กระทรวงสาธารณสุข
Ministry of Public Health

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

หน่วยงาน : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
๑. “หมอพร้อม Digital Health Platform ของประเทศ”

 

หน่วยงาน : ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านทุจริต กระทรวงสาธารณสุข
๑. ตลาดนัดคุณธรรม (MOPH Moral Market)  ปี ๕ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (กิจกรรมการจัดทำวีดิทัศน์การส่งเสริมคุณธรรม “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู”)

 

หน่วยงาน : สำนักสารนิเทศ
๑. รายการจับมาคุย  สาระสุขภาพ
รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม : 

ผลงาน

ลิงก์วิดีโอ

๑. ทำไมต้องฉีดวัคซีน ๔ เข็ม

https://youtu.be/ExOLDXsC0E4

๒. หน้ากากอนามัย กันฝุ่นได้หรือไม่

https://youtu.be/1fM0DBvW6dU

๓. ฟันน้ำนมผุ..ปล่อยไว้เสี่ยงตาบอด

https://youtu.be/BRNug26SfHo

๔. สาวโสดซิง กับมะเร็งปากมดลูก

 https://youtu.be/UbYC-KhYG1Y

๕. เป็นมะเร็งห้ามกินอะไรบ้าง

https://youtu.be/fAc6FuH6nw4

๖. ยาคุมฉุกเฉิน ไม่ท้องแน่นะ

https://youtu.be/iFTAs_VCn10

๗. ยาเม็ดคุมกำเนิดกินอย่างไรให้ถูกต้อง

https://youtu.be/-557qsGp1Fc

๘. ผู้สูงอายุไม่ฉีดวัคซีน ดูแลอย่างไร

 https://youtu.be/tUApA0_VE5o


๒. สกู๊ปข่าวตามนโยบาย
รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม : 

ผลงาน

ลิงก์วิดีโอ

๑. ฉีดให้ครบ  ๔ เข็ม จะได้ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย 

https://youtu.be/Ih4A90q7pa0

๒. วัคซีนโควิด๑๙ ยิ่งสูงวัย ยิ่งควรฉีด

https://youtu.be/IbMbytp8qv

๓. LAAB วัคซีนสำเร็จรูป

https://youtu.be/sDG5ikFEo0Y

๔. ปลัด สธ.ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย ณ  รพ.พระนาราณ์มหาราช

https://youtu.be/Fp97cC4lIzY

๕. เปิด รพ.สต.บ้านตลาดเขตแห่งใหม่

https://youtu.be/MxJgcKkUXC8

๖. ปลัด สธ.เปิดมหกรรมผุ้สูงอายุไทย ดวงตาสดใส ไร้ต้อกระจก

https://youtu.be/C8yrofHqIhQ

๗. รัมอบอาคารทันตกรรม รพ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย

https://youtu.be/LgpgIjXJVi0

๘. ปลัดสธ.เยี่ยมชมศูนย์การแพทย์วัดบางพลีใหญ่กลาง

https://youtu.be/rypzT-R84AA

๙. สธ.จัดกิจกรรม ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภุมิคุ้มกัน ให้บริการฉีด LAAB

https://youtu.be/MUN5VOY6-Gw

๑๐. ตรวจเยี่ยม รพ.ยโสธร

https://youtu.be/z0q2zlED0Rg

 

หน่วยงาน : กองการพยาบาล             
             กองการพยาบาล เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นหน่วยงานภาครัฐเพียงหน่วยงานเดียวของประเทศไทย ที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและพัฒนามาตรฐานคุณภาพการบริการพยาบาล วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการพยาบาล ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของสถานบริการสุขภาพทุกระดับที่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ อันเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของกระทรวงสาธารณสุข ในการพิทักษ์สิทธิ ความเสมอภาคของประชาชน และเป็นหลักประกันด้านคุณภาพบริการสุขภาพ พร้อมทั้งจัดทำและเสนอแนะนโยบายมาตรฐานการพยาบาลและระบบบริการพยาบาล กำกับ ดูแล และสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของสถานบริการทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน และสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลและเครือข่ายทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรม มีความปลอดภัย ฟื้นหายได้เร็วและมีสุขภาพที่ดีขึ้น รายละเอียดกิจกรรมการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล เพื่อการดูแลสุขภาพและสร้างสุขให้ประชาชน

 

หน่วยงาน : กองบริหารการสาธารณสุข
ที่มาและความสำคัญ
             
แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) มีเป้าหมายหลัก คือ คนไทยมีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมเพิ่มมากขึ้น ด้วยดัชนีคุณธรรม ๕ ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู เพื่อมุ่งสู่สังคมคุณธรรมภายใต้หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
วิธีการดำเนินกิจกรรม
             
- สำรวจปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ และสถานการณ์คุณธรรม (ร้อยละ ๙๓.๑๗ ของบุคลากร)
             - นำผลสำรวจมาออกแบบกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมตามคุณธรรมเป้าหมาย ๕ ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู
             - ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม ผลสำเร็จร้อยละ ๑๐๐ ทุกปี
             - ขับเคลื่อนดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ ในรูปแบบคณะทำงานที่มีการทบทวนทุกปี
             - พัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรมในรูปแบบสื่อรณรงค์ และจัดอบรม อย่างต่อเนื่องทุกปี 
             - ยกย่องเชิดชูบุคลากร/หน่วยงานที่พัฒนาคุณธรรมโดดเด่น ด้วยรางวัลคนดี กบรส. ซึ่งจัดต่อเนื่องมาแล้ว ๓ ปี บุคลากรได้รับการยกย่องเชิดชูทั้งสิ้น ๓๐ คน (ปีที่ ๔ อยู่ในระหว่างดำเนินการ) และรางวัลชื่นชม แชร์ โชว์ จัดต่อเนื่องมาแล้ว ๒ ปี บุคลากรและหน่วยงานได้รับการยกย่องเชิดชู ทั้งสิ้น ๔ คน และ ๒ หน่วยงาน (ปีที่ ๓ อยู่ในระหว่างดำเนินการ)
             - ส่งเสริม และสร้างการมีส่วนร่วมการดำเนินงานด้านคุณธรรมทั้งภายในและนอกองค์กร โดยแกนหนุนคุณธรรม (ภายในองค์กร) และเครือข่ายคุณธรรม (ภายนอกองค์กร)
             - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงานในอนาคต
กิจกรรมโดดเด่นที่ดำเนินการ
             
