ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์เน้นการพัฒนารูปแบบการให้บริการประชาชนให้สอดรับกับยุคดิจิทัล ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชน ดังนี้
การพัฒนาระบบงานบริการที่สะดวก รวดเร็ว สนองนโยบาย e-Government ของรัฐบาล
๑.ระบบ Smart DIP ลดระยะเวลาบริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ
- จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Fast Track จากเดิม ๑๒ เดือน เหลือ ๔ เดือน
- ต่ออายุเครื่องหมายการค้า จากเดิม ๖๐ วัน เหลือ ๓๐ นาที
- บริการตรวจสอบความเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าด้วยภาพ (Image Search) ทราบผลทันทีภายใน ๒ นาที เพิ่มโอกาสได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ารวดเร็วยิ่งขึ้น
- จดสิทธิบัตรเร่งด่วนประเภทผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากเดิม ๕๕ เดือน เหลือ ๑๒ เดือน
๒.ระบบ DFT SMART Licensing Systems ให้บริการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้า ทำให้ลดเอกสารที่เป็นกระดาษ (Paperless) ลดระยะเวลา และลดต้นทุน
๓.แอพพลิเคชั่น DITP ONE โดยรวมงานบริการด้านการค้าระหว่างประเทศ ๑๓ บริการ ไว้ที่เดียว อาทิ การสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมระบบแจ้งเตือน การตรวจสอบประวัติการเข้าร่วมกิจกรรม การขอรับรางวัลและตราสัญลักษณ์ การค้นหาสถิติการค้า เกาะติดแนวโน้มสินค้าและเทรนด์ตลาดโลกจากทูตพาณิชย์ ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถแชทสนทนา ขอรับคำปรึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศตลอด ๒๔ ชั่วโมงด้วย chatbot เพียงพิมพ์ทักไปหา “น้องใส่ใจ คู่หูผู้ส่งออก”
๔.พัฒนา Platform เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด หรือ MOC Agri Mart โดยบริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับซื้อ – ขายสินค้าเกษตรออนไลน์ ในรูปแบบ B2C และ B2B เปิดให้ประชาชน สามารถซื้อสินค้ากับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรได้โดยตรง ผ่านทางเว็บไซต์ www.mocagrimart.com และ Mobile Application “MOC Agri Mart”
๕.บริการคลังข้อมูลนิติบุคคล (DBD Datawarehouse) ให้เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลนิติบุคคล ประเภทธุรกิจ และข้อมูลธุรกิจต่างๆ เพื่อช่วยในการตรวจสอบความมีตัวตนของนิติบุคคล สถานะปัจจุบันของนิติบุคคล งบการเงิน สำหรับใช้ในการวางแผนและวิเคราะห์แนวโน้มทางธุรกิจ
๖.บริการระบบสารสนเทศเศรษฐกิจการค้า (Trade Intelligence System) โดยจัดทำข้อมูลเศรษฐกิจการค้าเชิงลึกที่สำคัญของประเทศ บนเว็บไซต์ คิดค้า.com ประกอบด้วย ข้อมูลด้านสินค้าเกษตร (Agriculture Dashboard) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจระดับจังหวัด (Province Policy Dashboard) ข้อมูลด้านการค้าระหว่างประเทศ (Global Demand Dashboard) และ ข้อมูลด้านธุรกิจบริการ (Services Dashboard)
การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชน
๑.ประกันรายได้เกษตรกร ปีที่ ๔ (ปี ๒๕๖๕/๖๖) ในสินค้าเกษตร ๕ ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต โดยไม่เป็นการแทรกแซงกลไกตลาด และรัฐไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ ๒.๕๙ ล้านครัวเรือน จ่ายชดเชยส่วนต่าง ๗,๘๔๗.๗๓ ล้านบาท
๒.ยกระดับราคาสินค้าเกษตร (อมก๋อยโมเดล) ผ่านระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ภายใต้มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี ๒๕๖๕ โดยความร่วมมือ ๓ ฝ่าย (ภาครัฐ เกษตรกรและเอกชน) ได้เจรจาเชื่อมโยงซื้อขายผลไม้ (ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าผลไม้/สัญญาข้อตกลง) จำนวน ๑๑ สินค้า อาทิ ส้ม ลำไย ทุเรียน มังคุด สับปะรด ฯลฯ ปริมาณรวม ๑๔๕,๕๗๕ ตัน มูลค่า ๓,๑๕๑.๕๘ ล้านบาท
