ผลงานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
1. โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti Fake News Center: AFNC)
โครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti Fake News Center: AFNC) เป็นโครงการที่ดำเนินงานโดยสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดให้มีระบบงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สถานที่ และบุคลากรในการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งทำการพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายผู้ประสานงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ให้สามารถปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์เนื้อหา บริหารการข่าว และการรับแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่าง ๆ
ได้อย่างทันท่วงที และดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงประชาชนและสื่อมวลชน รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนในการรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณก่อนจะเผยแพร่หรือส่งต่อในอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์ผ่านการจัดกิจกรรมและการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล และมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาข่าวปลอมและการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้สังคมได้รับทราบ ซึ่งมีผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง แสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่า ดังนี้
๑. มีช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์ข่าวสารที่ผ่านการยืนยันแล้ว และเป็นช่องทางสำหรับรับแจ้งเบาะแสของข้อมูลเท็จที่เผยแพร่อยู่ในสังคม อันอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชน สังคม เศรษฐกิจ หรือความมั่นคงของประเทศในวงกว้าง ทั้งในด้านภัยพิบัติ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านนโยบายรัฐ และด้านอื่นๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก
๕ ช่องทาง ได้แก่
๑) Line Official Account : @antifakenewscenter
๒) Facebook Page : Anti-Fake News Center Thailand
๓) Twitter : @AFNCTHAILAND
๔) เว็บไซต์ : https://www.antifakenewscenter.com
๕) ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ GCC๑๑๑๑ กด ๘๗
๒. มีศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ที่พร้อมด้วยระบบงาน เครื่องมือ อุปกรณ์อันทันสมัย และมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง x 7 วัน ตั้งขึ้น ณ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และมีคณะกรรมการประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอมที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประชาชน ควบคุมการปฏิบัติการในการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ข้อมูล เนื้อหา และข่าวสารต่าง ๆ ที่เผยแพร่อยู่ในอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ อันอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อประชาชน สังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศ ให้พร้อมสำหรับการบริหารจัดการแก้ไขข่าวปลอมและทำการเผยแพร่เนื้อหาที่ถูกต้องออกไปสู่สาธารณะ
๓. มีประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ผ่านทางเว็บไซต์ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม www.antifakenewscenter.com กว่า ๑๐.๒ ล้านครั้ง (Unique IP) และมีประชาชนที่เข้าถึง/ติดตามข้อมูลจากช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กว่า ๒.๕ ล้านคน ประกอบด้วย
ช่องทาง Line Official Account : @antifakenewscenter มีผู้ติดตามจำนวน ๒,๔๑๙,๑๑๐ คน
ช่องทาง Facebook Page : Anti-Fake News Center Thailand จำนวน ๙๓,๔๕๒ คน
ช่องทาง Twitter : @AFNCTHAILAND จำนวน ๑๓,๕๐๖ คน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกพบว่า ในภาพรวมประชาชนมีการเข้าถึงโพสต์ต่าง ๆ ของศูนย์ต่อต้าน
ข่าวปลอม จำนวน ๑๘,๓๙๖,๒๐๑ Reach และพบการมีส่วนร่วม จำนวน ๔๘๕,๓๖๙,๔๗๒ Engagement (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕) นอกจากนี้ ยังได้รับความสนใจจาก สื่อหลักนำข้อมูลไปนำเสนอผ่านช่องทางสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ต่าง ๆ มากกว่า ๔๕,๙๓๓ ครั้ง โดยที่ผ่านมามีการนำเสนอ
ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบไปแล้ว จำนวน ๖,๙๐๔ เรื่อง จำแนกตามกลุ่มข่าวได้ดังนี้
- ด้านภัยพิบัติ จำนวนที่เผยแพร่ ๒๓๓ เรื่อง
- ด้านเศรษฐกิจ จำนวนที่เผยแพร่ ๒๐๕ เรื่อง
- ด้านสุขภาพอนามัย จำนวนที่เผยแพร่ ๒,๑๕๙ เรื่อง
- ด้านนโยบายรัฐ จำนวนที่เผยแพร่ ๔,๓๐๗ เรื่อง
๔. มีการพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายผู้ประสานงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ไปแล้วกว่า ๔๐๐ คน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์เนื้อหา บริหารการข่าว และการรับแจ้งเตือนผ่านช่องทางต่างๆ ภายใต้โครงการ และดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงประชาชนและสื่อมวลชน
