ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้นโยบายดีพร้อมแคร์ (DIPROM CARE) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือ ดีพร้อม (DIPOROM) ผ่านกลไก โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นหนึ่งในจิกซอที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศ ด้วยการดำเนินโครงการอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม โดยเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นเรือธงในการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง กรอบวงเงิน ๑,๒๔๙ ล้านบาทเพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนผ่านรูปแบบหลักสูตรการพัฒนา ๔ หลักสูตรหลัก ๆ ได้แก่
หลักสูตรที่ ๑ กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต
หลักสูตรที่ ๒ กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ
หลักสูตรที่ ๓ กิจกรรมพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
หลักสูตรที่ ๔ กิจกรรมพัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ
โดยดำเนินการพัฒนาประชาชนกว่า ๗๐๐,๐๐๐ ราย ส่งผลให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีศักยภาพทางด้านวิชาชีพเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพต่อยอดธุรกิจและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ดำเนินการกิจกรรมต่อยอดและขยายผลความสำเร็จของโครงการ ด้วยการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้และสร้างทักษะการประกอบอาชีพให้ประชาชน และการแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ภายใต้แนวคิด “ซื้อของไทย ใช้ของดี สร้างอาชีพ เสริมธุรกิจที่ดีพร้อม” เมื่อช่วงปลายปี ๒๕๖๕ ณ อาคารเอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ ๙ - ๑๒ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี และยังคงดำเนินการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์อย่างต่อเนื่องในปี ๒๕๖๖ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จของโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม รวมทั้งเป็นการเสริมทักษะในการประกอบธุรกิจ พึ่งพาตัวเอง และมีอาชีพใหม่ ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือได้ว่าโครงการดังกล่าว ถือเป็นการสร้างเมล็ดพันธุ์อุตสาหกรรมที่พร้อมต่อยอดให้โต ซึ่งอยู่ระหว่างการวางแนวนโยบายเพื่อการส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจฐานรากและความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย
ขณะเดียวกัน ในปี ๒๕๖๖ ดีพร้อม ได้ขานรับนโยบาย MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ของ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้เร่งพัฒนาโมเดลการส่งเสริมอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ “โมเดลชุมชนดีพร้อม” ที่พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไปพร้อมกับชุมชน ผ่านการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และชุมชนให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
๑) ค้นหาและบอกต่อ มุ่งเฟ้นหาผู้นำทางธุรกิจต้นแบบที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับสังคมโดยรอบอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมถึงเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะ หรือเป็นผู้ที่มี “ใจ”และ“พลัง” ในการช่วยเหลือชุมชนและสังคม
๒) ประสานประโยชน์ วางแผนเพื่อแสวงหาจุดดำเนินการร่วมระหว่างผู้นำทางธุรกิจ (DIPROM HERO) กับชุมชน โดยการประสานประโยชน์ต้องมีรูปแบบการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
๓) เสริมแกร่ง เสริมแกร่งให้กลุ่มชุมชนตามหลักการอุตสาหกรรม อาทิ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือเครื่องจักร รักษาคุณภาพมาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มและทำการตลาดให้กับเครือข่าย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา รวมถึงสนับสนุนให้โมเดลชุมชนดีพร้อมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
