กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Ministry of Natural Resources and Environment

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มุ่งเน้นรักษาฐานทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนเพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับประชาชน โดยที่ผ่านมาภายใต้การกำกับดูแลของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑.ผลงานกระทรวงในปี ๒๕๖๒-๒๕๖๕ ได้เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ
               ๑. โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์
               ๒. โครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติจังหวัดกาญจนบุรี
               ๓. โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ตาก
               ๔. โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา
               ๕. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
               ๖. โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
๒.ผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล มุ่งสู่เป้าหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (สานต่อภารกิจงานเดิม ควบคู่การริเริ่มงานใหม่โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง) การทำงานภายใต้ภารกิจ ๕ ด้าน ดังนี้
               ๑. การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการหยุดยั้ง การบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ การลักสอบตัดไม้มีค่า การล่าสัตว์ป่าและสัตว์ทะเล โดยการจับกุมดำเนินคดีอย่างจริงจัง ลดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า แก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ แก้ไขปัญหาจำนวนประชากรลิงในพื้นที่ชุมชน ป้องกันและแก้ไขการเกิดไฟป่าหมอกควัน ในปีที่ผ่านมาสามารถดำเนินการลดจุดความร้อนได้กว่า ๕๒ % พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายลดจำนวนจุดความร้อนในปี ๒๕๖๕ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๒๐ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชื้อเพลิง “ชิงเก็บลดเผา” ให้ได้ ๓,๐๐๐ ตัน มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ การใช้อากาศยานช่วยเสริมปฏิบัติการลาดตะเวนป้องกัน รักษาป่า เฝ้าระวังป้องกันไฟป่า และช่วยการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ช่วยเพิ่มศักยภาพให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
               ๒. การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้สถานการณ์โควิด-๑๙ ได้มีการดำเนินการดังนี้
                          ๒.๑ ด้านอุทยานแห่งชาติทั้งทางบกและทางทะเล พร้อมการเปิดประเทศรองรับนักท่องเที่ยววิถีใหม่ โดยจำนวนสัตว์ป่า และสัตว์ทะเลหายาก ในพื้นที่ธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน มีการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่ารวมกว่า ๘๐๑,๗๗๒ ไร่ ปลูกฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล ในพื้นที่ ๘ จังหวัดชายฝั่ง ๑๘๐ ไร่ เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้กับท้องทะเลไทย การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งธรณีที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการผลักดันให้อุทยานธรณีขอนแก่น ได้รับการบรรจุเข้าสู่การพิจารณา เป็นอุทยานธรณีโลกแห่งต่อไป

                          ๒.๒ ด้านการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม เดินหน้าการจัดการขยะพลาสติกกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ให้ได้ร้อยละ ๑๐๐ ภายในปี ๒๕๗๐ แก้ไขปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM ๒.๕ โดยวางแผนเฝ้าระวังป้องกัน โดยการพัฒนาระบบคาดการณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า ๗ วัน เพื่อการแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือ การจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน อย่างถูกต้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ระดับภาค ๑๗ แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในระดับพื้นที่ทันท่วงที
               ๓. การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดคนอยู่กับป่า ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้โครงการจัดที่ดินทำกิน ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้ชุมชนแล้ว ๓.๖ ล้านไร่ พัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่า และป่าอนุรักษ์ให้เกิดการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน อีกทั้งยัง ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งน้ำกินน้ำใช้ โดยการฟื้นฟูแหล่งน้ำผิวดินและระบบน้ำกระจาย จำนวน ๑,๕๙๐ แห่ง ทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์ ๓๕๑,๖๕๐ ครัวเรือน และพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล และระบบบาดาลขนาดใหญ่ ช่วย เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ๑๓๓ ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ประชาชนได้รับประโยชน์ ๗๒๓,๖๗๘ ครัวเรือน ส่งเสริมแหล่งน้ำภาคการเกษตร ๔,๓๓๖ แห่ง ซึ่งประชาชนได้รับประโยชน์ ๕๒,๙๐๓ ครัวเรือน


