ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรในกลุ่มผู้ปลูกพืช ทำไร่นาสวนผสม ทำนาเกลือและเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ จากเกษตรกรที่ทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์เพื่อต้องการทราบสถานการณ์การเพาะปลูกของเกษตรกรประมาณการผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเวลาต่างๆได้อย่างถูกต้อง โดยเกษตรกรจะต้องเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนเมื่อทำการเพาะปลูกแล้ว
กรมส่งเสริมการเกษตร ได้นำเครื่องมือ และเทคโนโลยีมาปรับปรุงวิธีการรับขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
- ตรวจสอบยืนยันตัวบุคคลกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง
- ตรวจสอบรูปขอบแปลงที่ดินกับฐานข้อมูลการถือครองที่ดินของกรมที่ดิน
- นำเครื่องจับพิกัดภูมิศาสตร์ GPS มาใช้ในการจัดเก็บพิกัดที่ตั้งแปลง วัดขนาดพื้นที่
- วาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมค้นหาพิกัดและโปรแกรม GISagro
- ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Qgis และใช้แผนที่ Google Map ในการค้นหาพิกัดและวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล
- พัฒนา Mobile Application ชื่อ FARMBOOK ซึ่งเป็นสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลที่ใช้แทนสมุดทะเบียนเกษตรกร โดยเกษตรกรทุกคนสามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ทั้งระบบแอนดรอยด์ และไอโอเอส (iOS) ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถแจ้งปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานเกษตรอำเภอ และสามารถตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตามที่ให้ข้อมูลไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทุกที่ทุกเวลา
- พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรออนไลน์ ผ่าน e-Form ที่เว็บไซต์ https://efarmer.doae.go.th/ เริ่มใช้งานในปี ๒๕๖๕ สำหรับเกษตรกรรายใหม่ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล ยืนยันตัวตนกับทะเบียนราษฎร ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๕ วันทำการแล้ว เกษตรกรจะสามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านระบบ e-Form ได้ทันที และยังสามารถติดตามผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านระบบได้ด้วย
การขึ้นทะเบียนเกษตรกรถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นประโยชน์ทั้งกับตัวเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งเกษตรกรจะได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือ และสิทธิประโยชน์ตามโครงการและมาตรการที่หน่วยงานภาครัฐได้จัดทำขึ้น โดยผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการหรือมาตรการนั้น ๆ เช่น กรณีการขอรับการช่วยเหลือเมื่อประสบภัยพิบัติ และโครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น ในส่วนของภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการเกษตร กำหนดนโยบาย การจัดการด้านการผลิต การตลาด การส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงเป้าหมาย และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจำแนกเกษตรกรเป็นกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการหรือมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
ในปี ๒๕๖๖ กรมส่งเสริมการเกษตรมีข้อมูลทะเบียนเกษตรกรแล้วกว่า ๗.๒๕ ล้านครัวเรือน และได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร โดยการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรแจ้งข้อมูลการปรับปรุงกิจกรรมการเกษตรตามข้อเท็จจริงด้วยตนเองผ่าน Mobile Application และ e-Form เพื่อความสะดวกของเกษตรกร และยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้ง บริหารจัดการและบำรุงรักษาฐานข้อมูลหลัก และระบบที่เกี่ยวข้อง สำหรับให้บริการบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อให้ทะเบียนเกษตรกรมีข้อมูลที่ครบถ้วน นำไปสู่การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตรจัดทำสารสนเทศด้านการเกษตรในภาพรวมของประเทศ สามารถนำไปเผยแพร่บูรณาการใช้ประโยชน์ได้ทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นข้อมูลประกอบโครงการและมาตรการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