กิจกรรมอาสาเพื่อประชาชน
             - ตะกร้าน้อยปันสุขแบ่งปันผู้ยากไร้
             - อาสาบริการประชาชนศูนย์วัคซีน ทั้งใน และนอกกระทรวงสาธารณสุข
             - ผลิตรายการวิทยุเพื่อสุขภาพสู่ประชาชน
             - กิจกรรม CSR ปลูกป่าวิถีใหม่ ณ อุทยานแห่งชาติทับลาน
             - อาสาสมัครโรงพยาบาลบุษราคัม เช่น อาสาซักประวัติ และติดตามอาการหลังหายป่วย อาสาประกอบเตียง อาสาลำเลียงสิ่งของบริจาค เป็นต้น
             กิจกรรมตามหลักธรรมทางศาสนา 
             - ส่งเสริมคุณธรรมตามหลักศาสนาทุกศาสนา เนื่องในวันสำคัญทางศาสนา
             - ผลิต เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ สื่อคุณธรรมองค์กรรักษ์ศีล
             กิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
             - ปฏิทินเพื่อคนตาบอด รวบรวมปฏิทินตั้งโต๊ะที่ไม่ใช้แล้ว ส่งต่อเพื่อทำสื่ออักษรเบรลล์ผู้พิการทางสายตา มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในประบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓
             - ถุงยากระดาษรีไซเคิล เพื่อประชาชน โดยนำถุงห่อกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว มาประดิษฐ์เป็นถุงใส่ยาสำหรับประชาชนผู้มารับบริการสถานบริการ กระทรวงสาธารณสุข กว่า ๖๐๐ ถุง
             - ผลิตสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ด้านความพอเพียงในองค์กร
             กิจกรรมตามวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
             - ส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมไทยในวันสงกรานต์
             - ส่งเสริมการแต่งกายชุดผ้าไทยสัปดาห์ละ ๒ วัน
             - ผลิตสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ปฏิบัติการวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาน “ยิ้ม ไหว้ ทักทาย สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ”
ผลลัพธ์/รูปธรรมความสำเร็จ
             
- ปี ๒๕๖๔ จัดกิจกรรมตะกร้าน้อยปันสุข แบ่งปันเครื่องอุปโภค บริโภคแก่ประชาชนผู้ยากไร้ จำนวน ๓๓ ครั้ง เข้าถึงประชาชนกว่า ๕๐๐ คน
             - พัฒนาความร่วมมือ “เครือข่ายคุณธรรม” ภายนอกองค์กร จำนวน ๗ หน่วยงาน
             - ข้าราชการมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ตามคุณธรรมเป้าหมายทุกด้าน (๕ ด้าน)
             - จัดรายการวิทยุเพื่อสุขภาพประชาชน จำนวน ๓ รายการ (รายการสุขภาพดี ๔ มิติ รายการกองกำลังสร้างสุขภาพ รายการบ้านสุขภาพ)ทุกวันพฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ กว่า ๑๕๐ ครั้งต่อปี
             - ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานวิชาการคลิปวีดิทัศน์การดำเนินงานองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ระดับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และระดับกระทรวงสาธารณสุข
             - ผู้บริหาร และบุคลากรสำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เข้าดูงานจำนวน ๕๙ คน
             - ได้รับโล่รางวัลหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ระดับ AA ปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๔ (ระดับ A+ ปี ๒๕๖๓)
แนวทางการต่อยอดขยายผลในอนาคต
             
คงสภาพการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับ ต่อยอดขยายผลเครือข่ายคุณธรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชน และประชาชน ในการส่งเสริมบุคคลต้นแบบ
สอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมาย
             
พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู
รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม : 

ผลงาน

ลิงก์วิดีโอ

การประชุมส่งเสริมคุณธรรมบุคลากร

https://youtu.be/rorHJELk2Rs 

การดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม

https://youtu.be/HcIJwRouf7M 

การส่งเสริมความพอเพียง

https://youtu.be/ywo5PpgaaR4 

ส่งเสริมวิถีวัฒนะรรมไทยที่ดีงาม

https://youtu.be/r1Sbz9qLz-4 

 

หน่วยงาน : วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข

รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม :  https://cpha.moph.go.th/?op=detail&vertical=news&opid=961

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

หน่วยงาน : กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
๑. “หมอพร้อม Digital Health Platform ของประเทศ”

 

หน่วยงาน : ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านทุจริต กระทรวงสาธารณสุข
๑. ตลาดนัดคุณธรรม (MOPH Moral Market)  ปี ๕ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ (กิจกรรมการจัดทำวีดิทัศน์การส่งเสริมคุณธรรม “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู”)

 

หน่วยงาน : สำนักสารนิเทศ
๑. รายการจับมาคุย  สาระสุขภาพ
รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม : 

ผลงาน

ลิงก์วิดีโอ

๑. ทำไมต้องฉีดวัคซีน ๔ เข็ม

https://youtu.be/ExOLDXsC0E4

๒. หน้ากากอนามัย กันฝุ่นได้หรือไม่

https://youtu.be/1fM0DBvW6dU

๓. ฟันน้ำนมผุ..ปล่อยไว้เสี่ยงตาบอด

https://youtu.be/BRNug26SfHo

๔. สาวโสดซิง กับมะเร็งปากมดลูก

 https://youtu.be/UbYC-KhYG1Y

๕. เป็นมะเร็งห้ามกินอะไรบ้าง

https://youtu.be/fAc6FuH6nw4

๖. ยาคุมฉุกเฉิน ไม่ท้องแน่นะ

https://youtu.be/iFTAs_VCn10

๗. ยาเม็ดคุมกำเนิดกินอย่างไรให้ถูกต้อง

https://youtu.be/-557qsGp1Fc

๘. ผู้สูงอายุไม่ฉีดวัคซีน ดูแลอย่างไร

 https://youtu.be/tUApA0_VE5o


๒. สกู๊ปข่าวตามนโยบาย
รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม : 

ผลงาน

ลิงก์วิดีโอ

๑. ฉีดให้ครบ  ๔ เข็ม จะได้ใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย 

https://youtu.be/Ih4A90q7pa0

๒. วัคซีนโควิด๑๙ ยิ่งสูงวัย ยิ่งควรฉีด

https://youtu.be/IbMbytp8qv

๓. LAAB วัคซีนสำเร็จรูป

https://youtu.be/sDG5ikFEo0Y

๔. ปลัด สธ.ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบาย ณ  รพ.พระนาราณ์มหาราช

https://youtu.be/Fp97cC4lIzY

๕. เปิด รพ.สต.บ้านตลาดเขตแห่งใหม่

https://youtu.be/MxJgcKkUXC8

๖. ปลัด สธ.เปิดมหกรรมผุ้สูงอายุไทย ดวงตาสดใส ไร้ต้อกระจก

https://youtu.be/C8yrofHqIhQ

๗. รัมอบอาคารทันตกรรม รพ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย

https://youtu.be/LgpgIjXJVi0

๘. ปลัดสธ.เยี่ยมชมศูนย์การแพทย์วัดบางพลีใหญ่กลาง

https://youtu.be/rypzT-R84AA

๙. สธ.จัดกิจกรรม ปกป้องกลุ่มเปราะบาง เสริมสร้างภุมิคุ้มกัน ให้บริการฉีด LAAB

https://youtu.be/MUN5VOY6-Gw

๑๐. ตรวจเยี่ยม รพ.ยโสธร

https://youtu.be/z0q2zlED0Rg

 