๔) ยกระดับ เป็นกระบวนการบ่มเพาะ “ผู้นำชุมชน” ให้เป็นนักธุรกิจเพื่อสังคม ยกระดับสู่ การเป็นผู้นำทางธุรกิจ เพื่อต่อยอดและสร้างฮีโร่ทางธุรกิจรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและขยายวงจรโมเดลชุมชนดีพร้อมไปในวงกว้าง ทำให้ธุรกิจอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ถือได้ว่าเป็นอีกปีหนึ่งที่มีความท้าทายต่อภาคธุรกิจและการบริหารอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากห้วง ๓ ปีที่ผ่านมาจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ซึ่งปีหน้านี้มีการคาดการณ์ว่า สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นจากการเปิดประเทศของทั่วโลก โดยจะส่งผลต่อการกลับมาของภาค การท่องเที่ยว การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ และคำสั่งซื้อที่เริ่มเข้ามาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม ปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลกในจังหวะนี้มีความเปราะบางเป็นอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมาจากภาระหนี้สาธารณะของทั่วโลกที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยเกือบร้อยละ ๑๐๐ และผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์ด้านต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อระดับโลก เช่น น้ำมัน ปุ๋ย และอาหารสัตว์ ที่มีราคาแพง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวต่างกดดันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยและการบริหารอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม ในระยะต่อจากนี้ ในขณะที่ ยังคงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเดิมที่แฝงอยู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ทั้งปัญหาด้าน โครงสร้างของอุตสาหกรรมของประเทศที่เริ่มแข่งขันได้ยากและไม่ดึงดูดการลงทุนใหม่ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและ ข้อร้องเรียน ไปจนถึงปัญหาด้านภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของภาคอุตสาหกรรมต่อประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเป็นต้อง ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ “อุตสาหกรรมดี อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน” โดย “ปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่” ติดปีกภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีขีด ความสามารถในการแข่งขันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และ ข้อตกลง/กติกาใหม่ของโลก พร้อมกับการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของ “ชุมชนรักโรงงาน โรงงานรักชุมชน และ สร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชน” เพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่คู่กับสังคม/ชุมชนอย่างเป็นมิตรและยกระดับเศรษฐกิจ ฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จะเร่งเดินหน้าปรับแนวคิดและการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตอบสนอง และเป็นมืออาชีพ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย ภายใต้การกำหนดนโยบาย การปฏิบัติงาน และการจัดทำคำของบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่สอดรับกับเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (BCG Economy) แผนแม่บทเฉพาะกิจ นโยบายที่สำคัญของรัฐบาล และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ด้วยกรอบความคิดและทิศทางการทำงาน “MIND กล่าวคือ การปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่ วิถีใหม่ โดยให้ความสำคัญในการยกระดับทุกองค์ประกอบของภาคอุตสาหกรรม ควบคู่กับการสร้างความ เข้มแข็งและกระจายรายได้สู่ชุมชน ด้วย ‘หัว’ และ ‘ใจ’ ของคนกระทรวงอุตสาหกรรม” โดยกำหนดภารกิจ พลิกฟื้นกระทรวงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างสมดุล และยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นและเข้มแข็งไป พร้อมกันทั้งกระทรวงฯ ดังนี้
การสร้างภาพลักษณ์และคุณค่าใหม่ : “อุตสาหกรรม” ต้องมีภาพที่ดี สร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของกระทรวงอุตสาหกรรม ด้วยการผลักดันคุณค่าใหม่จากภายในสู่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสู่ภายนอก
การปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมวิถีใหม่ : มุ่งสู่ความสำเร็จ ๔ มิติ และให้รางวัลกับคนทำดี
มิติที่ ๑ ความสำเร็จทางธุรกิจ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจและอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมศักยภาพหรือ S-curve รวมถึงธุรกิจและการผลิตรูปแบบใหม่
มิติที่ ๒ การดูแลสังคม โดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม พัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการดูแลสังคม โดยส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน สังคม และสถานประกอบการ/โรงงานในพื้นที่สู่การอยู่ร่วมอย่างรับผิดชอบและเป็นมิตร
มิติที่ ๓ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก ผลักดันปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมด้วยกลไกการกำกับดูแลที่ทรงประสิทธิภาพ และการส่งเสริมยกระดับสถานประกอบการหรือ โรงงานด้วยแนวคิด BCG ที่สัมผัสได้