เยี่ยมชมเว็บไซต์ E-Commerce เพิ่มเติม ได้ที่ : https://www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรในกลุ่มผู้ปลูกพืช ทำไร่นาสวนผสม ทำนาเกลือและเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ จากเกษตรกรที่ทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์เพื่อต้องการทราบสถานการณ์การเพาะปลูกของเกษตรกรประมาณการผลผลิตที่จะออกสู่ตลาดในช่วงเวลาต่างๆได้อย่างถูกต้อง โดยเกษตรกรจะต้องเป็นผู้แจ้งขึ้นทะเบียนเมื่อทำการเพาะปลูกแล้ว
กรมส่งเสริมการเกษตร ได้นำเครื่องมือ และเทคโนโลยีมาปรับปรุงวิธีการรับขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร และการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
- ตรวจสอบยืนยันตัวบุคคลกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง
- ตรวจสอบรูปขอบแปลงที่ดินกับฐานข้อมูลการถือครองที่ดินของกรมที่ดิน
- นำเครื่องจับพิกัดภูมิศาสตร์ GPS มาใช้ในการจัดเก็บพิกัดที่ตั้งแปลง วัดขนาดพื้นที่
- วาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายดาวเทียมค้นหาพิกัดและโปรแกรม GISagro
- ประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Qgis และใช้แผนที่ Google Map ในการค้นหาพิกัดและวาดผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล
- พัฒนา Mobile Application ชื่อ FARMBOOK ซึ่งเป็นสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลที่ใช้แทนสมุดทะเบียนเกษตรกร โดยเกษตรกรทุกคนสามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ทั้งระบบแอนดรอยด์ และไอโอเอส (iOS) ช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถแจ้งปรับปรุงข้อมูลทะเบียนเกษตรกรได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานเกษตรอำเภอ และสามารถตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นปัจจุบันของข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตามที่ให้ข้อมูลไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรได้ทุกที่ทุกเวลา
- พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรออนไลน์ ผ่าน e-Form ที่เว็บไซต์ https://efarmer.doae.go.th/ เริ่มใช้งานในปี ๒๕๖๕ สำหรับเกษตรกรรายใหม่ โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล ยืนยันตัวตนกับทะเบียนราษฎร ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๕ วันทำการแล้ว เกษตรกรจะสามารถขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านระบบ e-Form ได้ทันที และยังสามารถติดตามผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านระบบได้ด้วย
การขึ้นทะเบียนเกษตรกรถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นประโยชน์ทั้งกับตัวเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นผู้กำหนดมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งเกษตรกรจะได้รับการสนับสนุน ช่วยเหลือ และสิทธิประโยชน์ตามโครงการและมาตรการที่หน่วยงานภาครัฐได้จัดทำขึ้น โดยผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการหรือมาตรการนั้น ๆ เช่น กรณีการขอรับการช่วยเหลือเมื่อประสบภัยพิบัติ และโครงการประกันภัยพืชผล เป็นต้น ในส่วนของภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไปใช้ในการวางแผนพัฒนาการเกษตร กำหนดนโยบาย การจัดการด้านการผลิต การตลาด การส่งเสริม สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงเป้าหมาย และสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการจำแนกเกษตรกรเป็นกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินโครงการหรือมาตรการต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
ในปี ๒๕๖๖ กรมส่งเสริมการเกษตรมีข้อมูลทะเบียนเกษตรกรแล้วกว่า ๗.๒๕ ล้านครัวเรือน และได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร โดยการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรแจ้งข้อมูลการปรับปรุงกิจกรรมการเกษตรตามข้อเท็จจริงด้วยตนเองผ่าน Mobile Application และ e-Form เพื่อความสะดวกของเกษตรกร และยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้ง บริหารจัดการและบำรุงรักษาฐานข้อมูลหลัก และระบบที่เกี่ยวข้อง สำหรับให้บริการบันทึกข้อมูลและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อให้ทะเบียนเกษตรกรมีข้อมูลที่ครบถ้วน นำไปสู่การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตรจัดทำสารสนเทศด้านการเกษตรในภาพรวมของประเทศ สามารถนำไปเผยแพร่บูรณาการใช้ประโยชน์ได้ทั่วไปทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นข้อมูลประกอบโครงการและมาตรการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
เยี่ยมชมเว็บไซต์ E-Commerce เพิ่มเติม ได้ที่ : https://www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com