ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงการคลัง
๑. มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มกําลังซื้อให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและประชาชนทั่วไป
๑.๑ โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรสวัสดิการฯ) เป็นการช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จําเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) ให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ จํานวน ๑๔ ล้านคน โดยดําเนินงานอย่างต่อเนื่องมาแล้วรวม ๕ ระยะ เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยา และลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ (๑) ระยะที่ ๑ เดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๓ ช่วยเหลือในวงเงิน จํานวน ๕๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๒) ระยะที่ ๒ เดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๔ ช่วยเหลือในวงเงิน จํานวน ๕๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๓) ระยะที่ ๓ เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ ช่วยเหลือในวงเงิน จํานวน ๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน และระยะที่ ๓ เพิ่มเติม เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๔ ช่วยเหลือในวงเงิน จำนวน ๓๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๔) ระยะที่ ๔ เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ๒๕๖๕ ช่วยเหลือในวงเงิน จํานวน ๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน และ (๕) ระยะที่ ๕ เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๖๕ ช่วยเหลือในวงเงิน จำนวน ๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน
๑.๒ โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิภาครัฐ ร่วมจ่ายร้อยละ ๕๐ สําหรับการซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป บริการ (นวด สปา ทำผม ทำเล็บและบริการขนส่งสาธารณะ) ไม่รวมถึงสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ บัตรกำนัล บัตรเงินสด และบริการรูปแบบอื่น ๆที่เป็นการชำระค่าสินค้าหรือบริการล่วงหน้า โดยจะต้องชําระเงินผ่านระบบชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ดําเนินงานไปแล้ว ๕ ระยะ ได้แก่
ระยะที่ ๑ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน ๑๐ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาทต่อคน ระยะเวลาการใช้สิทธิตั้งแต่ วันที่ ๒๓ ตุลาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓
ระยะที่ ๒ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน ๑๕ ล้านคน โดยแบ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่ ๑ จำนวน ๑๐ ล้านคน และผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ ๒ จำนวน ๕ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐ ร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๓,๕๐๐ บาทต่อคน (กรณีผู้ได้รับสิทธิระยะที่ ๑ ได้รับ ๕๐๐ บาท) ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
ระยะที่ ๓ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน ๒๘ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๔,๕๐๐ บาทต่อคน (๓ รอบ รอบละ ๑,๕๐๐ บาท) ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔
ระยะที่ ๔ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจากระยะที่ ๓ และลงทะเบียนใหม่ ๑ ล้านคนรวมไม่เกิน ๒๙ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๑,๒๐๐ บาทต่อคน ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕
ระยะที่ ๕ ประชาชนที่ใช้สิทธิโครงการจากระยะที่ ๔ และลงทะเบียนใหม่ รวมไม่เกิน๒๖.๕ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๘๐๐ บาทต่อคน ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
๒. มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสําหรับลูกค้ารายย่อย ประกอบด้วย มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด - ๑๙ สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท และมาตรการสินเชื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ขับขี่รถสาธารณะ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ประกอบการรายย่อยที่เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท
๓. มาตรการภาษี เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และบรรเทาผลกระทบ ประกอบด้วย มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสําหรับที่อยู่อาศัย ซึ่งมาตรการดังกล่าวลดค่าจดทะเบียนการโอนจากร้อยละ ๒ เหลือร้อยละ ๐.๐๑ และลดค่าจดทะเบียนการจำนองจากร้อยละ ๑ เหลือร้อยละ ๐.๐๑ เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน สำหรับที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ และห้องชุดที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์และวงเงินจำนองไม่เกิน ๓ ล้านบาท โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินมาตรการเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ จนสิ้นสุดมาตรการเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ มีผู้ใช้สิทธิโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์จำนวน ๒๕๐,๓๗๔ ราย และมีผู้ใช้สิทธิโอนและจำนองห้องชุดจำนวน ๗๙,๐๐๙ ราย และมาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศโดยลดอัตราภาษีตามปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นที่ใช้บินในประเทศ จากลิตรละ ๔.๗๒๖ บาท เหลือลิตรละ ๐.๒๐ บาท โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ สําหรับการต่ออายุใบอนุญาตของสถานประกอบการเดิมในปี ๒๕๖๕ - ๒๕๖๖
๔. มาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) อาทิ
๔.๑ มาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs อาทิ สนับสนุนการรับโอนทรัพย์สิน หลักประกันเพื่อชำระหนี้ (มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้) ภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๔ วงเงิน ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อ SMEs เชื่อมไทย เชื่อมโลก ด้วยการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ มีผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน จำนวน ๕,๑๔๗ ราย
