ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงพลังงาน
กระทรวงพลังงานบริหารจัดการจนสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนได้กว่า ๒ แสนล้านบาท
พร้อมวางแผนพลังงาน ปี ๒๕๖๖ มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมส่งเสริมพลังงานสะอาด
กระทรวงพลังงานได้ระดมสรรพกำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนรวมกว่า ๒๓๘,๐๐๐ ล้านบาท และยังกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานอีกราว ๒๖๐,๐๐๐ ล้านบาท พร้อมทั้งปี ๒๕๖๖ มุ่งเดินหน้าแผนงานด้านพลังงานใน ๔ มิติ ทั้งสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เสริมสร้างเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. ๒๐๖๕
ในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญภาวะความผันผวนด้านพลังงานทั้งปัจจัยจากสถานการณ์สู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน การลดการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกพลัส ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน และค่าครองชีพประชาชนปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงพลังงานได้ดำเนินมาตรการสำคัญๆ หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนด้านราคาพลังงานที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้
ด้านน้ำมัน ได้มีการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในภาคขนส่งและการบริการ โดยใช้กลไกเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้มีการตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ ๓๐ บาทต่อลิตรในช่วงครึ่งปีแรก และ ๓๕ บาทต่อลิตรในช่วงครึ่งปีหลัง โดยกองทุนฯ ได้ใช้เงินอุดหนุนประมาณ ๙๐,๐๐๐ ล้านบาท พร้อมประสานกระทรวงการคลังในการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ๕ บาทต่อลิตร นอกจากนั้น ยังดำเนินโครงการ “วินเซฟ” เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า ๔ หมื่นราย สามารถลดค่าใช้จ่ายได้กว่า ๑๘ ล้านบาท
ด้านก๊าซหุงต้ม ถือว่าเป็นต้นทุนสำคัญในการปรุงอาหารทั้งร้านค้าอาหารและครัวเรือน ซึ่งกระทรวงพลังงานได้มีมาตรการช่วยเหลือด้านราคาตลอดปี ๒๕๖๕ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการตรึงราคาสำหรับครัวเรือน ซึ่งใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุนกว่า ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท และการช่วยเหลือส่วนลดการซื้อก๊าซผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งได้ใช้งบประมาณในการช่วยเหลือราคาก๊าซหุงต้มผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ๖๖๘ ล้านบาท สามารถช่วยเหลือผู้ใช้ก๊าซได้เกือบ ๕ ล้านราย
ด้านไฟฟ้า ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทำให้สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติในช่วงแรกได้น้อยลง จำเป็นต้องนำเข้า LNG มาทดแทน อีกทั้งสงครามรัสเซียยูเครน ส่งผลทำให้ราคา LNG มีราคาผันผวนในระดับสูง กระทรวงพลังงานจึงมีการตั้งคณะอนุกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อเสนอแนะแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่มีราคาถูก การแสวงหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณการจัดหาก๊าซในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีราคาต่ำกว่าราคา LNG เข้าสู่ภาคการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรม ภาคปิโตรเคมี และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) เพื่อไม่ให้กระทบกับค่าไฟฟ้าของประชาชน นอกจากนั้น ยังได้มีมาตรการช่วยเหลือค่า Ft (ค่าไฟฟ้าผันแปร) โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระไปก่อน รวมกว่า ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
ซึ่งในปี ๒๕๖๖ คาดว่าสถานการณ์ความผันผวนด้านพลังงานจะยังคงอยู่ และเพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวเดินหน้าไปได้ต่อเนื่อง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงพลังงาน จะระดมสรรพกำลัง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่ผันผวนให้น้อยที่สุดผ่านทุกมาตรการที่จะสามารถดำเนินการได้
เปิดทิศทางพลังงานปี ๖๖
ทิศทางของนโยบายพลังงานในปี ๒๕๖๖ กระทรวงพลังงานยังคงติดตามสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการพลังงานให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอกับที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้น กระทรวงพลังงานต้องปรับบทบาทองค์กรก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) นอกจากจะต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังต้องเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการดำเนินการหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ทั้งการส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การปรับตัวเพื่อรองรับและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมๆ ไปกับติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์ราคาพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้างพันธมิตรและร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อให้เกิดการลงทุนธุรกิจพลังงานใหม่ๆ ตามเป้าหมาย
