัญดังนีํ
๑. การจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชน
ดําเนินการร่วมกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และสถาบันการเงินต่าง ๆ จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนีํสินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชนใน ๗๗ จังหวัดทั่วประเทศ รวมจํานวน ๗๘ ครัํง เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนีํสินของประชาชน ที่เป็นหนีํกยศ. หนีํบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล หนีํรายย่อย หนีํครัวเรือนและหนีํสินเชื่อรถยนต์ด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ส่งผลให้ลูกหนีํมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึํนไม่ต้องถูกบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องยึดทรัพย์สินและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความสงบสขุ ในสงัคม ลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการบังคับคดีซึ่งผลการดําเนินการสามารถไกล่เกลี่ยช่วยเหลือประชาชน จํานวนทัํงสิํน ๙๔,๓๒๘ คนยอดหนีํเข้าสู่ กระบวนการไกล่เกลี่ย จํานวน ๒๓,๕๒๙.๔๐ ล้านบาท สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีค่าธรรมเนียมศาลค่าทนายความ ได้จํานวน ๗,๐๒๔.๓๓ ล้านบาท
๒. การปราบปรามการฉ้อโกงหลอกหลวงประชาชน และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
ดําเนินการปราบปรามการฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดด้านธุรกิจการเงินนอกระบบ ส่งผลให้รัฐหรือประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากการสืบสวน /คดีพิเศษ และอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคดีพิเศษได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอภาค รวดเร็ว และเป็นธรรม และกระทรวงยุติธรรมได้จัดตัํงศูนย์ช่วยเหลือลูกหนีํและประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพื่อให้คําปรึกษารับแจ้งปัญหา และพิจารณาการช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาหนีํนอกระบบ ปัญหาการไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านที่ดินและด้านอื่นๆช่วยเหลืออํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทางด้านกฎหมาย การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการดําเนินงาน ดังนี้
๑) การช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนีํนอกระบบ โดยไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านที่ดินและด้านอื่นๆ ที่ได้รับการแก้ไขปัญหา รวมจํานวนทัํงสิํน ๓๘๙ เรื่อง
๒) การร้องเรียนหรือขอรับบริการให้คําปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาหนีํนอกระบบ ปัญหาด้านที่ดินและปัญหาด้านอนื่ ๆ รวมจํานวนทัํงสิํน ๑,๑๘๐ ราย
๓. การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและการยึด/อายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด
ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ปรับปรุงบทบัญญัติให้สอดคล้องกับผลการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก (UNGASS-๒๐๑๖) และแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับนโยบายการควบคุมตัวยาเสพติดที่เป็นปัญหาและอุปสรรคหรือภาระต่อการดํารงชีวิตของประชาชน โดยได้ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จํานวน ๕ ฉบับ ได้แก่ (๑) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๔(๒) พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๔ (๓) ประมวลกฎหมายยาเสพติด (๔) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ (๕) พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. ๒๕๖๕โดยผลการดําเนินงานสามารถยึดและอายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด รวมมูลค่าทรัพย์สิน ๑๑,๐๐๓.๐๒ ล้านบาท
๔. การให้บริการประชาชนภายใต้แนวคิด ยุติธรรมสร้างสุข ยุติธรรมเชิงรุกสร้างสุขให้ประชาชน(JusticeCare)
มีแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมตามมาตรฐานสากล (Victim.scheme) โดยให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย เหยื่ออาชญากรรม หรือผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมให้เข้าถึงความช่วยเหลือด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องร้องขอ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง โดยมอบหมายให้ศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข (สํานักงานยุติธรรมจังหวัด) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการช่วยเหลือดังกล่าวในระดับพืํนที่ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ เป็นหน่วยรับผิดชอบในพืํนที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีแนวทางและขัํนตอนการปฏิบัติที่เป็นแบบแผนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน กําหนดให้แจ้งสิทธิแก่ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมแบบบูรณาการภายใน๒๔ ชั่วโมง ด้วยการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมลงพืํนที่ช่วยเหลือประชาชน เช่น สถานีตํารวจภูธร/นครบาลสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์บ้านพักเด็กและครอบครัว ศูนย์ยุติธรรมชุมชน กํานัน/ผู้ใหญ่บ้านเป็นต้น
