ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อให้ประเทศมีกำลังคนสมรรถนะสูง มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะชีวิต เป็นคนดี มีวินัย และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ผ่านการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ รวมทั้งแนวโน้มโลกในอนาคต ผ่านผลงาน ดังนี้
๑. สถานศึกษาปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่
๒. ยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยหลักสูตรฐานสมรรถนะ เน้นลงมือทำจริง
๓. ทักษะการอ่าน ทักษะดิจิทัล ทักษะการออม และประวัติศาสตร์
๔. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ด้วย Big Data รองรับผู้เรียนทุกกลุ่มวัย รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายพิเศษและเปราะบาง
๕. การพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อการมีงานทำ มีสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิมาตรฐานสากล และสะสมหน่วยการเรียนรู้ได้
๖. การสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีสมรรถนะดิจิทัล จัดการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และวางแผนการเงินได้
๗. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล เพื่อช่วยในการดำเนินงาน เชื่อมโยง และแบ่งปันข้อมูล และการจัดทำกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ พร้อมสร้างการรับรู้สู่สาธารณะ อย่างทั่วถึง
Active Learning ฝึกคิด เรียนรู้ ลงมือทำจริง
Active Learning คือ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนได้กระทำลงไป เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เน้นเนื้อหาที่จำเป็น จัดเป็น “รายวิชาหลัก” เนื้อหาอื่น ๆ จัดเป็น “รายวิชาบูรณาการ” กำหนดเนื้อหาสาระที่ปรากฏในหลักสูตรเป็น “ตัวชี้วัดต้องรู้” ในส่วนของ “ตัวชี้วัดควรรู้” ให้ฝึกปฏิบัติจริงจากวิถีชีวิต ความรู้ ทักษะ เจตคติ ต่อเนื่องจากเรื่องที่เคยเรียนมาแล้ว ลดการบรรยาย ลดการเรียนหน้าจอ ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะเกิดประสบกาณ์ตรงจากการลงมือทำ ได้สร้างความเข้าใจค้นหาความหมายของเนื้อหาสาระโดยเชี่ยมโยงกับประสบการณ์เดิม ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน ได้พูด ฟัง เขียน อ่าน สะท้อนความคิด ได้คิดและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง สร้างความรู้จากสิ่งที่ได้ปฏิบัติในระหว่างเรียน โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ บรรยากาศการมีส่วนร่วม รวมถึงการอำนวยความสะดวกและการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการทำงานผ่านสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์สมมติ สอดคล้องกับสภาพบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ประจำวันได้ การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning จึงถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ สำหรับผู้เรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.)
กระทรวงศึกษาธิการตระหนักและเห็นความสำคัญกับสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะกลายเป็นวิกฤตหนักของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภาคการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย และเป็นการสร้างคุณค่า ความสุขให้กับผู้สูงวัย โดยส่งเสริมผู้สูงอายุกลุ่มที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ/ทักษะชีวิตเป็นครูสอนอาชีพ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเด็กที่อยู่ในวัยเรียนให้มีความพร้อมทั้งกายใจสติปัญญา พร้อมรองรับการพัฒนาตามช่วงวัยโดยมุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ ช่วยเหลือด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาการศึกษา จึงประกาศการรับสมัครผู้สูงอายุที่สนใจและมีจิตอาสาเป็นอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ขึ้น
อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) เป็นผู้เกษียณอายุ มีจิตอาสา รวมทั้งต้องมีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพต่าง ๆ จะกระจายทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะเป็นบุคลากรสำคัญในการดำเนินการร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยพัฒนากำลังคนทุกกลุ่มวัยในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมคนในอนาคต รวมทั้งกลุ่มผู้สูงวัยด้วย เช่น เป็นครูอาสาสมัครจิตอาสา เพื่อเข้ามาช่วยงานการศึกษา มุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ของเด็กในชุมชน ป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษากลางคัน แก้ไขเสริมสร้างภาวะความรู้ถดถอยในการเรียนรู้ พร้อมเก็บเป็นฐานข้อมูลการเข้าสู่ระบบการศึกษาต่อไป
