กระทรวงแรงงาน
Ministry of Labour

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมการจัดหางาน

ภารกิจด้านการส่งเสริมการมีงานทำ
               
๑. สร้างเครือข่าย สร้างอนาคตให้แรงงานไทย ภายใต้โครงการ ๓ ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม)
               เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในรูปแบบประชารัฐ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นระหว่างการทำงาน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย สถานประกอบการมีกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ และมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ สามารถพัฒนาธุรกิจได้อย่างยั่งยืน สถานศึกษาสามารถกำหนดหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการของประชาชนผู้ต้องการมีงานทำ และสถานประกอบการ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงแรงงานที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
               ผลการดำเนินงาน (ต.ค.๖๔ - ก.ย.๖๕) ผู้สมัครงาน จำนวน ๒,๑๔๖ คน ได้รับการบรรจุงาน จำนวน ๑,๗๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๗.๓๐ ของเป้าหมาย

               ๒. โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs
               เพื่อลดปัญหาการว่างงาน โดยให้นายจ้างรักษาระดับการจ้างงานเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างสัญชาติไทยในธุรกิจ SMEs ไม่ให้ถูกเลิกจ้าง มีรายได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับโอกาสในการจ้างงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเสริมสภาพคล่อง สร้างความแข็งแรงและฟื้นฟูกิจการในธุรกิจ SMEs ให้ดำเนินกิจการได้ต่อเนื่อง
               ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - พ.ย. ๖๕)
                   - การรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทย : นายจ้าง จำนวน ๒๔๐,๗๑๘ แห่ง ลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวน ๓,๒๕๖,๑๓๘ คน เป็นเงินจำนวน ๒๖,๔๘๘,๓๒๖,๐๐๐ บาท
                   - การส่งเสริมการจ้างงานใหม่ : นายจ้าง จำนวน ๔๒,๖๗๗ แห่ง ลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวน ๑๗๖,๙๘๗ คน เป็นเงินจำนวน ๕๓๐,๙๖๑,๐๐๐ บาท

               ๓. โครงการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
               เพื่อสร้างโอกาสคนพิการมีงานทำ มีรายได้สามารถดูแลตนเองและครอบครัว และเพื่อให้นายจ้าง/สถานประกอบการที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา ๓๔ ให้เปลี่ยนมาจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับคนพิการโดยตรง
               ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - ส.ค. ๖๕) นายจ้าง/สถานประกอบการประสงค์ให้สิทธิคนพิการ จำนวน ๑๙๖ แห่ง คนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้เข้ารับสิทธิ จำนวน ๑,๔๙๙ คน หน่วยบริการสาธารณะทั่วประเทศ จำนวน ๑,๐๓๒ แห่ง ก่อให้เกิดมูลค่าการจ้างงาน ๑๗๑,๒๕๓,๒๕๕ บาท

               ๔. กิจกรรมปล่อยเงินกู้กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน 
               เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านกู้ยืมไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิต หรือใช้ขยายการผลิต เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้าน
               ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - ก.ย. ๖๕)  ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้รับเงินกู้ จำนวน ๓ ราย/๒๗ กลุ่ม เป็นเงินจำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท

 

ภารกิจส่งเสริมการไปทำงานในต่างประเทศ
               ๑. การให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศยูเครน
               
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ที่ผ่านมา สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียทวีความรุนแรงขึ้น และรัฐบาลยูเครนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยรัสเซียเคลื่อนกองกำลังเข้าสู่ยูเครน ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศยูเครนต้องเร่งอพยพเดินทางกลับประเทศไทย
               โดยคนงานที่เป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีประสบปัญหาเนื่องจากเหตุภัยสงคราม รายละ ๑๕,๐๐๐ บาท
               ผลการดำเนินงาน จ่ายเงินให้แก่คนงานที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ จำนวน ๑๘๑ คน เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๒,๗๑๕,๐๐๐ บาท (สองล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

               ๒. การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย               
               นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ร่วมคณะของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างสองประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ ๒๐๓๐ (Vision ๒๐๓๐) ของซาอุดีอาระเบีย และวาระการพัฒนาแห่งชาติของไทย
               วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๕ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมลงนามกับนายอาหมัด สุไลมาน อัลรัจจี (H.E. Ahmad Sulaiman AL Rajhi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดีอาระเบีย ในข้อตกลงด้านแรงงาน จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่ ๑. ความตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงาน หมายถึง แรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือ ๒. ความตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงานในบ้าน โดยแรงงานในบ้าน (Domestic Workers)
               ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - พ.ย. ๖๕) ความต้องการแรงงานจากนายจ้างในซาอุดีอาระเบีย จำนวน ๑๖ บริษัท รวม ๓๑ ตำแหน่ง ๒,๗๓๖ อัตรา คนหางานลงทะเบียนไปทำงาน จำนวน ๓,๐๕๕ คน จัดส่งคนหางานไปทำงานแล้ว จำนวน ๕ คน

               ๓. การให้บริการจัดหางานต่างประเทศ
               การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ เป็นนโยบายที่สำคัญในการส่งเสริมการมีงานทำ นอกจากจะช่วยให้แรงงานไทยสามารถมีอาชีพ มีรายได้ บรรเทาปัญหาการว่างงานภายในประเทศ และนำเงินตราเข้าประเทศแล้ว แรงงานไทยยังได้รับประสบการณ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้
               ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - ก.ย. ๖๕)
               ๑. คนหางานได้รับบริการด้านการจัดหางานต่างประเทศ จำนวน ๗๑,๗๕๓ คน แยกเป็น
                   - พิจารณาคำขอการจัดส่งคนหางานและพาลูกจ้างไปทำงาน/ฝึกงานต่างประเทศ จำนวน ๓๕,๖๙๔ คน
                   - จัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐ จำนวน ๑๑,๗๔๕ คน
                   - รับแจ้งการเดินทางด้วยตนเองและเดินทางกลับไปทำงานต่างประเทศ จำนวน ๒๔,๓๑๔ คน
               ๒. คนหางานมีรายได้ส่งกลับประเทศ จำนวน ๒๓๗,๒๒๖ ล้านบาท

 

ภารกิจด้านการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว
               โครงการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการ
               
เพื่อให้การพิจารณาอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นการควบคุมและตรวจสอบคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยให้ดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว คนต่างด้าวต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนตรวจสอบเพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
               ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - ก.ย. ๖๕)
                   - คนต่างด้าวได้รับการตรวจสอบให้ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน ๓๕๘,๕๐๘ คน
                   - นายจ้าง/สถานประกอบการ ได้รับการตรวจสอบให้ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน ๔๑,๖๓๒ แห่ง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมการจัดหางาน

ภารกิจด้านการส่งเสริมการมีงานทำ
       
๑. สร้างเครือข่าย สร้างอนาคตให้แรงงานไทย ภายใต้โครงการ ๓ ม. (มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม)
       เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในรูปแบบประชารัฐ เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นระหว่างการทำงาน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย สถานประกอบการมีกำลังแรงงานที่มีคุณภาพ และมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ สามารถพัฒนาธุรกิจได้อย่างยั่งยืน สถานศึกษาสามารถกำหนดหลักสูตรการศึกษาให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการของประชาชนผู้ต้องการมีงานทำ และสถานประกอบการ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงแรงงานที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
       ผลการดำเนินงาน (ต.ค.๖๔ - ก.ย.๖๕) ผู้สมัครงาน จำนวน ๒,๑๔๖ คน ได้รับการบรรจุงาน จำนวน ๑,๗๑๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๗.๓๐ ของเป้าหมาย

       ๒. โครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs
       เพื่อลดปัญหาการว่างงาน โดยให้นายจ้างรักษาระดับการจ้างงานเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างสัญชาติไทยในธุรกิจ SMEs ไม่ให้ถูกเลิกจ้าง มีรายได้อย่างต่อเนื่อง และได้รับโอกาสในการจ้างงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเสริมสภาพคล่อง สร้างความแข็งแรงและฟื้นฟูกิจการในธุรกิจ SMEs ให้ดำเนินกิจการได้ต่อเนื่อง
       ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - พ.ย. ๖๕)
           - การรักษาระดับการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทย : นายจ้าง จำนวน ๒๔๐,๗๑๘ แห่ง ลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวน ๓,๒๕๖,๑๓๘ คน เป็นเงินจำนวน ๒๖,๔๘๘,๓๒๖,๐๐๐ บาท
           - การส่งเสริมการจ้างงานใหม่ : นายจ้าง จำนวน ๔๒,๖๗๗ แห่ง ลูกจ้างสัญชาติไทย จำนวน ๑๗๖,๙๘๗ คน เป็นเงินจำนวน ๕๓๐,๙๖๑,๐๐๐ บาท

       ๓. โครงการส่งเสริมการจ้างงานคนพิการเชิงสังคม
       เพื่อสร้างโอกาสคนพิการมีงานทำ มีรายได้สามารถดูแลตนเองและครอบครัว และเพื่อให้นายจ้าง/สถานประกอบการที่ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการตามมาตรา ๓๔ ให้เปลี่ยนมาจ้างงานคนพิการเชิงสังคม ซึ่งจะเกิดประโยชน์กับคนพิการโดยตรง
       ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - ส.ค. ๖๕) นายจ้าง/สถานประกอบการประสงค์ให้สิทธิคนพิการ จำนวน ๑๙๖ แห่ง คนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้เข้ารับสิทธิ จำนวน ๑,๔๙๙ คน หน่วยบริการสาธารณะทั่วประเทศ จำนวน ๑,๐๓๒ แห่ง ก่อให้เกิดมูลค่าการจ้างงาน ๑๗๑,๒๕๓,๒๕๕ บาท

       ๔. กิจกรรมปล่อยเงินกู้กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน 
       เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านกู้ยืมไปซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ในการผลิต หรือใช้ขยายการผลิต เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้รับงานไปทำที่บ้าน
       ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - ก.ย. ๖๕)  ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้รับเงินกู้ จำนวน ๓ ราย/๒๗ กลุ่ม เป็นเงินจำนวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท

 

ภารกิจส่งเสริมการไปทำงานในต่างประเทศ
       ๑. การให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่เดินทางกลับจากประเทศยูเครน
       
เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๕ ที่ผ่านมา สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซียทวีความรุนแรงขึ้น และรัฐบาลยูเครนประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยรัสเซียเคลื่อนกองกำลังเข้าสู่ยูเครน ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยที่ทำงานอยู่ในประเทศยูเครนต้องเร่งอพยพเดินทางกลับประเทศไทย
       โดยคนงานที่เป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานต่างประเทศ มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์กรณีประสบปัญหาเนื่องจากเหตุภัยสงคราม รายละ ๑๕,๐๐๐ บาท
       ผลการดำเนินงาน จ่ายเงินให้แก่คนงานที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ จำนวน ๑๘๑ คน เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๒,๗๑๕,๐๐๐ บาท (สองล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

       ๒. การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในซาอุดีอาระเบีย       
       นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ร่วมคณะของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย เพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างสองประเทศ ภายใต้วิสัยทัศน์ ๒๐๓๐ (Vision ๒๐๓๐) ของซาอุดีอาระเบีย และวาระการพัฒนาแห่งชาติของไทย
       วันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๕ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมลงนามกับนายอาหมัด สุไลมาน อัลรัจจี (H.E. Ahmad Sulaiman AL Rajhi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดีอาระเบีย ในข้อตกลงด้านแรงงาน จำนวน ๒ ฉบับ ได้แก่ ๑. ความตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงาน หมายถึง แรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือ ๒. ความตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงานในบ้าน โดยแรงงานในบ้าน (Domestic Workers)
       ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - พ.ย. ๖๕) ความต้องการแรงงานจากนายจ้างในซาอุดีอาระเบีย จำนวน ๑๖ บริษัท รวม ๓๑ ตำแหน่ง ๒,๗๓๖ อัตรา คนหางานลงทะเบียนไปทำงาน จำนวน ๓,๐๕๕ คน จัดส่งคนหางานไปทำงานแล้ว จำนวน ๕ คน

       ๓. การให้บริการจัดหางานต่างประเทศ
       การจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ เป็นนโยบายที่สำคัญในการส่งเสริมการมีงานทำ นอกจากจะช่วยให้แรงงานไทยสามารถมีอาชีพ มีรายได้ บรรเทาปัญหาการว่างงานภายในประเทศ และนำเงินตราเข้าประเทศแล้ว แรงงานไทยยังได้รับประสบการณ์และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศได้
       ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - ก.ย. ๖๕)
       ๑. คนหางานได้รับบริการด้านการจัดหางานต่างประเทศ จำนวน ๗๑,๗๕๓ คน แยกเป็น
           - พิจารณาคำขอการจัดส่งคนหางานและพาลูกจ้างไปทำงาน/ฝึกงานต่างประเทศ จำนวน ๓๕,๖๙๔ คน
           - จัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยรัฐ จำนวน ๑๑,๗๔๕ คน
           - รับแจ้งการเดินทางด้วยตนเองและเดินทางกลับไปทำงานต่างประเทศ จำนวน ๒๔,๓๑๔ คน
       ๒. คนหางานมีรายได้ส่งกลับประเทศ จำนวน ๒๓๗,๒๒๖ ล้านบาท

 

ภารกิจด้านการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว
       โครงการตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการ
       
เพื่อให้การพิจารณาอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นการควบคุมและตรวจสอบคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยให้ดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งเมื่อได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว คนต่างด้าวต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนตรวจสอบเพื่อป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
       ผลการดำเนินงาน (ต.ค. ๖๔ - ก.ย. ๖๕)
           - คนต่างด้าวได้รับการตรวจสอบให้ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน ๓๕๘,๕๐๘ คน
           - นายจ้าง/สถานประกอบการ ได้รับการตรวจสอบให้ปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน ๔๑,๖๓๒ แห่ง

กรมการจัดหางาน
กรมการจัดหางาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๒๔๗ ๙๔๒๓ , ๐ ๒๒๔๘ ๔๗๔๓ , สายด่วน ๑๕๐๖ กด ๒ และ ๑๖๔๙ ศูนย์มิตรไมตรี

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อาคาร 10 ชั้น ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๒๔๕ ๑๗๐๗ , สายด่วน ๑๕๐๖ กด ๔

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

๑. โครงการ/กิจกรรม การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงาน ป.ป.ช.
              ๑.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมาของโครงการ
             
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นมา โดยเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศเข้าร่วมการประเมินฯ เพื่อให้หน่วยงานได้รับทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาองค์กรและการปฏิบัติงานให้มีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้โปร่งใสมากขึ้นและนำไปสู่การยกระดับดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทยให้สูงขึ้นและเพื่อขับเคลื่อนให้หน่วยงานภาครัฐมีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้   ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต ตัวชี้วัดร้อยละของหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA ค่าเป้าหมาย ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ คือ ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินฯ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ จะต้องมีคะแนน ๘๕ คะแนนขึ้นไป โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
              ๑.๒ วิธีการดำเนินงาน
             
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมฯ เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) โดยดำเนินการตามกรอบแนวทาง และเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด ดังนี้
              ๑) สำนักงาน ป.ป.ช. มีประกาศ เรื่อง ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕  ฉบับลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินฯ ใช้ประกอบการวางแผนและดำเนินการการประเมินตามขั้นตอนและช่วงเวลาที่กำหนด
              ๒) คณะทำงานขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบประจำกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน ได้ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕ โดยที่ประชุมรับทราบกรอบแนวทางและเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐฯ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด และมีมติเห็นชอบให้นายสมพจน์ กวางแก้ว รองอธิบดี ทำหน้าที่ ในฐานะผู้บริหารที่รับผิดชอบการประเมิน ITA ของกรมฯ โดยตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัตินำข้อมูลเข้าสู่ระบบ ITAS และมอบหมายกองการเจ้าหน้าที่  ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ทำหน้าที่ Admin ดูแลระบบการประเมิน ITA ของกรมฯ ดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อยและครบถ้วนของข้อมูล จัดเตรียมข้อมูลจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) และประสานสำนัก/กอง หรือเทียบเท่า และ สรพ.เพื่อจัดเตรียมข้อมูลผู้มีส่วนได้  ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) โดยให้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Integrity and Transparency Assessment System : ITAS) ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบและเตรียมความพร้อมการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) ทางเว็บไซต์ ผ่านระบบ ITAS  ของสำนักงาน ป.ป.ช.
              ๓) รองอธิบดี (นายสมพจน์ กวางแก้ว) ในฐานะผู้บริหารที่รับผิดชอบการประเมินของกรมฯ ได้ตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติข้อมูลจำนวนบุคลากรกรมฯ สังกัดส่วนกลางที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป จำนวน ๘๔๙ ราย และอนุมัตินำข้อมูลผู้รับบริการจากกรมฯ จำนวน ๗๖๘ ราย เข้าสู่ระบบ ITAS ของสำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกในการตอบแบบสำรวจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
              ๔) คณะทำงานขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบประจำกรมสวัสดิการ    และคุ้มครองแรงงาน ได้ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๕ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้หน่วยงาน  สังกัดส่วนกลางประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกตอบแบบสำรวจฯ ให้แล้วเสร็จภาย ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ รวมทั้งเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์กรมฯ ให้แล้วเสร็จ เป็นปัจจุบัน ภายในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๕ เพื่อรองรับการตรวจประเมินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)
              ๑.๓ กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมาย/ผลการดำเนินงาน
             
กรมฯ ได้เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน โดยการประเมิน มีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้รับทราบถึงสถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้หน่วยงานภาครัฐนำผลการประเมินฯ ไปใช้ประกอบการปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน การให้บริการ การอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อประชาชน เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น
              สำนักงาน ป.ป.ช. มีประกาศ เรื่อง ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ฉบับลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕ โดยผลการประเมินกรมฯ ได้คะแนนภาพรวม ๙๔.๓๓ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน อยู่ในระดับ A (ดี) ซึ่งมีคะแนนลดลงจากปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๑.๒๖ คะแนน โดยรายละเอียดผลการประเมินสามารถจำแนกได้จากเครื่องมือแบบวัด ๓ ส่วน ดังนี้
              ส่วนที่ ๑ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในหน่วยงานภาครัฐทุกระดับที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า ๑ ปี ได้สะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อคุณธรรมและความโปร่งใส ของหน่วยงาน จากการตอบแบบสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ทางระบบ ITAS ประกอบด้วย ๕ ตัวชี้วัด ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ ได้คะแนน ๙๙.๐๔ คะแนน การแก้ไขปัญหาการทุจริต ได้คะแนน ๙๘.๓๐ คะแนน การใช้งบประมาณ  ได้คะแนน ๙๗.๖๒ คะแนน การใช้อำนาจ ได้คะแนน ๙๗.๓๑ คะแนน และการใช้ทรัพย์สินของราชการ ได้คะแนน ๙๖.๗๗ คะแนน โดยได้คะแนนเฉลี่ย ๙๗.๘๐ คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๐.๒๘ คะแนน
              ส่วนที่ ๒ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐได้สะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน จากการตอบแบบสำรวจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ทางระบบ ITAS ประกอบด้วย ๓ ตัวชี้วัด ได้แก่ คุณภาพการดำเนินงาน ได้คะแนน ๙๓.๒๗ คะแนน ประสิทธิภาพการสื่อสาร ได้คะแนน ๘๗.๙๗ คะแนน และการปรับปรุงการทำงาน ได้คะแนน ๘๖.๘๒ คะแนน โดยได้คะแนนเฉลี่ย ๘๙.๓๕ คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๑.๕๗ คะแนน
              ส่วนที่ ๓ แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) โดยเป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เผยแพร่ไว้ทางหน้าเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน ซึ่งประชาชนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ โดยได้คะแนนเฉลี่ย ๙๕.๔๔ คะแนน ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔.๕๖ คะแนน ประกอบด้วย ๒ ตัวชี้วัด ได้แก่
              ตัวชี้วัดที่ ๑ การเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย ๕ ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารงาน การบริหารเงินงบประมาณ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการส่งเสริมความโปร่งใสและการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้คะแนน ๙๗.๑๔ คะแนน
              ตัวชี้วัดที่ ๒ การป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย ๒ ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต และมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต ได้คะแนน ๙๓.๗๕ คะแนน
              ๑.๔ ผลสัมฤทธิ์
             
ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมฯ ได้คะแนนภาพรวม ๙๔.๓๓ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน อยู่ในระดับ A (ดี) โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ได้สรุปภาพรวมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของกรมฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เห็นว่า กรมฯ มีผลการประเมินอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีเป้าหมายหลักเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งนี้ ผู้ตรวจประเมินได้มีข้อเสนอแนะ ให้กรมฯ ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดจำแนกได้จากเครื่องมือแบบวัด ๓ ส่วน ดังนี้
              ส่วนที่ ๑ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามตัวชี้วัดการใช้ทรัพย์สินของราชการ โดยเฉพาะประเด็นบุคลากรในหน่วยงานบางรายมีการขอยืมทรัพย์สิน ของทางราชการไปใช้ปฏิบัติงานอย่างไม่ถูกต้อง ประเด็นบุคลากรในหน่วยงานบางรายยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างถูกต้อง และประเด็นบุคคลภายนอก/ภาคเอกชนมีการขอยืมทรัพย์สิน  ของทางราชการไปใช้ปฏิบัติงานอย่างไม่ถูกต้อง
              ส่วนที่ ๒ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามตัวชี้วัดการปรับปรุงระบบการทำงาน โดยเฉพาะประเด็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้ดีขึ้น ประเด็นการปรับปรุงการดำเนินงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ประเด็นการปรับปรุงคุณภาพและการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน/การให้บริการของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานให้ดีขึ้น
              ส่วนที่ ๓ แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) ผลการประเมินที่ไม่ได้รับคะแนน จำนวน ๒ ข้อ ได้แก่ ๑) ข้อ ๐๒๐ รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมีข้อเสนอแนะว่ารายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ๒๕๖๔ ขาดองค์ประกอบการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการใช้จ่ายงบประมาณ และ ๒) ข้อ ๐๓๗ การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต มีข้อเสนอแนะว่าไม่ปรากฏกิจกรรมหรือการดำเนินการที่แสดงถึงการจัดการความเสี่ยง ซึ่งภาพกิจกรรมของโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรมฯ ที่หน่วยงานใช้ตอบเป็นเพียงกิจกรรมการประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี และ ไม่สอดคล้องกับมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี 

 

๒. โครงการ/กิจกรรม การประเมินองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
              ๒.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมาของโครงการ
             
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมคุณธรรมในทุกภาคส่วน และมีนโยบายส่งเสริมการขับเคลื่อนคุณธรรมในระดับชุมชน องค์กร อำเภอและจังหวัด และกำหนดให้มีการดำเนินการประเมินองค์กรคุณธรรม โดยกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินที่มีมาตรฐานกลางในการประเมินความสำเร็จ ๓ ระดับ คือ ระดับส่งเสริมคุณธรรม ระดับคุณธรรม และระดับคุณธรรมต้นแบบ เพื่อบ่งบอกถึงกระบวนการในการพัฒนาคุณธรรมที่ได้มาตรฐาน และมอบรางวัลเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ เสริมแรงจูงใจให้กับทุกภาคส่วนในการส่งเสริม พัฒนา และขับเคลื่อนงานด้านคุณธรรม เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งจะเป็นกลไกหลัก  ในการขับเคลื่อนและส่งเสริมความดีงามให้เกิดขึ้นในทุก ๆ ภาคส่วนของสังคม โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีหนังสือเชิญชวนให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเข้าร่วมการประเมินองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
              ๒.๒ วิธีการดำเนินงาน
             
การประเมินองค์กรคุณธรรม
              องค์กรคุณธรรม หมายถึง องค์กรหรือหน่วยงานที่ผู้นำและสมาชิกขององค์กรแสดงเจตนารมณ์ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมในองค์กร ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามมาเป็นหลักในการดำรงชีวิต ตลอดจนมีส่วนร่วมรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรมให้กับประชาชน ชุมชน หรือเครือข่ายต่าง ๆ แบ่งตามพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ
              ๑) องค์กรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดทุกจังหวัด อาทิ ส่วนราชการสังกัดส่วนภูมิภาคและสังกัดส่วนกลางที่มีที่ทำการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดที่ไม่ต่ำกว่าระดับสำนัก/กองหรือเทียบเท่า (มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรภาคเอกชน สมาคม โรงเรียน สถานีตำรวจ โรงพยาบาล โรงงาน ฯลฯ ในแต่ละจังหวัด
              ๒) องค์กรที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและองค์กรในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่
                            - ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นในสังกัดกระทรวง ที่ไม่ต่ำกว่า  ระดับสำนัก/กองหรือเทียบเท่า (มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า)
                            - องค์กรอิสระ องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรภาคเอกชน สมาคม ฯลฯ ในกรุงเทพมหานคร
                            - ส่วนราชการและหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นในสังกัดกรุงเทพมหานคร ไม่ต่ำกว่าระดับสำนัก/กอง   หรือเทียบเท่า (มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า)
              ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม
              การประเมินองค์กรคุณธรรม เป็นกระบวนกรสำคัญนำไปสู่การส่งเสริม พัฒนาและยกระดับองค์กรให้ดีขึ้น แบ่งเป็น ๙ ตัวชี้วัด ๓ ระดับ คือ
              ระดับที่ ๑ องค์กรส่งเสริมคุณธรรม
             
ดำเนินการข้อ ๑ - ๓ ทุกข้อ ไม่น้อยกว่าข้อละ ๑ คะแนน รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๔ คะแนน
              กรณีองค์กรระดับกรมหรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลประเมินองค์กรในสังกัดที่ไม่ต่ำกว่าสำนัก/กองหรือเทียบเท่า (ที่มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) ที่ประเมินได้ ในระดับส่งเสริมคุณธรรม จำนวนไม่น้อยกว่า ๘๐ %
              ระดับที่ ๒ องค์กรคุณธรรม
             
ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับที่ ๑ และดำเนินการข้อ ๔ - ๖ ทุกข้อ ไม่น้อยกว่าข้อละ ๑ คะแนน รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๔ คะแนน โดยมีผลรวมคะแนนข้อ ๑ - ๖ ไม่น้อยกว่า ๘ คะแนน
             
กรณีองค์กรระดับกรมหรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลประเมินองค์กรในสังกัดที่ไม่ต่ำกว่าสำนัก/กองหรือเทียบเท่า        (ที่มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) ที่ประเมินได้ ในระดับคุณธรรม จำนวนไม่น้อยกว่า ๗๐%
              ระดับที่ ๓ องค์กรคุณธรรมต้นแบบ
             
ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับที่ ๑ ระดับที่ ๒ และดำเนินการข้อ ๗ - ๙ ทุกข้อ ไม่น้อยกว่าข้อละ ๑ คะแนน รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๔ คะแนน โดยมีผลรวมคะแนนข้อ ๑ - ๙ ไม่น้อยกว่า ๑๒ คะแนน
              กรณีองค์กรระดับกรมหรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลประเมินองค์กรในสังกัดที่ไม่ต่ำกว่าสำนัก/กองหรือเทียบเท่า (ที่มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) ที่ประเมินได้ ในระดับคุณธรรมต้นแบบ จำนวนไม่น้อยกว่า ๖๐%

              โดยมีเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม ดังนี้

การประเมินองค์กรคุณธรรม

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินระดับที่ ๑ องค์กรส่งเสริมคุณธรรม (ข้อ ๑ – ๓)
การประเมินกระบวนการพัฒนาองค์กร

๑) องค์กรมีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะขับเคลื่อนหน่วยงานให้เป็นองค์กรคุณธรรม

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กร ตั้งแต่ ๘๐.๐๐ % ขึ้นไป ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กร ตั้งแต่ ๕๐.๐๐ - ๗๙.๙๙ %ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กรที่ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรน้อยกว่า ๕๐.๐๐ %

๒) องค์กรมีการกำหนดคุณธรรมเป้าหมายและกำหนด “ปัญหาที่อยากแก้” และ“ความดีที่อยากทำ” ที่สอดคล้องกับคุณธรรม ๔ ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กรตั้งแต่ ๘๐.๐๐ % ขึ้นไปร่วมกันกำหนดคุณธรรมเป้าหมายอย่างน้อย ๓ เรื่อง

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กร ตั้งแต่ ๕๐.๐๐ - ๗๙.๙๙ %ร่วมกันกำหนดคุณธรรมเป้าหมายจำนวน ๒ เรื่อง

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กรที่ร่วมกำหนดคุณธรรมเป้าหมายน้อยกว่า ๕๐.๐๐ %

๓) องค์กรมีการจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรที่สอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายที่กำหนด

- มีแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรแบบมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในองค์กร
- มีการมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงาน

- มีแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรแบบมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในองค์กร
- มีการมอบหมายบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินงาน

ไม่มีการจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กร

 

การประเมินองค์กรคุณธรรม

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินระดับที่ ๒ องค์กรคุณธรรม (ข้อ ๑ – ๖)
การประเมินกระบวนการและการดำเนินงานตามแผน

๔) องค์กรมีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้

การดำเนินการตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้มีผลสำเร็จตั้งแต่ ๖๐.๐๐ % ขึ้นไปและเป็นไปตามเป้าหมายของกิจกรรม ที่กำหนดไว้

การดำเนินการตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้มีผลสำเร็จตั้งแต่ ๔๐.๐๐ - ๕๙.๙๙ % และเป็นไปตามเป้าหมายของกิจกรรมที่กำหนดไว้

การดำเนินการตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้มีผลสำเร็จน้อยกว่า ๔๐.๐๐ %

๕) องค์กรมีการติดตามประเมินผลสำเร็จเพื่อทบทวน ปรับปรุงแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรให้มีคุณภาพและบรรลุคุณธรรมเป้าหมายที่กำหนด

- มีการประเมินและรายงานผลสำเร็จของแผน
- มีการทบทวนปรับปรุงแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรที่มีคุณภาพ

มีการประเมินและรายงานผลสำเร็จของแผน

ไม่มีการติดตามประเมินผล

๖) องค์กรมีการยกย่อง เชิดชู บุคลากรที่ทำความดีจนเป็นแบบอย่างได้ และหรือหน่วยงานที่มีโครงการดีเด่นในการส่งเสริมคุณธรรมเป้าหมายตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้

- มีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคลากรที่ทำความดีจนเป็นแบบอย่างได้
- มีการประกาศยกย่องเชิดชูหน่วยงานภายในหรือภายนอกที่มีการส่งเสริมคุณธรรมเป้าหมายจนเป็นแบบอย่าง

มีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคลากรที่ทำความดีจนเป็นแบบอย่างได้

ไม่มีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคลากรที่ทำความดี

  

การประเมินองค์กรคุณธรรม

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินระดับที่ ๓ องค์กรคุณธรรมต้นแบบ (ข้อ ๑ – ๙)
การประเมินกระบวนการ การดำเนินงานตามแผนและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง

๗) องค์กรมีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้เพิ่มมากขึ้นและพฤติกรรมของคนในองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง

- มีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้ ตั้งแต่ ๘๐.๐๐ %ขึ้นไป และเป็นไปตามเป้าหมายของกิจกรรมที่กำหนดไว้
- คนในองค์กรมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นตามคุณธรรมเป้าหมายที่กำหนด

มีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้ตั้งแต่ ๗๐.๐๐ – ๗๙.๙๙ % และเป็นไปตามเป้าหมายของกิจกรรมที่กำหนดไว้

การดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้มีผลสำเร็จ น้อยกว่า ๗๐.๐๐ %

๘) องค์กรมีการจัดกิจกรรมใน ๓ มิติ ได้แก่ ยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมที่เพิ่มเติมจากแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้

มีการจัดกิจกรรมครบทั้ง ๓ มิติ

มีการจัดกิจกรรมจำนวน ๒ มิติ

มีการจัดกิจกรรมน้อยกว่า ๒ มิติ

๙) องค์กรมีองค์ความรู้จากการดำเนินงานองค์กรคุณธรรม เพื่อเผยแพร่และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ถ่ายทอดขยายผลไปสู่องค์กรอื่น ๆ ได้

องค์กรมีองค์ความรู้จากการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบที่สามารถให้หน่วยงานอื่น ๆเข้ามาศึกษาดูงานหรือไปเผยแพร่ผลงานให้กับหน่วยงานอื่น ๆไม่น้อยกว่า ๕ ครั้งต่อปี

องค์กรมีองค์ความรู้จากการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบที่สามารถให้หน่วยงานอื่น ๆเข้ามาศึกษาดูงานหรือไปเผยแพร่ผลงานให้กับหน่วยงานอื่น ๆไม่น้อยกว่า ๓ ครั้งต่อปี

องค์กรไม่ได้ให้หน่วยงานอื่นเข้ามาศึกษาดูงาน หรือไปเผยแพร่ผลงานให้กับหน่วยงานอื่น ๆ

              ทั้งนี้ กรมฯ ได้ประเมินตนเองตามเกณฑ์การประเมินฯ พร้อมรวบรวมข้อมูลจัดส่งให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงแรงงาน เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงแรงงาน พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมินตนเองของแต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานให้เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
              ๒.๓ กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมาย/ผลการดำเนินงาน             
              ๑) การประเมินองค์กรคุณธรรมของกรมฯ ใช้ผลประเมินองค์กรในสังกัดที่ไม่ต่ำกว่าสำนัก/กองหรือเทียบเท่า    (ที่มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) โดยกลุ่มงานจริยธรรม กองการเจ้าหน้าที่ ได้ดำเนินการส่งเสริม พัฒนาและขับเคลื่อนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สร้างค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีให้กับข้าราชการและบุคลากรของกรมฯ และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องตามเกณฑ์การประเมินฯ ๙ ตัวชี้วัด ๓ ระดับ จากหน่วยงานของกรมฯ สังกัดส่วนกลาง ระดับสำนัก/กองหรือเทียบเท่า จำนวน ๑๓ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักตรวจราชการ สำนักงานเลขานุการกรม กองคุ้มครองแรงงาน กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กองความปลอดภัยแรงงาน กองสวัสดิการแรงงาน กองนิติการ กองบริหารการคลัง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน สำนักแรงงานสัมพันธ์ กลุ่มตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร   
              ๒) คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงแรงงาน ได้ประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ และมีมติเห็นชอบผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
              ๒.๔ ผลสัมฤทธิ์
             
คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงแรงงาน ได้ประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ และมีมติเห็นชอบคัดเลือกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ของกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จะประกาศผลอย่างเป็นทางการพร้อมจัดงานมอบโล่รางวัลคุณธรรมต้นแบบโดดเด่นในแต่ละประเภท ช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ 

  

๓. โครงการ/กิจกรรม ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน “SAFETY SERVICE ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน อบรมความปลอดภัย ฟรี ๑๐,๐๐๐ คน”
              ๓.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมาของโครงการ
              กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้มีประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การฝึกอบรมหรือ   การพัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติม ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ ได้รับการฝึกอบรมหรือ การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด ดังนั้น เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างกรมฯ จึงได้เสนอกิจกรรม “SAFETY SERVICE ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน อบรมความปลอดภัยฟรี ๑๐,๐๐๐ คน” เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมีหัวข้อหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ ๑) กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้น และ ๒) ทักษะการปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การระบายอากาศในงานอุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรม ๕ ส และความปลอดภัยในงานขนส่ง เป็นต้น
              ๓.๒ เป้าหมายผู้เข้ารับการอบรม
             
จำนวน ๑๐,๐๐๐ คน ได้แก่
              เป้าหมายหลัก : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ
              เป้าหมายรอง : ลูกจ้างทุกระดับ
              ๓.๓ การดำเนินการ
             
ระยะเวลาดำเนินการ : เดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๖
              - กองความปลอดภัยแรงงาน, ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต ๑ - ๑๒ ร่วมกับสมาคม/ชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
              - หน่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมสวัสดิการ      และคุ้มครองแรงงาน (จำนวน ๑๐๙ แห่ง) ที่ประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรม
              ๓.๔ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
             
๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ ได้รับการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้เพิ่มเติม ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ และตามที่ประกาศกรมฯ กำหนด
              ๒) ลูกจ้างได้รับการดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ คน (สถานประกอบกิจการ ๑๐,๐๐๐ แห่ง X ๕๐ คน/แห่ง)
              ๓) สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับนายจ้าง ในการส่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ เข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานฝึกอบรม รวมจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ผู้เข้ารับการอบรม ๑๐,๐๐๐ คน X ๑,๐๐๐ บาท/คน)
              ๓.๕ ผลการดำเนินการ
             
จำนวนผู้ได้รับการอบรมตั้งแต่วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ รวมจำนวน ๑๓,๕๖๙ คน

๔. โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมตรวจแรงงานนอกระบบ
              ๔.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
             
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้ความสำคัญกับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ จึงได้กำหนดกิจกรรมการตรวจแรงงานนอกระบบเพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมาย และตรวจสอบสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน เพื่อให้มีการปฏิบัติสอดคล้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันปัญหาการใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรม ตลอดจนการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้จ้างงานหรือผู้ส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้าน ตัวแทนหรือผู้รับเหมาช่วงในงานที่รับไปทำที่บ้าน/ผู้รับงานไปทำที่บ้าน นายจ้าง/ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และนายจ้าง/ลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างงานตลอดปี ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ลดความขัดแย้ง และ มีความมั่นคงในการทำงานยิ่งขึ้น
              ๔.๒ เป้าหมาย
             
จำนวน ๑๕,๐๐๐ คน
              ๔.๓ ผลการดำเนินงาน  
              ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ดำเนินการตรวจแรงงานนอกระบบ จำนวน ๑๕,๒๘๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๑.๘๙
              ๔.๔ ผลสัมฤทธิ์
             
ผู้จ้างงาน/ผู้ส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้าน/ตัวแทนหรือผู้รับเหมาช่วงในงานที่รับไปทำที่บ้าน/ผู้รับงาน ไปทำที่บ้าน นายจ้าง/ลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และนายจ้าง/ลูกจ้าง ในงานเกษตรกรรม ซึ่งมิได้จ้างงานตลอดปี ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มีความปลอดภัย ในการทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

๕. โครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งชมรมแรงงานนอกระบบ
              ๕.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
             
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเทียบเท่าแรงงานในระบบ รวมถึงส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เนื่องจากแรงงานนอกระบบขาดกลไกสนับสนุนที่ชัดเจน และ ไม่สามารถตั้งสหภาพเพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายได้เหมือนแรงงานในระบบ แต่เนื่องจากการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา พบว่าการรวมกลุ่มของแรงงานนอกระบบยังคงขาดความต่อเนื่องและขาดความเข้มแข็ง เนื่องจากสภาพการทำงาน ที่เป็นอิสระ ไม่มีแบบแผนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มที่ชัดเจน ไม่มีกฎหมายรับรองการรวมกลุ่ม อีกทั้งยังขาดการสนับสนุน ทั้งด้านองค์ความรู้และงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดและส่งเสริมให้ชมรมแรงงานนอกระบบมีความเข้มแข็งอย่างเป็นรูปธรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งชมรมแรงงานนอกระบบ” ขึ้น เพื่อให้แกนนำชมรมแรงงานนอกระบบทุกจังหวัดและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนภูมิภาคมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และร่วมเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกการทำงานในระดับพื้นที่แบบคู่ขนานให้เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมชมรมแรงงานนอกระบบให้มีศักยภาพและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการชมรมอย่างเป็นระบบ ได้รับทราบถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
              ๕.๒ ผลการดำเนินงาน
             
การประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของกรมสวัสดิการ  และคุ้มครองแรงงาน ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ในชื่อกิจกรรม “กสร. ขับเคลื่อนกลไก จับมือเครือข่าย  นำนโยบายสู่การปฏิบัติ” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๕๒ คน และการลงพื้นที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้ชมรมแรงงานนอกระบบมีการบริหารจัดการชมรมอย่างเป็นระบบ ได้รับทราบสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนแนวทางการออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๔ รุ่น ๆ ละ ๒๕ คน ประกอบด้วย รุ่นที่ ๑ ณ กลุ่มตะกร้อตะแกรง ตำบลดงกระทงยาม  อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี รุ่นที่ ๒ ณ กลุ่มอาชีพเกาะนาล้อม ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา รุ่นที่ ๓ ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเกลือทะเลกังหันทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี รุ่นที่ ๔ ณ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
              ๕.๓ ผลสัมฤทธิ์
             
แกนนำชมรมแรงงานนอกระบบทุกจังหวัด และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาคมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของกรมฯ สามารถร่วมเป็นพลังขับเคลื่อน ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง สมาชิกชมรมแรงงานนอกระบบมีศักยภาพและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการชมรมอย่างเป็นระบบได้รับทราบถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ความปลอดภัย ในการทำงาน ตลอดจนแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การรวมกลุ่มที่เข้มแข็งและยั่งยืน

๖. โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
              ๖.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
             