๕. มีเครือข่ายผู้ประสานงาน กว่า ๓๐๐ หน่วยงาน ในการตรวจสอบและแจ้งเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชน สังคม เศรษฐกิจ หรือความมั่นคงของประเทศในวงกว้าง ทั้งในด้านภัยพิบัติ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านนโยบายรัฐ และด้านอื่นๆ ที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อให้ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและสื่อสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หรือแจ้งเตือนให้แก่ประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ ทราบถึงข้อมูลอันเป็นเท็จและข้อมูลที่ถูกต้องในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย อาทิ รูปภาพ อินโฟกราฟิก วีดิทัศน์ หรือ สื่อประชาสัมพันธ์อื่น ๆ
๖. ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน ในการรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณก่อนจะเผยแพร่หรือส่งต่อในอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านการจัดกิจกรรมและการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ๔ ภาคทั่วประเทศ (ภาคกลาง จ. พระนครศรีอยุธยา ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุดรธานี และภาคใต้ จ.พังงา) โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่เป็นผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ กว่า ๑,๐๐๐ คน และมีการจัดแถลงข่าว การจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ การจัดกิจกรรมอบรมสร้างการรับรู้ และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล และมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาข่าวปลอมและการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้สังคมได้รับทราบ
๗. ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ดำเนินการต่อเนื่องสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน ในการรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณก่อนจะเผยแพร่หรือส่งต่อในอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านการจัดกิจกรรมและการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ๔ ภาคทั่วประเทศ ณ ปัจจุบันได้มีการดำเนินการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๒๕๔ ราย ภาคเหนือ จ.เชียงราย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๕๑ ราย และภาคใต้ จ.ภูเก็ต (โดยภาคกลางมีแผนจะลงพื้นที่ จ. กาญจนบุรี ซึ่งยังอยู่ระหว่างรอให้สถานการณ์คลึ่คลายและสามารถจัดกิจกรรมได้ตามประกาศของรัฐบาล) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ ตั้งเป้ากว่า ๑,๐๐๐ คน และมีการจัดแถลงข่าว การจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ การจัดกิจกรรมอบรมสร้างการรับรู้ และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล และมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาข่าวปลอมและการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้สังคมได้รับทราบ
๘. ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti Fake News Center) ไม่หยุดนิ่งมุ่งหน้าขับเคลื่อนการสร้างการรับรู้ เท่าทันข่าวปลอมอย่างต่อเนื่อง และรณรงค์ต่อต้านการเผยแพร่ข่าวปลอมเพื่อให้ประชาชนได้ใช้งานบนสื่อสังคมออนไลน์อย่างปลอดภัย และรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล ตลอดจนมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาข่าวปลอม รู้เท่าทันก่อนเผยแพร่ข่าวปลอม แชร์ข้อมูลที่ถูกต้องให้สังคมได้ทราบเท่ากับสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับสังคม อาทิ
๑) การสร้างการรับรู้เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้ รู้เท่าทันข่าวปลอม โดยมีผลการดำเนินงานผลิตสื่อที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เช่น วิดีโอต่างๆ ที่ทางศูนย์ฯ จะจัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับ ๔ กลุ่มข่าวของศูนย์ฯ สื่อไวรัล (Viral Video) ที่อยู่ในกระแสของสังคม หรือเป็นสื่อไวรัลที่ประชาชนในความสนใจในขณะนั้น
๒) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ การจัดอบรมให้กับผู้ประสานงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขยายจำนวนของบุคคลากรมากขึ้น และยังมีแผนการจัดอบรมอย่างต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอสถานการณ์คลี่คลายและประกาศผ่อนคลายของรัฐบาล)
๓) พัฒนาระบบออนไลน์เพื่อใช้สำหรับการประสานงานของเครือข่ายเพื่อใช้ตรวจสอบข่าวปลอม
๔) สร้างความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน เพื่อขยายเครือข่ายความร่วมมือในการนำเสนอและตรวจสอบข้อมูลข่าวสารร่วมกับสื่อมวลชน ซึ่งเป็นสื่อหลักที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก และการนำเสนอส่งผลกระทบโดยตรงต่อการชี้นำทางสังคม
๕) เผยแพร่ผ่านสื่อออฟไลน์ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร นิตยสาร สื่อออนกราวนด์ (On Ground)
๖) จัดทำคู่มือการแจ้งข่าวปลอมสำหรับประชาชน และผู้ประสานงานอย่างต่อเนื่อง