หน่วยงาน : กองการพยาบาล     
     กองการพยาบาล เป็นส่วนราชการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นหน่วยงานภาครัฐเพียงหน่วยงานเดียวของประเทศไทย ที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและพัฒนามาตรฐานคุณภาพการบริการพยาบาล วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการพยาบาล ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของสถานบริการสุขภาพทุกระดับที่กระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ อันเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ของกระทรวงสาธารณสุข ในการพิทักษ์สิทธิ ความเสมอภาคของประชาชน และเป็นหลักประกันด้านคุณภาพบริการสุขภาพ พร้อมทั้งจัดทำและเสนอแนะนโยบายมาตรฐานการพยาบาลและระบบบริการพยาบาล กำกับ ดูแล และสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของสถานบริการทุกระดับทั้งภาครัฐและเอกชน และสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลและเครือข่ายทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการบริการสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรม มีความปลอดภัย ฟื้นหายได้เร็วและมีสุขภาพที่ดีขึ้น รายละเอียดกิจกรรมการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล เพื่อการดูแลสุขภาพและสร้างสุขให้ประชาชน

 

หน่วยงาน : กองบริหารการสาธารณสุข
ที่มาและความสำคัญ
     
แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) มีเป้าหมายหลัก คือ คนไทยมีพฤติกรรมที่สะท้อนการมีคุณธรรมเพิ่มมากขึ้น ด้วยดัชนีคุณธรรม ๕ ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู เพื่อมุ่งสู่สังคมคุณธรรมภายใต้หลักธรรมทางศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และประเทศไทยปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ
วิธีการดำเนินกิจกรรม
     
- สำรวจปัญหาที่อยากแก้ ความดีที่อยากทำ และสถานการณ์คุณธรรม (ร้อยละ ๙๓.๑๗ ของบุคลากร)
     - นำผลสำรวจมาออกแบบกิจกรรม และดำเนินกิจกรรมตามคุณธรรมเป้าหมาย ๕ ประการ พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู
     - ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรม ผลสำเร็จร้อยละ ๑๐๐ ทุกปี
     - ขับเคลื่อนดำเนินงานอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ ในรูปแบบคณะทำงานที่มีการทบทวนทุกปี
     - พัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรมในรูปแบบสื่อรณรงค์ และจัดอบรม อย่างต่อเนื่องทุกปี 
     - ยกย่องเชิดชูบุคลากร/หน่วยงานที่พัฒนาคุณธรรมโดดเด่น ด้วยรางวัลคนดี กบรส. ซึ่งจัดต่อเนื่องมาแล้ว ๓ ปี บุคลากรได้รับการยกย่องเชิดชูทั้งสิ้น ๓๐ คน (ปีที่ ๔ อยู่ในระหว่างดำเนินการ) และรางวัลชื่นชม แชร์ โชว์ จัดต่อเนื่องมาแล้ว ๒ ปี บุคลากรและหน่วยงานได้รับการยกย่องเชิดชู ทั้งสิ้น ๔ คน และ ๒ หน่วยงาน (ปีที่ ๓ อยู่ในระหว่างดำเนินการ)
     - ส่งเสริม และสร้างการมีส่วนร่วมการดำเนินงานด้านคุณธรรมทั้งภายในและนอกองค์กร โดยแกนหนุนคุณธรรม (ภายในองค์กร) และเครือข่ายคุณธรรม (ภายนอกองค์กร)
     - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อวางแผนการดำเนินงานในอนาคต
กิจกรรมโดดเด่นที่ดำเนินการ
     
กิจกรรมอาสาเพื่อประชาชน
     - ตะกร้าน้อยปันสุขแบ่งปันผู้ยากไร้
     - อาสาบริการประชาชนศูนย์วัคซีน ทั้งใน และนอกกระทรวงสาธารณสุข
     - ผลิตรายการวิทยุเพื่อสุขภาพสู่ประชาชน
     - กิจกรรม CSR ปลูกป่าวิถีใหม่ ณ อุทยานแห่งชาติทับลาน
     - อาสาสมัครโรงพยาบาลบุษราคัม เช่น อาสาซักประวัติ และติดตามอาการหลังหายป่วย อาสาประกอบเตียง อาสาลำเลียงสิ่งของบริจาค เป็นต้น
     กิจกรรมตามหลักธรรมทางศาสนา 
     - ส่งเสริมคุณธรรมตามหลักศาสนาทุกศาสนา เนื่องในวันสำคัญทางศาสนา
     - ผลิต เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ สื่อคุณธรรมองค์กรรักษ์ศีล
     กิจกรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
     - ปฏิทินเพื่อคนตาบอด รวบรวมปฏิทินตั้งโต๊ะที่ไม่ใช้แล้ว ส่งต่อเพื่อทำสื่ออักษรเบรลล์ผู้พิการทางสายตา มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในประบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓
     - ถุงยากระดาษรีไซเคิล เพื่อประชาชน โดยนำถุงห่อกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว มาประดิษฐ์เป็นถุงใส่ยาสำหรับประชาชนผู้มารับบริการสถานบริการ กระทรวงสาธารณสุข กว่า ๖๐๐ ถุง
     - ผลิตสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ด้านความพอเพียงในองค์กร
     กิจกรรมตามวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
     - ส่งเสริมวิถีวัฒนธรรมไทยในวันสงกรานต์
     - ส่งเสริมการแต่งกายชุดผ้าไทยสัปดาห์ละ ๒ วัน
     - ผลิตสื่อวีดิทัศน์รณรงค์ปฏิบัติการวิถีวัฒนธรรมไทยที่ดีงาน “ยิ้ม ไหว้ ทักทาย สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ”
ผลลัพธ์/รูปธรรมความสำเร็จ
     
- ปี ๒๕๖๔ จัดกิจกรรมตะกร้าน้อยปันสุข แบ่งปันเครื่องอุปโภค บริโภคแก่ประชาชนผู้ยากไร้ จำนวน ๓๓ ครั้ง เข้าถึงประชาชนกว่า ๕๐๐ คน
     - พัฒนาความร่วมมือ “เครือข่ายคุณธรรม” ภายนอกองค์กร จำนวน ๗ หน่วยงาน
     - ข้าราชการมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ตามคุณธรรมเป้าหมายทุกด้าน (๕ ด้าน)
     - จัดรายการวิทยุเพื่อสุขภาพประชาชน จำนวน ๓ รายการ (รายการสุขภาพดี ๔ มิติ รายการกองกำลังสร้างสุขภาพ รายการบ้านสุขภาพ)ทุกวันพฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์ กว่า ๑๕๐ ครั้งต่อปี
     - ได้รับโล่รางวัลชนะเลิศ การนำเสนอผลงานวิชาการคลิปวีดิทัศน์การดำเนินงานองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ระดับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และระดับกระทรวงสาธารณสุข
     - ผู้บริหาร และบุคลากรสำนักพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เข้าดูงานจำนวน ๕๙ คน
     - ได้รับโล่รางวัลหน่วยงานที่มีผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง ระดับ AA ปี ๒๕๖๕ และปี ๒๕๖๔ (ระดับ A+ ปี ๒๕๖๓)
แนวทางการต่อยอดขยายผลในอนาคต
     
คงสภาพการเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับ ต่อยอดขยายผลเครือข่ายคุณธรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชน และประชาชน ในการส่งเสริมบุคคลต้นแบบ
สอดคล้องกับคุณธรรมเป้าหมาย
     
พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา กตัญญู
รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม : 

ผลงาน

ลิงก์วิดีโอ

การประชุมส่งเสริมคุณธรรมบุคลากร

https://youtu.be/rorHJELk2Rs 

การดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรม

https://youtu.be/HcIJwRouf7M 

การส่งเสริมความพอเพียง

https://youtu.be/ywo5PpgaaR4 

ส่งเสริมวิถีวัฒนะรรมไทยที่ดีงาม

https://youtu.be/r1Sbz9qLz-4 

 

หน่วยงาน : วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข

รับชมวิดีโอผลการดำเนินงานที่สำคัญของหน่วยงานเพิ่มเติม :  https://cpha.moph.go.th/?op=detail&vertical=news&opid=961

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๕๙๐ ๑๐๐๐
โทรสาร: ๐ ๒๕๙๐ ๑๑๗๔
อีเมล: saraban@moph.go.th

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสุขภาพจิต

หน่วยงาน : สํานักงานนิติสุขภาพจิต สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
๑. การดูแลช่วยเหลือบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโลกออนไลน์ให้ได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงที (HOPE Task Force)
               ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ ๒,๕๕๑ ราย คิดเป็น ๓.๘๙ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน (ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ, ๒๕๖๓) โดยปัญหาด้านสัมพันธภาพยังคงเป็นปัจจัยลำดับแรก ตามมาด้วยปัญหาอาการป่วยกายและจิต เศรษฐกิจ และสุรา ตามลำดับ โดยสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน สามารถพบเห็นได้ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียหรือช่องทางออนไลน์ เช่น การตำหนิตัวเอง การแสดงความท้อแท้ การกล่าวลาและการทิ้งข้อความที่หดหู่ ซึ่งเป็นการแสดงออกที่ผิดปกติจากเดิม เมื่อเทียบในช่วงเวลาปกติ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่แสดงออกทางพฤติกรรมการพยายามทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายในที่สุด โดยความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทยมีแนวโน้มที่สูงขึ้นตามลำดับ
               
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพจิตรูปแบบใหม่ภายใต้ความร่วมมือกับกองบังคับการปราบปราบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ Social Influencer ได้แก่ หมอแล็บแพนด้า Drama-addict และ แหม่มโพธิ์ดำ จัดตั้งทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย หรือ HOPE Task Force โดยคำว่า HOPE ย่อมาจาก Helpers of Psychiatric Emergency ซึ่งหมายถึง ผู้ช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตฉุกเฉิน โดยทีมปฏิบัติการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อนำมาใช้ดูแลช่วยเหลือผู้ที่กำลังได้รับผลกระทบหรือมีสัญญาณเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโลกโซเชียลให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที นับว่าความร่วมมือในครั้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดีในการทำงานด้านสุขภาพจิต ถือเป็นโมเดลต้นแบบในการทำงานด้านสุขภาพจิตแบบบูรณาการในอนาคต โดยทำให้เกิดระบบการช่วยชีวิตที่รวดเร็ว ได้รับความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตอย่างฉับไว และมีการติดตามดูแลรักษาและบำบัดเยียวยาในระยะยาวเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายซ้ำในอนาคต
               
แนวทางการดำเนินงานของ HOPE Task Force เริ่มตั้งแต่ประชาชนส่งข้อมูลบุคคลที่มีสัญญาณเสี่ยงการฆ่าตัวตายที่ปรากฏอยู่บนโลกโซเชียล ไปให้ Facebook Fanpage ของ Social Influencer รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้น กองบังคับการปราบปราม และกรมสุขภาพจิต จะร่วมกันวางแผนเข้าช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในพื้นที่ โดยมีการประสานกับตำรวจและโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อเตรียมการรองรับบุคคลที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายและให้การดูแลจนหมดภาวะฉุกเฉิน พร้อมทั้งจัดทีมเยียวยาด้านสุขภาพจิตเข้าไปดูแลอย่างต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซ้ำ
               
จากการสรุปผลการทำงานของ HOPE Task Force ในระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ พบว่ามีจำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด ๔๘๒ ราย เป็นเพศชาย ๑๕๘ ราย เพศหญิง ๒๔๐ ราย ไม่ระบุเพศ ๘๔ ราย เป็นผู้ที่มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต ๑๔๑ ราย ไม่มีประวัติทางจิต ๓๖ ราย และไม่ระบุ ๓๐๕ ราย โดยได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ๓๙๕ ราย ติดต่อไม่ได้ ๘๗ ราย เข้าสู่ระบบการรักษาเนื่องจากเป็นผู้อยู่ในภาวะวิกฤต ๙ ราย และมีเคสที่กระทำสำเร็จ ๒ ราย
               
ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย มีแผนในการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและทักษะเจรจาต่อรองด้านสุขภาพจิตฉุกเฉิน ให้สามารถรับมือกับสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือได้อย่างปลอดภัย มีแนวทางติดตามดูแลรักษาและบำบัดเยียวยาในระยะยาวเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายซ้ำในอนาคต และอีกหลายองค์ประกอบที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน  (SDGs) ส่งผลให้การดูแลช่วยเหลือบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโลกออนไลน์ให้ได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงที (HOPE Task Force) ได้รับ รางวัลเลิศรัฐ ประเภทพัฒนาบริการภาครัฐ (PSA) ระดับดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา

รูปเพิ่มเติม

๒. โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์: การบริการสุขภาพจิต
               โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้านการบริการสุขภาพจิต มีวัตถุประสงค์หลักในการวางแผนและดำเนินการพัฒนางานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและยั่งยืน เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพผู้ต้องขังให้ได้รับการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกับบุคคลภายนอก ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน
               