มิติที่ ๔ การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มุ่งเน้นการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาวิถีชีวิต สร้างประโยชน์พัฒนาชุมชนรออุตสาหกรรม และต่อยอดอาชีพดีพร้อม
ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาล การอำนวยความสะดวก และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ร่วมกันผลักดันและบูรณาการการทำงานเพื่อ ขับเคลื่อนกระทรวงอุตสาหกรรมให้มุ่งสู่ระบบบริการภาครัฐดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ และการส่งเสริมสถานประกอบการของไทยและสถานประการการที่ประกอบการตามอุตสาหกรรมวิถีใหม่ผ่านการจัดซื้อจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สำหรับสถาน ประกอบการที่ได้รับ Made in Thailand (MiT) ที่ขึ้นทะเบียนกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการกลุ่ม Thai SME-GP ซึ่งเป็น SMEs ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสการตลาดของภาครัฐ สำหรับสถานประกอบการที่ดีและต่อยอดทางธุรกิจให้กับ SMEs ของไทย
รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม :
ผลงาน |
ลิงก์วิดีโอ |
พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม - Second job development project for DIPROM Community |
|
สถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวคิด "BCG Model" |
|
สถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวคิด ""G"" BCG Model |
|
สถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวคิด ""C"" BCG Model |
|
สถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวคิด ""B"" BCG Model |
|
สศอ. กับการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม (รายการ Energy ๕) |
|
OIE Forum |
https://youtube.com/playlist?list=PLPMA071Bkqmm320QmdwSLrFUbFSmvOmuS |
แนะนำองค์กร |
|
๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมาย |
|
กพร.มุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทย |
|
ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automotive and Tyre Testing, Research and Innovation Center - ATTRIC) |
เยี่ยมชมเว็บไซต์ E-Commerce เพิ่มเติม ได้ที่ : ระบบการสั่งซื้อหนังสือ มอก. ออนไลน์ผ่าน https://service.tisi.go.th/standard-shop/web/index
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้นโยบายดีพร้อมแคร์ (DIPROM CARE) ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือ ดีพร้อม (DIPOROM) ผ่านกลไก โครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ มุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นหนึ่งในจิกซอที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศ ด้วยการดำเนินโครงการอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม โดยเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นเรือธงในการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง กรอบวงเงิน ๑,๒๔๙ ล้านบาทเพื่อดำเนินการเพิ่มทักษะและรายได้ให้ชุมชนผ่านรูปแบบหลักสูตรการพัฒนา ๔ หลักสูตรหลัก ๆ ได้แก่
หลักสูตรที่ ๑ กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต
หลักสูตรที่ ๒ กิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ
หลักสูตรที่ ๓ กิจกรรมพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
หลักสูตรที่ ๔ กิจกรรมพัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ
โดยดำเนินการพัฒนาประชาชนกว่า ๗๐๐,๐๐๐ ราย ส่งผลให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีศักยภาพทางด้านวิชาชีพเพิ่มขึ้น อีกทั้ง ยังสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพต่อยอดธุรกิจและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ
นอกจากนี้ ดีพร้อม ยังได้ดำเนินการกิจกรรมต่อยอดและขยายผลความสำเร็จของโครงการ ด้วยการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้และสร้างทักษะการประกอบอาชีพให้ประชาชน และการแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ภายใต้แนวคิด “ซื้อของไทย ใช้ของดี สร้างอาชีพ เสริมธุรกิจที่ดีพร้อม” เมื่อช่วงปลายปี ๒๕๖๕ ณ อาคารเอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ ๙ - ๑๒ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี และยังคงดำเนินการจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์อย่างต่อเนื่องในปี ๒๕๖๖ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการต่อยอดความสำเร็จของโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม รวมทั้งเป็นการเสริมทักษะในการประกอบธุรกิจ พึ่งพาตัวเอง และมีอาชีพใหม่ ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือได้ว่าโครงการดังกล่าว ถือเป็นการสร้างเมล็ดพันธุ์อุตสาหกรรมที่พร้อมต่อยอดให้โต ซึ่งอยู่ระหว่างการวางแนวนโยบายเพื่อการส่งเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความมั่นคงให้กับเศรษฐกิจฐานรากและความเข้มแข็งให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย
ขณะเดียวกัน ในปี ๒๕๖๖ ดีพร้อม ได้ขานรับนโยบาย MIND ใช้หัวและใจ ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน ของ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้เร่งพัฒนาโมเดลการส่งเสริมอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ “โมเดลชุมชนดีพร้อม” ที่พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไปพร้อมกับชุมชน ผ่านการเชื่อมโยงระหว่างภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และชุมชนให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย
๑) ค้นหาและบอกต่อ มุ่งเฟ้นหาผู้นำทางธุรกิจต้นแบบที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับสังคมโดยรอบอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจที่มีศักยภาพในการพัฒนาและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจรวมถึงเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะ หรือเป็นผู้ที่มี “ใจ”และ“พลัง” ในการช่วยเหลือชุมชนและสังคม
๒) ประสานประโยชน์ วางแผนเพื่อแสวงหาจุดดำเนินการร่วมระหว่างผู้นำทางธุรกิจ (DIPROM HERO) กับชุมชน โดยการประสานประโยชน์ต้องมีรูปแบบการได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
๓) เสริมแกร่ง เสริมแกร่งให้กลุ่มชุมชนตามหลักการอุตสาหกรรม อาทิ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพด้วยเครื่องมือเครื่องจักร รักษาคุณภาพมาตรฐาน สร้างมูลค่าเพิ่มและทำการตลาดให้กับเครือข่าย เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนา รวมถึงสนับสนุนให้โมเดลชุมชนดีพร้อมมีความเข้มแข็งมากขึ้น
๔) ยกระดับ เป็นกระบวนการบ่มเพาะ “ผู้นำชุมชน” ให้เป็นนักธุรกิจเพื่อสังคม ยกระดับสู่ การเป็นผู้นำทางธุรกิจ เพื่อต่อยอดและสร้างฮีโร่ทางธุรกิจรุ่นใหม่ ซึ่งจะเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนและขยายวงจรโมเดลชุมชนดีพร้อมไปในวงกว้าง ทำให้ธุรกิจอยู่ร่วมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ถือได้ว่าเป็นอีกปีหนึ่งที่มีความท้าทายต่อภาคธุรกิจและการบริหารอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากห้วง ๓ ปีที่ผ่านมาจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ซึ่งปีหน้านี้มีการคาดการณ์ว่า สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นจากการเปิดประเทศของทั่วโลก โดยจะส่งผลต่อการกลับมาของภาค การท่องเที่ยว การจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ และคำสั่งซื้อที่เริ่มเข้ามาจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม แนวโน้ม ปัญหาเศรษฐกิจทั่วโลกในจังหวะนี้มีความเปราะบางเป็นอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมาจากภาระหนี้สาธารณะของทั่วโลกที่สูงขึ้นโดยเฉลี่ยเกือบร้อยละ ๑๐๐ และผลกระทบซ้ำเติมจากสถานการณ์ด้านต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อระดับโลก เช่น น้ำมัน ปุ๋ย และอาหารสัตว์ ที่มีราคาแพง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวต่างกดดันต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยและการบริหารอุตสาหกรรมของกระทรวงอุตสาหกรรม ในระยะต่อจากนี้ ในขณะที่ ยังคงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเดิมที่แฝงอยู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย ทั้งปัญหาด้าน โครงสร้างของอุตสาหกรรมของประเทศที่เริ่มแข่งขันได้ยากและไม่ดึงดูดการลงทุนใหม่ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและ ข้อร้องเรียน ไปจนถึงปัญหาด้านภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของภาคอุตสาหกรรมต่อประชาชน ซึ่งเป็นประเด็นที่จำเป็นต้อง ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนและมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ “อุตสาหกรรมดี อยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน” โดย “ปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่” ติดปีกภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้มีขีด ความสามารถในการแข่งขันที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และ ข้อตกลง/กติกาใหม่ของโลก พร้อมกับการผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ของ “ชุมชนรักโรงงาน โรงงานรักชุมชน และ สร้างการกระจายรายได้สู่ชุมชน” เพื่อให้อุตสาหกรรมอยู่คู่กับสังคม/ชุมชนอย่างเป็นมิตรและยกระดับเศรษฐกิจ ฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม จะเร่งเดินหน้าปรับแนวคิดและการทำงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตอบสนอง และเป็นมืออาชีพ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับภาคอุตสาหกรรมไทย ภายใต้การกำหนดนโยบาย การปฏิบัติงาน และการจัดทำคำของบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่สอดรับกับเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG (BCG Economy) แผนแม่บทเฉพาะกิจ นโยบายที่สำคัญของรัฐบาล และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ด้วยกรอบความคิดและทิศทางการทำงาน “MIND กล่าวคือ การปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่ วิถีใหม่ โดยให้ความสำคัญในการยกระดับทุกองค์ประกอบของภาคอุตสาหกรรม ควบคู่กับการสร้างความ เข้มแข็งและกระจายรายได้สู่ชุมชน ด้วย ‘หัว’ และ ‘ใจ’ ของคนกระทรวงอุตสาหกรรม” โดยกำหนดภารกิจ พลิกฟื้นกระทรวงเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างสมดุล และยั่งยืน ด้วยความมุ่งมั่นและเข้มแข็งไป พร้อมกันทั้งกระทรวงฯ ดังนี้
การสร้างภาพลักษณ์และคุณค่าใหม่ : “อุตสาหกรรม” ต้องมีภาพที่ดี สร้างความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีของกระทรวงอุตสาหกรรม ด้วยการผลักดันคุณค่าใหม่จากภายในสู่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีสู่ภายนอก
การปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรมวิถีใหม่ : มุ่งสู่ความสำเร็จ ๔ มิติ และให้รางวัลกับคนทำดี
มิติที่ ๑ ความสำเร็จทางธุรกิจ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนธุรกิจและอุตสาหกรรมไปสู่อุตสาหกรรมศักยภาพหรือ S-curve รวมถึงธุรกิจและการผลิตรูปแบบใหม่
มิติที่ ๒ การดูแลสังคม โดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม พัฒนาอุตสาหกรรมควบคู่ไปกับการดูแลสังคม โดยส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชน สังคม และสถานประกอบการ/โรงงานในพื้นที่สู่การอยู่ร่วมอย่างรับผิดชอบและเป็นมิตร
มิติที่ ๓ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก ผลักดันปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมด้วยกลไกการกำกับดูแลที่ทรงประสิทธิภาพ และการส่งเสริมยกระดับสถานประกอบการหรือ โรงงานด้วยแนวคิด BCG ที่สัมผัสได้
มิติที่ ๔ การกระจายรายได้ให้กับประชาชนและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มุ่งเน้นการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นระบบ เพื่อรักษาวิถีชีวิต สร้างประโยชน์พัฒนาชุมชนรออุตสาหกรรม และต่อยอดอาชีพดีพร้อม
ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาล การอำนวยความสะดวก และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน ร่วมกันผลักดันและบูรณาการการทำงานเพื่อ ขับเคลื่อนกระทรวงอุตสาหกรรมให้มุ่งสู่ระบบบริการภาครัฐดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้ พ.ร.บ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ และการส่งเสริมสถานประกอบการของไทยและสถานประการการที่ประกอบการตามอุตสาหกรรมวิถีใหม่ผ่านการจัดซื้อจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สำหรับสถาน ประกอบการที่ได้รับ Made in Thailand (MiT) ที่ขึ้นทะเบียนกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการกลุ่ม Thai SME-GP ซึ่งเป็น SMEs ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสการตลาดของภาครัฐ สำหรับสถานประกอบการที่ดีและต่อยอดทางธุรกิจให้กับ SMEs ของไทย
รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม :
ผลงาน |
ลิงก์วิดีโอ |
พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม - Second job development project for DIPROM Community |
|
สถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวคิด "BCG Model" |
|
สถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวคิด ""G"" BCG Model |
|
สถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวคิด ""C"" BCG Model |
|
สถานประกอบการต้นแบบที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามแนวคิด ""B"" BCG Model |
|
สศอ. กับการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม (รายการ Energy ๕) |
|
OIE Forum |
https://youtube.com/playlist?list=PLPMA071Bkqmm320QmdwSLrFUbFSmvOmuS |
แนะนำองค์กร |
|
๑๐ อุตสาหกรรมเป้าหมาย |
|
กพร.มุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ไทย |
|
ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automotive and Tyre Testing, Research and Innovation Center - ATTRIC) |
เยี่ยมชมเว็บไซต์ E-Commerce เพิ่มเติม ได้ที่ : ระบบการสั่งซื้อหนังสือ มอก. ออนไลน์ผ่าน https://service.tisi.go.th/standard-shop/web/index