๗) เพิ่มจำนวนผู้ติดตามช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์ของศูนย์ฯ ผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เปิดให้ดาวน์โหลดสติกเกอร์ไลน์สำหรับผู้ติดตาม การจัดกิจกรรมร่วมสนุกตอบคำถามชิงรางวัล และการจัดกิจกรรมในสถานที่ชุมชนหรือสถานศึกษา
๘) การพัฒนาช่องทางการติดต่อประสานงานระหว่างประชาชนกับศูนย์ฯ และผู้ประสานงานกับศูนย์ฯ ให้มีขั้นตอนที่สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
๙) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีแนวทางการประเมินผู้บริหารองค์การ ผลสรุป ดังนี้
- หน่วยงานที่มีการให้ข้อมูลในการตรวจสอบข่าวปลอมให้ความร่วมมือกับศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเป็นอย่างดี คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๕ ทันเวลา ๒ ชั่วโมง ๖๔๗ ประเด็น คิดเป็นร้อยละ ๘๔
- จำนวนข่าวที่เข้ามาทั้งสิ้น จำนวน ๔,๓๑๐ ข่าว ตรวจสอบแล้ว ๑,๓๘๕ ข่าว คิดเป็นร้อยละ ๓๒.๑ และมีข่าวที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบ/ไม่ได้ตอบกลับจำนวน ๒,๙๒๕ ข่าว คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๙
- สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ส่งผลการประเมินให้กับสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อพิจารณา และหาแนวทางการแก้ไขต่อไป
๑๐) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๔ (จาก ๑ ตุลาคม ๒๕๖๔ - ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๔) มีแนวทางการประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติราขการตามมาตราการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ สรุปผลดังนี้
- จำนวนการประสานให้หน่วยงานต่างๆ ตรวจสอบ จำนวน ๕,๕๗๔ โดยได้รับการยืนยัน ๓,๑๖๐ เรื่อง แบ่งเป็นข่าวปลอม จำนวน ๑,๑๒๓ เรื่อง ข่าวจริง จำนวน ๑,๘๐๐ เรื่อง ข่าวบิดเบือน จำนวน ๒๓๗ เรื่อง และยังอยู่ระหว่างรอการตรวจสอบ จำนวน ๒,๔๑๔ เรื่อง
- จากภาพรวมยืนยันการตรวจสอบของหน่วยงาน (จำนวน ๓,๑๖๐ แบ่งเป็นประสงค์เผยแพร่ จำนวน ๙๐๒ เรื่อง ไม่ประสงค์เผยแพร่ จำนวน ๒,๒๕๘ เรื่อง)
๙. ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ดำเนินการต่อเนื่องสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน ในการรับข้อมูลข่าวสารอย่างมีวิจารณญาณก่อนจะเผยแพร่หรือส่งต่อในอินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออนไลน์ ผ่านการจัดกิจกรรมและการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ๔ ภาคทั่วประเทศ ณ ปัจจุบันได้มีการดำเนินการในภาคภาคเหนือ จ.น่าน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๒๒๕ ราย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครพนม ที่จะถูกจัดขึ้นในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรม ฟอร์จูน ริเวอร์วิว นครพนม อ.เมืองนครพนม จ.นครพนม (โดยภาคกลางมีแผนจะลงพื้นที่ จ.กาญจนบุรี และภาคใต้ จ.ระยอง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดงานตามระยะเวลาที่กำหนดตามลำดับงวดงาน) กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ ตั้งเป้ากว่า ๑,๐๐๐ คน และมีการจัดแถลงข่าว การจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ การจัดกิจกรรมอบรมสร้างการรับรู้ และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อในยุคดิจิทัล และมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหาข่าวปลอมและการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้สังคมได้รับทราบ
๑๐. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti Fake News Center : AFNC) มีการจัดกิจกรรมการประกวดสื่อสร้างสรรค์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์การสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม ในรูปแบบการประกวดคลิปวิดีโอสั้นฯ ความยาว 2 นาที
ภายใต้หัวข้อ “คนรุ่นใหม่ กับการต่อต้าน Fake News” สำหรับนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีชั้นปีที่ ๑ - ๒) และ ระดับอาชีวศึกษา (ปวส. ชั้นปีที่ ๑ - ๒) หรือ เทียบเท่า ที่มีใจรักการผลิตสื่อ ร่วมกันส่งไอเดียและผลงานความคิด เพื่อชิงทุนการศึกษาและรางวัลมูลค่ารวมกว่า ๒๕๐,๐๐๐ บาท และภายใต้หัวข้อ “ป้องกัน ปกป้อง ประชาชนให้พ้นภัยข่าวปลอม” สำหรับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ ร่วมกันส่งไอเดียและผลงานความคิด เพื่อผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมและส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งสองหัวข้อได้ที่ E-mail : antifakenewscenter@mdes.go.th โดยรายละเอียด และกติกาของกิจกรรมสามารถติดตามความเคลื่อนไหว ได้ที่ ๔ ช่องทางหลักของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้
๑) Line Official Account : @antifakenewscenter
๒) Facebook Page : Anti-Fake News Center Thailand
๓) Twitter : @AFNCTHAILAND
๔) เว็บไซต์ : https://www.antifakenewscenter.com
๒. ภาพรวมการดำเนินงานโครงการการพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.)