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จัดกิจกรรมคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบดีเด่น เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสำคัญของแรงงานนอกระบบและส่งเสริมผู้จ้างงาน/นายจ้าง แรงงานนอกระบบ และเครือข่ายแรงงานนอกระบบที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
              ๖.๒ ผลการดำเนินงาน  
              ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกในกิจกรรมคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบดีเด่น จำนวนทั้งสิ้น ๔๔ ราย จาก ๓๗ หน่วยปฏิบัติ จำแนกเป็นประเภทผู้จ้างงาน/นายจ้างแรงงานนอกระบบ จำนวน ๘ ราย ประเภทแรงงานนอกระบบ จำนวน ๑๗ ราย และประเภทเครือข่ายแรงงานนอกระบบ จำนวน ๑๙ ราย เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ประกาศ ผลการคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบดีเด่นประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งได้มีการดำเนินการมอบรางวัลให้แก่บุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ช่วงเดือนเมษายน ๒๕๖๕ รายละเอียดผู้ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศ  ประเภทละ ๑ รางวัล เกียรติบัตรรางวัลชมเชยประเภทละ ๓ รางวัล และเกียรติบัตรสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๗ รางวัล
              ๖.๓ ผลสัมฤทธิ์
             
แรงงานนอกระบบเกิดการสร้างงานที่มีคุณค่า เกิดการพัฒนาความรู้ความสามารถให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง   ในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีและสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ 

๗. โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมการดำเนินงานด้านแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP)
              ๗.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
             
แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) เริ่มมาจากความต้องการที่จะแก้ไขปัญหา การใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องในประเทศไทย ได้แก่ ปัญหาการบังคับใช้แรงงาน ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งปัญหาเหล่านี้   มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศ ดังนั้นประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านแรงงาน จึงต้องมีการปรับปรุง โดยนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) มาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีนี้จัดทำขึ้นตามกรอบบทบัญญัติ ข้อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สวัสดิการแรงงาน การจัดหางาน และการประกันสังคม ตลอดจนอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และองค์การสหประชาชาติ ซึ่งแนวปฏิบัติการ   ใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) เป็นการดำเนินการโดยสมัครใจ สถานประกอบกิจการทุกประเภททุกขนาดสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการปรับปรุงสภาพการจ้างการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมายและสามารถพัฒนา ให้มีระบบบริหารจัดการแรงงานที่ดีเทียบกับมาตรฐานแรงงานสากล โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ คือ การยกระดับคุณภาพ ชีวิตแรงงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ การเลือกปฏิบัติและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
              กระทรวงแรงงานกำหนดนโยบายให้แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) เป็นกลไกหนึ่ง ในการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงมีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการทุกประเภท ทุกขนาด นำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) ไปใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจนำไปสู่การยกระดับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศ มุ่งสู่ Tier ๑ ด้วยหลักการ ๔ ไม่ ๖ มี คือ
              หลักการ ๔ ไม่
             
๑)  ไม่ใช้แรงงานเด็ก                                                ๒) ไม่ใช้แรงงานบังคับ
              ๓)  ไม่เลือกปฏิบัติ                                                    ๔) ไม่มีการค้ามนุษย์
             
หลักการ ๖ มี
             
๑)  มีระบบจัดการและบริหารแรงงาน                          ๒) มีเสรีภาพในการสมาคม
              ๓)  มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกับนายจ้าง              ๔) มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย
              ๕)  มีการจัดการสุขอนามัยและของเสีย                       ๖) มีสวัสดิการที่เหมาะสม
              กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดให้กิจกรรมด้านแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี เป็นนโยบายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องในประเทศไทย โดยการส่งเสริมความรู้ การพัฒนาศักยภาพด้านแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน     เพื่อผลักดัน ให้สถานประกอบกิจการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ไปใช้ในการบริหารจัดการแรงงาน ลดประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคทางการค้า/การจ้างงาน โดยเฉพาะประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถานประกอบกิจการและประเทศ การรณรงค์ให้ผู้ประกอบกิจการตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน เพิ่มโอกาสทางการค้า ลดอุปสรรคในการส่งออก สร้างความน่าเชื่อถือในการให้ความสำคัญเรื่องจริยธรรมในการจ้างงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน
              ๗.๒ เป้าหมาย
             
ดำเนินการส่งเสริมความรู้แก่สถานประกอบกิจการจำนวน ๓,๐๐๐ แห่ง
              ๗.๓ ผลการดำเนินงาน
             
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินกิจกรรมด้านแนวปฏิบัติการ ใช้แรงงานที่ดี (GLP) ให้แก่สถานประกอบกิจการทั่วประเทศ ดังนี้
              ๑) กิจกรรมส่งเสริมความรู้สถานประกอบกิจการด้านแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) เพื่อไปใช้ในการบริหารกิจการ/ธุรกิจติดตามสถานประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) เพื่อไปใช้ในการบริหารกิจการ/ธุรกิจ จำนวน ๓,๑๔๗ แห่ง ลูกจ้างได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ไม่มีการเลือกปฏิบัติ  ไม่มีการใช้แรงงานเด็กแรงงานบังคับ ไม่มีการค้ามนุษย์ จำนวน ๑๙๖,๐๗๙ คน
              ๒) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) จำนวน ๙๐๙ แห่ง
              ๓) กิจกรรมส่งเสริมสถานประกอบกิจการให้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP)  จำนวน ๑,๙๘๙ แห่ง
              ๔) กิจกรรมจัดงานนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีใน ๒ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วม จำนวน ๑๕๓ แห่ง
              ๕) โครงการจัดงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การยกระดับการบริหารแรงงาน ด้วยแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและบริษัทในกลุ่มธุรกิจ TCP เมื่อวันพุธที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕ มีสถานประกอบกิจการในกลุ่มธุรกิจ TCP และสถานประกอบกิจการในห่วงโซ่อุปทาน จำนวน ๒๘ แห่ง ลูกจ้างมากกว่า ๕,๐๐๐ คน
              ๖) โครงการจัดงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หอการค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ สถานประกอบกิจการที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวมถึงห่วงโซ่อุปทานจำนวนกว่า ๑๑๔,๘๕๖ ราย  
รูปเพิ่มเติม MOU TCP

รูปเพิ่มเติม MOU หอการค้าไทย

รูปเพิ่มเติม งานนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบ

๘. โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมการดำเนินงานด้านมาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑ (Thai Labour Standard : TLS)
              ๘.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
             
มาตรฐานแรงงานเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี       แม้ในระดับองค์การค้าโลกยังมีการยกเอามาตรฐานแรงงานขึ้นมาพิจารณา ประเทศพัฒนาแล้ว มองว่ามาตรฐานแรงงาน   ในประเทศกำลังพัฒนาปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ได้เปรียบจากต้นทุนแรงงานที่ต่ำ ได้มาจากการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน ในทางกลับกันประเทศกำลังพัฒนามองว่าการบังคับใช้มาตรฐานแรงงานแท้จริง คือ การกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ เท่านั้นเอง เนื่องจากการกีดกันด้วยภาษีนั้นลดลง การกำหนดมาตรฐานแรงงานจึงถูกใช้เป็นเงื่อนไขในการทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันแรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง และการป้องกันการทำงานที่เสี่ยงอันตราย เกินสภาพที่มนุษย์ทั่วไปจะกระทำได้
              กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงได้ประกาศมาตรฐานแรงงานไทยความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย มรท.8001 ซึ่งจัดทำขึ้นตามกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติของกฎหมายแรงงานที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสวัสดิการแรงงาน ตลอดจนอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และองค์การสหประชาชาติ สถานประกอบกิจการทุกประเภท ทุกขนาด สามารถนำมาตรฐานแรงงานไทยไปปฏิบัติและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในสถานประกอบกิจการของตนโดยสมัครใจ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สามารถเข้าร่วมแข่งขันในเวทีการค้าโลกอย่างทัดเทียมนานอารยประเทศ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน และเสริมสร้างธุรกิจให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน กิจการ โดยกลุ่มเป้าหมาย ในการส่งเสริมเข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทย คือ สถานประกอบกิจการส่งออกและที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก รวมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตลอดสายการผลิตทุกขนาดและทุกประเภทกิจการ
              มาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑(Thai Labour Standard : TLS) แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
             
๑) ระดับพื้นฐาน หมายถึง การปฏิบัติต่อแรงงานของสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องตามข้อกำหนด    ของมาตรฐานแรงงานไทย ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และมีชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (OT.) การทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด และการทำงานในวันหยุดสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน ๓๖ ชั่วโมง มีอายุการรับรอง ๒ ปี นับแต่วันที่ได้รับการรับรอง
              ๒) ระดับสมบูรณ์ หมายถึง การปฏิบัติต่อแรงงานของสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องทุกข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงานไทย และมีชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (OT.) การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด และการทำงานในวันหยุดสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน ๓๖ ชั่วโมง มีอายุการรับรอง ๓ ปี นับแต่วันที่ได้รับการรับรอง
              ๓) ระดับสมบูรณ์สูงสุด หมายถึง การปฏิบัติต่อแรงงานของสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องทุกข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงาน และมีชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (OT.) การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด และการทำงานในวันหยุดรวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ ชั่วโมง มีอายุการรับรอง ๓ ปี นับแต่วันที่ได้รับการรับรอง
              สามารถจัดทำมาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labour Standard : TLS) ได้ ๒ วิธี คือ
             
๑) การรับรองมาตรฐานแรงงานไทย หมายถึง สถานประกอบกิจการที่ประสงค์ขอการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย ให้ยื่นคำขอการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย และมีการดำเนินการประเมินโดยหน่วยรับรองหรือหน่วยตรวจเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด และจะได้รับใบรับรองเพื่อแสดงว่าได้ปฏิบัติสอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย
              ๒) การประกาศแสดงตนเองมาตรฐานแรงงานไทย หมายถึง สถานประกอบกิจการที่ไม่ประสงค์ขอการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย สามารถยืนยันหรือรับรองตนเองว่าได้มีการปฏิบัติสอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย
              ขั้นตอนการขอการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001 (Thai Labour Standard : TLS)
             
๑) การขอการรับรองระดับพื้นฐาน ให้สถานประกอบกิจการยื่นแบบคำขอการรับรอง (กรร.๐๓) ระดับพื้นฐาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด (สสค.) หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ (สรพ.) 
              ๒) การขอการรับรองระดับพื้นฐาน ระดับสมบูรณ์และระดับสมบูรณ์สูงสุด ยื่นแบบคำขอการรับรอง (กรร.๐๓)  ณ หน่วยรับรอง/หน่วยตรวจภาคเอกชน
              ๘.๒ ผลการดำเนินงาน
             
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินกิจกรรมด้านมาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑ (Thai Labour Standard : TLS) ให้แก่สถานประกอบกิจการทั่วประเทศ ดังนี้
              ๑) กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านมาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน (CSR) จำนวน ๓,๕๖๙ แห่ง ลูกจ้างมีความมั่นคงในการทำงาน ได้รับการคุ้มครองไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ได้รับความเป็นธรรม มีความปลอดภัย และได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต จำนวน ๒๙๙,๕๕๕ คน
              ๒) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงานด้วยมาตรฐานแรงงานไทยจำนวน ๙๑๔ แห่ง
              ๓) กิจกรรมส่งเสริมสถานประกอบกิจการให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทย จำนวน ๒๓๐ แห่ง
              ๔) กิจกรรมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การยกระดับมาตรฐานแรงงานไทย เพื่อก้าวไปอย่างยั่งยืน” ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ว่าจะดำเนินกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และการประเมินสถานประกอบกิจการ ให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน สอดคล้องกับระบบมาตรฐานแรงงานไทยเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืนส่งผลให้สินค้าและบริการได้รับการยอมรับจากลูกค้า และกลุ่มผู้บริโภคในเวทีการค้าโลก ตามแนวนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของคู่ค้าธุรกิจ
              ๕) กิจกรรมการจัดงานพิธีมอบรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๕ (Thailand Labour Management Excellence Award 2022) จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการที่มีการบริหารจัดการอย่างมีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานสากล   อันนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกจ้าง โดยการมอบรางวัล ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน โดยขอพระราชทานถ้วยรางวัล จำนวน ๓ รางวัล จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กับสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสถานประกอบกิจการที่มีความมุ่งมั่นในการบริหารแรงงาน  อย่างเป็นมาตรฐานครบ ๓ ด้าน

๙. โครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน
              ๙.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
             
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาคน    ในทุกมิติ และในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ คนไทยมีความพร้อมทั้งกายใจ สติปัญญามีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาช่วงวัยแรงงาน ให้ได้รับการยกระดับศักยภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานได้ทำงานที่มีคุณค่าเพื่อสร้างผลิตภาพเพิ่มให้กับประเทศ
              ทรัพยากรแรงงาน คือ ทุนมนุษย์ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรให้เจริญเติบโต และสามารถนำพาธุรกิจ ให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันทุกภาคส่วนเผชิญกับพลวัตรของปัญหารอบด้าน      จึงต้องมีความพร้อมในการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - ๑๙) การเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าของโลกดิจิทัล ตลอดจนอุปสรรคจากการแข่งขันทางการค้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบกิจการและลูกจ้างต้องปรับตัวด้วยการเพิ่มพูนทักษะความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทุกองค์การมีกระบวนการคัดสรรคนมีความรู้ความสามารถไว้ทำงานกับองค์กร คนทำงานรุ่นใหม่ต้องสามารถทำงานในสังคมแห่งปัญญา ต้องมีทักษะ การสื่อสารตลอดจนมีภาวะผู้นำ (Leadership) ในยุคการเปลี่ยนแปลง
              กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีภารกิจในการพัฒนาทรัพยากรแรงงานทั้งระดับผู้บริหารและลูกจ้างให้มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน มีระบบบริหารจัดการแรงงานที่ดีในสถานประกอบกิจการ สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นำมาซึ่งประสิทธิภาพการทำงาน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ มีหลักสูตรพัฒนาองค์ความรู้ ๔ ด้าน ๑๙ หลักสูตร ได้แก่ การพัฒนาด้านองค์ความรู้ด้านแรงงาน การพัฒนาด้านสมรรถนะทรัพยากรแรงงาน การพัฒนาด้านศักยภาพทรัพยากรแรงงานและการพัฒนาด้านการบริหารจัดการแรงงาน ซึ่งองค์ความรู้ทั้ง ๔ ด้านดังกล่าว ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดในการทำงาน และการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์อันเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ  
              วัตถุประสงค์
              ๑) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และแนวคิด ให้กับทรัพยากรแรงงานในการบริหารจัดการแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              ๒) เพื่อพัฒนาสมรรถนะ และศักยภาพทรัพยากรแรงงานให้มีพฤติกรรมเพื่อสร้างสรรค์งาน ให้มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของนายจ้าง
              ๓) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันทางการค้าในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
              ๙.๒ วิธีการดำเนินงาน
             
ได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมทรัพยากรแรงงาน ๑๙ หลักสูตร ๒๓ รุ่น ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมของคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรการอบรมทรัพยากรแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยจัดอบรมในรูปแบบ Online ณ ห้องอบรมทรัพยากรแรงงาน ชั้น ๑๓ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรแรงงาน สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทรัพยากรแรงงาน จำนวน ๔ ด้าน ดังนี้
              ๑) ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านแรงงาน ได้แก่
                            (๑) กฎหมายแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้
                            (๒) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ว่าด้วยเรื่อง สัญญาจ้างแรงงาน และการใช้แรงงานทั่วไป
                            (๓) แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจต่อการบริหารงานบุคคล
                            (๔) หลักการบริหารแรงงานสัมพันธ์ภายใต้ภาวะวิกฤต
                            (๕) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยเรื่อง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การกระทำอัน  ไม่เป็นธรรม/ที่ปรึกษาแรงงานสัมพันธ์ และคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
                            (๖) มาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑-๒๕๖๓ กับแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) ช่วยยกระดับการค้าได้อย่างไร
                            (๗) พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๕๔
                            (๘) กฎหมายแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้
                            (๙) การจัดการเกี่ยวกับวินัยและการลงโทษ
                            (๑๐) ไขข้อข้องใจประเด็นปัญหาแรงงาน
                            (๑๑) แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจต่อการบริหารงานบุคคล
                            (๑๒) ผู้ตรวจติดตามภายในมาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑-๒๕๖๓
                            (๑๓) คดีแรงงานกับการบริหารจัดการที่ดี
                            (๑๔) ถอดบทเรียน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒ สำหรับ HR
              ๒) ด้านการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรแรงงาน ได้แก่
                            (๑) HR How to Manage PDPA (Learning by Doing)
                            (๒) เทคนิคการนำเสนองานที่มีประสิทธิภาพ
                            (๓) การสร้างพลังแห่งความสำเร็จในการทำงานอย่างมีความสุข 
                            (๔) กลยุทธ์การบริหารจัดการระบบความปลอดภัยในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ        
              ๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรแรงงาน คือ     
                            (๑) Smart HR Leadership
              ๔) ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการแรงงาน ได้แก่   
                            (๑) HR How to Manage PDPA (Learning by Doing) รุ่นที่ ๑ - ๒
                            (๒) การสร้างผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์การบริหารความเปลี่ยนแปลง
                            (๓) การบริหารค่าจ้าง ค่าตอบแทนและสวัสดิการ แบบ New Normal
              ๙.๓ กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมาย/ผลการดำเนินงาน
             
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้ดำเนินการจัดอบรมในรูปแบบ Online จำนวนทั้งสิ้น ๒๓ รุ่น ๑๙ หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย นายจ้าง ลูกจ้าง เครือข่ายแรงงาน และทรัพยากรแรงงานที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายจำนวน ๓,๔๕๐ คน ผลการจัดอบรม มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน ๔,๕๙๓ คน เป็นชาย ๑,๒๕๗ คน และเป็นหญิง ๓,๓๓๖ คน เกินเป้าหมาย ๑,๑๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑๓
              ๙.๔ ผลสัมฤทธิ์
             
จากการติดตามการประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าของหลักสูตรที่จัดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้เก็บข้อมูลจากผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๓,๐๕๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามเลือกตอบ โดยใช้การวัดค่าและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติคือ ค่าร้อยละ ซึ่งสรุปผลการประเมินไว้ดังนี้
              ประเด็นที่ ๑ การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ของผู้เข้ารับการอบรมกับกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน
              ประเด็นที่ ๒ การนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้
              ประเด็นที่ ๓ การขยายผลและถ่ายทอดความรู้จากการอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดขึ้น
              ประเด็นที่ ๔ หลักสูตรที่ตรงกับความต้องการผู้เข้ารับการอบรมมากที่สุด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ
              ประเด็นที่ ๕ ระดับการพัฒนาหลักสูตรการอบรมของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
              ประเด็นที่ ๖ การปรับปรุงรูปแบบการจัดอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดขึ้น
              ประเด็นที่ ๗ การนำความรู้ที่ได้รับจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดผล ในแต่ละด้าน
              ประเด็นที่ ๘ ความเห็นเกี่ยวกับความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับ ส่วนใหญ่ผลการประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าหลังการฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรที่เกิดความคุ้มค่ามากและเป็นประโยชน์สูงสุด ๓ อันดับแรกคือ หลักสูตร ผู้ตรวจติดตามภายในมาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑-๒๕๖๓ หลักสูตรกฎหมายแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้ รุ่นที่ ๒ และหลักสูตรไขข้อข้องใจประเด็นปัญหาแรงงาน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๓๓ ๙๒.๑๘ และ ๙๐.๙๙ ตามลำดับ จากผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า หลักสูตรที่กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน จัดขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้รับในแต่ละด้านไปใช้ได้จริง ดังนี้
                            - ด้านความรู้ (Knowledge) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานไปปฏิบัติ ต่อลูกจ้างได้อย่างถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย และเป็นการลดความเสี่ยงข้อขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
                            - ด้านสมรรถนะ (Capacity) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                            - ด้านศักยภาพ (Potential) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ ไปพัฒนางานจนแปรเปลี่ยน  เป็นความเชี่ยวชาญในตำแหน่งของตน
                            - ด้านการบริหารจัดการ (Management) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถบริหารจัดการองค์ความรู้ ที่ได้รับให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงาน            
                            - ด้านทักษะ (Skills) ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการสามารถนำเทคนิคประสบการณ์ต่าง ๆ ที่วิทยากรได้ถ่ายทอดให้ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้
                            - ด้านทัศนคติ (Attitude) ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ดีต่องาน ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ และองค์กรมากขึ้น
                            - ด้านพฤติกรรม (Behavior) ผู้เข้ารับการอบรมมีความกล้าเผชิญหน้า และกล้าแสดงความเห็นต่อผู้บังคับบัญชามากขึ้น
              ทั้งนี้ หลักสูตรที่ทางกรมฯ จัดขึ้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมได้เป็นอย่างดี  โดยพิจารณาจากการเปิดรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมในแต่ละหลักสูตรนั้น มีผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมครบเป้าหมายอย่างรวดเร็วภายในเวลาอันสั้นในทุก ๆ หลักสูตร และได้มีการเสนอแนะให้เปิดรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมอย่าง  ไม่จำกัดหลักสูตรและจำนวนคน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมอย่างทั่วถึง ด้วยทางกรมฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรการอบรมทรัพยากร เพื่อให้หลักสูตรการอบรมของกรมฯ มีมาตรฐาน สอดรับกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นโยบายและภารกิจของกรมฯ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  มีความต้องการที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยลดปัญหาข้อขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ของกรมฯ ต่อไป