สำหรับแผนงานสำคัญของกระทรวงพลังงานในปี ๒๕๖๖ จึงมุ่งสู่พลังงานสะอาดเพื่อตอบโจทย์สังคมยุคไร้คาร์บอน โดยได้วางแผนงานและโครงการแบ่งเป็น ๔ มิติ ประกอบด้วย
มิติที่ ๑ พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยแผนพลังงานชาติและแผนพลังงานรายสาขาใหม่เน้นการส่งเสริมพลังงานสะอาด ตามเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. ๒๐๖๕ มีแผนการลงทุน Grid Modernization ของประเทศฉบับแรก ปลดล็อค ปรับปรุงกฎ กติกา เพื่อส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าสะอาดเชิงพื้นที่ ส่งเสริมการลงทุนรถ EV และสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมทั้งศึกษาศักยภาพ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS)
มิติที่ ๒ พลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ ด้วยการกำหนดแนวทางจัดหาเชื้อเพลิงพลังงานที่ต้นทุนไม่สูง เพื่อช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน จัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการนำเข้า เร่งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมกันนี้ยังส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับหน่วยงานของรัฐ การบังคับใช้เกณฑ์ด้านพลังงานสำหรับการออกแบบอาคารสร้างใหม่ (BEC) เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะเกิดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในมิตินี้กว่า ๒๓๐,๐๐๐ ล้านบาท
มิติที่ ๓ พลังงานลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล/ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยเร่งการลงทุน ๒๐๐ เมกะวัตต์ คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม ๒๐ ปีประมาณ ๓๗,๗๐๐ ล้านบาท และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า ๖๓๐,๗๓๗ ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ในมิตินี้ยังมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกล และที่สำคัญก็คือมาตรการการช่วยเหลือด้านพลังงานแบบเฉพาะให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้มีรายได้น้อย
มิติที่ ๔ การพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ โดยเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานรูปแบบ Interactive Dashboard แสดงข้อมูลเชิงลึกด้านพลังงานผ่านการประมวลผลรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อใช้สื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัลในการดำเนินงานด้านพลังงาน
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงพลังงาน
กระทรวงพลังงานบริหารจัดการจนสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนได้กว่า ๒ แสนล้านบาท
พร้อมวางแผนพลังงาน ปี ๒๕๖๖ มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมส่งเสริมพลังงานสะอาด
กระทรวงพลังงานได้ระดมสรรพกำลังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้ประชาชนรวมกว่า ๒๓๘,๐๐๐ ล้านบาท และยังกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานอีกราว ๒๖๐,๐๐๐ ล้านบาท พร้อมทั้งปี ๒๕๖๖ มุ่งเดินหน้าแผนงานด้านพลังงานใน ๔ มิติ ทั้งสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เสริมสร้างเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำ และพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ ทั้งนี้เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. ๒๐๖๕
ในปี ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญภาวะความผันผวนด้านพลังงานทั้งปัจจัยจากสถานการณ์สู้รบระหว่างรัสเซียและยูเครน การลดการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกพลัส ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน และค่าครองชีพประชาชนปรับตัวสูงขึ้น กระทรวงพลังงานได้ดำเนินมาตรการสำคัญๆ หลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนด้านราคาพลังงานที่เกิดจากปัจจัยดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังนี้
ด้านน้ำมัน ได้มีการตรึงราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญในภาคขนส่งและการบริการ โดยใช้กลไกเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งได้มีการตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ ๓๐ บาทต่อลิตรในช่วงครึ่งปีแรก และ ๓๕ บาทต่อลิตรในช่วงครึ่งปีหลัง โดยกองทุนฯ ได้ใช้เงินอุดหนุนประมาณ ๙๐,๐๐๐ ล้านบาท พร้อมประสานกระทรวงการคลังในการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ๕ บาทต่อลิตร นอกจากนั้น ยังดำเนินโครงการ “วินเซฟ” เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า ๔ หมื่นราย สามารถลดค่าใช้จ่ายได้กว่า ๑๘ ล้านบาท
ด้านก๊าซหุงต้ม ถือว่าเป็นต้นทุนสำคัญในการปรุงอาหารทั้งร้านค้าอาหารและครัวเรือน ซึ่งกระทรวงพลังงานได้มีมาตรการช่วยเหลือด้านราคาตลอดปี ๒๕๖๕ อย่างต่อเนื่อง ทั้งการตรึงราคาสำหรับครัวเรือน ซึ่งใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอุดหนุนกว่า ๑๙,๐๐๐ ล้านบาท และการช่วยเหลือส่วนลดการซื้อก๊าซผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งได้ใช้งบประมาณในการช่วยเหลือราคาก๊าซหุงต้มผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ๖๖๘ ล้านบาท สามารถช่วยเหลือผู้ใช้ก๊าซได้เกือบ ๕ ล้านราย