               ๔. การสร้างรายได้จากฐานทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อร่วมขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ในการขจัดปัญหาความยากจน สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งด้วย BCG Model พัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพให้เป็นป่านันทนาการ และสวนป่าในเมือง เพื่อเพิ่มแหล่งท่องเที่ยว อีก ๒๕ แห่งสร้างเป็นแหล่งสร้างรายได้ มีการพัฒนาสวนสัตว์ และสวนพฤกษศาสตร์ ให้เป็นแหล่งสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนสู่ชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น ดำเนินการจัดตั้งป่าชุมชนไปแล้ว ๑๒,๑๑๗ แห่ง ส่งเสริมให้ประชาชนได้ประโยชน์จากป่ารวม ๓.๙ ล้านครัวเรือน
               ๕. การสร้างสังคมมีส่วนร่วม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการ ดังนี้
                          ๕.๑ สื่อสารและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้ และเท่าทันต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก 
                          ๕.๒ สร้างการร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการส่งเสริมแนวคิดโรงเรียน ECO – School เข้าสู่ระบบการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น โดยให้ความสำคัญกับครูผู้สอน ปัจจุบันมีโรงเรียน ECO – School แล้วทั้งสิ้น ๒๙๑ แห่ง
                          ๕.๓ สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรเอกชน ด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายองค์กรชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรเอกชนที่ขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น ๒๙๐ องค์กร
                          ๕.๔ สร้างการทำงานร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน อาทิ เครือข่าย ทสม. เครือข่ายราษฏรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล อาสาสมัครป้องกันไฟป่า อาสาสมัครเตือนภัยทางธรณีพิบัติ โดยปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายต่างๆอยู่ทั่วประเทศ รวมกว่า ๒๗๘,๐๐๐ คน
               และผลจากความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในการทำงานเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในปีที่ผ่านมายังได้รับการรับรองผลการดำเนินงานในระดับโลกถึง ๒ พื้นที่ ได้แก่
               ในปี ๒๕๖๔ “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ได้รับการประกาศ เป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” เป็นแห่งที่ ๓ ของประเทศไทย และได้รับการรับรองให้ “ดอยเชียงดาว” เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก เป็นแห่งที่ ๕ ของประเทศไทย รวมถึง “แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน” ได้รับการบรรจุเข้าสู่การพิจารณาเป็น มรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทยต่อไป 


               อีกทั้งยังได้รับการบันทึกสถิติโลก จาก Guinness World Records ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวถึง ๖๙.๗๐ เมตร เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย-ไม้กลายเป็นหิน (เตรียมการ) อ.บ้านตาก จังหวัดตาก
               นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา ได้รับเกียรติสูงสุดจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม World Leaders Summit ในการประชุม COP ๒๖ ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร พร้อมประกาศเจตนารมณ์ยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใน ปี ค.ศ. ๒๐๕๐ และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปีค.ศ. ๒๐๖๕ และการเข้าร่วมประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากทุกภาคส่วนของประเทศไทย จากปีที่ผ่านมาในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม COP๒๗ ณ เมืองชาร์ม เอล ชีค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดกิจกรรม “มหกรรม ทส. พบประชาชน : ทรัพยากรสร้างมูลค่า พัฒนาคุณภาพชีวิต ปลุกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” แล้ว ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเชียงราย และจังหวัดนครปฐม เพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเป็นเวทีในการหารือ ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ รับฟังประเด็นปัญหาของประชาชนในพื้นที่ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการหาทางออกร่วมกันในอนาคต จากผลสำเร็จของการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา และการได้รับการรับรองการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ของหน่วยงานภาครัฐ (หรือ ITA) ในระดับ A ด้วยคะแนน ๙๑.๓๗ คะแนน กระทรวง ยังคงขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม  สู่ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม : 

ผลงาน

ลิงก์วิดีโอ

๑. สรุปผลงานสำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- https://www.youtube.com/watch?v=tC4KLpUk3Dc&ab_channel=FrameworkStudios 

๒. สรุปผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- https://drive.google.com/file/d/19sQfFki8824km6aNrtFhfVbOGWP1enWq

๓. ผลงานสำคัญสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

- https://drive.google.com/file/d/1MiHXkkIn2E-uIrtJjvnWleFFI194p8pG

- https://drive.google.com/file/d/1fVDERb9xL70SpS78KvrkYCx5aaoX8Wfq

- https://drive.google.com/file/d/1jmyMVlCyAfQ5r1SjyI5QH8x4tQj_mgnE

๔. ผลงานสำคัญกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) 

- https://youtu.be/rNLGGggQQ7w 

๕. ผลงานสำคัญกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.)