๑๐. โครงการ/กิจกรรม โครงการเสริมสร้างวินัยการทำงานในสถานประกอบกิจการ
              ๑๐.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
             
ทรัพยากรแรงงานถือเป็นทุนมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี  (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) กำหนดเป้าหมายยกระดับการพัฒนาประเทศบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคน  ในทุกมิติ และช่วงวัย ให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสู่การเป็นคนไทย  ที่มีทักษะสูง มีความพร้อมพัฒนาประเทศไปข้างหน้าอย่างเต็มศักยภาพ
              กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้กำหนดวิสัยทัศน์ “แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับ ความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ซึ่งงานด้านการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน เป็นภารกิจสนับสนุนให้กรมบรรลุวิสัยทัศน์ และ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ส่งผลกระทบให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวสู่วิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจจำนวนมาก มีการปรับปรุงสภาพการจ้าง และลดการจ้างงาน โดยมีกระบวนการสรรหาคนที่ มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงาน และรักษาคนมีความรู้ความสามารถไว้ทำงาน เพื่อสร้างผลผลิตให้กับองค์กร  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนทำงานในยุคการเปลี่ยนแปลงต้องปรับตัวให้มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ต้องใฝ่รู้ มีวินัย และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง เพื่อความมั่นคง และความก้าวหน้าในงานอาชีพ
              กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างวินัยการทำงานในสถานประกอบกิจการ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้แก่นายจ้าง ลูกจ้าง ซึ่งเป็นทรัพยากรแรงงานที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจ โดยมีสาระองค์ความรู้มุ่งเน้นการสร้างพลังในการทำงานอย่างมีความสุข การตระหนักในการเคารพต่อระเบียบข้อบังคับการทำงานการปฏิบัติ    ตามมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงาน การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ความรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และความรักสามัคคีในองค์กร ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน ครอบครัว การจัดการด้านการเงินด้วยการออม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตการทำงาน อันเป็นการเสริมสร้างวินัย และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ นำมาซึ่งประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพชีวิตที่ดี
              วัตถุประสงค์
              ๑) เพื่อให้แรงงานมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย และเคารพต่อกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันในสถานประกอบกิจการ   
             
๒) เพื่อเสริมสร้างทัศนคติให้แรงงานมีวินัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการ ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน มีความขยันซื่อสัตย์ภักดีต่อองค์กร
              ๓) เพื่อส่งเสริมให้แรงงานสามารถปรับพฤติกรรม สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานครอบครัว ตลอดจนการวางแผนทางการเงินและการออม นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตและผลิตภาพแรงงาน
              ๑๐.๒ วิธีการดำเนินงาน
             
๑) โครงการเสริมสร้างวินัยการทำงานในสถานประกอบกิจการได้กำหนดหัวข้อวิชาในการอบรมทั้งหมด ๖ หัวข้อวิชา ดังนี้
                            (๑) การสร้างพลังแห่งความสำเร็จในการทำงานอย่างมีความสุข
                            มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมคำนึงถึงความสุขในการทำงาน (Workplac Happiness) ที่จะเป็นตัวสร้างความผูกพันและแรงจูงใจในองค์กรโดยจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานการสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร รวมถึงความพึงพอใจในงาน ซึ่งเป็นความรู้สึกของบุคคลที่เกิดขึ้นในขณะทำงานโดยเกิดความรู้สึกเพลิดเพลินชอบใจพอใจเต็มใจสนใจ ไม่มีความทุกข์ใจและยินดีในการปฏิบัติงานของตน แม้ว่างานบางอย่าง จะได้ผลตอบแทนค่อนข้างน้อย แต่ก็ไม่เป็นปัจจัยในการยกเลิกหรือปฎิเสธงานนั้น
                            (๒) การสร้างจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
                            มุ่งเน้นให้แรงงานเกิดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย (Safety Awareness) โดยที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ได้ถึงเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน หรือมีสติรู้ตัวในขณะทำงานใด ๆ การให้ความสำคัญถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะลักษณะการทำงานที่มีความเสี่ยงที่อาจได้รับอันตรายจาก การทำงานสูง หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงานและเพื่อนร่วมงานได้รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง โอกาสที่จะเกิดการประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง
                            (๓) กฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
                            พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๐๘ กำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานเป็นภาษาไทย โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายในการให้จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานขึ้น เพื่อกำหนดสิทธิ - หน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกันให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและ ป้องกันไม่ให้เกิดขัดแย้งขึ้น ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน เสมือนข้อตกลง หรือข้อผูกมัดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในทุก ๆ ประเด็น สิทธิ - หน้าที่ต่าง ๆ ตามกรอบกฎหมาย ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นที่แรงงานต้องรับทราบ
                            (๔) การประเมินผลงานให้ได้ทั้งใจ ทั้งผลผลิต
                            การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal : PA) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ขององค์กรที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จ หากมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนในการดำเนินการจะเป็นการสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานได้มาตรฐานหรือสูงกว่า อีกทั้งเป็นการรักษาความเป็นธรรมในองค์กร ในด้านการบริหารเงินเดือน ค่าตอบแทน และการบริหารงานบุคคล และยังเป็นเครื่องมือในการสอนงานและพัฒนาองค์กรที่สำคัญ  ที่มีความจำเป็นต่อแรงงาน
                            (๕) พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของคนทำงาน
                            ในองค์กรหนึ่ง ๆ ประกอบไปด้วยพนักงานที่มีบุคลิกแตกต่างกัน มีความสามารถและทักษะที่แตกต่างกัน เพื่อเติมเต็มทุกส่วนงานอย่างเหมาะสม นอกจากทักษะในการทำงาน Hard Skill ซึ่งเป็นความสามารถหลักของสายงาน Soft Skill ก็เป็นทักษะส่งเสริมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ภายในองค์กร ที่ผู้ทำงาน ต้องมี “พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของคนทำงาน” มุ่งเน้นให้แรงงานมีและเรียนรู้ที่จะสร้าง Soft Skill สำหรับการทำงานเพื่อสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
                            (๖) หัวข้อวิชา ก้าวสู่ความท้าทายกับการทำงานยุคดิจิทัล
                            การทำงานในโลกยุค Digital การเตรียมความพร้อมให้แรงงานเรียนรู้และเข้าใจการใช้เทคโนโลยี  ให้เกิดประโยชน์ เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การเลือกใช้สินค้า และบริการรวมถึงการทำงาน ล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตลอดเวลา เทคโนโลยีจึงไม่ใช่ปัญหา และอุปสรรคที่ทำให้บุคลากรไม่เปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันยุค Digital แต่เป็น “กรอบความคิด (Mindset) ที่บุคลากรยังยึดติดกับการทำงานแบบเดิม ๆ มากกว่า หากผู้บริหารสามารถชี้แจงได้ว่า “การทำงานด้วยรูปแบบใหม่ ๆ นี้” จะทำให้เกิดความสะดวกและมีประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวมได้อย่างชัด และยินดีให้ทุกคนเลือกที่จะใช้เทคโนโลยี กับหน่วยงานของตัวเองอย่างไรที่สอดคล้องเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน การได้รับความร่วมมือให้เกิด Digital Transformation ก็จะสัมฤทธิ์ผล
              ๒) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการจัดอบรม เพื่อให้นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องลงทะเบียน เข้ารับการอบรมในระบบ Google Form
              ๓) สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานจัดฝึกอบรมโดยการบรรยายรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Conference
              ๑๐.๓ กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมาย/ผลการดำเนินงาน
             
นายจ้าง และลูกจ้าง ซึ่งเป็นทรัพยากรแรงงาน จำนวน ๑๑ รุ่น เป้าหมาย ๒,๑๕๐ คน จำแนกผู้ลงทะเบียน เข้ารับการอบรม จากส่วนกลาง จำนวน ๑๕๐ คน และจากส่วนภูมิภาค จำนวน ๒,๐๐๐ คน มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน ๒,๙๙๐ คน เป็นชาย ๘๐๐ คน และหญิง ๒,๑๙๐ คน เกินเป้าหมาย จำนวน ๘๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๐๗
              ๑๐.๔ ผลสัมฤทธิ์
             
จากการอบรมโครงการเสริมสร้างวินัยการทำงานในสถานประกอบกิจการจำนวน ๑๑ รุ่น เก็บข้อมูลจาก ผู้เข้ารับการอบรบ จำนวน ๑,๘๙๔ คน โดยการตอบแบบสอบถาม ๘ ประเด็น ประกอบด้วย
              ประเด็นที่ ๑ การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของผู้เข้ารับการอบรมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
              ประเด็นที่ ๒ การนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้
              ประเด็นที่ ๓ การขยายผลและถ่ายทอดความรู้จากการอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดขึ้น
              ประเด็นที่ ๔ หลักสูตรที่ตรงกับความต้องการผู้เข้ารับการอบรมมากที่สุด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ
              ประเด็นที่ ๕ ระดับการพัฒนาหลักสูตรการอบรมของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
              ประเด็นที่ ๖ การปรับปรุงรูปแบบการจัดอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดขึ้น 
              ประเด็นที่ ๗ การนำความรู้ที่ได้รับจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดผล ในแต่ละด้าน
              ประเด็นที่ ๘ ความเห็นเกี่ยวกับความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ที่ผู้รับการอบรมได้รับ
              ผลการประเมิน พบว่าการประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าหลังการอบรมทั้ง ๘ ประเด็น ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากการเข้ารับการอบรมโครงการนี้ โดยผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำความรู้ ที่ได้รับไปใช้ได้จริง มีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นในหลักสูตรที่ตนเองได้เข้าร่วมอบรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นภายในองค์กร และก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งผลของการประเมินและข้อเสนอแนะ ของผู้ผ่านการอบรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะได้นำไปปรับปรุง แก้ไข พัฒนาให้การดำเนินการจัดอบรม เพื่อการพัฒนาทรัพยากรแรงงานให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในปีต่อไป

๑๑. โครงการ/กิจกรรม โครงการเงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
              ๑๑.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
             
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน จึงมีมติเห็นเห็นชอบให้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานจัดทำโครงการเงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
              ผู้มีสิทธิยื่นคำขอกู้
             
สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำไปให้บริการเงินกู้แก่แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์
              วัตถุประสงค์/เงื่อนไขการขอกู้และปล่อยกู้
             
- ปลดเปลื้องหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง นำไปพัฒนารายได้ของตนเองและครอบครัวเสริมสภาพคล่อง  ในการดำเนินชีวิต
              - มีคณะกรรมการสหกรณ์ทั้งคณะและผู้จัดการสหกรณ์เป็นผู้ค้ำประกันการขอกู้
              - สหกรณ์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิกต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ ประเภทสามัญไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี  
              วงเงินกู้ ดอกเบี้ย การชำระเงิน
             
- วงเงินกู้สูงสุด สหกรณ์ละ ๑๐ ล้านบาท
              - อัตราดอกเบี้ย ๑% ต่อปี
              - ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน ๓ ปี
              ๑๑.๒ ผลการดำเนินงาน
             
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีสหกรณ์ยื่นคำขอกู้ ๖ แห่ง จำนวน ๓๕.๔ ล้านบาท ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ใช้สิทธิขอกู้จำนวน ๕๙๙ คน เป็นเงินจำนวน ๓๑,๒๗๓,๔๐๓.๖๘ บาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กองสวัสดิการแรงงานดำเนินการโครงการฯ อย่างต่อเนื่องในวงเงินงบประมาณให้กู้จำนวน ๕๐ ล้านบาท สามารถยื่นคำขอกู้ ผ่านระบบ e-Service หรือกองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่สหกรณ์ตั้งอยู่ ได้ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://labourfund.labour.go.th/en หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทาง Line official ของกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน กองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  

   

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

๑. โครงการ/กิจกรรม การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงาน ป.ป.ช.
      ๑.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมาของโครงการ
     
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้ดำเนินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นมา โดยเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศเข้าร่วมการประเมินฯ เพื่อให้หน่วยงานได้รับทราบถึงสถานะและปัญหาการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาองค์กรและการปฏิบัติงานให้มีคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการทุจริตให้มีประสิทธิภาพ สนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้โปร่งใสมากขึ้นและนำไปสู่การยกระดับดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index : CPI) ของประเทศไทยให้สูงขึ้นและเพื่อขับเคลื่อนให้หน่วยงานภาครัฐมีผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้   ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ซึ่งกำหนดเป้าหมายให้ประชาชนมีวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต ตัวชี้วัดร้อยละของหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ITA ค่าเป้าหมาย ปี พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕ คือ ร้อยละของหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินฯ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ จะต้องมีคะแนน ๘๕ คะแนนขึ้นไป โดยใช้แนวทางและเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด
      ๑.๒ วิธีการดำเนินงาน
     
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมฯ เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) โดยดำเนินการตามกรอบแนวทาง และเครื่องมือการประเมินตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด ดังนี้
      ๑) สำนักงาน ป.ป.ช. มีประกาศ เรื่อง ปฏิทินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕  ฉบับลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินฯ ใช้ประกอบการวางแผนและดำเนินการการประเมินตามขั้นตอนและช่วงเวลาที่กำหนด
      ๒) คณะทำงานขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบประจำกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน ได้ประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๕ โดยที่ประชุมรับทราบกรอบแนวทางและเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐฯ (ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด และมีมติเห็นชอบให้นายสมพจน์ กวางแก้ว รองอธิบดี ทำหน้าที่ ในฐานะผู้บริหารที่รับผิดชอบการประเมิน ITA ของกรมฯ โดยตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัตินำข้อมูลเข้าสู่ระบบ ITAS และมอบหมายกองการเจ้าหน้าที่  ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงานฯ ทำหน้าที่ Admin ดูแลระบบการประเมิน ITA ของกรมฯ ดำเนินการตรวจสอบความเรียบร้อยและครบถ้วนของข้อมูล จัดเตรียมข้อมูลจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment : IIT) และประสานสำนัก/กอง หรือเทียบเท่า และ สรพ.เพื่อจัดเตรียมข้อมูลผู้มีส่วนได้  ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment : EIT) โดยให้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Integrity and Transparency Assessment System : ITAS) ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบและเตรียมความพร้อมการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) ทางเว็บไซต์ ผ่านระบบ ITAS  ของสำนักงาน ป.ป.ช.
      ๓) รองอธิบดี (นายสมพจน์ กวางแก้ว) ในฐานะผู้บริหารที่รับผิดชอบการประเมินของกรมฯ ได้ตรวจสอบความถูกต้องและอนุมัติข้อมูลจำนวนบุคลากรกรมฯ สังกัดส่วนกลางที่มีระยะเวลาการปฏิบัติงานตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป จำนวน ๘๔๙ ราย และอนุมัตินำข้อมูลผู้รับบริการจากกรมฯ จำนวน ๗๖๘ ราย เข้าสู่ระบบ ITAS ของสำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกในการตอบแบบสำรวจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และแบบสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)
      ๔) คณะทำงานขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบประจำกรมสวัสดิการ    และคุ้มครองแรงงาน ได้ประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๕ โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้หน่วยงาน  สังกัดส่วนกลางประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในและภายนอกตอบแบบสำรวจฯ ให้แล้วเสร็จภาย ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ รวมทั้งเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปรับปรุงข้อมูลบนเว็บไซต์กรมฯ ให้แล้วเสร็จ เป็นปัจจุบัน ภายในวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๕ เพื่อรองรับการตรวจประเมินเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT)
      ๑.๓ กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมาย/ผลการดำเนินงาน
     
กรมฯ ได้เข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน โดยการประเมิน มีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐได้รับทราบถึงสถานการณ์เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงาน พร้อมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้หน่วยงานภาครัฐนำผลการประเมินฯ ไปใช้ประกอบการปรับปรุงพัฒนาหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการปฏิบัติงาน การให้บริการ การอำนวยความสะดวกและตอบสนองต่อประชาชน เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น
      สำนักงาน ป.ป.ช. มีประกาศ เรื่อง ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ฉบับลงวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕ โดยผลการประเมินกรมฯ ได้คะแนนภาพรวม ๙๔.๓๓ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน อยู่ในระดับ A (ดี) ซึ่งมีคะแนนลดลงจากปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๑.๒๖ คะแนน โดยรายละเอียดผลการประเมินสามารถจำแนกได้จากเครื่องมือแบบวัด ๓ ส่วน ดังนี้
      ส่วนที่ ๑ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรภายในหน่วยงานภาครัฐทุกระดับที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า ๑ ปี ได้สะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อคุณธรรมและความโปร่งใส ของหน่วยงาน จากการตอบแบบสำรวจผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ทางระบบ ITAS ประกอบด้วย ๕ ตัวชี้วัด ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ ได้คะแนน ๙๙.๐๔ คะแนน การแก้ไขปัญหาการทุจริต ได้คะแนน ๙๘.๓๐ คะแนน การใช้งบประมาณ  ได้คะแนน ๙๗.๖๒ คะแนน การใช้อำนาจ ได้คะแนน ๙๗.๓๑ คะแนน และการใช้ทรัพย์สินของราชการ ได้คะแนน ๙๖.๗๗ คะแนน โดยได้คะแนนเฉลี่ย ๙๗.๘๐ คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๐.๒๘ คะแนน
      ส่วนที่ ๒ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐได้สะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน จากการตอบแบบสำรวจ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ทางระบบ ITAS ประกอบด้วย ๓ ตัวชี้วัด ได้แก่ คุณภาพการดำเนินงาน ได้คะแนน ๙๓.๒๗ คะแนน ประสิทธิภาพการสื่อสาร ได้คะแนน ๘๗.๙๗ คะแนน และการปรับปรุงการทำงาน ได้คะแนน ๘๖.๘๒ คะแนน โดยได้คะแนนเฉลี่ย ๘๙.๓๕ คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๑.๕๗ คะแนน
      ส่วนที่ ๓ แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) โดยเป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เผยแพร่ไว้ทางหน้าเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน ซึ่งประชาชนสามารถสืบค้นข้อมูลได้ โดยได้คะแนนเฉลี่ย ๙๕.๔๔ คะแนน ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ จำนวน ๔.๕๖ คะแนน ประกอบด้วย ๒ ตัวชี้วัด ได้แก่
      ตัวชี้วัดที่ ๑ การเปิดเผยข้อมูล ประกอบด้วย ๕ ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารงาน การบริหารเงินงบประมาณ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการส่งเสริมความโปร่งใสและการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้คะแนน ๙๗.๑๔ คะแนน
      ตัวชี้วัดที่ ๒ การป้องกันการทุจริต ประกอบด้วย ๒ ตัวชี้วัดย่อย ได้แก่ การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต และมาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต ได้คะแนน ๙๓.๗๕ คะแนน
      ๑.๔ ผลสัมฤทธิ์
     
ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ(Integrity and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมฯ ได้คะแนนภาพรวม ๙๔.๓๓ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน อยู่ในระดับ A (ดี) โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ได้สรุปภาพรวมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของกรมฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เห็นว่า กรมฯ มีผลการประเมินอยู่ในระดับที่ดี ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีเป้าหมายหลักเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทั้งนี้ ผู้ตรวจประเมินได้มีข้อเสนอแนะ ให้กรมฯ ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดจำแนกได้จากเครื่องมือแบบวัด ๓ ส่วน ดังนี้
      ส่วนที่ ๑ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามตัวชี้วัดการใช้ทรัพย์สินของราชการ โดยเฉพาะประเด็นบุคลากรในหน่วยงานบางรายมีการขอยืมทรัพย์สิน ของทางราชการไปใช้ปฏิบัติงานอย่างไม่ถูกต้อง ประเด็นบุคลากรในหน่วยงานบางรายยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการขอใช้ทรัพย์สินของทางราชการอย่างถูกต้อง และประเด็นบุคคลภายนอก/ภาคเอกชนมีการขอยืมทรัพย์สิน  ของทางราชการไปใช้ปฏิบัติงานอย่างไม่ถูกต้อง
      ส่วนที่ ๒ แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ควรพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการตามตัวชี้วัดการปรับปรุงระบบการทำงาน โดยเฉพาะประเด็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกเข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้ดีขึ้น ประเด็นการปรับปรุงการดำเนินงาน/การให้บริการของหน่วยงานให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ประเด็นการปรับปรุงคุณภาพและการสำรวจความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน/การให้บริการของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานให้ดีขึ้น
      ส่วนที่ ๓ แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) ผลการประเมินที่ไม่ได้รับคะแนน จำนวน ๒ ข้อ ได้แก่ ๑) ข้อ ๐๒๐ รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมีข้อเสนอแนะว่ารายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ๒๕๖๔ ขาดองค์ประกอบการวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะในการใช้จ่ายงบประมาณ และ ๒) ข้อ ๐๓๗ การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต มีข้อเสนอแนะว่าไม่ปรากฏกิจกรรมหรือการดำเนินการที่แสดงถึงการจัดการความเสี่ยง ซึ่งภาพกิจกรรมของโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตและประพฤติมิชอบของกรมฯ ที่หน่วยงานใช้ตอบเป็นเพียงกิจกรรมการประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี และ ไม่สอดคล้องกับมาตรการจัดการความเสี่ยงจากการประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี 

 

๒. โครงการ/กิจกรรม การประเมินองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
      ๒.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมาของโครงการ
     
คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมคุณธรรมในทุกภาคส่วน และมีนโยบายส่งเสริมการขับเคลื่อนคุณธรรมในระดับชุมชน องค์กร อำเภอและจังหวัด และกำหนดให้มีการดำเนินการประเมินองค์กรคุณธรรม โดยกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินที่มีมาตรฐานกลางในการประเมินความสำเร็จ ๓ ระดับ คือ ระดับส่งเสริมคุณธรรม ระดับคุณธรรม และระดับคุณธรรมต้นแบบ เพื่อบ่งบอกถึงกระบวนการในการพัฒนาคุณธรรมที่ได้มาตรฐาน และมอบรางวัลเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ เสริมแรงจูงใจให้กับทุกภาคส่วนในการส่งเสริม พัฒนา และขับเคลื่อนงานด้านคุณธรรม เพื่อสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งจะเป็นกลไกหลัก  ในการขับเคลื่อนและส่งเสริมความดีงามให้เกิดขึ้นในทุก ๆ ภาคส่วนของสังคม โดยกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้มีหนังสือเชิญชวนให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเข้าร่วมการประเมินองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
      ๒.๒ วิธีการดำเนินงาน
     
การประเมินองค์กรคุณธรรม
      องค์กรคุณธรรม หมายถึง องค์กรหรือหน่วยงานที่ผู้นำและสมาชิกขององค์กรแสดงเจตนารมณ์ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมในองค์กร ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนาโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงามมาเป็นหลักในการดำรงชีวิต ตลอดจนมีส่วนร่วมรณรงค์ส่งเสริมคุณธรรมให้กับประชาชน ชุมชน หรือเครือข่ายต่าง ๆ แบ่งตามพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ
      ๑) องค์กรที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดทุกจังหวัด อาทิ ส่วนราชการสังกัดส่วนภูมิภาคและสังกัดส่วนกลางที่มีที่ทำการตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดที่ไม่ต่ำกว่าระดับสำนัก/กองหรือเทียบเท่า (มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรภาคเอกชน สมาคม โรงเรียน สถานีตำรวจ โรงพยาบาล โรงงาน ฯลฯ ในแต่ละจังหวัด
      ๒) องค์กรที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางและองค์กรในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่
            - ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นในสังกัดกระทรวง ที่ไม่ต่ำกว่า  ระดับสำนัก/กองหรือเทียบเท่า (มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า)
            - องค์กรอิสระ องค์กรภาคธุรกิจ องค์กรภาคเอกชน สมาคม ฯลฯ ในกรุงเทพมหานคร
            - ส่วนราชการและหน่วยงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นในสังกัดกรุงเทพมหานคร ไม่ต่ำกว่าระดับสำนัก/กอง   หรือเทียบเท่า (มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า)
      ตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม
      การประเมินองค์กรคุณธรรม เป็นกระบวนกรสำคัญนำไปสู่การส่งเสริม พัฒนาและยกระดับองค์กรให้ดีขึ้น แบ่งเป็น ๙ ตัวชี้วัด ๓ ระดับ คือ
      ระดับที่ ๑ องค์กรส่งเสริมคุณธรรม
     
ดำเนินการข้อ ๑ - ๓ ทุกข้อ ไม่น้อยกว่าข้อละ ๑ คะแนน รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๔ คะแนน
      กรณีองค์กรระดับกรมหรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลประเมินองค์กรในสังกัดที่ไม่ต่ำกว่าสำนัก/กองหรือเทียบเท่า (ที่มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) ที่ประเมินได้ ในระดับส่งเสริมคุณธรรม จำนวนไม่น้อยกว่า ๘๐ %
      ระดับที่ ๒ องค์กรคุณธรรม
     
ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับที่ ๑ และดำเนินการข้อ ๔ - ๖ ทุกข้อ ไม่น้อยกว่าข้อละ ๑ คะแนน รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๔ คะแนน โดยมีผลรวมคะแนนข้อ ๑ - ๖ ไม่น้อยกว่า ๘ คะแนน
     
กรณีองค์กรระดับกรมหรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลประเมินองค์กรในสังกัดที่ไม่ต่ำกว่าสำนัก/กองหรือเทียบเท่า        (ที่มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) ที่ประเมินได้ ในระดับคุณธรรม จำนวนไม่น้อยกว่า ๗๐%
      ระดับที่ ๓ องค์กรคุณธรรมต้นแบบ
     
ผ่านเกณฑ์ประเมินระดับที่ ๑ ระดับที่ ๒ และดำเนินการข้อ ๗ - ๙ ทุกข้อ ไม่น้อยกว่าข้อละ ๑ คะแนน รวมแล้วไม่น้อยกว่า ๔ คะแนน โดยมีผลรวมคะแนนข้อ ๑ - ๙ ไม่น้อยกว่า ๑๒ คะแนน
      กรณีองค์กรระดับกรมหรือเทียบเท่า ให้ใช้ผลประเมินองค์กรในสังกัดที่ไม่ต่ำกว่าสำนัก/กองหรือเทียบเท่า (ที่มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) ที่ประเมินได้ ในระดับคุณธรรมต้นแบบ จำนวนไม่น้อยกว่า ๖๐%

      โดยมีเกณฑ์การประเมินองค์กรคุณธรรม ดังนี้

การประเมินองค์กรคุณธรรม

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินระดับที่ ๑ องค์กรส่งเสริมคุณธรรม (ข้อ ๑ – ๓)
การประเมินกระบวนการพัฒนาองค์กร

๑) องค์กรมีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะขับเคลื่อนหน่วยงานให้เป็นองค์กรคุณธรรม

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กร ตั้งแต่ ๘๐.๐๐ % ขึ้นไป ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กร ตั้งแต่ ๕๐.๐๐ - ๗๙.๙๙ %ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กรที่ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรน้อยกว่า ๕๐.๐๐ %

๒) องค์กรมีการกำหนดคุณธรรมเป้าหมายและกำหนด “ปัญหาที่อยากแก้” และ“ความดีที่อยากทำ” ที่สอดคล้องกับคุณธรรม ๔ ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กรตั้งแต่ ๘๐.๐๐ % ขึ้นไปร่วมกันกำหนดคุณธรรมเป้าหมายอย่างน้อย ๓ เรื่อง

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กร ตั้งแต่ ๕๐.๐๐ - ๗๙.๙๙ %ร่วมกันกำหนดคุณธรรมเป้าหมายจำนวน ๒ เรื่อง

ผู้บริหารและสมาชิกในองค์กรที่ร่วมกำหนดคุณธรรมเป้าหมายน้อยกว่า ๕๐.๐๐ %

๓) องค์กรมีการจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กรที่สอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมายที่กำหนด

- มีแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรแบบมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในองค์กร
- มีการมอบหมายหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงาน

- มีแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรแบบมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในองค์กร
- มีการมอบหมายบุคลากรรับผิดชอบการดำเนินงาน

ไม่มีการจัดทำแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กร

 

การประเมินองค์กรคุณธรรม

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินระดับที่ ๒ องค์กรคุณธรรม (ข้อ ๑ – ๖)
การประเมินกระบวนการและการดำเนินงานตามแผน

๔) องค์กรมีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้

การดำเนินการตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้มีผลสำเร็จตั้งแต่ ๖๐.๐๐ % ขึ้นไปและเป็นไปตามเป้าหมายของกิจกรรม ที่กำหนดไว้

การดำเนินการตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้มีผลสำเร็จตั้งแต่ ๔๐.๐๐ - ๕๙.๙๙ % และเป็นไปตามเป้าหมายของกิจกรรมที่กำหนดไว้

การดำเนินการตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้มีผลสำเร็จน้อยกว่า ๔๐.๐๐ %

๕) องค์กรมีการติดตามประเมินผลสำเร็จเพื่อทบทวน ปรับปรุงแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรให้มีคุณภาพและบรรลุคุณธรรมเป้าหมายที่กำหนด

- มีการประเมินและรายงานผลสำเร็จของแผน
- มีการทบทวนปรับปรุงแผนส่งเสริมคุณธรรมขององค์กรที่มีคุณภาพ

มีการประเมินและรายงานผลสำเร็จของแผน

ไม่มีการติดตามประเมินผล

๖) องค์กรมีการยกย่อง เชิดชู บุคลากรที่ทำความดีจนเป็นแบบอย่างได้ และหรือหน่วยงานที่มีโครงการดีเด่นในการส่งเสริมคุณธรรมเป้าหมายตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้

- มีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคลากรที่ทำความดีจนเป็นแบบอย่างได้
- มีการประกาศยกย่องเชิดชูหน่วยงานภายในหรือภายนอกที่มีการส่งเสริมคุณธรรมเป้าหมายจนเป็นแบบอย่าง

มีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคลากรที่ทำความดีจนเป็นแบบอย่างได้

ไม่มีการประกาศยกย่องเชิดชูบุคลากรที่ทำความดี

  

การประเมินองค์กรคุณธรรม

เกณฑ์การให้คะแนน

การประเมินระดับที่ ๓ องค์กรคุณธรรมต้นแบบ (ข้อ ๑ – ๙)
การประเมินกระบวนการ การดำเนินงานตามแผนและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง

๗) องค์กรมีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้เพิ่มมากขึ้นและพฤติกรรมของคนในองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง

- มีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้ ตั้งแต่ ๘๐.๐๐ %ขึ้นไป และเป็นไปตามเป้าหมายของกิจกรรมที่กำหนดไว้
- คนในองค์กรมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นตามคุณธรรมเป้าหมายที่กำหนด

มีผลสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้ตั้งแต่ ๗๐.๐๐ – ๗๙.๙๙ % และเป็นไปตามเป้าหมายของกิจกรรมที่กำหนดไว้

การดำเนินกิจกรรมตามแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้มีผลสำเร็จ น้อยกว่า ๗๐.๐๐ %

๘) องค์กรมีการจัดกิจกรรมใน ๓ มิติ ได้แก่ ยึดมั่นในหลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและวิถีวัฒนธรรมที่เพิ่มเติมจากแผนส่งเสริมคุณธรรมที่กำหนดไว้

มีการจัดกิจกรรมครบทั้ง ๓ มิติ

มีการจัดกิจกรรมจำนวน ๒ มิติ

มีการจัดกิจกรรมน้อยกว่า ๒ มิติ

๙) องค์กรมีองค์ความรู้จากการดำเนินงานองค์กรคุณธรรม เพื่อเผยแพร่และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ถ่ายทอดขยายผลไปสู่องค์กรอื่น ๆ ได้

องค์กรมีองค์ความรู้จากการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบที่สามารถให้หน่วยงานอื่น ๆเข้ามาศึกษาดูงานหรือไปเผยแพร่ผลงานให้กับหน่วยงานอื่น ๆไม่น้อยกว่า ๕ ครั้งต่อปี

องค์กรมีองค์ความรู้จากการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบที่สามารถให้หน่วยงานอื่น ๆเข้ามาศึกษาดูงานหรือไปเผยแพร่ผลงานให้กับหน่วยงานอื่น ๆไม่น้อยกว่า ๓ ครั้งต่อปี

องค์กรไม่ได้ให้หน่วยงานอื่นเข้ามาศึกษาดูงาน หรือไปเผยแพร่ผลงานให้กับหน่วยงานอื่น ๆ

      ทั้งนี้ กรมฯ ได้ประเมินตนเองตามเกณฑ์การประเมินฯ พร้อมรวบรวมข้อมูลจัดส่งให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงแรงงาน เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงแรงงาน พิจารณาให้ความเห็นชอบผลการประเมินตนเองของแต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ และพิจารณาคัดเลือกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานให้เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
      ๒.๓ กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมาย/ผลการดำเนินงาน     
      ๑) การประเมินองค์กรคุณธรรมของกรมฯ ใช้ผลประเมินองค์กรในสังกัดที่ไม่ต่ำกว่าสำนัก/กองหรือเทียบเท่า    (ที่มีผู้บริหารระดับอำนวยการต้นขึ้นไปหรือเทียบเท่า) โดยกลุ่มงานจริยธรรม กองการเจ้าหน้าที่ ได้ดำเนินการส่งเสริม พัฒนาและขับเคลื่อนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สร้างค่านิยมและจิตสำนึกที่ดีให้กับข้าราชการและบุคลากรของกรมฯ และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องตามเกณฑ์การประเมินฯ ๙ ตัวชี้วัด ๓ ระดับ จากหน่วยงานของกรมฯ สังกัดส่วนกลาง ระดับสำนัก/กองหรือเทียบเท่า จำนวน ๑๓ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักตรวจราชการ สำนักงานเลขานุการกรม กองคุ้มครองแรงงาน กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ กองความปลอดภัยแรงงาน กองสวัสดิการแรงงาน กองนิติการ กองบริหารการคลัง กองการเจ้าหน้าที่ สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน สำนักแรงงานสัมพันธ์ กลุ่มตรวจสอบภายใน และกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร   
      ๒) คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงแรงงาน ได้ประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ และมีมติเห็นชอบผลการประเมินตนเองของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
      ๒.๔ ผลสัมฤทธิ์
     
คณะอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงแรงงาน ได้ประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ และมีมติเห็นชอบคัดเลือกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบโดดเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ของกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จะประกาศผลอย่างเป็นทางการพร้อมจัดงานมอบโล่รางวัลคุณธรรมต้นแบบโดดเด่นในแต่ละประเภท ช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ 

  

๓. โครงการ/กิจกรรม ของขวัญปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน “SAFETY SERVICE ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน อบรมความปลอดภัย ฟรี ๑๐,๐๐๐ คน”
      ๓.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมาของโครงการ
      กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้มีประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การฝึกอบรมหรือ   การพัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติม ลงวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ ได้รับการฝึกอบรมหรือ การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มเติมปีละไม่น้อยกว่า ๑๒ ชั่วโมง ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด ดังนั้น เพื่อให้นายจ้างปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน และเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างกรมฯ จึงได้เสนอกิจกรรม “SAFETY SERVICE ยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน อบรมความปลอดภัยฟรี ๑๐,๐๐๐ คน” เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยมีหัวข้อหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ ๑) กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงาน เช่น พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๒ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้น และ ๒) ทักษะการปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การระบายอากาศในงานอุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยง กิจกรรม ๕ ส และความปลอดภัยในงานขนส่ง เป็นต้น
      ๓.๒ เป้าหมายผู้เข้ารับการอบรม
     
จำนวน ๑๐,๐๐๐ คน ได้แก่
      เป้าหมายหลัก : เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ
      เป้าหมายรอง : ลูกจ้างทุกระดับ
      ๓.๓ การดำเนินการ
     
ระยะเวลาดำเนินการ : เดือนมกราคม - มีนาคม ๒๕๖๖
      - กองความปลอดภัยแรงงาน, ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต ๑ - ๑๒ ร่วมกับสมาคม/ชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
      - หน่วยฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมสวัสดิการ      และคุ้มครองแรงงาน (จำนวน ๑๐๙ แห่ง) ที่ประสงค์จะเข้าร่วมกิจกรรม
      ๓.๔ ผลที่คาดว่าจะได้รับ
     
๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ ได้รับการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้เพิ่มเติม ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๖๕ และตามที่ประกาศกรมฯ กำหนด
      ๒) ลูกจ้างได้รับการดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จำนวน ๕๐๐,๐๐๐ คน (สถานประกอบกิจการ ๑๐,๐๐๐ แห่ง X ๕๐ คน/แห่ง)
      ๓) สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับนายจ้าง ในการส่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ เข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานฝึกอบรม รวมจำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ผู้เข้ารับการอบรม ๑๐,๐๐๐ คน X ๑,๐๐๐ บาท/คน)
      ๓.๕ ผลการดำเนินการ
     
จำนวนผู้ได้รับการอบรมตั้งแต่วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๕ - ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ รวมจำนวน ๑๓,๕๖๙ คน

๔. โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมตรวจแรงงานนอกระบบ
      ๔.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
     
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้ความสำคัญกับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ จึงได้กำหนดกิจกรรมการตรวจแรงงานนอกระบบเพื่อเป็นการบังคับใช้กฎหมาย และตรวจสอบสภาพการจ้าง สภาพการทำงาน เพื่อให้มีการปฏิบัติสอดคล้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อป้องกันปัญหาการใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรม ตลอดจนการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้จ้างงานหรือผู้ส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้าน ตัวแทนหรือผู้รับเหมาช่วงในงานที่รับไปทำที่บ้าน/ผู้รับงานไปทำที่บ้าน นายจ้าง/ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และนายจ้าง/ลูกจ้างในงานเกษตรกรรมซึ่งมิได้จ้างงานตลอดปี ให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ลดความขัดแย้ง และ มีความมั่นคงในการทำงานยิ่งขึ้น
      ๔.๒ เป้าหมาย
     
จำนวน ๑๕,๐๐๐ คน
      ๔.๓ ผลการดำเนินงาน  
      ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ดำเนินการตรวจแรงงานนอกระบบ จำนวน ๑๕,๒๘๔ คน คิดเป็นร้อยละ ๑๐๑.๘๙
      ๔.๔ ผลสัมฤทธิ์
     
ผู้จ้างงาน/ผู้ส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้าน/ตัวแทนหรือผู้รับเหมาช่วงในงานที่รับไปทำที่บ้าน/ผู้รับงาน ไปทำที่บ้าน นายจ้าง/ลูกจ้างทำงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย และนายจ้าง/ลูกจ้าง ในงานเกษตรกรรม ซึ่งมิได้จ้างงานตลอดปี ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย มีความปลอดภัย ในการทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

๕. โครงการ/กิจกรรม โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งชมรมแรงงานนอกระบบ
      ๕.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
     
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเทียบเท่าแรงงานในระบบ รวมถึงส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย เนื่องจากแรงงานนอกระบบขาดกลไกสนับสนุนที่ชัดเจน และ ไม่สามารถตั้งสหภาพเพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายได้เหมือนแรงงานในระบบ แต่เนื่องจากการดำเนินงานในกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผ่านมา พบว่าการรวมกลุ่มของแรงงานนอกระบบยังคงขาดความต่อเนื่องและขาดความเข้มแข็ง เนื่องจากสภาพการทำงาน ที่เป็นอิสระ ไม่มีแบบแผนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มที่ชัดเจน ไม่มีกฎหมายรับรองการรวมกลุ่ม อีกทั้งยังขาดการสนับสนุน ทั้งด้านองค์ความรู้และงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดและส่งเสริมให้ชมรมแรงงานนอกระบบมีความเข้มแข็งอย่างเป็นรูปธรรม ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งชมรมแรงงานนอกระบบ” ขึ้น เพื่อให้แกนนำชมรมแรงงานนอกระบบทุกจังหวัดและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนภูมิภาคมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และร่วมเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกการทำงานในระดับพื้นที่แบบคู่ขนานให้เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนส่งเสริมชมรมแรงงานนอกระบบให้มีศักยภาพและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการชมรมอย่างเป็นระบบ ได้รับทราบถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
      ๕.๒ ผลการดำเนินงาน
     
การประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของกรมสวัสดิการ  และคุ้มครองแรงงาน ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ในชื่อกิจกรรม “กสร. ขับเคลื่อนกลไก จับมือเครือข่าย  นำนโยบายสู่การปฏิบัติ” มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๕๒ คน และการลงพื้นที่ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมให้ชมรมแรงงานนอกระบบมีการบริหารจัดการชมรมอย่างเป็นระบบ ได้รับทราบสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนแนวทางการออมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๔ รุ่น ๆ ละ ๒๕ คน ประกอบด้วย รุ่นที่ ๑ ณ กลุ่มตะกร้อตะแกรง ตำบลดงกระทงยาม  อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี รุ่นที่ ๒ ณ กลุ่มอาชีพเกาะนาล้อม ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา รุ่นที่ ๓ ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพเกลือทะเลกังหันทอง ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี รุ่นที่ ๔ ณ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ตำบลอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
      ๕.๓ ผลสัมฤทธิ์
     
แกนนำชมรมแรงงานนอกระบบทุกจังหวัด และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในส่วนภูมิภาคมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของกรมฯ สามารถร่วมเป็นพลังขับเคลื่อน ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้ง สมาชิกชมรมแรงงานนอกระบบมีศักยภาพและองค์ความรู้ในการบริหารจัดการชมรมอย่างเป็นระบบได้รับทราบถึงสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ความปลอดภัย ในการทำงาน ตลอดจนแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การรวมกลุ่มที่เข้มแข็งและยั่งยืน

๖. โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
      ๖.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
     
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จัดกิจกรรมคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบดีเด่น เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความสำคัญของแรงงานนอกระบบและส่งเสริมผู้จ้างงาน/นายจ้าง แรงงานนอกระบบ และเครือข่ายแรงงานนอกระบบที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
      ๖.๒ ผลการดำเนินงาน  
      ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกในกิจกรรมคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบดีเด่น จำนวนทั้งสิ้น ๔๔ ราย จาก ๓๗ หน่วยปฏิบัติ จำแนกเป็นประเภทผู้จ้างงาน/นายจ้างแรงงานนอกระบบ จำนวน ๘ ราย ประเภทแรงงานนอกระบบ จำนวน ๑๗ ราย และประเภทเครือข่ายแรงงานนอกระบบ จำนวน ๑๙ ราย เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ประกาศ ผลการคัดเลือกบุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบดีเด่นประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งได้มีการดำเนินการมอบรางวัลให้แก่บุคคลและเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ช่วงเดือนเมษายน ๒๕๖๕ รายละเอียดผู้ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศ  ประเภทละ ๑ รางวัล เกียรติบัตรรางวัลชมเชยประเภทละ ๓ รางวัล และเกียรติบัตรสำหรับการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๗ รางวัล
      ๖.๓ ผลสัมฤทธิ์
     
แรงงานนอกระบบเกิดการสร้างงานที่มีคุณค่า เกิดการพัฒนาความรู้ความสามารถให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง   ในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นแบบอย่างที่ดีและสมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ 

๗. โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมการดำเนินงานด้านแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP)
      ๗.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
     
แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) เริ่มมาจากความต้องการที่จะแก้ไขปัญหา การใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องในประเทศไทย ได้แก่ ปัญหาการบังคับใช้แรงงาน ปัญหาการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งปัญหาเหล่านี้   มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศ ดังนั้นประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านแรงงาน จึงต้องมีการปรับปรุง โดยนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) มาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีนี้จัดทำขึ้นตามกรอบบทบัญญัติ ข้อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สวัสดิการแรงงาน การจัดหางาน และการประกันสังคม ตลอดจนอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ และองค์การสหประชาชาติ ซึ่งแนวปฏิบัติการ   ใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) เป็นการดำเนินการโดยสมัครใจ สถานประกอบกิจการทุกประเภททุกขนาดสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการปรับปรุงสภาพการจ้างการทำงานให้สอดคล้องกับกฎหมายและสามารถพัฒนา ให้มีระบบบริหารจัดการแรงงานที่ดีเทียบกับมาตรฐานแรงงานสากล โดยมีผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ คือ การยกระดับคุณภาพ ชีวิตแรงงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก การใช้แรงงานบังคับ การเลือกปฏิบัติและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
      กระทรวงแรงงานกำหนดนโยบายให้แนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) เป็นกลไกหนึ่ง ในการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงมีเป้าหมายในการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการทุกประเภท ทุกขนาด นำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) ไปใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจนำไปสู่การยกระดับการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศ มุ่งสู่ Tier ๑ ด้วยหลักการ ๔ ไม่ ๖ มี คือ
      หลักการ ๔ ไม่
     
๑)  ไม่ใช้แรงงานเด็ก                        ๒) ไม่ใช้แรงงานบังคับ
      ๓)  ไม่เลือกปฏิบัติ                            ๔) ไม่มีการค้ามนุษย์
     
หลักการ ๖ มี
     
๑)  มีระบบจัดการและบริหารแรงงาน                  ๒) มีเสรีภาพในการสมาคม
      ๓)  มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นกับนายจ้าง      ๔) มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย
      ๕)  มีการจัดการสุขอนามัยและของเสีย               ๖) มีสวัสดิการที่เหมาะสม
      กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้กำหนดให้กิจกรรมด้านแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี เป็นนโยบายสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องในประเทศไทย โดยการส่งเสริมความรู้ การพัฒนาศักยภาพด้านแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน     เพื่อผลักดัน ให้สถานประกอบกิจการนำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices: GLP) ไปใช้ในการบริหารจัดการแรงงาน ลดประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรคทางการค้า/การจ้างงาน โดยเฉพาะประเด็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสถานประกอบกิจการและประเทศ การรณรงค์ให้ผู้ประกอบกิจการตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน เพิ่มโอกาสทางการค้า ลดอุปสรรคในการส่งออก สร้างความน่าเชื่อถือในการให้ความสำคัญเรื่องจริยธรรมในการจ้างงานและการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน
      ๗.๒ เป้าหมาย
     
ดำเนินการส่งเสริมความรู้แก่สถานประกอบกิจการจำนวน ๓,๐๐๐ แห่ง
      ๗.๓ ผลการดำเนินงาน
     
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินกิจกรรมด้านแนวปฏิบัติการ ใช้แรงงานที่ดี (GLP) ให้แก่สถานประกอบกิจการทั่วประเทศ ดังนี้
      ๑) กิจกรรมส่งเสริมความรู้สถานประกอบกิจการด้านแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) เพื่อไปใช้ในการบริหารกิจการ/ธุรกิจติดตามสถานประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) เพื่อไปใช้ในการบริหารกิจการ/ธุรกิจ จำนวน ๓,๑๔๗ แห่ง ลูกจ้างได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย ไม่มีการเลือกปฏิบัติ  ไม่มีการใช้แรงงานเด็กแรงงานบังคับ ไม่มีการค้ามนุษย์ จำนวน ๑๙๖,๐๗๙ คน
      ๒) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) จำนวน ๙๐๙ แห่ง
      ๓) กิจกรรมส่งเสริมสถานประกอบกิจการให้จัดทำแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP)  จำนวน ๑,๙๘๙ แห่ง
      ๔) กิจกรรมจัดงานนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดีใน ๒ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดชลบุรี มีสถานประกอบกิจการเข้าร่วม จำนวน ๑๕๓ แห่ง
      ๕) โครงการจัดงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การยกระดับการบริหารแรงงาน ด้วยแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและบริษัทในกลุ่มธุรกิจ TCP เมื่อวันพุธที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๕ มีสถานประกอบกิจการในกลุ่มธุรกิจ TCP และสถานประกอบกิจการในห่วงโซ่อุปทาน จำนวน ๒๘ แห่ง ลูกจ้างมากกว่า ๕,๐๐๐ คน
      ๖) โครงการจัดงานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการขับเคลื่อนแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices : GLP) ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หอการค้าไทยและสภาหอการค้า แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ สถานประกอบกิจการที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย รวมถึงห่วงโซ่อุปทานจำนวนกว่า ๑๑๔,๘๕๖ ราย  
รูปเพิ่มเติม MOU TCP

รูปเพิ่มเติม MOU หอการค้าไทย

รูปเพิ่มเติม งานนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบ

๘. โครงการ/กิจกรรม กิจกรรมการดำเนินงานด้านมาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑ (Thai Labour Standard : TLS)
      ๘.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
     
มาตรฐานแรงงานเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี       แม้ในระดับองค์การค้าโลกยังมีการยกเอามาตรฐานแรงงานขึ้นมาพิจารณา ประเทศพัฒนาแล้ว มองว่ามาตรฐานแรงงาน   ในประเทศกำลังพัฒนาปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ได้เปรียบจากต้นทุนแรงงานที่ต่ำ ได้มาจากการเอารัดเอาเปรียบแรงงาน ในทางกลับกันประเทศกำลังพัฒนามองว่าการบังคับใช้มาตรฐานแรงงานแท้จริง คือ การกีดกันทางการค้าในรูปแบบใหม่ๆ เท่านั้นเอง เนื่องจากการกีดกันด้วยภาษีนั้นลดลง การกำหนดมาตรฐานแรงงานจึงถูกใช้เป็นเงื่อนไขในการทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันแรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง และการป้องกันการทำงานที่เสี่ยงอันตราย เกินสภาพที่มนุษย์ทั่วไปจะกระทำได้
      กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงได้ประกาศมาตรฐานแรงงานไทยความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย มรท.8001 ซึ่งจัดทำขึ้นตามกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บทบัญญัติของกฎหมายแรงงานที่ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสวัสดิการแรงงาน ตลอดจนอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และองค์การสหประชาชาติ สถานประกอบกิจการทุกประเภท ทุกขนาด สามารถนำมาตรฐานแรงงานไทยไปปฏิบัติและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในสถานประกอบกิจการของตนโดยสมัครใจ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สามารถเข้าร่วมแข่งขันในเวทีการค้าโลกอย่างทัดเทียมนานอารยประเทศ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน และเสริมสร้างธุรกิจให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน กิจการ โดยกลุ่มเป้าหมาย ในการส่งเสริมเข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทย คือ สถานประกอบกิจการส่งออกและที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก รวมทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตลอดสายการผลิตทุกขนาดและทุกประเภทกิจการ
      มาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑(Thai Labour Standard : TLS) แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
     
๑) ระดับพื้นฐาน หมายถึง การปฏิบัติต่อแรงงานของสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องตามข้อกำหนด    ของมาตรฐานแรงงานไทย ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และมีชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (OT.) การทำงานล่วงเวลา ในวันหยุด และการทำงานในวันหยุดสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน ๓๖ ชั่วโมง มีอายุการรับรอง ๒ ปี นับแต่วันที่ได้รับการรับรอง
      ๒) ระดับสมบูรณ์ หมายถึง การปฏิบัติต่อแรงงานของสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องทุกข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงานไทย และมีชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (OT.) การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด และการทำงานในวันหยุดสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน ๓๖ ชั่วโมง มีอายุการรับรอง ๓ ปี นับแต่วันที่ได้รับการรับรอง
      ๓) ระดับสมบูรณ์สูงสุด หมายถึง การปฏิบัติต่อแรงงานของสถานประกอบกิจการให้สอดคล้องทุกข้อกำหนดของมาตรฐานแรงงาน และมีชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (OT.) การทำงานล่วงเวลาในวันหยุด และการทำงานในวันหยุดรวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน ๑๒ ชั่วโมง มีอายุการรับรอง ๓ ปี นับแต่วันที่ได้รับการรับรอง
      สามารถจัดทำมาตรฐานแรงงานไทย (Thai Labour Standard : TLS) ได้ ๒ วิธี คือ
     
๑) การรับรองมาตรฐานแรงงานไทย หมายถึง สถานประกอบกิจการที่ประสงค์ขอการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย ให้ยื่นคำขอการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย และมีการดำเนินการประเมินโดยหน่วยรับรองหรือหน่วยตรวจเพื่อตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด และจะได้รับใบรับรองเพื่อแสดงว่าได้ปฏิบัติสอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย
      ๒) การประกาศแสดงตนเองมาตรฐานแรงงานไทย หมายถึง สถานประกอบกิจการที่ไม่ประสงค์ขอการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย สามารถยืนยันหรือรับรองตนเองว่าได้มีการปฏิบัติสอดคล้องตามข้อกำหนดมาตรฐานแรงงานไทย
      ขั้นตอนการขอการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001 (Thai Labour Standard : TLS)
     
๑) การขอการรับรองระดับพื้นฐาน ให้สถานประกอบกิจการยื่นแบบคำขอการรับรอง (กรร.๐๓) ระดับพื้นฐาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด (สสค.) หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ (สรพ.) 
      ๒) การขอการรับรองระดับพื้นฐาน ระดับสมบูรณ์และระดับสมบูรณ์สูงสุด ยื่นแบบคำขอการรับรอง (กรร.๐๓)  ณ หน่วยรับรอง/หน่วยตรวจภาคเอกชน
      ๘.๒ ผลการดำเนินงาน
     
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินกิจกรรมด้านมาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑ (Thai Labour Standard : TLS) ให้แก่สถานประกอบกิจการทั่วประเทศ ดังนี้
      ๑) กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านมาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน (CSR) จำนวน ๓,๕๖๙ แห่ง ลูกจ้างมีความมั่นคงในการทำงาน ได้รับการคุ้มครองไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด ได้รับความเป็นธรรม มีความปลอดภัย และได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต จำนวน ๒๙๙,๕๕๕ คน
      ๒) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงานด้วยมาตรฐานแรงงานไทยจำนวน ๙๑๔ แห่ง
      ๓) กิจกรรมส่งเสริมสถานประกอบกิจการให้เข้าสู่ระบบมาตรฐานแรงงานไทย จำนวน ๒๓๐ แห่ง
      ๔) กิจกรรมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การยกระดับมาตรฐานแรงงานไทย เพื่อก้าวไปอย่างยั่งยืน” ระหว่างกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกับ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ว่าจะดำเนินกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และการประเมินสถานประกอบกิจการ ให้มีการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงาน สอดคล้องกับระบบมาตรฐานแรงงานไทยเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจอย่างยั่งยืนส่งผลให้สินค้าและบริการได้รับการยอมรับจากลูกค้า และกลุ่มผู้บริโภคในเวทีการค้าโลก ตามแนวนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนของคู่ค้าธุรกิจ
      ๕) กิจกรรมการจัดงานพิธีมอบรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีระบบบริหารจัดการด้านแรงงานยอดเยี่ยม ประจำปี ๒๕๖๕ (Thailand Labour Management Excellence Award 2022) จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๕ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและเป็นแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการที่มีการบริหารจัดการอย่างมีมาตรฐานเทียบเท่ามาตรฐานสากล   อันนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกจ้าง โดยการมอบรางวัล ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน โดยขอพระราชทานถ้วยรางวัล จำนวน ๓ รางวัล จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้กับสถานประกอบกิจการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่ผ่านการคัดเลือกเป็นสถานประกอบกิจการที่มีความมุ่งมั่นในการบริหารแรงงาน  อย่างเป็นมาตรฐานครบ ๓ ด้าน

๙. โครงการ/กิจกรรม โครงการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน
      ๙.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
     
ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายการพัฒนาคน    ในทุกมิติ และในทุกช่วงวัยให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ คนไทยมีความพร้อมทั้งกายใจ สติปัญญามีความรับผิดชอบต่อสังคม มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องสู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาช่วงวัยแรงงาน ให้ได้รับการยกระดับศักยภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานได้ทำงานที่มีคุณค่าเพื่อสร้างผลิตภาพเพิ่มให้กับประเทศ
      ทรัพยากรแรงงาน คือ ทุนมนุษย์ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรให้เจริญเติบโต และสามารถนำพาธุรกิจ ให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันทุกภาคส่วนเผชิญกับพลวัตรของปัญหารอบด้าน      จึงต้องมีความพร้อมในการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID - ๑๙) การเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าของโลกดิจิทัล ตลอดจนอุปสรรคจากการแข่งขันทางการค้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบกิจการและลูกจ้างต้องปรับตัวด้วยการเพิ่มพูนทักษะความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทุกองค์การมีกระบวนการคัดสรรคนมีความรู้ความสามารถไว้ทำงานกับองค์กร คนทำงานรุ่นใหม่ต้องสามารถทำงานในสังคมแห่งปัญญา ต้องมีทักษะ การสื่อสารตลอดจนมีภาวะผู้นำ (Leadership) ในยุคการเปลี่ยนแปลง
      กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีภารกิจในการพัฒนาทรัพยากรแรงงานทั้งระดับผู้บริหารและลูกจ้างให้มีความรู้ มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน มีระบบบริหารจัดการแรงงานที่ดีในสถานประกอบกิจการ สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นำมาซึ่งประสิทธิภาพการทำงาน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๕ มีหลักสูตรพัฒนาองค์ความรู้ ๔ ด้าน ๑๙ หลักสูตร ได้แก่ การพัฒนาด้านองค์ความรู้ด้านแรงงาน การพัฒนาด้านสมรรถนะทรัพยากรแรงงาน การพัฒนาด้านศักยภาพทรัพยากรแรงงานและการพัฒนาด้านการบริหารจัดการแรงงาน ซึ่งองค์ความรู้ทั้ง ๔ ด้านดังกล่าว ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดในการทำงาน และการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์อันเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ  
      วัตถุประสงค์
      ๑) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และแนวคิด ให้กับทรัพยากรแรงงานในการบริหารจัดการแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      ๒) เพื่อพัฒนาสมรรถนะ และศักยภาพทรัพยากรแรงงานให้มีพฤติกรรมเพื่อสร้างสรรค์งาน ให้มีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับของนายจ้าง
      ๓) เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันทางการค้าในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
      ๙.๒ วิธีการดำเนินงาน
     
ได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมทรัพยากรแรงงาน ๑๙ หลักสูตร ๒๓ รุ่น ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมของคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรการอบรมทรัพยากรแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยจัดอบรมในรูปแบบ Online ณ ห้องอบรมทรัพยากรแรงงาน ชั้น ๑๓ กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรแรงงาน สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทรัพยากรแรงงาน จำนวน ๔ ด้าน ดังนี้
      ๑) ด้านการพัฒนาองค์ความรู้ด้านแรงงาน ได้แก่
            (๑) กฎหมายแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้
            (๒) พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ว่าด้วยเรื่อง สัญญาจ้างแรงงาน และการใช้แรงงานทั่วไป
            (๓) แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจต่อการบริหารงานบุคคล
            (๔) หลักการบริหารแรงงานสัมพันธ์ภายใต้ภาวะวิกฤต
            (๕) พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ว่าด้วยเรื่อง ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง การกระทำอัน  ไม่เป็นธรรม/ที่ปรึกษาแรงงานสัมพันธ์ และคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
            (๖) มาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑-๒๕๖๓ กับแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (GLP) ช่วยยกระดับการค้าได้อย่างไร
            (๗) พ.ร.บ. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๕๔
            (๘) กฎหมายแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้
            (๙) การจัดการเกี่ยวกับวินัยและการลงโทษ
            (๑๐) ไขข้อข้องใจประเด็นปัญหาแรงงาน
            (๑๑) แนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่น่าสนใจต่อการบริหารงานบุคคล
            (๑๒) ผู้ตรวจติดตามภายในมาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑-๒๕๖๓
            (๑๓) คดีแรงงานกับการบริหารจัดการที่ดี
            (๑๔) ถอดบทเรียน พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒ สำหรับ HR
      ๒) ด้านการพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรแรงงาน ได้แก่
            (๑) HR How to Manage PDPA (Learning by Doing)
            (๒) เทคนิคการนำเสนองานที่มีประสิทธิภาพ
            (๓) การสร้างพลังแห่งความสำเร็จในการทำงานอย่างมีความสุข 
            (๔) กลยุทธ์การบริหารจัดการระบบความปลอดภัยในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ        
      ๓) ด้านการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรแรงงาน คือ     
            (๑) Smart HR Leadership
      ๔) ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการแรงงาน ได้แก่   
            (๑) HR How to Manage PDPA (Learning by Doing) รุ่นที่ ๑ - ๒
            (๒) การสร้างผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์การบริหารความเปลี่ยนแปลง
            (๓) การบริหารค่าจ้าง ค่าตอบแทนและสวัสดิการ แบบ New Normal
      ๙.๓ กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมาย/ผลการดำเนินงาน
     