โดยปี ๒๕๖๐ การดำเนินงานมุ่งเน้นในเครือข่ายราชทัณฑ์และเครือข่ายสาธารณสุขในรูปแบบของคู่เครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลและเรือนจำในจังหวัด ซึ่งครบทั้ง ๗๗ จังหวัด ๗๗ คู่เครือข่ายทั่วประเทศแล้ว ในปี ๒๕๖๑ จึงมุ่งเน้นขยายการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพบุคลากร ระบบสาธารณสุขและระบบราชทัณฑ์ให้มีสมรรถนะในการจัดบริการสุขภาพจิตและจิตเวชของผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำ ปี ๒๕๖๒ มุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐานการบริการด้วยระบบ Telepsychiatry รวมทั้งได้พัฒนาแนวทางบริการจิตเวชในสถานพินิจ/ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ปี ๒๕๖๓ ได้ดำเนินการจัดทำแนวทางการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวช สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมราชทัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกำหนดบริการ/กิจกรรมด้านสุขภาพจิตและจิตเวช สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ จัดโปรแกรมเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังจิตเวชก่อนปล่อย มีระบบการส่งต่อผู้ต้องขังป่วยจิตเวช และมีการจัดเก็บและรายงานข้อมูลการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชประจำเดือน จัดทำระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยนิติจิตเวช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการกำกับติดตามให้ผู้ป่วยนิติจิตเวช ผู้ต้องขังจิตเวชเข้าถึงบริการและได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ขณะอยู่ในเรือนจำและภายหลังปล่อยตัวกลับสู่ชุมชน และพัฒนาการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชผ่านระบบ Telepsychiatry เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงบริการ สำหรับผู้ต้องขังจิตเวช โดยสถาบัน/โรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตมีเตียงรองรับผู้ต้องขังป่วยจิตเวชแบบผู้ป่วยในทั่วประเทศ ครบทั้ง ๑๔ แห่งทั่วประเทศ ปี ๒๕๖๔ ดำเนินงานสนับสนุนการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชในเรือนจำ โดยการกำกับติดตามตามแนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ มุ่งเน้นการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้ต้องขังแรกรับ เมื่อพบปัญหาสุขภาพจิตจะต้องได้รับการรักษา ซึ่งพบว่า เรือนจำทั้งหมด ๑๔๓ แห่ง มีจำนวนผู้ต้องขัง ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ ทั้งหมด ๒๘๙,๓๓๒ คน มีผู้ต้องขังได้รับการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต จำนวน ๒๕๓,๙๕๙ คน พบปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน ๕,๘๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๐๑ โดยผู้ต้องขังที่ผ่านการคัดกรองและพบปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าว ได้รับการดูแลรักษา คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ทั้งนี้มียอดสะสมผู้ต้องขังจิตเวชเข้าถึงบริการ (ต.ค. ๖๓ – ก.ย. ๖๔) จำนวน ๑๕,๗๒๐ ราย โดยผ่านระบบรักษาทางไกล (Telepsychiatry) จำนวน ๓,๙๒๑ ราย และจิตแพทย์เข้าตรวจภายในเรือนจำ หรือได้รับการตรวจที่โรงพยาบาล จำนวนทั้งสิ้น ๑๑,๗๙๙ ราย รวมทั้งมีเรือนจำที่ให้การบำบัดรักษาผ่านระบบรักษาทางไกล(Telepsychiatry) จำนวน ๖๐ แห่ง และมีผู้ต้องขังป่วยจิตเวชได้รับการบันทึกข้อมูลลงบนฐานข้อมูลนิติจิตเวชทั้งหมด ๑,๙๐๒ ราย (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔) ปี ๒๕๖๕ กรมสุขภาพจิต จัดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ ณ เรือนจำกลางนครปฐม ภายใต้ชื่องาน“เติมใจ...ให้ทัณฑ์” “Correct Your Mind…Find Your Happiness” ให้ความรู้สุขภาพจิต ดูแลสุขภาพใจ สร้างพลังใจให้บุคลากรในเรือนจำและผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพจิต รณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของการวัดใจอย่างต่อเนื่อง ประเมินและแก้ไขได้ด้วยตนเอง เข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตทันท่วงที ส่งต่อการช่วยเหลือไปยังเพื่อนร่วมงาน และเพื่อนผู้ต้องราชทัณฑ์ ให้ดำเนินชีวิตอยู่ในเรือนจำอย่างมีความสุข เตรียมความพร้อมเพื่อร่วมสร้างสังคมมีสุขมีเรือนจำและในปี ๒๕๖๕ เรือนจำมีระบบ Telepsychiatry และพร้อมให้บริการจำนวน ๙๒ แห่ง จาก ๑๔๓ แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๓๔ ซึ่งเรือนจำบางแห่งอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ Telepsychiatry ร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อลดการส่งต่อผู้ป่วยนอกเรือนจำ ส่งผลให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภายในเรือนจำยังมีระบบเพื่อนช่วยเพื่อนจากอาสาสมัครเรือนจำ (อสรจ.) ให้การดูแลและช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเบื้องต้น รวมทั้งมีระบบการส่งต่อติดตามการรักษาต่อเนื่องในพื้นที่เมื่อปล่อยตัว  และบันทึกข้อมูลผู้ต้องขังป่วยจิตเวชลงในระบบฐานข้อมูลนิติจิตเวชของกรมสุขภาพจิต


รูปภาพ กิจกรรมสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ ณ เรือนจำกลางนครปฐม

               และในปี ๒๕๖๖ กรมสุขภาพจิต มุ่งเน้นการดำเนินงานด้านการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้ต้องขังแรกรับทุกรายและผู้ต้องขังรายเก่าที่จำคุกมาแล้ว ๑ ปีขึ้นไป เข้าสู่ระบบการรักษา และติดตามผู้ต้องขังจิตเวชพ้นโทษกลับไปอยู่ในชุมชน ดูแลเฝ้าระวังต่อเนื่องบนระบบดิจิทัลให้เข้าถึงการรักษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงแนวทางการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ เพิ่มศักยภาพให้ทุกเรือนจำมีบริการตรวจรักษาผ่านระบบ Telepsychiatry พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ต้องขังป่วยจิตเวชคดีรุนแรง พัฒนาแนวทางการติดตามผู้ต้องขังจิตเวชหลังพ้นโทษ และจัดทำระบบรายงานการกระทำผิดซ้ำระดับประเทศ

รูปภาพ การให้บริการผ่านระบบ Telepsychiatry สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ

รูปเพิ่มเติม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสุขภาพจิต

หน่วยงาน : สํานักงานนิติสุขภาพจิต สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
๑. การดูแลช่วยเหลือบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโลกออนไลน์ให้ได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงที (HOPE Task Force)
       ปัจจุบันคนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ ๒,๕๕๑ ราย คิดเป็น ๓.๘๙ ต่อประชากร ๑๐๐,๐๐๐ คน (ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ, ๒๕๖๓) โดยปัญหาด้านสัมพันธภาพยังคงเป็นปัจจัยลำดับแรก ตามมาด้วยปัญหาอาการป่วยกายและจิต เศรษฐกิจ และสุรา ตามลำดับ โดยสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุการณ์ในปัจจุบัน สามารถพบเห็นได้ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียหรือช่องทางออนไลน์ เช่น การตำหนิตัวเอง การแสดงความท้อแท้ การกล่าวลาและการทิ้งข้อความที่หดหู่ ซึ่งเป็นการแสดงออกที่ผิดปกติจากเดิม เมื่อเทียบในช่วงเวลาปกติ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่แสดงออกทางพฤติกรรมการพยายามทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตายในที่สุด โดยความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตายในประเทศไทยมีแนวโน้มที่สูงขึ้นตามลำดับ
       
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพจิตรูปแบบใหม่ภายใต้ความร่วมมือกับกองบังคับการปราบปราบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ Social Influencer ได้แก่ หมอแล็บแพนด้า Drama-addict และ แหม่มโพธิ์ดำ จัดตั้งทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย หรือ HOPE Task Force โดยคำว่า HOPE ย่อมาจาก Helpers of Psychiatric Emergency ซึ่งหมายถึง ผู้ช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตฉุกเฉิน โดยทีมปฏิบัติการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเพื่อนำมาใช้ดูแลช่วยเหลือผู้ที่กำลังได้รับผลกระทบหรือมีสัญญาณเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโลกโซเชียลให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที นับว่าความร่วมมือในครั้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดีในการทำงานด้านสุขภาพจิต ถือเป็นโมเดลต้นแบบในการทำงานด้านสุขภาพจิตแบบบูรณาการในอนาคต โดยทำให้เกิดระบบการช่วยชีวิตที่รวดเร็ว ได้รับความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตอย่างฉับไว และมีการติดตามดูแลรักษาและบำบัดเยียวยาในระยะยาวเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายซ้ำในอนาคต
       
แนวทางการดำเนินงานของ HOPE Task Force เริ่มตั้งแต่ประชาชนส่งข้อมูลบุคคลที่มีสัญญาณเสี่ยงการฆ่าตัวตายที่ปรากฏอยู่บนโลกโซเชียล ไปให้ Facebook Fanpage ของ Social Influencer รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากนั้น กองบังคับการปราบปราม และกรมสุขภาพจิต จะร่วมกันวางแผนเข้าช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนในพื้นที่ โดยมีการประสานกับตำรวจและโรงพยาบาลในพื้นที่เพื่อเตรียมการรองรับบุคคลที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายและให้การดูแลจนหมดภาวะฉุกเฉิน พร้อมทั้งจัดทีมเยียวยาด้านสุขภาพจิตเข้าไปดูแลอย่างต่อเนื่องในระยะยาวเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายซ้ำ
       
จากการสรุปผลการทำงานของ HOPE Task Force ในระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๖๓ ถึงเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ พบว่ามีจำนวนผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด ๔๘๒ ราย เป็นเพศชาย ๑๕๘ ราย เพศหญิง ๒๔๐ ราย ไม่ระบุเพศ ๘๔ ราย เป็นผู้ที่มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต ๑๔๑ ราย ไม่มีประวัติทางจิต ๓๖ ราย และไม่ระบุ ๓๐๕ ราย โดยได้รับการช่วยเหลือเยียวยา ๓๙๕ ราย ติดต่อไม่ได้ ๘๗ ราย เข้าสู่ระบบการรักษาเนื่องจากเป็นผู้อยู่ในภาวะวิกฤต ๙ ราย และมีเคสที่กระทำสำเร็จ ๒ ราย
       
ทีมปฏิบัติการพิเศษป้องกันการฆ่าตัวตาย มีแผนในการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและทักษะเจรจาต่อรองด้านสุขภาพจิตฉุกเฉิน ให้สามารถรับมือกับสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือได้อย่างปลอดภัย มีแนวทางติดตามดูแลรักษาและบำบัดเยียวยาในระยะยาวเพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายซ้ำในอนาคต และอีกหลายองค์ประกอบที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน  (SDGs) ส่งผลให้การดูแลช่วยเหลือบุคคลที่ส่งสัญญาณความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในโลกออนไลน์ให้ได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงที (HOPE Task Force) ได้รับ รางวัลเลิศรัฐ ประเภทพัฒนาบริการภาครัฐ (PSA) ระดับดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา

รูปเพิ่มเติม

๒. โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์: การบริการสุขภาพจิต
       โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ด้านการบริการสุขภาพจิต มีวัตถุประสงค์หลักในการวางแผนและดำเนินการพัฒนางานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำทั่วประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและยั่งยืน เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพผู้ต้องขังให้ได้รับการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกับบุคคลภายนอก ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน
       
