ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
๑. การจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงานภาครัฐโดยลดขอจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการใหบริการประชาชน มีการทบทวนกระบวนการปฏิบัติราชการและปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหสะดวกรวดเร็ว ออกแบบและปรับปรุงการบริการภาครัฐรูปแบบใหม่ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งยกระดับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐใหเกิดความยืดหยุนโดยใชเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการปฏิบัติงาน ตลอดจนสร้างคุณภาพชีวิตและการทำงานส่งเสริมแรงจูงใจของขาราชการและเจาหนาที่ของสวนราชการ โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๕ มีมติเห็นชอบ “แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่” พร้อมคู่มือ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป
๒. การจัดทำรายงานสรุปภาพรวมการบริหารกำลังคนของส่วนราชการในฝ่ายพลเรือนและแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐในระยะต่อไป โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕ มีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอ และได้กำหนดแนวทางในการบริหารอัตรากำลังของภาคราชการสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งรัดการบริหารอัตราว่างที่มีอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน ๑ ปี เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานของประชาชนและมีกำลังคนเข้าสู่ระบบแรงงานในประเทศเพิ่มขึ้น และให้สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมอัตรากำลังบุคลากรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐอย่างบูรณาการ และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนนำแนวทางการบริหารอัตรากำลังของ คปร. ไปปรับใช้อย่างจริงจัง โดยการพิจารณาทบทวนบทบาทภารกิจและโครงสร้างองค์กรภาครัฐและกำหนดกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสม มุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Government) ควบคู่กับการปรับรูปแบบและวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะงาน โอนงานบางประเภทให้เอกชนดำเนินการ และเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจที่สามารถมอบหรือกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปดำเนินการ รวมทั้งมุ่งเน้นให้มีการใช้รูปแบบการจ้างงานที่หลากหลายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐในระยะยาว
๓. การปรับปรุงการสำรวจความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพัน การปรับปรุงองค์ประกอบดัชนีความผูกพัน และการปรับปรุงเครื่องมือ (แบบสำรวจ) และดำเนินการสำรวจความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลสำรวจความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
๔. การประกาศใช้ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๕ (HR Regulatory Sandbox) โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สามารถนำไปใช้ได้ในวงกว้าง โดยมีการทดสอบเพื่อจำกัดและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนนำไปปรับใช้จริงในระบบราชการ เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล
๕. การปรับปรุงประสิทธิภาพการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้รองรับจำนวนที่นั่งสอบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ที่นั่งสอบ
๖. การพัฒนากำลังคนภาครัฐด้วยการเรียนรู้ทางไกลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทาง OCSC learning Portal (https://learningportal.ocsc.go.th) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการผลิตหลักสูตร/รายวิชาออนไลน์ที่เป็นความต้องการร่วมของส่วนราชการ และเป็น Platform ที่บุคลากรภาครัฐสามารถเข้าเรียนรู้ในระบบการเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงาน ก.พ. และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ชั้นนำต่าง ๆ ที่เป็นเครือข่ายของสำนักงาน ก.พ. ในปัจจุบัน OCSC learning Portal มีรายวิชาที่สำนักงาน ก.พ. ผลิตขึ้นเอง และวิชาอื่น ๆ ที่ส่วนราชการอื่นนำมาขึ้นในระบบ จำนวนมากกว่า ๑๒๐ วิชา และมีจำนวนผู้ลงทะเบียนในระบบ OCSC Learning Portal จำนวน ๓๓๙,๘๘๓ คน (เป็นข้าราชการพลเรือน ๑๙๔,๕๕๒ คน ข้าราชการประเภทอื่น ๕๖,๙๙๔ คน เจ้าหน้าที่ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๕๗,๖๑๖ คน และบุคคลทั่วไป ๓๐,๗๒๑ คน) (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕)
๗. การพัฒนาเครื่องมือกลางช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานด้านบริหารงานบุคคลให้เป็นรูปแบบดิจิทัล: การพัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (Departmental Personnel Information System: DPIS) Version ๖ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการ สนับสนุนกระบวนการทำงานด้านบริหารงานบุคคลผ่านระบบดิจิทัล ตั้งแต่การจัดการโครงสร้างส่วนราชการของหน่วยงาน ที่สามารถจัดทำได้ทั้งโครงสร้างตามกฎหมายและโครงสร้างตามมอบหมายงาน การจัดทำกรอบตำแหน่งของหน่วยงาน การจัดทำคำสั่งการบรรจุ/แต่งตั้ง เลื่อน ย้าย โอน เลื่อนเงินเดือน การประเมินผลการปฏิบัติราชการ การบริหารวงเงินเพื่อการเลื่อนเงินเดือน การพัฒนาบุคลากร การพ้นจากส่วนราชการ การลา การลงเวลาในการปฏิบัติราชการ เป็นต้น และสามารถจัดทำรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอฝ่ายบริหารของส่วนราชการ รวมถึง ส่วนราชการสามารถเขียน API เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในฐานข้อมูลกับระบบงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
๘. การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๗๐) โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๕ ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ เพื่อเป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมพัฒนาจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรกลางบริหารงานบุคคล (ตามมาตรา ๓ และมาตรา ๒๐ ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒) องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมและหน่วยงานของรัฐ ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
ผลงานที่กำลังจะดำเนินการในอนาคต
๑. การจัดทำข้อเสนอมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) เพื่อให้การบริหารกำลังคนภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปประเทศ/แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และมีกลไกในการควบคุมอัตรากำลังและค่าใช้จ่ายด้านบุคคลให้มีความเหมาะสมกับภารกิจของรัฐ
๒. การจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระบบพนักงานราชการกับระบบข้าราชการ เพื่อให้มีกลไก/ช่องทางการเคลื่อนย้ายพนักงานราชการเข้าสู่ระบบข้าราชการ และเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับส่วนราชการในการสรรหาผู้มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์จากระบบพนักงานราชการเข้าสู่ระบบข้าราชการ รวมถึงเป็นการรักษากำลังคนคุณภาพไว้ในระบบราชการ ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
๓. การพัฒนาหลักสูตรการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนราชการได้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะตรงตามที่ส่วนราชการต้องการและเป็นประโยชน์ต่อภาคราชการ
๔. การจัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาองค์กร สนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาของบุคลากร ยกระดับกลไกการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ รวมถึงบุคลากรภาครัฐใช้เป็นแนวปฏิบัติในการวางแผนการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน โดยเน้นให้มีการเรียนรู้และพัฒนา การประเมินและปรับปรุงการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๕. การรวมฐานข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญ (One HR Database) เพื่อให้สำนักงาน ก.พ. และส่วนราชการมีฐานข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกต้อง ทันสมัย เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และช่วยลดภาระส่วนราชการในการบันทึกข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญจากหลายระบบ
ติดตามข้อมูลข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ :
๑. ศูนย์รวมการรับราชการ การสอบภาค ก. และทุนรัฐบาล
เว็บไซต์ https://job.ocsc.go.th เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับเรื่องการเข้ารับราชการ ดังนี้
- ศูนย์รวมประกาศรับสมัครงานจากส่วนราชการต่าง ๆ
- การสอบภาค ก. การพิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน (หรือเข้าดูได้ทางเว็บไซต์หลัก https://job3.ocsc.go.th )
- การสอบทุนรัฐบาล (หรือเข้าดูได้ทางเว็บไซต์หลัก https://www.ocsc.go.th/scholarship )
- การรับรองคุณวุฒิ (หรือเข้าดูได้ทางเว็บไซต์หลัก https://learningportal.ocsc.go.th/accreditation )
- การรวบรวมเว็บไซต์หน่วยงานราชการ
๒.OCSC Learning Portal ศูนย์การเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการ
เว็บไซต์ https://learningportal.ocsc.go.th/learningportal เป็นเว็บไซต์ให้บริการเกี่ยวกับการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ ให้กับข้าราชการผ่านช่องทางออนไลน์
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
๑. การจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงานภาครัฐโดยลดขอจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการใหบริการประชาชน มีการทบทวนกระบวนการปฏิบัติราชการและปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานใหสะดวกรวดเร็ว ออกแบบและปรับปรุงการบริการภาครัฐรูปแบบใหม่ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อีกทั้งยกระดับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐใหเกิดความยืดหยุนโดยใชเทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการปฏิบัติงาน ตลอดจนสร้างคุณภาพชีวิตและการทำงานส่งเสริมแรงจูงใจของขาราชการและเจาหนาที่ของสวนราชการ โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๕ มีมติเห็นชอบ “แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่” พร้อมคู่มือ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป
๒. การจัดทำรายงานสรุปภาพรวมการบริหารกำลังคนของส่วนราชการในฝ่ายพลเรือนและแนวโน้มค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐในระยะต่อไป โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๕ มีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอ และได้กำหนดแนวทางในการบริหารอัตรากำลังของภาคราชการสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งรัดการบริหารอัตราว่างที่มีอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน ๑ ปี เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานของประชาชนและมีกำลังคนเข้าสู่ระบบแรงงานในประเทศเพิ่มขึ้น และให้สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลัง รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินการเกี่ยวกับการควบคุมอัตรากำลังบุคลากรและภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐอย่างบูรณาการ และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนนำแนวทางการบริหารอัตรากำลังของ คปร. ไปปรับใช้อย่างจริงจัง โดยการพิจารณาทบทวนบทบาทภารกิจและโครงสร้างองค์กรภาครัฐและกำหนดกรอบอัตรากำลังที่เหมาะสม มุ่งเน้นการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Government) ควบคู่กับการปรับรูปแบบและวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับลักษณะงาน โอนงานบางประเภทให้เอกชนดำเนินการ และเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจที่สามารถมอบหรือกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปดำเนินการ รวมทั้งมุ่งเน้นให้มีการใช้รูปแบบการจ้างงานที่หลากหลายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐในระยะยาว
๓. การปรับปรุงการสำรวจความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ ทั้งในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพัน การปรับปรุงองค์ประกอบดัชนีความผูกพัน และการปรับปรุงเครื่องมือ (แบบสำรวจ) และดำเนินการสำรวจความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. ๒๕๖๕ พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลสำรวจความผูกพันของข้าราชการพลเรือนสามัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
๔. การประกาศใช้ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๕ (HR Regulatory Sandbox) โดยมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สามารถนำไปใช้ได้ในวงกว้าง โดยมีการทดสอบเพื่อจำกัดและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนนำไปปรับใช้จริงในระบบราชการ เพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายของรัฐบาล
๕. การปรับปรุงประสิทธิภาพการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้รองรับจำนวนที่นั่งสอบประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ ที่นั่งสอบ
๖. การพัฒนากำลังคนภาครัฐด้วยการเรียนรู้ทางไกลและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านช่องทาง OCSC learning Portal (https://learningportal.ocsc.go.th) ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการผลิตหลักสูตร/รายวิชาออนไลน์ที่เป็นความต้องการร่วมของส่วนราชการ และเป็น Platform ที่บุคลากรภาครัฐสามารถเข้าเรียนรู้ในระบบการเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของสำนักงาน ก.พ. และแพลตฟอร์มการเรียนรู้ชั้นนำต่าง ๆ ที่เป็นเครือข่ายของสำนักงาน ก.พ. ในปัจจุบัน OCSC learning Portal มีรายวิชาที่สำนักงาน ก.พ. ผลิตขึ้นเอง และวิชาอื่น ๆ ที่ส่วนราชการอื่นนำมาขึ้นในระบบ จำนวนมากกว่า ๑๒๐ วิชา และมีจำนวนผู้ลงทะเบียนในระบบ OCSC Learning Portal จำนวน ๓๓๙,๘๘๓ คน (เป็นข้าราชการพลเรือน ๑๙๔,๕๕๒ คน ข้าราชการประเภทอื่น ๕๖,๙๙๔ คน เจ้าหน้าที่ของรัฐและรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๕๗,๖๑๖ คน และบุคคลทั่วไป ๓๐,๗๒๑ คน) (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕)