ความเป็นมา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ได้เริ่มพัฒนาอาสาสมัครดิจิทัล (อสด.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยมุ่งเน้นคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสา มีความสนใจด้านดิจิทัล และมีเครื่องมือดิจิทัลที่รองรับการติดตั้งแอปพลิเคชันอาสาสมัครดิจิทัลได้ เพื่ออาสาทำหน้าที่ดูแลและให้คำแนะนำการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ถูกต้อง สามารถส่งเสริมการใช้ดิจิทัลในพื้นที่ และเป็นโซ่ข้อกลางในการประสานงานกับชุมชนได้ โดยเริ่มต้นจากการสร้าง “แกนนำ อสด.” ในทุกอำเภอทั่วประเทศ จำนวน ๙๔๕ คน เพื่อขยายผลสร้างเครือข่าย อสด. ในระดับหมู่บ้าน และได้พัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการปฏิบัติงาน (แอปพลิเคชัน “อาสาสมัครดิจิทัล”) เพื่อให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยได้จัดหมวดหมู่องค์ความรู้ และบริการที่สามารถเข้าถึงง่าย ในรูปแบบ Service Portal ที่อยู่ภายใต้ภารกิจของหน่วยงานของกระทรวงฯ และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้คัดเลือกจากพนักงานราชการเฉพาะกิจที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสถิติจังหวัดที่มีความสมัครใจเป็นอาสาสมัครดิจิทัล และประชาชนที่มีความสนใจเป็นอาสาสมัครดิจิทัล โดยได้สมัครผ่านแอปพลิเคชันฯ อสด. จำนวนไม่น้อยกว่า ๓๖๐ คน โดยได้จัดทำบทเรียน e-learning หลักสูตรการพัฒนาเครือข่าย อสด. ในการพัฒนาสมรรถนะเป็น อสด. ผ่านแอปพลิเคชันอาสาสมัครดิจิทัล แบบ On the Job Training เพื่อปฏิบัติภารกิจในการส่งเสริมการใช้งานด้านดิจิทัลให้กับหมู่บ้านโดยกระทรวงฯ จะจัดกิจกรรมเพื่อคัดเลือก อสด. ประจำหมู่บ้านต้นแบบ จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน พร้อมนำมาถอดบทเรียน เพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาดิจิทัลในพื้นที่ และขยายผลสู่พื้นที่อื่นในระยะต่อไป

ผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
๑. สร้าง “แกนนำ อสด.”
ในทุกอำเภอทั่วประเทศ จำนวน ๙๔๕ คน เพื่อเป็นแกนนำหรือผู้ประสานงานในระดับอำเภอ เปรียบเสมือนโซ่ข้อกลางในการขับเคลื่อนภารกิจ โดยเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสถิติจังหวัดเป็นแกนหลัก ร่วมด้วยเจ้าหน้าที่ บมจ. ทีโอที ในพื้นที่ โดยแกนนำ อสด. ที่ผ่านการอบรม ถือว่าเป็น Digital Change Agent ในระดับพื้นที่ และได้ไปปฏิบัติภารกิจขยายผลสร้างเครือข่าย อสด. ในระดับหมู่บ้าน
๒. พัฒนาแอปพลิเคชัน “อาสาสมัครดิจิทัล”
เพื่อสนับสนุนการทำงานในการช่วยเหลือให้คำแนะนำกับประชาชน และเป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เช่น ภารกิจสำคัญของกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน องค์ความรู้ด้านดิจิทัล หลักสูตรการเรียนออนไลน์ที่น่าสนใจให้สามารถเลือกเรียนด้วยตนเอง และให้บริการออนไลน์ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ รวมทั้งการตรวจสอบข่าวปลอมผ่านแอปพลิเคชันได้โดยตรง พร้อมทั้ง สนับสนุน SIM Card อสด. และสื่อเพื่อการขยายผลของ อสด. (พัด) รวมถึงช่องทางการสื่อสารดังนี้ เว็บไซต์อาสาสมัครดิจิทัล http://tdv.netpracharat.com และ Facebook Fan page “อาสาสมัครดิจิทัล”
๓. จัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างเครือข่าย อสด.
การใช้แอปพลิเคชันในรูป Roadshow ตามภูมิภาคต่าง ๆ และจัดกิจกรรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันอาสาสมัครดิจิทัล ได้แก่ กิจกรรมการสะสมแต้มเพื่อแลกของรางวัล กิจกรรมการประกวดตั้งชื่อ Mascot “หนุ่มนักอาสา” และ “กระรอกน้อย” การประกวดสร้าง “สโลแกนอาสาสมัครดิจิทัล”
- ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องเพื่อพัฒนา อสด. ประจำหมู่บ้าน ให้สามารถแนะนำ บริการ ภารกิจสำคัญของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้กับประชาชนในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยมีแผนการดำเนินการดังนี้
๑. พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) หลักสูตรการพัฒนา อสด.