- https://youtu.be/lsipco67Wf0 

๖. ผลงานสำคัญกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.)

- https://drive.google.com/file/d/1hmAOdIDlPp2uO5n07BCF14cubobIqMyh

๗. ผลงานสำคัญกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.)

- https://drive.google.com/file/d/1QfMnuu2-DZl5XUj3HR_6ZD4N0LIHKca9

๘. ผลงานสำคัญกรมป่าไม้ (ปม.)

- https://www.youtube.com/watch?v=-SJLEafLaSQ 

- https://www.youtube.com/watch?v=2kF1WA1ezKA&t=21s 

๙. ผลงานสำคัญกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.)

- https://drive.google.com/file/d/1HT-3-G5blkIM3YW3KwjX3VXraH_bVIME

๑๐. ผลงานสำคัญกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

- https://drive.google.com/file/d/1Rpy5yUZEPExU9tNzAOw17NEh6wN2E0xn

๑๑. ผลงานสำคัญองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

- https://drive.google.com/file/d/1_yNpIJ4eg5w0wsn3-tKhahGii2ugVMhW

- https://drive.google.com/file/d/17vanMnNKyI5VUIXe17rb3PfyWp-ej587

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มุ่งเน้นรักษาฐานทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนเพื่อเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับประชาชน โดยที่ผ่านมาภายใต้การกำกับดูแลของ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายวราวุธ ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑.ผลงานกระทรวงในปี ๒๕๖๒-๒๕๖๕ ได้เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ
       ๑. โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์
       ๒. โครงการพัฒนาชุมชนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติจังหวัดกาญจนบุรี
       ๓. โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ตาก
       ๔. โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา
       ๕. โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
       ๖. โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่าเพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
๒.ผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญของรัฐบาล มุ่งสู่เป้าหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (สานต่อภารกิจงานเดิม ควบคู่การริเริ่มงานใหม่โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง) การทำงานภายใต้ภารกิจ ๕ ด้าน ดังนี้
       ๑. การปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการหยุดยั้ง การบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ การลักสอบตัดไม้มีค่า การล่าสัตว์ป่าและสัตว์ทะเล โดยการจับกุมดำเนินคดีอย่างจริงจัง ลดความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า แก้ไขปัญหาช้างป่าออกนอกพื้นที่ แก้ไขปัญหาจำนวนประชากรลิงในพื้นที่ชุมชน ป้องกันและแก้ไขการเกิดไฟป่าหมอกควัน ในปีที่ผ่านมาสามารถดำเนินการลดจุดความร้อนได้กว่า ๕๒ % พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายลดจำนวนจุดความร้อนในปี ๒๕๖๕ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ ๒๐ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชื้อเพลิง “ชิงเก็บลดเผา” ให้ได้ ๓,๐๐๐ ตัน มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ การใช้อากาศยานช่วยเสริมปฏิบัติการลาดตะเวนป้องกัน รักษาป่า เฝ้าระวังป้องกันไฟป่า และช่วยการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ช่วยเพิ่มศักยภาพให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า
       ๒. การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้สถานการณ์โควิด-๑๙ ได้มีการดำเนินการดังนี้
          ๒.๑ ด้านอุทยานแห่งชาติทั้งทางบกและทางทะเล พร้อมการเปิดประเทศรองรับนักท่องเที่ยววิถีใหม่ โดยจำนวนสัตว์ป่า และสัตว์ทะเลหายาก ในพื้นที่ธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน มีการปลูกป่าเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟู ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน และป้องกันไฟป่ารวมกว่า ๘๐๑,๗๗๒ ไร่ ปลูกฟื้นฟูแหล่งหญ้าทะเล ในพื้นที่ ๘ จังหวัดชายฝั่ง ๑๘๐ ไร่ เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้กับท้องทะเลไทย การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งธรณีที่สำคัญ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการผลักดันให้อุทยานธรณีขอนแก่น ได้รับการบรรจุเข้าสู่การพิจารณา เป็นอุทยานธรณีโลกแห่งต่อไป