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้ดำเนินการจัดอบรมในรูปแบบ Online จำนวนทั้งสิ้น ๒๓ รุ่น ๑๙ หลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย นายจ้าง ลูกจ้าง เครือข่ายแรงงาน และทรัพยากรแรงงานที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายจำนวน ๓,๔๕๐ คน ผลการจัดอบรม มีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน ๔,๕๙๓ คน เป็นชาย ๑,๒๕๗ คน และเป็นหญิง ๓,๓๓๖ คน เกินเป้าหมาย ๑,๑๔๓ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๑๓
      ๙.๔ ผลสัมฤทธิ์
     
จากการติดตามการประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าของหลักสูตรที่จัดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้เก็บข้อมูลจากผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๓,๐๕๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามเลือกตอบ โดยใช้การวัดค่าและวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการทางสถิติคือ ค่าร้อยละ ซึ่งสรุปผลการประเมินไว้ดังนี้
      ประเด็นที่ ๑ การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ของผู้เข้ารับการอบรมกับกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน
      ประเด็นที่ ๒ การนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้
      ประเด็นที่ ๓ การขยายผลและถ่ายทอดความรู้จากการอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดขึ้น
      ประเด็นที่ ๔ หลักสูตรที่ตรงกับความต้องการผู้เข้ารับการอบรมมากที่สุด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ
      ประเด็นที่ ๕ ระดับการพัฒนาหลักสูตรการอบรมของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
      ประเด็นที่ ๖ การปรับปรุงรูปแบบการจัดอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดขึ้น
      ประเด็นที่ ๗ การนำความรู้ที่ได้รับจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดผล ในแต่ละด้าน
      ประเด็นที่ ๘ ความเห็นเกี่ยวกับความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ที่ผู้เข้ารับการอบรมได้รับ ส่วนใหญ่ผลการประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าหลังการฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรที่เกิดความคุ้มค่ามากและเป็นประโยชน์สูงสุด ๓ อันดับแรกคือ หลักสูตร ผู้ตรวจติดตามภายในมาตรฐานแรงงานไทย มรท.๘๐๐๑-๒๕๖๓ หลักสูตรกฎหมายแรงงานที่นายจ้าง ลูกจ้างต้องรู้ รุ่นที่ ๒ และหลักสูตรไขข้อข้องใจประเด็นปัญหาแรงงาน คิดเป็นร้อยละ ๙๓.๓๓ ๙๒.๑๘ และ ๙๐.๙๙ ตามลำดับ จากผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า หลักสูตรที่กรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน จัดขึ้นสามารถนำความรู้ที่ได้รับในแต่ละด้านไปใช้ได้จริง ดังนี้
            - ด้านความรู้ (Knowledge) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เรื่องกฎหมายแรงงานไปปฏิบัติ ต่อลูกจ้างได้อย่างถูกต้องตามตัวบทกฎหมาย และเป็นการลดความเสี่ยงข้อขัดแย้งต่าง ๆ ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
            - ด้านสมรรถนะ (Capacity) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            - ด้านศักยภาพ (Potential) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ ไปพัฒนางานจนแปรเปลี่ยน  เป็นความเชี่ยวชาญในตำแหน่งของตน
            - ด้านการบริหารจัดการ (Management) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถบริหารจัดการองค์ความรู้ ที่ได้รับให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงาน    
            - ด้านทักษะ (Skills) ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการสามารถนำเทคนิคประสบการณ์ต่าง ๆ ที่วิทยากรได้ถ่ายทอดให้ไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้
            - ด้านทัศนคติ (Attitude) ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ดีต่องาน ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการ และองค์กรมากขึ้น
            - ด้านพฤติกรรม (Behavior) ผู้เข้ารับการอบรมมีความกล้าเผชิญหน้า และกล้าแสดงความเห็นต่อผู้บังคับบัญชามากขึ้น
      ทั้งนี้ หลักสูตรที่ทางกรมฯ จัดขึ้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมได้เป็นอย่างดี  โดยพิจารณาจากการเปิดรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมในแต่ละหลักสูตรนั้น มีผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรมครบเป้าหมายอย่างรวดเร็วภายในเวลาอันสั้นในทุก ๆ หลักสูตร และได้มีการเสนอแนะให้เปิดรับสมัครผู้เข้ารับการอบรมอย่าง  ไม่จำกัดหลักสูตรและจำนวนคน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมอย่างทั่วถึง ด้วยทางกรมฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาหลักสูตรการอบรมทรัพยากร เพื่อให้หลักสูตรการอบรมของกรมฯ มีมาตรฐาน สอดรับกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย นโยบายและภารกิจของกรมฯ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  มีความต้องการที่จะให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ช่วยลดปัญหาข้อขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นระหว่างนายจ้างและลูกจ้างได้ ทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ตามวิสัยทัศน์ของกรมฯ ต่อไป

๑๐. โครงการ/กิจกรรม โครงการเสริมสร้างวินัยการทำงานในสถานประกอบกิจการ
      ๑๐.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
     
ทรัพยากรแรงงานถือเป็นทุนมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี  (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) กำหนดเป้าหมายยกระดับการพัฒนาประเทศบรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โดยมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทุนมนุษย์ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคน  ในทุกมิติ และช่วงวัย ให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสู่การเป็นคนไทย  ที่มีทักษะสูง มีความพร้อมพัฒนาประเทศไปข้างหน้าอย่างเต็มศักยภาพ
      กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้กำหนดวิสัยทัศน์ “แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับ ความเป็นธรรมอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ซึ่งงานด้านการพัฒนาทรัพยากรแรงงาน เป็นภารกิจสนับสนุนให้กรมบรรลุวิสัยทัศน์ และ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ส่งผลกระทบให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวสู่วิถีชีวิตปกติใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจจำนวนมาก มีการปรับปรุงสภาพการจ้าง และลดการจ้างงาน โดยมีกระบวนการสรรหาคนที่ มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้ามาทำงาน และรักษาคนมีความรู้ความสามารถไว้ทำงาน เพื่อสร้างผลผลิตให้กับองค์กร  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนทำงานในยุคการเปลี่ยนแปลงต้องปรับตัวให้มีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ ต้องใฝ่รู้ มีวินัย และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการสร้างคุณค่าให้กับตนเอง เพื่อความมั่นคง และความก้าวหน้าในงานอาชีพ
      กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างวินัยการทำงานในสถานประกอบกิจการ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้แก่นายจ้าง ลูกจ้าง ซึ่งเป็นทรัพยากรแรงงานที่ปฏิบัติงานภาคธุรกิจ โดยมีสาระองค์ความรู้มุ่งเน้นการสร้างพลังในการทำงานอย่างมีความสุข การตระหนักในการเคารพต่อระเบียบข้อบังคับการทำงานการปฏิบัติ    ตามมาตรการด้านความปลอดภัยในการทำงาน การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อหน้าที่ความรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และความรักสามัคคีในองค์กร ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน ครอบครัว การจัดการด้านการเงินด้วยการออม ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตการทำงาน อันเป็นการเสริมสร้างวินัย และพฤติกรรมอันพึงประสงค์ นำมาซึ่งประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพชีวิตที่ดี
      วัตถุประสงค์
      ๑) เพื่อให้แรงงานมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย และเคารพต่อกฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การมีแรงงานสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันในสถานประกอบกิจการ   
     
๒) เพื่อเสริมสร้างทัศนคติให้แรงงานมีวินัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการ ตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน มีความขยันซื่อสัตย์ภักดีต่อองค์กร
      ๓) เพื่อส่งเสริมให้แรงงานสามารถปรับพฤติกรรม สร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานครอบครัว ตลอดจนการวางแผนทางการเงินและการออม นำมาซึ่งคุณภาพชีวิตและผลิตภาพแรงงาน
      ๑๐.๒ วิธีการดำเนินงาน
     
๑) โครงการเสริมสร้างวินัยการทำงานในสถานประกอบกิจการได้กำหนดหัวข้อวิชาในการอบรมทั้งหมด ๖ หัวข้อวิชา ดังนี้
            (๑) การสร้างพลังแห่งความสำเร็จในการทำงานอย่างมีความสุข
            มุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมคำนึงถึงความสุขในการทำงาน (Workplac Happiness) ที่จะเป็นตัวสร้างความผูกพันและแรงจูงใจในองค์กรโดยจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานการสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กร รวมถึงความพึงพอใจในงาน ซึ่งเป็นความรู้สึกของบุคคลที่เกิดขึ้นในขณะทำงานโดยเกิดความรู้สึกเพลิดเพลินชอบใจพอใจเต็มใจสนใจ ไม่มีความทุกข์ใจและยินดีในการปฏิบัติงานของตน แม้ว่างานบางอย่าง จะได้ผลตอบแทนค่อนข้างน้อย แต่ก็ไม่เป็นปัจจัยในการยกเลิกหรือปฎิเสธงานนั้น
            (๒) การสร้างจิตสำนึกเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
            มุ่งเน้นให้แรงงานเกิดจิตสำนึกด้านความปลอดภัย (Safety Awareness) โดยที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถรับรู้ได้ถึงเหตุอันจะทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการทำงาน หรือมีสติรู้ตัวในขณะทำงานใด ๆ การให้ความสำคัญถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก โดยเฉพาะลักษณะการทำงานที่มีความเสี่ยงที่อาจได้รับอันตรายจาก การทำงานสูง หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงานและเพื่อนร่วมงานได้รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง โอกาสที่จะเกิดการประสบอันตรายในขณะทำงานย่อมลดน้อยลง
            (๓) กฎระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
            พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๐๘ กำหนดให้นายจ้างที่มีลูกจ้างรวมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานเป็นภาษาไทย โดยเจตนารมณ์ของกฎหมายในการให้จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานขึ้น เพื่อกำหนดสิทธิ - หน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่พึงปฏิบัติต่อกันให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการทำงานและ ป้องกันไม่ให้เกิดขัดแย้งขึ้น ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน เสมือนข้อตกลง หรือข้อผูกมัดเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันในทุก ๆ ประเด็น สิทธิ - หน้าที่ต่าง ๆ ตามกรอบกฎหมาย ซึ่งมีความสำคัญและความจำเป็นที่แรงงานต้องรับทราบ
            (๔) การประเมินผลงานให้ได้ทั้งใจ ทั้งผลผลิต
            การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal : PA) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญ ขององค์กรที่ช่วยชี้วัดความสำเร็จ หากมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนในการดำเนินการจะเป็นการสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทนสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานได้มาตรฐานหรือสูงกว่า อีกทั้งเป็นการรักษาความเป็นธรรมในองค์กร ในด้านการบริหารเงินเดือน ค่าตอบแทน และการบริหารงานบุคคล และยังเป็นเครื่องมือในการสอนงานและพัฒนาองค์กรที่สำคัญ  ที่มีความจำเป็นต่อแรงงาน
            (๕) พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของคนทำงาน
            ในองค์กรหนึ่ง ๆ ประกอบไปด้วยพนักงานที่มีบุคลิกแตกต่างกัน มีความสามารถและทักษะที่แตกต่างกัน เพื่อเติมเต็มทุกส่วนงานอย่างเหมาะสม นอกจากทักษะในการทำงาน Hard Skill ซึ่งเป็นความสามารถหลักของสายงาน Soft Skill ก็เป็นทักษะส่งเสริมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ภายในองค์กร ที่ผู้ทำงาน ต้องมี “พฤติกรรมอันพึงประสงค์ของคนทำงาน” มุ่งเน้นให้แรงงานมีและเรียนรู้ที่จะสร้าง Soft Skill สำหรับการทำงานเพื่อสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร
            (๖) หัวข้อวิชา ก้าวสู่ความท้าทายกับการทำงานยุคดิจิทัล
            การทำงานในโลกยุค Digital การเตรียมความพร้อมให้แรงงานเรียนรู้และเข้าใจการใช้เทคโนโลยี  ให้เกิดประโยชน์ เป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการสื่อสาร การปฏิสัมพันธ์ การเลือกใช้สินค้า และบริการรวมถึงการทำงาน ล้วนแล้วแต่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ด้วยตลอดเวลา เทคโนโลยีจึงไม่ใช่ปัญหา และอุปสรรคที่ทำให้บุคลากรไม่เปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันยุค Digital แต่เป็น “กรอบความคิด (Mindset) ที่บุคลากรยังยึดติดกับการทำงานแบบเดิม ๆ มากกว่า หากผู้บริหารสามารถชี้แจงได้ว่า “การทำงานด้วยรูปแบบใหม่ ๆ นี้” จะทำให้เกิดความสะดวกและมีประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวมได้อย่างชัด และยินดีให้ทุกคนเลือกที่จะใช้เทคโนโลยี กับหน่วยงานของตัวเองอย่างไรที่สอดคล้องเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน การได้รับความร่วมมือให้เกิด Digital Transformation ก็จะสัมฤทธิ์ผล
      ๒) สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ ประชาสัมพันธ์หลักสูตรการจัดอบรม เพื่อให้นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ที่เกี่ยวข้องลงทะเบียน เข้ารับการอบรมในระบบ Google Form
      ๓) สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานจัดฝึกอบรมโดยการบรรยายรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Conference
      ๑๐.๓ กลุ่มเป้าหมาย/เป้าหมาย/ผลการดำเนินงาน
     
นายจ้าง และลูกจ้าง ซึ่งเป็นทรัพยากรแรงงาน จำนวน ๑๑ รุ่น เป้าหมาย ๒,๑๕๐ คน จำแนกผู้ลงทะเบียน เข้ารับการอบรม จากส่วนกลาง จำนวน ๑๕๐ คน และจากส่วนภูมิภาค จำนวน ๒,๐๐๐ คน มีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น จำนวน ๒,๙๙๐ คน เป็นชาย ๘๐๐ คน และหญิง ๒,๑๙๐ คน เกินเป้าหมาย จำนวน ๘๔๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๙.๐๗
      ๑๐.๔ ผลสัมฤทธิ์
     
จากการอบรมโครงการเสริมสร้างวินัยการทำงานในสถานประกอบกิจการจำนวน ๑๑ รุ่น เก็บข้อมูลจาก ผู้เข้ารับการอบรบ จำนวน ๑,๘๙๔ คน โดยการตอบแบบสอบถาม ๘ ประเด็น ประกอบด้วย
      ประเด็นที่ ๑ การเข้ารับการอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของผู้เข้ารับการอบรมกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
      ประเด็นที่ ๒ การนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้
      ประเด็นที่ ๓ การขยายผลและถ่ายทอดความรู้จากการอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดขึ้น
      ประเด็นที่ ๔ หลักสูตรที่ตรงกับความต้องการผู้เข้ารับการอบรมมากที่สุด และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ
      ประเด็นที่ ๕ ระดับการพัฒนาหลักสูตรการอบรมของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
      ประเด็นที่ ๖ การปรับปรุงรูปแบบการจัดอบรมที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจัดขึ้น 
      ประเด็นที่ ๗ การนำความรู้ที่ได้รับจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไปใช้ในการพัฒนาให้เกิดผล ในแต่ละด้าน
      ประเด็นที่ ๘ ความเห็นเกี่ยวกับความคุ้มค่าและเป็นประโยชน์ที่ผู้รับการอบรมได้รับ
      ผลการประเมิน พบว่าการประเมินประสิทธิผลและความคุ้มค่าหลังการอบรมทั้ง ๘ ประเด็น ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากการเข้ารับการอบรมโครงการนี้ โดยผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำความรู้ ที่ได้รับไปใช้ได้จริง มีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นในหลักสูตรที่ตนเองได้เข้าร่วมอบรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้และถ่ายทอดสู่บุคคลอื่นภายในองค์กร และก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงาน ซึ่งผลของการประเมินและข้อเสนอแนะ ของผู้ผ่านการอบรม กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะได้นำไปปรับปรุง แก้ไข พัฒนาให้การดำเนินการจัดอบรม เพื่อการพัฒนาทรัพยากรแรงงานให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในปีต่อไป

๑๑. โครงการ/กิจกรรม โครงการเงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
      ๑๑.๑ วัตถุประสงค์/ความเป็นมา
     
เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน จึงมีมติเห็นเห็นชอบให้กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงานจัดทำโครงการเงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
      ผู้มีสิทธิยื่นคำขอกู้
     
สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อนำไปให้บริการเงินกู้แก่แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์
      วัตถุประสงค์/เงื่อนไขการขอกู้และปล่อยกู้
     
- ปลดเปลื้องหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง นำไปพัฒนารายได้ของตนเองและครอบครัวเสริมสภาพคล่อง  ในการดำเนินชีวิต
      - มีคณะกรรมการสหกรณ์ทั้งคณะและผู้จัดการสหกรณ์เป็นผู้ค้ำประกันการขอกู้
      - สหกรณ์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากสมาชิกต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ ประเภทสามัญไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑.๗๕ ต่อปี  
      วงเงินกู้ ดอกเบี้ย การชำระเงิน
     
- วงเงินกู้สูงสุด สหกรณ์ละ ๑๐ ล้านบาท
      - อัตราดอกเบี้ย ๑% ต่อปี
      - ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน ๓ ปี
      ๑๑.๒ ผลการดำเนินงาน
     
ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีสหกรณ์ยื่นคำขอกู้ ๖ แห่ง จำนวน ๓๕.๔ ล้านบาท ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ใช้สิทธิขอกู้จำนวน ๕๙๙ คน เป็นเงินจำนวน ๓๑,๒๗๓,๔๐๓.๖๘ บาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ กองสวัสดิการแรงงานดำเนินการโครงการฯ อย่างต่อเนื่องในวงเงินงบประมาณให้กู้จำนวน ๕๐ ล้านบาท สามารถยื่นคำขอกู้ ผ่านระบบ e-Service หรือกองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่สหกรณ์ตั้งอยู่ ได้ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๖ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://labourfund.labour.go.th/en หรือ สอบถามเพิ่มเติมผ่านช่องทาง Line official ของกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน กองสวัสดิการแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  

   