โดยให้สามารถเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ในระบบเปิด (Thai MOOC) จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด ๙ ชั่วโมง ซึ่งเป็น หลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาและสร้างความเข้าใจในบทบาทของ อสด. พร้อมให้มีทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลที่พร้อม ต่อการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านดิจิทัลในระดับท้องถิ่น ผ่านเครื่องมือ สื่อ และองค์ประกอบทางด้าน ดิจิทัล นำไปสู่การขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม และยั่งยืนด้วยการ สร้างเครือข่ายอาสาสมัครดิจิทัลในระดับชุมชน
๒. จัดทำแผนการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาอาสาสมัครดิจิทัลประจำหมู่บ้าน (อสด.หมู่บ้าน)
โดยรุ่นนำร่องจะเป็นพนักงานราชการเฉพาะกิจ (๔๐๖ คน) จากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งจะได้รับการอบรมพัฒนา อสด. ประจำหมู่บ้าน (คนละ ๑ ครั้ง) เพื่อสรุปองค์ความรู้ และสร้างเครือข่ายการทำงานเป็นทีม โดยแบ่งจัดการอบรมเป็นกลุ่ม ๆ ละไม่เกิน ๑๕๐ คน จำนวน ๓ ครั้ง ๆ ละ ๒ วัน ๑ คืน โดยอสด. ประจำหมู่บ้าน จะต้องปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากการอบรมฯ เพื่อส่งเสริมการใช้งานด้านดิจิทัลให้กับหมู่บ้าน จำนวน ๒ ครั้ง(โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนบางส่วนตามที่กำหนด) ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะจัดกิจกรรมเพื่อคัดเลือก อสด. ประจำหมู่บ้านต้นแบบ จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน พร้อมนำมาถอดบทเรียน เพื่อสร้างต้นแบบการพัฒนาดิจิทัลในพื้นที่ และขยายผลสู่พื้นที่อื่นในระยะต่อไป
- ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
การดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และ พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้มี อสด. ประจำหมู่บ้านเพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายให้ทุกหมู่บ้านทั่วประเทศมี อสด. ประจำหมู่บ้าน ซึ่งจากงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ที่ได้รับการจัดสรร สามารถพัฒนา อสด. ประจำหมู่บ้านได้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนประมาณ ๑๘๐ คน โดยได้มีการประสานความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่ง พม. ได้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งได้รับการฝึกให้เป็นผู้นำ มีความรอบรู้ มีความเป็นจิตอาสา มีทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถใช้สื่อใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน การเรียนรู้ด้านวิชาการ การศึกษา สุขภาพ กีฬา อาชีพ และวัฒนธรรมในท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน รวมทั้งจัดกิจกรรมต่าง ๆ และเสนอความเห็นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชน รวมถึงการแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่ซึ่งครอบคลุมอยู่ในทุกตำบล โดยมีสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ซึ่ง พม. มีแนวนโยบายจะพัฒนากลุ่มเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้น เพื่อไปช่วยเหลือ ให้คำแนะนำด้านการใช้ดิจิทัลในชุมชนของตนแองได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งขยายเครือข่ายความรู้ด้านดิจิทัลเพิ่มขึ้น จึงได้มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ด้านดิจิทัลและเป็น อสด. ประจำหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นเครือข่ายในการปฏิบัติงานในพื้นที่ร่วมกับแกนนำ อสด. และ อสด. ประจำหมู่บ้าน ในการส่งเสริมการใช้งานด้านดิจิทัล พร้อมทั้งให้คำแนะนำ และช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ให้รู้เท่าทันและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ กระทรวงฯ จะปรับปรุงหลักสูตรและแอปพลิเคชันให้ทันสมัย สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และคัดเลือกตัวแทนเครือข่าย อสด. จำนวน ๑๘๐ คน มาอบรมให้เป็น อสด. ประจำหมู่บ้านเพื่อพัฒนาศักยภาพ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลเพื่อให้เกิดการต่อยอดการใช้ประโยชน์ด้านดิจิทัลตามบริบทของหมู่บ้านตนเอง
ดาวน์โหลดสื่อประชาสัมพันธ์ : https://drive.google.com/drive/folders/1kZOX9FBIoaFZii-Kn9bvSb_h5KFMmOW6
ดาวน์โหลดผลงานของ อสด. : https://drive.google.com/drive/folders/1ixTm2Y7raA7c3o-ZmUsEO_9m4s0JVEOE
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๖-๙ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์ : ๐๒ ๑๔๑๖ ๗๔๗
ผลงานการดำเนินงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
๑. โครงการการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog: GD Catalog)
สรุปสาระสำคัญของโครงการ
การจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ เป็นการดำเนินการตามมติครม. เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๒ “ให้ หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ในการจัดทำรายการข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) และระบบนามานุกรม (Directory Services)” และสอดคล้องพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๘ (๕) “หน่วยงานภาครัฐต้องจัดทำคำอธิบายข้อมูลดิจิทัลของภาครัฐและบัญชีข้อมูลให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ” เป็นการรวบรวมบัญชีข้อมูลหน่วยงาน (เฉพาะชื่อชุดข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล และชี้แหล่งข้อมูลต้นทาง) เข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ผ่านการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ และสามารถเชื่อมต่อไปยังศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันและใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตามแนวทางรัฐบาลดิจิทัล สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรวบรวมรายการชุดข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ มาสร้างเป็นระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog: GD Catalog) และพัฒนากลไกการสืบค้นเพื่อให้บริการสืบค้นข้อมูล (Directory Service) ที่สะดวกรวดเร็ว ถือเป็นส่วนสำคัญในการบูรณการข้อมูลข้ามหน่วยงานเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) และการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) และได้จัดทำโครงการบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) ขึ้นเพื่อสนับสนุนหน่วยงานให้มีการจัดทำบัญชีข้อมูลของหน่วยงาน และลงทะเบียนเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ
ผลผลิตของโครงการ
มีบัญชีข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ (Agency Data Catalog) ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ผลลัพธ์ของโครงการ
ประเทศมีระบบบัญชีข้อมูลกลางภาครัฐ (Government Data Catalog) และระบบนามานุกรม (Directory Services) ที่เปิดให้ภาครัฐนำไปใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงาน
ระยะที่ ๑ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ กำหนดบทบาทการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog)
ระยะที่ ๒ ปีงบประมาณ ๒๔๖๔ สสช. ดำเนินการจัดทำโครงการการศึกษาและพัฒนาต้นแบบระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ (GD Catalog) และระบบนามานุกรม (Directory Services) ขึ้น โดยสนับสนุนหน่วยงานนำร่อง ๓๑ หน่วยงานและ ๓ จังหวัด (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) เพื่อจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงานและลงทะเบียนบัญชีข้อมูลเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ที่มีมาตรฐานเดียวกัน หน่วยงานนำร่องได้นำบัญชีข้อมูลเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และลงทะเบียนข้อมูลเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐแล้ว ๘๔๑ ชุดข้อมูล นอกจากนั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงาน กพร. และ สพร. ในการสนับสนุนหน่วยงานที่เลือกการจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงาน เป็นตัวชี้วัดการประเมินส่วนราชการ ประจำปี ๒๕๖๔ จำนวน ๘๔ หน่วยงาน (ส่วนราชการ ๕๑ หน่วยงาน และ๓๓ องค์การมหาชน) และร่วมกับ สพร. และ GBDi ในนามคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ได้จัดทำแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ แนวปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลและการประเมินคุณภาพข้อมูล และแนวทางการลงทะเบียนบัญชีข้อมูลภาครัฐ
ระยะที่ ๓ ปี ๒๕๖๕ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการโครงการจัดทำบัญชีข้อมูล ใน ๒ กิจกรรม คือ ๑. กิจกรรมการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ ซึ่งเป็นการสนับสนุนหน่วยงานส่วนกลาง ๙๘ หน่วยงาน และส่วนภูมิภาค ๗๖ จังหวัด ในการจัดทำบัญชีข้อมูลหน่วยงาน และลงทะเบียนเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ๒. กิจกรรมพัฒนาระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ เป็นการพัฒนาระบบต้นแบบให้สมบูรณ์และใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มรูปแบบ
๒. การจัดทำและความสำคัญของสถิติและสารสนเทศระดับพื้นที่ ๗๖ จังหวัดของ สสช. ที่ส่งผลต่อการพัฒนายกระดับและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ดำเนินงานภารกิจสถิติในระดับ Function based รวมทั้งสถิติระดับ Agenda-based ในขณะที่ส่วนภูมิภาคมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานภารกิจสถิติระดับพื้นที่หรือ Area based นอกจากนี้ ส่วนภูมิภาคเป็นหน่วยงานผู้แทนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในระดับภูมิภาคที่ขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จากภารกิจข้างต้นของ สสช. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เห็นความสำคัญของข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำ หรือพื้นที่ มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งด้านสถิติและดิจิทัล พัฒนาระบบข้อมูลสถิติให้เข้มแข็งสนับสนุนการกำหนดนโยบายและการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง ตอบโจทย์ความอยู่ดีกินดีของประชาชน