          ๒.๒ ด้านการฟื้นฟูคุณภาพสิ่งแวดล้อม เดินหน้าการจัดการขยะพลาสติกกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ให้ได้ร้อยละ ๑๐๐ ภายในปี ๒๕๗๐ แก้ไขปัญหาการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM ๒.๕ โดยวางแผนเฝ้าระวังป้องกัน โดยการพัฒนาระบบคาดการณ์ฝุ่นละอองล่วงหน้า ๗ วัน เพื่อการแจ้งเตือนไปสู่ประชาชน พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือ การจัดการขยะและน้ำเสียชุมชน อย่างถูกต้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ระดับภาค ๑๗ แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษในระดับพื้นที่ทันท่วงที
       ๓. การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดคนอยู่กับป่า ในพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้โครงการจัดที่ดินทำกิน ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ให้ชุมชนแล้ว ๓.๖ ล้านไร่ พัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่า และป่าอนุรักษ์ให้เกิดการอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน อีกทั้งยัง ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งน้ำกินน้ำใช้ โดยการฟื้นฟูแหล่งน้ำผิวดินและระบบน้ำกระจาย จำนวน ๑,๕๙๐ แห่ง ทำให้ชุมชนได้รับประโยชน์ ๓๕๑,๖๕๐ ครัวเรือน และพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล และระบบบาดาลขนาดใหญ่ ช่วย เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ๑๓๓ ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี ประชาชนได้รับประโยชน์ ๗๒๓,๖๗๘ ครัวเรือน ส่งเสริมแหล่งน้ำภาคการเกษตร ๔,๓๓๖ แห่ง ซึ่งประชาชนได้รับประโยชน์ ๕๒,๙๐๓ ครัวเรือน


       ๔. การสร้างรายได้จากฐานทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อร่วมขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ในการขจัดปัญหาความยากจน สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งด้วย BCG Model พัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพให้เป็นป่านันทนาการ และสวนป่าในเมือง เพื่อเพิ่มแหล่งท่องเที่ยว อีก ๒๕ แห่งสร้างเป็นแหล่งสร้างรายได้ มีการพัฒนาสวนสัตว์ และสวนพฤกษศาสตร์ ให้เป็นแหล่งสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนสู่ชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากฐานทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น ดำเนินการจัดตั้งป่าชุมชนไปแล้ว ๑๒,๑๑๗ แห่ง ส่งเสริมให้ประชาชนได้ประโยชน์จากป่ารวม ๓.๙ ล้านครัวเรือน
       ๕. การสร้างสังคมมีส่วนร่วม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการ ดังนี้
          ๕.๑ สื่อสารและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ผ่านสื่อในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้ และเท่าทันต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก 
          ๕.๒ สร้างการร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการส่งเสริมแนวคิดโรงเรียน ECO – School เข้าสู่ระบบการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น โดยให้ความสำคัญกับครูผู้สอน ปัจจุบันมีโรงเรียน ECO – School แล้วทั้งสิ้น ๒๙๑ แห่ง
          ๕.๓ สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรเอกชน ด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายองค์กรชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรเอกชนที่ขึ้นทะเบียนทั้งสิ้น ๒๙๐ องค์กร
          ๕.๔ สร้างการทำงานร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครภาคประชาชน อาทิ เครือข่าย ทสม. เครือข่ายราษฏรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล อาสาสมัครป้องกันไฟป่า อาสาสมัครเตือนภัยทางธรณีพิบัติ โดยปัจจุบันมีสมาชิกเครือข่ายต่างๆอยู่ทั่วประเทศ รวมกว่า ๒๗๘,๐๐๐ คน
       และผลจากความมุ่งมั่น ทุ่มเท ในการทำงานเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศ ในปีที่ผ่านมายังได้รับการรับรองผลการดำเนินงานในระดับโลกถึง ๒ พื้นที่ ได้แก่
       ในปี ๒๕๖๔ “กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ได้รับการประกาศ เป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” เป็นแห่งที่ ๓ ของประเทศไทย และได้รับการรับรองให้ “ดอยเชียงดาว” เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่ของโลก เป็นแห่งที่ ๕ ของประเทศไทย รวมถึง “แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน” ได้รับการบรรจุเข้าสู่การพิจารณาเป็น มรดกโลกแห่งใหม่ของประเทศไทยต่อไป 