ด้านไฟฟ้า ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า แต่เนื่องจากมีการเปลี่ยนผ่านผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทำให้สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติในช่วงแรกได้น้อยลง จำเป็นต้องนำเข้า LNG มาทดแทน อีกทั้งสงครามรัสเซียยูเครน ส่งผลทำให้ราคา LNG มีราคาผันผวนในระดับสูง กระทรวงพลังงานจึงมีการตั้งคณะอนุกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อเสนอแนะแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการปรับเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่มีราคาถูก การแสวงหาแนวทางในการเพิ่มปริมาณการจัดหาก๊าซในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีราคาต่ำกว่าราคา LNG เข้าสู่ภาคการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งบริหารจัดการเพื่อลดปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรม ภาคปิโตรเคมี และโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (SPP) เพื่อไม่ให้กระทบกับค่าไฟฟ้าของประชาชน นอกจากนั้น ยังได้มีมาตรการช่วยเหลือค่า Ft (ค่าไฟฟ้าผันแปร) โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระไปก่อน รวมกว่า ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท
ซึ่งในปี ๒๕๖๖ คาดว่าสถานการณ์ความผันผวนด้านพลังงานจะยังคงอยู่ และเพื่อให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวเดินหน้าไปได้ต่อเนื่อง ข้าราชการและเจ้าหน้าที่สังกัดกระทรวงพลังงาน จะระดมสรรพกำลัง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่ผันผวนให้น้อยที่สุดผ่านทุกมาตรการที่จะสามารถดำเนินการได้
เปิดทิศทางพลังงานปี ๖๖
ทิศทางของนโยบายพลังงานในปี ๒๕๖๖ กระทรวงพลังงานยังคงติดตามสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการพลังงานให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอกับที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานจะเพิ่มขึ้น กระทรวงพลังงานต้องปรับบทบาทองค์กรก้าวสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) นอกจากจะต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังต้องเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและการดำเนินการหลายด้านเพื่อขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ทั้งการส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาดให้เป็นไปตามเป้าหมาย การปรับตัวเพื่อรองรับและส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมๆ ไปกับติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์ราคาพลังงาน เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้างพันธมิตรและร่วมมือกับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนการพัฒนา เพื่อให้เกิดการลงทุนธุรกิจพลังงานใหม่ๆ ตามเป้าหมาย
สำหรับแผนงานสำคัญของกระทรวงพลังงานในปี ๒๕๖๖ จึงมุ่งสู่พลังงานสะอาดเพื่อตอบโจทย์สังคมยุคไร้คาร์บอน โดยได้วางแผนงานและโครงการแบ่งเป็น ๔ มิติ ประกอบด้วย
มิติที่ ๑ พลังงานสร้างความมั่นคงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยแผนพลังงานชาติและแผนพลังงานรายสาขาใหม่เน้นการส่งเสริมพลังงานสะอาด ตามเป้าหมายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๐ และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. ๒๐๖๕ มีแผนการลงทุน Grid Modernization ของประเทศฉบับแรก ปลดล็อค ปรับปรุงกฎ กติกา เพื่อส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าสะอาดเชิงพื้นที่ ส่งเสริมการลงทุนรถ EV และสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมทั้งศึกษาศักยภาพ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และการกักเก็บคาร์บอน (CCUS)
มิติที่ ๒ พลังงานเสริมสร้างเศรษฐกิจ ด้วยการกำหนดแนวทางจัดหาเชื้อเพลิงพลังงานที่ต้นทุนไม่สูง เพื่อช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน จัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าการนำเข้า เร่งพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมกันนี้ยังส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสำหรับหน่วยงานของรัฐ การบังคับใช้เกณฑ์ด้านพลังงานสำหรับการออกแบบอาคารสร้างใหม่ (BEC) เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะเกิดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในมิตินี้กว่า ๒๓๐,๐๐๐ ล้านบาท
มิติที่ ๓ พลังงานลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยส่งเสริมการลงทุนโรงไฟฟ้าชีวมวล/ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานเพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยเร่งการลงทุน ๒๐๐ เมกะวัตต์ คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจรวม ๒๐ ปีประมาณ ๓๗,๗๐๐ ล้านบาท และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า ๖๓๐,๗๓๗ ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี ในมิตินี้ยังมีการพัฒนาระบบไฟฟ้าสำหรับพื้นที่เกาะและพื้นที่ห่างไกล และที่สำคัญก็คือมาตรการการช่วยเหลือด้านพลังงานแบบเฉพาะให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้มีรายได้น้อย
มิติที่ ๔ การพัฒนาองค์กรเพื่อให้บริการ โดยเผยแพร่ข้อมูลด้านพลังงานรูปแบบ Interactive Dashboard แสดงข้อมูลเชิงลึกด้านพลังงานผ่านการประมวลผลรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อใช้สื่อสารให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัลในการดำเนินงานด้านพลังงาน