๗. การพัฒนาเครื่องมือกลางช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานด้านบริหารงานบุคคลให้เป็นรูปแบบดิจิทัล: การพัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (Departmental Personnel Information System: DPIS) Version ๖ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการ สนับสนุนกระบวนการทำงานด้านบริหารงานบุคคลผ่านระบบดิจิทัล ตั้งแต่การจัดการโครงสร้างส่วนราชการของหน่วยงาน ที่สามารถจัดทำได้ทั้งโครงสร้างตามกฎหมายและโครงสร้างตามมอบหมายงาน การจัดทำกรอบตำแหน่งของหน่วยงาน การจัดทำคำสั่งการบรรจุ/แต่งตั้ง เลื่อน ย้าย โอน เลื่อนเงินเดือน การประเมินผลการปฏิบัติราชการ การบริหารวงเงินเพื่อการเลื่อนเงินเดือน การพัฒนาบุคลากร การพ้นจากส่วนราชการ การลา การลงเวลาในการปฏิบัติราชการ เป็นต้น และสามารถจัดทำรายงานสถิติที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเสนอฝ่ายบริหารของส่วนราชการ รวมถึง ส่วนราชการสามารถเขียน API เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลในฐานข้อมูลกับระบบงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
๘. การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๕ - ๒๕๗๐) โดยคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๕ ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ เพื่อเป็นกรอบและกลไกในการขับเคลื่อนการดำเนินการรักษาจริยธรรมและส่งเสริมพัฒนาจริยธรรมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรกลางบริหารงานบุคคล (ตามมาตรา ๓ และมาตรา ๒๐ ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒) องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมและหน่วยงานของรัฐ ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนมาตรฐานทางจริยธรรมให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
ผลงานที่กำลังจะดำเนินการในอนาคต
๑. การจัดทำข้อเสนอมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) เพื่อให้การบริหารกำลังคนภาครัฐสอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปประเทศ/แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายสำคัญของรัฐบาล รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี และมีกลไกในการควบคุมอัตรากำลังและค่าใช้จ่ายด้านบุคคลให้มีความเหมาะสมกับภารกิจของรัฐ
๒. การจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระบบพนักงานราชการกับระบบข้าราชการ เพื่อให้มีกลไก/ช่องทางการเคลื่อนย้ายพนักงานราชการเข้าสู่ระบบข้าราชการ และเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับส่วนราชการในการสรรหาผู้มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์จากระบบพนักงานราชการเข้าสู่ระบบข้าราชการ รวมถึงเป็นการรักษากำลังคนคุณภาพไว้ในระบบราชการ ซึ่งจะส่งผลให้การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
๓. การพัฒนาหลักสูตรการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสรรหาและเลือกสรรบุคคลเข้ารับราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนราชการได้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะตรงตามที่ส่วนราชการต้องการและเป็นประโยชน์ต่อภาคราชการ
๔. การจัดทำแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐใช้เป็นแนวปฏิบัติในการพัฒนาองค์กร สนับสนุนการเรียนรู้และการพัฒนาของบุคลากร ยกระดับกลไกการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ รวมถึงบุคลากรภาครัฐใช้เป็นแนวปฏิบัติในการวางแผนการพัฒนาตนเองและพัฒนางาน โดยเน้นให้มีการเรียนรู้และพัฒนา การประเมินและปรับปรุงการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
๕. การรวมฐานข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญ (One HR Database) เพื่อให้สำนักงาน ก.พ. และส่วนราชการมีฐานข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญที่ถูกต้อง ทันสมัย เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน และช่วยลดภาระส่วนราชการในการบันทึกข้อมูลข้าราชการพลเรือนสามัญจากหลายระบบ
ติดตามข้อมูลข่าวสารอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ :
๑. ศูนย์รวมการรับราชการ การสอบภาค ก. และทุนรัฐบาล
เว็บไซต์ https://job.ocsc.go.th เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับเรื่องการเข้ารับราชการ ดังนี้
- ศูนย์รวมประกาศรับสมัครงานจากส่วนราชการต่าง ๆ
- การสอบภาค ก. การพิมพ์หนังสือรับรองผลการสอบผ่าน (หรือเข้าดูได้ทางเว็บไซต์หลัก https://job3.ocsc.go.th )
- การสอบทุนรัฐบาล (หรือเข้าดูได้ทางเว็บไซต์หลัก https://www.ocsc.go.th/scholarship )
- การรับรองคุณวุฒิ (หรือเข้าดูได้ทางเว็บไซต์หลัก https://learningportal.ocsc.go.th/accreditation )
- การรวบรวมเว็บไซต์หน่วยงานราชการ
๒.OCSC Learning Portal ศูนย์การเรียนรู้ทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบบูรณาการ
เว็บไซต์ https://learningportal.ocsc.go.th/learningportal เป็นเว็บไซต์ให้บริการเกี่ยวกับการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ ให้กับข้าราชการผ่านช่องทางออนไลน์
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนด ให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นราชการของส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติราชการ คือ “เป็นองค์กรสมรรถนะสูงในการบูรณาการกลไกขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินด้วยนวัตกรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ”
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีผลงานที่สำคัญของหน่วยงาน ผลงานที่กำลังจะดำเนินการในอนาคต หรือผลงานของหน่วยงานที่สามารถสื่อให้เห็นถึงภารกิจ และบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่สอดคล้องกับหัวข้อ “ข้าราชการวิถีใหม่ ใฝ่คุณธรรม บริการเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน” โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรการในการดำเนินงานด้านเอกลักษณ์ของชาติต่อคณะรัฐมนตรี และทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นศูนย์กลางเครือข่ายข้อมูลด้านเอกลักษณ์ของชาติทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบกับ แผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) กำหนดพันธกิจของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อ ๑ กำหนดว่า “การเทิดทูนสถาบันหลักและการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ” โดยกำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนพันธกิจ คือ เสริมสร้างความมั่นคงในการเทิดทูนสถาบันหลักและเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ มีเป้าประสงค์ คือ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดการธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ ซึ่งสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติราชการฯ และดำเนินการตามพันธกิจดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. การดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการเฉลิมพระเกียรติ
ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศ์ทุกพระองค์ในโอกาสมหามงคล ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ดำเนินโครงการ และกิจกรรมเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น การจัดพิธีบำเพ็ญกุศลและกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ การจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช-มหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ การจัดพิธีและกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ การจัดพิธีและกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ และการจัดพิธีและกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราช-ชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ เป็นต้น
๒. การดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมในเรื่องของเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งประกอบด้วย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และจะดำเนินการต่อไปในอนาคต โดยได้เผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องเอกลักษณ์ของชาติให้แพร่หลายอย่างกว้างขวางผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เช่น เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ และยูทูป รวมถึงสื่อสาระการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล (http://oer.learn.in.th/thaiidentity) เป็นต้น
นอกจากนี้ ได้มีการจัดโครงการ/กิจกรรมที่เป็นการสร้างการรับรู้ในเรื่องเอกลักษณ์ของชาติให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของชาติ รวมถึงพัฒนาให้เด็กและเยาวชน ได้มีพื้นที่แสดงออกทางความคิด พัฒนาศักยภาพ และเรียนรู้การทำงานเป็นทีมผ่านการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติจริง เช่น โครงการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย หรือ “เด็กอวด (ทำ) ดี” โครงการเครือข่ายเยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยสู่ราชวงศ์จักรี โครงการอนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์เอกลักษณ์ของชาติไทย หรือ "พราวไทย" โครงการ "ธงไตรรงค์ ธำรงไทย" โครงการ "ค่าของแผ่นดิน" และโครงการจัดทำสมุดบันทึกประจำวันสำหรับนักบริหาร (Thailand Executive Diary) เป็นต้น
การให้บริการประชาชน
ศูนย์บริการประชาชน ในฐานะเป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ๑๑๑๑ มีหน้าที่ดำเนินการ เรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม และการขอความช่วยเหลือที่มีผู้ยื่นคำร้องต่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินคดีแก่ประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือและขอคำแนะนำ ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหา และอำนวยความสะดวกแก่มวลชนที่มาพบหรือชุมนุมร้องเรียน และตรวจสอบเรื่องร้องเรียนในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญที่เป็นกรณีเร่งด่วน มีช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ ๑๑๑๑ (๖ ช่องทาง) โดยทุกช่องทางศูนย์บริการประชาชนได้กำหนดระยะเวลามาตรฐานในการให้บริการอย่างชัดเจน ได้แก่
๑. สายด่วนของรัฐบาล โทร.1111 ระยะเวลา ๒ ชั่วโมง
๒. ตู้ ปณ.๑๑๑๑ ทำเนียบรัฐบาล ระยะเวลา ๘.๕ วันทำการ
๓. เว็บไซต์ www.1111.go.th ระยะเวลา ๒ วันทำการ
๔. Mobile Application (PSC 1111) ระยะเวลา ๑ วันทำการ
๕. จุดบริการประชาชน ๑๑๑๑ อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) ระยะเวลา ๑.๕ วันทำการ
๖. Chatbot บนแอปพลิเคชันไลน์ หรือไลน์สร้างสุข (@PSC1111) ระยะเวลา ๑ วันทำการ
ทั้งนี้ เรื่องร้องทุกข์ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบ “การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์” ซึ่งได้มีการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานไปยังส่วนราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งในระดับกระทรวง กรม จังหวัด รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอิสระ ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์ หรือเรียกว่า “Contact Point” ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๕๓ หน่วยงาน
ศูนย์บริการประชาชนได้พัฒนาและปรับปรุงสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและพฤติกรรมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้พัฒนาแพลตฟอร์มของระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ประกอบด้วย
๑. ระบบติดตามผลเรื่องร้องทุกข์ (Tracking System) เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามผลความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ได้ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา
๒. ระบบการรายงานผลสำหรับผู้บริหาร (Dashboard) ที่สามารถแสดงผลข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ สำหรับใช้ในการกำกับติดตามและกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
๓. ระบบสำรวจความพึงพอใจ (Satisfaction Survey) เพื่อประเมินความพึงพอใจหลังจากการให้บริการ โดยประชาชนสามารถประเมินผลความพึงพอใจให้กับหน่วยงานได้ในทันที
๔. การสำรวจความต้องการจากสื่อสังคมออนไลน์ (Social Monitoring Tool) ซึ่งเป็นเครื่องมือติดตามความต้องการหรือความคิดเห็นของประชาชนจากสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายหรือวางแผนรองรับการแก้ไขปัญหา
๕. พัฒนาระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ เตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ (Web Service)
นอกจากนี้ ศูนย์บริการประชาชนได้ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ทั่วประเทศ ให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน (Big data) ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการประสานช่วยเหลือหรือแก้ไขได้รวดเร็ว ส่วนราชการสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนได้อย่างเท่าเทียม และทั่วถึง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีหน่วยงานประสงค์เชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ จำนวนทั้งสิ้น ๗ หน่วยงาน ได้แก่ กรมการกงสุล (กระทรวงการต่างประเทศ) กระทรวงกลาโหม กระทรวงพลังงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงสาธารณสุข
งานด้านข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการลงพื้นที่ดำเนินการโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายภาคประชาชน ผู้นำชุมชน กลุ่ม Strong ของสำนักงาน ป.ป.ช. และสื่อมวลชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิตามพระราช-บัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ และสามารถนำไปถ่ายทอดให้ประชาชนสามารถรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐได้อย่างโปร่งใส
สำหรับกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับการใช้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ แบ่งกลุ่มสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “เครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารภาครัฐ” รวมถึงประเด็นปัญหาในการใช้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นเครื่องมือในการติดตามการดำเนินงานของภาครัฐ ปัญหา/อุปสรรคในการขอรับข้อมูลข่าวสารของราชการจากหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ นอกจากนี้ การเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็งนำไปใช้ในการตรวจสอบการบริหารงานภาครัฐให้มีความโปร่งใสและเป็น “รัฐโปร่งใส (Open Government Data)” ได้ตามวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐบาล
การตรวจราชการ
การตรวจราชการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ เพื่อเป็นการประสานราชการระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำนักตรวจราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานตรวจราชการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวง โดยร่วมกันกำหนดแผนการตรวจราชการและประเด็นการตรวจราชการ ร่วมกันลงพื้นที่ ร่วมกันจัดทำรายงานและร่วมให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยรับตรวจ และร่วมกันดำเนินงานร่วมกับภาคีสนับสนุนการตรวจราชการ ทำให้การตรวจราชการแบบบูรณาการฯ เป็นการปฏิบัติราชการที่เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจราชการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง รวมทั้งสามารถให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยรับตรวจได้อย่างครอบคลุมและกว้างขวาง ทำให้การตรวจราชการแบบบูรณาการฯ เป็นกลไกที่มีความสำคัญของการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน โดยแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย
๑. การขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล (Issue) ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) การจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน
๒. การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกิจฐานราก
๓. การติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาสำคัญในเชิงพื้นที่ ได้แก่ การจัดการประมงอย่างยั่งยืน การเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำโขง การพัฒนาเมืองสมุนไพร การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และการลดอุบัติเหตุทางถนน
๔. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือข้อร้องเรียนของประชาชน หรือการผลักดันการดำเนินโครงการ/มาตรการสำคัญในเชิงพื้นที่ของส่วนราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดย สำนักตรวจราชการ ได้จัดทำสรุปรายงานผลการตรวจติดตามในลักษณะภาพรวมกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อทราบ และนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะระดับนโยบายของผู้ตรวจราชการไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายหรือโครงการที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ทั้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่าวแล้ว จึงก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ ก่อให้เกิดความประหยัด มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (หมายความรวมถึงรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค) เป็นเจ้าภาพกำกับและดูแลการดำเนินการแทนนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่เป็นเสมือนนายกรัฐมนตรีในพื้นที่ โดยมีผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการที่เกี่ยวข้องเป็นเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน ซึ่งในการทำงานของรองนายกรัฐมนตรีได้มีการทำงานในลักษณะการบูรณาการในทุกมิติ ใช้การบริหารงานระบบเมทริกซ์ ทั้งแนวตั้ง (Vertical) และแนวนอน (Horizontal) ในมิติของกระทรวง (Function) มิติของนโยบาย/ภารกิจด้านต่าง ๆ (Agenda) และมิติของพื้นที่ (Area) โดยปีงบประมาณที่ผ่านมา มีผลการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการดำเนินงานบริการเชิงรุก ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนสร้างสุขให้ประชาชน ดังนี้
๑. รองนายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะทำงานรองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน ได้ลงพื้นที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อมอบนโยบายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค และตรวจเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ต่าง ๆ
๒. การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้แก่หน่วยงานของรัฐ ของรองนายกรัฐมนตรี และการขออนุมัติจัดสรรงบประมาณฯเกินวงเงินตามที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งสิ้น ๑,๕๑๓ โครงการ งบประมาณ ๑,๘๐๔,๑๖๐,๙๐๑ บาท
งานด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยนำร่องของสำนักนายกรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนและใช้ระบบ e-Document เพื่อรองรับเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยให้หน่วยงานภายในของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีบูรณาการและขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรสมรรถนะสูง โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใช้งานระบบ e-Document ด้วยระบบสารบรรณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นมา โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดซื้อใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ Certificate Authority (CA) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนบุคลากรในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความน่าเชื่อถือระดับสูง และพิสูจน์ทราบว่าเอกสารต้นฉบับไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข การเปิดให้ประชาชนสามารถยื่นแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ (www.oca.go.th) รวมทั้งจัดทำโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการขอความเห็นชอบแสดงธงชาติที่กระทำโดยเอกชน ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒ ต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อาทิ การใช้ระบบ e-Document ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี การจัดอบรมการใช้ระบบบริหารครุภัณฑ์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถนำความรู้ที่ได้รับในการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการพัฒนาศักยภาพทางด้านการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากร เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
จิตอาสาภาครัฐ
สำนักงานจิตอาสาภาครัฐ สำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานและบูรณาการการขับเคลื่อนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้จัดทำโครงการสนับสนุนการดำเนินงานจิตอาสา เพื่อสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตอาสา ทำความดี ด้วยหัวใจ จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของประชาชน โดยร่วมกับจิตอาสาภาครัฐ และประชาชนจิตอาสาร่วมปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ และทำความสะอาดศาสนสถาน บริเวณชุมชนเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด (จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดลพบุรี) ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้กำหนดกิจกรรมการให้บริการประชาชนร่วมกับสถาบันอาชีวศึกษา ภายใต้กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา “ศูนย์อาชีวะ ช่วยประชาชน (Fix it Center)” และสนับสนุนการทำความดีเพื่อคนอื่น โดยเชิญชวนประชาชนที่สนใจช่วยเหลือผู้อื่นในสถานการณ์ฉุกเฉินผ่านการอบรมและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ผ่านระบบออนไลน์