ภารกิจในระดับพื้นที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การพัฒนาสถิติทางการเพื่อสนับสนุนระดับจังหวัดทั้ง ๗๖ จังหวัด ผ่านกลไกคณะกรรมการสถิติระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด/หัวหน้ากลุ่มจังหวัดเป็นประธาน รวมถึงการประสานงานเรื่องเน็ตประชารัฐ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ และในปัจจุบันคือภารกิจเรื่องการสร้างความรู้ความเข้าใจในการซื้อสินค้าออนไลน์ และการหลอกลวง ซึ่งสำนักงานสถิติจังหวัดจะต้องปรับตัวให้มีความพร้อมในทุกด้าน
ทั้งนี้งานส่วนกลางและภูมิภาคจะผสานร่วมกันอย่างสอดคล้อง มุ่งสู่เป้าหมายให้ประเทศมีข้อมูลสถิติที่มีคุณภาพ สำหรับการวางแผนตัดสินใจ การติดตาม และประเมินผล เพื่อการพัฒนาประเทศทั้งระดับประเทศ ระดับพื้นที่จนถึงระดับชุมชน
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น ๒ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์ : ๐ ๒๑๔๑ ๑๒๓๔
Fax : ๐ ๒๑๔๓ ๘๑๐๙
ผลงานที่สำคัญของสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๑. โครงการบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน
หลักการและเหตุผล
ด้วยนโยบายคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งได้แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมานั้น ได้แถลงนโยบายเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง สังคมไทยมีความสงบสุข สามัคคีและเอื้ออาทร คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีความพร้อมที่จะดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งและมีความสามารถในการแข่งขัน สูงขึ้น ควบคู่ไปกับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งนี้ ภายใต้นโยบายหลัก ๑๒ ประการของรัฐบาล ได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และการมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ ซึ่งสอดรับกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๑ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
ในการขับเคลื่อนยุทธศาตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ นั้น ได้กำหนดแผนงานหนึ่ง คือ จัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยภาครัฐให้การสนับสนุนความต้องการการใช้งาน (Demand) ขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล และศูนย์สารสนเทศชุมชน รวมถึงบริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน เช่น ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน, ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับตำบล, โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (รร.ตชด.), ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และห้องสมุดประชาชน เป็นต้น ผ่านโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ที่ระดับความเร็วไม่น้อยกว่า ๒๐๐/๑๐๐ Mbps ซึ่งแต่ละจุดจะมีการติดตั้งจุดให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (Free Wi-Fi) ในลักษณะของอินเทอร์เน็ตองค์กรแบบรับประกันแบนด์วิดธ์ Fixed IP Address จำนวน ๑ IP ต่อ ๑ จุด
ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งจะกลายเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมทั้งทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) จึงจัดให้มีการดำเนินโครงการให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงแหล่งเรียนรู้ของชุมชน และยังเป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ สร้างโอกาสการพัฒนาทางอาชีพ และรายได้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล อันนำมาสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
วัตถุประสงค์
เพื่อจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ต ณ แหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และสามารถเข้าถึงข้อมูลและบริการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอาชีพสร้างธุรกิจ และเพิ่มรายได้ในชุมชนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล และยังเป็นการให้โอกาสอย่างเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนผ่านบริการดิจิทัลต่าง ๆ
เป้าหมายของโครงการ ให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน ณ แหล่งการเรียนรู้ของชุมชน จำนวนไม่น้อยกว่า ๘,๒๔๖ แห่งทั่วประเทศ
การดำเนินงาน ในปัจจุบันมีการให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะสู่ชุมชน จำนวน ๘,๒๕๕ แห่ง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย
การให้บริการ ดังนี้
- ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับตำบล
- ห้องสมุดประชาชน
- ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)
- ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน หรือ ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน
- ศูนย์ยุติธรรมชุมชน
- โรงเรียนด้อยโอกาส
- โรงพยาบาล
ตัวอย่างภาพคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ประจำกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้าตรวจเยี่ยม กศน. ตำบลตาลชุม อ.เวียงสา จ.น่าน
สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรดิจิทัล
ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