๓.ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีสินค้า GI ไทย รวม ๑๗๗ สินค้า อาทิ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ส้มโอนครชัยศรี ผ้าตีนจกแม่แจ่ม หมูย่างเมืองตรัง ชามไก่ลำปาง ฯลฯ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมนำเชฟมิชลินลงพื้นที่ภาคอีสาน คัดสรรวัตถุดิบ GI มารังสรรค์เป็นเมนูอาหารสไตล์ฟิวชั่น และต่อยอดแหล่งผลิตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้สู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง
๔.ส่งเสริมผู้ประกอบการให้เป็น BCG Heroes โดยดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืนหรือแนวทาง BCG Economy นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางการเกษตร อาทิ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ การใช้แนวคิดและกระบวนออกแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Design)
๕.สร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมใน FTA ให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมและใช้ประโยชน์จากผลการเจรจา FTA รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อจับคู่ธุรกิจ การเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าไทยกับประเทศคู่ค้าในต่างประเทศ ผ่านการจัดกิจกรรมอบรม สัมมนา การลงพื้นที่พบผู้ผลิตและผู้ประกอบการ และการจัดงาน FTA Fair ในกรุงเทพฯ และภูมิภาค
๖.ดูแลค่าครองชีพประชาชน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนทั่วประเทศ (ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ห้างค้าส่งค้าปลีก ร้านค้าชุมชน ร้านอาหาร Platform ร่วมลดราคาสินค้าและบริการ) ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการพาณิชย์... ลดราคา! ช่วยประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัดลดค่าครองชีพเพื่อประชาชน จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชนในราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ร้อยละ ๒๐-๔๐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถลดค่าครองชีพประชาชนกว่า ๔,๐๐๐ ล้านบาท
ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกระทรวงพาณิชย์
กระทรวงพาณิชย์เน้นการพัฒนารูปแบบการให้บริการประชาชนให้สอดรับกับยุคดิจิทัล ที่ต้องการความสะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชน ดังนี้
การพัฒนาระบบงานบริการที่สะดวก รวดเร็ว สนองนโยบาย e-Government ของรัฐบาล
๑.ระบบ Smart DIP ลดระยะเวลาบริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ
- จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Fast Track จากเดิม ๑๒ เดือน เหลือ ๔ เดือน
- ต่ออายุเครื่องหมายการค้า จากเดิม ๖๐ วัน เหลือ ๓๐ นาที
- บริการตรวจสอบความเหมือนคล้ายเครื่องหมายการค้าด้วยภาพ (Image Search) ทราบผลทันทีภายใน ๒ นาที เพิ่มโอกาสได้รับความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ารวดเร็วยิ่งขึ้น
- จดสิทธิบัตรเร่งด่วนประเภทผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากเดิม ๕๕ เดือน เหลือ ๑๒ เดือน
๒.ระบบ DFT SMART Licensing Systems ให้บริการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการส่งออก-นำเข้าสินค้า ทำให้ลดเอกสารที่เป็นกระดาษ (Paperless) ลดระยะเวลา และลดต้นทุน
๓.แอพพลิเคชั่น DITP ONE โดยรวมงานบริการด้านการค้าระหว่างประเทศ ๑๓ บริการ ไว้ที่เดียว อาทิ การสมัครเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมระบบแจ้งเตือน การตรวจสอบประวัติการเข้าร่วมกิจกรรม การขอรับรางวัลและตราสัญลักษณ์ การค้นหาสถิติการค้า เกาะติดแนวโน้มสินค้าและเทรนด์ตลาดโลกจากทูตพาณิชย์ ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถแชทสนทนา ขอรับคำปรึกษาด้านการค้าระหว่างประเทศตลอด ๒๔ ชั่วโมงด้วย chatbot เพียงพิมพ์ทักไปหา “น้องใส่ใจ คู่หูผู้ส่งออก”
๔.พัฒนา Platform เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด หรือ MOC Agri Mart โดยบริการตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับซื้อ – ขายสินค้าเกษตรออนไลน์ ในรูปแบบ B2C และ B2B เปิดให้ประชาชน สามารถซื้อสินค้ากับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ผู้ประกอบการสินค้าเกษตรได้โดยตรง ผ่านทางเว็บไซต์ www.mocagrimart.com และ Mobile Application “MOC Agri Mart”