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเจตจำนงไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ร่วมกิจกรรมแสดงจุดยืนในการต่อต้านคอร์รัปชันในทุกรูปแบบของภาคส่วนต่าง ๆ การจัดประกวดคำขวัญต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และนำคำขวัญที่ชนะเลิศ มากำหนดเป็นข้อความท้ายหนังสือราชการภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คือ “สุจริต มีจิตสำนึก ยึดถือคุณธรรม รวมพลังต่อต้านทุจริต” การจัดทำประกาศข้อกำหนดจริยธรรมสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงในการคัดเลือกหน่วยงานองค์กรคุณธรรมต้นแบบ การสนับสนุนให้ความสำคัญต่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) อยู่ในระดับที่ดี (A) จัดโครงการฝึกปฏิบัติธรรมเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้แก่บุคลากรในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดกิจกรรม “คนดี คนเก่ง คนกล้า สปน.” เพื่อยกย่อง เชิดชู การทำความดีหรือบุคคลผู้มีคุณสมบัติ เหมาะสมในการครองตน ครองคน ครองงาน ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม และผลงานดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล รวมทั้งการจัดกิจกรรมด้าน CSR เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสังคมไทย ในโครงการบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การศึกษาให้แก่สถานศึกษาที่มีความต้องการผ่านโครงการคนละเครื่อง “พี่แบ่งให้ น้องได้เรียน” ของกระทรวงศึกษาธิการ
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีภารกิจเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และสำนักนายกรัฐมนตรี การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนด ให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นราชการของส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมีวิสัยทัศน์ในการปฏิบัติราชการ คือ “เป็นองค์กรสมรรถนะสูงในการบูรณาการกลไกขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดินด้วยนวัตกรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ”
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีผลงานที่สำคัญของหน่วยงาน ผลงานที่กำลังจะดำเนินการในอนาคต หรือผลงานของหน่วยงานที่สามารถสื่อให้เห็นถึงภารกิจ และบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานที่สอดคล้องกับหัวข้อ “ข้าราชการวิถีใหม่ ใฝ่คุณธรรม บริการเชิงรุก สร้างสุขให้ประชาชน” โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรการในการดำเนินงานด้านเอกลักษณ์ของชาติต่อคณะรัฐมนตรี และทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และเป็นศูนย์กลางเครือข่ายข้อมูลด้านเอกลักษณ์ของชาติทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งปฏิบัติงานอื่นอันเกี่ยวกับการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบกับ แผนปฏิบัติราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) กำหนดพันธกิจของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อ ๑ กำหนดว่า “การเทิดทูนสถาบันหลักและการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ” โดยกำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนพันธกิจ คือ เสริมสร้างความมั่นคงในการเทิดทูนสถาบันหลักและเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ มีเป้าประสงค์ คือ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนสร้างการรับรู้เพื่อให้เกิดการธำรงไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ ซึ่งสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติราชการฯ และดำเนินการตามพันธกิจดังกล่าว ประกอบด้วย
๑. การดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการเฉลิมพระเกียรติ
ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ให้สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์รัชทายาท และพระบรมวงศ์ทุกพระองค์ในโอกาสมหามงคล ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ดำเนินโครงการ และกิจกรรมเนื่องในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น การจัดพิธีบำเพ็ญกุศลและกิจกรรมน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๖๕ การจัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช-มหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๕ การจัดพิธีและกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ การจัดพิธีและกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ และการจัดพิธีและกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราช-ชนนีพันปีหลวง ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ เป็นต้น
๒. การดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมในเรื่องของเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งประกอบด้วย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และจะดำเนินการต่อไปในอนาคต โดยได้เผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องเอกลักษณ์ของชาติให้แพร่หลายอย่างกว้างขวางผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย เช่น เฟซบุ๊ก เว็บไซต์ และยูทูป รวมถึงสื่อสาระการเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล (http://oer.learn.in.th/thaiidentity) เป็นต้น
นอกจากนี้ ได้มีการจัดโครงการ/กิจกรรมที่เป็นการสร้างการรับรู้ในเรื่องเอกลักษณ์ของชาติให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ได้มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของชาติ รวมถึงพัฒนาให้เด็กและเยาวชน ได้มีพื้นที่แสดงออกทางความคิด พัฒนาศักยภาพ และเรียนรู้การทำงานเป็นทีมผ่านการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติจริง เช่น โครงการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย หรือ “เด็กอวด (ทำ) ดี” โครงการเครือข่ายเยาวชนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยสู่ราชวงศ์จักรี โครงการอนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์เอกลักษณ์ของชาติไทย หรือ "พราวไทย" โครงการ "ธงไตรรงค์ ธำรงไทย" โครงการ "ค่าของแผ่นดิน" และโครงการจัดทำสมุดบันทึกประจำวันสำหรับนักบริหาร (Thailand Executive Diary) เป็นต้น
การให้บริการประชาชน
ศูนย์บริการประชาชน ในฐานะเป็นศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ๑๑๑๑ มีหน้าที่ดำเนินการ เรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม และการขอความช่วยเหลือที่มีผู้ยื่นคำร้องต่อนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย และการดำเนินคดีแก่ประชาชนที่มาขอความช่วยเหลือและขอคำแนะนำ ประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหา และอำนวยความสะดวกแก่มวลชนที่มาพบหรือชุมนุมร้องเรียน และตรวจสอบเรื่องร้องเรียนในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาสำคัญที่เป็นกรณีเร่งด่วน มีช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ ๑๑๑๑ (๖ ช่องทาง) โดยทุกช่องทางศูนย์บริการประชาชนได้กำหนดระยะเวลามาตรฐานในการให้บริการอย่างชัดเจน ได้แก่