       อีกทั้งยังได้รับการบันทึกสถิติโลก จาก Guinness World Records ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวถึง ๖๙.๗๐ เมตร เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ณ อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย-ไม้กลายเป็นหิน (เตรียมการ) อ.บ้านตาก จังหวัดตาก
       นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมา ได้รับเกียรติสูงสุดจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม World Leaders Summit ในการประชุม COP ๒๖ ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร พร้อมประกาศเจตนารมณ์ยกระดับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใน ปี ค.ศ. ๒๐๕๐ และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปีค.ศ. ๒๐๖๕ และการเข้าร่วมประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากทุกภาคส่วนของประเทศไทย จากปีที่ผ่านมาในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม COP๒๗ ณ เมืองชาร์ม เอล ชีค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดกิจกรรม “มหกรรม ทส. พบประชาชน : ทรัพยากรสร้างมูลค่า พัฒนาคุณภาพชีวิต ปลุกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ” แล้ว ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเชียงราย และจังหวัดนครปฐม เพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายและประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งเป็นเวทีในการหารือ ให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะ รับฟังประเด็นปัญหาของประชาชนในพื้นที่ อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการหาทางออกร่วมกันในอนาคต จากผลสำเร็จของการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา และการได้รับการรับรองการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ของหน่วยงานภาครัฐ (หรือ ITA) ในระดับ A ด้วยคะแนน ๙๑.๓๗ คะแนน กระทรวง ยังคงขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม  สู่ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม : 

ผลงาน

ลิงก์วิดีโอ

๑. สรุปผลงานสำคัญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- https://www.youtube.com/watch?v=tC4KLpUk3Dc&ab_channel=FrameworkStudios 

๒. สรุปผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- https://drive.google.com/file/d/19sQfFki8824km6aNrtFhfVbOGWP1enWq

๓. ผลงานสำคัญสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)

- https://drive.google.com/file/d/1MiHXkkIn2E-uIrtJjvnWleFFI194p8pG

- https://drive.google.com/file/d/1fVDERb9xL70SpS78KvrkYCx5aaoX8Wfq

- https://drive.google.com/file/d/1jmyMVlCyAfQ5r1SjyI5QH8x4tQj_mgnE

๔. ผลงานสำคัญกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) 

- https://youtu.be/rNLGGggQQ7w 

๕. ผลงานสำคัญกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.)

- https://youtu.be/lsipco67Wf0 

๖. ผลงานสำคัญกรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทบ.)

- https://drive.google.com/file/d/1hmAOdIDlPp2uO5n07BCF14cubobIqMyh

๗. ผลงานสำคัญกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.)

- https://drive.google.com/file/d/1QfMnuu2-DZl5XUj3HR_6ZD4N0LIHKca9

๘. ผลงานสำคัญกรมป่าไม้ (ปม.)

- https://www.youtube.com/watch?v=-SJLEafLaSQ 

- https://www.youtube.com/watch?v=2kF1WA1ezKA&t=21s 

๙. ผลงานสำคัญกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อส.)

- https://drive.google.com/file/d/1HT-3-G5blkIM3YW3KwjX3VXraH_bVIME

๑๐. ผลงานสำคัญกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.)

- https://drive.google.com/file/d/1Rpy5yUZEPExU9tNzAOw17NEh6wN2E0xn

๑๑. ผลงานสำคัญองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

- https://drive.google.com/file/d/1_yNpIJ4eg5w0wsn3-tKhahGii2ugVMhW

- https://drive.google.com/file/d/17vanMnNKyI5VUIXe17rb3PfyWp-ej587

 

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๙๒ ซอยพหลโยธิน ๗ ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๒๗๘ ๘๕๐๐
โทรสาร: ๐ ๒๒๗๘ ๘๕๘๖
อีเมล: mnre0200@saraban.mail.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