๔.๒ มาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่องสําหรับผู้ประกอบการ อาทิ การสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงินรวม ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ภายใต้พระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจฯ โครงการสินเชื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain โรงแรม วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท และโครงการสินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท
๔.๓ มาตรการเสริมสภาพคล่อง (ด้านการค้ำประกันสินเชื่อ) เช่น โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ ๙ โดยให้การค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว จำนวน ๕,๒๐๒ ราย วงเงิน ๑๒,๘๒๑ ล้านบาท โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan Extra ให้การค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว จำนวน ๗๐๗ ราย วงเงิน ๕๗๑ ล้านบาท และโครงการค้ำประกันสินเชื่อภายใต้พระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจฯ ให้การค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว จำนวน ๔,๕๑๔ ราย วงเงิน ๑๗,๑๘๔ ล้านบาท
๕. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี ๒๕๖๔/๖๕ รอบที่ ๑ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุนมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในปีการผลิต ๒๕๖๔/๖๕ ช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน ๔,๖๗๕,๒๓๘ ครัวเรือน โดยโอนเงินชดเชยส่วนต่างราคาประกันเข้าบัญชีให้เกษตรกรจำนวน ๘๖,๑๖๙.๔๕ ล้านบาท และยังดําเนินมาตรการคู่ขนาน ได้แก่ (๑) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โดยจ่ายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน ๓๐๙,๒๔๐ ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน ๑๙,๗๔๖.๒๘ ล้านบาท (๒) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โดยจ่ายสินเชื่อให้แก่สถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน ๖๗ แห่ง วงเงินสินเชื่อจำนวน ๗,๘๙๙.๐๙ ล้านบาท (๓) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก และ (๔) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน ๔,๖๗๕,๔๔๗ ครัวเรือน โดยโอนเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีให้เกษตรกรจำนวน ๕๔,๑๕๖.๐๑ ล้านบาท
๖. การบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงาน ดําเนินการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงลิตรละ ๕ บาท ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ - ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖ และอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล ร้อยละ ๕๐ ในส่วนที่เกิน ๓๕ บาทต่อลิตร (เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๕) รวมถึงใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหารจัดการราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๕)
ช่องทางการติดต่อข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติม :
Tiktok : https://www.tiktok.com/@pr_mof
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงการคลัง
๑. มาตรการรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศและเพิ่มกําลังซื้อให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยและประชาชนทั่วไป
๑.๑ โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรสวัสดิการฯ) เป็นการช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จําเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น (ร้านธงฟ้าฯ) ให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ จํานวน ๑๔ ล้านคน โดยดําเนินงานอย่างต่อเนื่องมาแล้วรวม ๕ ระยะ เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยา และลดภาระค่าใช้จ่ายให้แก่กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ (๑) ระยะที่ ๑ เดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๓ ช่วยเหลือในวงเงิน จํานวน ๕๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๒) ระยะที่ ๒ เดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๔ ช่วยเหลือในวงเงิน จํานวน ๕๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๓) ระยะที่ ๓ เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ๒๕๖๔ ช่วยเหลือในวงเงิน จํานวน ๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน และระยะที่ ๓ เพิ่มเติม เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๔ ช่วยเหลือในวงเงิน จำนวน ๓๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน (๔) ระยะที่ ๔ เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน ๒๕๖๕ ช่วยเหลือในวงเงิน จํานวน ๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน และ (๕) ระยะที่ ๕ เดือนกันยายน - ตุลาคม ๒๕๖๕ ช่วยเหลือในวงเงิน จำนวน ๒๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน
๑.๒ โครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิภาครัฐ ร่วมจ่ายร้อยละ ๕๐ สําหรับการซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าทั่วไป บริการ (นวด สปา ทำผม ทำเล็บและบริการขนส่งสาธารณะ) ไม่รวมถึงสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบ บัตรกำนัล บัตรเงินสด และบริการรูปแบบอื่น ๆที่เป็นการชำระค่าสินค้าหรือบริการล่วงหน้า โดยจะต้องชําระเงินผ่านระบบชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการที่ติดตั้งแอปพลิเคชัน “ถุงเงิน” ดําเนินงานไปแล้ว ๕ ระยะ ได้แก่
ระยะที่ ๑ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน ๑๐ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาทต่อคน ระยะเวลาการใช้สิทธิตั้งแต่ วันที่ ๒๓ ตุลาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓
ระยะที่ ๒ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน ๑๕ ล้านคน โดยแบ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่ ๑ จำนวน ๑๐ ล้านคน และผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ ๒ จำนวน ๕ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐ ร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๓,๕๐๐ บาทต่อคน (กรณีผู้ได้รับสิทธิระยะที่ ๑ ได้รับ ๕๐๐ บาท) ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๔
ระยะที่ ๓ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการไม่เกิน ๒๘ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๔,๕๐๐ บาทต่อคน (๓ รอบ รอบละ ๑,๕๐๐ บาท) ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔