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการ มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต เพื่อให้ประเทศมีกำลังคนสมรรถนะสูง มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะชีวิต เป็นคนดี มีวินัย และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม ผ่านการจัดการศึกษา ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ รวมทั้งแนวโน้มโลกในอนาคต ผ่านผลงาน ดังนี้
๑. สถานศึกษาปลอดภัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่
๒. ยกระดับคุณภาพการศึกษาด้วยหลักสูตรฐานสมรรถนะ เน้นลงมือทำจริง
๓. ทักษะการอ่าน ทักษะดิจิทัล ทักษะการออม และประวัติศาสตร์
๔. การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ด้วย Big Data รองรับผู้เรียนทุกกลุ่มวัย รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายพิเศษและเปราะบาง
๕. การพัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อการมีงานทำ มีสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิมาตรฐานสากล และสะสมหน่วยการเรียนรู้ได้
๖. การสนับสนุนวิชาชีพครู บุคลากรทางการศึกษาและบุคลากรสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้มีสมรรถนะดิจิทัล จัดการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และวางแผนการเงินได้
๗. การพัฒนาระบบราชการและการบริการภาครัฐยุคดิจิทัล เพื่อช่วยในการดำเนินงาน เชื่อมโยง และแบ่งปันข้อมูล และการจัดทำกฎหมายการศึกษาและแผนการศึกษาแห่งชาติ พร้อมสร้างการรับรู้สู่สาธารณะ อย่างทั่วถึง
Active Learning ฝึกคิด เรียนรู้ ลงมือทำจริง
Active Learning คือ การจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนได้กระทำลงไป เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เน้นเนื้อหาที่จำเป็น จัดเป็น “รายวิชาหลัก” เนื้อหาอื่น ๆ จัดเป็น “รายวิชาบูรณาการ” กำหนดเนื้อหาสาระที่ปรากฏในหลักสูตรเป็น “ตัวชี้วัดต้องรู้” ในส่วนของ “ตัวชี้วัดควรรู้” ให้ฝึกปฏิบัติจริงจากวิถีชีวิต ความรู้ ทักษะ เจตคติ ต่อเนื่องจากเรื่องที่เคยเรียนมาแล้ว ลดการบรรยาย ลดการเรียนหน้าจอ ให้เรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะเกิดประสบกาณ์ตรงจากการลงมือทำ ได้สร้างความเข้าใจค้นหาความหมายของเนื้อหาสาระโดยเชี่ยมโยงกับประสบการณ์เดิม ได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน ได้พูด ฟัง เขียน อ่าน สะท้อนความคิด ได้คิดและลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง สร้างความรู้จากสิ่งที่ได้ปฏิบัติในระหว่างเรียน โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้ชี้แนะประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจ บรรยากาศการมีส่วนร่วม รวมถึงการอำนวยความสะดวกและการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะสามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาการทำงานผ่านสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์สมมติ สอดคล้องกับสภาพบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ประจำวันได้ การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning จึงถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ สำหรับผู้เรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖
อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.)
กระทรวงศึกษาธิการตระหนักและเห็นความสำคัญกับสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะกลายเป็นวิกฤตหนักของประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับภาคการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย และเป็นการสร้างคุณค่า ความสุขให้กับผู้สูงวัย โดยส่งเสริมผู้สูงอายุกลุ่มที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ/ทักษะชีวิตเป็นครูสอนอาชีพ และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานทำและมีรายได้ รวมถึงสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ควบคู่ไปกับการพัฒนาเด็กที่อยู่ในวัยเรียนให้มีความพร้อมทั้งกายใจสติปัญญา พร้อมรองรับการพัฒนาตามช่วงวัยโดยมุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ ช่วยเหลือด้านสวัสดิภาพและความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง ชุมชน และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาการศึกษา จึงประกาศการรับสมัครผู้สูงอายุที่สนใจและมีจิตอาสาเป็นอาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) ขึ้น
อาสาสมัครกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.) เป็นผู้เกษียณอายุ มีจิตอาสา รวมทั้งต้องมีความรู้ ความสามารถในวิชาชีพต่าง ๆ จะกระจายทุกพื้นที่ทั่วประเทศ จะเป็นบุคลากรสำคัญในการดำเนินการร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าไปช่วยพัฒนากำลังคนทุกกลุ่มวัยในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมคนในอนาคต รวมทั้งกลุ่มผู้สูงวัยด้วย เช่น เป็นครูอาสาสมัครจิตอาสา เพื่อเข้ามาช่วยงานการศึกษา มุ่งเน้นการอ่านออกเขียนได้ของเด็กในชุมชน ป้องกันเด็กออกจากระบบการศึกษากลางคัน แก้ไขเสริมสร้างภาวะความรู้ถดถอยในการเรียนรู้ พร้อมเก็บเป็นฐานข้อมูลการเข้าสู่ระบบการศึกษาต่อไป