๕.บริการคลังข้อมูลนิติบุคคล (DBD Datawarehouse) ให้เป็นแหล่งค้นหาข้อมูลนิติบุคคล ประเภทธุรกิจ และข้อมูลธุรกิจต่างๆ เพื่อช่วยในการตรวจสอบความมีตัวตนของนิติบุคคล สถานะปัจจุบันของนิติบุคคล งบการเงิน สำหรับใช้ในการวางแผนและวิเคราะห์แนวโน้มทางธุรกิจ
๖.บริการระบบสารสนเทศเศรษฐกิจการค้า (Trade Intelligence System) โดยจัดทำข้อมูลเศรษฐกิจการค้าเชิงลึกที่สำคัญของประเทศ บนเว็บไซต์ คิดค้า.com ประกอบด้วย ข้อมูลด้านสินค้าเกษตร (Agriculture Dashboard) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจระดับจังหวัด (Province Policy Dashboard) ข้อมูลด้านการค้าระหว่างประเทศ (Global Demand Dashboard) และ ข้อมูลด้านธุรกิจบริการ (Services Dashboard)
การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชน
๑.ประกันรายได้เกษตรกร ปีที่ ๔ (ปี ๒๕๖๕/๖๖) ในสินค้าเกษตร ๕ ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพารา เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับต้นทุนการผลิต โดยไม่เป็นการแทรกแซงกลไกตลาด และรัฐไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ ๒.๕๙ ล้านครัวเรือน จ่ายชดเชยส่วนต่าง ๗,๘๔๗.๗๓ ล้านบาท
๒.ยกระดับราคาสินค้าเกษตร (อมก๋อยโมเดล) ผ่านระบบเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) ภายใต้มาตรการบริหารจัดการผลไม้ ปี ๒๕๖๕ โดยความร่วมมือ ๓ ฝ่าย (ภาครัฐ เกษตรกรและเอกชน) ได้เจรจาเชื่อมโยงซื้อขายผลไม้ (ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าผลไม้/สัญญาข้อตกลง) จำนวน ๑๑ สินค้า อาทิ ส้ม ลำไย ทุเรียน มังคุด สับปะรด ฯลฯ ปริมาณรวม ๑๔๕,๕๗๕ ตัน มูลค่า ๓,๑๕๑.๕๘ ล้านบาท
๓.ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีสินค้า GI ไทย รวม ๑๗๗ สินค้า อาทิ ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ ส้มโอนครชัยศรี ผ้าตีนจกแม่แจ่ม หมูย่างเมืองตรัง ชามไก่ลำปาง ฯลฯ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกว่า ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมนำเชฟมิชลินลงพื้นที่ภาคอีสาน คัดสรรวัตถุดิบ GI มารังสรรค์เป็นเมนูอาหารสไตล์ฟิวชั่น และต่อยอดแหล่งผลิตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างรายได้สู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง
๔.ส่งเสริมผู้ประกอบการให้เป็น BCG Heroes โดยดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืนหรือแนวทาง BCG Economy นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรชีวภาพและผลผลิตทางการเกษตร อาทิ การนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ การใช้แนวคิดและกระบวนออกแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Design)
๕.สร้างความรู้ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมใน FTA ให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมและใช้ประโยชน์จากผลการเจรจา FTA รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อจับคู่ธุรกิจ การเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าไทยกับประเทศคู่ค้าในต่างประเทศ ผ่านการจัดกิจกรรมอบรม สัมมนา การลงพื้นที่พบผู้ผลิตและผู้ประกอบการ และการจัดงาน FTA Fair ในกรุงเทพฯ และภูมิภาค
๖.ดูแลค่าครองชีพประชาชน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนทั่วประเทศ (ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ห้างค้าส่งค้าปลีก ร้านค้าชุมชน ร้านอาหาร Platform ร่วมลดราคาสินค้าและบริการ) ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการพาณิชย์... ลดราคา! ช่วยประชาชน โครงการธงฟ้าราคาประหยัดลดค่าครองชีพเพื่อประชาชน จำหน่ายสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชนในราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ร้อยละ ๒๐-๔๐ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถลดค่าครองชีพประชาชนกว่า ๔,๐๐๐ ล้านบาท