โดยปี ๒๕๖๐ การดำเนินงานมุ่งเน้นในเครือข่ายราชทัณฑ์และเครือข่ายสาธารณสุขในรูปแบบของคู่เครือข่ายระหว่างโรงพยาบาลและเรือนจำในจังหวัด ซึ่งครบทั้ง ๗๗ จังหวัด ๗๗ คู่เครือข่ายทั่วประเทศแล้ว ในปี ๒๕๖๑ จึงมุ่งเน้นขยายการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รวมทั้งเพิ่มศักยภาพบุคลากร ระบบสาธารณสุขและระบบราชทัณฑ์ให้มีสมรรถนะในการจัดบริการสุขภาพจิตและจิตเวชของผู้ต้องขังจิตเวชในเรือนจำ ปี ๒๕๖๒ มุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐานการบริการด้วยระบบ Telepsychiatry รวมทั้งได้พัฒนาแนวทางบริการจิตเวชในสถานพินิจ/ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ปี ๒๕๖๓ ได้ดำเนินการจัดทำแนวทางการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวช สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกรมสุขภาพจิต สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมราชทัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการกำหนดบริการ/กิจกรรมด้านสุขภาพจิตและจิตเวช สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ จัดโปรแกรมเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังจิตเวชก่อนปล่อย มีระบบการส่งต่อผู้ต้องขังป่วยจิตเวช และมีการจัดเก็บและรายงานข้อมูลการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชประจำเดือน จัดทำระบบฐานข้อมูลผู้ป่วยนิติจิตเวช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการกำกับติดตามให้ผู้ป่วยนิติจิตเวช ผู้ต้องขังจิตเวชเข้าถึงบริการและได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ขณะอยู่ในเรือนจำและภายหลังปล่อยตัวกลับสู่ชุมชน และพัฒนาการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชผ่านระบบ Telepsychiatry เพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงบริการ สำหรับผู้ต้องขังจิตเวช โดยสถาบัน/โรงพยาบาลในสังกัดกรมสุขภาพจิตมีเตียงรองรับผู้ต้องขังป่วยจิตเวชแบบผู้ป่วยในทั่วประเทศ ครบทั้ง ๑๔ แห่งทั่วประเทศ ปี ๒๕๖๔ ดำเนินงานสนับสนุนการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชในเรือนจำ โดยการกำกับติดตามตามแนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ มุ่งเน้นการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้ต้องขังแรกรับ เมื่อพบปัญหาสุขภาพจิตจะต้องได้รับการรักษา ซึ่งพบว่า เรือนจำทั้งหมด ๑๔๓ แห่ง มีจำนวนผู้ต้องขัง ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๔ ทั้งหมด ๒๘๙,๓๓๒ คน มีผู้ต้องขังได้รับการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต จำนวน ๒๕๓,๙๕๙ คน พบปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน ๕,๘๒๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๒.๐๑ โดยผู้ต้องขังที่ผ่านการคัดกรองและพบปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าว ได้รับการดูแลรักษา คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ทั้งนี้มียอดสะสมผู้ต้องขังจิตเวชเข้าถึงบริการ (ต.ค. ๖๓ – ก.ย. ๖๔) จำนวน ๑๕,๗๒๐ ราย โดยผ่านระบบรักษาทางไกล (Telepsychiatry) จำนวน ๓,๙๒๑ ราย และจิตแพทย์เข้าตรวจภายในเรือนจำ หรือได้รับการตรวจที่โรงพยาบาล จำนวนทั้งสิ้น ๑๑,๗๙๙ ราย รวมทั้งมีเรือนจำที่ให้การบำบัดรักษาผ่านระบบรักษาทางไกล(Telepsychiatry) จำนวน ๖๐ แห่ง และมีผู้ต้องขังป่วยจิตเวชได้รับการบันทึกข้อมูลลงบนฐานข้อมูลนิติจิตเวชทั้งหมด ๑,๙๐๒ ราย (ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔) ปี ๒๕๖๕ กรมสุขภาพจิต จัดงานสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ ณ เรือนจำกลางนครปฐม ภายใต้ชื่องาน“เติมใจ...ให้ทัณฑ์” “Correct Your Mind…Find Your Happiness” ให้ความรู้สุขภาพจิต ดูแลสุขภาพใจ สร้างพลังใจให้บุคลากรในเรือนจำและผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพจิต รณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของการวัดใจอย่างต่อเนื่อง ประเมินและแก้ไขได้ด้วยตนเอง เข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตทันท่วงที ส่งต่อการช่วยเหลือไปยังเพื่อนร่วมงาน และเพื่อนผู้ต้องราชทัณฑ์ ให้ดำเนินชีวิตอยู่ในเรือนจำอย่างมีความสุข เตรียมความพร้อมเพื่อร่วมสร้างสังคมมีสุขมีเรือนจำและในปี ๒๕๖๕ เรือนจำมีระบบ Telepsychiatry และพร้อมให้บริการจำนวน ๙๒ แห่ง จาก ๑๔๓ แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ ๖๔.๓๔ ซึ่งเรือนจำบางแห่งอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ Telepsychiatry ร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อลดการส่งต่อผู้ป่วยนอกเรือนจำ ส่งผลให้ผู้ต้องขังที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ภายในเรือนจำยังมีระบบเพื่อนช่วยเพื่อนจากอาสาสมัครเรือนจำ (อสรจ.) ให้การดูแลและช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตเบื้องต้น รวมทั้งมีระบบการส่งต่อติดตามการรักษาต่อเนื่องในพื้นที่เมื่อปล่อยตัว  และบันทึกข้อมูลผู้ต้องขังป่วยจิตเวชลงในระบบฐานข้อมูลนิติจิตเวชของกรมสุขภาพจิต


รูปภาพ กิจกรรมสัปดาห์สุขภาพจิตแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๕ ณ เรือนจำกลางนครปฐม

       และในปี ๒๕๖๖ กรมสุขภาพจิต มุ่งเน้นการดำเนินงานด้านการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชในผู้ต้องขังแรกรับทุกรายและผู้ต้องขังรายเก่าที่จำคุกมาแล้ว ๑ ปีขึ้นไป เข้าสู่ระบบการรักษา และติดตามผู้ต้องขังจิตเวชพ้นโทษกลับไปอยู่ในชุมชน ดูแลเฝ้าระวังต่อเนื่องบนระบบดิจิทัลให้เข้าถึงการรักษาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งดำเนินการปรับปรุงแนวทางการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ เพิ่มศักยภาพให้ทุกเรือนจำมีบริการตรวจรักษาผ่านระบบ Telepsychiatry พัฒนาแนวทางการดูแลผู้ต้องขังป่วยจิตเวชคดีรุนแรง พัฒนาแนวทางการติดตามผู้ต้องขังจิตเวชหลังพ้นโทษ และจัดทำระบบรายงานการกระทำผิดซ้ำระดับประเทศ

รูปภาพ การให้บริการผ่านระบบ Telepsychiatry สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ

รูปเพิ่มเติม

กรมสุขภาพจิต
เลขที่ ๘๘/๒๐ หมู่ ๔ ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์: ๐๒ ๑๔๙ ๕๕๕๕ ถึง ๖๐
โทรสาร: ๐ ๒๑๔๙ ๕๕๑๒
อีเมล: saraban@dmh.mail.go.th , ict@dmh.mail.go.th

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

หน่วยงาน : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ดำเนินการ ดังนี้
               ๑. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต 

               ๒. ประกาศเจตนารมณ์ งดการให้และรับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ในทุกโอกาส 

                

               ๓. จัดโครงการยกระดับพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้กรอบ แนวทางการดำเนินงาน ปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึก สร้างวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แบบมีส่วนร่วม และชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนแผนการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

               ๔. การอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ และการพนักงานราชการที่จัดจ้างใหม่ ปีละ ๒ ครั้ง ได้บรรจุหลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี เพื่อเป็นการปลูกฝังให้ข้าราชการปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดี ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม นำจิตบริการ และการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

               ๕. การขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรกำหนดการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามยุทธศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญขององค์กรเพื่อตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ กระทรวงสาธารณสุข และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผ่านทีมกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ในการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจากการวิเคราะห์กิจกรรมจากค่านิยมของกรม  “สบส” 
                       ส : สมรรถนะเป็นฐาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ 
                       บ : บริการด้วยใจ
                       ส : ใฝ่สามัคคี

               ๖. การให้บริการเชิงรุก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ดำเนินการให้ครอบคลุมผู้รับบริการและประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพยังมีบริการ ณ ที่ตั้ง เพื่อให้บริการประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมถึง การให้บริการ ผ่านระบบออนไลน์ Bizportal

               ๗. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานในพื้นที่ ผ่าน อาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  “SMART อสม.” สำหรับ อสม. ๔.๐ เพื่อให้ อสม. มีศักยภาพในการสร้างสุขภาพที่ดี ป้องกันก่อนป่วยให้กับประชาชนในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ

หน่วยงาน : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ดำเนินการ ดังนี้
       ๑. ประกาศเจตนารมณ์ต่อต้านการทุจริต 

       ๒. ประกาศเจตนารมณ์ งดการให้และรับของขวัญ และของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ในทุกโอกาส 

        

       ๓. จัดโครงการยกระดับพัฒนาการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้กรอบ แนวทางการดำเนินงาน ปลูกฝังวิธีคิด ปลุกจิตสำนึก สร้างวัฒนธรรมและพฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐของ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แบบมีส่วนร่วม และชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนแผนการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ

       ๔. การอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ และการพนักงานราชการที่จัดจ้างใหม่ ปีละ ๒ ครั้ง ได้บรรจุหลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี เพื่อเป็นการปลูกฝังให้ข้าราชการปฏิบัติตนเป็นข้าราชการที่ดี ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม นำจิตบริการ และการดำเนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       ๕. การขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรกำหนดการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุผลสำเร็จตามยุทธศาสตร์ เป็นรากฐานที่สำคัญขององค์กรเพื่อตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ กระทรวงสาธารณสุข และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ผ่านทีมกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ในการสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจากการวิเคราะห์กิจกรรมจากค่านิยมของกรม  “สบส” 
       ส : สมรรถนะเป็นฐาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ 
       บ : บริการด้วยใจ
       ส : ใฝ่สามัคคี

       ๖. การให้บริการเชิงรุก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ดำเนินการให้ครอบคลุมผู้รับบริการและประชาชนกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพยังมีบริการ ณ ที่ตั้ง เพื่อให้บริการประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมถึง การให้บริการ ผ่านระบบออนไลน์ Bizportal

       ๗. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานในพื้นที่ ผ่าน อาสาสมัครสาธารสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  “SMART อสม.” สำหรับ อสม. ๔.๐ เพื่อให้ อสม. มีศักยภาพในการสร้างสุขภาพที่ดี ป้องกันก่อนป่วยให้กับประชาชนในพื้นที่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เลขที่ ๘๘/๔๔ หมู่ ๔ ซอยสาธารณสุข ๘ ถนนติวานนท์ ตำบล ตลาดขวัญ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์: ๑๔๒๖
โทรสาร: ๐๒ ๑๔๙ ๕๖๗๐
อีเมล: ict@hss.mail.go.th

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมอนามัย

หน่วยงาน : กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ
กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ได้ดำเนินการ ดังนี้
๑. โครงการก้าวท้าใจ
             กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการอภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดี อายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม และการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ
             กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ได้ส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ตามแผนพัฒนา อย่างยั่งยืน (SDGs) โดยสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๗๓ เพื่อเป้าหมาย คนไทยมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงด้วยกิจกรรมทางกาย ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
             ปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเมือง (Urbanization) ทำให้วิถีชีวิตคนไทยมีความเนือยนิ่งมากขึ้น ทั้งจากรูปแบบการทำงาน การพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทำให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น เป็นต้น และการแพร่ระบาดโควิด ๑๙ ยิ่งทำให้ประชาชนเนือยนิ่งมากขึ้น
             โครงการก้าวท้าใจ เกิดขึ้นด้วยบทบาทหน้าที่ และนโยบายกระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นการส่งเสริม ให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอและเหมาะสม พร้อมทั้งมุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นฐาน ภายใต้แนวคิด การนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยเสริมสร้างแรงจูงใจ ด้วยหลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ทั้งของรางวัล ความสนุกสนาน และการแข่งขันด้วยการดำเนินการรูปแบบถาม (Gamification) ภายใต้ความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงศึกษาการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://sites.google.com/view/activefam

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมอนามัย

หน่วยงาน : กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ
กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ได้ดำเนินการ ดังนี้
๑. โครงการก้าวท้าใจ
     กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการอภิบาลระบบส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดี อายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ การบริโภคอาหารที่เหมาะสม และการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ
     กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ ได้ส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ ตามแผนพัฒนา อย่างยั่งยืน (SDGs) โดยสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๗๓ เพื่อเป้าหมาย คนไทยมีวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงด้วยกิจกรรมทางกาย ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
     ปัจจุบัน วิถีชีวิตของคนไทยมีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเมือง (Urbanization) ทำให้วิถีชีวิตคนไทยมีความเนือยนิ่งมากขึ้น ทั้งจากรูปแบบการทำงาน การพัฒนาของเทคโนโลยีที่ทำให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น เป็นต้น และการแพร่ระบาดโควิด ๑๙ ยิ่งทำให้ประชาชนเนือยนิ่งมากขึ้น
     โครงการก้าวท้าใจ เกิดขึ้นด้วยบทบาทหน้าที่ และนโยบายกระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นการส่งเสริม ให้ประชาชนมีกิจกรรมทางกายเพียงพอและเหมาะสม พร้อมทั้งมุ่งเน้นให้ชุมชนเป็นฐาน ภายใต้แนวคิด การนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยเสริมสร้างแรงจูงใจ ด้วยหลักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ทั้งของรางวัล ความสนุกสนาน และการแข่งขันด้วยการดำเนินการรูปแบบถาม (Gamification) ภายใต้ความร่วมมือจากหลากหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงศึกษาการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : https://sites.google.com/view/activefam

กรมอนามัย
๘๘/๒๒ ม.๔ ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๕๙๐ ๔๐๐๐
โทรสาร: ๐ ๒๕๙๐ ๔๐๙๔
อีเมล: mailmaster@anamai.mail.go.th , doh.anamai@gmail.com

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมการแพทย์

หน่วยงาน : โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น
๑. คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลา (SMC CLINIC) โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น
               
Facebook page : กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ฉุกเฉิน 

  

               Youtube Chanel : โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น 

  

               Facebook page : เพจ ธัญญ์ By Thai Kid Dee https://www.facebook.com/profile.php?id=100054271191445 

  

               Youtube Chanel : Stay at Than Permium Ward 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญของกรมการแพทย์

หน่วยงาน : โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่นจังหวัดขอนแก่น
๑. คลินิกพิเศษเฉพาะทางนอกเวลา (SMC CLINIC) โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น
       
Facebook page : กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD) ฉุกเฉิน 

  

       Youtube Chanel : โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น 

  

       Facebook page : เพจ ธัญญ์ By Thai Kid Dee https://www.facebook.com/profile.php?id=100054271191445 

  

       Youtube Chanel : Stay at Than Permium Ward 

กรมการแพทย์
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ๘๘/๒๓ ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์: ๐ ๒๕๙๐ ๖๐๐๐
โทรสาร: ๐ ๒๕๙๑ ๘๒๕๓
อีเมล: saraban@dms.mail.go.th
นิทรรศการของหน่วยงานอื่นๆ