๑. สายด่วนของรัฐบาล โทร.1111 ระยะเวลา ๒ ชั่วโมง
๒. ตู้ ปณ.๑๑๑๑ ทำเนียบรัฐบาล ระยะเวลา ๘.๕ วันทำการ
๓. เว็บไซต์ www.1111.go.th ระยะเวลา ๒ วันทำการ
๔. Mobile Application (PSC 1111) ระยะเวลา ๑ วันทำการ
๕. จุดบริการประชาชน ๑๑๑๑ อาคารสำนักงาน ก.พ. (เดิม) ระยะเวลา ๑.๕ วันทำการ
๖. Chatbot บนแอปพลิเคชันไลน์ หรือไลน์สร้างสุข (@PSC1111) ระยะเวลา ๑ วันทำการ
ทั้งนี้ เรื่องร้องทุกข์ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ในระบบ “การจัดการเรื่องราวร้องทุกข์” ซึ่งได้มีการเชื่อมโยงการปฏิบัติงานไปยังส่วนราชการผู้มีอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ทั้งในระดับกระทรวง กรม จังหวัด รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอิสระ ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์ หรือเรียกว่า “Contact Point” ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๕๓ หน่วยงาน
ศูนย์บริการประชาชนได้พัฒนาและปรับปรุงสู่ความเป็นดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและพฤติกรรมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้พัฒนาแพลตฟอร์มของระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ ประกอบด้วย
๑. ระบบติดตามผลเรื่องร้องทุกข์ (Tracking System) เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามผลความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ได้ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา
๒. ระบบการรายงานผลสำหรับผู้บริหาร (Dashboard) ที่สามารถแสดงผลข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ สำหรับใช้ในการกำกับติดตามและกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
๓. ระบบสำรวจความพึงพอใจ (Satisfaction Survey) เพื่อประเมินความพึงพอใจหลังจากการให้บริการ โดยประชาชนสามารถประเมินผลความพึงพอใจให้กับหน่วยงานได้ในทันที
๔. การสำรวจความต้องการจากสื่อสังคมออนไลน์ (Social Monitoring Tool) ซึ่งเป็นเครื่องมือติดตามความต้องการหรือความคิดเห็นของประชาชนจากสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบายหรือวางแผนรองรับการแก้ไขปัญหา
๕. พัฒนาระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ เตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ (Web Service)
นอกจากนี้ ศูนย์บริการประชาชนได้ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จ โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ทั่วประเทศ ให้เป็นฐานข้อมูลเดียวกัน (Big data) ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้รับการประสานช่วยเหลือหรือแก้ไขได้รวดเร็ว ส่วนราชการสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนได้อย่างเท่าเทียม และทั่วถึง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ มีหน่วยงานประสงค์เชื่อมโยงฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ จำนวนทั้งสิ้น ๗ หน่วยงาน ได้แก่ กรมการกงสุล (กระทรวงการต่างประเทศ) กระทรวงกลาโหม กระทรวงพลังงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงสาธารณสุข
งานด้านข้อมูลข่าวสารภาครัฐ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการลงพื้นที่ดำเนินการโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายภาคประชาชน ผู้นำชุมชน กลุ่ม Strong ของสำนักงาน ป.ป.ช. และสื่อมวลชนในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิตามพระราช-บัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ และสามารถนำไปถ่ายทอดให้ประชาชนสามารถรับรู้ เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยใช้เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐได้อย่างโปร่งใส
สำหรับกิจกรรมประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับการใช้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ แบ่งกลุ่มสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “เครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนเพื่อการมีส่วนร่วมในการบริหารภาครัฐ” รวมถึงประเด็นปัญหาในการใช้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นเครื่องมือในการติดตามการดำเนินงานของภาครัฐ ปัญหา/อุปสรรคในการขอรับข้อมูลข่าวสารของราชการจากหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ นอกจากนี้ การเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนให้มีความเข้มแข็งนำไปใช้ในการตรวจสอบการบริหารงานภาครัฐให้มีความโปร่งใสและเป็น “รัฐโปร่งใส (Open Government Data)” ได้ตามวัตถุประสงค์และนโยบายของรัฐบาล
การตรวจราชการ
การตรวจราชการเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ เพื่อเป็นการประสานราชการระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำนักตรวจราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการตรวจราชการแบบบูรณาการของผู้ตรวจราชการ ซึ่งเป็นการบูรณาการการทำงานตรวจราชการของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวง โดยร่วมกันกำหนดแผนการตรวจราชการและประเด็นการตรวจราชการ ร่วมกันลงพื้นที่ ร่วมกันจัดทำรายงานและร่วมให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยรับตรวจ และร่วมกันดำเนินงานร่วมกับภาคีสนับสนุนการตรวจราชการ ทำให้การตรวจราชการแบบบูรณาการฯ เป็นการปฏิบัติราชการที่เกิดประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจราชการโดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง รวมทั้งสามารถให้ข้อเสนอแนะต่อหน่วยรับตรวจได้อย่างครอบคลุมและกว้างขวาง ทำให้การตรวจราชการแบบบูรณาการฯ เป็นกลไกที่มีความสำคัญของการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน โดยแผนการตรวจราชการแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ประกอบด้วย
๑. การขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล (Issue) ได้แก่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-19) การจัดการสิ่งแวดล้อมสีเขียวเพื่อความยั่งยืน ตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน
๒. การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกิจฐานราก
๓. การติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาสำคัญในเชิงพื้นที่ ได้แก่ การจัดการประมงอย่างยั่งยืน การเตรียมการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำโขง การพัฒนาเมืองสมุนไพร การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และการลดอุบัติเหตุทางถนน