๕. การผลักดันพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทําความผิดซ้ําในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕
ผลักดันพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทําความผิดซํําในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งกฎหมายฉบับนีํถือได้ว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบป้องกันอาชญากรรมด้วยการแก้ไขฟื้นฟูและเฝ้าระวัง และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่รัฐบาลขับเคลื่อนเพื่อทําให้สังคมและประชาชนรู้สึกปลอดภัยจากบุคคลอันตรายมากยิ่งขึํน รวมถึงเป็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้มีความทันสมัยตามหลักสากลช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตัํง มีความปลอดภัยจากบุคคลอันตรายช่วยป้องกันเหตุอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญไม่ให้เกิดขึํนซํําอีก โดยกฎหมายฉบับนีํได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
๖. การขับเคลื่อนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์และการส่งเสริมเรือนจําท่องเที่ยวเชิงเกษตรและบริการ
ดําเนินการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังในลักษณะนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจําและฝึกทักษะอาชีพโดยความร่วมมือกับภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางการขับเคลื่อนการจัดตัํงนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ออกเป็น ๒ ประเภท ดังนีํ
๑) เรือนจําอุตสาหกรรม (เรือนจําอุตสาหกรรมประจําเขต)กรมราชทัณฑ์ดําเนินการจัดตัํงเรือนจําอุตสาหกรรมประจําเขต โดยมีเรือนจําอุตสาหกรรมประจําเขตแต่ละเขต จํานวน ๑๐ แห่ง ซึ่งมีความโดดเด่นและมีประเภทอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป
๒) การส่งผู้ต้องขังที่เข้าหลักเกณฑ์การพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ กรมราชทัณฑ์ดําเนินโครงการ“สร้างงาน สร้างอาชีพ ฝึกทักษะการทํางานในภาคอุตสาหกรรม”(การพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ) โดยดําเนินการติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) เพื่อทํางานในนิคมอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการของเอกชนที่สนใจรับแรงงานผู้ต้องขังไปทํางาน โดยมีมาตรการและเงื่อนไขในการคุมประพฤติชัดเจนและรัดกุม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการและสังคม
กระทรวงยุติธรรม พร้อมให้บริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงงานบริการด้านงานยุติธรรมอย่างสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย รวมทัํง ให้บริการประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชัน JusticeCareโดยประชาชนสามารถขอรับงานบริการต่าง ๆ ของกระทรวงยุติธรรมได้ทุกที่...ทุกเวลา
กระทรวงยุติธรรมยุคใหม่ "สุจริต จิตบริการ สานงานยุติธรรมเพื่อประชาชน"
เยี่ยมชมเว็บไซต์ E-Commerce เพิ่มเติม ได้ที่ : วันสุข ? สุขที่ได้ให้โอกาส สินค้าแฮนด์เมดคุณภาพ จากกรมราชทัณฑ์ https://shp.ee/rgaddp2
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงยุติธรรม
กระทรวงยุติธรรม ได้กําหนดวิสัยทัศน์ของกระทรวงยุติธรรมที่ว่า “สร้างสังคมแห่งความเป็นธรรมบนรากฐานของความเท่าเทียม” (Promoting a fair society based on equality) เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมได้ใช้ในการกําหนดนโยบายและแผน ตลอดจนทิศทางการพัฒนาและให้บริการงานยุติธรรมส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม เสมอภาค ภายใต้ค่านิยมร่วม “สุจริตจิตบริการ สานงานยุติธรรม” และกระทรวงยุติธรรมได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการให้มีความคล่องตัว ก้าวทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน โดยได้ปรับแนวคิดและวิธีการทํางานใหม่ เน้นการเปิดกว้างและเชื่อมโยงระหว่างกัน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และสร้างสมรรถนะบุคลากรในสังกัดกระทรวงยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย สอดคล้องกับยุคดิจิทัล โดยให้“คุณธรรมนําการพัฒนา” ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมทางศาสนา และวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามมาเป็นหลักในการยึดถือและปฏิบัติตนเพื่อให้การส่งมอบงานบริการของกระทรวงยุติธรรมสู่ประชาชนเป็นไปอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และลดความเหลื่อมลํําในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน โดยกระทรวงยุติธรรมมีงานบริการเชิงรุกเพื่อสร้างสุขให้ประชาชนที่สําคัญดังนีํ