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: สายด่วน ๑๕๐๖ กด ๓ , ๑๕๔๖

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานประกันสังคม

๑. มาตรการป้องกันและรักษา
              ๑) “แรงงาน...เราสู้ด้วยกัน” ผู้ประกันตนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคโควิด-๑๙ จำนวน ๕๒๖,๖๕๗ คน
              ๒) จัดหาโรงพยาบาล Hospitel จัดตั้ง Hospitel จำนวน ๑๗๕ แห่ง ใน ๒๔ จังหวัด รองรับผู้ประกันตน จำนวน ๖๑,๐๔๖ คน
              ๓) ตรวจและรักษาโรคโควิด ๑๙ ผู้ประกันตนเบิกสิทธิประโยชน์กรณี โควิด-๑๙ จำนวน ๒,๘๐๗,๗๒๙ ราย ล้านคน เป็นเงิน ๒๑,๐๐๖.๗๘ ล้านบาท
              ๔) สายด่วน ๑๕๐๖ ให้ความช่วยเหลือผ่าน ๑๕๐๖ กด ๑ กด ๖ และ ๗ มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น จำนวน ๔,๓๙๙,๖๐๑ ราย
              ๕) การฉีดวัคซีนโควิด-๑๙ ผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ ๑ เข็มที่ ๒ และเข็มที่ ๓ รวมทั้งหมด ๓,๙๖๒,๒๐๖ โดส เป็นเงิน ๒๑๐.๔๖ ล้านบาท
              ๖) Factory Sandbox  ตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล จำนวน ๔๐๗,๗๗๐ ราย ได้รับวัคซีนจำนวน ๑๑๒,๗๔๖ โดส เป็นเงิน ๘๓.๕๒ ล้านบาท
๒. มาตรการช่วยเหลือเยียวยา
              ๑) ลดอัตราเงินสมทบในปี ๒๕๖๕ ผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ และ ๓๙ จำนวน ๒ ครั้ง ลดภาระผู้ประกันตนกว่า ๑๓.๔๖ ล้านคน นายจ้าง จำนวน ๕๐๕,๔๐๒ ราย เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า ๕๑,๐๖๗ ล้านบาท ผู้ประกันตนมาตรา ๔๐ จำนวน ๒ ครั้ง ลดภาระผู้ประกันตนกว่า ๑๐.๘๐ ล้านคน เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า ๓,๒๔๒ ล้านบาท
              ๒) ให้สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน กรณีสุดวิสัย ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์รวม ๕๔,๖๙๖ ราย เป็นเงิน ๑๖๕.๕๙ ล้านบาท กรณีเลิกจ้าง ลาออก สิ้นสุดสัญญาจ้าง ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน ๖๔๘,๑๓๖ คน เป็นเงิน ๙,๕๖๐.๘๒ ล้านบาท
              ๓) เยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง มีผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ รวม ๘๑,๑๓๖ คน เป็นเงิน ๔๑๒.๖๕ ล้านบาท
              ๔) โครงการสินเชื่อเพื่อการจ้างงาน มีธนาคารเข้าร่วม ๕ แห่ง ได้แก่ ธนาคารยูโอบี, เอ็กซิมแบงค์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารกสิกรไทย มีผู้กู้ จำนวน ๑,๖๒๓ ราย วงเงิน ๙,๖๓๕.๓๓ ล้านบาท รักษาการจ้างงานในระบบไว้ได้ ๑๑๒,๔๕๖ คน
๓. โครงการเยียวยาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙
              ๑) เยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ นายจ้าง จำนวน ๑๙๓,๕๘๑ แห่ง ผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ จำนวน ๓.๗๕ ล้านราย รวมเป็นเงิน ๓๒,๕๔๒.๒๗ ล้านบาท
              ๒) เยียวยาผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ และ ๔๐ จำนวน ๘.๕๘ ล้านคน รวมเป็นเงิน ๗๑,๒๑๔.๖๓ ล้านบาท
              ๓) เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิง ผู้ประกันตน จำนวน ๑๔๘,๔๐๙ ราย รวมเป็นเงิน ๗๓๘.๖๐ ล้านบาท
๔. พัฒนาสิทธิประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงบริการ
              ๑) ประกันเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ ให้ได้รับเงินอย่างน้อย ๖๐ เดือนใกล้เคียงกับเงินสะสมบำเหน็จชราภาพ ทำให้ผู้ประกันตนเกิดความมั่นใจในการรับบำนาญชราภาพ 
              ๒) พัฒนาบริการทางการแพทย์ ได้แก่ (๑) ขยายระยะเวลา MOU การให้บริการทางการแพทย์กรณีรักษาด้วยวิธีการทำหัตถการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีผู้ประกันตนเข้าไปใช้บริการ จำนวน ๓๒๙ ราย เป็นเงิน จำนวน ๖๒,๙๗๘,๑๙๘ บาท (๒) ปรับปรุงสูตรโปรโตรคอลการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มเติม ๓ รายการ ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ /ลำไส้ตรง และมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยครอบคลุมทั้งการรักษาประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในและรายการยาทุกรายการที่ระบุในโปรโตรคอล  (๓) ลดขั้นตอนอนุมัติสิทธิฟอกเลือด ผู้ประกันตน และผู้ทุพพลภาพ สามารถยื่นสิทธิการรักษาที่สถานพยาบาลได้ทันทีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (๔) ขยายระยะเวลาการให้สิทธิเข้ารับบริการทางการแพทย์ กรณีการบำบัดทดแทนไต และกรณีให้ยา Erythropoietin แก่ผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ (๕) ปรับปรุงค่าบริการทางการแพทย์กรณีรักษาโรคโควิด-๑๙ เป็นไปตามแนวทางการรักษาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและหลักเกณฑ์และอัตรา เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ และ (๖) การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ผู้ประกันตนที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๒๑๖,๖๓๔ โดส 
              ๓) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ (๑) เพิ่มช่องทางรับชำระเงินสมทบ ปัจจุบันมี ๑๔ ธนาคาร และ ๑ หน่วยบริการ  (๒) พัฒนาและเพิ่มช่องทางการให้บริการเบิกจ่ายประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Self service) กรณีชราภาพ ว่างงาน สงเคราะห์บุตร และคลอดบุตร (๓) เพิ่มช่องทางการรับสมัครและขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ ผ่าน Application และ (๔) เพิ่มช่องทางการรับชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา ๔๐ ผ่านเคาน์เตอร์ Boonterm Bill Payment
๕. มอบของขวัญปีใหม่ ปี ๒๕๖๖ ให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ดังนี้
              ๑) สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนดอกเบี้ยต่ำ ไม่เกินรายละ ๒ ล้านบาท วงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท (ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) มีผู้ประกันตนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๖๐,๓๙๗ ราย ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน ๘,๘๑๒ ราย เป็นเงิน ๑๐,๒๐๕ ล้านบาท 
              ๒) การให้เข้าถึงการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือทำหัตถการ ๕ โรค ตามโรงพยาบาลที่กำหนด ได้แก่ มะเร็งเต้านม ก้อนเนื้อที่มดลูก นิ่วในไตหรือถุงน้ำดี หลอดเลือดสมอง และหัวใจและหลอดเลือดมีสถานพยาบาลที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการทางการแพทย์ จำนวน ๔๓ แห่ง ณ (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) ผู้ประกันตนได้รับการผ่าตัดและทำหัตถการแล้ว จำนวน ๘๘๖ ราย
              ๓) ค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจในสถานประกอบการ เป้าหมาย ๓๐๐,๐๐๐ คน โดยดำเนินการนำร่องใน ๗ จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ระยอง พระนครศรีอยุธยา และสมุทรสาคร  (ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) มีผู้ประกันตนได้รับการตรวจสุขภาพแล้ว จำนวน ๑๐๕,๙๘๒ ราย
ผลงานสำคัญที่กำลังจะดำเนินการในอนาคต
๑. การแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน
               ๑) การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ๓ ขอ ได้แก่ (๑) ขอเลือก ผู้ประกันตนสามารถเลือกรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพได้ หรือ เลือกรับบำนาญใน 5 ปีแรกล่วงหน้าเป็นบำเหน็จและรับเงินบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต (๒) ขอคืน กรณีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัยหรือเหตุการณ์อื่นใดอันส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนก็สามารถนำเงินชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ประกันตนและ (๓) ขอกู้ ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสะสมกรณีชราภพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้ประกันตนกับสถาบันการเงิน  
               ๒) การขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ขยายอายุขั้นสูงผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ (เดิม ๖๐ ปี เป็น ๖๕ ปี) เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดนิยามผู้สูงอายุของ ILO และ UN และผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๙ ที่รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๙/๑ โดยจะได้รับประโยชน์ทดแทน ๓ กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ  และตาย
                ๓) การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ  ได้แก่ (๑) ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเพิ่มขึ้น โดยเป็นการเหมาจ่ายครั้งละ ๕๐% ของค่าจ้าง เป็นเวลา ๙๘ วัน (เดิม ๙๐ วัน) (๒) เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จากเดิมจ่ายร้อยละ ๕๐ เป็นร้อยละ ๗๐ (๓) กรณีสงเคราะห์บุตรให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก ๖ เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน และ (๔) ปรับปรุงเงื่อนไขในการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ จากเดิมต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๒ เดือน เป็นไม่น้อยกว่า ๒๔ เดือน
ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปัจจุบันปิดการประชุมแล้ว ต้องรอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณา
๒. การเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมาตรา ๔๐ กรณีทุพพลภาพ จากเกณฑ์เดิม ตามระยะเวลา การส่งเงินสมทบ ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ในแต่ละทางเลือก อาทิ ส่งเงินสมทบครบ ๖ เดือน ใน ๑๐ เดือน จากสิทธิประโยชน์เดิม เดือนละ ๕๐๐ บาท ปรับเพิ่ม ทางเลือกที่ ๑ และทางเลือกที่ ๒ เป็น ๑,๐๐๐ บาท ทางเลือกที่ ๓ เป็น ๑,๕๐๐ บาท และขยายระยะเวลาการคุ้มครอง ๑๕ ปีสำหรับทางเลือกที่ ๑ และทางเลือกที่ ๒ และตลอดชีวิตสำหรับทางเลือกที่ ๓ เป็นตลอดชีวิตทุกทางเลือก ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจากเดิมสูงสุดเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท เป็น ๑,๕๐๐ บาท และเพิ่มระยะเวลา จากเดิม ๑๕ ปี เป็นตลอดชีวิต
                 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนนำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของ ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขและเงื่อนไขแห่งสิทธิในการขอรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เข้าสู่วาระการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานประโยชน์ทดแทน
๓. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและการบริหารองค์กร อาทิ (๑) จัดทำระบบเบิกจ่ายประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองของผู้ประกันตนผ่านระบบ e-Self Service ทุกกรณี (๒) พัฒนาแพลตฟอร์มกลาง เชื่อมต่อบริการประกันสังคมส่วนบุคคลให้กับผู้ประกันตน (๓) บูรณาการคลังข้อมูลบิ๊กดาต้าขององค์กรและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และ (๔) พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิจัยและกำหนดนโยบายของสำนักงานประกันสังคม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานประกันสังคม

๑. มาตรการป้องกันและรักษา
      ๑) “แรงงาน...เราสู้ด้วยกัน” ผู้ประกันตนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคโควิด-๑๙ จำนวน ๕๒๖,๖๕๗ คน
      ๒) จัดหาโรงพยาบาล Hospitel จัดตั้ง Hospitel จำนวน ๑๗๕ แห่ง ใน ๒๔ จังหวัด รองรับผู้ประกันตน จำนวน ๖๑,๐๔๖ คน
      ๓) ตรวจและรักษาโรคโควิด ๑๙ ผู้ประกันตนเบิกสิทธิประโยชน์กรณี โควิด-๑๙ จำนวน ๒,๘๐๗,๗๒๙ ราย ล้านคน เป็นเงิน ๒๑,๐๐๖.๗๘ ล้านบาท
      ๔) สายด่วน ๑๕๐๖ ให้ความช่วยเหลือผ่าน ๑๕๐๖ กด ๑ กด ๖ และ ๗ มีผู้ใช้บริการทั้งสิ้น จำนวน ๔,๓๙๙,๖๐๑ ราย
      ๕) การฉีดวัคซีนโควิด-๑๙ ผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ ๑ เข็มที่ ๒ และเข็มที่ ๓ รวมทั้งหมด ๓,๙๖๒,๒๐๖ โดส เป็นเงิน ๒๑๐.๔๖ ล้านบาท
      ๖) Factory Sandbox  ตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล จำนวน ๔๐๗,๗๗๐ ราย ได้รับวัคซีนจำนวน ๑๑๒,๗๔๖ โดส เป็นเงิน ๘๓.๕๒ ล้านบาท
๒. มาตรการช่วยเหลือเยียวยา
      ๑) ลดอัตราเงินสมทบในปี ๒๕๖๕ ผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ และ ๓๙ จำนวน ๒ ครั้ง ลดภาระผู้ประกันตนกว่า ๑๓.๔๖ ล้านคน นายจ้าง จำนวน ๕๐๕,๔๐๒ ราย เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า ๕๑,๐๖๗ ล้านบาท ผู้ประกันตนมาตรา ๔๐ จำนวน ๒ ครั้ง ลดภาระผู้ประกันตนกว่า ๑๐.๘๐ ล้านคน เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า ๓,๒๔๒ ล้านบาท
      ๒) ให้สิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน กรณีสุดวิสัย ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์รวม ๕๔,๖๙๖ ราย เป็นเงิน ๑๖๕.๕๙ ล้านบาท กรณีเลิกจ้าง ลาออก สิ้นสุดสัญญาจ้าง ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ จำนวน ๖๔๘,๑๓๖ คน เป็นเงิน ๙,๕๖๐.๘๒ ล้านบาท
      ๓) เยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง มีผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์ รวม ๘๑,๑๓๖ คน เป็นเงิน ๔๑๒.๖๕ ล้านบาท
      ๔) โครงการสินเชื่อเพื่อการจ้างงาน มีธนาคารเข้าร่วม ๕ แห่ง ได้แก่ ธนาคารยูโอบี, เอ็กซิมแบงค์, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารกสิกรไทย มีผู้กู้ จำนวน ๑,๖๒๓ ราย วงเงิน ๙,๖๓๕.๓๓ ล้านบาท รักษาการจ้างงานในระบบไว้ได้ ๑๑๒,๔๕๖ คน
๓. โครงการเยียวยาภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙
      ๑) เยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ นายจ้าง จำนวน ๑๙๓,๕๘๑ แห่ง ผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ จำนวน ๓.๗๕ ล้านราย รวมเป็นเงิน ๓๒,๕๔๒.๒๗ ล้านบาท
      ๒) เยียวยาผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ และ ๔๐ จำนวน ๘.๕๘ ล้านคน รวมเป็นเงิน ๗๑,๒๑๔.๖๓ ล้านบาท
      ๓) เยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิง ผู้ประกันตน จำนวน ๑๔๘,๔๐๙ ราย รวมเป็นเงิน ๗๓๘.๖๐ ล้านบาท
๔. พัฒนาสิทธิประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงบริการ
      ๑) ประกันเงินบำนาญชราภาพขั้นต่ำ ให้ได้รับเงินอย่างน้อย ๖๐ เดือนใกล้เคียงกับเงินสะสมบำเหน็จชราภาพ ทำให้ผู้ประกันตนเกิดความมั่นใจในการรับบำนาญชราภาพ 
      ๒) พัฒนาบริการทางการแพทย์ ได้แก่ (๑) ขยายระยะเวลา MOU การให้บริการทางการแพทย์กรณีรักษาด้วยวิธีการทำหัตถการด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีผู้ประกันตนเข้าไปใช้บริการ จำนวน ๓๒๙ ราย เป็นเงิน จำนวน ๖๒,๙๗๘,๑๙๘ บาท (๒) ปรับปรุงสูตรโปรโตรคอลการรักษาโรคมะเร็งเพิ่มเติม ๓ รายการ ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ /ลำไส้ตรง และมะเร็งกระเพาะอาหาร โดยครอบคลุมทั้งการรักษาประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในและรายการยาทุกรายการที่ระบุในโปรโตรคอล  (๓) ลดขั้นตอนอนุมัติสิทธิฟอกเลือด ผู้ประกันตน และผู้ทุพพลภาพ สามารถยื่นสิทธิการรักษาที่สถานพยาบาลได้ทันทีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (๔) ขยายระยะเวลาการให้สิทธิเข้ารับบริการทางการแพทย์ กรณีการบำบัดทดแทนไต และกรณีให้ยา Erythropoietin แก่ผู้ประกันตนที่ป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ (๕) ปรับปรุงค่าบริการทางการแพทย์กรณีรักษาโรคโควิด-๑๙ เป็นไปตามแนวทางการรักษาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและหลักเกณฑ์และอัตรา เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ และ (๖) การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ผู้ประกันตนที่มีอายุ ๕๐ ปีขึ้นไป จำนวน ๒๑๖,๖๓๔ โดส 
      ๓) การให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ (๑) เพิ่มช่องทางรับชำระเงินสมทบ ปัจจุบันมี ๑๔ ธนาคาร และ ๑ หน่วยบริการ  (๒) พัฒนาและเพิ่มช่องทางการให้บริการเบิกจ่ายประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Self service) กรณีชราภาพ ว่างงาน สงเคราะห์บุตร และคลอดบุตร (๓) เพิ่มช่องทางการรับสมัครและขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา ๔๐ ผ่าน Application และ (๔) เพิ่มช่องทางการรับชำระเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา ๔๐ ผ่านเคาน์เตอร์ Boonterm Bill Payment
๕. มอบของขวัญปีใหม่ ปี ๒๕๖๖ ให้ผู้ประกันตนได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ดังนี้
      ๑) สินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนดอกเบี้ยต่ำ ไม่เกินรายละ ๒ ล้านบาท วงเงิน ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท (ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) มีผู้ประกันตนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๖๐,๓๙๗ ราย ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วจำนวน ๘,๘๑๒ ราย เป็นเงิน ๑๐,๒๐๕ ล้านบาท 
      ๒) การให้เข้าถึงการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือทำหัตถการ ๕ โรค ตามโรงพยาบาลที่กำหนด ได้แก่ มะเร็งเต้านม ก้อนเนื้อที่มดลูก นิ่วในไตหรือถุงน้ำดี หลอดเลือดสมอง และหัวใจและหลอดเลือดมีสถานพยาบาลที่ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้บริการทางการแพทย์ จำนวน ๔๓ แห่ง ณ (วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) ผู้ประกันตนได้รับการผ่าตัดและทำหัตถการแล้ว จำนวน ๘๘๖ ราย
      ๓) ค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจในสถานประกอบการ เป้าหมาย ๓๐๐,๐๐๐ คน โดยดำเนินการนำร่องใน ๗ จังหวัด  ได้แก่ จังหวัดชลบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ระยอง พระนครศรีอยุธยา และสมุทรสาคร  (ณ วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) มีผู้ประกันตนได้รับการตรวจสุขภาพแล้ว จำนวน ๑๐๕,๙๘๒ ราย
ผลงานสำคัญที่กำลังจะดำเนินการในอนาคต
๑. การแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตน
       ๑) การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ ๓ ขอ ได้แก่ (๑) ขอเลือก ผู้ประกันตนสามารถเลือกรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพได้ หรือ เลือกรับบำนาญใน 5 ปีแรกล่วงหน้าเป็นบำเหน็จและรับเงินบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต (๒) ขอคืน กรณีเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สาธารณภัยหรือเหตุการณ์อื่นใดอันส่งผลกระทบต่อผู้ประกันตนก็สามารถนำเงินชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อน เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ประกันตนและ (๓) ขอกู้ ผู้ประกันตนสามารถนำเงินสะสมกรณีชราภพไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้ประกันตนกับสถาบันการเงิน  
       ๒) การขยายความคุ้มครองให้กับผู้ประกันตนเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ขยายอายุขั้นสูงผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ (เดิม ๖๐ ปี เป็น ๖๕ ปี) เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดนิยามผู้สูงอายุของ ILO และ UN และผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๙ ที่รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๙/๑ โดยจะได้รับประโยชน์ทดแทน ๓ กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ  และตาย
        ๓) การแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์อื่น ๆ  ได้แก่ (๑) ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเพิ่มขึ้น โดยเป็นการเหมาจ่ายครั้งละ ๕๐% ของค่าจ้าง เป็นเวลา ๙๘ วัน (เดิม ๙๐ วัน) (๒) เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จากเดิมจ่ายร้อยละ ๕๐ เป็นร้อยละ ๗๐ (๓) กรณีสงเคราะห์บุตรให้ได้รับการคุ้มครองต่อไปอีก ๖ เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน และ (๔) ปรับปรุงเงื่อนไขในการสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๙ จากเดิมต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา ๓๓ ที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๒ เดือน เป็นไม่น้อยกว่า ๒๔ เดือน
ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งปัจจุบันปิดการประชุมแล้ว ต้องรอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พิจารณา
๒. การเพิ่มสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนมาตรา ๔๐ กรณีทุพพลภาพ จากเกณฑ์เดิม ตามระยะเวลา การส่งเงินสมทบ ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ในแต่ละทางเลือก อาทิ ส่งเงินสมทบครบ ๖ เดือน ใน ๑๐ เดือน จากสิทธิประโยชน์เดิม เดือนละ ๕๐๐ บาท ปรับเพิ่ม ทางเลือกที่ ๑ และทางเลือกที่ ๒ เป็น ๑,๐๐๐ บาท ทางเลือกที่ ๓ เป็น ๑,๕๐๐ บาท และขยายระยะเวลาการคุ้มครอง ๑๕ ปีสำหรับทางเลือกที่ ๑ และทางเลือกที่ ๒ และตลอดชีวิตสำหรับทางเลือกที่ ๓ เป็นตลอดชีวิตทุกทางเลือก ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจากเดิมสูงสุดเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท เป็น ๑,๕๐๐ บาท และเพิ่มระยะเวลา จากเดิม ๑๕ ปี เป็นตลอดชีวิต
         ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนนำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของ ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขและเงื่อนไขแห่งสิทธิในการขอรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เข้าสู่วาระการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานประโยชน์ทดแทน
๓. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการและการบริหารองค์กร อาทิ (๑) จัดทำระบบเบิกจ่ายประโยชน์ทดแทนด้วยตนเองของผู้ประกันตนผ่านระบบ e-Self Service ทุกกรณี (๒) พัฒนาแพลตฟอร์มกลาง เชื่อมต่อบริการประกันสังคมส่วนบุคคลให้กับผู้ประกันตน (๓) บูรณาการคลังข้อมูลบิ๊กดาต้าขององค์กรและระบบสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร และ (๔) พัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการวิจัยและกำหนดนโยบายของสำนักงานประกันสังคม

สำนักงานประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม สำนักงานใหญ่ เลขที่ ๘๘/๒๘ หมู่ ๔ ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์: ๑๕๐๖
อีเมล: info@sso1506.com

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

นโยบายกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖


อ่านข่าวสารเพิ่มเติมใน รูปแบบ e-Magazine ได้ที่ : https://shorturl.asia/5AWx6

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

นโยบายกระทรวงแรงงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖


อ่านข่าวสารเพิ่มเติมใน รูปแบบ e-Magazine ได้ที่ : https://shorturl.asia/5AWx6

สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน
กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กทม. ๑๐๔๐๐
โทรศัพท์: สายด่วน 1506
อีเมล: webmaster@mol.mail.go.th , saraban.mol@mol.mail.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