๔. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนหรือข้อร้องเรียนของประชาชน หรือการผลักดันการดำเนินโครงการ/มาตรการสำคัญในเชิงพื้นที่ของส่วนราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดย สำนักตรวจราชการ ได้จัดทำสรุปรายงานผลการตรวจติดตามในลักษณะภาพรวมกราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อทราบ และนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะระดับนโยบายของผู้ตรวจราชการไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายหรือโครงการที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ทั้งนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบและที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายดังกล่าวแล้ว จึงก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ ก่อให้เกิดความประหยัด มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป
การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (หมายความรวมถึงรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค) เป็นเจ้าภาพกำกับและดูแลการดำเนินการแทนนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ทำหน้าที่เป็นเสมือนนายกรัฐมนตรีในพื้นที่ โดยมีผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการที่เกี่ยวข้องเป็นเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน ซึ่งในการทำงานของรองนายกรัฐมนตรีได้มีการทำงานในลักษณะการบูรณาการในทุกมิติ ใช้การบริหารงานระบบเมทริกซ์ ทั้งแนวตั้ง (Vertical) และแนวนอน (Horizontal) ในมิติของกระทรวง (Function) มิติของนโยบาย/ภารกิจด้านต่าง ๆ (Agenda) และมิติของพื้นที่ (Area) โดยปีงบประมาณที่ผ่านมา มีผลการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการดำเนินงานบริการเชิงรุก ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนสร้างสุขให้ประชาชน ดังนี้
๑. รองนายกรัฐมนตรี รวมถึงคณะทำงานรองนายกรัฐมนตรีแต่ละท่าน ได้ลงพื้นที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค รวมทั้งลงพื้นที่เพื่อมอบนโยบายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค และตรวจเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ต่าง ๆ
๒. การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้แก่หน่วยงานของรัฐ ของรองนายกรัฐมนตรี และการขออนุมัติจัดสรรงบประมาณฯเกินวงเงินตามที่คณะกรรมการกำหนด รวมทั้งสิ้น ๑,๕๑๓ โครงการ งบประมาณ ๑,๘๐๔,๑๖๐,๙๐๑ บาท
งานด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยนำร่องของสำนักนายกรัฐมนตรีในการขับเคลื่อนและใช้ระบบ e-Document เพื่อรองรับเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยให้หน่วยงานภายในของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีบูรณาการและขับเคลื่อนการใช้ระบบ e-Document ร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรสมรรถนะสูง โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีใช้งานระบบ e-Document ด้วยระบบสารบรรณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ เป็นต้นมา โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้จัดซื้อใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ Certificate Authority (CA) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนบุคลากรในการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความน่าเชื่อถือระดับสูง และพิสูจน์ทราบว่าเอกสารต้นฉบับไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข การเปิดให้ประชาชนสามารถยื่นแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์ (www.oca.go.th) รวมทั้งจัดทำโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการขอความเห็นชอบแสดงธงชาติที่กระทำโดยเอกชน ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒ ต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ ได้จัดฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ให้แก่ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ อาทิ การใช้ระบบ e-Document ด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี การจัดอบรมการใช้ระบบบริหารครุภัณฑ์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถนำความรู้ที่ได้รับในการฝึกอบรมไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการพัฒนาศักยภาพทางด้านการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและเป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากร เพื่อปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นองค์กรสมรรถนะสูงเข้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
จิตอาสาภาครัฐ
สำนักงานจิตอาสาภาครัฐ สำนักนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานและบูรณาการการขับเคลื่อนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้จัดทำโครงการสนับสนุนการดำเนินงานจิตอาสา เพื่อสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตอาสา ทำความดี ด้วยหัวใจ จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของประชาชน โดยร่วมกับจิตอาสาภาครัฐ และประชาชนจิตอาสาร่วมปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกต้นไม้ และทำความสะอาดศาสนสถาน บริเวณชุมชนเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด (จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดลพบุรี) ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้กำหนดกิจกรรมการให้บริการประชาชนร่วมกับสถาบันอาชีวศึกษา ภายใต้กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา “ศูนย์อาชีวะ ช่วยประชาชน (Fix it Center)” และสนับสนุนการทำความดีเพื่อคนอื่น โดยเชิญชวนประชาชนที่สนใจช่วยเหลือผู้อื่นในสถานการณ์ฉุกเฉินผ่านการอบรมและฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (AED) ผ่านระบบออนไลน์
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศเจตจำนงไม่รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) ร่วมกิจกรรมแสดงจุดยืนในการต่อต้านคอร์รัปชันในทุกรูปแบบของภาคส่วนต่าง ๆ การจัดประกวดคำขวัญต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และนำคำขวัญที่ชนะเลิศ มากำหนดเป็นข้อความท้ายหนังสือราชการภายในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คือ “สุจริต มีจิตสำนึก ยึดถือคุณธรรม รวมพลังต่อต้านทุจริต” การจัดทำประกาศข้อกำหนดจริยธรรมสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี การจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวง โดยคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงในการคัดเลือกหน่วยงานองค์กรคุณธรรมต้นแบบ การสนับสนุนให้ความสำคัญต่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) อยู่ในระดับที่ดี (A) จัดโครงการฝึกปฏิบัติธรรมเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้แก่บุคลากรในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดกิจกรรม “คนดี คนเก่ง คนกล้า สปน.” เพื่อยกย่อง เชิดชู การทำความดีหรือบุคคลผู้มีคุณสมบัติ เหมาะสมในการครองตน ครองคน ครองงาน ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม และผลงานดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล รวมทั้งการจัดกิจกรรมด้าน CSR เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของสังคมไทย ในโครงการบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การศึกษาให้แก่สถานศึกษาที่มีความต้องการผ่านโครงการคนละเครื่อง “พี่แบ่งให้ น้องได้เรียน” ของกระทรวงศึกษาธิการ
โทรศัพท์: ๐-๒๒๘๓-๔๐๐๐
โทรสาร: ๐-๒๒๘๓-๔๒๔๙
อีเมล: saraban@opm.go.th