ระยะที่ ๔ ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจากระยะที่ ๓ และลงทะเบียนใหม่ ๑ ล้านคนรวมไม่เกิน ๒๙ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๑,๒๐๐ บาทต่อคน ตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๕
ระยะที่ ๕ ประชาชนที่ใช้สิทธิโครงการจากระยะที่ ๔ และลงทะเบียนใหม่ รวมไม่เกิน๒๖.๕ ล้านคน ผู้เข้าร่วมได้รับสิทธิภาครัฐร่วมจ่ายไม่เกิน ๑๕๐ บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน ๘๐๐ บาทต่อคน ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน - ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕
๒. มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสําหรับลูกค้ารายย่อย ประกอบด้วย มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด - ๑๙ สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และเกษตรกรรายย่อยหรือลูกจ้างภาคการเกษตร วงเงิน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท และมาตรการสินเชื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ขับขี่รถสาธารณะ วงเงิน ๕,๐๐๐ ล้านบาท โครงการสินเชื่อแก้หนี้เพิ่มทุน สำหรับผู้มีรายได้ประจำ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และผู้ประกอบการรายย่อยที่เข้าร่วมงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท
๓. มาตรการภาษี เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และบรรเทาผลกระทบ ประกอบด้วย มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสําหรับที่อยู่อาศัย ซึ่งมาตรการดังกล่าวลดค่าจดทะเบียนการโอนจากร้อยละ ๒ เหลือร้อยละ ๐.๐๑ และลดค่าจดทะเบียนการจำนองจากร้อยละ ๑ เหลือร้อยละ ๐.๐๑ เฉพาะการโอนและจดจำนองในคราวเดียวกัน สำหรับที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ และห้องชุดที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์และวงเงินจำนองไม่เกิน ๓ ล้านบาท โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินมาตรการเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ จนสิ้นสุดมาตรการเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ มีผู้ใช้สิทธิโอนและจำนองอสังหาริมทรัพย์จำนวน ๒๕๐,๓๗๔ ราย และมีผู้ใช้สิทธิโอนและจำนองห้องชุดจำนวน ๗๙,๐๐๙ ราย และมาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานภายในประเทศโดยลดอัตราภาษีตามปริมาณของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่นที่ใช้บินในประเทศ จากลิตรละ ๔.๗๒๖ บาท เหลือลิตรละ ๐.๒๐ บาท โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม - ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ สําหรับการต่ออายุใบอนุญาตของสถานประกอบการเดิมในปี ๒๕๖๕ - ๒๕๖๖
๔. มาตรการช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) อาทิ
๔.๑ มาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs อาทิ สนับสนุนการรับโอนทรัพย์สิน หลักประกันเพื่อชำระหนี้ (มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้) ภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๔ วงเงิน ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อ SMEs เชื่อมไทย เชื่อมโลก ด้วยการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ มีผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน จำนวน ๕,๑๔๗ ราย
๔.๒ มาตรการเพื่อเสริมสภาพคล่องสําหรับผู้ประกอบการ อาทิ การสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู) วงเงินรวม ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ภายใต้พระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจฯ โครงการสินเชื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain โรงแรม วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท และโครงการสินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท
๔.๓ มาตรการเสริมสภาพคล่อง (ด้านการค้ำประกันสินเชื่อ) เช่น โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ ๙ โดยให้การค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว จำนวน ๕,๒๐๒ ราย วงเงิน ๑๒,๘๒๑ ล้านบาท โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan Extra ให้การค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว จำนวน ๗๐๗ ราย วงเงิน ๕๗๑ ล้านบาท และโครงการค้ำประกันสินเชื่อภายใต้พระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจฯ ให้การค้ำประกันสินเชื่อไปแล้ว จำนวน ๔,๕๑๔ ราย วงเงิน ๑๗,๑๘๔ ล้านบาท
๕. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี ๒๕๖๔/๖๕ รอบที่ ๑ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุนมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในปีการผลิต ๒๕๖๔/๖๕ ช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน ๔,๖๗๕,๒๓๘ ครัวเรือน โดยโอนเงินชดเชยส่วนต่างราคาประกันเข้าบัญชีให้เกษตรกรจำนวน ๘๖,๑๖๙.๔๕ ล้านบาท และยังดําเนินมาตรการคู่ขนาน ได้แก่ (๑) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โดยจ่ายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน ๓๐๙,๒๔๐ ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน ๑๙,๗๔๖.๒๘ ล้านบาท (๒) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โดยจ่ายสินเชื่อให้แก่สถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน ๖๗ แห่ง วงเงินสินเชื่อจำนวน ๗,๘๙๙.๐๙ ล้านบาท (๓) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก และ (๔) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ช่วยเหลือเกษตรกร จำนวน ๔,๖๗๕,๔๔๗ ครัวเรือน โดยโอนเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีให้เกษตรกรจำนวน ๕๔,๑๕๖.๐๑ ล้านบาท
๖. การบรรเทาผลกระทบจากราคาพลังงาน ดําเนินการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลลงลิตรละ ๕ บาท ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ - ๒๐ มกราคม ๒๕๖๖ และอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล ร้อยละ ๕๐ ในส่วนที่เกิน ๓๕ บาทต่อลิตร (เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๕) รวมถึงใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงบริหารจัดการราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๕)
ช่องทางการติดต่อข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติม :
Tiktok : https://www.tiktok.com/@pr_mof