ตามนโยบายของรัฐบาล ที่เล็งเห็นความสำคัญและมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งได้ริเริ่มดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ไทยแลนด์ ๔.๐ ผ่านนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเป็นดิจิทัลไทยแลนด์ เป็นการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรดิจิทัลภายใต้โครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะทางด้านดิจิทัลของผู้ดูแลศูนย์ดิจิทัลชุมชน ให้มีความรู้และทักษะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและขยายผลของสมรรถนะด้านดิจิทัล ไปสู่ประชาชนในพื้นที่ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง พร้อมทั้งสร้างเสริมศักยภาพ สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ
จากการดำเนินงานโครงการในระยะที่ผ่านมา ได้พัฒนาหลักสูตรสำหรับการอบรมจำนวน ๕ หลักสูตร ได้แก่ ๑. ผู้ประกอบการดิจิทัล ๒.พาณิชย์ดิจิทัล ๓.ถ่ายทอดสดสำหรับการค้าออนไลน์ ๔.การตลาดดิจิทัล และ ๕.การตระหนักรู้ด้านดิจิทัล จัดพิมพ์คู่มือประกอบการอบรม และจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบทั้ง ๕ หลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ผ่านออนไลน์
โครงการได้พัฒนาวิทยากรศูนย์ดิจิทัลชุมชน (Train the Trainer) ผ่านการอบรมออนไลน์ ๒ ครั้ง ครั้งละ ๕ วัน โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ดิจิทัลชุมชนและหน่วยงานพันธมิตร เข้าร่วมการอบรมรวมทั้งสิ้น ๗๘๓ คน
สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ประชาชนที่สนใจ ผ่านการจัดอบรมของศูนย์ดิจิทัลชุมชนจำนวน ๕๐๐ ศูนย์ ได้จัดอบรมในหลักสูตรตามความต้องการของประชาชน ครั้งละ ๒ วัน โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกมีศูนย์ดิจิทัลชุมชนจัดกิจกรรมอบรมจำนวน ๒๕๐ ศูนย์ มีประชาชนที่สนใจเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น ๓,๘๘๗ คน และในระยะที่ ๒ อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ปัจจุบันมีประชาชนที่สนใจเข้ารับการอบรมแล้วทั้งสิ้น ๗๘๓ คน ทั้งนี้การดำเนินการทั้ง ๒ ระยะ มีเป้าหมายจำนวนประชาชนที่เข้าร่วม ไม่น้อยกว่า ๗,๕๐๐ คน และยังได้คัดเลือกศูนย์ดิจิทัลชุมชน ๕ ศูนย์ เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะการทำการค้าออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการชุมชน ๒๕ ร้านค้า รวม ๕๐ คน ซึ่งมีเป้าหมายยอดขายออนไลน์รวม ๕๐๐,๐๐๐ บาท
๒. ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน
ตามนโยบายของรัฐบาล ที่เล็งเห็นความสำคัญและมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งได้ริเริ่มดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ไทยแลนด์ ๔.๐ ผ่านนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๘๐) ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเป็นดิจิทัลไทยแลนด์ เป็นการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรดิจิทัลภายใต้โครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนสู่ศูนย์ดิจิทัลชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะทางด้านดิจิทัลของผู้ดูแลศูนย์ดิจิทัลชุมชน ให้มีความรู้และทักษะการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและขยายผลของสมรรถนะด้านดิจิทัล ไปสู่ประชาชนในพื้นที่ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง พร้อมทั้งสร้างเสริมศักยภาพ สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ
จากการดำเนินงานโครงการในระยะที่ผ่านมา ได้พัฒนาหลักสูตรสำหรับการอบรมจำนวน ๕ หลักสูตร ได้แก่ ๑. ผู้ประกอบการดิจิทัล ๒.พาณิชย์ดิจิทัล ๓.ถ่ายทอดสดสำหรับการค้าออนไลน์ ๔.การตลาดดิจิทัล
และ ๕.การตระหนักรู้ด้านดิจิทัล จัดพิมพ์คู่มือประกอบการอบรม และจัดทำสื่อวีดีทัศน์ประกอบทั้ง ๕ หลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ผ่านออนไลน์
โครงการได้พัฒนาวิทยากรศูนย์ดิจิทัลชุมชน (Train the Trainer) ผ่านการอบรมออนไลน์ ๒ ครั้ง
ครั้งละ ๕ วัน โดยมีเจ้าหน้าที่ศูนย์ดิจิทัลชุมชนและหน่วยงานพันธมิตร เข้าร่วมการอบรมรวมทั้งสิ้น ๗๘๓ คน
นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรมอบรมแบบ Onsite ตามภูมิภาคต่างๆ อีกจำนวน ๑๑ ครั้ง ครั้งละ ๓ วัน ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวนวิทยากรศูนย์ดิจิทัลชุมชนและหน่วยงานพันธมิตร เข้าร่วมทั้งสิ้น ๖๐๔ คน
สำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ประชาชนที่สนใจ ผ่านการจัดอบรมของศูนย์ดิจิทัลชุมชนจำนวน ๕๐๐ ศูนย์ ได้จัดอบรมในหลักสูตรตามความต้องการของประชาชน ครั้งละ ๒ วัน โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น ๒ ระยะ ระยะแรกมีศูนย์ดิจิทัลชุมชนจัดกิจกรรมอบรมจำนวน ๒๕๐ ศูนย์ มีประชาชนที่สนใจเข้ารับการอบรมทั้งสิ้น ๓,๘๘๗ คน
และในระยะที่ ๒ อยู่ระหว่างการดำเนินงาน ปัจจุบันมีประชาชนที่สนใจเข้ารับการอบรมแล้วทั้งสิ้น ๗๘๓ คน ทั้งนี้การดำเนินการทั้ง ๒ ระยะ มีเป้าหมายจำนวนประชาชนที่เข้าร่วม ไม่น้อยกว่า ๗,๕๐๐ คน และยังได้คัดเลือกศูนย์ดิจิทัลชุมชน ๕ ศูนย์ เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่มเพาะการทำการค้าออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการชุมชน ๒๕ ร้านค้า รวม ๕๐ คน ซึ่งมีเป้าหมายยอดขายออนไลน์รวม ๕๐๐,๐๐๐ บาท
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๙ อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐
โทรศัพท์ : 0 ๒๑๔๒ ๑๒๐๒
Fax : ๐๒ ๒๑๔๓ ๗๙๖๒