๑. การจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชน
ดําเนินการร่วมกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และสถาบันการเงินต่าง ๆ จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนีํสินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชนใน ๗๗ จังหวัดทั่วประเทศ รวมจํานวน ๗๘ ครัํง เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาหนีํสินของประชาชน ที่เป็นหนีํกยศ. หนีํบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล หนีํรายย่อย หนีํครัวเรือนและหนีํสินเชื่อรถยนต์ด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ส่งผลให้ลูกหนีํมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึํนไม่ต้องถูกบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องยึดทรัพย์สินและขายทอดตลาดทรัพย์สิน ก่อให้เกิดความสงบสขุ ในสงัคม ลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการบังคับคดีซึ่งผลการดําเนินการสามารถไกล่เกลี่ยช่วยเหลือประชาชน จํานวนทัํงสิํน ๙๔,๓๒๘ คนยอดหนีํเข้าสู่ กระบวนการไกล่เกลี่ย จํานวน ๒๓,๕๒๙.๔๐ ล้านบาท สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดําเนินคดีค่าธรรมเนียมศาลค่าทนายความ ได้จํานวน ๗,๐๒๔.๓๓ ล้านบาท
๒. การปราบปรามการฉ้อโกงหลอกหลวงประชาชน และการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
ดําเนินการปราบปรามการฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดด้านธุรกิจการเงินนอกระบบ ส่งผลให้รัฐหรือประชาชนที่ได้รับหรืออาจได้รับผลกระทบจากการสืบสวน /คดีพิเศษ และอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับคดีพิเศษได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอภาค รวดเร็ว และเป็นธรรม และกระทรวงยุติธรรมได้จัดตัํงศูนย์ช่วยเหลือลูกหนีํและประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพื่อให้คําปรึกษารับแจ้งปัญหา และพิจารณาการช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาหนีํนอกระบบ ปัญหาการไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านที่ดินและด้านอื่นๆช่วยเหลืออํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทางด้านกฎหมาย การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และเพื่อประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผลการดําเนินงาน ดังนี้
๑) การช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนีํนอกระบบ โดยไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านที่ดินและด้านอื่นๆ ที่ได้รับการแก้ไขปัญหา รวมจํานวนทัํงสิํน ๓๘๙ เรื่อง
๒) การร้องเรียนหรือขอรับบริการให้คําปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาหนีํนอกระบบ ปัญหาด้านที่ดินและปัญหาด้านอนื่ ๆ รวมจํานวนทัํงสิํน ๑,๑๘๐ ราย
๓. การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและการยึด/อายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด
ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ปรับปรุงบทบัญญัติให้สอดคล้องกับผลการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดโลก (UNGASS-๒๐๑๖) และแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับนโยบายการควบคุมตัวยาเสพติดที่เป็นปัญหาและอุปสรรคหรือภาระต่อการดํารงชีวิตของประชาชน โดยได้ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จํานวน ๕ ฉบับ ได้แก่ (๑) พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๔(๒) พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. ๒๕๖๔ (๓) ประมวลกฎหมายยาเสพติด (๔) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ (๕) พระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. ๒๕๖๕โดยผลการดําเนินงานสามารถยึดและอายัดทรัพย์สินคดียาเสพติด รวมมูลค่าทรัพย์สิน ๑๑,๐๐๓.๐๒ ล้านบาท
๔. การให้บริการประชาชนภายใต้แนวคิด ยุติธรรมสร้างสุข ยุติธรรมเชิงรุกสร้างสุขให้ประชาชน(JusticeCare)
มีแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมตามมาตรฐานสากล (Victim.scheme) โดยให้ความช่วยเหลือผู้เสียหาย เหยื่ออาชญากรรม หรือผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมให้เข้าถึงความช่วยเหลือด้วยความรวดเร็วโดยไม่ต้องร้องขอ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง โดยมอบหมายให้ศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข (สํานักงานยุติธรรมจังหวัด) เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการช่วยเหลือดังกล่าวในระดับพืํนที่ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพโดยกองพิทักษ์สิทธิและเสรีภาพ เป็นหน่วยรับผิดชอบในพืํนที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีแนวทางและขัํนตอนการปฏิบัติที่เป็นแบบแผนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน กําหนดให้แจ้งสิทธิแก่ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมแบบบูรณาการภายใน๒๔ ชั่วโมง ด้วยการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมลงพืํนที่ช่วยเหลือประชาชน เช่น สถานีตํารวจภูธร/นครบาลสํานักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์บ้านพักเด็กและครอบครัว ศูนย์ยุติธรรมชุมชน กํานัน/ผู้ใหญ่บ้านเป็นต้น
๕. การผลักดันพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทําความผิดซ้ําในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕
ผลักดันพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกระทําความผิดซํําในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งกฎหมายฉบับนีํถือได้ว่ามีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบป้องกันอาชญากรรมด้วยการแก้ไขฟื้นฟูและเฝ้าระวัง และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่รัฐบาลขับเคลื่อนเพื่อทําให้สังคมและประชาชนรู้สึกปลอดภัยจากบุคคลอันตรายมากยิ่งขึํน รวมถึงเป็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้มีความทันสมัยตามหลักสากลช่วยสร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน โดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตัํง มีความปลอดภัยจากบุคคลอันตรายช่วยป้องกันเหตุอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญไม่ให้เกิดขึํนซํําอีก โดยกฎหมายฉบับนีํได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๕ และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
๖. การขับเคลื่อนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์และการส่งเสริมเรือนจําท่องเที่ยวเชิงเกษตรและบริการ
ดําเนินการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังในลักษณะนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์เพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจําและฝึกทักษะอาชีพโดยความร่วมมือกับภาคเอกชน ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางการขับเคลื่อนการจัดตัํงนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ออกเป็น ๒ ประเภท ดังนีํ
๑) เรือนจําอุตสาหกรรม (เรือนจําอุตสาหกรรมประจําเขต)กรมราชทัณฑ์ดําเนินการจัดตัํงเรือนจําอุตสาหกรรมประจําเขต โดยมีเรือนจําอุตสาหกรรมประจําเขตแต่ละเขต จํานวน ๑๐ แห่ง ซึ่งมีความโดดเด่นและมีประเภทอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันไป
๒) การส่งผู้ต้องขังที่เข้าหลักเกณฑ์การพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ กรมราชทัณฑ์ดําเนินโครงการ“สร้างงาน สร้างอาชีพ ฝึกทักษะการทํางานในภาคอุตสาหกรรม”(การพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ) โดยดําเนินการติดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัว (EM) เพื่อทํางานในนิคมอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการของเอกชนที่สนใจรับแรงงานผู้ต้องขังไปทํางาน โดยมีมาตรการและเงื่อนไขในการคุมประพฤติชัดเจนและรัดกุม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการและสังคม
กระทรวงยุติธรรม พร้อมให้บริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงงานบริการด้านงานยุติธรรมอย่างสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัย รวมทัํง ให้บริการประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ด้วยแอปพลิเคชัน JusticeCareโดยประชาชนสามารถขอรับงานบริการต่าง ๆ ของกระทรวงยุติธรรมได้ทุกที่...ทุกเวลา
กระทรวงยุติธรรมยุคใหม่ "สุจริต จิตบริการ สานงานยุติธรรมเพื่อประชาชน"
เยี่ยมชมเว็บไซต์ E-Commerce เพิ่มเติม ได้ที่ : วันสุข ? สุขที่ได้ให้โอกาส สินค้าแฮนด์เมดคุณภาพ จากกรมราชทัณฑ์ https://shp.ee/rgaddp2